ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

ขอคำแนะนำคุณเสมหน่อยนะคะ S50 Future จะต้องมีเงินอยู่ใน port เท่าไหร่คะ

 

สัญญาละ 500,000 ครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

:D :D :D

 

เย้ๆๆๆๆ ดีจายจัง วันนี้คุณเสมมา บอกเขียวบ้องแรก

 

ขอบคุณนะคะ คุณเสม ได้เห็นลักยิ้มอีกละ ขอตามระบบไปด้วยนะคะ

 

ขอบคุณในน้ำใจคุณเสมคะ ขอให้คุณเสมรวยๆๆๆๆๆๆ ดูแลสุขภาพด้วยนะคะ อากาศChange :blush:

 

 

เอ๊ะ มีคนชื่อเหมือนกันกะเค้าเยยหยอ อิอิ สวยเหมือนกะเค้าปร่ะตะเอง

:P :D ;)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แนวคิดในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของสหรัฐ

เศรษฐศาสตร์จานร้อน : ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ กรุงเทพธุรกิจ วันจันทร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2553

 

ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวขึ้นอย่างถ้วนหน้า เพราะคาดหวังกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของธนาคารกลางสหรัฐที่เรียกกัน ว่า Quantitative Easing รอบ 2 หรือ QE2 ซึ่งจริงๆ แล้ว คือ การคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐจะพิมพ์เงินออกมาเพิ่มขึ้นอีก เดือนละ 1 แสนล้านดอลลาร์ ไปอีกอย่างน้อย 6 เดือนถึง 1 ปี โดยจะนำเงินดังกล่าวไปซื้อพันธบัตรรัฐบาลเพื่อดึงดอกเบี้ยลงทั้งระบบ คือ ดอกเบี้ยระยะสั้นนั้นขณะนี้ต่ำเกือบศูนย์อยู่แล้ว แต่ยังต้องการลดดอกเบี้ยระยะยาวลงไปอีก เช่น มีการคาดการณ์ว่าดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลอเมริกัน 10 ปีนั้น ปัจจุบันเท่ากับ 2.4% จะต้องปรับลดลงเหลือเพียง 2.0% ภายในปลายปีนี้

 

การกดดอกเบี้ยลงให้ต่ำติดดินเช่นนี้เป็นการไล่ให้นักลงทุนเพิ่มความเสี่ยงในการลงทุน เพราะหากไม่ยอมเสี่ยงก็จะได้รับดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนต่ำมาก (เช่น พันธบัตรรัฐบาลอเมริกัน 2 ปีให้ดอกเบี้ยเพียง 0.35%) การกดดอกเบี้ยอเมริกันจึงจะเป็นการไล่ให้นักลงทุนไปซื้อหุ้นและเมื่อหุ้นราคาขึ้นก็จะเกิดการใช้จ่ายมากขึ้นจากการที่ผู้ลงทุนหุ้นได้กำไรหุ้น และบริษัทในตลาดหุ้นสามารถเพิ่มทุนเพื่อขยายกิจการได้ เป็นต้น

 

แต่สิ่งที่เข้าใจยาก คือ ทำไมธนาคารกลางสหรัฐจึงต้องดำเนินนโยบาย ที่แหวกแนวสุดโต่งอย่างที่เป็นอยู่ กล่าวคือ ในปี 2009 ก็ได้พิมพ์เงินออกมา 1.75 ล้านล้านดอลลาร์ หรือ 12% ของจีดีพี มาซื้อพันธบัตรประเภทต่างๆ ไปแล้ว ทำไมจึงจะต้องแทรกแซงอีกรอบหนึ่ง และการแทรกแซงนั้นคาดหวังให้ได้ผลอะไร

 

คำตอบสั้นๆ คือ QE2 ของธนาคารกลางสหรัฐนั้นมีเป้าหมายที่จะ

 

1. ทำให้นักลงทุนกำไรในตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้ เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐ

 

2. ลดค่าเงินดอลลาร์เพื่อช่วยกระตุ้นการส่งออกของสหรัฐ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

 

3. กระตุ้นเงินเฟ้อ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนจับจ่ายใช้สอย และบริษัทห้างร้านเพิ่มการลงทุน ทั้งนี้ เพราะหากทุกคนกลัวเงินเฟ้อก็จะรีบใช้เงิน เพราะยิ่งรอสินค้าจะยิ่งราคาแพง โดยสรุป ก็คือ ต้องการกระตุ้นให้เศรษฐกิจสหรัฐฟื้นตัวนั่นเอง

