ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

มีเพื่อนส่งข้อความส่วนตัวมาให้ผม เห็นว่าเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆดนอื่นได้ เลยเอามาโพสในนี่ให้ได้อ่าน แต่ก็เอาเฉพาะข้อความ ไม่เอาซื่อของเพื่อนที่โพสถามมาให้เห็นนะครับ

 

คุณทองใหม่ค่ะ ไม่่เอาเส้นปากถุงมาลงแล้วหรอคะ หรือคนอื่นดูยาก

พอดีไปอบรมกับเฮียกัมมา เส้นต่าง ๆ ที่เค้าลาก เรียกไรหว่าลืมล่ะ ไม่แน่ใจใช่ rsi mac หรือ ma ต้องเปิดตำราอีกที ก็คือเส้นปากถุง รึป่าวคะ เห็นท่านเอ่ยถึง

ก็คิดว่าตัวเองดูเส้นปากถุงเป็น จากตำราคุณ แต่เส้นพวกนั้นดูไม่เป็น ก็จะเอามาผสมจำ หัด mix กัน เส้นบนขึ้น เส้นกลางขึ้น เล่นล่างลง กำหนดทิศไปทางไหน ไรเงี้ยค่ะ

 

 

เส้นปากถุง คือ BollingerBands ไม่ใช่ rsi mac หรือ ma ครับ เหตุที่ผมไม่โพสเพราะไม่ค่อยมีคนสนใจสักเท่าไหร่ ผมติดตามกราฟที่ผมโพส จะเห็นได้ชัดอย่างหนึ่ง เพื่อนๆเขาไม่ชอบอ่านคำอธิบายแบบเป็นตัวหนังสือออกจะยาวนิดหนึ่ง ชอบแบบอ่านคำเดียวก็เข้าใจอะไรทำนองนั้น ผมเลยต้องหากราฟที่มองเห็นก็เข้าใจได้เลยและก็ต้องมีความแม่นยำสูงมาเป็นกราฟเสริมจากกราฟหลัก(กราฟตาแป๊ะ) กราฟBollingerBands สามารถโหลดได้บนเว็บครับ ถ้าหาโหลดไม่เจออย่างไรบอกผมใหม่อีกครั้ง ผมจะหาให้ครับ ส่วนที่ในกราฟผมนั้นเป็นภาษาจีน เอามาโพสให้เพื่อนๆโหลดไม่ได้ เพราะอาจทำให้กราฟของเพื่อนๆรวนได้ครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อรุณสวัสดิ์คะอ.ทองใหม่ และขอบคุณสำหรับข่าวสารดีๆในยามเช้า :lol:

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ร้านอาหารไทยในอเมริกาเจ๊ง

วันจันทร์ที่ 08 พฤศจิกายน 2010 เวลา 09:34 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ ข่าวหน้า1 - ข่าวหน้า1

 

ค่าเงินบาทแข็ง-เศรษฐกิจสหรัฐฯซบเซาพ่นพิษผู้ประกอบการไทยที่อยู่ในอเมริกาเดี้ยงไปตามๆกัน ทำตลาดลำบากเพราะสินค้าไทยแพงกว่าคู่แข่ง เผยร้านอาหารไทยปิดกิจการแล้วกว่า 2,000 แห่ง เพราะคนอเมริกันบริโภคอาหารในบ้านมากขึ้น ร้องรัฐบาลไทยตรึงค่าบาทที่ 29-30 บาทต่อดอลลาร์

ปล่อยแข็งกว่านี้เตรียมม้วนเสื่อระนาว

นายสมชาย ไทยทัน ประธานคณะกรรมการอำนวยการสมาคมไทยแห่งแคลิฟอร์เนียภาคใต้ กล่าวในระหว่างนำทีมนักธุรกิจไทยแห่งรัฐแคลิฟอร์เนียภาคใต้กว่า 20 ราย หารือกับคณะจากกระทรวงพาณิชย์นำโดยนายประพล มิลินทจินดา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์(พรทิวา นาคาศัย)ว่า จากการแข็งค่าของเงินบาทที่ระดับต่ำกว่า 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯในเวลานี้นอกจากได้กระทบต่อภาคการส่งออกของไทยอย่างรุนแรงแล้ว ในส่วนของบริษัทของคนไทยที่จดทะเบียนในสหรัฐฯเพื่อนำเข้าสินค้าจากประเทศไทยไปจำหน่ายในสหรัฐฯซึ่งมีจำนวนนับพันราย ขณะนี้ก็กำลังได้รับผลกระทบอย่างหนักเช่นกัน

