ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
Chantima

เตรียมพร้อมการมีลูกด้วยการตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์ที่จำเป็นต้องตรวจอะไรบ้าง ?

โพสต์แนะนำ

pregnancy.jpg.50e4bd2f19c812374c31cee592907cf8.jpg

การตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์ ทำให้ทราบว่าสุขภาพของคุณพ่อคุณแม่มีความพร้อมแค่ไหน ก่อนที่จะมีลูก เพราะหากพบปัญหาบางอย่างที่จะส่งผลเสียต่อตัวเด็กจะได้สามารถรับมือได้ทันท่วงที ช่วยให้การมีเจ้าตัวเล็กเป็นไปอย่างราบรื่น ปลอดภัย ซึ่งขั้นตอนสำคัญที่ช่วยเตรียมพร้อมสำหรับการมีบุตรในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่วางแผนจะตั้งครรภ์

ขั้นตอนในการตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์ มีอะไรบ้าง?

1. ในเบื้องต้นแพทย์จะทำการซักประวัติทั้งว่าที่คุณพ่อและคุณแม่ ดังนี้

·         ประวัติการคุมกำเนิด เคยคุมกำเนิดแบบไหน ยังคุมอยู่หรือไม่ ประจำเดือนมาปกติหรือไม่

·         ประวัติการเจ็บป่วย การผ่าตัด หรือการรักษาทางการแพทย์อื่นๆ

·         ประวัติการตั้งครรภ์ก่อนหน้านี้ เช่น เคยตั้งครรภ์มาก่อนไหม มีประวัติการแท้งหรือไม่

·         ประวัติครอบครัว เพื่อให้ทราบไปถึงโรคทางพันธุกรรมที่อาจเกิดขึ้น เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ธาลัสซีเมีย

·         ประวัติการฉีดวัคซีน เช่น วัคซีนหัดเยอรมัน ไวรัสตับอักเสบ อีสุกอีใส

·         ประวัติการใช้ยา การใช้ยารักษาโรคประจำตัว รวมไปถึงการแพ้ยา

·         ประวัติส่วนตัว เช่น การทำฟัน ดื่มเหล้าหรือสูบบุหรี่หรือไม่ การออกกำลังกาย การนอน สภาพแวดล้อมในบ้าน การเลี้ยงสัตว์

2. ตรวจร่างกายทั่วไป เพื่อดูความสมบูรณ์ของร่างกาย เช่น วัดส่วนสูง ชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต ตรวจระบบหายใจ ตรวจระบบหัวใจ ตรวจเต้านม ตรวจหน้าท้อง เอกซ์เรย์  ตรวจมะเร็งปากมดลูก หากตรวจว่าพบความผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็จำเป็นต้องได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด ทั้งแพทย์เฉพาะทางและสูตินรีแพทย์ ซึ่งจะต้องพิจารณาร่วมกันว่าสมควรให้มีการตั้งครรภ์ได้หรือไม่

·         ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ และเอกซเรย์ปอด ในขั้นตอนนี้โดยรวมแล้วจะเป็นการตรวจเพื่อดูความเข้มข้นของเลือด โรคเลือด โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รวมถึงโรคติดต่อทางพันธุกรรม และหาภูมิคุ้มกันโรคบางอย่าง เช่น ความเข้มข้นของเม็ดเลือด ตรวจหาภูมิหัดเยอรมัน ระดับน้ำตาลในเลือด โรคทางพันธุกรรมแฝง รวมไปถึงการตรวจเชื้อ HIV (เอดส์) หากพบว่าทั้งพ่อและแม่ต่างก็มีโรคทางพันธุกรรมแฝงอยู่ในตัว จะมีโอกาสถ่ายทอดไปยังลูกได้ 1 ใน 4 คน เลยทีเดียว

·         การตรวจภายในสำหรับคุณแม่ เพื่อตรวจว่ามดลูกและรังไข่ปกติดีหรือไม่ ตรวจอุ้งเชิงกรานและช่องคลอด เพราะมีผลโดยตรงต่อการตั้งครรภ์และการคลอด เช่น อาจมีการอักเสบ มีเนื้องอกของมดลูกหรือรังไข่ มีพังผืดหรือมีถุงน้ำในรังไข่ เป็นต้น แถมการตรวจภายในยังถือว่าเป็นโอกาสดีที่จะได้ตรวจมะเร็งปากมดลูกไปด้วย

·         ตรวจพิเศษก่อนตั้งครรภ์ กรณีนี้จะตรวจเพิ่มเติมก็ต่อเมื่อแพทย์ตรวจร่างกายตามปกติแล้วพบความผิดปกติ ก็อาจต้องตรวจพิเศษเพิ่มเติมด้วย เช่น ตรวจอัลตราซาวนด์ในช่องท้อง หรือส่องกล้องตรวจในอุ้งเชิงกราน เป็นต้น

นอกจากการเข้ารับการตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์แล้ว ก็ควรที่จะต้องดูแลตนเองให้ดีในด้านอื่น ๆ ด้วย อย่างด้านอาหารการกินที่ต้องกินอาหารให้ได้ครบตามที่ร่างกายต้องการ หรือต้องได้รับ หากทานอาหารได้ไม่ครบตามความต้องการของร่างกายก็ควรหาวิตามิน หรือสารอาหารที่ขาดไปมาทานเสริม งดสูบบุหรี่, งดดื่มแอลกอฮอล์, หมั่นออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ ซึ่งในปัจจุบันมีโรงพยาบาลที่รับตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์เยอะมาก ๆ แต่หนึ่งในโรงพยาบาลที่มีชื่อเสียง และได้รับความนิยมไปตรวจกัน คือการไปตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์ ที่ รพ.นนทเวช เพราะมีความน่าเชื่อถือ และมีชื่อเสียงเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพมานานทำให้เป็นที่ไว้วางใจของประชาชน ในการมาตรวจร่างกายกันที่โรงพยาบาลนี้กันค่ะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...