ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

:rolleyes: :rolleyes: :rolleyes:

 

 

ขอบคุณค่ะ คุณส้มโอมือ

 

วันนี้จะได้เห็นหน้า พี่ลักยิ้มมาไหมหนอ? ใครมีลักยิ้มโชว์ตัวด่วน คริคริ

 

:P :P

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตลาดไม่ผวากฎบาเซิล 3 โล่งใจ กรอบเวลาไม่โหด

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 13 กันยายน 2553 22:18 น.

 

 

 

 

 

เอเจนซี/เอเอฟพี - บรรดาผู้คุมกฎการกำกับดูแลธนาคารทั่วโลก ตกลงเห็นพ้องกันเมื่อวันอาทิตย์(12) ในเรื่องข้อกำหนด “บาเซิล 3” ที่จะบังคับให้แบงก์พาณิชย์ทั้งหลายตัองเพิ่มสำรองเงินทุนชั้นคุณภาพสูงสุดของตนขึ้นมากว่า 3 เท่าตัว ทั้งนี้ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤตสินเชื่อระหว่างประเทศซ้ำรอยขึ้นมาอีก อย่างไรก็ดี ปรากฏว่าเนื่องจากกฎระเบียบใหม่นี้มีการผ่อนปรนเรื่องกำหนดระยะเวลา กระทั่งบางส่วนนั้นกว่าจะบังคับใช้ก็ไปถึงตอนเริ่มต้นปี 2019 ด้วยเหตุนี้พวกธนาคารทั้งหลายจึงไม่ได้วิตกผวาอะไร และหุ้นแบงก์พากันไต่สูงขึ้นทั่วโลกด้วยซ้ำ

 

ข้อตกลงบาเซิล 3 อันเป็นกฎระเบียบใหม่ด้านทุนสำรองของแบงก์พาณิชย์ดังกล่าวนี้ เพิ่งเป็นที่สรุปกันในที่ประชุมผู้กำกับดูแลภาคการธนาคารของโลกอันประกอบด้วยผู้ว่าการธนาคารกลางและผู้กำกับดูแลภาคการเงินในระดับสูงสุดของ 27 ประเทศ ซึ่งเสร็จสิ้นการประชุมที่เมืองบาเซิล ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (12)

 

ตามกระบวนการแล้ว บรรดาผู้นำของประเทศกลุ่มจี 20 ยังจะต้องให้การรับรองข้อตกลงดังกล่าวในการประชุมที่มีกำหนดการในกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ในเดือนพฤศจิกายน ศกนี้เสียก่อนด้วย แม้ในทางปฏิบัติแล้ว ที่ประชุมซัมมิตจี 20 น่าจะอนุมัติโดยไม่มีปัญหาอะไร

 

ในข้อบังคับใหม่ อันเป็นที่รู้จักในนามของอนุสัญญาบาเซิล 3 ภายในวันที่ 1 มกราคม 2015 บรรดาแบงก์พาณิชย์ทั้งปวงต้องมีทุนสำรองคุณภาพสูงรวมทั้งสิ้น 4.5% ของทรัพย์สินเสี่ยง เพิ่มขึ้นจากเกณฑ์ 2% ในปัจจุบัน นอกจากนั้น ภายในวันที่ 1 มกราคม 2019 ยังจะต้องมีทุนสำรองอีก 2.5% ที่เรียกว่า “capital conservation buffer” หรือกองทุนเพื่อป้องกันแรงกระทบ รวมแล้วเท่ากับธนาคารพาณิชย์ต้องมีทุนสำรองหลักในระดับ 7%

อย่างไรก็ตาม ปฏิกิริยาของตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลก ยังคงออกมาในทางบวก โดยราคาหุ้นแบงก์ของทางยุโรปดีดตัว 1.7% ในการซื้อขายภาคเช้าวันจันทร์ (13) ขณะที่ค่าเงินยูโรต่อดอลลาร์แข็งขึ้น 1.1%

 

ทั้งนี้ อันที่จริงแล้ว ข้อกำหนดเพื่อการกำกับดูแลกิจการด้านธนาคารของโลกชุดใหม่ดังกล่าว ยังถือว่าต่ำมาก เมื่อเทียบกับตัวเลขที่ผู้คนในวงการธนาคารเคยคาดคิดและหวั่นเกรงกันในช่วงก่อนหน้านี้

ในการนี้ แบงก์ในยุโรปส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะต้องเพิ่มทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกแบงก์ในเยอรมนี สเปน และหลายประเทศที่มีปัญหาอยู่ในระบบการเงินการธนาคาร

 

“จะต้องเพิ่มทุนกันหลายแสนล้านยูโรทีเดียว” กล่าวโดย เนาท์ เวลลิงก์ สมาชิกสภาผู้กำกับดูแลธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) และประธานคณะกรรมการบาเซิลด้านการกำกับดูแลภาคการธนาคาร

 

“ในส่วนหนึ่ง พวกนี้จะต้องเก็บกำไรสะสมไว้เป็นหลายปี ซึ่งทำให้พวกแบงก์เหล่านี้จะไม่สามารถนำไปจ่ายปันผลแก่ผู้ถือหุ้น หรือเอาไปจ่ายโบนัสได้ แต่ในอีกส่วนหนึ่ง แต่ละแบงก์จะดำเนินการแตกต่าง กันไป และคงต้องไปดึงเอามาจากตลาดทุน” เวลลิงก์ ซึ่งเป็นผู้บริหารสูงสุดของธนาคารกลางแห่งเนเธอร์แลนด์ วิเคราะห์ไว้อย่างนั้น ขณะให้สัมภาษณ์แก่สถานีวิทยุ Dutch NOS Radio 1 เมื่อวันจันทร์(13)

