ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

cocohill

ขาใหญ่
  • จำนวนเนื้อหา

    299
  • เข้าร่วม

  • เข้ามาล่าสุด

ทุกๆอย่างที่โพสต์โดย cocohill

  1. ผมใช้ firefox 3 4 5 ปัจจุบันใช้ 8 เปิดเวปไทยโกลด์ได้ปกติทุกอย่างไม่มีปันหาไร ใช้มาสามปีชอบมาก ใช้ทำธุรกรรมทางการเงินได้ทุกอย่าง แต่ใช้เปิด Smart Portal ของ efinance ไม่ได้
  2. ตามหลักคือ ถ้าเส้นราคาปิด ตัดเส้น ma ขึ้น ก็ซื้อ ถ้าเส้นราคาปิด ตัดเส้น ma ลงก็ขาย เส้นราคาปิดสีเขียว เส้น ma สีเหลือง ระบบนี้ใช้ได้ผลดีเมื่อมีเทรนชัดเจน แต่จะเสียเมื่อมันออกข้างโดยเฉพราะเมื่อเส้นราคาปิดมันตัดเส้น ma ขึ้นลงบ่อยๆเกินไป แต่ก็เป็นทางเลือกที่ดีครับเพราะมันเข้าใจง่ายครับ เคยได้ยินว่ามีคนทำเงินได้มากๆจาก MA ครับแต่เข้าใช้อย่างไรไม่รู้ครับ :D
  3. ตลาดเปลี่ยนประเทศเล่นแล้วครับ จากข่าวตลาดหันมาให้ความสนใจอิตาลีแทน สังเกตุจะเห็นว่า Yield (ผลตอบแทน) ที่อิตาลีต้องจ่ายของ Italy Govt Bonds 10 Year Gross Yield (พันธบัตรรัฐบาลอิตาลีอายุ 10 ปี) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ถ้ามันสูงมากแบบกรีซ อิตาลี่ก็จะจ่ายไม่ไหวปันหาก็จะเกิด แต่คงไม่เร็วนักเพราะ Yield อิตาลี่ยังห่างจากกรีซมากอยู่ แต่ก็ควรจะเฝ้ามองเป็นระยะครับ สงสัยจรวจทองคงต้องให้อิตาลีเป็นคนเติมเชื้อเพลิงแทนกรีซแล้ว หรืออาจจะมีประเทศอื่นลงขันค่าเชื้อเพลิงจรวจทองก็ได้ 55555 http://www.bloomberg.com/quote/GBTPGR10:IND/chart
  4. xBT> ตลาดปริวรรตเงินตราเอเชีย:ยูโรร่วง ตลาดเมินกรีซ หันจับตาสถานการณ์อิตาลี โตเกียว--7 พ.ย.--รอยเตอร์ ยูโรปรับตัวลงในวันนี้ ขณะที่ความเชื่อมั่นเกี่ยวกับการที่รัฐบาลกรีซ และพรรคฝ่ายค้านบรรลุข้อตกลงจัดตั้งรัฐบาลผสมได้จางหายไปอย่างรวดเร็ว และการปรับสมดุลออปชั่นบ่งชี้ถึงความเสี่ยงในช่วงขาลงมากขึ้นสำหรับยูโร ขณะที่เทรดเดอร์ได้หันไปให้ความสนใจต่ออิตาลี ซึ่งอนาคตของรัฐบาลกำลัง แขวนอยู่บนเส้นด้าย ยูโรถูกถ่วงลงโดยความไม่แน่นอนเกี่ยวกับผู้ที่จะเป็นผู้นำรัฐบาลใหม่ ของกรีซ ท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมือง, กำหนดเวลาที่ไม่แน่นอนเกี่ยวกับ การเลือกตั้งใหม่ และสถานการณ์ในอิตาลีที่มีความสำคัญเชิงกลยุทธ์มากกว่า ยูโรปรับตัวขึ้นในช่วงแรกสูงถึง 1.3839 ดอลลาร์ แต่ต่อมาร่วงลง หลังไม่สามารถฝ่าแนวต้านทางเทคนิค และอยู่ที่ 1.3771 ดอลลาร์ เทรดเดอร์ระบุว่ามีคำสั่งขายตัดขาดทุนที่ต่ำกว่า 1.3750 ดอลลาร์ ขณะที่มีคำสั่งซื้อที่ระดับต่ำกว่า 1.3700 ดอลลาร์ และคำสั่งขายที่ 1.3880 ดอลลาร์ ตลาดมุ่งความสนใจไปที่อิตาลี ขณะที่อนาคตของนายซิลวิโอ เบอร์ลุสโคนี ขึ้นอยู่กับกลุ่มสมาชิกพรรคที่ต่อต้านเขา และขู่จะถอนตัวจากรัฐบาลในสัปดาห์นี้ นายเบอร์ลุสโคนีจะเผชิญความไม่แน่นอนในการขอมติสนับสนุนจาก รัฐสภาในวันพรุ่งนี้เกี่ยวกับประเด็นสถานะการคลังของประเทศ ซึ่งจะเป็นการ ทดสอบความแข็งแกร่งทางการเมืองของเขาหลังการประชุมสุดยอดจี-20 ซึ่งอิตาลียอมให้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เข้าตรวจสอบ การปฏิรูป อิตาลี ซึ่งมีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 3 ของยูโรโซน สร้างความเสี่ยง ให้กับยูโรโซนมากกว่ากรีซ ขณะที่ต้นทุนการกู้ยืมของอิตาลีพุ่งขึ้น และมีหนี้สาธารณะ 1.9 ล้านล้านยูโร ซึ่งมากเกินกว่าที่ประเทศอื่นๆจะให้ความช่วยเหลือ ดัชนีดอลลาร์ทรงตัวที่ราว 77.050 และดอลลาร์อ่อนค่าลงสู่ 