 

จะเห็นได้จากข้อสรุปข้างต้นว่าธนาคารกลางสหรัฐนั้นวิตกกังวลอย่างมากกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐที่ไม่กระเตื้องขึ้นเท่าที่ควร และเห็นว่าการว่างงานยังสูงมาก (9.6%) และเชื่อว่าจะอยู่ที่ระดับสูงไปอีก 2-3 ปี การฟื้นตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ก็ดำเนินไปอย่างเชื่องช้า และล่าสุด มีปัญหา คือ เจ้าหน้าที่ธนาคารที่เร่งทำเอกสารฟ้องศาลยึดบ้านของลูกหนี้ที่เบี้ยวหนี้นั้น ปรากฏว่าเอกสารไม่ครบ มีการปลอมแปลงเอกสารการรับรองเอกสารอย่างผิดกฎหมาย ฯลฯ ซึ่งทำให้ธนาคารบางแห่งต้องประกาศยับยั้งการบังคับคดีทั่วประเทศ ในขณะที่อัยการในทั้ง 50 รัฐได้รวมหัวกันประกาศว่าจะสอบสวนเพื่อกล่าวโทษกับธนาคารที่บังคับคดีและยึดบ้านประชาชนโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ประเด็น คือ หากมีการร้องเรียนและสอบสวนอย่างยืดเยื้อ ก็จะทำให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์สหรัฐชะงักงัน และธนาคารจะได้รับความเสียหายเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งปัญหาของธนาคารพาณิชย์ของสหรัฐนั้นได้ทำให้ธนาคารไม่ยอมปล่อยกู้เพิ่ม แต่นำเงินไปฝากทิ้งเอาไว้ที่ธนาคารกลางสหรัฐ (โดยไม่ได้ดอกเบี้ย) สูงถึง 1.2 ล้านล้านดอลลาร์

 

ในสหรัฐนั้นนโยบายเศรษฐกิจมหภาคพิการ เพราะขับเคลื่อนนโยบายการคลังไม่ได้ (รัฐบาลโอบามาไม่สามารถผลักดันให้รัฐสภาอนุมัติงบประมาณมากระตุ้นเศรษฐกิจ) จึงเหลือแต่นโยบายการเงินที่ขับเคลื่อนโดยธนาคารกลาง ซึ่งกดดอกเบี้ยทั้งระยะสั้นและระยะยาวลงมาต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ แล้วถามว่าจะทำอะไรได้มากกว่านี้ คำตอบคือนายเบน เบอร์นันเก้ ผู้ว่าการธนาคารกลางกำลังพิจารณาที่จะส่งสัญญาณว่าธนาคารกลางสหรัฐ จะมีเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นกว่าปกติ กล่าวคือ ปกตินักลงทุนเชื่อว่าธนาคารกลางสหรัฐต้องการควบคุมเงินเฟ้อที่ 2% แต่อาจมีการส่งสัญญาณว่าเป้าเงินเฟ้ออาจสูงขึ้นเป็น 3% หรือ 4% เป็นต้น แต่การกระตุ้นเงินเฟ้อให้เพิ่มขึ้นนั้นผิดวินัยพื้นฐานของธนาคารกลางทั่วโลก ดังนั้น การดำเนินการดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมาก

 

สรุปได้ว่าผู้กำหนดนโยบายของสหรัฐทั้งรัฐบาลและธนาคารกลางเป็นห่วงสภาวะเศรษฐกิจอย่างยิ่ง จึงต้องใช้นโยบายการเงินที่แหวกแนวและสุดกู่อย่างมาก ยอมให้เงินดอลลาร์เสื่อมค่า แม้ว่าในอดีตจะเคยพูดเสมอว่าต้องการให้เงินดอลลาร์แข็งค่า ความเป็นห่วงเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจสหรัฐ (ซึ่งมีความเป็นห่วงเช่นเดียวกันในยุโรปและญี่ปุ่นด้วย) นั้น ดูจะขัดแย้งกับการปรับขึ้นอย่างถ้วนหน้าของตลาดหุ้นทั่วโลกตั้งแต่ต้นเดือนกันยายน เมื่อตลาดเริ่มรับข่าวเกี่ยวกับ QE2

