ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

ทองคำแท่งระบบ เขียว

 

ทองคำ GF ระบบแดง

 

ทำไมถึงต่า่งกันครับ ในเมื่อ ลงทุนทองคำเหมือนกัน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณมากๆๆครับคุณเสม ขอทำตามคุณเสม และทำตามระบบเหมือนเดิมครับผม

 

!01 !01 !01 !01 !01 !01 !01 !01

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น
:) ขอบตุณจารย์เสมและคุณส้มโอมือมากมาโพสกราฟโพสข่าวให้เป็นแนวทางการลงทุนให้กัน แต่ที่สำคัญที่สุดก้อมีหลักไม่โดดเดี่ยวไมโครโฟนอยู่คนเดียว อิอิ ขอให้มีความสุขในวีคเอ้นนี้ด้วยอ่ะ อิอิ:D

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณ คุณเสมค่ะ โกลสปอตแดงด้วยป่าวค่ะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณ คุณเสมค่ะ โกลสปอตแดงด้วยป่าวค่ะ

 

 

ระยะวัน (ใช้กับ gf) แดงครับ ใช้ hi-lo3 ราคาตำสุดของเมื่อวานต่ำกว่า 3 วันก่อนเมื่อวาน ระบบจะแดง

 

ระยะวีค (ใช้กับทองแท่ง)เขียว ถ้าจะแดงราคาอาทิตย์หน้าต้องต่ำกว่า 1210 ครับ

 

 

:D

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วันโลกาวินาศแห่งศก.สหรัฐฯ จะได้เห็นกันในเร็ววันแน่นอน

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 12 กันยายน 2553 20:40 น.

 

 

 

 

 

เอเอฟพี - ระบบเศรษฐกิจรายใหญ่โตที่สุดของโลก ซึ่งก็คือสหรัฐอเมริกา ได้ตกต่ำลงสู่ขอบเหวแห่งการล่มสลายแล้ว เพราะถูกบีบคั้นรอบด้านด้วยปัญหาการว่างงานและปัญหาหนี้ภาครัฐที่ควงสว่านลงสู่ก้นบึ้งของอเวจี เสียงเตือนในประการนี้จากบรรดานักเศรษฐศาสตร์ค่ายต่างๆ นับวันแต่จะสะท้อนก้องกังวานไปทั่ววงการ

 

อาทิ กูรูคนดังอย่าง นูรีล รูบินี ผู้เป็นนักเศรษฐศาสตร์คนแรกๆ ที่เตือนถึงหายนะแห่งวิกฤตตลาดหนี้สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์กลุ่มซับไพรม์ ตลอดจนเตือนว่าภาวะฟองสบู่ในตลาดบ้านที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯ จะแตกสลายอย่างแน่นอน

 

เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา รูบินีกล่าวต่อที่ประชุมทางเศรษฐกิจในอิตาลีว่า “สหรัฐฯ นั้น ใช้บุญเก่าหมดแล้ว หากเกิดแรงกระแทกช็อกเข้าไปครั้งใด จะสามารถดึงสหรัฐฯ กลับเข้าสู่ภาวะถดถอยได้”

 

ขณะเดียวกัน นักเศรษฐศาสตร์อื่นๆ ที่อาจไม่ได้เป็นข่าวบ่อยเท่ารูบินี ก็พากันเรียงหน้าเทกันมาในข้างที่เห็นนิมิตอันตรายในระบบเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ภายในอนาคตอันใกล้นี้

 

ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยบอสตัน ลอเรนซ์ คอตลิคอฟฟ์ ซึ่งเตือนไว้นานมากแล้วตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 ว่าให้ระวังอันตรายจากการเดินนโยบายสาธารณะแบบขาดดุล ได้ออกมาย้ำอีกครั้งถึงลางมรณะของระบบเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยกล่าวไว้ในสิ่งพิมพ์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) คือ นิตยสาร F&D Finance & Development Magazine ฉบับเดือนกันยายน 2010 ที่เผยแพร่เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

 

โดยมีการนำเสนอภาพการปะทะกันทางเศรษฐกิจระหว่างสองมหาอำนาจของโลก คือ สหรัฐฯ กับจีน ประเทศซึ่งถือพันธบัตรกระทรวงการคลังอเมริกันไว้มากกว่า 843,000 ล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ ท่านศาสตราจารย์ชี้ประเด็นว่า