 

นักวิเคราะห์ในตลาดการเงินชี้ว่า ตลาดรับรู้ข่าวนี้ในทางบวก เพราะถือว่าธนาคารยังไม่ถูกกำหนดให้ต้องปฏิบัติตามกฎการเพิ่มการดำรงเงินกองทุนคุณภาพสูงสุด (หรือกองทุนขั้นที่ 1 - Tier 1 capital) จนกว่าจะถึงปี 2015 แล้วส่วนที่เหลืออีก 2.5% ที่เรียกว่า “capital conservation buffer” ยังไม่ถูกบังคับจนกว่าจะปี 2019

ในการนี้ ดอยช์แบงก์ ธนาคารชั้นนำแห่งเยอรมนีเตรียมออกตัวแซงหน้าคู่แข่งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยมีการประกาศแผนระดมทุนเพื่อเพิ่มทุนกันอย่างคึกคักเกือบ 10,000 ล้านยูโรทีเดียว ทั้งนี้ ดอยช์แบงก์บอกว่าจะทำให้ได้ตามมาตรฐานของกฎบาเซิล 3 ภายในปลายปี 2013

 

ด้านหุ้นของธนาคารในย่านเอเชียก็ปรับตัวสูงขึ้น แม้กระทั่งหุ้นแบงก์ของญี่ปุ่น ซึ่งมีระดับฐานทุนต่ำที่สุดในภูมิภาคนี้ โดยที่ว่ากลุ่มมิซูโฮ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป ดีดขึ้นได้ 2% และมิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป ก็พุ่งขึ้นถึง 3%

 

“ไม่ใช่ความเปลี่ยนแปลงใหญ่โต ไม่ได้เป็นบิ๊กแบงอะไรสำหรับพวกแบงก์ครับ ในเมื่อมีการเผื่อเวลาให้เตรียมตัวได้ถึงห้าปี” เกร็ก เจมส์ นักวิเคราะห์ค่ายคอมมอนเวลธ์ ซีเคียวริตีส์ ให้ความเห็น

 

ด้านนักวิเคราะห์ค่ายแมคควอรี่ ประเมินว่า อันที่จริงแล้ว พวกธนาคารในญี่ปุ่นน่าจะมีสัดส่วนของทุนอยู่ที่ระดับเฉลี่ย 6.3% เรียกว่าเพิ่มอีกนิดเดียวก็สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดเรื่อง 7% ได้แล้ว

“ผมไม่คิดว่าจะมีแบงก์ญี่ปุ่นรายใดต้องเดือดร้อนวิ่งเต้นเพิ่มทุนเพื่อการนี้ จึงน่าจะตัดปัญหาเรื่องการผนวกรวมกิจการรายการใหญ่ยักษ์ใดๆ” อิสมาเอล พิลี ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยการเงินตลาดเอเชียของค่ายแมคควอรี่ ประเมินไว้อย่างนั้น

 

สำหรับจีน นายธนาคารระดับสูงของประเทศรายหนึ่งให้ความเห็นว่า อาจจะต้องใช้เวลาอยู่บ้างกว่าที่จะไปถึงจุดนั้น

 

“คงต้องใช้เวลาสักระยะหนึ่งเลยครับ กว่าที่จะบังคับใช้กฎบาเซิล 3 ได้” เสี่ยว กัง ประธานธนาคารแบงก์ออฟไชน่า กล่าวกับรอยเตอร์ในระหว่างให้สัมภาษณ์ด้านนอกเวทีการประชุมเวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรัม ภาคฤดูร้อนที่นครเทียนจิน ประเทศจีน ซึ่งจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 13-15 กันยายน

 

** มีทุนส่วนเกินอยู่แล้วกระมัง? **

ถ้าไม่นับธนาคารในญี่ปุ่นและจีน พวกธนาคารส่วนใหญ่ในประเทศอื่นๆ ของเอเชียส่วนใหญ่มีระดับทุนอยู่เหนือระดับขั้นต่ำของกฎบาเซิล 3 มากพอใช้ได้เลย

ในทำนองเดียวกัน พวกแบงก์ชั้นนำในทางสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ตลอดจนในภูมิภาคยุโรปเหนือกับกลุ่มเบเนลักซ์ อีกทั้งในอังกฤษ กับสวิตเซอร์แลนด์ ล้วนแต่มีระดับทุนอยู่เหนือระดับขั้นต่ำของกฎบาเซิล 3 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ดังนั้น เมื่อกฎบาเซิลมีความชัดเจนออกมาเช่นนี้ แบงก์เหล่านี้จึงสามารถกล้าหาญที่จะดึงดูดนักลงทุนด้วยการเพิ่งเงินปันผล

 

กระนั้นก็ตาม ยังมีความไม่แน่นอนในเรื่องที่ว่า จะมีการเพิ่มมาตรการพิเศษมาบังคับใช้อีกหรือไม่

 

โดยที่ว่าคณะกรรมการว่าด้วยเสถียรภาพทางการเงิน หรือ Financial Stability Board มีกำหนดที่จะออกข้อแนะนำชุดหนึ่งภายในเดือนพฤศจิกายน เพื่อเป็นทางเลือก ซึ่งรวมถึงการกำหนดเก็บค่าเซอร์ชาร์จ เพื่อรับมือกับปัญหาเดิมๆ ว่าด้วยสถาบันการเงินที่ “ใหญ่โตเกินกว่าจะปล่อยให้ล้ม”

 

ขอบคุณข่าว

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ย่ออีกเก็บอีก เพราะผมเชื่อว่าอนาคตทองไม่มีวันตายครับ