ทั้งนี้เนื่องจากผลพวงจากค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นมีผลทำให้ผู้นำเข้าสินค้าไทยในสหรัฐฯต้องแบกรับภาระต้นทุนราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้นตามค่าเงิน รวมถึงทำให้ซื้อสินค้าได้ในปริมาณที่น้อยลง ผลพวงดังกล่าวทำให้ผู้นำเข้าต้องโยนภาระไปให้คู่ค้ารวมถึงผู้บริโภคทำให้ประสบปัญหาในการแข่งขันกับสินค้าจากชาติอื่นที่เงินแข็งค่าน้อยกว่า เพราะเมื่อเทียบราคาแล้วสินค้าไทยมีราคาสูงกว่าคู่แข่งเช่น จีน เวียดนาม เฉลี่ย 20-30%

ตัวอย่างสินค้าข้าวหอมมะลินำเข้าจากไทยไปจำหน่ายในสหรัฐฯในเวลานี้ขนาดถุงบรรจุ 50 ปอนด์ จากเดิมราคาขายเฉลี่ยที่ 38-39 ดอลลาร์สหรัฐฯจากปีที่ผ่านมาเฉลี่ยที่ 30 ดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนสินค้าอุปโภค บริโภคอื่นๆ ต้นทุนนำเข้าเฉลี่ยสูง 10-12% ตามค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ส่งผลให้ผู้บริโภคชาวอเมริกันเริ่มรับราคาสินค้าไทยไม่ได้เพราะราคาสูง ทั้งนี้หากเงินบาทยังแข็งค่าขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งมีปัจจัยหลักจากเงินดอลลาร์สหรัฐฯที่อ่อนค่าลง และหากรัฐบาลไทยไม่มีมาตรการดูแลไม่ให้ค่าเงินบาทแข็งค่าไปมากกว่านี้อย่างได้ผล จนไปอยู่ระดับที่ 25-26 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯเหมือนในอดีต ผู้นำเข้าไทยในสหรัฐฯคงต้องปิดกิจการ เพราะหลายรายขณะนี้เริ่มขาดสภาพคล่อง

"ผู้ประกอบการไทยในสหรัฐฯมองว่าเงินบาทที่แข็งค่าที่ระดับ 29-30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯก็ถือว่าเต็มที่แล้วไม่ควรปล่อยให้แข็งค่าไปมากกว่านี้ เพราะหากแข็งค่ามากกว่านี้พวกเราจะอยู่กันไม่ได้ ทางออกในเรื่องเงินบาทแข็งค่ามองว่ารัฐบาลควรมีการฟิกซ์ค่าเงินบาทไว้ที่ระดับ 29-30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนมาตรการอื่นที่นำมาใช้ควรเป็นมาตรการที่เป็นยาแรงและสามารถสกัดการไหลเข้าของเงินทุนต่างประเทศที่เข้ามาเพื่อทำกำไรในตลาดหุ้น หรือเข้ามากินส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย เช่นอาจออกมาตรการกันสำรอง 30% เหมือนในอดีต เป็นต้น"

ด้านนายสุรชัย วัฒนาพร ประธานบริษัท Taste Nirvana Int'l,Inc ผู้ทำตลาดสินค้าแบรนด์พันท้ายนรสิงห์ในสหรัฐฯ กล่าวว่า เงินบาทที่แข็งค่ามากในส่วนของผู้นำเข้าและผู้บริโภคชาวอเมริกันสามารถแบกรับภาระได้ระดับหนึ่ง แต่หากรับภาระไม่ไหวและต้องขึ้นราคาสินค้าจะมีผลทำให้ยอดขายลดลงอย่างแน่นอน ซึ่งทางออกของหลายบริษัทอาจต้องไปตั้งฐานการผลิตในประเทศอื่นที่ค่าเงินอ่อนค่ากว่า และมีวัตถุดิบเพียงพอและต้นทุนถูกกว่าเพื่อนำสินค้าเข้ามาทำตลาดในสหรัฐฯแทนสินค้าจากประเทศไทย ในเรื่องมาตรการดูแลค่าเงินบาทไม่ให้แข็งค่ามากและผันผวนมากรัฐบาลควรศึกษาจากประเทศอื่น เช่นสิงคโปร์ จีน ว่าเขาทำอย่างไร และจะนำมาประยุกต์ใช้กับประเทศไทยอย่างไร

ดร.วิวัฒน์ เศรษฐช่วย นักเศรษฐศาสตร์ และที่ปรึกษาอาวุโส หอการค้าไทยแห่งรัฐแคลิฟอร์เนีย กล่าวว่า นอกจากค่าเงินบาทที่เป็นปัญหาใหญ่ของผู้ประกอบการไทยในสหรัฐฯแล้ว ยังมีปัญหาที่สำคัญอันเกิดจากเศรษฐกิจของสหรัฐฯยังฟื้นตัวอย่างเปราะบาง ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาแม้รัฐบาลของนายบารัก โอบามา จะได้อัดฉีดเม็ดเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจจำนวนมหาศาล แต่ก็ยังไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้เท่าที่ควร เห็นได้จากในปีนี้ล่าสุดชาวอเมริกันยังมีอัตราการว่างงานสูงถึง 9.6% และในส่วนของรัฐแคลิฟอร์เนียเองก็ยังมีอัตราการว่างงานถึง 12%

"ในการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรกลางเทอม ผลประกาศเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายนที่ผ่านมา อย่างน้อย 60 เสียงที่ได้รับการเลือกตั้งได้ตกไปอยู่ในมือของพรรครีพับลิกันซึ่งเป็นพรรคคู่แข่ง สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่ารัฐบาลโอบามาสอบตกเรื่องการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ และแม้ล่าสุดรัฐบาลสหรัฐฯได้ประกาศที่จะอัดฉีดเม็ดเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอีก 5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ผมเชื่อว่าคงช่วยไม่ได้มาก เพราะสหรัฐฯมีหนี้สินมาก และขาดดุลการค้ามากกว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯจะฟื้นตัวคงใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 5 ปี"

ดร.วิวัฒน์ กล่าวอีกว่า ผลพวงที่ตามมาจากปัญหาหนี้เสียภาคอสังหาริมทรัพย์(ซับไพรม์)ในสหรัฐฯ และวิกฤตการณ์ทางการเงินล่าสุด มีผลทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯยังไม่ฟื้นตัว แถมยังชะลอตัวลงในเวลานี้ ได้ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการร้านอาหารไทยในสหรัฐฯ ค่อนข้างมาก เนื่องจากจำนวนผู้บริโภคทานข้าวนอกบ้านลดลง โดยจากจำนวนร้านอาหารไทยที่มีอยู่ทั่วสหรัฐฯในอดีตประมาณ 5,000 แห่ง ปัจจุบันได้ลดลงเหลือประมาณ 3,000 แห่ง ในจำนวนนี้อยู่ในนครลอสแองเจลีสประมาณ 1,000 แห่ง

ปัญหาที่ตามมาคือธุรกิจร้านอาหารไทยเริ่มขาดสภาพคล่อง ซึ่งอยากขอวิงวอนให้ธนาคารพาณิชย์ของไทย ซึ่งมีสาขาในแคลิฟอร์เนียสองธนาคารคือ ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารกรุงไทยได้ช่วยปล่อยกู้ให้ผู้ประกอบการร้านอาหารไทยด้วย หรือไม่นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังควรหาวิธีการช่วยเรื่องสภาพคล่องอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่เช่นนั้นแล้วร้านอาหารไทยในสหรัฐฯคงต้องปิดกิจการลงจำนวนมาก ประกอบกับผลจากเศรษฐกิจสหรัฐฯในขณะนี้ยังมีผลทำให้พ่อครัวแม่ครัวในร้านอาหารไทยได้ลาออกไปทำอาชีพอื่นที่รายได้ดีกว่าเป็นจำนวนมาก เช่นนวดแผนโบราณ สปา เป็นต้น ในเรื่องนี้อยากฝากให้กระทรวงพาณิชย์ช่วยเปิดหลักสูตรการสอนทำอาหารไทยในสหรัฐฯโดยอาจร่วมกับสถาบันการศึกษา หรือมหาวิทยาลัยต่างๆ รวมถึงสอนทำอาหารไทยผ่านสถานีโทรทัศน์ NAT TV ที่ตนเองเป็นที่ปรึกษาอยู่ก็ได้

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

พลิกกลยุทธ์รับมือแรงเหวี่ยงQE2

วันจันทร์ที่ 08 พฤศจิกายน 2010 เวลา 09:27 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ ข่าวหน้า1 - คอลัมน์ : วิเคราะห์

ผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เมื่อ 3 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ไม่ได้อยู่เหนือความคาดหมายของตลาด หลังเฟดมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในกรอบ 0.0-0.25% พร้อมได้ประกาศอัดฉีดเงินรอบสอง ( Quantitative Easing Measures 2 : QE 2 ) ผ่านโครงการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ฯ ในวงเงินประมาณ 600,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ฯ หรือโดยประมาณจะมีการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐระยะยาวนับจากเดือนนี้ไปต้นไป เฉลี่ยถึงเดือนละ 75,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จนถึงกลางปี 2554 (ราว 8 เดือน ) และเมื่อรวมกับ QE 1 ที่เฟดออกมาก่อนหน้านั้น ประมาณมูลค่าต่อเดือนในการซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯจะมากถึง 110,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (อ่านรายละเอียดมาตรการเฟดและปฏิกิริยามหาอำนาจเศรษฐกิจ หน้า 10)

แน่นอนว่ามาตรการผ่อนคลายนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ ฯ เพิ่ม ย่อมส่งผลให้เงินดอลลาร์อ่อนค่าลงอีก และสร้างปัญหาสภาพคล่องในระบบการเงินโลก ซึ่งเป็นปัญหาที่ธนาคารกลางทั่วโลกต้องจับตาอย่างใกล้ชิด ว่าจะส่งผลต่อความเสี่ยงของการเกิดฟองสบู่ราคาสินทรัพย์ทั่วโลกนอกสหรัฐ ฯ รวมถึงปัญหาเสถียรภาพด้านเงินเฟ้อที่ตามมา

