ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

ดัน “ไทย” เป็นศูนย์กลาง “การค้าโลก” “จีน” เตรียมเนรมิต “เทรดซิตี้” ใน “กทม.”

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 6 มกราคม 2554 19:42 น.

 

 

 

 

 

 

 

 

เอเชียนิวส์ / เอเอฟพี - จีนผุดโครงการผลักดันให้กรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางการค้าสินค้าประเภทของใช้ทั่วไปที่ใหญ่ที่สุดในโลก ต่อจากเมืองอี้อู ซึ่งถูกยกระดับเป็น “อี้อู อินเตอร์เนชั่นแนล เทรด ซิตี้” ไปก่อนหน้านี้ โดยการจะจัดตั้งเมือง “ไชน่า ซิตี้ คอมเพล็กซ์” ในแดนสยาม ด้วยมูลค่าการก่อสร้างมหาศาลกว่า 40,000 ล้านบาท บนเนื้อที่ 700,000 ตารางเมตร ทั้งนี้ หนังสือพิมพ์พีเพิล เดลี ของทางการจีน รายงานว่า การก่อสร้างจะเริ่มต้นในวันที่ 18 มกราคมนี้ และคาดว่า จะแล้วเสร็จภายในปี 2013

 

โครงการเนรมิตเมืองพาณิชย์นานาชาติในกรุงเทพฯ ซึ่งริเริ่มโดยจีนนั้น นับเป็นหนึ่งในความพยายามของพญามังกรที่จะผลักดันให้ไทยเป็นฐานการส่งออกสินค้าของตนไปยังประเทศที่ 3 โดยเฉพาะสินค้าหมวดของใช้ทั่วไป อาทิ เครื่องแต่งกาย, เครื่องประดับ และเครื่องใช้ในบ้านเรือน ซึ่งจีนมุ่งหวังจะเจาะเข้าไปในตลาดโลกให้ได้มากขึ้น เมื่อกำลังเผชิญกับแนวโน้มการกีดกันทางการค้าของประเทศต่างๆ ที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ

 

หนังสือพิมพ์พีเพิล เดลี ของทางการจีน รายงานว่า จีนจะลงทุนในเมกะโปรเจกต์ดังกล่าวด้วยเม็ดเงินสูงถึง 10,000 ล้านหยวน (ราว 41,900 ล้านบาท) และจะเริ่มต้นก่อสร้างในวันที่ 18 มกราคมนี้ โดยที่ “ไชน่า ซิตี้ คอมเพล็กซ์” แห่งนี้จะกลายเป็นศูนย์กลางทางการค้าและการขายส่งของโลกในแบบเดียวกับ “อี้อู อินเตอร์เนชั่นแนล เทรด ซิตี้” ในเมืองอี้อู มณฑลเจ้อเจียง ซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าสินค้าประเภทของใช้ทั่วไปที่ใหญ่ที่สุดในโลก ณ เวลานี้

 

โครงการเมืองไชน่า ซิตี้ คอมเพล็กซ์ ในกรุงเทพฯ จะครอบคลุมเนื้อที่ 700,000 ตารางเมตร และคาดว่า การก่อสร้างทั้งหมดจะแล้วเสร็จภายในปี 2013 ขณะที่ ต่ง หงฉี ประธานบริษัท อาชิมา คัลเจอรัล อินดัสตรี อินเวสต์เมนต์ ในมณฑลหยุนหนัน (ยูนนาน) ซึ่งเป็นหุ้นส่วนของโครงการดังกล่าว ระบุว่า ศูนย์กลางพาณิชย์แห่งใหม่นี้จะสามารถดึงดูดพ่อค้าจากจีนได้มากกว่า 70,000 คนเลยทีเดียว

 

