ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

ขอบ คุณ

 

ทองแท่งยังแดงอยู่ใช่ใหม๋ค่ะ

 

 

ยังเเดงครับ ทองเเท่ง กองทุนทอง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณอาจารย์เสมมากครับ ช่วงนี้นั่งนิ่งๆเฉยๆไม่คันมือ

ผมจะรออาจารย์เสมส่งสัญญาณสั่งลุยอย่างเดียว :rolleyes: :rolleyes: :rolleyes:

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

มะกันซวยซ้ำ เจอน้ำมันรั่วครั้งใหม่

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 29 กรกฎาคม 2553 17:44 น.

 

 

 

 

 

 

น้ำมันดิบที่รั่วไหลจากท่อส่งของบริษัทเอ็นบริดจ์กำลังไหลลงสู่แม่น้ำคาลามาซู เมืองมาร์แชล มลรัฐมิชิแกน

 

 

เอเอฟพี - ท่อส่งน้ำมันรั่วครั้งใหม่ในสหรัฐฯ เป็นเหตุให้น้ำมันดิบจำนวนร่วม 5 ล้านลิตรทะลักลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติในมลรัฐมิชิแกนทางตอนเหนือของประเทศ ทางเจ้าหน้าที่รายงานเมื่อวานนี้ (28)

 

สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐฯ (อีพีเอ) แถลงว่าเหตุน้ำมันรั่วครั้งนี้เกิดขึ้นวันจันทร์ (26) ที่ผ่านมา เมื่อท่อส่งน้ำมันขนาด 30 นิ้วในเมืองมาร์แชล มลรัฐมิชิแกน ระเบิด เป็นเหตุให้น้ำมันดิบไหลทะลักสู่ลำธารทัลมัดจ์ ซึ่งเป็นทางน้ำไหลลงสู่แม่น้ำคาลามาซู

 

เจ้าหน้าที่ยังบอกอีกว่า ท่อส่งน้ำมันที่ระเบิดครั้งนี้เป็นของบริษัทเอ็นบริดจ์ในแคนาดา

 

อีพีเอแถลงว่ากำลังติดตามและปฏิบัติทุกวิถีทางเพื่อให้สามารถขจัดน้ำมันที่รั่วออกมา และยับยั้งการไหลของน้ำมันตลอดแม่น้ำคาลามาซูซึ่งเสียหายเป็ยระยะทางกว่า 48 กิโลเมตร โดยพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำดังกล่าวประกอบด้วยบริเวณที่ลุ่มแม่น้ำ เขตที่อยู่อาศัย พื้นที่การเกษตร และย่านธุรกิจ

 

"การรั่วไหลของน้ำมันครั้งนี้สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อแหล่งน้ำสำคัญ และคุกคามสุขภาพของสาธารณชน" ลิซา แจ๊คสัน ผู้บริหารอีพีเอกล่าว

 

ทางด้านบริษัทเจ้าของท่อส่งน้ำมันกล่าวในคำแถลงว่า "เราให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นลำดับแรก"

 

"เราให้สัญญาว่าจะให้ทำความสะอาดบริเวณเกิดเหตุโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ และในระหว่างการขจัดคราบน้ำมันเราจะถือเอาความปลอดภัยของผู้คนและการปกป้องสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งสำคัญที่สุด"

 

บริษัทเอ็นบริดจ์ให้ข้อมูลอีกว่า ท่อส่งน้ำมันที่เสียหายดังกล่าวและวาล์วที่เชื่อมต่อไปยังท่ออื่นถูกปิดลงแล้วเพื่อหยุดการรั่วไหลของน้ำมันดิบลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ

 

นอกจากนั้นทางบริษัทกำลังสืบหาสาเหตุของการรั่วไหล

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คลังตีปี๊บ "จีดีพี" ไตรมาส 2 โตได้ถึง 8% หลังส่งออกทุบสถิติสุด 46.3%

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 29 กรกฎาคม 2553 15:48 น.