78.12 เยน แหล่งข่าวรอยเตอร์ระบุว่า ตัวเลขการซื้อขายบ่งชี้ว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่น อาจยังคงเข้าแทรกแซงตลาด แม้มีปริมาณเล็กน้อย นับตั้งแต่วันจันทร์ที่แล้วซึ่งญี่ปุ่น ใช้เม็ดเงินสูงเป็นประวัติการณ์เมื่อเทียบรายวันถึง 7.7 ล้านล้านเยนเพื่อสกัดกั้น ความแข็งแกร่งของเยน ฟรังก์สวิสเผชิญแรงกดดันหลังธนาคารกลางสวิสระบุว่า ธนาคารพร้อมที่จะ ดำเนินมาตรการต่อไปเพื่อถ่วงค่าเงินฟรังก์สวิส ยูโรปรับตัวขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 1 สัปดาห์ที่ 1.2292 ฟรังก์สวิส ขณะที่ ดอลลาร์พุ่งขึ้น 1% สู่ 0.8938 ฟรังก์ สกุลเงินของประเทศส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์เผชิญแรงกดดันเล็กน้อย โดย ดอลลาร์ออสเตรเลียลดลง 0.2% สู่ 1.0349 ดอลลาร์สหรัฐ หลังร่วงลงในสัปดาห์ ที่ผ่านมาสู่ 1.0203--จบ-- (รอยเตอร์ โดย กัลยาณี ชีวะพานิช แปล; ก้องเกียรติ กอวีรกิติ เรียบเรียง)
  5. xBT> IMF:ไอเอ็มเอฟชี้ไทยขึ้นแท่นซื้อทองมากสุดอันดับ 3 ของโลกปีนี้ ลอนดอน--7 พ.ย.--รอยเตอร์ ข้อมูลจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ระบุว่า ไทยได้เพิ่มการถือครองทองคำ 15.6 ตันในทุนสำรองในเดือนก.ย. ส่งผลให้ ไทยเป็นผู้ซื้อทองอย่างเป็นทางการรายใหญ่ที่สุดอันดับ 3 ในปีนี้ รองจากเม็กซิโก และรัสเซีย นอกจากนี้ รายงานสถิติการเงินระหว่างประเทศของไอเอ็มเอฟ ยังบ่งชี้ว่า ไทย ซึ่งซื้อทอง 52.9 ตันแล้วในปีนี้ ขณะนี้ได้ถือครองทอง 152.4 ตัน ซึ่งสูงสุดเป็นอันดับที่ 23 จาก 50 อันดับแรกของประเทศผู้ถือครองทอง อย่างเป็นทางการ ขณะที่สหรัฐถือครองทองสำรองรายใหญ่ที่สุดในโลก โดย มีจำนวน 8,133.5 ตัน ในเดือนก.ย. รัสเซียเพิ่มการซื้อทอง 6.75 ตัน ส่งผลให้ทองสำรอง เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 851.551 ตัน และโบลีเวียได้เพิ่มการถือครองทองในทุนสำรอง เป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน โดยเพิ่มขึ้น 7 ตัน สู่ 49.34 ตัน ขณะนี้โบลีเวียเป็นผู้ถือครองทองอย่างเป็นทางการรายใหญ่ที่สุดอันดับ ที่ 43 ของโลก รองจากอาร์เจนตินา ซึ่งอยู่ที่อันดับ 42 โดยถือครองทอง 54.7 ตัน นับตั้งแต่ต้นปีจนถึงขณะนี้ ธนาคารกลางต่างๆเป็นผู้ซื้อทองสุทธิ โดยได้ เพิ่มทุนสำรองสุทธิ 191.3 ตัน ขณะที่เม็กซิโกเพิ่มทองในทุนสำรองมากที่สุด คิดเป็น 83.7 ตัน สู่ 105.4 ตัน ตามมาด้วยรัสเซีย ซึ่งเพิ่มทองในทุนสำรอง 59.3 ตัน ฟิลิปปินส์เป็นผู้ขายทองสุทธิรายใหญ่ที่สุดในปีนี้ โดยขายทองราว 24 ตัน เหลือ 128.77 ตันในทุนสำรอง ส่งผลให้ฟิลิปปินส์เป็นผู้ถือครองทองรายใหญ่ที่สุด อันดับที่ 24 ประเทศตลาดเกิดใหม่ซึ่งส่วนใหญ่มียอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในระดับสูง กำลังหาทางที่จะเพิ่มความหลากหลายของทุนสำรองเงินตราต่างประเทศโดยลด การพึ่งพาดอลลาร์หรือยูโร ราคาทองซึ่งแตะระดับสูงเป็นประวัติการณ์ที่ 1,920.30 ดอลลาร์/ออนซ์ ในเดือนก.ย.ได้ปรับตัวขึ้น 24% ในปีนี้สู่ 1,757 ดอลลาร์/ออนซ์ อันเป็นผลจาก ความปั่นป่วนในตลาดสกุลเงิน ขณะที่วิกฤติหนี้ยูโรโซนย่ำแย่ลง, เศรษฐกิจสหรัฐ อ่อนแอลง และแม้แต่การขยายตัวของประเทศที่มีเศรษฐกิจแข็งแกร่งในเอเชีย ก็ได้ชะลอตัวลง "การปรับฐานของราคาทองในช่วงปลายเดือนก.ย.อาจกระตุ้นแรงซื้อ เพิ่มขึ้น แต่เราไม่คิดว่าราคาจะเป็นปัจจัยที่สำคัญมากสำหรับบรรดาธนาคารกลาง ซึ่งตัดสินใจเพิ่มปริมาณการถือครองทอง และยังเต็มใจที่จะซื้อทองเพิ่มแม้ราคาอยู่ ใกล้ระดับสูงเป็นประวัติการณ์ในเดือนส.ค." นางอีเดล ทูลลี นักวิเคราะห์ของ ยูบีเอสระบุ--จบ-- (รอยเตอร์ โดย กัลยาณี ชีวะพานิช แปล; ก้องเกียรติ กอวีรกิติ เรียบเรียง)