ด้าน หยาง ฟางซู นายกสมาคมส่งเสริมเศรษฐกิจและการค้าอาเซียน-จีน ระบุว่า “นอกเหนือจากโอกาสทางธุรกิจต่างๆ ในไทยแล้ว บรรดาผู้ส่งออกจีนยังจะสามารถผลักดันสินค้าของตนไปยังตลาดประเทศพัฒนาแล้ว อย่างเช่น สหภาพยุโรป และสหรัฐฯ ได้อีกด้วย” พร้อมกับกล่าวเสริมว่า ผลจากกรอบข้อตกลงการจัดตั้งเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน ทำให้บรรดานักลงทุนชาวจีนรู้สึกพึงพอใจกับการค้าระดับทวิภาคกับไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในประชาคมดังกล่าว โดยที่จะปลอดกำแพงภาษี หรือจัดเก็บภาษีในอัตราที่ต่ำมากๆ นอกจากนี้ ยังเปิดทางให้จีนสามารถอาศัยประเทศคู่ค้าเหล่านี้เป็นฐานในการส่งออกไปยังกลุ่มเศรษฐกิจพัฒนาแล้วด้วยอัตราภาษีที่ต่ำอีกด้วย

 

หยาง กล่าวว่า โควตาการค้าระหว่างไทยกับกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งรวมทั้งสหภาพยุโรปและสหรัฐฯ อยู่ในระดับที่สูงกว่าโควตาของจีนกับกลุ่มประเทศคู่ค้าข้างต้น ด้วยเหตุนี้สินค้าของจีนจึงควรอาศัยไทยเป็นฐานการส่งออกไปยังประเทศเหล่านั้นแทน เพื่อลดข้อจำกัดและกฎเกณฑ์ที่มากกว่า

 

ขณะที่ หวง รุ่ยเหนิง ผู้จัดการฝ่ายขายของเทียนเทียน จิวเวลรี ในเมืองอี้อู เผยว่า “อัตราภาษีที่ต่ำของสินค้าส่งออกไทยไปยังกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว เป็นสิ่งที่ล่อตาล่อใจผมมาก สืบเนื่องจากการส่งออกของพวกเราได้รับกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงจากกำแพงภาษีสูงที่กำหนดโดยอียู และสหรัฐฯ ในปีนี้”

 

ทางด้าน อลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวไว้เมื่อวันพุธ (5) ในระหว่างเยือนเมืองอี้อู เพื่อเสาะหานักลงทุน ระบุว่า “ไชน่า ซิตี้ คอมเพล็กซ์ จะเป็นโครงการความร่วมมือที่ใหญ่ที่สุดระหว่างจีนกับไทย ซึ่งจะเป็นการย้ำชัดถึงความสัมพันธ์ทางยุทธศาสตร์ของหุ้นส่วนทางธุรกิจระหว่างสองประเทศ”

 

ทั้งนี้ ผลจากการทำข้อตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) ระหว่างจีนกับ 10 ประเทศในประชาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) เมื่อปีที่ผ่านมา ทำให้มูลค่าการค้าระหว่างกันพุ่งสูงถึง 161,000 ล้านดอลลาร์ ในช่วง 7 เดือนแรก เพิ่มขึ้น 50 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ดัน “ไทย” เป็นศูนย์กลาง “การค้าโลก” “จีน” เตรียมเนรมิต “เทรดซิตี้” ใน “กทม.”

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 6 มกราคม 2554 19:42 น.

 

 

 

 

 

 

 

 

เอเชียนิวส์ / เอเอฟพี - จีนผุดโครงการผลักดันให้กรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางการค้าสินค้าประเภทของใช้ทั่วไปที่ใหญ่ที่สุดในโลก ต่อจากเมืองอี้อู ซึ่งถูกยกระดับเป็น “อี้อู อินเตอร์เนชั่นแนล เทรด ซิตี้” ไปก่อนหน้านี้ โดยการจะจัดตั้งเมือง “ไชน่า ซิตี้ คอมเพล็กซ์” ในแดนสยาม ด้วยมูลค่าการก่อสร้างมหาศาลกว่า 40,000 ล้านบาท บนเนื้อที่ 700,000 ตารางเมตร ทั้งนี้ หนังสือพิมพ์พีเพิล เดลี ของทางการจีน รายงานว่า การก่อสร้างจะเริ่มต้นในวันที่ 18 มกราคมนี้ และคาดว่า จะแล้วเสร็จภายในปี 2013

 