 

ดังนั้น ข้อตำหนิข้อที่ 1. คือ ธนาคารกลางสหรัฐมีพฤติกรรมที่ส่งเสริมความเสี่ยง (moral hazard) ตัวอย่างเช่น เมื่อนักลงทุนเก็งกำไรหุ้นอินเทอร์เน็ตในปี 2000 จนในที่สุด ราคาหุ้นตกต่ำและเศรษฐกิจทรุดตัวลง ธนาคารกลางก็ลดดอกเบี้ยลงเพื่อลดผลกระทบต่อตลาดและเศรษฐกิจโดยรวม แต่ดอกเบี้ยที่ลดลงต่ำมาก ทำให้เกิดฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารพาณิชย์ทำธุรกรรมที่เสี่ยงมากขึ้นโดยการปล่อยกู้ให้กับลูกค้าที่มีฐานะทางการเงินอ่อนแอ ซึ่งเป็นที่มาของสินเชื่อด้อยคุณภาพ (subprime loans) แต่ธนาคารกลางสหรัฐก็ไม่ได้ตำหนิหรือควบคุมแต่อย่างใด ต่อมาธนาคารแปลงสินเชื่อดังกล่าวเป็นตราสารประเภทต่างๆ (CDO) เป็นจำนวนมหาศาล และนำออกมาขายไปทั่วโลก ทำให้มีการสร้างหนี้สินเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ซึ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงอย่างมาก ธนาคารกลางสหรัฐก็ไม่ตำหนิ หรือห้ามปรามแต่อย่างใด และต่อมาเมื่อเกิดวิกฤติภาคการเงินธนาคารก็ได้รับเงินเพิ่มทุนจากรัฐบาล ในขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐก็รีบลดดอกเบี้ยและออกมาตรการต่างๆ รวมทั้ง QE1 เพื่ออุ้มธนาคารพาณิชย์และนักลงทุนในตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้ จนกระทั่งทุกวันนี้ ก็กำลังจะมีมาตรการเพื่อกระตุ้นสภาพคล่องในระบบ ซึ่งทำให้หุ้นราคาขึ้นและนักลงทุนกำไรถ้วนหน้า ท่านผู้อ่านจะเห็นได้ว่าพฤติกรรมของธนาคารกลางและรัฐบาลสหรัฐนั้นเปิดให้นักลงทุนทำกำไร แต่ปิดความเสี่ยงจากการขาดทุนให้ ทำให้นักลงทุนชอบเสี่ยงเพราะเสี่ยงแล้วหากสำเร็จก็ได้กำไรแต่หากล้มเหลวก็มีมาตรการมาอุ้มไม่ให้ขาดทุนมาก

 

ข้อตำหนิข้อที่ 2. คือ การพิมพ์เงินสหรัฐออกมามากๆ นั้น เป็นการสร้างเงินเฟ้อทั่วโลก เพราะเงินดอลลาร์เป็นเงินสกุลหลักของโลก หากจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพก็ต้องสมมติว่าสหรัฐเป็นคนที่ไม่สบายต้องการเร่งอุณหภูมิในห้องให้ร้อนมาก แต่คนอื่นๆ (ประเทศอื่นๆ) ที่ปกติดีแต่ต้องอยู่ในห้องเดียวกัน ก็จะต้องทนร้อนไปด้วย กล่าวคือ นโยบายดอกเบี้ยใกล้ศูนย์นั้นเหมาะกับสหรัฐ แต่กำลังจะสร้างเงินเฟ้อไปทั่วโลก ซึ่งนายเบอร์นันเก้เคยตอบข้อตำหนิดังกล่าว โดยบอกว่าเป็นปัญหาของประเทศอื่นๆ ที่ต้องจัดการกับผลกระทบเอง ทั้งนี้ การดำเนินนโยบายดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อสหรัฐในระยะยาว เพราะความน่าเชื่อถือของเงินดอลลาร์ จะถูกบั่นทอนลงอย่างแน่นอน และในอนาคตสหรัฐจะไม่มีอภิสิทธิ์ในการพิมพ์กระดาษ (ธนบัตรดอลลาร์) ออกมาซื้อสินค้าและบริการได้ทั่วโลก

 