  6. xBT> UPDATE/GREECE:นายกฯกรีซ-ผู้นำฝ่ายค้านบรรลุดีลตั้งรบ.ปรองดองแห่งชาติแล้ว (เพิ่มรายละเอียด) เอเธนส์--7 พ.ย.--รอยเตอร์ ทำเนียบประธานาธิบดีกรีซเปิดเผยว่า นายกรัฐมนตรีจอร์จ ปาปันเดรอู และนายแอนโทนิส ซามาราส ผู้นำพรรคฝ่ายค้าน ได้เห็นพ้องกันในการจัดตั้งรัฐบาล ปรองดองแห่งชาติขึ้นเพื่ออนุมัติข้อตกลงช่วยเหลือจากยูโรโซนก่อนที่จะจัดการเลือกตั้ง ข้อตกลงดังกล่าวมีขึ้น หลังจากผู้นำทั้งสองได้ประชุมหารือกับประธานาธิบดี เพื่อยุติภาวะชะงักงันทางการเมือง และบรรลุข้อตกลงเพื่อตั้งรัฐบาลปรองดองแห่งชาติ ตามข้อเรียกร้องของประเทศพันธมิตรในยุโรป แถลงการณ์ของประธานาธิบดีระบุว่า นายปาปันเดรอูและนายซามาราส จะประชุมกันอีกครั้งในวันนี้เพื่อหารือว่าผู้ใดจะเป็นผู้นำรัฐบาลผสม แต่นายปาปันเดรอู จะไม่เป็นผู้นำรัฐบาลชุดใหม่ --จบ-- (รอยเตอร์ โดย เสาวณีย์ เอกปัญญาชัย แปล; ก้องเกียรติ กอวีรกิติ เรียบเรียง)
  7. มีผู้รู้เขียนบทความเรื่องนี้พอดีในพันทิปลองอ่านดูครับ http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/topic/I11268641/I11268641.html http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/topic/I11288910/I11288910.html http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/topic/I11284645/I11284645.html
  8. ที่เคยใช้มาก็ดีนะ http://www.emro-asia.com/about-em/how-to-make-em-ball.html
  9. xBT> GREECE:นายกฯกรีซเปิดช่องยอมเลิกทำประชามติถ้าฝ่ายค้านหนุนแผนช่วยเหลือในสภา เอเธนส์--4 พ.ย.--รอยเตอร์ นายกรัฐมนตรีจอร์จ ปาปันเดรอูของกรีซเปิดเผยวานนี้ว่า การลงประชามติ ต่อมาตรการช่วยเหลือกรีซนั้น จะถูกยกเลิก ถ้าหากพรรคฝ่ายค้านยินยอมที่จะลงคะแนน เสียงสนับสนุนมาตรการดังกล่าวในรัฐสภา ทางด้านทำเนียบนายกรัฐมนตรีชี้แจงว่า นายปาปันเดรอูไม่ได้เปิดเผยกับ สำนักข่าวเมื่อวานนี้ หลังจากที่มีรายงานโดยอ้างคำกล่าวของเขาว่า เขาได้ยกเลิก แผนการทำประชามติแล้ว นายปาปันเดรอู ซึ่งถูกกดดันทั้งในและต่างประเทศหลังจากประกาศว่า จะจัดการลงประชามติ ได้เปิดเผยต่อคณะรัฐมนตรีว่า เขาพร้อมจะเจรจากับพรรค ฝ่ายค้าน และขอให้พรรคฝ่ายค้านสนับสนุนมาตรการช่วยเหลือวงเงิน 1.30 แสน ล้านยูโร เขากล่าวว่า ถ้าพรรคฝ่ายค้านยินยอมสนับสนุนมาตรการดังกล่าวใน รัฐสภา ก็จะไม่มีการทำประชามติ--จบ-- (รอยเตอร์ โดย เสาวณีย์ เอกปัญญาชัย แปล; ก้องเกียรติ กอวีรกิติ เรียบเรียง)
  10. กระทิงตัวเล็กหรือตัวใหญ่ ไม่ทราบจริงๆครับ แต่ถ้าเล่นราย 4 ชม ก็ต้องซื้อตามสัญญาณครับแล้วทำตามระบบครับ ส่วนตัวยังเล่นสั้นๆอยู่ครับ จนกว่าจะมีเทรนชัดเจน ช่วงนี้กราฟออกข้างเป็นหลัก RSI ค่อนข้างจะแม่นครับ fibo ตอนนี้ก็ทำงานได้ดีครับ ใช้คู่กันเล่นสั้นมันดีครับ