โครงการเนรมิตเมืองพาณิชย์นานาชาติในกรุงเทพฯ ซึ่งริเริ่มโดยจีนนั้น นับเป็นหนึ่งในความพยายามของพญามังกรที่จะผลักดันให้ไทยเป็นฐานการส่งออกสินค้าของตนไปยังประเทศที่ 3 โดยเฉพาะสินค้าหมวดของใช้ทั่วไป อาทิ เครื่องแต่งกาย, เครื่องประดับ และเครื่องใช้ในบ้านเรือน ซึ่งจีนมุ่งหวังจะเจาะเข้าไปในตลาดโลกให้ได้มากขึ้น เมื่อกำลังเผชิญกับแนวโน้มการกีดกันทางการค้าของประเทศต่างๆ ที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ

 

หนังสือพิมพ์พีเพิล เดลี ของทางการจีน รายงานว่า จีนจะลงทุนในเมกะโปรเจกต์ดังกล่าวด้วยเม็ดเงินสูงถึง 10,000 ล้านหยวน (ราว 41,900 ล้านบาท) และจะเริ่มต้นก่อสร้างในวันที่ 18 มกราคมนี้ โดยที่ “ไชน่า ซิตี้ คอมเพล็กซ์” แห่งนี้จะกลายเป็นศูนย์กลางทางการค้าและการขายส่งของโลกในแบบเดียวกับ “อี้อู อินเตอร์เนชั่นแนล เทรด ซิตี้” ในเมืองอี้อู มณฑลเจ้อเจียง ซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าสินค้าประเภทของใช้ทั่วไปที่ใหญ่ที่สุดในโลก ณ เวลานี้

 

โครงการเมืองไชน่า ซิตี้ คอมเพล็กซ์ ในกรุงเทพฯ จะครอบคลุมเนื้อที่ 700,000 ตารางเมตร และคาดว่า การก่อสร้างทั้งหมดจะแล้วเสร็จภายในปี 2013 ขณะที่ ต่ง หงฉี ประธานบริษัท อาชิมา คัลเจอรัล อินดัสตรี อินเวสต์เมนต์ ในมณฑลหยุนหนัน (ยูนนาน) ซึ่งเป็นหุ้นส่วนของโครงการดังกล่าว ระบุว่า ศูนย์กลางพาณิชย์แห่งใหม่นี้จะสามารถดึงดูดพ่อค้าจากจีนได้มากกว่า 70,000 คนเลยทีเดียว

 

ด้าน หยาง ฟางซู นายกสมาคมส่งเสริมเศรษฐกิจและการค้าอาเซียน-จีน ระบุว่า “นอกเหนือจากโอกาสทางธุรกิจต่างๆ ในไทยแล้ว บรรดาผู้ส่งออกจีนยังจะสามารถผลักดันสินค้าของตนไปยังตลาดประเทศพัฒนาแล้ว อย่างเช่น สหภาพยุโรป และสหรัฐฯ ได้อีกด้วย” พร้อมกับกล่าวเสริมว่า ผลจากกรอบข้อตกลงการจัดตั้งเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน ทำให้บรรดานักลงทุนชาวจีนรู้สึกพึงพอใจกับการค้าระดับทวิภาคกับไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในประชาคมดังกล่าว โดยที่จะปลอดกำแพงภาษี หรือจัดเก็บภาษีในอัตราที่ต่ำมากๆ นอกจากนี้ ยังเปิดทางให้จีนสามารถอาศัยประเทศคู่ค้าเหล่านี้เป็นฐานในการส่งออกไปยังกลุ่มเศรษฐกิจพัฒนาแล้วด้วยอัตราภาษีที่ต่ำอีกด้วย

 

หยาง กล่าวว่า โควตาการค้าระหว่างไทยกับกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งรวมทั้งสหภาพยุโรปและสหรัฐฯ อยู่ในระดับที่สูงกว่าโควตาของจีนกับกลุ่มประเทศคู่ค้าข้างต้น ด้วยเหตุนี้สินค้าของจีนจึงควรอาศัยไทยเป็นฐานการส่งออกไปยังประเทศเหล่านั้นแทน เพื่อลดข้อจำกัดและกฎเกณฑ์ที่มากกว่า

 

