ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

เดนมาร์ก ครองแชมป์ประเทศที่ดีที่สุดในโลกในการทำธุรกิจ

 

Posted on Friday, November 05, 2010

ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯที่ประกาศออกมาเมื่อวานนี้ (พฤ. 4 พ.ย. 53)

• ผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานรายสัปดาห์ 457,000 ราย

• ประสิทธิภาพการผลิต (Q3/2010) เพิ่มขึ้น 1.9% จากไตรมาสก่อนหน้า

• ต้นทุนการผลิตต่อหน่วย (Q3/2010) ลดลง 0.1% จากไตรมาสก่อนหน้า

 

ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯที่จะประกาศออกมาวันนี้ (ศ. 5 พ.ย. 53)

• ยอดทำสัญญาซื้อบ้านที่รอปิดการขาย (ก.ย.) โดย สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติสหรัฐฯ

• สถานการณ์ตลาดแรงงานสหรัฐฯ (ต.ค.) โดย กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ

 

 

เดนมาร์ก ครองแชมป์ประเทศที่ดีที่สุดในโลกในการทำธุรกิจ

 

เดนมาร์ก คว้าแชมป์ประเทศที่ดีที่สุดในโลกสำหรับการดำเนินธุรกิจประจำปีนี้ จากการจัดอันดับของนิตยสารฟอร์บส์

 

กระทรวงต่างประเทศเดนมาร์กเปิดเผยว่า เดนมาร์กสามารถรักษาความเป็นอันดับหนึ่งในฐานะประเทศที่ดีที่สุดสำหรับการดำเนินธุรกิจในปีนี้ ต่อเนื่องจากปี 2551 และ 2552

 

นิตยสารฟอร์บส์เผยแพร่ผลการจัดอันดับประเทศที่ดีที่สุดสำหรับการดำเนินธุรกิจ ( Best Countries For Business) ครั้งที่ 5ประจำปี 2553 โดยประเมินจากบรรยากาศทางธุรกิจของ 128 เขตเศรษฐกิจทั่วโลกด้วยการพิจารณาปัจจัยด้านเสรีภาพส่วนบุคคล ปัญหาการคอรัปชั่น ทรัพย์สินทางปัญญา ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ/คน เป็นต้น ซึ่งผลปรากฎว่า เดนมาร์กเป็นประเทศที่มีปัจจัยแวดล้อมที่แข็งแรงในแง่ของเสรีภาพส่วนบุคคลและทรัพย์สินทางปัญญา ขณะที่ปัญหาคอรัปชั่นอยู่ในระดับต่ำ

 

ฟอร์บส์ระบุว่า "เดนมาร์กเป็นประเทศที่มีการทำเกษตรกรรมขั้นสูง และเป็นศูนย์รวมของบริษัทชั้นนำระดับโลกหลายแห่งที่ดำเนินธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมเวชภัณฑ์ การส่งทางทะเล และพลังงานหมุนเวียน เนื่องจากเดนมาร์กมีระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่

 

นอกจากนี้ เดนมาร์กยังเป็นประเทศที่พึ่งพางานระหว่างประเทศอยู่มากทีเดียว"

 

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า นอกเหนือจากการรั้งอันดับ 1 ในการจัดอันดับของฟอร์บส์แล้ว เดนมาร์ก ยังสามารถรั้งอันดับ 2 ในการจัดอันดับ 2010 Legatum Prosperity จากสถาบันวิจัย Legatum Institute ของอังกฤษ ซึ่งมีการประเมินปัจจัยสำคัญด้านโอกาสทางเศรษฐกิจและการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนแนวทางการกำกับดูแลกิจการ และต้นทุนทางสังคม เป็นต้น

 

 

ECB – BOE คงดอกเบี้ยตามเดิม รอประเมินผลกระทบเศรษฐกิจ

 

ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ที่ตัดสินใจปล่อยให้อัตราดอกเบี้ยยืนอยู่ที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ต่อไป ท่ามกลางแรงกดดันที่ยังมีอยู่ในตลาดตราสารหนี้ของภูมิภาค

 

คณะกรรมการบริหารของ ECB ในนครแฟรงก์เฟิร์ตตัดสินใจยืนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ benchmark ไว้ที่ระดับ 1% เป็นเดือนที่ 19 ตามที่นักเศรษฐศาสตร์ได้ประเมินไว้ก่อนหน้านี้ ขณะที่มีหลายคนมองว่าการเดินหน้ามาตรการอัดฉีดเงินผ่านการซื้อพันธบัตรในวงเงินอีก 6 แสนล้านเหรียญจากทางธนาคารกลางสหรัฐฯ นั้น น่าจะเป็นตัวกระตุ้นให้เงินยูโรพุ่งแข็งค่าขึ้นต่อ ซึ่งสภาวะแบบนี้ก็ไม่น่าจะเป็นผลดีต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาค และแม้กระทั่งอาจจะเป็นปัจจัยค้ำยันไม่ให้ ECB ต้องรีบถอนมาตรการกระตุ้นต่างๆ ออกจากระบบ