 

 

 

 

 

 

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น

 

 

 

 

 

ก.คลัง คาดการณ์ ศก.ไทย ไตรมาส 2 ปีนี้ มีโอกาสโตถึง 8% หลังยอดส่งออกพุ่งถึง 46.3% สูงเป็นประวัติการณ์

 

นายสาธิต รังคสิริ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง หรือ สศค.เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจไทยในเดือนมิถุนายน 2553 สามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะมูลค่าการส่งออกขยายตัวในระดับสูงกว่า 18,000 ล้านดอลล่าห์สหรัฐ หรือขยายตัวร้อยละ 46.3 ต่อปี ซึ่งเป็นการปรับตัวดีขึ้นแทบทุกหมวดสินค้าส่งออกและแทบทุกตลาด

 

"เศรษฐกิจไทยในเดือนมิถุนายนปี 2553 ขยายตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะภาคส่งออกที่ขยายตัวสูงเป็นประวัติการณ์ สูงถึงร้อยละ 46.3 ต่อปี โดยโตในแทบทุกหมวด โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ ส่งออกได้สูงสุด ส่งผลให้ไตรมาส 2 ส่งออกสูงถึงร้อยละ 41.5 ต่อปี เนื่องจากมีตลาดใหม่ๆ เกิดขึ้น อาทิ อินเดีย จีน ตะวันออกกลาง แอฟริกา และเวียดนาม"

 

ขณะที่การใช้จ่ายภายในประเทศปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ทั้งจากการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน ส่วนจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ มีการฟื้นตัวได้เร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ หลังจากเหตุการณ์ทางการเมือง โดยหดตัวเพียงร้อยละ 1.1 ต่อปี สะท้อนการปรับตัวเข้ามาสู่ภาวะปกติของภาคการท่องเที่ยว

 

"มองว่า จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติฟื้นตัวเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ หลังจากเหตุการณ์ทางการเมืองได้ผ่านพ้นไป หดตัวเพียงเล็กน้อย ร้อยละ 1.1 ต่อปี ส่วนอัตราเงินเฟ้อเดือนมิถุนายน ขยายตัวร้อยละ 3.3 ว่างงานขยายตัวร้อยละ 1.5 อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้"

 

ทั้งนี้ จากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ยังรวดเร็วต่อเนื่อง คาดว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2 จะขยายตัวได้ร้อยละ 8 จากที่ไตรมาส 1 ที่ขยายตัวได้ร้อยละ 12 และไตรมาส 3 และ 4 จะขยายตัวได้ต่อเนื่องจากการส่งออก

 

ด้านนายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวว่า สถานการณ์ความไม่สงบทางการเมืองที่เกิดขึ้น ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย น้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ ทั้งนี้ มั่นใจว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2553 จะสามารถขยายตัวดีขึ้นืที่ร้อยละ 5.5 ต่อปี จากเดิมที่คาดการณ์ว่า จะขยายตัวที่ร้อยละ 4.5

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ทบทวนและประเมินการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก

เศรษฐศาสตร์จานร้อน : ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ กรุงเทพธุรกิจ วันจันทร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

 

ที่ผ่านมา ได้มีการถกเถียงกันมากว่าเศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง หรือจะชะลอตัวลงในปลายปีนี้หรือต้นปีหน้า ทำให้การฟื้นตัวเป็นเหมือน "W" หรือที่ฝรั่งใช้คำว่า double-dip หากมองโลกในแง่ดีก็ยืนยันว่าแม้เศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวอย่างช้าๆ แต่ก็ไม่เชื่อว่าจะสะดุดลง เพราะยังไม่ได้มีลางบอกเหตุที่ชัดเจน เช่น หากเศรษฐกิจจะถดถอยสิ่งบอกเหตุ คือ ดอกเบี้ยระยะยาวจะต้องปรับลดลงไปต่ำกว่าดอกเบี้ยระยะสั้น และภาคการผลิตจะต้องเริ่มหดตัวอย่างเห็นได้ชัด แต่ขณะนี้ ภาคการผลิตก็ยังขยายตัวได้ดีพอใช้ และบริษัทต่างๆ ทำกำไรได้ดีเกินกว่าการคาดการณ์ แม้ว่ายอดขายจะขยายตัวน้อย และผู้ประกอบการในประเทศพัฒนาแล้วก็ยังไม่เห็นว่าเศรษฐกิจจะสดใสมากนักใน 2-3 ไตรมาสข้างหน้า

 

ฝ่ายที่มองโลกในแง่ร้ายเช่นนักเศรษฐศาสตร์ชื่อดัง คือ Paul Krugman ฟันธงว่าเศรษฐกิจโลกจะล้มลุกคลุกคลานไปอีก 4-5 ปี ซึ่ง Paul Krugman เองก็มีชื่อเสียง (นอกจากจะชื่อ Paul เหมือนกับหมอดูปลาหมึก) เพราะเคยได้รางวัลโนเบลและเคยทำนายถูกต้องว่าเศรษฐกิจของเอเชีย จะต้องเผชิญกับวิกฤติในปี 1997 Krugman เชื่อว่ากำลังซื้อของเศรษฐกิจโลกอ่อนแอ ดังนั้น กระแสให้รัฐบาลรัดเข็มขัดเพื่อรักษาวินัยทางการคลัง จึงจะเป็นข้อผิดพลาดครั้งใหญ่ของผู้บริหารเศรษฐกิจในประเทศพัฒนาแล้ว จึงคัดค้านนโยบายดังกล่าวโดยขู่ว่าจะทำให้เศรษฐกิจเสี่ยงต่อความถดถอยในปีหน้าและปีต่อๆ ไป