ขณะที่ หวง รุ่ยเหนิง ผู้จัดการฝ่ายขายของเทียนเทียน จิวเวลรี ในเมืองอี้อู เผยว่า “อัตราภาษีที่ต่ำของสินค้าส่งออกไทยไปยังกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว เป็นสิ่งที่ล่อตาล่อใจผมมาก สืบเนื่องจากการส่งออกของพวกเราได้รับกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงจากกำแพงภาษีสูงที่กำหนดโดยอียู และสหรัฐฯ ในปีนี้”

 

ทางด้าน อลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวไว้เมื่อวันพุธ (5) ในระหว่างเยือนเมืองอี้อู เพื่อเสาะหานักลงทุน ระบุว่า “ไชน่า ซิตี้ คอมเพล็กซ์ จะเป็นโครงการความร่วมมือที่ใหญ่ที่สุดระหว่างจีนกับไทย ซึ่งจะเป็นการย้ำชัดถึงความสัมพันธ์ทางยุทธศาสตร์ของหุ้นส่วนทางธุรกิจระหว่างสองประเทศ”

 

ทั้งนี้ ผลจากการทำข้อตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) ระหว่างจีนกับ 10 ประเทศในประชาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) เมื่อปีที่ผ่านมา ทำให้มูลค่าการค้าระหว่างกันพุ่งสูงถึง 161,000 ล้านดอลลาร์ ในช่วง 7 เดือนแรก เพิ่มขึ้น 50 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว

 

ขอบคุณสำหรับข่าวคะ เอ ไชน่า ซิตี้ คอมเพ็กซืสร้างอยู่ที่ไหนอะ อยากรู้จัง ในกทม หรือต่างจังหวัด ติดามต่อปาย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณทุกท่านที่ให้ความเห็น ช่วยพี่Kookkaiนะคะ วันนี้ไปชื้อแท่งมาแล้ว20บาท เหลือไว้10บาทเพื่อจะลงอีก แต่ในใจคิดว่าคงลงไม่มากแล้ว .... แปลกนะพอมีทองในมือแล้ว ไม่ว่ามันจะขื้นจะลงก็รู้สึกดีทังนั้น...คงเพราะว่าถ้ามันลงพี่ก็ชื้อเพี้ม แต่ถ้าขื้นก็มีทองแล้ว........ขอบคุณนะคะทุกท่าน (เมื่อก่อนเหมือนหัวเดี่ยวคิดคนเดี่ยว กัวไปหมด)แต่พอคุณฯให้ความเห็นมาช่วยการตัดสินใจพี่ก็ดีขื้น...........อีกอย่างพี่ใช้คอมไม่ค่อยเก่งภาษาไทยก็ไม่แข็งแรงคงเขียนผิดบ้าง ขออภัยด้วยนะคะ kookai

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

e90bc4075379a7ff3c98b5af26036493.jpgย่อลงมาเยอะๆ ผมรอเก็บอยู่

 

19500มีไมถ้ามี เทเป๋าแทงครับ แล้วถือรอ23000ถึงขายครับพี่น้อง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณสำหรับข่าวคะ เอ ไชน่า ซิตี้ คอมเพ็กซืสร้างอยู่ที่ไหนอะ อยากรู้จัง ในกทม หรือต่างจังหวัด ติดามต่อปาย

ที่ผมอ่านข่าวจากกรุงเทพธุรกิจ บางนากม.8 ค่อนไปทางสุวรรณภูมิ

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

e90bc4075379a7ff3c98b5af26036493.jpgย่อลงมาผมเก็บตามอาจารย์เสมชี้แนะ ซื้อสะสมไปเรื่อยๆไม่กลัว

93e536dbe20a5efcf0353f4b82e37add.jpg

 

ไม่หวั่นไหว ไม่กลัว อะไรจะเกิดผมไม่สน ถือยาวรอราคาในฝันมาถึงขายครับ

คุณพี่ใหญ่ มือที่วางแท่งอ่ะ น้องว่า พื้นที่น้อยไปน่ะ ทำให้นับแล้วตาลาย อ่ะ (ตาแดงแล้วนะเนี่ย) ล้อเล่นน่ะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คุณเสมครับ ยางพาราอยู่หน้าชื้อหรือขายครับ แนวโน้มจะเป็นยังงัยต่อครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น
e90bc4075379a7ff3c98b5af26036493.jpgรอเก็บล๊อตสุดท้าย แล้วขอนั่งรอ23000 มาถึงขายครับพี่น้อง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