 

ความขัดแย้งด้านการค้าอันเป็นประเด็นเล็กๆ ระหว่างสหรัฐฯ กับจีน อาจทำให้คนบางกลุ่มคิดว่า คนอื่นๆ อาจตัดสินใจเทขายระบายความเสี่ยงในการถือพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ และเมื่อความเชื่ออย่างนั้นถูกสำทับด้วยความวิตกในภาวะเงินเฟ้อ ย่อมอาจนำไปสู่การแตกตื่นเทกระจาดขายพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อย่างบ้าคลั่ง พร้อมกับส่งผลไปกระตุ้นให้สาธารณชนผวาถึงเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจ และโกลาหลกันไปถอนเงินฝากออกจากธนาคาร เพื่อไปซื้อสินทรัพย์ที่คงทนกว่า

 

สิ่งที่ตามมาคือ การจุดชนวนให้เกิดภาวะสภาพคล่องฝืดเคืองรุนแรงในแวดวงของบรรดาธนาคารพาณิชย์และตลาดเงิน ตลอดจนบริษัทประกันภัยทั้งปวงเพราะผู้ถือกรมธรรม์ขอไถ่ถอนเพื่อหาความปลอดภัยให้ตนเอง

 

“ในระยะเวลาเพียงสั้นแบบนั้น ธนาคารกลางสหรัฐฯ ย่อมต้องออกธนบัตรเพิ่มขึ้นมาหลายล้านล้านดอลลาร์ เพื่อแก้ปัญหาและสร้างหลักประกัน แล้วเงินใหม่เหล่านั้นย่อมจะทวีความรุนแรงของปัญหาเงินเฟ้อ จนอาจทำให้ถึงขึ้นไฮเปอร์” ศ.คอตลิคอฟฟ์เขียนเตือน

 

ด้านสถาบัน StrategyOne Institute รายงานเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (10) ในเรื่องผลการสำรวจความวิตกต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยรอบใหม่ พบว่าชาวอเมริกัน 65% เชื่อว่าจะต้องเกิดขึ้นแน่

 

เดวิด บรูกส์ ผู้เขียนบทนำของหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ นำเสนอไว้ว่า

 

“เป็นความจริงที่ว่า ปัญหาเศรษฐกิจในปัจจุบันเป็นปัญหาระดับโครงสร้าง มิใช่ปัญหาชั่วคราวที่มาๆ ไปๆ ตามวงจรขึ้นลง”

 

นอกจากนั้น บรูกส์ชี้ว่า สหรัฐฯ ทยอยสูญเสียพลังการครอบงำโลก ในลักษณะที่คล้ายมากกับตอนที่อาณาจักรอังกฤษเริ่มเสื่อมสลายเมื่อกว่าหนึ่งศตวรรษที่ผ่านมา

 

“เราอยู่ในท่ามกลางการฟื้นตัวของปัญหาว่างงานรอบใหม่ ความยากลำบากในตลาดแรงงานของเรานั้นลึกซึ้งและตึงตัวมาก” บรูกส์ระบุไว้อย่างนั้น

 

ในเวลาเดียวกัน จอมกูรูคนดังระดับโลกอย่างพอล ครุกแมน เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ แสดงความกังวลถึงชะตากรรมย่ำแย่ที่จะเกิดขึ้นกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่ขณะนี้ยังเปราะบางมาก โดยเตือนไม่ให้ประชาชนวิ่งกลับไปดึงพรรครีพับลิกันได้กลับสู่อำนาจ

 

“ยากที่จะบอกได้ว่ามันจะเสียหายรุนแรงเพียงใดกับความคิดที่เสนอเมื่อต้นสัปดาห์นี้โดย จอห์น โบห์เนอร์ ผู้นำเสียข้างน้อยในสภาผู้แทนฯ ถ้าแนวคิดดังกล่าวถูกนำไปดำเนินการจริง” ครุกแมนเขียนไว้ในบทบรรณาธิการเมื่อเร็วๆ นี้ โดยฟันธงด้วยว่า

 

“มันคือการที่ปริมาณงานน้อยลงผนวกดับการขาดดุลที่มหาศาลมากขึ้น - ช่างเป็นการผสมผสานที่ลงตัวสมบูรณ์เหลือเกิน”

 