*โอกาสฟื้นศก.สหรัฐฯ

นายบันลือศักดิ์ ปุสสะรังษี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การที่สหรัฐ ฯออกมาเต้นแร้งเต้นกาก็เพราะอัตราการว่างงานสูง และต้องการหาแพะ ส่วนหนึ่งมาจากการขาดดุลการนำเข้าจากเอเชียในอัตราสูง และส่วนหนึ่งมาจากนโยบายหลัก โดยเครื่องมือก็ยังไม่พ้นใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายหรือ QE ต่อไป

ปัจจัยที่จะกำหนดทิศทางเศรษฐกิจสหรัฐฯในระยะต่อไปมี 3 ประการหลัก คือ 1.วัฏจักรขาขึ้นกับสินค้าคงคลัง โดยจีดีพีไตมาสแรกปีนี้ของสหรัฐฯอยู่ที่ 2.8% แต่มาในไตรมาส 2 ลดเหลือ 0.6% 2. อุปสงค์ในประเทศยังไม่ฟื้น 3.มาตรการในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งในปีนี้อาจเป็นปีสุดท้ายที่จะดี เพราะในปี 2554 หากพรรครีพับลิกันได้เสียงข้างมาก การกระตุ้นเศรษฐกิจน่าจะลดลง เมื่อเทียบกับการบริหารของพรรคเดโมแครตในปัจจุบัน

เขากล่าวว่า เศรษฐกิจสหรัฐ ฯ หากสะท้อนผ่านอัตราการว่างงาน การว่างงานเกินกว่า 27 สัปดาห์ ในปัจจุบันพบว่ามีมากกว่า 5 ล้านราย โดยเฟดคาดว่าสิ้นปีอัตราการว่างงานจะอยู่ที่ 9.5% เรียกว่าไม่ลดลงเลย หรือลดลงช้ามาก ปี 2555 คาดจะเหลือ 7% เทียบกับมาตรฐานก่อนเกิดวิกฤติที่อยู่ที่ 4.5-5% ขณะที่ยอดซื้อ/ขายบ้านใหม่ก็ยังทรุดตัว บ้านมือสองก็ยังต่ำกว่าช่วงวิกฤติ เช่นเดียวกับสถาบันการเงินที่ยังไม่ปล่อยสินเชื่อเพิ่ม โดยจากรายงานมีสถาบันการเงินล้มลงในเดือนสิงหาคม 2553 ถึงจำนวน 132 แห่ง ใกล้เคียงกับปี 2552 ทั้งปีที่ 139 แห่ง ที่น่าตกใจคือ ยังมี 800 แห่งกำลังมีปัญหาหนัก ส่วนบ้านถูกยึดวันละหมื่นกว่าหลัง และตั้งข้อสังเกตว่า ปี 2544 เศรษฐกิจฟื้นได้เพราะบ้าน แต่ตอนนี้ไม่มีตัวขับเคลื่อน หรืออัตราเงินเฟ้อปัจจุบันก็ต่ำกว่ากรอบที่

เฟดวางไว้ 1.5-2% ดังนั้น โอกาสเกิดเงินฝืดจะสูงขึ้นกว่าระดับที่ยอมรับได้

"ถ้าเทียบในอดีตที่ฟองสบู่บ้านแตก แบงก์ล้ม 34 แห่งเท่านั้น แต่ปีนี้ก็ล้มไปเยอะกว่า และอนาคตน่าจะเยอะกว่านี้ บ้านก็แย่ แบงก์ก็ไม่ปล่อย ที่หนักคือเอสเอ็มอี ซึ่งเป็นแหล่งจ้างงานหลัก" นายบันลือศักดิ์ กล่าวและคาดว่า

*เฟด/อีซีบีตึงดอกเบี้ยข้ามปี

"เร็วสุดเฟดน่าจะขึ้นดอกเบี้ยในปี 2554 (กรอบดอกเบี้ยนโยบายปัจจุบัน 0.0-0.25% ต่อปี )หรือเผลอ ๆ ปี 2555 อาจไม่ขึ้น ขณะที่สถาบันอย่างโกลด์แมนซากส์คาดว่า อาจลากยาวถึงปี 2558 เฟดถึงจะขึ้นดอกเบี้ย ส่วนธนาคารกลางยุโรป หรือ อีซีบี ล่าสุดซึ่งประชุมไปเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2553 ก็ได้ตัดสินใจให้คงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 1% เป็นเดือนที่ 18 ติดต่อกัน และมีแนวโน้มว่าอาจจะไปขึ้นดอกเบี้ยปลายปี 2554 แต่คงไม่มาก ดังนั้น แนวโน้มที่บาทจะถูกกดให้แข็งค่าคงอีกนาน หรืออย่างน้อยอีก 1 ปี "

