ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

ธนาคารกลางญี่ปุ่นเตือนความเสี่ยงจากปัญหาหนี้ยุโรปกำลังขยายวงกว้าง

 

 

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 14 กันยายน 2554 11:57:40 น.

นายริวโซ มิยาโอะ สมาชิกคณะกรรมการกำหนดนโยบายของธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) กล่าวว่า ความเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่เกิดจากปัญหาหนี้สินในยุโรปนั้น กำลังขยายวงกว้าง และเป็นหนึ่งในประเด็นหลักที่ก่อให้เกิดความกังวลเรื่องแนวโน้มเศรษฐกิจญี่ปุ่น

 

"ขณะที่เศรษฐกิจยุโรปและสหรัฐฟื้นตัวอย่างเชื่องช้า ก็มีความกังวลว่าอุปสงค์จากต่างประเทศจะซบเซาเกินคาด ซึ่งอาจขะฉุดการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่น" นายมิยาโอะกล่าวที่เมืองฮาโกะดาเตะ จังหวัดฮอกไกโด

 

 

สำหรับกรณีที่วิกฤตหนี้สินกรีซลุกลามไปยังอิตาลีและสเปนนั้น นายมิยาโอะกล่าวว่าควรจับตาดูสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เนื่องจากเริ่มมีความชัดเจนว่าปัญหาดังกล่าวกำลังส่งผลกระทบต่อภาคการเงินและเศรษฐกิจ

 

นอกจากนั้นเขายังกล่าวว่า เงินเยนที่แข็งค่าต่อเนื่อง รวมถึงค่าไฟที่ปรับตัวสูงขึ้นอันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนจากไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ไปใช้แหล่งพลังงานอื่นนั้น ทำให้เกิดความกังวลเรื่องเศรษฐกิจมากขึ้นไปอีก

 

ธนาคารกลางญี่ปุ่นใช้มาตรการผ่อนคลายทางการเงินเพิ่มเติม ด้วยการขยายโครงการเข้าซื้อสินทรัพย์เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม เพื่อรับมือกับเงินเยนที่แข็งค่า ซึ่งนายมิยาโอะกล่าวว่าการรับมือกับสถานการณ์อย่างเหมาะสมถือเป็นสิ่งสำคัญเมื่อถึงเวลาที่จำเป็น สำนักข่าวเกียวโดรายงาน

 

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ปรียพรรณ มีสุข/รัตนา โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th-

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

บทวิเคราะห์: แศรษฐกิจสหรัฐฯ : กระทบเศรษฐกิจไทย

 

 

ข่าวเศรษฐกิจ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม -- พุธที่ 14 กันยายน 2554 12:03:42 น.

ภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปัจจุบันสหรัฐฯ ในปัจจุบัน

การถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือทางการเงินของสหรัฐฯ จจากเดิม AAA เหลือ AA+ เนื่องมาจากปัญหาหนนี้สาธารณะ และการขาดดุลงบประมาณอีกทั้งเงื่อนไขการลดค่าใช้จ่ายที่เป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้สะท้อนถึงปัญหาโครงสร้างเศรษฐกิจและการเงินที่ยังคงสะสมอยู่ และอาจทำให้เศรษฐกิจตลาดหลักมีความเสี่ยงที่จะกลับเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยอีกครั้ง ซึ่งเป็นที่น่ากังวลถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก รวมถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจประเทศไทย โดยเฉพาะภาคการส่งออก

 

 

เศรษฐกิจสหรัฐฯ(1) ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2554 ขยายตัวเพิ่มขึ้นด้วยอัตราร้อยละ 1.8 โดยได้รับปัจจัยทางบวกจากการใช้จ่ายเพื่อการบริโภค (เพิ่มขึ้นร้อยล 2.2) การลงทุนในสินค้าคงคลังของภาคเอกชน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 1.19) การส่งออก (เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.2) การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ใช่เพื่อการอยู่อาศัย (เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4)

 

มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่แท้จริงในไตรมาสที่ 1 ของปี 2 2554 อยู่ในระดับคงที่เมื่อเทียบกับการคาดการณ์ครั้งก่อนในเดือนพฤษภาคม 2554 โดยเศรษฐกิจสหรัฐฯ ขยายตัวด้วยอัตราร้อยละ 1.8 ซึ่งลดลงเมื่อเทียบกับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ ซึ่งลดลงเมื่อเทียบกับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 และ และ 4 ของปี 2553 ที่ร้อยละ 2.6 และ 3.1 ตามลำดับ โดยปริมาณการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคที่ถูกปรับแก้ไขลดลงจากการคาดการณ์ครั้งก่อนที่อัตราการขยายตัวร้อยละ 2.7 มาอยู่ที่อัตราร้อยละ 2.2 ในการคาดการณ์ครั้งล่าสุดได้รับการทดแทนจากการขยายตัวเพิ่มขึ้นของปริมาณการลงทุนในสินค้าคงคลังของภาคเอกชน ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการ และปริมาณการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ใช่เพื่อการอยู่อาศัยที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่อัตราการขยายตัวร้อยละ 1.19 ,9.2 และ 3.4 ตามลำดับ

 

ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed)(2) ออกมาประกาศตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.25% ต่อไปจนกลางปี 2556 เป็นอย่างน้อย ทำให้อัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาลระยะกลางของสหรัฐฯ ร่วงลงอย่างมาก ซึ่งทำให้ธนาคารพาณิชย์ต้องตกอยู่ในสภาพกลืนไม่เข้าคายไม่ออก เพราะธนาคารพาณิชย์ต้องสร้างรายได้จากการกู้ยืมเงินในระยะสั้นในรูปของเงินฝาก เพื่อมาลงทุนในระยะยาว และได้รับผลตอบแทนจากส่วนต่างดังกล่าว หรือที่เรียกว่า spread ซึ่งในปัจจุบันการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงสู่จุดต่ำสุดในประวัติการณ์ที่ 0.25% ได้ทำให้ส่วนต่างดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) ของธนาคารพาณิชย์ถูกบีบตัวอย่างมาก

 

หมายเหตุ   (1) ที่มา

: สำนักงานที่ปรึกษาเศรษฐกิจและการคลัง ประจำกรุงวอชิงตัน. รายงานสรุปสภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ.