ส่วนหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีท เจอร์นัล ซึ่งปกติจะเชียร์ข้อเรียกร้องของโบห์เนอร์ในเรื่องหั่นภาษี กลับนำเสนอบทวิจารณ์เขียนโดย เวอร์นอน สมิธ นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลอีกผู้หนึ่ง ที่พูดฟันธงว่า “ข้อเท็จจริงนี้จำเป็นที่เราจะต้องกล้าเข้าไปเผชิญ นั่นคือ แทบจะเป็นที่แน่นอนแล้วว่าเราจะถูกตีกระหน่ำอย่างยาวนาน”

 

และไอเอ็มเอฟเอกก็ส่งเสียงเตือนเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาเช่นกันว่า หนี้ของสหรัฐฯ ซึ่งอยู่ในระดับที่สูงอย่างเหลือเกิน ประกอบกับภาคการเงินที่สั่นคลอน กำลังคุกคามว่าจะทำให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ล้มเหลว

 

“การยึดจำนองและขายทอดตลาดสินทรัพย์ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯ นั้น นับว่ามหาศาลและขยายขึ้นเรื่อยๆ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะช่วงของการให้ยกเว้นภาษีแก่ผู้ซื้อได้หมดรอบลง สิ่งนี้อาจยิ่งซ้ำเติมสภาพย่ำแย่ในด้านของระดับราคาอสังหาริมทรัพย์สาหัสมากยิ่งๆ ขึ้นไป” ไอเอ็มเอฟร้องเตือนไว้อย่างนั้น

 

----------------------------------------------------------------------------------------------------

ที่ผมเคยอ่านมา ประวัติศาสต์ที่ผ่านมานั้น อาณาจักรที่ยิ่งใหญ่มากๆก่อนที่จะสูญเสียความเป็นผู้นำจะมีปัญหาต่างๆหลายด้าน แต่เมื่อไรก็ตามเมื่อค่าเงินของอาณาจักรนั้นมีปัญหาก็แทบจะฟันธงได้เลยครับว่าอาณาจักรนั้นกำลังจะสูญเสียความเป็นผู้นำแล้ว

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วันโลกาวินาศแห่งศก.สหรัฐฯ จะได้เห็นกันในเร็ววันแน่นอน

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 12 กันยายน 2553 20:40 น.

 

 

 

 

 

เอเอฟพี - ระบบเศรษฐกิจรายใหญ่โตที่สุดของโลก ซึ่งก็คือสหรัฐอเมริกา ได้ตกต่ำลงสู่ขอบเหวแห่งการล่มสลายแล้ว เพราะถูกบีบคั้นรอบด้านด้วยปัญหาการว่างงานและปัญหาหนี้ภาครัฐที่ควงสว่านลงสู่ก้นบึ้งของอเวจี เสียงเตือนในประการนี้จากบรรดานักเศรษฐศาสตร์ค่ายต่างๆ นับวันแต่จะสะท้อนก้องกังวานไปทั่ววงการ

 

อาทิ กูรูคนดังอย่าง นูรีล รูบินี ผู้เป็นนักเศรษฐศาสตร์คนแรกๆ ที่เตือนถึงหายนะแห่งวิกฤตตลาดหนี้สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์กลุ่มซับไพรม์ ตลอดจนเตือนว่าภาวะฟองสบู่ในตลาดบ้านที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯ จะแตกสลายอย่างแน่นอน

 

เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา รูบินีกล่าวต่อที่ประชุมทางเศรษฐกิจในอิตาลีว่า “สหรัฐฯ นั้น ใช้บุญเก่าหมดแล้ว หากเกิดแรงกระแทกช็อกเข้าไปครั้งใด จะสามารถดึงสหรัฐฯ กลับเข้าสู่ภาวะถดถอยได้”

 

ขณะเดียวกัน นักเศรษฐศาสตร์อื่นๆ ที่อาจไม่ได้เป็นข่าวบ่อยเท่ารูบินี ก็พากันเรียงหน้าเทกันมาในข้างที่เห็นนิมิตอันตรายในระบบเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ภายในอนาคตอันใกล้นี้

 

ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยบอสตัน ลอเรนซ์ คอตลิคอฟฟ์ ซึ่งเตือนไว้นานมากแล้วตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 ว่าให้ระวังอันตรายจากการเดินนโยบายสาธารณะแบบขาดดุล ได้ออกมาย้ำอีกครั้งถึงลางมรณะของระบบเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยกล่าวไว้ในสิ่งพิมพ์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) คือ นิตยสาร F&D Finance & Development Magazine ฉบับเดือนกันยายน 2010 ที่เผยแพร่เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