ซื้อแล้วปล่อยไปเรื่อยๆไม่หวั่นไหว ตามระบบอาจารย์เสมครับ ระยะยาวทองยังขึ้นไปได้อีกไกล

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เงินบาทที่แข็งค่าขึ้น

เศรษฐศาสตร์จานร้อน : ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ กรุงเทพธุรกิจ วันจันทร์ที่ 06 กันยายน พ.ศ. 2553

 

จะเห็นได้ว่าตั้งแต่ต้นปีถึงปลายสิงหาคมเงินบาทแข็งค่าขึ้นถึง 6.2% เทียบกับดอลลาร์ซึ่งแข็งเป็นที่ 3 รองลงมาจากเยนของญี่ปุ่น (9.5%) และริงกิตของมาเลเซีย (8%) บางประเทศเช่นจีนที่ตรึงค่าเงินหยวนกับดอลลาร์แทบจะไม่แข็งค่าขึ้นเลย ในขณะที่บางประเทศ เช่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน อังกฤษ ยุโรป และออสเตรเลีย ก็มีค่าเงินที่มีแนวโน้มอ่อนค่าลง เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ โดยเฉพาะเงินยูโรซึ่งอ่อนค่าลงไปถึง 11% เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์

 

แต่หากพิจารณาสถานการณ์ในเดือนสิงหาคม เงินบาทแข็งค่ากว่าเงินสกุลอื่น ยกเว้นญี่ปุ่นอย่างชัดเจน คือ แข็งขึ้น 2.9% ในขณะที่เงินยูโรอ่อนค่าลง 2.9% เงินรูเปี๊ยะห์ (อินโดนีเซีย) อ่อนค่าลง 1% และเงินออสเตรเลียอ่อนค่าลง 2% เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ หากแนวโน้มของค่าเงินบาทยังเป็นไปในทิศทางดังกล่าวต่อไปอีก ก็น่าจะส่งผลต่อการค้าระหว่างประเทศของไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยจะต้องดูว่าการไหลเข้าของเงินนั้น จะมากน้อยเพียงใดใน 4-5 เดือนข้างหน้า

 

ความต้องการซื้อเงินบาทโดยนำเอาเงินตราต่างประเทศ (ซึ่ง 80% คือเอาเงินดอลลาร์) มาแลกนั้นจะมาจาก 4 แหล่ง ซึ่งนับแต่ต้นปีมีมูลค่าเงินไหลเข้ารวม 405.2 พันล้านบาท คือ

 

1. การเกินดุลบัญชีเดินสะพัด (ม.ค.-ก.ค.) 177.9 พันล้านบาท

 

2. การเข้ามาซื้อพันธบัตรในประเทศไทย (ม.ค.-ส.ค.) 123.1 พันล้านบาท

 

3. การลงทุนโดยตรง (FDI) (ม.ค.-มิ.ย.) 86.2 พันล้านบาท

 

4. การเข้ามาซื้อหุ้นในประเทศไทย (ม.ค.-ส.ค.) 18 พันล้านบาท

 

ตัวเลขข้างต้นมีช่วงเวลาต่างกัน เนื่องจากข้อจำกัดเรื่องข้อมูล เช่น การลงทุนโดยตรงมีถึงเดือนมิถุนายนเท่านั้น ปัจจุบันน่าจะสูงกว่านี้ ตัวเลขการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดก็เช่นกัน แต่ที่น่าสังเกต คือ ต่างชาติได้นำเงินเข้ามาลงทุนในพันธบัตรไทยเป็นจำนวนถึง 123,100 ล้านบาท สูงกว่าการลงทุนในหุ้น 6 เท่า ทั้งนี้ น่าจะเป็นเพราะดอกเบี้ยไทยสูงกว่า ตปท. เช่น พันธบัตรรัฐบาลไทย 2 ปีให้ผลตอบแทน 2.4% ในขณะที่พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ 2 ปีให้ผลตอบแทน 0.5% ดังนั้น เมื่อสรุปได้ว่าไทยมีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่อง ทำให้ไม่น่าเป็นไปได้ว่าเงินบาทจะอ่อนค่า (แต่น่าจะมีแต่แข็งค่า) เมื่อเทียบกับดอลลาร์ ก็น่าจะเป็นแรงชักจูงให้ต่างชาติขนเงินมาลงทุนในพันธบัตรไทยซึ่งให้ผลตอบแทนสูงกว่าสหรัฐเกือบ 2% ต่อปี ทั้งนี้ การไหลเข้าของเงินนั้นมีข้อดีที่จะช่วยทำให้ดอกเบี้ยไทย (โดยเฉพาะดอกเบี้ยระยะยาว) ปรับลดลง แต่ก็จะทำให้ความต้องการปรับดอกเบี้ยขึ้นของธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อสกัดเงินเฟ้อมีความท้าทายอีกระดับหนึ่ง

 