  11. xBT> EUROPE:หุ้นยุโรปทรุดกว่า 2% ตื่นข่าวกรีซทำประชามติ หวั่นปะทุวิกฤติรอบใหม่ ลอนดอน--1 พ.ย.--รอยเตอร์ หุ้นยุโรปทรุดตัวลงในการซื้อขายช่วงแรกในวันนี้ หลังจากนายกรัฐมนตรี กรีซได้ประกาศจัดการลงประชามติต่อข้อตกลงช่วยเหลือกรีซครั้งล่าสุด ซึ่งทำให้ เกิดความเสี่ยงที่จะเกิดวิกฤติยูโรโซนครั้งใหม่ ขณะที่ข้อมูลพบว่า ภาคการผลิต ของจีนชะลอตัวลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 3 ปี ณ เวลา 15.08 น.ตามเวลาไทย ดัชนี FTSEurofirst 300 ดิ่งลง 2.2% อยู่ที่ 973.85 หลังจากปิดร่วงลง 2.2% เมื่อวานนี้ หุ้นกลุ่มธนาคารในยูโรโซนทรุดตัวลง เช่นเดียวกับกลุ่มเหมือง "มีความเสี่ยงที่การลงประชามติ "ไม่เห็นด้วย" จากกรีซจะทำลาย ความพยายามช่วยเหลือโดยสิ้นเชิง เนื่องจากการลงประชามติกำหนดไว้ในเดือน ม.ค.2012 เราก็คงจะได้แต่บอกลาการเห็นตลาดทะยานขึ้นในช่วงสิ้นปี" เทรดเดอร์ ในปารีสกล่าว นายเรเนอร์ บรูเดิร์ล หัวหน้าพรรคฟรี เดโมแครต (FDP) ซึ่งเป็นพรรค ร่วมรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีแองเจลา เมอร์เคลของเยอรมนี เปิดเผยว่า เขารู้สึก "หงุดหงิด" ที่ได้ข่าวว่านายกรัฐมนตรีจอร์จ ปาปันเดรอูของกรีซได้จัดให้มีการลงประชามติ ต่อมาตรการช่วยเหลือกรีซจากสหภาพยุโรป เขากล่าวว่า สำหรับเขา ดูเหมือนว่ากรีซกำลังพยายามถอนตัวจากข้อตกลง ที่ทำร่วมกับผู้นำอียู "นายกรัฐมนตรีกรีซเห็นด้วยกับมาตรการช่วยเหลือ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อ ประเทศของเขาเอง ขณะที่ประเทศอื่นๆก็กำลังทำการเสียสละอย่างมากสำหรับการ บริหารจัดการที่ผิดพลาดและความเป็นผู้นำที่อ่อนแอมานานนับทศวรรษของกรีซ โดย มีการตัดสินใจผิดๆเกิดขึ้น และกรีซก็จัดการจนพาตัวเองไปสู่วิกฤติ" "สำหรับผม ฟังดูเหมือนว่ามีใครบางคนกำลังพยายามถอนตัวจากสิ่งที่ ตกลงกันแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องแปลกที่ทำอย่างนั้น" นายบรูเดิร์ลกล่าว เขากล่าวอีกว่า มีทางออกเดียวในขณะนี้ "เราสามารถทำได้แค่เรื่องเดียวคือเตรียมตัวรับเหตุการณ์ไม่คาดคิด ซึ่งจะมีการล้มละลายในกรีซ และถ้ากรีซไม่ได้ทำตามข้อตกลง ก็อาจจะเกิดเหตุการณ์ ที่ว่าจะมีการตัดกระแสเงินที่ช่วยเหลือกรีซ" "พวกเขาจะเผชิญกับภาวะล้มละลายของรัฐ และจะต้องต่อสู้กับความวิตก ที่ปัญหาจะลุกลามไปถึงระบบธนาคารยุโรป ซึ่งจะมีสาเหตุมาจากเรื่องนี้" นายบรูเดิร์ล กล่าว นายกรัฐมนตรีจอร์จ ปาปันเดรอูของกรีซอาจทำให้ยูโรโซนต้องเผชิญกับ วิกฤตการณ์ครั้งใหม่ เมื่อเขาประกาศว่าจะจัดการทำประชามติต่อข้อตกลงในมาตรการ แก้ไขวิกฤติหนี้ยูโรโซนที่กรีซทำกับกลุ่มประเทศและองค์กรเจ้าหนี้ในสัปดาห์ที่แล้ว ข้อตกลงดังกล่าวครอบคลุมถึงมาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน รอบ 2 สำหรับรัฐบาลกรีซในวงเงิน 1.30 แสนล้านยูโร และการปรับลดมูลค่า พันธบัตรรัฐบาลกรีซลง 50 % เพื่อที่กรีซจะได้มีความสามารถในการชำระหนี้ อย่างยั่งยืน กรีซมีแนวโน้มที่จะจัดการลงประชามติในช่วงต้นปีหน้า ซึ่งจะถือเป็นการ ลงประชามติครั้งที่ 2 ของกรีซในรอบเกือบ 40 ปี โดยการลงประชามติครั้งก่อน เกิดขึ้นในเดือนธ.ค.1974 เมื่อชาวกรีซโหวตให้ยกเลิกระบอบกษัตริย์ในเวลาไม่นาน หลังจากการล่มสลายของระบอบเผด็จการทหาร นักวิเคราะห์กล่าวว่า การจัดการลงประชามติครั้งใหม่นี้ถือเป็นเรื่องที่น่า ประหลาดใจ เพราะผลสำรวจความเห็นครั้งล่าสุดระบุว่า ชาวกรีซส่วนใหญ่มีความเห็น คัดค้านข้อตกลงแก้ไขวิกฤติหนี้ดังกล่าว ผลสำรวจในวันอาทิตย์ระบุว่า ชาวกรีซเกือบ 60 % มีความเห็นคัดค้าน หรืออาจคัดค้านต่อข้อตกลงในการประชุมสุดยอดของสหภาพยุโรป (อียู) ในสัปดาห์ที่แล้ว นายโฮเวิร์ด วีลดอน นักยุทธศาสตร์การลงทุนของบริษัทบีจีซี พาร์ทเนอร์ส กล่าวว่า "ถ้าหากจะมีการลงประชามติ เราก็อาจได้ข้อสรุปว่าชาวกรีซจะไม่ยอมรับ มาตรการรัดเข็มขัด ซึ่งจะส่งผลให้ทุกสิ่งทุกอย่างล่มสลายลง" หลังจากมีการเปิดเผยข่าวเกี่ยวกับการลงประชามติ นักการเมืองบางคน ก็กล่าวหานายปาปันเดรอูว่ากำลังทำในสิ่งที่เสี่ยงมากต่ออนาคตของประเทศ และ คาดการณ์ว่ากรีซจะผิดนัดชำระหนี้ ในขณะที่นักการเมืองบางคนตั้งคำถามว่าการลง ประชามติในครั้งนี้เป็นสิ่งที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ส่วนสมาชิกรัฐสภาบางคนกล่าวว่า ถ้าหากผลการลงประชามติบ่งชี้ว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย นายปาปันเดรอูก็จะ ต้องลาออกจากตำแหน่ง และจัดการเลือกตั้งก่อนกำหนด นายคริสโตเฟอร์ พิสซาริเดส นักเศรษฐศาสตร์ที่เคยได้รับรางวัลโนเบล กล่าวว่า "เป็นเรื่องยากที่จะคาดการณ์ได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับกรีซถ้าหากกรีซปฏิเสธ ข้อตกลงใหม่ โดยการปฏิเสธนี้จะส่งผลเลวร้ายมากต่อสหภาพยุโรปและโดยเฉพาะต่อ ยูโรโซน แต่จะส่งผลเลวร้ายกว่านั้นมากต่อกรีซ" นายพิสซาริเดสกล่าวว่า "ถ้าหากชาวกรีซลงมติไม่ยอมรับ กรีซก็จะประกาศ ล้มละลายในทันที และจะผิดนัดชำระหนี้ในทันที และผมก็คาดว่ากรีซจะไม่อยู่ในยูโรโซน อีกต่อไป"--จบ-- (รอยเตอร์ โดย เสาวณีย์ เอกปัญญาชัย แปลจากข่าว#211; ก้องเกียรติ กอวีรกิติ เรียบเรียง)
  12. xBT> EUROPE:ธ.กลางเยอรมนีเตือนวิกฤติยูโรโซนเสี่ยงลุกลามไปประเทศอื่น เบอร์ลิน--31 ต.ค.--รอยเตอร์ ประธานธนาคารกลางเยอรมนี (บุนเดสแบงก์) กล่าวว่า การจัดการ ของยุโรปต่อวิกฤติหนี้สาธารณะได้สร้างความเสี่ยงต่อการนำไปสู่การกระจุกตัว ของความเสี่ยงภายในยูโรโซน และเตือนว่าวิธีการดังกล่าวอาจก่อให้เกิดปัญหา กับประเทศสมาชิกใหม่ในที่สุด "จะเป็นหายนะ ถ้ามีความรู้สึกเกิดขึ้นว่า ปัญหาทางการคลังไม่ได้รับ การแก้ไขจากความพยายามในประเทศที่ได้รับผลกระทบ แต่กลับแก้ไขผ่านความ ช่วยเหลือจากประเทศอื่น หรือมาตรการปรับโครงสร้างหนี้" นายเจนส์ ไวด์แมนน์ ประธานบุนเดสแบงก์กล่าว "สิ่งนี้จะทำลายความเชื่อมั่นต่อฐานะการคลังที่ยั่งยืน และศรัทธาต่อรัฐบาล และวิกฤตินี้จะลุกลามไปยังประเทศอื่นๆ" เขากล่าวอีกว่า ผลขาดทุนของเจ้าหนี้ภาคเอกชนของกรีซจะบรรเทาภาระ หนี้ของกรีซ แต่จะไม่แก้ไขปัญหาพื้นฐานของกรีซ และเขายังวิพากษ์วิจารณ์การตัดสินใจ ในการประชุมสุดยอดอียูครั้งล่าสุดว่านำไปสู่การกระจุกตัวของความเสี่ยงในภูมิภาค --จบ-- (รอยเตอร์ โดย เสาวณีย์ เอกปัญญาชัย แปล; ก้องเกียรติ กอวีรกิติ เรียบเรียง)
  13. ในราย ชม มันเป็นแบบในกราฟ เลยเป็นเหตุให้เช้านี้ลงหรือเปล่าว
  14. เหมือนกับว่า เขา ผ่านกฎข้อนี้มาแล้ว แต่ยังไม่ได้กำหนดวันว่าจะเริ่มใช่เมื่อไร เมื่อกำหนดวันแล้วก็จะให้เวลาขาทุบอีก สองเดือนในการจัดพอร์ท ที่น่าสนใจคือข้อสามครับ 3) If they pass the rule WITH the a few month implementation process then we would likely see JPM and friends bring silver back up to previous highs before another MAJOR SLAM before the rule is implemented. 3 ถ้ากฎนี้ผ่านโดยมีกำหนดเวลาใช้ในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า เราน่าจะได้เห็นเจพีมอแกนและพวกทำให้ราคาโลหะเงินกลับไปสูงเท่าเก่าก่อนที่จะทำให้ตกต่ำลงมาอย่างมากอีกก่อนการบังคับใช้กฎ