ทั้งนี้นายบันลือศักดิ์ ยังคาดการณ์ว่า หากภาครัฐไทยไม่มีมาตรการใด ๆ รองรับเลย ในสถานการณ์ที่ดอลลาร์อ่อนค่าทุกขณะ เงินบาทอาจแข็งค่าแตะระดับ 27 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเห็นว่า มาตรการ 30% ที่ทางการเคยใช้ในปี 2549 ไม่ควรเก็บเข้าหิ้งไว้ ต้องงัดออกมาสร้างเขื่อนกั้น เพราะน้ำกำลังไหลเชี่ยวมาก สิ่งสำคัญต้องแก้ปัญหาระยะสั้นในแต่ละจุดให้ได้

ในขณะที่เครือธนาคารกสิกรไทยคาดว่า เงินบาทอาจทดสอบระดับ 29 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯในช่วงที่เหลือปี 2553 และ 28 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2554 ส่วนผลกระทบทางอ้อมที่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด ก็คือการก่อตัวของภาวะฟองสบู่ในสินทรัพย์หลายประเภทของไทย ทั้งตลาดหุ้น ตลาดพันธบัตร และตลาดอสังหาริมทรัพย์ รวมไปถึงภาวะเงินเฟ้อ ที่อาจสร้างแรงกดดันต่อจุดยืนเชิงนโยบายของธปท.ที่มากขึ้นในช่วงปีข้างหน้า ซึ่งอาจครอบคลุมถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายและการควบคุมการปล่อยสินเชื่อในภาคอสังหาริมทรัพย์

ด้านดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการ สายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การออกมาตรการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ( QE 2 ) 600,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จะยิ่งเป็นปัจจัยกดดัน ให้เงินไหลเข้ามาลงทุนในเอเชียและไทยอีกจำนวนมาก และดันให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นอีก ส่วนตัวเชื่อว่า ธปท.จะมีมาตรการดูแลเงินทุนไหลเข้า ประกาศใช้ออกมาอีกแน่นอน แต่จะเป็นเมื่อใดขึ้นอยู่กับช่วงเวลาที่เหมาะสม

ในหลักการตนยังเห็นด้วยกับการควบคุมเงินทุนไหลเข้า เพราะปัจจุบันค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วมาก โดยภายใน 3 เดือน เงินบาทที่แข็งค่า 7.3% ส่งผลกระทบต่อกำไรของผู้ส่งออกลดลงจำนวนมาก เทียบกับปีที่ผ่านมาที่เงินบาทแข็งค่าขึ้น 4% เนื่องจากไทยเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ขณะที่ค่าเงินบาทช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้แข็งค่าขึ้นไปแล้ว 10.2% จากเงินทุนที่ไหลเข้ามาลงทุนในไทยชัดเจน 13,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อีกทั้งไทยยังคงเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ส่งผลกระทบค่อนข้างมากต่อผู้ประกอบการที่ใช้แรงงานและวัตถุดิบในประเทศ เช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอ รองเท้า เฟอร์นิเจอร์ และอาหารบางประเภท ที่มีมูลค่าส่งออกประมาณ 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ/เดือน คิดเป็น 12% ของจีดีพี

*แนะงัดใช้ Capital Control

"จีดีพีของภูมิภาคเติบโตมากกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว ดังนั้นเงินบาทมีสิทธิ์ที่จะแข็งค่าต่อไปอย่างต่อเนื่องอีกหลายปี ซึ่งเห็นด้วยว่านอกจากจะเข้าไปแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนของธปท.แล้ว อาจจะต้องยอมทำมาตรการควบคุมเงินไหลเข้า ด้วยการเก็บภาษีเงินทุนไหลเข้า เช่นเดียวกับกรณีของชิลี ที่ธปท.เคยนำมาปรับใช้แต่เข้มมากเกินไป จากมาตรการกันสำรองเงินทุนระยะสั้น 30% (Capital control) เมื่อ 18 ธันวาคม 2549 แต่ควรปัดฝุ่นใหม่เริ่มจากเบา ๆ แค่ 10% ก่อน แต่หากยังแหย่มือเข้ามาก็ตีให้หนักโดยการขันนอตให้แน่นขึ้น ไม่ใช่ใช้กระบองตีหัวเลยในคราวเดียว หรือการไล่กำกับดูแลเฉพาะเจาะจงเป็นรายกรณีที่มีปัญหา ซึ่งขึ้นอยู่กับ ธปท. จะเลือกใช้มาตรการใดในจังหวะไหนจึงจะเหมาะสม แต่ต้องให้มีผลกระทบบ้างเพราะเราอยากให้เงินไหลเข้าน้อยลง" นายศุภวุฒิ ให้ความเห็น ก่อนกล่าวปิดท้ายว่า

" การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ( ปัจจุบันยืนระดับ 1.75% ต่อปี )ในปีนี้อาจยังไม่เห็น ต้องรอความชัดเจนจากในหลาย ๆ ด้านก่อน รวมถึงผลกระทบจากมาตรการ QE 2 อย่างไรก็ดี หากปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมรอบหน้า วันที่ 1 ธันวาคม 2553 อาจเป็นความเสี่ยงที่เหมือนกับการโผล่หน้าออกไปท่ามกลางพายุที่หนักหน่วงได้ "