ข้อตำหนิข้อที่ 3. คือ การที่รัฐบาลสหรัฐกดดันประเทศจีนให้ปรับค่าเงินของตนให้แข็งค่า หากไม่ทำเช่นนั้นสหรัฐก็อาจออกกฎหมายกีดกันสินค้าจีนซึ่งรัฐมนตรีคลังสหรัฐพูดว่า ที่เน้นกดดันจีนนั้นเพราะเชื่อว่าหากจีนยอมให้เงินหยวนแข็ง ประเทศอื่นๆ (โดยเฉพาะเอเชีย) ก็จะยอมปล่อยให้เงินของตนแข็งค่าเทียบกับเงินดอลลาร์ไปโดยปริยาย ทำให้สหรัฐสามารถส่งออกได้มากขึ้น อีกนัยหนึ่ง สหรัฐกำลังกดดันให้ประเทศกำลังพัฒนาแบ่งการขยายตัวของเศรษฐกิจ (growing sharing) ให้สหรัฐนั่นเอง ประเด็นนี้จีนคัดค้านอย่างรุนแรงโดยอ้างถึงปี 1985 ซึ่งสหรัฐและประเทศพัฒนาแล้ว กดดันให้ญี่ปุ่นปล่อยให้เงินเยนแข็งค่าขึ้นจาก 250 เยนต่อ 1 ดอลลาร์ มาเป็น 100 เยนต่อ 1 ดอลลาร์ ใน 5-6 ปีต่อมา แต่การแข็งค่าของเงินเยนก็มิได้ทำให้สหรัฐขาดดุลกับญี่ปุ่นลดลง เพราะปัญหาหลัก คือ ปัญหาโครงสร้าง คือ สหรัฐใช้จ่ายเกินตัว

 

ข้อตำหนิข้อที่ 4. เป็นเสียงมาจากทางยุโรป ซึ่งธนาคารกลางไม่ยอมทำ QE2 เหมือนกับธนาคารกลางสหรัฐ เพราะเชื่อว่าปัญหาการว่างงานเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง คือ คนว่างงาน เพราะมีทักษะที่ไม่ตรงกับงาน ส่วนความตกต่ำของภาคอสังหาริมทรัพย์นั้น เป็นผลมาจากราคาบ้านที่ยังสูงเกินไป (และปัญหาการบิดพลิ้วกระบวนการบังคับคดีที่กล่าวข้างต้น) ดังนั้น การลดดอกเบี้ยและการปั่นหุ้นให้ราคาสูงขึ้น จึงจะไม่ช่วยเศรษฐกิจสหรัฐให้ฟื้นตัว

 

สำหรับประเทศไทยนั้นในระยะสั้นตลาดหุ้น จะได้รับประโยชน์จากเงินทุนไหลเข้าอย่างเต็มที่เพราะเมื่อดอกเบี้ยโลกใกล้ศูนย์และจะเป็นเช่นนั้นไปอีกนาน ก็จะทำให้นักลงทุนต้องการหากำไรจากการลงทุนที่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น แต่ต้องระมัดระวังด้วยว่านโยบายการเงินของสหรัฐที่ผิดปกตินั้นเสี่ยงต่อความผันผวนและการสร้างแรงกดดันด้านเงินเฟ้ออย่างมาก เห็นได้จากการปรับเพิ่มขึ้นของราคาทอง ราคาน้ำมันละราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทุกประเภท ที่จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดำรงชีพของประชาชนทั่วไปครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณมากครับ ได้ความรู้เยอะมากครับ

!gd !gd !gd

!01 !01 !01

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ถ้าหุ้นมีเซียน vi

เว็บทองเราก็มีคุณใหญ่ เป็น vi ระดับท๊อปเลยค่ะ

เชียร์ เชียร์

 

ถือยาวย่อมได้ผลตอบแทนดีกว่าสั้น

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ทองเนี่ย ลงต่ำมากระชากหัวใจจริง ๆ เลย 555555 :rolleyes: แต่ก้อยังยืดหยัดตามระบบไป

 

เค้าถึงว่า ทำตามระบบ เนี่ย ต้องมีวินัยสูงมาก ๆ เลย......

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น
:unsure: :unsure: วันนี้กูรู กระทู้นี้ไปไหนคะ มารอแล้ว.... <_< :o :(

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...