 

ข้ามมาทางด้านประเทศเมืองผู้ดี ที่ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ยังก้มหน้าเก็บมาตรการกระตุ้นและช่วยเหลือฉุกเฉินไว้ไม่เปลี่ยนแปลง ภายใต้สถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศที่กำลังฟื้นตัวได้แข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น จนไม่ต้องทำตามเฟดสำหรับการอัดฉีดเงินเพื่อซื้อพันธบัตรเพิ่ม

 

สมาชิกทั้ง 9 คนของคณะกรรมการนโยบายการเงินของอังกฤษ นำโดย นาย Mervyn King ผู้ว่า BOE ได้ตกลงที่จะคงระดับวงเงินการซื้อพันธบัตรไว้ที่ 2 แสนล้านปอนด์ หรือ ราว 324,000 ล้านเหรียญ ซึ่งเป็นไปตามที่นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดการณ์ไว้ พร้อมกันนั้น แบงก์ชาติอังกฤษยังตัดสินใจยืนอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 0.5% ต่อไปอีกด้วย

 

การขยายตัวของทั้งภาคบริการและการผลิตทำให้เศรษฐกิจของอังกฤษสามารถทำสถิติเติบโตติดต่อกันสองไตรมาสได้ดีที่สุดในรอบหลายปี ซึ่งถ้าหากรวมกับแนวโน้มเงินเฟ้อที่เริ่มขยับขึ้น ก็กลายเป็นเหตุผลที่ทำให้ผู้ดำเนินนโยบายไม่อาจเดินหน้ามาตรการกระตุ้นเพิ่มเติมใดๆ ได้อีก

 

 

WEF เผยเอเชียก้าวเป็นศูนย์กลางการเงินโลก

 

รายงานจากที่ประชุมเศรษฐกิจโลก หรือ เวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรัม (WEF) ระบุว่า เศรษฐกิจเอเชียมีการพัฒนาขึ้นในฐานะศูนย์กลางการเงินโลก โดยฮ่องกงกับสิงคโปร์มีช่องว่างระหว่างกันลดลง ส่วนช่องว่างระหว่างฮ่องกงกับสิงคโปร์และประเทศเศรษฐกิจหลักก็ลดลงเช่นกัน

 

จากการประเมินเศรษฐกิจ 57 ประเทศโดยที่ประชุมเศรษฐกิจโลก พบว่าทั้งฮ่องกงและสิงคโปร์มีคะแนนดีขึ้นเล็กน้อยอยู่ที่อันดับ 3 และ 4 ตามลำดับ โดยฮ่องกงขยับขึ้นจากอันดับ 5 ในปีที่แล้ว ส่วนสิงคโปร์อยู่ในอันดับเดิม

 

ขณะที่สหรัฐอเมริกาและอังกฤษมีคะแนนลดลงแต่ครองอันดับ 1 และ 2 โดยสหรัฐไต่ขึ้นมาจากอันดับ 3 ในปีที่แล้ว ส่วนอังกฤษตกลงจากอันดับแรกในปีที่แล้ว

 

ฮ่องกงได้คะแนน 5.04 คะแนน หรือเพิ่มขึ้น 0.6 คะแนนเมื่อเทียบรายปี ส่วนสิงคโปร์มีคะแนน 5.03 คะแนน ขยับขึ้น 0.01 คะแนนจากปีที่แล้ว ขณะที่สหรัฐอเมริกามี 5.12 คะแนน ลดลง 0.01 คะแนน ส่วนอังกฤษมี 5.06 คะแนน ลดลง 0.22 คะแนนจากปีที่แล้ว

 

รายงานระบุว่าฮ่องกงและสิงคโปร์ได้คะแนนสูงเนื่องจากมีสภาพแวดล้อมการทำธุรกิจและสภาพแวดล้อมเชิงสถาบันที่แข็งแกร่งและมีระบบการเงินที่มีเสถียรภาพสูง

 

สำหรับญี่ปุ่นยังคงครองอันดับ 9 เนื่องจากตลาดการเงินที่แข็งแกร่ง ด้วยคะแนน 4.67 คะแนน ขยับขึ้น 0.03 คะแนนจากปีที่แล้ว

 

ขณะที่จีนไต่ขึ้นมาสี่อันดับสู่อันดับ 22 ด้วยคะแนน 4.03 คะแนน เพิ่มขึ้น 0.16 คะแนนจากปีก่อน โดยได้รับแรงหนุนจากธุรกิจบริการด้านการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร อาทิ การขายหุ้นไอพีโอ รวมถึงกิจกรรมการควบรวมและซื้อกิจการ