 

โดยมีการนำเสนอภาพการปะทะกันทางเศรษฐกิจระหว่างสองมหาอำนาจของโลก คือ สหรัฐฯ กับจีน ประเทศซึ่งถือพันธบัตรกระทรวงการคลังอเมริกันไว้มากกว่า 843,000 ล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ ท่านศาสตราจารย์ชี้ประเด็นว่า

 

ความขัดแย้งด้านการค้าอันเป็นประเด็นเล็กๆ ระหว่างสหรัฐฯ กับจีน อาจทำให้คนบางกลุ่มคิดว่า คนอื่นๆ อาจตัดสินใจเทขายระบายความเสี่ยงในการถือพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ และเมื่อความเชื่ออย่างนั้นถูกสำทับด้วยความวิตกในภาวะเงินเฟ้อ ย่อมอาจนำไปสู่การแตกตื่นเทกระจาดขายพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อย่างบ้าคลั่ง พร้อมกับส่งผลไปกระตุ้นให้สาธารณชนผวาถึงเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจ และโกลาหลกันไปถอนเงินฝากออกจากธนาคาร เพื่อไปซื้อสินทรัพย์ที่คงทนกว่า

 

สิ่งที่ตามมาคือ การจุดชนวนให้เกิดภาวะสภาพคล่องฝืดเคืองรุนแรงในแวดวงของบรรดาธนาคารพาณิชย์และตลาดเงิน ตลอดจนบริษัทประกันภัยทั้งปวงเพราะผู้ถือกรมธรรม์ขอไถ่ถอนเพื่อหาความปลอดภัยให้ตนเอง

 

“ในระยะเวลาเพียงสั้นแบบนั้น ธนาคารกลางสหรัฐฯ ย่อมต้องออกธนบัตรเพิ่มขึ้นมาหลายล้านล้านดอลลาร์ เพื่อแก้ปัญหาและสร้างหลักประกัน แล้วเงินใหม่เหล่านั้นย่อมจะทวีความรุนแรงของปัญหาเงินเฟ้อ จนอาจทำให้ถึงขึ้นไฮเปอร์” ศ.คอตลิคอฟฟ์เขียนเตือน

 

ด้านสถาบัน StrategyOne Institute รายงานเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (10) ในเรื่องผลการสำรวจความวิตกต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยรอบใหม่ พบว่าชาวอเมริกัน 65% เชื่อว่าจะต้องเกิดขึ้นแน่

 

เดวิด บรูกส์ ผู้เขียนบทนำของหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ นำเสนอไว้ว่า

 

“เป็นความจริงที่ว่า ปัญหาเศรษฐกิจในปัจจุบันเป็นปัญหาระดับโครงสร้าง มิใช่ปัญหาชั่วคราวที่มาๆ ไปๆ ตามวงจรขึ้นลง”

 

นอกจากนั้น บรูกส์ชี้ว่า สหรัฐฯ ทยอยสูญเสียพลังการครอบงำโลก ในลักษณะที่คล้ายมากกับตอนที่อาณาจักรอังกฤษเริ่มเสื่อมสลายเมื่อกว่าหนึ่งศตวรรษที่ผ่านมา

 

“เราอยู่ในท่ามกลางการฟื้นตัวของปัญหาว่างงานรอบใหม่ ความยากลำบากในตลาดแรงงานของเรานั้นลึกซึ้งและตึงตัวมาก” บรูกส์ระบุไว้อย่างนั้น

 

ในเวลาเดียวกัน จอมกูรูคนดังระดับโลกอย่างพอล ครุกแมน เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ แสดงความกังวลถึงชะตากรรมย่ำแย่ที่จะเกิดขึ้นกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่ขณะนี้ยังเปราะบางมาก โดยเตือนไม่ให้ประชาชนวิ่งกลับไปดึงพรรครีพับลิกันได้กลับสู่อำนาจ

 