*กีดการค้าเหตุคุมดุลบัญชีC/A

นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า มาตรการ QE 600,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ฯเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์และรับรู้ไปล่วงหน้า ดังนั้นจึงเชื่อว่า ตลาดการเงินจะไม่เกิดความผันผวนในระยะสั้น อย่างไรก็ดีมาตรการสหรัฐฯ ที่จะกำหนดเป้าหมายดุลบัญชีเดินสะพัด ( Current Account )ให้ขาดดุลหรือเกินดุลไม่เกิน 4% อาจทำให้เกิดการกีดกันทางการค้าตามมา หากมีการกำหนดเฉพาะเป้าหมาย โดยไม่มีวิธีปฏิบัติที่ชัดเจน ตนจึงเตรียมจะหารือร่วมกับรัฐมนตรีคลัง ในการประชุมรัฐมนตรีคลังเอเปกในวันที่ 6 พฤศจิกายนนี้ เพื่อพิจารณาว่าจะนำประเด็นดังกล่าวขึ้นเป็นข้อเสนอของอาเซียนหรือไม่ โดยมองว่าการควบคุมของสหรัฐฯที่ดีที่สุด คือ ควรปล่อยให้มีการปรับตัวของดุลบัญชีเดินสะพัดจากอัตราแลกเปลี่ยน และการปรับตัวของเศรษฐกิจ มากกว่าจะออกมาตรการต่าง ๆ เพิ่มเติมขึ้นมา

"ตนจะเสนอแนวคิดต่อรมว.คลังอาเซียนเพื่อหารือถึงจุดยืด และความร่วมมือของกลุ่มประเทศอาเซียนในการดูแลค่าเงิน ก่อนที่ในวันที่ 6 พฤศจิกายน จะเข้าพบ รมว.คลังสหรัฐฯ ซึ่งคงต้องมีการหารือถึงผลกระทบ และข้อเสนอของสหรัฐฯที่มีต่อเศรษฐกิจในภูมิภาค เพราะเห็นว่ามาตรการอัดฉีดเงิน 600,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อาจจะมีผลกระทบ ขณะที่ข้อเสนอของสหรัฐฯให้กลุ่มประเทศจี 20 ควบคุมดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลหรือขาดดุลไม่เกิน 4% ก็อาจจะส่งผลในเรื่องการกีดกันทางการค้าได้"

ส่วนข้อเสนอที่มีหลายฝ่ายอยากให้ภาครัฐโดยกระทรวงคลัง และธปท. สกัดทุนไหลเข้า นอกเหนือจากมาตรการการจัดเก็บภาษีหัก ณ ที่จ่าย 15% จากกำไรและดอกเบี้ยรับที่นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในพันธบัตรไทย ตนว่าไม่สามารถที่จะเปลี่ยนทิศทางอัตราแลกเปลี่ยนได้ เห็นได้จากประสบการณ์ในหลายประเทศที่ใช้มาตรการ Capital control เช่น ประเทศบราซิล และชิลิ ค่าเงินก็ยังแข็งค่าต่อเนื่อง หรืออย่างประเทศญี่ปุ่นเองที่แทรกแซงค่าเงินเยนด้วยเงินมหาศาล ก็เพียงทำให้เงินเยนอ่อนค่าลงระดับหนึ่งเท่านั้น แต่สุดท้ายก็กลับมาทิศทางเดิม ดังนั้น เมื่อรู้ทิศทางอัตราแลกเปลี่ยนแล้ว สิ่งที่ป้องกันได้คือ ไม่ให้มีเงินทะลักเข้ามาเกินควรในแง่ของการเก็งกำไร

"ภาคธุรกิจต้องพร้อมเปลี่ยนแปลง รับกับสภาพแวดล้อมใหม่ เพราะไม่มีใครสามารถต้านทานการพิมพ์เงินจำนวนมากของสหรัฐฯได้ ทั้งนี้นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธปท. ได้ยืนยันว่าจะหารือร่วมกับธนาคารกลางอื่นๆ ในภูมิภาคนี้ ซึ่งพร้อมจะออกมาตรการร่วมกัน เพื่อสกัดการเก็งกำไรของเงินที่จะเข้ามาในภูมิภาค ไม่ให้มากเกินไป " รมว.คลังกล่าว