 

ประจำเดือน มิถุนายน 2554

(2) ที่มา

: บริษัทเอเชียพลัส.กลุ่มธนาคารพาณิชย์ - สหรัฐอเมริกา. วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม 2554

 

สถานการณ์การว่างงานของสหรัฐฯ ในเดือนกรกฎาคม 2011

จำนวนผู้ว่างงาน 13.9 ล้านคน และอัตราการว่างงานร้อยละ 9.1 การเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยในเดือนกรกฎาคม

 

ในกลุ่มแรงงานที่สำคัญมีอัตราการว่างงานสำหรับผู้ชาย(ผู้ใหญ่)ร้อยละ 9.0 , หญิง(ผู้ใหญ่) ร้อยละ 7.9, วัยรุ่น (25.0 เปอร์เซ็นต์), คนผิวขาว (8.1 เปอร์เซ็นต์), คนผิวดำ (15.9 เปอร์เซ็นต์) และละติน (11.3 เปอร์เซ็นต์) พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย หรือไม่มีการเปลี่ยนแปลงในเดือนกรกฎาคม อัตราการว่างงานสำหรับคนเอเชียคือร้อยละ 7.7 ไม่ปรับฤดูกาล และจำนวนผู้ว่างงานจากภาคอุตสาหกรรมยังไม่ได้ปรับฤดูสามารถดูได้จากกราฟ

 

การส่งออกของไทยสู่สหรัฐฯ

มูลค่าการส่งออกปี 2554

ไตรมาส 1           ไตรมาส 2         ครึ่งแรกปี 54

 

ส่งออกรวม (ล้านบาท)    1,720,375.9        1,741,379.6        3,461,755.5

 

อัตราการขยายตัว               17.9               11.6               14.7

 

ส่งออก US(ล้านบาท)       161,810.0          167,369.0          329,179.0

 

อัตราการขยายตัว               11.5                9.0                9.6

 

ที่มา : กรมส่งเสริมการส่งออก

มูลค่าส่งออกรวมของไทยในช่วงครึ่งแรกปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 14.7   ด้วยมูลค่าส่งออก 3,461,755.5 ล้านบาท อย่างไรก็ตามหากพิจารณาการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ ในช่วงที่ผ่านมาเริ่มมีสัญญาณชะลอตัวให้เห็นตั้งแต่ช่วงปลายไตรมาส 2 ปี 2554 โดยมูลค่าส่งออกไปสหรัฐฯ จากที่เคยขยายตัวร้อยละ 11.5  ใในช่วงไตรมาสแรกปี 2554 ชะลอลงมาเหลือแค่ร้อยละ 9.0 ในไตรมาส 2 ปี 2554 ขณะที่นโยบายแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของทั้งสหรัฐฯ ยังไม่มีความชัดเจนทำให้มีความเป็นไปได้มากว่าการส่งออกของไทยไปทั้งสหรัฐฯ น่าจะชะลอลงอย่างต่อเนื่องในช่วงที่เหลือของปี

 

ผลกระทบวิกฤติสหรัฐฯ ต่อประเทศไทย

ผลกระทบต่อเศรษฐกิจของไทย

สำหรับผลกระทบต่อเศรษฐกิจของไทยนั้นในกรณีเลวร้ายหากสหรัฐฯ ประสบกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย  ผลต่อเศรษฐกิจไทยที่จะตามมาอาจมีประเด็นต่างๆ ดังนี้

 

ผลต่อเศรษฐกิจไทย(3)  ในช่วงปีที่สหรัฐฯ ประสบวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ เศรษฐกิจไทยมักถูกฉุดให้ชะลอตัวลงแรงหรือหดตัวตามไปด้วย โดยในรอบนี้ แม้ว่าแรงขับเคลื่อนจากจีนและภูมิภาคเอเชีย บวกกับมาตรการเพิ่มรายได้ของรัฐบาลไทยอาจช่วยประคับประคองให้ GDP ยังขยายตัวเป็นบวกได้ แต่อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2555 อาจชะลอลงอย่างมีนัยสำคัญจากกรอบคาดการณ์กรณีปกติของศูนย์วิจัยกสิกรไทยที่ร้อยละ 4.5 - 5.8 โดยอาจขยายตัวอยู่ในระดับใกล้เคียงร้อยละ 2

 

ผลกระทบจากการส่งออก

นอกจากผลกระทบ(4)ที่เกิดขึ้นโดยตรงจากการส่งออกไปยังสหรัฐที่อาจชะลอลงแล้ว ยังต้องจับตาผลกระทบทางอ้อมที่อาจเกิดขึ้น เพราะแม้ปัจจุบันไทยได้กระจายตลาดส่งออกไปยังภูมิภาคต่าง ๆ มากขึ้น และพึ่งพาการส่งออกไปยังสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 10% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด และพึ่งพาการส่งออกไปยังสหรัฐฯ และ EU คิดเป็นสัดส่วนเพียงประมาณ 20% ของมูลค่าส่งออกทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ประเทศตลาดเกิดใหม่ของไทยหลายประเทศยังต้องพึ่งพาการส่งออกไปยังสหรัฐและ EU

 

คิดเป็นสัดส่วนสูง ซึ่งเศรษฐกิจประเทศตลาดใหม่เหล่านั้นอาจประสบปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวลงตามสหรัฐฯ และ EU ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องมายังการส่งออกของไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นกัน

 

ผลต่อธุรกิจส่งออกของไทย แม้ปัจจุบันพึ่งพาตลาดสหรัฐฯ ลดลงมาอยู่ที่ประมาณร้อยละ 10 ของการส่งออกโดยรวม น้อยกว่ากลุ่มอาเซียน จีนและญี่ปุ่น แต่เนื่องจากสหรัฐฯ เป็นผู้นำเข้าอันดับหนึ่งของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐฯ มีการนำเข้าสินค้าจากภูมิภาคเอเชียถึงร้อยละ 32 ของการนำเข้าทั้งหมดของประเทศ ซึ่งสะท้อนได้ถึงความสำคัญของสหรัฐฯ ต่อห่วงโซ่การผลิตในภูมิภาคเอเชีย(เทียบกับกรณีสหภาพยุโรปที่นำเข้าจากเอเชียเพียงประมาณร้อยละ 13 ของการนำเข้าทั้งหมดของกลุ่ม)

 

หมายเหตุ   (3)ที่มา

: ศูนย์วิจัยกสิกร.