  15. ที่ทองขึ้นช่วงนี้ทำให้นึกถึงความเห็นข้างบนนี้ครับ ลองหาคนแปลมาให้หวังว่าคงแปลมาไม่คลาดเคลื่อนมากนะ Today's passing of the position limit rule was a big deal but don't expect it to end manipulation immediately. First of all, there's a 60 day waiting period allowing JP Morgan to further close out their big short position. Second that 60 day waiting period doesn't start until after the CFTC defines the word "swap". Rediculous I know! Like I said before....they don't want to start the crash but rather be ready to try and fix the problem AFTER THE CRASH. It was clear to me that at some point in the very near future Position Limits will be firmly in place and that is not good news for the bad guys. การผ่านกฎจำกัดการถือครองเป็นเรื่องใหญ่แต่ไม่ได้คาดว่าจะจบการผันผวนได้ในทันที ประการแรก ยังมีเวลา 60 วันที่เจพีมอแกนสามารถปิด short position ขนาดใหญ่ได้ ประการที่สอง ช่วงเวลา 60 วันดังกล่าวยังไม่เริ่มต้น จะเริ่มต้นก็ต่อเมื่อ CFTC ให้คำจำกัดความคำว่าสวอป น่าหัวเราะเยาะเป็นอย่างยิ่ง เหมือนกับที่ชั้นเคยพูดมาก่อน เค้าไม่ต้องการให้การล้มลงเริ่มต้นแต่พยายามที่จะแก้ปัญหาหลังการล้ม เป็นที่ชัดเจนว่า ในอนาคตอันใกล้ การจำกัด position จะมาแทนที่ และนี่ไม่ใช่ข่าวดีสำหรับคนเลว Last week I sent out a special report to Private Road members (HERE) with the following comment on this hearing... So how can this all play out? Here are 3 scenarios: สัปดาห์ที่ผ่านมา ได้ส่งรายงานพิเศษให้กับสมาชิกด้วยควาเห็นนี้ และเราควรจะทำอย่างไรกันต่อ มี 3 ทางที่อาจจะเกิดขึ้นได้ 1) If they don't pass the rule on the 18th then we are right back to where we have been for the entire year. Continued manipulations into the foreseeable future. 1 ถ้ากฎนี้ไม่ผ่านในวันที่ 18 เราจะกลับไปที่จุดเริ่มของทั้งปีนี้ คือการจัดการให้เกิดความกลัวในอนาคตที่ไม่รู้ต่อไป 2) If they pass the rule WITHOUT the few month implementation I would say "IT'S OFF TO THE RACES FOR SILVER!" The sky's the limit followed by a global meltdown of all monetary systems...the END GAME. 2 ถ้ากฎนี้ผ่านโดยไม่มีการกำหนดการใช้ในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า เราอาจกล่าวได้ว่า การวิ่งของโลหะเงินนั้นจบลงแล้ว การจำกัดเพดานสูงลิ่วโดยตามมาด้วยการละลายระบบการเงิน ทำให้เกมส์จบ 3) If they pass the rule WITH the a few month implementation process then we would likely see JPM and friends bring silver back up to previous highs before another MAJOR SLAM before the rule is implemented. 3 ถ้ากฎนี้ผ่านโดยมีกำหนดเวลาใช้ในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า เราน่าจะได้เห็นเจพีมอแกนและพวกทำให้ราคาโลหะเงินกลับไปสูงเท่าเก่าก่อนที่จะทำให้ตกต่ำลงมาอย่างมากอีกก่อนการบังคับใช้กฎ If I were a betting man...I'd bet on scenario number 3. I think they will pass the rule and give the banksters a few months. During these few months the next financial crisis will hit allowing the banks to crash the gold and silver markets and cover even more of their short and then try to go long. ถ้าฉันเป็นนักพนัน ฉันจะทายข้อ 3 ฉันคิดว่าเค้าจะผ่านกฎและให้เวลา 2-3 เดือน ช่วง 2-3 เดือนนี้จะเกิดวิกฤตการเงินที่ทำให้ธนาคารจำเป็นต้องทำให้ตลาดทองและเงินล่ม และได้คืนมามากกว่าด้วย short และพยายาม long กลับ