มองปัจจัยพื้นฐานและความหมายท้าทายทางเศรษฐกิจในอนาคต

เศรษฐศาสตร์จานร้อน : ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ กรุงเทพธุรกิจ วันจันทร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2553

 

ในช่วงปลายปีเก่าถึงต้นปีใหม่ก็จะมีการเขียนถึงแนวโน้มเศรษฐกิจในปีใหม่ แต่ผมขอนำเสนอทางเลือกใหม่ในการมองอนาคตโดยพูดถึงปัจจัยพื้นฐานและแก่นสารของความท้าทายทางเศรษฐกิจของประเทศสำคัญๆ รวมทั้งไทยที่สรุปได้ดังนี้

 

1. สหรัฐอเมริกา

 

ประธานาธิบดีโอบามาได้ลงนามผ่านกฎหมายลดภาษี 858,000 ล้านดอลลาร์ ทำให้นักวิเคราะห์ ต่างปรับการคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐในปี 2011 ขึ้นไปที่ 3% แต่ความสำคัญอยู่ที่การเดิมพันว่ามาตรการดังกล่าว จะทำให้เศรษฐกิจสหรัฐขยายตัวได้ดีและฟื้นตัวอย่างสมบูรณ์ในปี 2013 หรือไม่ หากในช่วงนั้นพบว่าเศรษฐกิจสหรัฐขยายตัว 4-5% ต่อปีก็น่าจะทำให้ประธานาธิบดีโอบามาชนะการเลือกตั้งทั่วไปได้เป็นประธานาธิบดีอีกหนึ่งสมัย (4 ปี) และกล้าที่จะปรับขึ้นภาษีคนรวย พร้อมกับปรับลดรายจ่ายและเพิ่มรายรับด้านอื่นๆ ช่วยให้การขาดดุลงบประมาณของสหรัฐปรับลดลงต่อเนื่อง และเกิดความมั่นใจว่าสหรัฐมีวินัยทางการคลัง ดังนั้นแม้ว่านายเบอร์นันเก้จะต้องปรับดอกเบี้ยระยะสั้นขึ้นตามความรุ่งเรืองของเศรษฐกิจ และเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ แต่ดอกเบี้ยระยะยาว (ซึ่งขึ้นอยู่กับวินัยทางการคลังด้วย) ก็จะไม่สูงมาก ตอกย้ำว่าเศรษฐกิจสหรัฐมีเสถียรภาพ และความมั่นคงตามไปด้วย

 

แต่หากการลดภาษีครั้งนี้เป็นการเดิมพันที่ผิดพลาด สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือในปีหน้า การขาดดุลงบประมาณของสหรัฐจะสูงถึง 10% ของจีดีพีติดต่อกันเป็นปีที่ 3 (ปี 2009 และ 2010 ก็ขาดดุลงบประมาณปีละ 10% ของจีดีพี) ดังนั้นหากเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวในปี 2012 กล่าวคือนักเศรษฐศาสตร์มองว่าเศรษฐกิจสหรัฐขยายตัวเพียง 2-3% ในปี 2012 และปีต่อๆ ไป เนื่องจากมาตรการลดภาษี 858,000 ล้านดอลลาร์นั้นส่วนใหญ่เป็นการกระตุ้นการบริโภคในปัจจุบัน แต่มิได้กระตุ้นการลงทุนการจ้างงาน และการสร้างความสามารถในการแข่งขันในอนาคต สิ่งที่จะตามมาคือการขาดดุลงบประมาณสูงมากต่อไปอีกเรื่อยๆ ในปี 2013 และปีต่อๆ ไปเพราะเป็นช่วงที่ค่าใช้จ่ายจากนโยบายประชานิยมต่างๆ (โดยเฉพาะการประกันสังคม และด้านสาธารณสุข) จะพอกพูนขึ้นอย่างมากจากข้อผูกพันเดิมตลอดจนการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้สูงอายุ ในขณะที่ผู้สูงอายุโดยรวมก็มีอายุยืนยาวขึ้น ในสภาวการณ์ดังกล่าว หากนักลงทุนมองว่ารัฐบาลสหรัฐจะต้องขาดดุลงบประมาณที่ 7-8% ต่อจีดีพีในอนาคตก็จะเกิดความระส่ำระสายอย่างมาก เพราะการขาดดุลในระดับสูง (หลังจากที่หนี้สาธารณะสูงเกิน 100% ของจีดีพีแล้ว) จะทำให้เกิดภาวะหนี้สินล้นพ้นตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้สถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับกรีกในปี 2010 จึงอาจเกิดขึ้นกับสหรัฐในปี 2013 ก็ได้