S&P ปรับลดอันดับเครดิตสหรัฐฯ...ผลต่อเศรษฐกิจไทย. ฉบับที่ 2260 วันที่ 8 สิงหาคม 2554

 

(4)  ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ. จับตาวิกฤตเศรษฐกิจโลกรอบใหม่ อาจกระทบส่งออกไทยครึ่งหลังปี : '54

 

ผลจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน

จากภาวะที่ตลาดวิตกกังวล(5)ต่อความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลก ใน ช่วงแรกอาจทำให้นักลงทุนหันมาถือสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น ทองคำ และพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวอาจทำให้ค่าเงินดอลลาร์ฯ แข็งค่าขึ้น อย่างไรก็ตาม ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าค่าเงินดอลลาร์ฯ เองก็อยู่ภายใต้แรงกดดัน จากปัญหาในภาคการคลังและอันดับเครดิตความน่าเชื่อถือของประเทศ ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว หากเศรษฐกิจสหรัฐ มีปัญหา โอกาสที่ ทางการสหรัฐ จะบรรลุเป้าหมายในการตัดลดหนี้สาธารณะก็เป็นไปได้ยากลำบากมากขึ้น

 

ปัญหาหนี้สาธารณะยังส่งผลทำให้ความเชื่อมั่นต่อสกุลเงินตราของประเทศเหล่านี้ลดลง ประเทศทั่วโลกมีแนวโน้มลดสัดส่วนของเงินสกุลดอลลาร์ฯและยูโรในเงินทุนสำรองระหว่างประเทศลง เช่นเดียวกับนักลงทุนที่หันไปถือสินทรัพย์อื่นแทนสกุลเงินดังกล่าว รวมทั้งย้ายเงินลงทุนเข้ามาในกลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่ โดยเฉพาะในเอเชีย ทำให้เงินสกุลดอลลาร์ฯและยูโรมีแนวโน้มอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินบาทและเงินสกุลท้องถิ่นของเอเชีย การส่งออกของไทยไปยังสหรัฐและยุโรปจึงมีปัญหามากขึ้น

 

หมายเหตุ   (5)ที่มา

: หนังสือพิมพ์แนวหน้า วันที่ 8 สิงหาคม 2554

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า กลุ่มสินค้าที่มีโอกาส ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ เครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร รองเท้า เฟอร์นิเจอร์ เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ และส่วนประกอบ เป็นต้น สำหรับสินค้าอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป กุ้ง ไก่ และผลไม้กระป๋องและแปรรูปนั้น แม้พึ่งพาตลาด 2 กลุ่มนี้สูง แต่เป็นสินค้าจำเป็นต่อการบริโภค ผลกระทบจึงน่าจะรุนแรง น้อยกว่า

 

กลุ่มที่มีโอกาสได้รับผลกระทบค่อนข้างมากรองลงมา ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ คอมเพรสเซอร์ของเครื่องทำความเย็น ผลิตภัณฑ์ยาง รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ วงจรพิมพ์ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ วิทยุ โทรทัศน์และส่วนประกอบ ส่วนประกอบอากาศยานและอุปกรณ์การบิน เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ และอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น ส่วนสินค้าที่มีโอกาสได้รับผลกระทบค่อนข้างน้อย เช่น สินค้าเกษตร รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ และเม็ดพลาสติก เป็นต้น

 

ฉะนั้น ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เศรษฐกิจโลกมีความ ไม่แน่นอนสูง ทิศทางความผันผวนของค่าเงินอาจมีผลทำให้ผู้ประกอบการโดยเฉพาะภาคส่งออกต้องใช้ความระมัดระวังในการบริหารจัดการธุรกรรมอัตราแลกเปลี่ยนมากยิ่งขึ้น

 

ผลกระทบต่อการเคลื่อนย้ายการลงทุน

ด้านการลงทุนที่เคลื่อนย้ายเข้ามายังเอเชียโดยส่วนใหญ่อาจไม่ใช่การย้ายฐานการผลิตหรือการลงทุนโดยตรง แต่เป็นการลงทุนเพื่อเก็งกำไรหรือแสวงหาผลตอบแทนที่สูงกว่าในระยะสั้น เนื่องจากทางการของประเทศในเอเชียมีแนวโน้มปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อป้องกันปัญหาเงินเฟ้อกระแสการลงทุนดังกล่าวนอกจากจะทำให้ค่าเงินบาทแล้ว อาจจะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยน ค่าเงินบาทมีความผันผวนมากขึ้น ทำให้ต้นทุนการป้องกันความเสี่ยงด้านค่าเงินเพิ่มสูงขึ้น

 

การบริหารเศรษฐกิจ

การบริหารเศรษฐกิจในสถานการณ์เช่นนี้มีความสำคัญมาก โดยทิศทางนโยบายเศรษฐกิจควรหันมาเน้นการส่งออกไปยังตลาดใหม่ที่เป็นกลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่ และเน้นการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ เพราะอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการส่งออกในปีที่ผ่านมาได้รับประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐและยุโรป แต่ปัญหาหนี้สาธารณะจะทำให้รัฐบาลสหรัฐมีความจำกัดมากขึ้นในการอัดฉีดงบประมาณเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ในขณะเดียวกันรัฐบาลใหม่และธนาคารแห่งประเทศไทยควรประสานนโยบายการเงินและการคลังเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจด้วย

 