นอกจากนั้น ก็ชัดเจนว่าการไหลเข้าของเงินจากต่างประเทศนั้น จะดำเนินต่อไปจนกระทั่งการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยปรับลดลงไปถึงระดับ ที่ทำให้นักลงทุนมีความไม่มั่นใจว่าเงินบาทจะมีทิศทางใด อ่อนหรือจะแข็งเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ เมื่อถึงจุดนั้น (ซึ่งไม่มีใครทราบว่าบาทจะต้องแข็งอีกเท่าใดจึงจะถึงระดับดังกล่าว) นักลงทุนก็จะมีความระมัดระวังในการนำเงินเข้ามาลงทุนในพันธบัตร เพราะแม้ว่าดอกเบี้ยพันธบัตรไทยจะสูงกว่าพันธบัตรสหรัฐ แต่หากเงินบาทต้องอ่อนค่าลง 1-2% ก็จะทำให้กำไรลดลงอย่างเห็นได้ชัด ดังนั้น หากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะเข้าแทรกแซงอย่างจำกัด เพียงเพื่อชะลอมิให้เงินบาทแข็งค่าเร็วเกินไป ก็หมายความว่า เสถียรภาพของเงินบาทจะเกิดขึ้น เมื่อดุลบัญชีเดินสะพัดปรับลดลงถึงจุดที่เหมาะสม ซึ่งหมายถึง การส่งออกที่จะต้องชะลอตัวลง ในขณะที่การนำเข้าก็จะต้องปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ ทั้งนี้ หากเป็นการนำเข้าสินค้าทุนเพื่อขยายกิจการภายในประเทศ ก็หมายความว่า ประเทศไทยจะ "ใช้" การแข็งค่าของเงินบาทอย่างคุ้มค่าที่สุด ดังนั้น ภารกิจที่สำคัญอันหนึ่ง คือ การสร้างเงื่อนไขให้มีทางเลือกในการลงทุนในประเทศมากขึ้น เพราะหากจะลงทุนเพื่อขยายการส่งออกก็คงจะเหนื่อย เพราะต้องเผชิญกับเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น และโครงการลงทุนขนาดใหญ่หลายโครงการในปัจจุบัน ก็ยังเผชิญกับปัญหาในเชิงกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม ทำให้ยังติดค้างอยู่จนกระทั่งปัจจุบัน ซึ่งแม้ว่าน่าจะคลี่คลายอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่ก็ส่งผลทางจิตวิทยาให้มองว่าลู่ทางการลงทุนในประเทศไทยนั้น ยังมีข้อจำกัดและความไม่แน่นอนค่อนข้างมาก

 

หากไม่สามารถขยายการลงทุนได้มาก การปรับลดดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยก็จะต้องมาจากการปรับลดลงของการส่งออกเป็นหลัก (ไม่ใช่การเพิ่มขึ้นของการนำเข้าสินค้าทุน) หรืออาจเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยก็เป็นได้ ซึ่งจะเป็นเรื่องที่น่าเสียดายที่เราไม่สามารถนำเอาเงินตราต่างประเทศไปใช้ได้อย่างคุ้มค่ากว่านี้ แต่หากมีแรงกดดันให้ ธปท.ตรึงค่าเงินบาทไม่ให้แข็งค่าจะมีข้อเสียหรือผลกระทบอย่างไรบ้าง คำตอบคือหากตรึงค่าเงินบาท โดยการขู่ว่าจะควบคุมการไหลเข้าของเงินก็อาจได้ผลชั่วคราว และต่อมาก็คงต้องตามด้วยมาตรการควบคุมจริง ซึ่งคงต้องทำอย่างระมัดระวัง เพราะหากมาตรการเข้มข้นจนเกินไปก็อาจส่งผลกระทบอย่างรุนแรงเช่นที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วเมื่อประกาศมาตรการตั้งสำรอง 30% เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2006 เป็นต้น

 

หาก ธปท.จะเข้าแทรกแซงค่าเงินบาทให้หนักหน่วงขึ้น คือ ขายเงินบาทและซื้อดอลลาร์จนเงินบาทไม่แข็งค่าคงจะต้องใช้เงินบาทจำนวนมาก ทำให้ปริมาณเงินบาทท่วมระบบและต้องดูดออกโดยการออกพันธบัตร ธปท. จำนวนมากเช่นกัน ซึ่งก็จะทำให้ ธปท. ประสบกับปัญหาการขาดทุนได้ เพราะเงินดอลลาร์ที่ถือมากขึ้นนั้นให้ดอกเบี้ยต่ำกว่าดอกเบี้ยที่จะต้องจ่ายให้ผู้ถือพันธบัตร ธปท. ดังนั้น จึงจะมีความเสี่ยงว่าการปรับปริมาณเงินบาท (sterilization) นั้น จะทำได้ไม่เต็มที่ ผลที่ตามมา คือ ในช่วงแรกเศรษฐกิจคึกคัก ราคาหุ้น ราคาอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น และอาจเกิดฟองสบู่ในบางสาขาเศรษฐกิจ และในที่สุด เงินเฟ้อก็จะปรับตัวขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น การส่งออกลดลงและการนำเข้าเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นอีกวิธีหนึ่งที่การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดจะปรับลดลง

 

สรุปได้ว่าไทยกำลังเดินมาถึงจุดที่การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดน่าจะต้องลดลง โดยมีทางเลือกอยู่ 5 ทาง คือ

 

1. เพิ่มการนำเข้าสินค้าทุนเพื่อพัฒนาประเทศตรงนี้เอกชนและรัฐบาลต้องร่วมกันสร้างโอกาสเพื่อการลงทุน

 

2. เพิ่มการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือย ซึ่งเป็นการใช้เงินที่ไม่เกื้อกูลเศรษฐกิจในอนาคต

 

3. ลดการส่งออกลงอย่างมาก เพราะไม่ได้นำเงินไปซื้อสินค้านำเข้า

 

4. ควบคุมการนำเข้าของเงินทุน ซึ่งเป็นการปิดโอกาสของประเทศในการนำเอาเงินทุนมาใช้ประโยชน์

 

5. ตรึงอัตราแลกเปลี่ยนต่อไป ซึ่งจะเสี่ยงต่อการสร้างเงินเฟ้อในประเทศ ลดการส่งออกและเพิ่มการนำเข้าในอนาคต

