ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

ค้นหาในชุมชน

แสดงผลลัพธ์สำหรับแท็ก 'กระเพาะปัสสาวะอักเสบ อาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ'

  • ค้นหาโดยแท็ก

    พิมพ์แท็กแยกด้วยเครื่องหมายลูกน้ำ
  • ค้นหาโดยผู้เขียน

ประเภทเนื้อหา


ฟอรั่ม

  • มุมมือใหม่ หัดใช้เวปบอร์ด
    • แนะนำการใช้งานเวปบอร์ด
  • สภากาแฟ
    • สภากาแฟ
    • บทวิเคราะห์ราคาทองคำ
    • วิเคราะห์หุ้น-การเงิน-การลงทุน
    • เตือนภัยสังคม
    • เปิดประเด็น
  • เนื้อหาสาระเกี่ยวกับทองคำ การลงทุน
    • บทความเกี่ยวกับทองคำ
    • บทเรียนเกี่ยวกับทองคำ
    • ข่าวราคาทองคำ การลงทุน
    • การใช้งาน Software
  • นอกเรื่องนอกราว
    • เก็บมาฝาก
    • IT เทคโนโลยี
    • มุมสุขภาพ
    • ชวนกันทำบุญ
    • โฆษณา-ประชาสัมพันธ์

หมวด

  • Articles
    • Forum Integration
    • Frontpage
  • Pages
  • Miscellaneous
    • Databases
    • Templates
    • Media
  • รวมบทความ

บล็อก

ไม่มีผลลัพธ์จะแสดง

ไม่มีผลลัพธ์จะแสดง

หมวด

  • แฟ้มสาระ
    • MT4 Stuffs
    • Seminar ThaiGOLD 4
  • แฟ้มทั่วไป
    • เพลงน่าฟัง
    • อื่นๆอีกมากมาย

ค้นหาผลลัพธ์ใน...

ค้นหาผลลัพธ์ซึ่ง ...