ขณะเดียวกัน สถานการณ์เช่นนี้มีความเหมาะสมสำหรับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ เพื่อยกระดับการผลิตให้มีผลิตภาพสูงขึ้น มูลค่าเพิ่มมากขึ้น และมีนวัตกรรมมากขึ้น (สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลใหม่ที่ต้องการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ) โดยการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มสูงจากต่างประเทศ การสนับสนุนการนำเข้าเทคโนโลยี เครื่องจักรและบุคลากรระดับสูงจากต่างประเทศ และย้ายฐานการผลิตของอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้นไปสู่ประเทศที่มีต้นทุนค่าแรงงานต่ำ

 

ไม่เพียงแต่แรงกดดันจากความคาดหวังของประชาชนที่จับจ้องการดำเนินนโยบายตามที่ได้หาเสียงไว้เท่านั้น รัฐบาลใหม่ยังต้องเผชิญแรงกดดันจากสภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงด้วย การจัดการเศรษฐกิจในภาวะปัจจุบันจึงมีความสำคัญและต้องระมัดระวังอย่างมาก ซึ่งไม่เพียงแต่เน้นการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นเท่านั้น แต่ควรหวังผลการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในระยะยาวด้วย

 

ขณะที่รายงานข่าวจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ว่า หากเศรษฐกิจสหรัฐเข้าสู่ภาวะถดถอย จะฉุดเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยประเมินว่าถ้าเศรษฐกิจสหรัฐขยายตัวต่ำกว่า 1% อาจส่งผลให้การส่งออกของไทยในปี 2555 มีอัตราการขยายตัวชะลอต่ำกว่า 5% จากกรอบคาดการณ์กรณีปกติจะอยู่ที่ 12-17% โดยธุรกิจส่งออกของไทยที่ได้รับผลกระทบมากจะเป็นกลุ่มสินค้าที่มีความจำเป็นน้อย สินค้าขั้นกลางที่นำไปใช้ในกระบวนการผลิตต่อและสินค้าประเภททุน ได้แก่ เครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ผลิตภัณฑ์ยาง เฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

 

--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--

-พห-

Facebook

Twitter

พิมพ์ข่าวนี้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

China Today: ข่าวธุรกิจโลหะจีนประจำวันที่ 14 กันยายน 2554

โบรกฯเชียร์"เก็ง"TMB อาจถูกขายหลังธ.ในยุโรปอ่อนแอ, เป็นหุ้น Turnaround

(เพิ่มเติม) ภาวะตลาดหุ้นไทย: แนวโน้มดัชนีเช้าลุ้นรีบาวน์ในกรอบแคบ, จับตาการหารือแก้ปัญหาหนี้กรีซ

ภาวะตลาดหุ้นไทย: แนวโน้มดัชนีเช้าลุ้นรีบาวน์ในกรอบแคบ, จับตาการหารือแก้ปัญหาหนี้กรีซ

ภาวะตลาดกาแฟนิวยอร์ก: วิตกเศรษฐกิจกดราคากาแฟอาราบิก้าปิดลบ

หัวข้อที่เกี่ยวข้อง

เศรษฐกิจสหรัฐ การเงิน รถ วิเคราะห์ เศรษฐกิจไทย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณครับอาจารย์ปู่ทองใหม่ ช่วงนี้เศรษฐกิจผันผวน กว่าจะนิ่งคงปลายปีละมั้งเนี่ย

:ph34r:

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก:ยูโรพุ่งรับข่าวผู้นำเยอรมนี-ฝรั่งเศสเชื่อมั่นกรีซ

 

 

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 15 กันยายน 2554 07:02:37 น.

สกุลเงินยูโรแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (14 ก.ย.) เนื่องจากนักลงทุนคาดหวังว่ากลุ่มนำยุโรปจะร่วมมือกันเพื่อยับยั้งการลุกลามของวิกฤตหนี้ ซึ่งรวมถึงการที่นายโฮเซ มานูเอล บาร์โรโซ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป (อีซี) กล่าวว่า อีซีจะเสนอทางเลือกเพื่อออกพันธบัตรยูโรในเร็วๆนี้ ขณะที่สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลงหลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอ รวมถึงยอดขายค้าปลีกที่ไม่มีการขยายตัวในเดือนส.ค.

 

 

ค่าเงินยูโรพุ่งขึ้น 0.50% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.3748 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.3680 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ค่าเงินปอนด์อ่อนตัวลง 0.10% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.5767 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5782 ดอลลาร์สหรัฐ

 

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลง 0.38% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 76.630 เยน จากระดับ 76.920 เยน และร่วงลง 0.42% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.8761 ฟรังค์ จากระดับ 0.8798 ฟรังค์

 

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียร่วงลง 0.43% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.0272 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.0316 ดอลลาร์สหรัฐ และค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์อ่อนตัวลง 0.16% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.8216 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.8229 ดอลลาร์สหรัฐ

 

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า สกุลเงินยูโรดีดตัวขึ้นขานรับข่าวที่ว่า นางแองเกลา แมร์เคล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี และนายนิโคลาส์ ซาร์โกซี ประธานาธิบดีฝรั่งเศส ยืนยันว่ากรีซจะยังคงเป็นสมาชิกยูโรโซนต่อไป นอกจากนี้ นางแมร์เคลยังปฏิเสธการคาดการณ์ที่ว่า กรีซใกล้ที่จะผิดนัดชำระหนี้หรือจะถูกขับให้ออกจากยูโรโซน ซึ่งข่าวดังกล่าวช่วยชดเชยปัจจัยลบจากการที่มูดีส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของธนาคารรายใหญ่ของฝรั่งเศส

 

นอกจากนี้ สกุลเงินยูโรยังได้แรงหนุนหลังจากที่นายจอร์จ ปาปันเดรอู นายกรัฐมนตรีกรีซให้คำมั่นสัญญาว่าจะดำเนินการลดยอดขาดดุลงบประมาณตามข้อตกลงที่ให้ไว้ และจากข่าวที่ว่า นายบาร์โรโซ ประธานอีซีจะเสนอทางเลือกเพื่อออกพันธบัตรยูโรในเร็วๆนี้ พร้อมกับเรียกร้องให้ผู้นำยุโรปสนับสนุนแนวคิดดังกล่าว

 

รัฐสภาอิตาลีอนุมัติแผนรัดเข็มขัดของรัฐบาลเมื่อวานนี้ ซึ่งทำให้นักลงทุนเชื่อมั่นว่า รัฐบาลอิตาลีจะสามารถผลักดันแผนการขึ้นภาษีและการลดค่าใช้จ่ายวงเงิน 5.4 หมื่นล้านดอลลาร์ใน 3 ปีข้างหน้า

 

ส่วนค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนแรงลงหลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐระบุว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (พีพีไอ) ทรงตัวในเดือนส.ค. หลังจากที่เพิ่มขึ้น 0.2% ในเดือนก.ค. นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่า ยอดขายปลีกของสหรัฐไม่มีการขยายตัวในเดือนส.ค. หลังจากที่ขยายตัว 0.3% ในเดือนก.ค. ขณะที่สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจปรับตัวเพิ่มขึ้นน้อยเกินคาดในเดือนก.ค.