 

2. สหภาพยุโรป

 

แก่นสารของปัญหาของยุโรปคือ การเมืองในประเทศ (โดยเฉพาะประเทศเยอรมนี) จะยอมให้นำภาษีประชาชนในประเทศของตน ไปกอบกู้เศรษฐกิจของประเทศยุโรปอื่นที่มีปัญหา เพียงพอที่จะรักษาความเป็นปึกแผ่นของยุโรป และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการพิทักษ์รักษาเงินยูโรหรือไม่ เท่าที่เห็นในปัจจุบันก็ต้องบอกว่าตลาดยังขาดความมั่นใจอย่างมาก เพราะการตั้งกลไกเพื่อกอบกู้ประเทศที่มีปัญหาเพื่อพิทักษ์รักษาเงินยูโรนั้นทำอย่างครึ่งๆ กลางๆ และผู้นำหลักของยุโรป ยังขัดแย้งกันอย่างเห็นได้ชัด เช่น เห็นชอบการจัดตั้งกลไกถาวรเพื่อจัดการกับวิกฤติในอนาคตที่จะต้องมาถึงแน่ๆ เพราะการยืดหนี้กรีกและไอร์แลนด์ถึงปี 2013 นั้นเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แต่กลไกถาวร (เรียกว่า European Stability Mechanism) นั้นมีแต่หลักการยังไม่มีรายละเอียด นอกจากนั้นข้อเสนอเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเช่นการเพิ่มเงินในกองทุนฉุกเฉิน การให้ใช้เงินฉุกเฉินอย่างยืดหยุ่นและทันท่วงที และการให้ออกพันธบัตรสหภาพยุโรปมาทดแทนพันธบัตรรายประเทศ ก็ถูกคัดค้านจนต้องพับแผนไปก่อนหน้า ทำให้นักวิเคราะห์มองว่าในช่วง 1-2 ปีข้างหน้าประเทศที่ได้รับการยืดหนี้ก็อาจมีปัญหาต้องพักชำระหนี้ไปก่อนที่ ESM จะออกมา ในขณะที่ปัญหาอาจจะลามไปสู่ประเทศโปรตุเกส และสเปน ทำให้เงินยูโรอาจอ่อนค่าลงอีกเมื่อเปรียบเทียบกับเงินดอลลาร์

 

3. ญี่ปุ่น

 

ญี่ปุ่นเปลี่ยนรัฐบาลบ่อยและความนิยมของรัฐบาลปัจจุบันก็เสื่อมถอยลงเรื่อยๆ ทำให้การขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจเพื่อแก้ปัญหาเงินฝืดทำได้ด้วยความยากลำบาก การเสนอให้ลดภาษีนิติบุคคล เป็นเรื่องที่น่าจะเป็นประโยชน์ แต่การเพิ่มหนี้สาธารณะจากการขาดดุลที่เพิ่มขึ้นทำให้ภาพรวมของเศรษฐกิจญี่ปุ่นไม่แจ่มใสเลย เพราะหนี้สาธารณะสูงถึง 200% ของจีดีพีแล้ว ในขณะที่ประชาชนก็แก่ตัวลงอย่างรวดเร็ว (เพราะญี่ปุ่นไม่ยอมให้ชาวต่างชาติที่มีอายุน้อยพร้อมทำงานและเสียภาษีเข้ามาตั้งรกรากในประเทศ เช่น สหรัฐที่เปิดรับแรงงานต่างชาติมาขับเคลื่อนเศรษฐกิจ) ทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นนับวันจะมีบทบาทลดลง เว้นแต่บริษัทข้ามชาติของญี่ปุ่นที่จะต้องลงทุนนอกประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะปัจจัยพื้นฐานภายในประเทศไม่เอื้ออำนวย ดังนั้นสภาวะที่ เศรษฐกิจญี่ปุ่นขยายตัวเพียง 1-2% และภาวะเงินฝืดจึงอาจเป็นปัญหาเรื้อรังต่อไป