อนึ่ง ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ TMB ได้ประเมินความเข้มข้นของมาตรการควบคุมเงินทุนไหลเข้า ตั้งแต่ยาขมแรงสุด คือ การกลับไปตรึงเงินบาทอีกรอบ แต่พบว่าวิธีการนี้มีต้นทุนการดูแลสูงมาก ,รองมาคือกลุ่มนโยบายภาษีธุรกรรมอัตราแลกเปลี่ยน ( Currency Transaction Tax ) หรือที่รู้จักกันในชื่อ Tobin"s Tax โดยจะเก็บภาษีทุกครั้งที่มีการแลกเปลี่ยนสกุลเงิน หรือเก็บเฉพาะในช่วงที่ค่าเงินหลุดกรอบเป้าหมาย แต่เนื่องจากเป็นการกวาดเก็บจากธุรกรรม ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนระยะสั้นหรือยาว จึงทำให้มีโอกาสสร้างผลเสียต่อภาพการลงทุน ตลอดจนมาตรการดำรงเงินสำรองเงินนำเข้า ( URR ) ซึ่งไทยเองเคยใช้เมื่อปลายปี 2549 ฯลฯ ( ตารางประกอบ )

คลื่นเงินทุนที่กำลังไหลบ่าไปทั่วโลก หลังสหรัฐฯปั๊มดอลลาร์เข้าระบบระลอกนี้ กำลังจ่อทะลักถึงเมืองไทยแน่ในไม่ช้านี้ ซึ่งแผนรับมือคลื่นกระแทกที่จะเกิดขึ้นมีการเสนอแนวทางต่าง ๆ ทั้งมาตรการที่ต้องเลือกใช้ในบ้าน หรือการผนึกกำลังร่วมกันในภูมิภาค ไม่ว่าจะในนามกลุ่มอาเซียน รวมถึงกระบวนท่าโล้คลื่นดอลลาร์ของพญามังกร ญี่ปุ่น และหัวหอกมหาอำนาจเศรษฐกิจอื่น ๆ เป็นเรื่องที่ต้องจับตาและปรับตัวรับให้ทัน เพื่อให้ไทยรับแรงเหวี่ยงที่จะกระแทกใส่ให้น้อยที่สุด กำลังรอพิสูจน์ฝีมือ"ทีมเศรษฐกิจ"ประเทศไทยแล้วในวันนี้

 

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,581 7-10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ราคาน้ำมันทำสถิติสูงสุดในรอบ 2 ปี ที่ระดับ 87 เหรียญ

 

Posted on Monday, November 08, 2010

ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์ก ส่งมอบเดือน ธ.ค. ปรับเพิ่มขึ้น 0.36 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ปิดที่ 86.85 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 2 ปี

 

ปัจจัยบวกที่มีผลต่อราคาน้ำมัน

 

+ การจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ในเดือน ต.ค. ปรับเพิ่มขึ้น 151,000 ตำแหน่ง นับเป็นการปรับเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน และมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ว่าจะมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นเพียง 60,000 ตำแหน่ง โดยภาคเอกชนจ้างงานเพิ่มขึ้นมากถึง 159,000 ตำแหน่ง ส่วนภาครัฐมีการเลิกจ้างเพียง 8,000 ตำแหน่ง อย่างไรก็ตาม อัตราการว่างงาน ของสหรัฐฯ ในเดือน ต.ค. ยังคงอยู่ที่ระดับ 9.6% ซึ่งนับเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน

 

+ ดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 11,444.08 จุด ซึ่งเป็นระดับสูงสุดหลังจาก เลห์แมน บราเธอร์ส ล้มละลายเมื่อปี 2551 ส่วนราคาทองคำก็ปรับตัวสูงขึ้นทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ระดับเกือบ 1,400 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์

 

ปัจจัยลบที่มีผลต่อราคาน้ำมัน

 

- ราคาน้ำมันดิบได้ปรับตัวลดลงจากระดับสูงสุดของการซื้อขายเมื่อวันศุกร์ที่ 87.22 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากการเทขายทำกำไรของนักลงทุน และค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่าขึ้น

 

- เงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น หลังอ่อนค่าลงสูงสุดในรอบ 11 เดือน เมื่อเทียบกับตะกร้าเงินเมื่อวันพฤหัสบดี เนื่องจากตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐฯ ที่ออกมาดีเกินคาด ส่งผลให้ตลาดมีความมั่นใจต่อสภาพเศรษฐกิจของสหรัฐฯ มากขึ้น และคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจในไตรมาส 4/53 จะออกมาดีขึ้น จากการใช้จ่ายของผู้บริโภคในช่วงก่อนเข้าเทศกาลปีใหม่

 

- สถาณการณ์ตลาดบ้านของสหรัฐฯ ยังคงไม่ดีนัก หลังยอดสัญญาซื้อขายบ้านรอปิดการขายในเดือน ก.ย. ออกมาปรับตัวลดลง 1.8% ซึ่งเป็นการปรับลดครั้งแรกในรอบ 3 เดือน

 

ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ ตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือน ธ.ค. ปรับเพิ่มขึ้น 0.11 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลมาปิดที่ 88.11 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล

 

ราคาน้ำมันดิบดูไบ ตลาดสิงคโปร์ ไม่มีการประกาศราคา เนื่องจากตลาดสิงคโปร์ปิดทำการในวันที่ 5 พ.ย. 53 เนื่องในวันหยุดดีพพาวลี (Deepavali) วันปีใหม่ของชาวฮินดู