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

การขึ้นอัตราดอกเบี้ยรอบนี้จำเป็นเพียงใด

ปริเยศ พจชมานะวงศ์ เศรษฐกรอาวุโส ทีมกลยุทธ์นโยบายการเงิน 1 ธนาคารแห่งประเทศไทย กรุงเทพธุรกิจ วันอังคารที่ 07 กันยายน พ.ศ. 2553

 

บทความนี้ เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล จึงไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย

 

วิกฤติการเงินโลกที่ปะทุขึ้นในปี 2551 ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกเป็นวงกว้าง จากการชะลอตัวอย่างฉับพลันของความต้องการสินค้าส่งออกและการท่องเที่ยว และส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จึงตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 1.00 ต่อปีในเดือนธันวาคม 2551 นับว่ามากที่สุดในประวัติการณ์ของการดำเนินนโยบายการเงินภายใต้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ และต่อมาได้ปรับลดลงรวมกันอีกร้อยละ 1.50 ต่อปี ในการประชุมนโยบายการเงินอีก 3 ครั้งถัดมา ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ในระดับที่ผ่อนคลายเป็นพิเศษที่ร้อยละ 1.25 ต่อปี ทั้งนี้ เพื่อช่วยพยุงเศรษฐกิจในช่วงวิกฤติและลดความเสี่ยงของเศรษฐกิจขาลง

 

ต่อมา เมื่อเศรษฐกิจไทยเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ สะท้อนจากระดับของเครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจต่างๆ เช่น ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน การขยายตัวของสินเชื่อ การท่องเที่ยว รวมถึงภาคการส่งออกซึ่งเป็นแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติที่แท้จริง ในไตรมาสที่ 1 ของปีนี้ ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 12 ถือเป็นอัตราการเติบโตสูงที่สุดนับตั้งแต่ประเทศไทยเผชิญกับวิกฤติต้มยำกุ้ง และมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีในระยะต่อไป ซึ่งอาจเป็นแรงกดดันให้เงินเฟ้อปรับสูงขึ้น ดังนั้น คณะกรรมการได้มีมติขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งละร้อยละ 0.25 ต่อปี ในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม ถือเป็นการสิ้นสุดของอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำพิเศษ ซึ่งได้อยู่ในระดับนี้มาเป็นเวลากว่าปีเศษ

 

หลายท่านอาจสงสัย เศรษฐกิจเพิ่งจะเริ่มฟื้นตัว อัตราเงินเฟ้อก็ยังอยู่ในระดับไม่สูงมากนัก การขยายตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะสหรัฐ และยุโรป ก็ยังมีความเสี่ยงอยู่ ทำไมจึงต้องรีบขึ้นอัตราดอกเบี้ย รังแต่จะเป็นการเพิ่มภาระดอกเบี้ยให้แก่ภาคธุรกิจและผู้บริโภค

 

ความจำเป็นของการนำอัตราดอกเบี้ยเข้าสู่ระดับปกติ และเหมาะสมกับภาวะการเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือที่เรียกกันว่า Monetary Policy Normalization มีเหตุผลดังต่อไปนี้ 1. ระดับของอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 1.25 ต่อปี ถือเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ไม่ปกติ เพราะเป็นอัตราที่ต่ำเป็นพิเศษที่ใช้เพื่อประคับประคองในช่วงที่เศรษฐกิจ มีปัญหาจากผลกระทบของวิกฤติการเงินโลก จึงน่าจะไม่เหมาะสมที่จะคงอัตราต่ำนี้ต่อไปในช่วงที่เศรษฐกิจกลับสู่ภาวะปกติ และมีแนวโน้มจะขยายตัวเองได้ 2. อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำเป็นระยะเวลานานเกินความจำเป็น จะก่อให้เกิดพฤติกรรมการเก็งกำไร และมีการใช้จ่ายที่เกินตัวจนต้องไปกู้หนี้ยืมสิน ที่เกินความเหมาะสม ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะยาว เนื่องจากนักลงทุนและประชาชนจะหันไปลงทุนในสินทรัพย์อื่นๆ ที่ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าการฝากเงินไว้กับธนาคาร 3. นอกจากนี้ ภาคสถาบันการเงินก็อาจเกิดพฤติกรรมการเก็งกำไรได้เช่นกัน และอาจปล่อยสินเชื่อที่ต่ำกว่ามาตรฐานและไม่ระมัดระวัง เพราะเกรงว่าจะเสียสัดส่วนทางการตลาดสินเชื่อให้แก่คู่แข่ง เมื่อเป็นเช่นนี้ อัตราส่วนหนี้เสียต่อสินเชื่อรวมจะมีมากขึ้น และส่งผลต่อฐานะของสถาบันการเงินได้ในระยะต่อไป

 

ดังนั้น การคงอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำเป็นพิเศษเป็นระยะเวลานานเกินไป แทนที่จะช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ กลับจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้แก่เศรษฐกิจ และอาจจะต้องกลับมาแก้ไขปัญหากันในช่วงถัดไป ทั้งนี้ แม้สัญญาณของการเกิดฟองสบู่ หรือพฤติกรรมการเก็งกำไรในสินทรัพย์ต่างๆ ของประเทศไทยในขณะนี้ ยังไม่มีความชัดเจนนัก แต่ไม่ใช่ว่าเราควรจะเพิกเฉยต่อสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น อีกทั้งเครื่องชี้ทางเศรษฐกิจต่างๆ ก็ได้สะท้อนถึงการกลับเข้าสู่ภาวะปกติของเศรษฐกิจ จึงมีความจำเป็นที่อัตราดอกเบี้ย จะต้องกลับเข้าสู่ระดับปกติด้วยเช่นกัน