 

4. จีน

 

ประเทศจีนเผชิญปัญหาว่า จีดีพีขยายตัวดีน่าพอใจ (8-9% ต่อปี) แต่ยังคุมปัญหาเงินเฟ้อไม่ได้ ซึ่งคาดการณ์ว่าเงินเฟ้อน่าจะคุมอยู่ภายในกลางปีหน้า ทำให้เงินเฟ้อในเดือน พ.ย. ที่ 5% นั้นใกล้ถึงจุดสูงสุดแล้วและจะค่อยๆ ลดลงในครึ่งหลังของปีหน้า ทำให้เงินเฟ้อทั้งปี 2011 อยู่ที่ประมาณ 4.5% แต่หากไม่เป็นเช่นนั้น (และเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นจนคุมไม่อยู่) ก็คงเกิดจากการขยายตัวมากเกินไปของสินเชื่อ ทำให้ทางการต้องออกมาตรการที่เข้มข้นขึ้นไปอีกเพื่อจำกัดการขยายตัวของสินเชื่อ รวมทั้งการควบคุมราคาสินค้าจำเป็น ซึ่งจะกระทบต่อบรรยากาศการลงทุนอย่างมาก จึงเห็นภาพที่เศรษฐกิจจีนขยายตัวสูงที่สุดในโลกแต่ราคาหุ้นไม่สามารถปรับตัวขึ้นได้เลย

ในระยะสั้นนั้นรัฐบาลจีนให้ความสำคัญสูงสุดกับการควบคุมค่าครองชีพและราคาอสังหาริมทรัพย์เพื่อมิให้ประชาชนเดือดร้อน แต่ในระยะกลางและระยะยาว จีนเร่งการลงทุน สร้างโรงงาน พัฒนาเทคโนโลยี และแสวงหาทรัพยากร เพื่อเตรียมพร้อมกับสภาวะที่ประเทศจีนจะขาดแคลนแรงงานใน 10-20 ปีข้างหน้า กล่าวคือประชาชนจีนจะต้องมีผลิตภาพ (productivity) ต่อหัวสูงจากการลงทุนสร้างโรงงาน (ให้มีงานทำ) การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน การลงทุนในเทคโนโลยี การลงทุนในการศึกษา ฯลฯ เพื่อส่งต่อความมั่งคั่งจากปัจจุบันไปสู่ลูกหลานที่มีจำนวนลดลงในอนาคต

 

5. ประเทศไทย

 

การเข้าสู่การเลือกตั้งทำให้ต้องมุ่งเน้นการรักษาอำนาจทางการเมือง โดยการนำเสนอนโยบายเศรษฐกิจประชานิยม (จะเรียกอย่างอื่นก็ยังเป็นประชานิยมอยู่ดี) คือการกระจายผลประโยชน์เฉพาะหน้าให้กับคนส่วนใหญ่ที่เป็นผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง การตรึงราคาน้ำมันดีเซลนั้นเคยมีประสบการณ์ในอดีตมาแล้วว่าทำให้ภาครัฐใช้เงินหลายหมื่นล้านบาทหากราคาตลาดโลกสูงขึ้นอย่าต่อเนื่องก็จะทานเอาไว้ไม่อยู่เพียงแต่ช่วยให้ประชาชนใช้น้ำมันราคาถูกเกินจริงไปพักหนึ่ง แทนที่จะนำเงินดังกล่าวไปลงทุน ให้เกิดผลประโยชน์ระยะยาว กล่าวคือมาตรการต่างๆ ที่ถูกนำเสนอ (ทั้งรัฐบาลและฝ่ายค้าน) จะทำให้เกิดความพอใจในชั่วขณะ แต่จะไม่ทำให้เศรษฐกิจไทยในอนาคตขยายตัวเร็วขึ้นหรือมีความมั่นคงขึ้น ทำให้เงินที่ใช้จ่ายออกไปจะเป็นภาระในอนาคต เนื่องจากปัจจุบันรัฐบาลขาดดุลงบประมาณเท่ากับ 3-4% ของจีดีพีและพบว่าจะไม่สามารถลดการขาดดุลดังกล่าวได้หากไม่ปรับขึ้นภาษี (จึงมีการนำเสนอขอขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นระยะๆ)