“ยากที่จะบอกได้ว่ามันจะเสียหายรุนแรงเพียงใดกับความคิดที่เสนอเมื่อต้นสัปดาห์นี้โดย จอห์น โบห์เนอร์ ผู้นำเสียข้างน้อยในสภาผู้แทนฯ ถ้าแนวคิดดังกล่าวถูกนำไปดำเนินการจริง” ครุกแมนเขียนไว้ในบทบรรณาธิการเมื่อเร็วๆ นี้ โดยฟันธงด้วยว่า

 

“มันคือการที่ปริมาณงานน้อยลงผนวกดับการขาดดุลที่มหาศาลมากขึ้น - ช่างเป็นการผสมผสานที่ลงตัวสมบูรณ์เหลือเกิน”

 

ส่วนหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีท เจอร์นัล ซึ่งปกติจะเชียร์ข้อเรียกร้องของโบห์เนอร์ในเรื่องหั่นภาษี กลับนำเสนอบทวิจารณ์เขียนโดย เวอร์นอน สมิธ นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลอีกผู้หนึ่ง ที่พูดฟันธงว่า “ข้อเท็จจริงนี้จำเป็นที่เราจะต้องกล้าเข้าไปเผชิญ นั่นคือ แทบจะเป็นที่แน่นอนแล้วว่าเราจะถูกตีกระหน่ำอย่างยาวนาน”

 

และไอเอ็มเอฟเอกก็ส่งเสียงเตือนเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาเช่นกันว่า หนี้ของสหรัฐฯ ซึ่งอยู่ในระดับที่สูงอย่างเหลือเกิน ประกอบกับภาคการเงินที่สั่นคลอน กำลังคุกคามว่าจะทำให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ล้มเหลว

 

“การยึดจำนองและขายทอดตลาดสินทรัพย์ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯ นั้น นับว่ามหาศาลและขยายขึ้นเรื่อยๆ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะช่วงของการให้ยกเว้นภาษีแก่ผู้ซื้อได้หมดรอบลง สิ่งนี้อาจยิ่งซ้ำเติมสภาพย่ำแย่ในด้านของระดับราคาอสังหาริมทรัพย์สาหัสมากยิ่งๆ ขึ้นไป” ไอเอ็มเอฟร้องเตือนไว้อย่างนั้น

 

----------------------------------------------------------------------------------------------------

ที่ผมเคยอ่านมา ประวัติศาสต์ที่ผ่านมานั้น อาณาจักรที่ยิ่งใหญ่มากๆก่อนที่จะสูญเสียความเป็นผู้นำจะมีปัญหาต่างๆหลายด้าน แต่เมื่อไรก็ตามเมื่อค่าเงินของอาณาจักรนั้นมีปัญหาก็แทบจะฟันธงได้เลยครับว่าอาณาจักรนั้นกำลังจะสูญเสียความเป็นผู้นำแล้ว

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอโทษด้วยครับ ยังใช้ไม่คล่อง กดผิด ขอโทษด้วยครับ :huh: :huh: :)

เพียงอยากจะบอกว่า เคยติดตามการวิเคราะห์ของ คุณส้มโอมือ นานนนนนน มากกกก แล้ว เกือบ 2 ปีที่แล้วได้

ตอนนั้น ยังใช้รูป ส้มโอมือ สีเหลือง ผมยังจำได้ดี เปิดเข้าเว็ป Thaigold ต้องได้เจอซักกระทู้ คิดถึงอดีตที่ผ่านมาครับ :)

ผมห่างหายไปช่วงหนึ่ง เกือบ 2 ปี ไปลงทุนหุ้น ก็กำไรดี เหมือน ๆ กับทองสมัยก่อนที่เรา ๆ ท่าน ๆ ซื้อกันครับ แต่ก่อนผมซื้อทองจริงครับ

เลยไม่ได้เข้ามาเยี่ยมเว็ป ก่อนที่จะเป็น thaigold2

ขอให้รวย ๆ ทุกท่านกับการลงทุนนะครับ :D :D

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอโทษด้วยครับ ยังใช้ไม่คล่อง กดผิด ขอโทษด้วยครับ :huh: :huh: :)

เพียงอยากจะบอกว่า เคยติดตามการวิเคราะห์ของ คุณส้มโอมือ นานนนนนน มากกกก แล้ว เกือบ 2 ปีที่แล้วได้

ตอนนั้น ยังใช้รูป ส้มโอมือ สีเหลือง ผมยังจำได้ดี เปิดเข้าเว็ป Thaigold ต้องได้เจอซักกระทู้ คิดถึงอดีตที่ผ่านมาครับ :)