 

ทางการสหรัฐจะเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญในสัปดาห์นี้ รวมถึงดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนส.ค., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และดัชนีความเชื่อมั่นขั้นต้นเดือนก.ย.ของสหรัฐ

 

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก:ยูโรพุ่งรับข่าวผู้นำเยอรมนี-ฝรั่งเศสเชื่อมั่นกรีซ

 

 

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 15 กันยายน 2554 07:02:37 น.

สกุลเงินยูโรแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (14 ก.ย.) เนื่องจากนักลงทุนคาดหวังว่ากลุ่มนำยุโรปจะร่วมมือกันเพื่อยับยั้งการลุกลามของวิกฤตหนี้ ซึ่งรวมถึงการที่นายโฮเซ มานูเอล บาร์โรโซ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป (อีซี) กล่าวว่า อีซีจะเสนอทางเลือกเพื่อออกพันธบัตรยูโรในเร็วๆนี้ ขณะที่สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลงหลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอ รวมถึงยอดขายค้าปลีกที่ไม่มีการขยายตัวในเดือนส.ค.

 

 

ค่าเงินยูโรพุ่งขึ้น 0.50% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.3748 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.3680 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ค่าเงินปอนด์อ่อนตัวลง 0.10% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.5767 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5782 ดอลลาร์สหรัฐ

 

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลง 0.38% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 76.630 เยน จากระดับ 76.920 เยน และร่วงลง 0.42% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.8761 ฟรังค์ จากระดับ 0.8798 ฟรังค์

 

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียร่วงลง 0.43% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.0272 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.0316 ดอลลาร์สหรัฐ และค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์อ่อนตัวลง 0.16% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.8216 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.8229 ดอลลาร์สหรัฐ

 

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า สกุลเงินยูโรดีดตัวขึ้นขานรับข่าวที่ว่า นางแองเกลา แมร์เคล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี และนายนิโคลาส์ ซาร์โกซี ประธานาธิบดีฝรั่งเศส ยืนยันว่ากรีซจะยังคงเป็นสมาชิกยูโรโซนต่อไป นอกจากนี้ นางแมร์เคลยังปฏิเสธการคาดการณ์ที่ว่า กรีซใกล้ที่จะผิดนัดชำระหนี้หรือจะถูกขับให้ออกจากยูโรโซน ซึ่งข่าวดังกล่าวช่วยชดเชยปัจจัยลบจากการที่มูดีส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของธนาคารรายใหญ่ของฝรั่งเศส

 

นอกจากนี้ สกุลเงินยูโรยังได้แรงหนุนหลังจากที่นายจอร์จ ปาปันเดรอู นายกรัฐมนตรีกรีซให้คำมั่นสัญญาว่าจะดำเนินการลดยอดขาดดุลงบประมาณตามข้อตกลงที่ให้ไว้ และจากข่าวที่ว่า นายบาร์โรโซ ประธานอีซีจะเสนอทางเลือกเพื่อออกพันธบัตรยูโรในเร็วๆนี้ พร้อมกับเรียกร้องให้ผู้นำยุโรปสนับสนุนแนวคิดดังกล่าว

 

รัฐสภาอิตาลีอนุมัติแผนรัดเข็มขัดของรัฐบาลเมื่อวานนี้ ซึ่งทำให้นักลงทุนเชื่อมั่นว่า รัฐบาลอิตาลีจะสามารถผลักดันแผนการขึ้นภาษีและการลดค่าใช้จ่ายวงเงิน 5.4 หมื่นล้านดอลลาร์ใน 3 ปีข้างหน้า

 

ส่วนค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนแรงลงหลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐระบุว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (พีพีไอ) ทรงตัวในเดือนส.ค. หลังจากที่เพิ่มขึ้น 0.2% ในเดือนก.ค. นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่า ยอดขายปลีกของสหรัฐไม่มีการขยายตัวในเดือนส.ค. หลังจากที่ขยายตัว 0.3% ในเดือนก.ค. ขณะที่สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจปรับตัวเพิ่มขึ้นน้อยเกินคาดในเดือนก.ค.

 

ทางการสหรัฐจะเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญในสัปดาห์นี้ รวมถึงดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนส.ค., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และดัชนีความเชื่อมั่นขั้นต้นเดือนก.ย.ของสหรัฐ

 

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th

ขอบพระคุณอาจารย์สำหรับอาหารสมองยามเช้า

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

World Economic Calendar รายสัปดาห์ ประจำวันที่ 15 กันยายน 2554

 

 

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 15 กันยายน 2554 08:00:00 น.

ปฏิทินเศรษฐกิจรอบโลกในรอบสัปดาห์

 

วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน 2554 (เวลาประเทศไทย)

 

อังกฤษ 15.30 น. อังกฤษเปิดเผยตัวเลขค้าปลีกเดือนส.ค.

 

สหรัฐ 19.30 น. กระทรวงพาณิชย์เปิดเผยข้อมูลดุลบัญชีเดินสะพัดไตรมาส 2/2011

 

19.30 น. กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนส.ค.

 

19.30 น. ธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) สาขานิวยอร์คเปิดเผยดัชนีภาวะธุรกิจเดือนก.ย.