  16. xBT> ENGLAND:รมว.คลังอังกฤษระบุอังกฤษจะไม่จ่ายเงินสมทบแก่ EFSF ลอนดอน--27 ต.ค.--รอยเตอร์ นายจอร์จ ออสบอร์น รมว.คลังอังกฤษกล่าวในวันนี้ว่า อังกฤษจะไม่จ่ายเงิน สมทบให้แก่กองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป (EFSF) นายออสบอร์นกล่าวต่อสถานีวิทยุบีบีซีว่า "เราจะไม่จ่ายเงินสมทบให้กองทุน ช่วยเหลือยูโรโซน แต่เราเป็นสมาชิกกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เรา จะไม่หันหลังให้แก่ไอเอ็มเอฟ" อย่างไรก็ดี ข้อตกลงของผู้นำยูโรโซนเมื่อวานนี้ไม่ได้ระบุว่า ไอเอ็มเอฟจะเ พิ่มปริมาณเงินทุนที่ใช้ในการช่วยเหลือยูโรโซน นายออสบอร์นกล่าวว่า "เราจะจ่ายสมทบให้แก่แหล่งเงินทุนที่เปิดกว้างสำหรับ สมาชิกทุกรายของไอเอ็มเอฟที่มีอยู่ทั่วโลก เราจะไม่จ่ายสมทบให้แก่กองทุนที่มีความ สัมพันธ์โดยตรงกับยูโรโซน" "เราจะไม่จ่ายสมทบให้แก่นิติบุคคลเฉพาะกิจที่จัดตั้งขึ้นเพื่อดึงดูดเงิน ลงทุนจากกองทุนความมั่งคั่งของรัฐบาลต่างประเทศหรือรัฐบาลจีน หรือจากประชาชน ที่มียอดเกินดุลสูง ในขณะที่เรามียอดขาดดุลสูง" นายออสบอร์นกล่าว นายออสบอร์นแสดงความพึงพอใจต่อข้อตกลงของผู้นำอียูในการแก้ไขวิกฤติหนี้ ยูโรโซน และกล่าวว่าขณะนี้ยุโรป "อยู่ในสถานะที่ดีขึ้นมาก" นอกจากนี้ เขายังกล่าว เตือนว่าภาวะไร้เสถียรภาพในยูโรโซน "ส่งผลกระทบที่น่ากลัว" ต่อเศรษฐกิจอังกฤษ--จบ-- (รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
  17. xBT> EUROPE:คาดที่ประชุมอียูวันนี้ยังไม่สามารถตกลงกันได้ในการแก้วิกฤติหนี้ บรัสเซลส์--26 ต.ค.--รอยเตอร์ นักวิเคราะห์มองว่า ขณะนี้แทบไม่มีแนวโน้มว่าผู้นำสหภาพยุโรป (อียู) จะสามารถบรรลุข้อตกลงแบบเบ็ดเสร็จในการแก้ไขวิกฤติหนี้ยูโรโซนในการ ประชุมสุดยอดในวันนี้ เนื่องจากผู้นำยังคงมีความเห็นแตกต่างจากกันเป็นอย่าง มากในประเด็นสำคัญ ซึ่งรวมถึงประเด็นเรื่องวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพของกองทุน รักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป (EFSF) เจ้าหน้าที่อียูและนักการทูตยุโรปกำลังปรับลดการคาดการณ์ที่ว่าการ ประชุมสุดยอดผู้นำยูโรโซน 17 ประเทศจะประสบความสำเร็จครั้งใหญ่ ถึงแม้ ฝรั่งเศสและเยอรมนีเคยให้สัญญาเมื่อไม่กี่สัปดาห์ก่อนว่า จะมีการหาทางออก แบบเบ็ดเสร็จให้แก่วิกฤติหนี้ยูโรโซนก่อนสิ้นเดือนนี้ ถึงแม้หลายประเทศมีความเห็นตรงกันว่า จำเป็นต้องมีการอัดฉีดเงิน ราว 1.10 แสนล้านยูโร (1.50 แสนล้านดอลลาร์) เข้าสู่ระบบธนาคารยุโรป เพื่อช่วยเหลือภาคธนาคารในการรับมือกับการผิดนัดชำระหนี้ของกรีซและการลุก ลามของวิกฤตการณ์ ประเด็นสำคัญอีก 2 ประเด็นในแผนแก้วิกฤติก็ยังคงขาด ความชัดเจน ประเด็นหนึ่งคือเรื่องการปรับเพิ่มประสิทธิภาพของ EFSF ซึ่งมีขนาด 4.40 แสนล้านยูโร ส่วนประเด็นที่สองคือเรื่องการปรับลดภาระหนี้สินของกรีซ โดยให้นักลงทุนเอกชนซึ่งรวมถึงบริษัทประกันและธนาคารขนาดใหญ่ยอมรับยอด สูญเสียมากยิ่งขึ้นจากการถือครองพันธบัตรรัฐบาลกรีซ ผู้นำอียูจะพิจารณาวิธีการ 2 วิธีในการปรับเพิ่มประสิทธิภาพ EFSF โดยวิธีการแรกคือการให้ EFSF ค้ำประกันผู้ซื้อพันธบัตรรัฐบาลใหม่ของยูโรโซน ส่วนวิธีการที่สองคือการใช้กำลังความสามารถบางส่วนของ EFSF ในการจัดตั้ง นิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการลงทุน โดยกิจการดังกล่าวจะดึงดูดเงินจากนักลงทุน และกองทุนบริหารความมั่งคั่งของรัฐบาลประเทศต่างๆเพื่อนำไปซื้อตราสารหนี้ ทั้งนี้ ผู้นำอียูอาจจะตกลงกันในการรวมวิธีการทั้งสองวิธีเข้าด้วยกัน นักลงทุนในตลาดการเงินคาดหวังกันมานานหลายสัปดาห์แล้วว่า การประชุมสุดยอดในวันนี้จะส่งผลให้มีการประกาศรายละเอียดตัวเลขเกี่ยวกับ วิธีการแก้ไขวิกฤติหนี้ อย่างไรก็ดี แหล่งข่าวกล่าวว่า ขณะนี้แทบไม่มีแนวโน้ม ว่าจะมีการประกาศตัวเลขที่ชัดเจนในการประชุมครั้งนี้ การประชุมสุดยอดในวันนี้จะเริ่มต้นในเวลา 22.00 น.