 

ราคาน้ำมันเบนซิน และ ราคาน้ำมันดีเซลสำเร็จรูป ตลาดสิงคโปร์ ไม่มีการประกาศราคา เนื่องจากตลาดสิงคโปร์ปิดทำการในวันที่ 5 พ.ย. 53 เนื่องในวันหยุดดีพพาวลี (Deepavali) วันปีใหม่ของชาวฮินดู

 

- สนับสนุนข้อมูลโดยบมจ. ไทยออยล์ -

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ทองคำพุ่งอีกกว่า 14 เหรียญแตะนิวไฮอีกครั้ง

 

Posted on Monday, November 08, 2010

ภาวะการซื้อขายในตลาดทองคำยังคงเป็นไปอย่างคึกคัก เนื่องจากนักลงทุนขานรับธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ประกาศอัดฉีดเงิน 6 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อซื้อพันธบัตรรัฐบาล ภายใต้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบสอง (QE2) ที่มีเป้าหมายฟื้นฟูเศรษฐกิจ เพราะเชื่อว่าจะกดดันค่าเงินดอลลาร์สหรัฐให้อ่อนตัวลงได้

 

อย่างไรก็ตาม ในช่วงเริ่มต้นเปิดตลาดซื้อขายนั้น สัญญาทองคำเคลื่อนไหวอ่อนตัวลง เนื่องจากเงินดอลลาร์สหรัฐดีดตัวขึ้นเกือบ 1% เมื่อเทียบกับเงินยูโร เพราะได้รับปัจจัยหนุนจากการรายงานตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรของสหรัฐฯที่สดใส โดยปรับตัวเพิ่มขึ้น 151,000 ตำแหน่งในเดือนต.ค. ส่วนอัตราว่างงานยังคงทรงตัวในระดับเดิมที่ 9.6%

 

- ทองคำ ส่งมอบเดือนธันวาคม ปิดที่ 1,397.70 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ (+14.60 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์)

- เงิน ส่งมอบเดือนธันวาคม ปิดที่ 26.748 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ (+0.70 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณอาจารย์ทองใหม่ครับ.

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ดาวโจนส์ปิดบวก หลังตัวเลขจ้างงานสหรัฐฯพุ่งเกินคาด

 

Posted on Monday, November 08, 2010

บรรยากาศการซื้อขายในตลาดหุ้นได้รับปัจจัยหนุนหลังจากที่กระทรวงแรงงานสหรัฐฯเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 151,000 ตำแหน่งในเดือนต.ค. ซึ่งสูงกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นเพียง 60,000 ตำแหน่ง โดยได้รับปัจจัยหนุนจากการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นในภาคอุตสาหกรรมเหมืองและธุรกิจบริการ ขณะที่อัตราการจ้างงานภาคเอกชนที่พุ่งสูงขึ้น 159,000 ตำแหน่ง สามารถชดเชยตัวเลขจ้างงานภาครัฐที่ปรับตัวลดลง 8,000 ตำแหน่งได้

 

นอกจากนี้ นายจ้างได้ปรับเพิ่มชั่วโมงทำงานโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ซึ่งทำให้ลูกจ้างมีรายได้เพิ่มขึ้น และช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายผู้บริโภคได้อีกทางหนึ่งด้วย

 

อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนไหวของดัชนีในช่วงขาขึ้นถูกจำกัดจากการเปิดเผยอัตราว่างงานของสหรัฐฯที่ยังคงทรงตัวในระดับ 9.6% ในเดือนต.ค. รวมถึงการเปิดเผยดัชนีการทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขายของสหรัฐฯในเดือนก.ย.ที่ปรับตัวลดลง

 

สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติเปิดเผยว่า ดัชนีการทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย (pending home sales) ของสหรัฐปรับตัวลดลง 1.8% ในเดือนก.ย.มาอยู่ที่ระดับ 80.9% สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 2% หลังจากที่ดัชนีขยายตัวต่อเนื่องมา 2 เดือนก่อนหน้านี้

 

ทั้งนี้ หุ้นกลุ่มสถาบันการเงินและหุ้นกลุ่มพลังงานพุ่งนำหุ้นอื่นๆ เคลื่อนไหวในแดนบวกได้อย่างต่อเนื่อง หลังจากที่ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดทะยานขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 2 ปีเมื่อคืนวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา (4 พ.ย.) จากปัจจัยหนุนของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ที่ตัดสินใจใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบสอง (QE2) ด้วยการซื้อพันธบัตรวงเงิน 6 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อเยียวยาเศรษฐกิจภายในประเทศ

 

- Dow Jones ปิดที่ 11,444.08 จุด (+0.08%)

- S&P 500 ปิดที่ 1,225.85 จุด (+0.39%)

- Nasdaq ปิดที่ 2,578.98 จุด (+0.06%)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...