 

19.30 น. กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์

 

20.15 น. ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยข้อมูลภาคอุตสาหกรรม

และอัตราการใช้กำลังผลิตเดือนส.ค.

 

วันศุกร์ที่ 16 กันยายน 2554 (เวลาประเทศไทย)

 

สหรัฐ 19.30 น. กระทรวงการคลังสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเงินทุนไหลเข้าสุทธิและปริมาณการซื้อพันธบัตร

รัฐบาลสหรัฐของต่างชาติเดือนก.ค.

 

21.30 น. รอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกนเปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นขั้นต้นเดือนก.ย.

 

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน 2554 (เวลาประเทศไทย)

 

อังกฤษ ธนาคารกลางอังกฤษเปิดเผยรายงานประจำไตรมาส

 

สหรัฐ ประธานาธิบดีบารัค โอบามา เตรียมเสนอแผนการลดยอดขาดดุล

 

วันอังคารที่ 20 กันยายน 2554 (เวลาประเทศไทย)

 

ออสเตรเลีย 08.30 น. ธนาคารกลางออสเตรเลียเปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน

เมื่อวันที่ 6 ก.ย.

 

สหรัฐ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)

เริ่มการประชุมเรื่องนโยบายอัตราดอกเบี้ยเป็นวันแรกจากทั้งหมดสองวัน

 

วันพุธที่ 21 กันยายน 2554 (เวลาประเทศไทย)

 

อังกฤษ ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) เผยแพร่รายงานการประชุม

คณะกรรมการนโยบายการเงิน (MPC) วันที่ 7-8 กันยายน

 

เยอรมนี สภาบริหารธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) จัดการประชุม

(ถึงวันที่ 22 กันยายน) แต่ไม่มีกำหนดเปิดเผยอัตราดอกเบี้ย

 

สหรัฐ 01.15 น. คณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)

ประกาศอัตราดอกเบี้ย และออกแถลงการณ์

 

สหรัฐ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ)

เปิดเผยรายงานเสถียรภาพการเงินโลก (GFSR) บทที่ 1

 

 

--อินโฟเควสท์ โดย ปรียพรรณ มีสุข โทร.02-2535000 ต่อ 338 อีเมล์: preeyapan@infoquest.co.th-

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก: ดาวโจนส์พุ่ง 186.45 จุดรับข่าว 5 แบงก์ชาติปล่อยกู้ธนาคารยุโรป

 

 

ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 16 กันยายน 2554 06:24:15 น.

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (15 ก.ย.) หลังจากธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) พร้อมด้วยธนาคารกลางชั้นนำอีก 4 แห่งของโลก รวมถึงธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และธนาคารกลางอังกฤษ ประกาศว่าจะจัดหาเงินกู้ให้กับธนาคารพาณิชย์ในยูโรโซน ซึ่งข่าวดังกล่าวช่วยให้นักลงทุนคลายความกังวลเกี่ยวกับภาวะตึงตัวในภาคธนาคารของยุโรป อันเป็นผลมาจากวิกฤติหนี้สาธารณะ

 

 

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์พุ่งขึ้น 186.45 จุด หรือ 1.66% ปิดที่ 11,433.18 จุด ดัชนี S&P 500 เพิ่มขึ้น 20.43 จุด หรือ 1.72% ปิดที่ 1,209.11 จุด ดัชนี Nasdaq ปรับตัวขึ้น 34.52 จุด หรือ 1.34% ปิดที่ 2,607.07 จุด

 

ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กเป็นไปอย่างคึกคัก เนื่องจากนักลงทุนขานรับรายงานที่ว่า อีซีบีจะอัดฉีดสภาพคล่องในรูปสกุลเงินดอลลาร์เข้าสู่ภาคธนาคารของยุโรป ด้วยการปล่อยเงินกู้ให้กับธนาคารพาณิชย์ในยูโรโซนเป็นเวลา 3 เดือนจนถึงช่วงปลายปีนี้ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่าง อีซีบี, ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด), ธนาคารกลางอังกฤษ,ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) และธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ โดยมีเป้าหมายที่จะป้องกันไม่ให้ภาคธนาคารของยูโรโซนตกอยู่ในสภาวะตึงตัว อันเนื่องมาจากวิกฤติหนี้ยุโรป

 

นักวิเคราะห์จากเซนเทรา ไฟแนนเชียล กรุ๊ป กล่าวว่า มาตรการดังกล่าวมีประสิทธิภาพอย่างมาก เพราะจะช่วยเสริมสร้างสภาพคล่องในภาคธนาคารของยูโรโซนให้แข็งแกร่งขึ้น นอกจากนี้ ข่าวความเคลื่อนไหวดังกล่าวยังช่วยหนุนหุ้นกลุ่มธนาคารพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่ง เนื่องจากมีธนาคารเป็นจำนวนมากที่เข้าไปลงทุนซื้อพันธบัตรของรัฐบาลในยุโรโซน โดยเฉพาะพันธบัตรของกรีซ

 

การประกาศมาตรการกอบกู้ภาคธนาคารของธนาคารกลางชั้นนำทั้ง 5 มีขึ้นเพียงวันเดียวหลังจากนางแองเกลา แมร์เคล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี และนายนิโคลาส์ ซาร์โกซี ประธานาธิบดีฝรั่งเศส ได้ออกแถลงการณ์ร่วมกันภายหลังจากเสร็จสิ้นการประชุมทางโทรศัพท์ร่วมกับนายจอร์จ ปาปันเดรอู นายกรัฐมนตรีกรีซเมื่อวันพุธว่า กรีซยังคง "เป็นส่วนหนึ่งที่ไม่สามารถแยกออกจากยูโรโซนได้" ซึ่งข่าวดังกล่าวช่วยหนุนตลาดหุ้นทั่วโลกดีดตัวขึ้นถ้วนหน้าเมื่อวานนี้

 

นอกจากนี้ ตลาดยังได้แรงหนุนจากรายงานของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่ระบุว่า การผลิตในภาคอุตสาหกรรมเดือนส.ค.ของสหรัฐขยายตัวขึ้น 0.2% มากกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะขยับขึ้นเพียง 0.1% เพราะได้แรงหนุนจากยอดการผลิตสินค้าคงทนเพื่อผู้บริโภคที่ปรับตัวสูงขึ้น 1.3% และยอดการผลิตรถยนต์ที่เพิ่มขึ้น 2.6%