ผมห่างหายไปช่วงหนึ่ง เกือบ 2 ปี ไปลงทุนหุ้น ก็กำไรดี เหมือน ๆ กับทองสมัยก่อนที่เรา ๆ ท่าน ๆ ซื้อกันครับ แต่ก่อนผมซื้อทองจริงครับ

เลยไม่ได้เข้ามาเยี่ยมเว็ป ก่อนที่จะเป็น thaigold2

ขอให้รวย ๆ ทุกท่านกับการลงทุนนะครับ :D :D

ยินดีมากครับสำหรับสมาชิกเก่าที่แวะมาเยี่ยมเยียนบ้านใหม่หลังนี้ 2ปีนานมากครับทำให้บ้านหลังนี้มีการเปลี่ยแปลงมากมาย ตอนนี้มีนักวิเคราะห์เก่งๆขึ้นมากหลายคนครับ(มีมากท่านทำให้ต้องเลือกตามคนเก่งทีมีวืธีการลงทุนในแนวทางที่ใกล้กับนิสัยและความชอบผมครับ) ตอนนี้ที่ผมตามเป็นหลักคือคุณsame888อยากให้ลองศึกษาดูครับ ศึกษาแล้วลองคิดตามครับหลักคำสอนของพุทธองค์ที่ว่า

อย่าเชื่อเพราะ.......... อย่าเชื่อเพราะ.......... อย่าเชื่อเพราะ.......... แต่เชื่อจากการพิจารณาไตร่ตรองและหาข้อมูลดีแล้วครับ

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สหรัฐฯ สั่งปิดอีก 8 แบงก์ กองทุนประกันเงินฝากรับภาระ 474 ล้านเหรียญ

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 22 สิงหาคม 2553 18:09 น.

 

 

 

 

 

 

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น

 

 

 

 

 

ปีนี้ สหรัฐฯสั่งปิดธนาคารไปแล้วรวม 118 แห่ง เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาประกาศปิดอีก 8 แบงก์ โดยสั่งปิด "ชอร์แบงก์" ชิคาโก เป็นแบงก์ใหญ่สุดตั้งแต่เคยสั่งปิดมาด้วยทรัพย์สินกว่า 2 พันล้านดอลลาร์ฯกับอีก 7 แบงก์ รวมภาระประกันเงินฝาก 474 ล้านดอลลาร์ฯ

 

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา สถาบันประกันเงินฝากของสหรัฐ หรือเอฟดีไอซี ได้สั่งปิดและเข้าเทคโอเวอร์ ชอร์แบงก์ ในชิคาโก ที่มีทรัพย์สิน 2.16 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และมีเงินฝาก 1.54 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้เอฟดีไอซีมีภาระเข้ารับประกันเงินฝาก ในธนาคารแห่งนี้ จำนวน 367.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยชอร์แบงก์ มีผลประกอบการไตรมาส 2 ที่ผ่านมาขาดทุน 39.5 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐฯ สาเหตุหลักจากสินเชื่อภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งถือเป็นธนาคารขนาดใหญ่ที่สุดที่ถูกสั่งปิด จากก่อนหน้านี้ธนาคารใหญ่ที่สุดที่ถูกสั่งปิดคือ โฮมเนชันแนล แบงก์ ออฟ แบล็กเวลล์ โอกลาโฮมา มีสินทรัพย์ 644.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นภาระต่อกองทุนประกันเงินฝาก 159.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

 

นอกจากนี้ เอฟดีไอซี ยังได้สั่งปิดอีก 7 ธนาคาร ส่งผลให้ยอดรวมธนาคารในสหรัฐที่ถูกสั่งปิดเพราะประกอบกิจการต่อไปไม่ได้อยู่ที่ 118 แห่งแล้ว โดยอีก 7 ธนาคารประกอบด้วย

 

ลอสปาเดรสแบงก์ ทรัพย์สิน 870.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภาระประกันเงินฝาก 8.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

บัตต์คอมมูนิตี้แบงก์ ทรัพย์สิน 498.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภาระประกันเงินฝาก 17.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

โซโนมาวัลเล่ย์แบงก์ ทรัพย์สิน 337.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภาระประกันเงินฝาก 10.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

แปซิฟิคสเตทแบงก์ ทรัพย์สิน 312.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภาระประกันเงินฝาก 32.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