 

ในขณะนี้ ก็เกิดกระแสทางการเมืองคัดค้านการสร้างหนี้สินเพิ่มขึ้นของรัฐบาลในยุโรป ซึ่งไม่ต้องการให้ประเทศของตนต้องเสี่ยงได้รับเคราะห์กรรมเช่นเดียวกับประเทศกรีก ดังนั้น รัฐบาลอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี สเปน ฯลฯ จึงประกาศแผนที่จะลดการขาดดุลลงอย่างชัดเจนภายใน 3-4 ปีข้างหน้า เพื่อรักษาวินัยทางการคลังและแม้แต่ในประเทศสหรัฐเองประธานาธิบดีโอบามา ก็กำลังได้รับแรงต่อต้านจากรัฐสภา ซึ่งขัดขวางการผ่านกฎหมายที่จะอนุมัติงบประมาณ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมอีกแม้จะเป็นที่ประจักษ์ว่างบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจ 8 แสนล้านดอลลาร์ ที่เข็นออกมาใช้ในปีที่แล้วกำลังหมดลง ในขณะที่การว่างงานและความตกต่ำของภาคอสังหาริมทรัพย์ยังเป็นปัญหาอย่างมาก และความมั่นใจของผู้บริโภคก็ปรับลดลงอย่างเห็นได้ชัดใน 2-3 เดือนที่ผ่านมา ทั้งนี้ เพราะประชาชนเกรงว่าการเพิ่มรายจ่ายของภาครัฐ จะทำให้ภาระภาษีในอนาคตต้องเพิ่มขึ้น เพื่อใช้คืนหนี้สาธารณะที่จะเพิ่มขึ้นต่อไป

 

ในกรณีของสหรัฐนั้นความเสี่ยงสูงสุดทางเศรษฐกิจ น่าจะเกิดขึ้นในไตรมาสแรกของปีหน้าจากปัจจัย 3 ประการ คือ

 

1. แรงกระตุ้นจากงบประมาณ 8 แสนล้านดอลลาร์ ของประธานาธิบดีโอบามาแผ่วลง และไม่สามารถผ่านมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมได้

 

2. มาตรการลดภาษีให้ทั้งคนรวยและคนจนของประธานาธิบดีบุชหมดลงในวันที่ 31 ธันวาคม และประธานาธิบดีโอบามาไม่ยินยอมหรือไม่สามารถต่ออายุมาตรการลดภาษีดังกล่าวได้

 

3. การเลือกตั้ง ส.ส. และวุฒิสมาชิกบางส่วนในเดือนพฤศจิกายน น่าจะลดความได้เปรียบทางการเมืองของพรรคเดโมแครต และอาจต้องรอถึงกลางปีหน้าจึงจะเกิดความชัดเจนเพียงพอ ที่จะทำให้สามารถผ่านกฎหมายกระตุ้นเศรษฐกิจได้อีกครั้ง

 

ในส่วนของยุโรปนั้นจะต้องติดตามดูผลพวงจากการประกาศผลการทดสอบความแข็งแกร่งของธนาคาร 91 แห่งในวันที่ 23 กรกฎาคม ว่า จะทำให้นักลงทุนคลายความกังวลเกี่ยวกับสถานะของสถาบันการเงินได้มากน้อยเพียงใด ทั้งนี้ ต้องเข้าใจว่าแม้แต่กรณีของสหรัฐ ซึ่งได้ทำการทดสอบธนาคาร 19 แห่ง และประสบความสำเร็จอย่างมากในเดือนพฤษภาคม 2009 แต่ก็เป็นเพียงขั้นตอนหนึ่งของการแก้ปัญหา การทดสอบธนาคารมิใช่คำตอบสุดท้าย เพราะในกรณีของสหรัฐแม้ว่าธนาคารจะอยู่รอดได้ แต่ธนาคารก็ยังไม่ค่อยปล่อยกู้ ปัญหาการว่างงานก็ยังมีอยู่ให้เห็นจนทุกวันนี้ และภาคอสังหาริมทรัพย์ก็ยังตกต่ำเช่นเดิม เป็นต้น ในกรณีของยุโรปนั้นปัญหาอื่นๆ ก็ยังมีอยู่ให้เห็นเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาหนี้ภาครัฐ ที่ยังจะต้องเผชิญและแก้ไขต่อไป