 

นโยบายประชานิยมนั้นหากรัฐบาลใดจะนำเสนอเพิ่มควรทำเมื่องบประมาณเกินดุลได้เสียก่อน จึงจะถือได้ว่ามีเงินส่วนเกินมาใช้จ่าย สำหรับสิ่งที่ควรทำ (แม้จะเป็นเรื่องยาก) เพื่อผลประโยชน์ของส่วนรวมจริงๆ มีอยู่มาก เช่น 1. ก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมใหม่มาทดแทนมาบตาพุด ซึ่งขยายตัวเต็มที่แล้วแต่ความต้องการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศยังมีอยู่ 2. ผลิตแรงงานที่ตรงต่อความต้องการของตลาดไม่ใช่ตั้งเป้าว่าต้องมีหนึ่งมหาวิทยาลัยต่อหนึ่งจังหวัด 3. สร้างระบบรางเพื่อขนส่งสินค้าอันจะลดต้นทุนการขนส่งและการพึ่งพาพลังงานนำเข้า 4. ปฏิรูปภาคเกษตรกรรมโดยตั้งเป้าที่จะเพิ่มผลผลิตต่อไร่ ไม่ใช่พยุงราคาสินค้าเกษตร 5. (ซึ่งรัฐบาลมีดำริอยู่แล้ว) คือการแก้กฎหมายร่วมลงทุนภาครัฐและเอกชน เพราะกฎหมายปัจจุบันสร้างปัญหาอย่างมาก เนื่องจากถูกนำไปตีความในทิศทางที่สร้างความเสียหายอย่างยิ่งต่อการลงทุน มิได้ชักจูงการร่วมลงทุนแต่อย่างใดครับ

 

 

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 

ขอเสริมเรื่องหนี้สาธารณะของญี่ปุ่นสูงถึง 200% ของจีดีพี หลายคนอาจสงสัยว่าหนี้สินของรัฐบาลญี่ปุ่นมากมายขนาดนี้มานานมากแล้วทำไมปัญหาถึงไม่เกิด แล้วทำไมคนถึงไม่กังวลกับปํญหาหนี้ของญี่ปุ่น อันนี้ต้องมองลึกไปอีกนิดครับว่าใครเป็นเจ้าหนี้ของรัฐบาลญี่ปุ่น รัฐบาลญี่ปุ่นเป็นหนี้ประชาชนของเขาเองครับ เงินทองที่ต้องจ่ายเป็นดอกเบี้ยไม่รั่วไหลออกนอกประเทศครับ อีกอย่างดอกเบี้ยของญี่ปุ่นต่ำจนแทบจะเป็น0%มานานมากครับ ส่วนสหรัฐเจ้าหนี้ใหญ่คือจีน

หลายคนบอกว่าGDPจีนแซงญี่ปุ่นไปแล้ว แต่ผมมองว่าGDPที่แท้จริงของญี่ปุ่นณปัจจุบันยังสูงกว่าจีนเยอะครับ ญี่ปุ่นเป็นประเทศขนาดเล็ก เขาจึงไปลงทุนต่างประเทศมานานมากแล้วและเป็นจำนวนมากๆ เขาเน้นการไปลงทุนต่างประเทศแทนทำให้GDPในประเทศของญี่ปุ่นไม่ค่อยขยับมานานแล้ว อย่างประเทศไทยผลประกอบการของบริษัทญี่ปุ่นแทรกอยู่ในGDPของไทยไม่ใช่น้อยเลย

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...