วันที่สร้าง

  • เริ่ม

    สิ้นสุด


อัปเดตล่าสุด

  • เริ่ม

    สิ้นสุด


กรองโดยสมาชิกของ

เข้าร่วม

  • เริ่ม

    สิ้นสุด


กลุ่ม


AIM


MSN


Website URL


ICQ


Yahoo


Jabber


Skype


ความชื่นชอบ

พบผลลัพธ์จำนวน 1 รายการ

  1. กระเพาะปัสสาวะอักเสบ เรียกว่าเป็นโรคยอดฮิตของผู้หญิงเมืองหลวงก็ว่าได้ เนื่องด้วยการจราจรที่ติดขัดบนท้องถนน ส่งผลทำให้สาว ๆ หลายคน ต้องทนกลั้นปัสสาวะกันบ่อย ๆ หรือบางครั้งต้องเดินทางไกลไปต่างจังหวัด ต้องนั่งรถโดยสารสาธารณะเป็นเวลานานมากถึงจะได้เข้าห้องน้ำ และยิ่งหากต้องเจอกับห้องน้ำสาธารณะที่สกปรกด้วยแล้วก็ไม่จะยอมเข้า จึงได้แต่ทนปวดไปก่อน พอได้เข้าห้องน้ำกลับมีอาการปวดท้องน้อย ปัสสาวะแสบขัด ซึ่งเป็นอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ซึ่งโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ เป็นการอักเสบติดเชื้อต่อเนื่องมาจากท่อปัสสาวะ เกิดจากการกลั้นปัสสาวะนาน ๆ บ่อย ๆ หรือทำความสะอาดอวัยวะเพศไม่ดีพอนั่นเอง สาว ๆ หลายคนมองข้ามเพราะคิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย ความจริงแล้วมีอันตรายมากกว่าที่เราคิด วันนี้เรามีความรู้จากทางศูนย์ศัลยกรรม โรงพยาบาลนครธน มาฝาก เพื่อที่สาว ๆ จะได้รู้ถึงอันตรายของโรคกระเพราะปัสสาวะอักเสบ ที่เกิดจากการติดเชื้อเช่นนี้กันค่ะ คนที่ชอบกลั้นปัสสาวะเอาไว้นาน ๆ กลั้นบ่อย ๆ หรือ บางคนปวดปัสสาวะแต่ไม่สามารถเข้าห้องน้ำได้ ต้องทนปวดไปก่อน พอได้เข้าห้องน้ำกลับมีอาการปวดท้องน้อย ปัสสาวะแสบขัด นั้นคือสัญญาณว่าคุณกำลังเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ซึ่งโรคนี้หลาย ๆ คนอาจจะคิดว่าไม่ใช่โรคที่ร้ายแรงอะไร แต่ถ้าหากทุกคนมองข้ามโรคนี้แล้วปล่อยให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดการอักเสบของไตเรื้อรัง และยิ่งไปกว่านั้นอาจทำให้เกิดการติดเชื้อแทรกซ้อน กลายเป็นการอักเสบติดเชื้อในกระแสเลือด ที่ส่งผลให้เสียชีวิตได้อีกด้วย กระเพาะปัสสาวะทำหน้าที่อะไร กระเพาะปัสสาวะ เป็นอวัยวะที่มีรูปร่างคล้ายบอลลูน ในผู้หญิงจะอยู่หลังกระดูกหัวเหน่าภายในอุ้งเชิงกรานด้านหน้ามดลูก และผู้ชายจะอยู่ด้านหน้าต่อทวารหนัก มีหน้าที่กักเก็บปัสสาวะได้ประมาณ 350-500 มิลลิลิตร ผนังของกระเพาะปัสสาวะมีกล้ามเนื้อเรียบ 3 ชั้น ที่คอของกระเพาะจะมีกล้ามเนื้อหูรูดทวารเบามัดใน (internal sphincter muscle) ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อลายอยู่ด้วย กระเพาะปัสสาวะจะทำหน้าที่เป็นที่เก็บสะสมน้ำปัสสาวะ จนกระทั่งมีน้ำปัสสาวะเกิน 250 มิลลิลิตร ก็จะรู้สึกปวด อยากถ่ายปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะจะหดตัว ขับน้ำปัสสาวะออกมา เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม โดยไม่มีอาการปวดหรือแสบใด ๆ โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบเกิดจากอะไร กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis) เป็นหนึ่งในกลุ่มโรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ (Urinary Tract Infection หรือ UTI) ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียจากบริเวณรอบท่อปัสสาวะ พบได้ในทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะพนักงานออฟฟิศ หรือคนที่นั่งโต๊ะทำงาน เนื่องจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ปรับเปลี่ยน ทำให้บ่อยครั้งต้องอั้นปัสสาวะเป็นระยะเวลานาน ๆ หรือเร่งรีบเบ่งปัสสาวะซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคนี้ที่พบบ่อยที่สุดในปัจจุบัน ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ส่วนใหญ่มักเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากผู้หญิงมีท่อปัสสาวะสั้นและอยู่ใกล้กับช่องคลอดและทวารหนัก ทำให้เชื้อโรคเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะผ่านทางท่อปัสสาวะได้โดยง่าย ขณะที่ผู้ชายมีท่อปัสสาวะยาวกว่าและอยู่ห่างจากทวารหนัก โอกาสที่เชื้อโรคจะผ่านเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะจึงมีน้อยกว่ามาก รวมไปถึงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ดังนี้ การกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน จะทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโตได้ดี เกิดการสะสมของแบคทีเรียซึ่งนำไปสู่การติดเชื้อได้ง่าย ผู้สูงอายุ เนื่องจากสุขอนามัยบริเวณอวัยวะเพศไม่ดี โดยเฉพาะคนที่ป่วยเป็นโรคที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ หรือในผู้ที่ขาดคนดูแลอย่างใกล้ชิด และไม่ค่อยได้เคลื่อนไหว ดื่มน้ำน้อย ปัสสาวะจึงแช่ค้างหรือคั่งในกระเพาะปัสสาวะ เชื้อโรคและแบคทีเรียจึงเจริญเติบโตได้ดี สตรีมีครรภ์ เมื่ออายุครรภ์ที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ศีรษะของทารกในท้องกดดันให้เกิดการคั่งของปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะไม่หมด เกิดปัสสาวะแช่ค้างในกระเพาะปัสสาวะ และก่อให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย การดูแลรักษาสุขอนามัยบริเวณอวัยวะเพศไม่ดี โดยเฉพาะผู้หญิงหากทำความสะอาดไม่ถูกวิธี ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ผู้ป่วยที่รับประทานยากดภูมิคุ้มกัน หากควบคุมโรคได้ไม่ดี จะมีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ การสวนล้างช่องคลอดด้วยยาปฏิชีวนะ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน อาการบ่งบอกกระเพาะปัสสาวะอักเสบ อาการแสดงที่สำคัญ คือ ปัสสาวะบ่อย แสบขัด อาจบ่อยมากทุก ๆ 1-2 ชั่วโมงหรือกระปริบประปรอย หรืออาจแสบขัดมาก จนไม่อยากถ่ายปัสสาวะ อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปัสสาวะไม่ค่อยสุด หยด หรือไหลซึมออกมาอีก รู้สึกปวดบริเวณท้องน้อย ขณะปัสสาวะสุด อาจปวดมากแบบบิดเกร็งหรืออาจปวดแบบถ่วงๆ ปัสสาวะมีเลือดหยดออกมาตอนสุดหรือมีเลือดปนในน้ำปัสสาวะ บางรายมีอาการไข้ร่วมด้วย ปัสสาวะขุ่น ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็น กลางคืนต้องตื่นลุกขึ้นมาปัสสาวะเกิน 2 ครั้งขึ้นไป การตรวจและวินิจฉัยโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ แพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ร่วมกับการตรวจปัสสาวะถ้าตรวจพบเม็ดเลือดขาวในน้ำปัสสาวะ ก็วินิจฉัยได้เลยว่าเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ หากมีการติดเชื้อแพทย์อาจส่งน้ำปัสสาวะเพื่อการเพาะเชื้อ ในกรณีที่เป็นซ้ำบ่อย ๆ หรือมีอาการรุนแรง อาจจำเป็นต้องตรวจอัลตราซาวด์หรือส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะเพิ่มเติมว่ามีความผิดปกติในกระเพาะปัสสาวะหรือไม่ เช่น มีนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ หรือนิ่วในไต เป็นต้น การรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ โดยทั่วไปการรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ คือ การให้ยาปฏิชีวนะประมาณ 3-5 วันขึ้นอยู่กับชนิดของยา ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงอาจต้องรับประทานยาปฏิชีวนะนาน 7-10 วัน ร่วมกับการรักษาตามอาการ เช่น ยาแก้ปวด ยากลายการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น และ ให้ดื่มน้ำเสมอๆ วันละ 2.5 ลิตรต่อวัน (24 ชั่วโมง) ป้องกันไม่ให้เป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบอย่างไร โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบสามารถป้องกันได้ด้วยการลดความเสี่ยงของโรคลง อาทิ ไม่ควรกลั้นปัสสาวะโดยไม่จำเป็น การดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวัน รักษาสุขอนามัยบริเวณอวัยวะเพศด้วยการทำความสะอาดจากด้านหน้าไปด้านหลัง ควบคุมโรคเบาหวานที่เป็นปัจจัยเสี่ยง ไม่สวนล้างช่องคลอดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ และหลังมีเพศสัมพันธ์ ควรปัสสาวะทิ้งและทำความสะอาดร่างกายทันที เป็นต้น หากคุณต้องการติดต่อเพื่อเข้ารับการรักษา หรือต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติมศูนย์ศัลยกรรม ของโรงพยาบาลนครธน มีความพร้อมเป็นอย่างมากมีบุคลากรทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไว้รองรับและคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษา สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลก่อนได้ตามลิงค์ด้านล่างได้เลยค่ะ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nakornthon.com/article/detail/โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
×
×
  • สร้างใหม่...