 

รายงานดังกล่าวยังเน้นย้ำถึงปัญหาที่มีต่อเสถียรภาพทางการเงินของญี่ปุ่น โดยชี้ว่าระบบธนาคารที่มีเสถียรภาพน้อยลงและมีความเสี่ยงค่อนข้างสูงที่จะเกิดวิกฤตหนี้สาธารณะ

 

ทั้งนี้ การจัดอันดับดังกล่าวอ้างอิงจากคะแนนที่ได้จากการคำนวณตัวแปรกว่า 120 ตัวแปรใน 7 หมวด อาทิ สภาพแวดล้อมการทำธุรกิจและสภาพแวดล้อมเชิงสถาบัน เสถียรภาพทางการเงิน และการเข้าถึงเงินทุน เป็นต้น

 

 

BOJ ประชุมหาขั้นตอนการซื้อสินทรัพย์วงเงิน 5 ล้านล้านเยน

 

ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เปิดฉากการประชุมเป็นวันแรกเมื่อวานนี้ เพื่อหารือเกี่ยวกับแผนการซื้อทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงการอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน เพื่อกระตุ้นความเชื่อมั่นของนักลงทุนและพยุงตลาดที่ซบเซาให้ฟื้นตัวขึ้น นับตั้งแต่ที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกขาลง

 

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า การประชุมของธนาคารกลางญี่ปุ่นครั้งนี้ จะได้มีการหารือเรื่องผลพวงจากการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่ตัดสินใจซื้อพันธบัตรรัฐบาลวงเงิน 6 แสนล้านดอลลาร์ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ซบเซาของประเทศ นอกจากนี้ ที่ประชุมจะหารือเรื่องการเร่งการออกกฎหมายในการซื้อสินทรัพย์วงเงิน 5 ล้านล้านเยน หรือ 6.2 หมื่นล้านดอลลาร์

 

ก่อนหน้าที่การประชุมจะเริ่มต้นขึ้นนั้น นายมาซาอากิ ชิรากาว่า ผู้ว่าการแบงค์ชาติญี่ปุ่นปฏิเสธที่จะพูดถึงแนวโน้มนโยบายการเงิน และไม่แสดงความเห็นเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวครั้งล่าสุดของเฟด

 

อย่างไรก็ดี ผู้ว่าการ BOJ ได้แสดงความเห็นเรื่องระดับอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันและสภาพเศรษฐกิจโดยรวมว่า เศรษฐกิจของประเทศฟื้นตัวในระดับปานกลาง แต่การฟื้นตัวก็เปราะบาง เนื่องจากอัตราการขยายตัวของการส่งออกและผลผลิตที่ชะลอตัวลง ซึ่งมุมมองดังกล่าวไม่แตกต่างไปจากการประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจครั้งล่าสุดของ BOJ

 

สำหรับเรื่องอัตราดอกเบี้ยนั้น นายชิรากาว่ากล่าวในงานสัมนาก่อนหน้านี้ว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่นมองว่าอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 0 - 0.1% นั้น ถือเป็นระดับที่เหมาะสมที่สุดแล้ว

 

 

รมต. คลังฮ่องกงเตือนระวังกระแสเงินร้อน หลังเฟดใช้ QE2

 

นายจอห์น ซัง รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของฮ่องกงเตือนว่า การใช้นโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบสอง หรือ QE2 ของธนาคารกลางสหรัฐนั้น จะสร้างแรงกดดันให้กับตลาดสินทรัพย์ของฮ่องกง เนื่องจากมาตรการ QE2 อาจจะทำให้มีกระแสเงินร้อนหลั่งไหลเข้ามาในตลาดเกิดใหม่ต่างๆ ซึ่งรวมถึง ฮ่องกง

 

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า รมว.คลังกล่าวต่อไปว่า รัฐบาลฮ่องกงจะยังคงติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และจะพิจารณาเรื่องการใช้มาตรการที่เหมาะสมหากเห็นว่าจำเป็น พร้อมกับเตือนให้นักลงทุนระมัดระวังและป้องกันการเก็งกำไรที่สูงเกินไป

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

จบข่าวภาคเช้า ภาคบ่ายค่อยมาดูกราฟตาแป๊ะต่อ

ถูกแก้ไข โดย ทองใหม่

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณค่ะ อาจารย์ ที่มา update ข่าวสารให้ทุกวัน ไม่มีเหนื่อย

 

ขอบคุณในน้ำใจจริง ๆ ค่ะ ถ้ายังไง ดูแลสุขภาพด้วยนะคะ :wub:

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอแสดงตัว และ ขอขอบคุณอาจารย์ทองใหม่ด้วยครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...