ตามเวลาไทย โดยผู้นำประเทศสมาชิกอียูทั้ง 27 ประเทศจะเข้าร่วมในการประชุมดังกล่าว หลังจากนั้นผู้นำประเทศสมาชิกยูโรโซน 17 ประเทศจะเข้าร่วมการประชุมอีกรอบ ในเวลา 00.30 น.ของคืนวันนี้ตามเวลาไทย--จบ-- (รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปล; กัลยาณี ชีวะพานิช เรียบเรียง)
  18. xBT> GREECE:แหล่งข่าวเผยรบ.กรีซต้องการมาตรการแก้วิกฤติหนี้จนถึงปี 2035 บรัสเซลส์--25 ต.ค.--รอยเตอร์ แหล่งข่าวกล่าวเมื่อวานนี้ว่า รัฐบาลกรีซต้องการให้มาตรการแก้ไขวิกฤติหนี้ กรีซครอบคลุมพันธบัตรรัฐบาลกรีซที่จะครบกำหนดไถ่ถอนจนถึงปี 2035 โดยกระบวนการ นี้ควรตั้งอยู่บนความสมัครใจของเจ้าหนี้ และการทำข้อตกลงใดๆในเรื่องนี้ต้องมีธนาคาร กลางยุโรป (อีซีบี) เข้าร่วมด้วย มาตรการใหม่นี้จะนำมาใช้แทนที่แผนการเดิมที่สหภาพยุโรป (อียู) ตกลงกันไว้ ในเดือนก.ค. โดยแผนการเดิมระบุว่าภาระหนี้สินของกรีซจะได้รับการปรับลดลงผ่าน ทางโครงการแลกเปลี่ยนพันธบัตรที่ครบกำหนดไถ่ถอนจนถึงปี 2020 แหล่งข่าวกล่าวว่า "เรากำลังพิจารณาหนี้สินทั้งหมดของกรีซ ซึ่งรวมถึง พันธบัตรที่จะครบกำหนดไถ่ถอนในปี 2035 แทนที่จะเป็นปี 2020 เหมือนที่แผนการ เดิมระบุไว้" ผู้นำประเทศสมาชิกยูโรโซน 17 ประเทศจะประชุมสุดยอดกันในวันพรุ่งนี้เพื่อ ตกลงกันเรื่องเงื่อนไขในมาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงินรอบสองสำหรับกรีซ ซึ่งรวมถึงการปรับลดมูลค่าพันธบัตรกรีซที่ภาคเอกชนถือครองไว้ในปริมาณราว 2 แสนล้านยูโร รายงานของผู้ตรวจการณ์ต่างประเทศระบุว่า มาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน รอบสองสำหรับกรีซที่มีขนาด 1.09 แสนล้านยูโรที่ตกลงกันไว้ในเดือนก.ค.จะมีขนาด ไม่เพียงพอต่อการแก้ไขปัญหาอีกต่อไป นอกจากว่าเอกชนจะยอมรับการปรับลดมูลค่า พันธบัตรรัฐบาลกรีซลง 60 % นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า ถ้าหากไม่มีการปรับลดมูลค่าพันธบัตรดังกล่าว กรีซ ก็จำเป็นต้องได้รับเงินช่วยเหลือสูงกว่า 2.50 แสนล้านยูโรถึงจะมีความสามารถในการ ชำระหนี้ได้ แหล่งข่าวกล่าวว่า รัฐบาลกรีซและอีซีบีคัดค้านการบีบบังคับให้เอกชนปรับลด มูลค่าการถือครองพันธบัตรลง แหล่งข่าวในรัฐบาลกรีซกล่าวว่า "การตกลงกับอีซีบีถือเป็นเงื่อนไขหนึ่ง มาตรการนี้จะไม่สามารถทำได้ถ้าไม่มีอีซีบี นอกจากนี้ เรายังคัดค้านการดำเนินมาตรการ เพียงฝ่ายเดียวที่ทำให้ตีความได้ว่าเป็นการปรับโครงสร้างหนี้" อย่างไรก็ดี นายชาร์ลส์ ดัลลารา ผู้อำนวยการสถาบันการเงินระหว่างประเทศ (IIF) กล่าวเตือนว่า การทำข้อตกลงใดๆก็ตามที่เป็นการบีบบังคับให้ธนาคารพาณิชย์ ต้องยอมรับยอดสูญเสียมากยิ่งขึ้น "จะมีค่าเท่ากับการผิดนัดชำระหนี้" "มีข้อจำกัดต่อสิ่งที่สามารถเรียกได้ว่าตั้งอยู่บนความสมัครใจของนักลงทุน และของผู้มีส่วนร่วมในตลาดในวงกว้าง" นายดัลลารากล่าว ธนาคารพาณิชย์ของกรีซถือครองพันธบัตรรัฐบาลกรีซราว 4 หมื่นล้านยูโร โดย แหล่งข่าวกล่าวว่าธนาคารกรีซจำเป็นต้องเพิ่มทุนในอนาคต แต่จะไม่ถูกโอนกิจการ เข้ามาเป็นของรัฐบาล--จบ-- (รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
×
×
  • สร้างใหม่...