 

ในส่วนของยุโรปนั้นต้องเข้าใจว่ามีการ "ยอมรับสภาพ" แล้วว่าเศรษฐกิจยุโรปขยายตัวช้าในปีหน้า (ไอเอ็มเอฟคาดว่าเศรษฐกิจยุโรปจะโต 1.3% เมื่อเทียบกับสหรัฐที่คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะโต 2.9% ในปี 2011) เพราะรัฐบาลประเทศหลัก เช่น อังกฤษ เยอรมนี ฝรั่งเศส และอิตาลี ประกาศรัดเข็มขัดนโยบายการคลัง และสภาวะตกต่ำของประเทศเล็กในสหภาพยุโรป เช่น กรีก โปรตุเกส และสเปน ก็ยังคงต่อเนื่องไปในปี 2011 อย่างไรก็ดี ยังมีความเชื่อมั่นว่าประเทศหลักของยุโรป จะสามารถบริหารจัดการเศรษฐกิจให้ยังสามารถขยายตัวได้ แต่ทั้งนี้ บนสมมติฐานว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะต้องยังสามารถขยายตัวได้ 2.5-3.0% ในปี 2011 หากไม่เป็นเช่นนั้นความเสี่ยงต่อความถดถอยทางเศรษฐกิจของยุโรป ก็จะต้องเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน

 

ญี่ปุ่นก็มีปัญหาไม่แพ้ยุโรปเพราะนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ก็เพิ่งพ่ายแพ้ทางการเมือง เพราะพรรคร่วมรัฐบาลสูญเสียเสียงข้างมากในสภาสูง ทำให้สามารถผลักดันนโยบายฟื้นฟูเศรษฐกิจได้ยากลำบากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ นักวิเคราะห์เชื่อว่าการที่นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นเกริ่นว่าจะเพิ่มภาษีการขายจาก 5% เป็น 10% เพื่อนำมาซึ่งวินัยทางการคลังส่งผลลบต่อความนิยมของนายกรัฐมนตรี และเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้พรรค DPJ ต้องพ่ายแพ้ทางการเมือง แต่ญี่ปุ่นก็เสี่ยงที่เศรษฐกิจจะถูกถ่วงรั้งโดยหนี้สาธารณะที่ใกล้จะสูงถึง 200% ของจีดีพี ในขณะที่ปัญหาเงินฝืดที่เรื้อรังมานาน ก็ยังไม่ได้รับการแก้ไข ดังนั้น เศรษฐกิจญี่ปุ่นจึงจะชะลอตัวลงอย่างเห็นได้ชัด คือ เศรษฐกิจจะขยายตัวประมาณ 2.5-3.0% ในปี 2010 แต่จะขยายตัวเพียง 1.7-2.0% ในปี 2011

 

ดังนั้น จึงอาจต้องกลับมามองหาการบริโภคของคนอเมริกัน ที่มีมูลค่าสูงเกือบ 10 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปี และคาดหวังการบริโภคของจีน แต่เนื่องจากจีนมีสัดส่วนการบริโภคเพียง 35% ของจีดีพีโดยคำนวณเป็นมูลค่าประมาณ 2 ล้านล้านดอลลาร์ และหากรวมอินเดียก็น่าจะเพิ่มอีก 0.8 ล้านล้านดอลลาร์ หรือไม่ถึง 1 ใน 3 ของการบริโภคของสหรัฐ ดังนั้น จึงไม่น่าจะเชื่อได้ว่าหากสหรัฐมีปัญหาทางเศรษฐกิจแล้วจีนกับอินเดียจะเข้าไปทดแทนได้ ที่สำคัญ คือ ประธานาธิบดีโอบามาประกาศว่าต้องการให้การส่งออกของสหรัฐเป็นหัวจักรขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยตั้งเป้าให้การส่งออกสหรัฐเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเท่าตัวใน 5 ปีข้างหน้า ทำให้สงสัยว่าสหรัฐจะหวังพึ่งเศรษฐกิจประเทศอื่นๆ ได้อย่างไร ในเมื่อประเทศอื่นๆ ก็ยังต้องหวังพึ่งเศรษฐกิจสหรัฐครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...