ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

ขอบคุณเฮียมากๆ ค่ะ +1

 

ว่าแล้ว ขอความรู้จากเฮียหน่อยค่ะ

 

1.ความสำคัญของ Fibo แต่ละเส้นเป็นอย่างไรค๊ะ เฮีย

 

2.ทำไมบางครั้งเฮียถึงเลือก 38.6% หรือบางครั้ง ก็เป็นเส้น 78.6 ??

 

3.ด่าน สำคัญ ๆ ดูจากอะไรคะ

 

ขอให้เฮียและครอบครัวมีความสุข สุขภาพแข็งแรง และร่ำรวย ๆ ค่ะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณเฮียกัม มากครับ และจะรอลุ้นไปเรื่อยๆ ครับ (ตอนนี้ติดดอยอยู่ครับ)

ถูกแก้ไข โดย spoltiw

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ต้าน1336 โดนกระแทกไป1ทีนะครับเฮีย ไม่รู้ออกหน้าไหนเลยครับ ^^

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณเฮียมากๆ ค่ะ +1

 

ว่าแล้ว ขอความรู้จากเฮียหน่อยค่ะ

 

1.ความสำคัญของ Fibo แต่ละเส้นเป็นอย่างไรค๊ะ เฮีย

 

2.ทำไมบางครั้งเฮียถึงเลือก 38.6% หรือบางครั้ง ก็เป็นเส้น 78.6 ??

 

3.ด่าน สำคัญ ๆ ดูจากอะไรคะ

 

ขอให้เฮียและครอบครัวมีความสุข สุขภาพแข็งแรง และร่ำรวย ๆ ค่ะ

 

http://www.thaigold.info/Board/index.php?/topic/7-�ัมภีร�ล��ุ��อ��ำ��ั���ย��ล/

บทที่ 5 Fibonacci number ช่วยให้คุณรู้จักคลื่น Elliott wave ดีขึ้น

 

โดย Kumponys

 

 

 

ผมพยายามลำดับความสำคัญว่า อะไรที่ควรจะเรียนรู้ก่อนในกลุ่มเครื่องมือจำนวนมากที่สามารถพาพวกเราเวียนหัวกันได้ ผมว่าน่าจะเอาสิ่งที่เป็นพื้นฐานที่สุด ที่เข้าใจตรงกันมากที่สุด ก็คือ Fibonacci number นี่แหละ มาให้เราทำความเข้าใจกันก่อน ผมว่าเหมือนกับการป้อนข้อมูลใส่ให้พวกเราเข้าใจว่า สาวๆ หน้ากลมๆ สัดส่วน 30-24-36 ถึงจะสวยนะ ถ้าไม่ใช่ ก็สัก 32-26-36 ก็ยังดี (หุหุ เกี่ยวป่าว?)

 

fibonacci เป็นชื่อเรียกเลขอนุกรมมหัศจรรย์ ที่ตั้งขึ้นตามผู้คิดค้นคือ LEONARDS FIBONACCI ซึ่งสังเกตเห็นว่า ธรรมชาติมีสัดส่วนสัมพันธ์กับตัวเลขนี้ ต่อมาได้มีการประยุกต์นำมาใช้ในการวิเคราะห์ราคาหุ้น เพื่อที่จะใช้ค้นหาแนวโน้ม แนวต้าน แนวรับ สัญญาณซื้อและขาย โดยมีรูปแบบอยู่ 3 ลักษณะ คือ

- Fibonacci retracement หาแนวรับแนวต้านราคาในแนวระนาบ

- Fibonacci fan หาแนวรับในแนวเฉียง

- Fibonacci fan หาแนวรับในแนวดิ่ง หรือระยะเวลา

ส่วนใหญ่ที่เห็นใช้กัน ก็เป็นอันแรกครับ ส่วนที่มาของตัวเลข ไม่ขอพูดมากครับ ตำราเยอะแยะ เอาเป็นว่า ผมแนะนำสิ่งที่นำไปใช้งานเลยละกัน ตัวเลขสัดส่วนที่นำมาใช้ ถูกคำนวณมาเป็น % หรือเทียบกับ 1.0 เป็นเลขดังนี้

23.6% 38.2% 50% 61.8% 78.6% 100% 127.2% 161.8% 261.8% 423.6%

โดยตัวเลขสีแดง คือตัวเลขที่ผมให้ความสำคัญเป็นพิเศษครับ

การใช้ Fibonacci สามารถใช้วัดได้ทั้งคลื่นย่อย และคลื่นหลักตามสะดวก และโดยมากเราวัดในคลื่นย่อย มักจะตรงกับคลื่นหลักอย่างน่าแปลกใจในบางครั้ง ซึ่งหากตรงกัน ผมมักให้ความสำคัญเพิ่มตรงจุดนั้นด้วย

 

การใช้ Fibonacci ใช้ตอนไหน และตรงไหนดี?