 

แน่นอนว่า ดอกเบี้ยที่สูงขึ้นย่อมกระทบต่อต้นทุนทางธุรกิจ แต่การเปลี่ยนแปลงดอกเบี้ยเป็นวัฏจักรที่มีขึ้นและลง ในช่วงดอกเบี้ยขาลงธุรกิจก็ได้ประโยชน์เพิ่มขึ้น แต่ช่วงขาขึ้นก็จะต้องปรับตัว เช่น เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และลดต้นทุนการผลิต ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างถาวรต่อการดำเนินธุรกิจ ในด้านผู้ที่ต้องพึ่งพารายได้ดอกเบี้ย เช่น ผู้สูงอายุ ก็จะได้ประโยชน์เพิ่มขึ้นจากดอกเบี้ยขาขึ้นในช่วงนี้

 

การดูแลเศรษฐกิจก็เปรียบเสมือนการควบคุมจังหวะดนตรีในวงออร์เคสตรา หากวาทยกรเร่งให้นักดนตรีเล่นแต่จังหวะที่เร่าร้อน ย่อมทำให้ผู้ฟังรู้สึกตื่นเต้นและสนุก แต่นักดนตรีก็จะเล่นได้ไม่นานเพราะต้องใช้ความพยายามมาก แต่ถ้าคอยควบคุมให้มีจังหวะช้าและอ่อนนุ่มแทรกบ้างสลับกันไป ก็จะเป็นบทเพลงที่มีชีวิตชีวาและน่าฟัง และทำให้ผู้ฟังสามารถดื่มด่ำกับบทเพลงได้ยาวนานกว่า

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คุณ Seam888 ไปไหนครับ Set50 อาการหนักครับเอาไงดีครับ !01

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น
:blink: น่านจิ คุณส้มโอมือ จารย์เสมหายปายหนายอ่ะ อิอิ ขอบคุณข่าวสารของคุณส้มโอมือด้วยนะ อิอิ:lol:

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เสถียรภาพของค่าเงินบาท

คอลัมน์ เศรษฐกิจต้องรู้ โดย ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 06 กันยายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 34 ฉบับที่ 4242

 

โดยทั่วไปแล้วเราจะได้รับความรู้สึกว่า การแข็งค่าของเงินบาทเป็นสิ่งที่ไม่ดี เพราะจะทำให้เราแข่งขันในการขายสินค้าส่งออกไม่ได้ เช่น หากต้นทุนการผลิตสินค้าเท่ากับ 30 บาท ขณะที่ค่าเงินบาทเท่ากับ 30 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์ เราจะขายสินค้าในตลาดโลกได้ในราคา 1 ดอลลาร์ แต่หากเงินบาทแข็ง ค่าขึ้นเป็น 25 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์ สินค้าเดียวกันก็จะต้องขายในตลาดโลกที่ราคา 1.20 ดอลลาร์ เท่ากับราคาปรับสูงขึ้นถึง 20%

 

การส่งออกทำให้มีรายได้ซึ่งเป็นการนำมาซึ่งการกระจายความมั่งคั่งไปสู่เจ้าของกิจการ (กำไร) พนักงาน (เงินเดือน) และผู้ผลิตวัตถุดิบ ตลอดจนผู้ให้บริการต่าง ๆ เช่น ไฟฟ้า โทรศัพท์ ฯลฯ ดังนั้นการส่งออกจึงเป็นหัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนการขยายตัวของเศรษฐกิจ ทั้งนี้จีดีพีโลก (กำลังซื้อ) มีมูลค่าสูงถึง 55 ล้านล้านเหรียญ ในขณะที่การส่งออกของไทยมีมูลค่าเพียง 2 แสนล้านเหรียญ ตลาดโลกจึงเป็นตลาดที่ไม่มีข้อจำกัดเรื่องขนาดเมื่อเทียบกับการบริโภคภายในประเทศ ซึ่งมีมูลค่า 160,000 ล้านเหรียญ ประเด็นสุดท้ายคือการส่งออกนั้นทำให้ไทยได้รับเงินตราต่างประเทศ ซึ่งเราจำเป็นต้องใช้ในการซื้อสินค้าและบริการที่เราผลิตเองไม่ได้ เช่น น้ำมันและเครื่องบิน เป็นต้น

 

ความเข้าใจข้างต้นนั้นถูกต้องแต่ไม่ครบถ้วน และส่วนที่ขาดไปเป็นส่วนสำคัญที่ผมอยากจะขยายความเพิ่มเติม ประเด็นแรกคือการส่งออกนั้นเป็นการขายสินค้าหรือบริการโดยสิ่งที่แตกต่างจากการขายสินค้าในประเทศ คือเป็นการขายสินค้าให้กับ ต่างชาติและได้รับเงินสกุลต่างประเทศ แปลว่าผู้ที่ได้รับประโยชน์จากการบริโภคคือคนต่างชาติ ดังนั้นการผลิตเพื่อการส่งออกคือการที่คนต่างชาติเป็นผู้ได้ประโยชน์จากสินค้าไทย ส่วนสิ่งที่คนไทยได้รับคือเงินตราต่างประเทศหรืออำนาจซื้อสินค้าต่างประเทศ แต่หากประเทศไทยส่งออกมากแต่นำเข้าสินค้าน้อยดังปัจจุบัน (ปีที่แล้วไทยส่งออกมากกว่านำเข้า 600,000 ล้านบาท และในปีนี้ก็น่าจะเกินดุลอีก 4-500,000 ล้านบาท) ก็แปลว่าเราสะสมกำลังซื้อสินค้าต่างประเทศในรูปของทุนสำรองระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้น