 

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า นักลงทุนขานรับข่าวความร่วมมือของธนาคารกลางทั้ง 5 แห่ง โดยแทบจะไม่ให้น้ำหนักกับข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐ รวมถึงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 10 ก.ย.เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 428,000 ราย จากสัปดาห์ก่อนหน้านั้นที่ระดับ 417,000 ราย ตรงข้ามกับที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะลดลงมาอยู่ที่ระดับ 410,000 ราย ขณะที่ดัชนีกิจกรรมด้านการผลิตในรัฐนิวยอร์ก (Empire State Index) หดตัวลงสู่ระดับ -8.82 ในเดือนก.ย. จากระดับ -7.72 จุดของเดือนส.ค. ตรงข้ามกับที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ -4.0 จุด

 

หุ้นกลุ่มธนาคารพุ่งขึ้นแข็งแกร่ง โดยหุ้นโกลด์แมน แซคส์ พุ่งขึ้น 3% หุ้นแบงก์ ออฟ อเมริกาทะยานขึ้น 4% หุ้นมอร์แกน สแตนลีย์ ดีดตัวขึ้น 7% ซึ่งนอกเหนือจากข่าวการอัดฉีดสภาพคล่องของธนาคารกลางทั้ง 5 แห่งแล้ว หุ้นมอร์แกน สแตนลีย์ยังได้แรงหนุนจากข่าวที่ว่า นายจอห์น แมค ประธานมอร์แกน สแตนลีย์ จะลาออกจากตำแหน่งในช่วงปลายปีนี้

 

หุ้นเอชซีเอ โฮลดิงส์ ซึ่งเป็นธุรกิจเครือข่ายโรงพยาบาล พุ่งขึ้น 12% หลังจากบริษัทประกาศแผนซื้อคืนหุ้นมูลค่ากว่า 1 พันล้านดอลลาร์จากแบงก์ ออฟ อเมริกา

 

อย่างไรก็ตาม หุ้นรีเสิร์ช อิน โมชัน ซึ่งเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์ที่ใช้ในโทรศัพท์แบล็คเบอร์รี ทะยานขึ้น 16% หลังจากบริษัทเปิดเผยผลประกอบการที่ต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาดวอลล์สตรีท เนื่องจากแบล็คเบอร์รีต้องเผชิญกับการแข่งขันอย่างหนักกับสมาร์ทโฟนชั้นนำอย่าง ไอโฟน ของค่ายแอปเปิล อิงค์

 

หุ้นธนาคารยูบีเอสของสวิตเซอร์แลนด์ ดิ่งลง 10% หลังจากธนาคารเปิดเผยตัวเลขขาดทุนสูงถึง 2 พันล้านดอลลาร์ อันเนื่องมาจากการซื้อขายที่ไม่ได้รับอนุญาตของเทรดเดอร์รายหนึ่งในฝ่ายวาณิชธนกิจของทางธนาคาร

 

นักลงทุนจับตาดูการรายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐในคืนนี้ตามเวลาประเทศไทย โดยนักวิเคราะห์คาดว่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคจะอยู่ที่ 56.5 จุด ในช่วงต้นเดือนก.ย. เพิ่มขึ้นจากระดับ 55.7 จุดของช่วงท้ายเดือนส.ค.

 

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดทองคำนิวยอร์ก: ทองคำร่วง $45.1 หลังวิกฤตหนี้ยุโรปเริ่มผ่อนคลาย

 

 

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 16 กันยายน 2554 06:52:37 น.

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงอย่างหนักเมื่อคืนนี้ (15 ก.ย.) หลังจากธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) พร้อมด้วยธนาคารกลางชั้นนำอีก 4 แห่งของโลก รวมถึงธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประกาศว่าจะจัดหาเงินกู้เพื่อช่วยเหลือธนาคารพาณิชย์ในยูโรโซน ซึ่งข่าวดังกล่าวส่งผลให้นักลงทุนลดการถือครองทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย และยังได้ฉุดสัญญาทองคำปิดร่วงลงต่ำกว่าระดับ 1,800 ดอลลาร์

 

 

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.ร่วงลง 45.1 ดอลลาร์ หรือ 2.5% ปิดที่ 1,781.4 ดอลลาร์/ออนซ์

 

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนธ.ค.ร่วงลง 1.032 ดอลลาร์ หรือ 2.5% ปิดที่ 39.501 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาโลหะทองแดงส่งมอบเดือนธ.ค.เพิ่มขึ้น 5.9 เซนต์ ปิดที่ 3.957 ดอลลาร์/ปอนด์

 

ส่วนสัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนต.ค.ดิ่งลง 35.30 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,780.60 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนธ.ค.พุ่งขึ้น 2.50 ดอลลาร์ ปิดที่ 723.50 ดอลลาร์/ออนซ์

 

นักลงทุนเทขายสัญญาทองคำทันทีที่อีซีบีประกาศว่าจะอัดฉีดสภาพคล่องในรูปสกุลเงินดอลลาร์เข้าสู่ภาคธนาคารของยุโรป ด้วยการปล่อยเงินกู้ให้กับธนาคารพาณิชย์ในยูโรโซนเป็นเวลา 3 เดือนจนถึงช่วงปลายปีนี้

 

"คณะกรรมการบริหารของอีซีบีดำเนินการด้วยการร่วมมือกับธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด), ธนาคารกลางอังกฤษ,ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) และธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อจัดหาเงินกู้เป็นเวลา 3 เดือนให้กับธนาคารในยูโรโซน" อีซีบีกล่าวในแถลงการณ์

 

สำนักข่าวซินหัวรายงานโดยอ้างการแสดงความคิดเห็นของเทรดเดอร์ในตลาดทองคำนิวยอร์กว่า มาตรการดังกล่าวของธนาคารกลางเหล่านั้นมีเป้าหมายที่จะขจัดความวิตกกังวลในตลาด โดยตลาดหุ้นนิวยอร์กพุ่งขึ้นขานรับข่าวดังกล่าว แต่ตลาดทองคำถูกกระหน่ำขายเนื่องจากนักลงทุนลดความต้องการถือครองสินทรัพย์ที่ปลอดภัย