คงเป็นคำถามสำหรับมือใหม่ ที่บางคนลากแบบไม่รู้จะเริ่มตรงไหนดี ต้องย้อนกลับไปอ่านอีกทีข้างบน ที่บอกว่า ใช้หาแนวต้าน แนวรับ แนวต้าน ไงครับ แนวรับจะเกิด เราต้องหาหัวหาท้ายคลื่นให้ได้ก่อน ใช่มั๊ย? เราสนใจคลื่นชุดใหญ่หรือชุดย่อยล่ะ ถ้ายังไม่รู้ ต้องเริ่มจากคลื่นใหญ่ก่อนครับ

 

- แนะนำให้เริ่มจาก กราฟรายวัน เพราะจะเห็นคลื่นหลักชัดๆ

 

เมื่อคลื่นเริ่มต้นขึ้น จนเริ่มตก เราก็จะได้จุดเริ่มต้นและปลายทางของคลื่นเป้าหมายครับ สิ่งที่เราจะวัดหา คือแนวรับเป็นอันดับแรก โดยมีจุดที่ผมให้ข้อคิดไว้ ตามประสบการณ์อันน้อยนิดของผมคือ

 

- หากคลื่นที่วัด ความแรงไม่มาก เช่นคลื่น 1 แนวรับจะอยู่ที่แถว 50% 61.8% และ 78.6% รวมถึง 100%

- หากหลุดต่ำกว่า 100% ก็จะเป็นการ correction หรือปรับฐานเลย (คลื่น a-b-c) เป้าหมายแรกอยู่ที่ 127.2% และ 161.8% หรือกว่านั้น

- หากเป็นคลื่น 3 บางที ลงไม่ถึง 50% ด้วยซ้ำ

 

หากแนวรับ รับได้อยู่แถว 61.8% และดีดกลับได้อย่างแข็งแกร่ง สิ่งที่เราจะมองหาคือแนวต้านแทน เราก็สามารถคาดได้ครับว่า คลื่นอาจจะย้อนสูงขึ้นกว่ายอดเดิม ไปที่ 127.2% 161.8% หรือ 261.8% หรือมากกว่านั้นได้ เราสามารถเอาความเข้าใจเรื่องอีเลียตเวฟมาประยุกต์คาดการณ์ร่วมกับการคะเน แนวต้านได้ครับ เช่น

- หากเป็นคลื่น 3 อาจแรงไปถึง 261.8 หรือ 423.6% ได้

- ขณะที่คลื่น 5 อาจไม่ผ่าน 100% หรือแค่ 127.2% ก็เป็นได้ หากสัญญาณไม่แรงพอ

 

lesson5fibo.gif

 

สั้นๆ ได้ใจความ ไม่เยิ้นเย้อนะครับ ที่เหลือ ลองไปหัดวัดดูคลื่นเก่าๆที่เคยผ่านไปแล้วดู ผมสรุปสั้นๆว่า

- มองภาพคลื่นใหญ่ หาจุดเริ่มต้นให้เจอ

- พิจารณาธรรมชาติของคลื่นลูกนั้น ว่าเป็นคลื่นไหน 1-2-3-4-5 หรือ a-b-c เพื่อคะเนว่า ตัวเลขแนวต้าน-แนวรับตรงไหน น่าจะสำคัญ สำหรับคลื่นลูกนั้น

- คลื่นใหญ่มองภาพไม่เห็นว่าจะจบแถวไหน ก็วัดคลื่นย่อยช่วย เช่น วัดคลื่น 3 หลักที่เห็นได้ชัดในรายวัน ในรายชั่วโมง เราก็มาวัดคลื่นย่อยของ 3 หลัก หากอยู่ในคลื่นย่อย 5 แล้ว เราก็คาดได้ว่า ราคาจะพุ่งไปเส้นต่อไปไม่ไหวก็เป็นได้ เป็นต้น

 

การดูว่าคลื่นไหนเป็นคลื่นไหน เราสามารถใช้ความรู้เรื่อง RSI มาช่วยกำกับได้ อย่างที่กล่าวไปในบทที่แล้วนะครับ เช่น หากคลื่นราคาใหม่ สูงขึ้น แต่ RSI ต่ำกว่าเดิม ก็มีโอกาสจะเป็นยอดคลื่น 5 ได้ เพราะ RSI จะ peak ในคลื่น 3 กับ b เป็นหลัก

 

Fibonacci fan กับ timezone คงไม่พูดถึงนะ ก็คล้ายกัน แต่ผมว่า ใช้วัดคลื่นหลักก็พอ โดยเฉพาะ fibo fan ผมใช้บ่อยตอนหาแนวรับ ใช้ร่วมกับ Fibonacci retracement ช่วยบอกแนวรับได้ดีมากๆ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...