 

อีกวิธีหนึ่งที่ประเทศไทยสะสมกำลังซื้อสินค้าต่างประเทศ คือการไหลเข้าของเงินลงทุนจากต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเงินลงทุนทางตรง ซื้อตราสารหนี้หรือหุ้น รวมทั้งการส่งเสริมต่างชาติเข้ามาลงทุนสร้างโรงงานในไทยเพื่อส่งออก ซึ่งยิ่งจะทำให้มีเงินทุนไหลเข้าในอนาคต เช่น ส่งเสริมให้ญี่ปุ่นตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ประหยัดน้ำมัน ซึ่งญี่ปุ่นตั้งเป้าว่าจะผลิตเพื่อขายในไทย 30% และส่งออก 70% แปลว่าการลงทุนดังกล่าวจะยิ่งทำให้ไทยมีเงินตราต่างประเทศเหลือใช้มากขึ้น

 

อีกปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้เงินไหลเข้า คือ การปรับขึ้นดอกเบี้ยเพื่อลดแรงกดดันของเงินเฟ้อ ขณะที่อเมริกากดดอกเบี้ยเหลือศูนย์ ทำให้ส่วนต่างของดอกเบี้ยไทยกับสหรัฐเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ต่างชาตินำเงินเข้ามาลงทุนในไทย เช่น พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ 2 ปี ให้ดอกเบี้ยที่ 0.5% ขณะที่พันธบัตรรัฐบาลไทย 2 ปี ให้ดอกเบี้ยสูงถึง 2.4% ประกอบกับการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างทำให้ไม่ต้องกลัวว่าเงินบาทจะอ่อนค่าและทำให้ขาดทุน ตรงกันข้ามเงินบาทมีแต่จะแข็งค่าทำให้กำไรมีแต่จะเพิ่มขึ้น ดังนั้นในบางขณะการไหลเข้าของเงินจากต่างประเทศจึงมีปริมาณสูงมากเพราะเสมือนว่าเป็นการลงทุนที่มีแต่ทางได้ไม่มีเสีย (one-way bet)

 

ดังนั้น รัฐบาลจึงมักจะร้องขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เข้ามา "ดูแลเสถียรภาพของค่าเงินบาท" แปลว่าให้เข้าไปแทรกแซงไม่ให้เงินบาทแข็งค่าเพราะต้องการให้การส่งออกไปได้ดีและเศรษฐกิจขยายตัวต่อเนื่อง คำถามคือการเข้าไปแทรกแซงดังกล่าวนั้นมีผลพวงอย่างไรต่อเศรษฐกิจ และในที่สุดแล้วเป็นการบริหารจัดการที่ถูกต้องหรือไม่ ซึ่งคำตอบของผมคือผลเสียมีมากกว่าผลดี โดยผล จะขอไล่เรียงขั้นตอนและผลกระทบให้เห็นครับ

 

การเข้ามากดไม่ให้เงินบาทแข็งค่านั้น ธปท.ทำได้โดยการขายเงินบาทออกมาในตลาด (หากเราอยากเห็นสินค้าราคาลดลงเราต้องขายสินค้าดังกล่าวออกสู่ตลาด) โดยแลกซื้อเงินดอลลาร์ (หากเราต้องการให้สินค้าเช่นข้าวราคาสูงขึ้นเราต้องพยุงราคาโดยการซื้อสินค้าดังกล่าว) มาเก็บไว้ ดังนั้นการที่ไทยเกินดุลการค้า ดุลบัญชีเดินสะพัด และดุลชำระเงินอย่างต่อเนื่อง (คือการมีเงินดอลลาร์ไหลเข้าสุทธิ) ทำให้ทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง ปัจจุบันมีมูลค่าประมาณครึ่งหนึ่งของจีดีพีคือ 5 ล้านล้านบาท

 

การเก็บเงินเอาไว้เฉย ๆ เป็นจำนวนมากเช่นนี้ไม่ปกติ ตัวอย่างเช่น หากท่านผู้อ่านมีรายได้ 100,000 บาทต่อปี ท่านคงไม่เก็บเงินสดเอาไว้เฉย ๆ สูงถึง 50,000 บาทเช่นที่ประเทศไทยทำอยู่ในขณะนี้ แต่ทุนสำรองระหว่างประเทศนั้นจะนำไปให้รัฐบาลเอาไปใช้กระตุ้นเศรษฐกิจโดยตรงไม่ได้ เพราะเงินทุนดังกล่าวเป็นเงินตราต่างประเทศจึงใช้ได้เฉพาะเพื่อซื้อสินค้าและบริการในต่างประเทศ

 

การจะใช้ทุนสำรองระหว่างประเทศที่มีมากเกินไป จึงทำได้โดยการปล่อยให้เงินบาทแข็งค่า เพราะการแข็งค่าจะทำให้สินค้านำเข้าราคาลดลงเมื่อคิดเป็นเงินบาท ขณะเดียวกันก็จะทำให้สินค้าที่เคยส่งออกไม่สามารถส่งออกได้ต้องหันมาขายในประเทศแทน ดังนั้นการปล่อยให้เงินบาทแข็งจึงเป็นการทำให้มีสินค้าและบริการหมุนเวียนในประเทศเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นการเพิ่มความมั่งคั่งให้กับคนไทยอย่างแท้จริงเมื่อเปรียบเทียบกับการเก็บ "กระดาษ" เอาไว้ที่ ธปท. เช่นหาก 20 บาท = 1 ดอลลาร์ คนไทยก็จะร่ำรวยขึ้นเพราะกำลังซื้อจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก หากมีการขาดดุลการค้าบ้าง ก็เป็นการแลกกับการบริโภคสินค้านำเข้าไม่ว่าจะเป็นสินค้าอุปโภคบริโภคหรือสินค้าทุน