 

นอกจากนี้ มาตรการดังกล่าวจะทำให้สภาพคล่องสกุลเงินดอลลาร์ในตลาดการเงินสูงขึ้นในระยะสั้น หลังจากที่ก่อนหน้านี้ธนาคารพาณิชย์ในยูโรโซนประสบความยากลำบากในการเข้าถึงแหล่งเงินกู้ อันเป็นผลมาจากความกังวลที่ว่าธนาคารในยุโรปได้เข้าไปถือครองพันธบัตรของกรีซเป็นจำนวนมาก

 

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoque

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก: ยูโรพุ่งรับข่าวบงก์ชาติอัดฉีดสภาพคล่องภาคธนาคาร

 

 

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 16 กันยายน 2554 07:05:43 น.

สกุลเงินยูโรพุ่งขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (15 ก.ย.) หลังจากธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) พร้อมด้วยธนาคารกลางชั้นนำอีก 4 แห่งของโลก รวมถึงธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประกาศว่าจะจัดหาเงินกู้ให้กับธนาคารพาณิชย์ในยูโรโซน โดยมีเป้าหมายที่จะลดภาวะตึงตัวในภาคธนาคาร ขณะที่สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับค่าเงินหลักๆ หลังจากทางการสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอ รวมถึงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานที่เพิ่มขึ้นอย่างเหนือความคาดหมาย

 

 

 

ค่าเงินยูโรพุ่งขึ้น 0.99% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.3881 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันพุธที่ 1.3745 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ค่าเงินปอนด์ดีดตัวขึ้น 0.19% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.5794 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5764 ดอลลาร์สหรัฐ

 

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนตัวลง 0.03% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 76.630 เยน จากระดับ 76.650 เยน และร่วงลง 0.77% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.8691 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.8758 ดอลลาร์สหรัฐ

 

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียพุ่งขึ้น 0.52% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.0317 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.0264 ดอลลาร์สหรัฐ และค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์ดีดตัวขึ้น 0.37% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.8223 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.8193 ดอลลาร์สหรัฐ

 

สกุลเงินยูโรดีดตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่ง เนื่องจากนักลงทุนคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะตึงตัวในภาคธนาคารของยุโรป หลังจากอีซีบีประกาศว่าจะอัดฉีดสภาพคล่องในรูปสกุลเงินดอลลาร์เข้าสู่ภาคธนาคารของยุโรป ด้วยการปล่อยเงินกู้ให้กับธนาคารพาณิชย์ในยูโรโซนเป็นเวลา 3 เดือนจนถึงช่วงปลายปีนี้ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่าง อีซีบี, ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด), ธนาคารกลางอังกฤษ,ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) และธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ โดยมีเป้าหมายที่จะป้องกันไม่ให้ภาคธนาคารของยูโรโซนตกอยู่ในสภาวะตึงตัว อันเนื่องมาจากวิกฤติหนี้ยุโรป

 

มาตรการดังกล่าวช่วยให้นักลงทุนคลายความกังวลเกี่ยวกับภาคธนาคารของยุโรป หลังจากที่ก่อนหน้านี้ตลาดได้รับแรงกดดันจากข่าวที่ว่าธนาคารโซซิเอเต เจเนอราล และเครดิต อกริโคล ซึ่งเป็นธนาคารรายใหญ่ของฝรั่งเศสถูกมูดีส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ เนื่องจากธนาคารเหล่านี้ได้เข้าถือครองพันธบัตรจำนวนมากของรัฐบาลกรีซ

 

ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนตัวลงหลังจากทางการสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอ รวมถึงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 10 ก.ย.เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 428,000 ราย จากสัปดาห์ก่อนหน้านั้นที่ระดับ 417,000 ราย ตรงข้ามกับที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะลดลงมาอยู่ที่ระดับ 410,000 ราย

 

ขณะที่ดัชนีกิจกรรมด้านการผลิตในรัฐนิวยอร์ก (Empire State Index) หดตัวลงสู่ระดับ -8.82 ในเดือนก.ย. จากระดับ -7.72 จุดของเดือนส.ค. ตรงข้ามกับที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ -4.0 จุด

 

นักลงทุนจับตาดูการรายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐในคืนนี้ตามเวลาประเทศไทย โดยนักวิเคราะห์คาดว่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคจะอยู่ที่ 56.5 จุด ในช่วงต้นเดือนก.ย. เพิ่มขึ้นจากระดับ 55.7 จุดของช่วงท้ายเดือนส.ค.

 

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th-

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

:wub:ภาวะตลาดหุ้นโตเกียว:นิกเกอิพุ่ง 116.42 จุดรับข่าว 5 แบงก์ชาติหนุนยูโรโซน

 

 

ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 16 กันยายน 2554 07:41:11 น.

ดัชนีนิกเกอิตลาดหุ้นโตเกียวเปิดตลาดพุ่งขึ้น 116.42 จุด แตะที่ 8,785.28 จุดในวันนี้ (16 ก.ย.) หลังจากธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) พร้อมด้วยธนาคารกลางชั้นนำอีก 4 แห่งของโลก คือธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ธนาคารกลางอังกฤษ ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) และธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ ประกาศว่าจะจัดหาเงินกู้ให้กับธนาคารพาณิชย์ในยูโรโซน เพื่อบรรเทาภาวะตึงตัวในภาคธนาคารอันเป็นผลมาจากวิกฤตหนี้ยุโรป

 

โบรกเกอร์กล่าวว่า ข่าวความเคลื่อนไหวของธนาคารชั้นนำทั้ง 5 แห่งช่วยหนุนดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 2 สัปดาห์เมื่อคืนนี้ และยังช่วยกระตุ้นภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นโตเกียวให้คึกคักในช่วงเช้านี้ด้วย สำนักข่าวเกียวโดรายงาน

 

 

 

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...