 

นอกจากนั้น การปล่อยให้เงินบาทแข็งก็ยังช่วยลดแรงกดดันเงินเฟ้ออีกด้วย เพราะสินค้าที่ผลิตเพื่อส่งออกและบริโภคในประเทศ (เช่นข้าว) ราคาก็จะลดลง สินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศเมื่อคิดเป็นเงินบาทก็จะลดลงเช่นกัน ดังนั้นประเทศที่เงินแข็งค่าจึงมีความจำเป็นที่จะปรับขึ้นดอกเบี้ย น้อยลง อาจบอกว่าทุนสำรองที่มีมากขึ้นนั้นเป็นสิ่งที่ดี เพราะสร้างความมั่นคงให้กับเศรษฐกิจ ดังนั้นหากทุนสำรองจะเพิ่มขึ้นเป็น 60% หรือ 100% ของจีดีพีก็ไม่น่าจะเสียหายอะไร คำตอบของผมคือ ขอให้ท่านลองถามตัวเองว่า ท่านมีเงินสดทิ้งเอาไว้ที่บ้านเท่ากับ 50% ของรายได้ของท่านหรือไม่ แต่ข้อคิดที่สำคัญนั้นมี 2 ข้อหลัก คือ 1.เงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่มีอยู่มากและเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นั้นคงเก็บเอาไว้ในสกุลหลักได้เพียง 3 สกุล คือ ดอลลาร์สหรัฐ เยน และยูโร ซึ่งแต่ละสกุลนั้นมีความผันผวนและความเสี่ยง (ขอให้ท่านลอง ถามตัวเองว่าท่านอยากถือเงินสกุลใดใน 3 สกุล) โดยเฉพาะเงินดอลลาร์ ซึ่งธนาคารกลางพิมพ์เงินออกมาเป็นจำนวนมากเพื่อกดดอกเบี้ยลดลงเหลือศูนย์กล่าวคือ เราจะเก็บ "กระดาษสีเขียว" ดังกล่าวเอาไว้เป็นจำนวนมากเกินพอทำไม

 

ข้อคิดที่ 2 คือ เมื่อ ธปท.ซื้อดอลลาร์และขายเงินบาทเพื่อ "ดูแลเสถียรภาพของเงินบาท" นั้นย่อมทำให้ปริมาณเงินบาทล้นระบบ และหากปล่อยไว้ก็จะทำให้ ดอกเบี้ยต้องปรับลดลง แต่ ธปท. ต้องการปรับขึ้นดอกเบี้ยเพื่อจัดการกับเงินเฟ้อ ดังนั้นจึงต้องดึงเงินบาทออกจากระบบโดยการออกพันธบัตร ธปท.ที่หลายคนก็คงได้ลงทุนซื้อมาเก็บไว้ หมายความว่าในการเพิ่มสินทรัพย์ที่เป็นเงินดอลลาร์นั้น ธปท.ต้องเพิ่มหนี้สินที่เป็นเงินบาท (ซึ่งปัจจุบันเท่ากับ 3 ล้านล้านบาท) ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าเงินบาทมีแต่จะแข็งค่าขึ้นและยิ่งดูแลให้บาทอ่อนเพื่อส่งออกมากและนำเข้าน้อย นานเท่าไร ก็ยิ่งจะทำให้การ "ขาดทุน" ของ ธปท.เพิ่มขึ้น ทำให้ ธปท.ไม่สามารถลดหนี้กองทุนฟื้นฟูมูลค่า 1.1 ล้านล้านบาท ซึ่งรัฐบาลเป็นผู้จ่ายดอกเบี้ยตลอดมา 10 ปี ปีละ 5-6 หมื่นล้านบาท

 

การ "ดูแลค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพ" จึงมีภาระและผลกระทบมากมาย และหาก "เอาไม่อยู่" ก็จะมีทางเลือกที่จะแก้ปัญหาเฉพาะหน้า 2 ทางเลือก คือ 1.ปล่อยให้เงินเฟ้อในประเทศเพิ่มขึ้น หรือ 2.ออกมาตรการการควบคุมการนำเข้าของเงินทุน เว้นแต่จะมีปรากฏการณ์ที่ไม่คาดฝัน เช่น ราคาน้ำมันปรับเพิ่มขึ้น เป็น 150 เหรียญ ทำให้ไทยกลับมาขาดดุลการค้าโดยฉับพลัน หรือเศรษฐกิจโลกตกต่ำทำให้นักลงทุนหนีความเสี่ยงหันมา ถือดอลลาร์เช่นที่เกิดขึ้นใน ปี 2008 ครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เสถียรภาพของค่าเงินบาท

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ทองคำถือต่อไป All time new high ใครไม่มีของ ทองย่อเมื่อไรเข้าตอนนั้น

SET ระบบเเดงเเล้วเมื่อวานนี้ วันนี้ ขายทิ้งให้หมด

น้ำมันจะขึ้นไปเเตะ $80

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

SET รอบนี้กำไรพอเพียงนะครับ

สัญญาละ 65-70 จุดเองสำหรับ TFEX

 

 

เอาเงินไปทำบุญทำทานบ้างงงงนะกร้าบบบบบบบบ

ทุกท่านลดความตะหนี่ของตัวเองนะกร้าบบบบบบบ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...