อินดีเพนเดนท์ แนชั่นแนลแบงก์ ออฟ โอคาล่า ทรัพย์สิน 156.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภาระประกันเงินฝาก 23.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

คอมมูนิตี้แนชั่นแนลแบงก์ แอท บาร์โทว์ ทรัพย์สิน 67.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภาระประกันเงินฝาก 10.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

อิมพีเรียลเซฟวิ่งแอนด์โลน ออฟ มาร์ตินสวิลล์ ทรัพย์สิน 9.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภาระประกันเงินฝาก 3.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

 

รวมภาระกองทุนประกันเงินฝากในการสั่งปิดธนาคารทั้ง 8 แห่งครั้งนี้ เท่ากับ 473.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ สหรัฐฯ ได้สั่งปิดธนาคารราเวนสวู้ดในชิคาโก ที่มียอดเงินฝาก 269.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สินเชื่อรวม 211 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และทำให้ เอฟดีไอซีมีภาระเข้ารับประกันเงินฝากในธนาคารแห่งนี้จำนวน 68.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

 

เอฟดีไอซีประมาณการณ์ว่าในปี 2553 จะเป็นปีที่ธนาคารล้มละลายมากที่สุด หลังจากถูกปิดไปแล้ว 230 แห่งนับตั้งแต่ปี 2552 ผลักดันให้กองทุนประกันเงินฝากขาดดุลเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี ค.ศ.1990 ทั้งนี้ รัฐจอร์เจีย, อิลลินอยส์, และฟลอริดาเป็นรัฐที่รับ ผลกระทบหนักที่สุดจากวิกฤตธนาคารที่เกิดขึ้น

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แบงก์เห็น ธปท.แทรกแซงบาทวันละ 1-2 $พัน ล.เจ้าสัวชี้ 30 บ.เหมาะสม

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 11 กันยายน 2553 07:02 น.

 

 

 

 

 

 

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น

 

 

 

 

 

แบงก์พาณิชย์เกาะติดสถานการณ์บาทแข็งใกล้ชิด ยอมรับเห็น ธปท.เข้าแทรกแซงค่าเงินเป็นระยะๆ เฉลี่ยวันละ 1-2 พันล้านดอลลาร์ เพื่อไม่ให้เงินบาทแข็งค่าเร็วเกินไป เจ้าสัวสหพัฒน์ ชี้ จุดอันตราย หากปล่อยหลุด 29 บาท/ดอลลาร์ จบเห่แน่ แนะอัตราเหมาะสมที่ 30 บาทต่อดอลลาร์

 

นายธิติ ตันติกุลานนท์ ผู้บริหารสายงานธุรกิจตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงสถานการณ์ค่าเงินบาทแข็งค่า โดยระบุว่า ธนาคารพาณิชย์มีการเกาะติดสถานการณ์และจับตาการดูแลค่าเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยเห็น ธปท.เข้าแทรกแซงค่าเงินเป็นระยะๆ เฉลี่ยวันละ 1,000-2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อยับยั้งไม่ให้ค่าเงินบาทผันผวนมากจนเกินไปจนกระทบรายได้ส่งออก

 

นายบุญชัย โชควัฒนา ประธานกรรมการบริหาร บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เครือสหพัฒน์เห็นด้วยกับสภาอุตสาหกรรม (ส.อ.ท.) ที่ออกมาแสดงท่าทีต้องการให้ ธปท.ชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อสกัดการแข็งค่าของเงินบาท พร้อมกับต้องการให้ ธปท. เข้ามาดูแลว่า ค่าเงินบาทที่แข็งค่าในขณะนี้ ความสามารถในการแข่งขันของไทยสู้กับประเทศเพื่อนบ้านได้หรือไม่ เพื่อป้องกันความเสียเปรียบในด้านการแข่งขันขังสินค้าไทย

 

สำหรับค่าเงินบาทที่เหมาะสม ประธานกรรมการบริหารเครือสหพัฒน์ มองว่า ไม่น่าจะปล่อยให้ต่ำลงไปถึง 29 บาทต่อดอลลาร์ โดยระดับที่เหมาะสมควรอยู่ที่ 30 บาทต่อดอลลาร์ เพราะหากปล่อยให้แข็งค่าไปกว่านี้ อาจส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกและการท่องเที่ยวได้

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น
:lol: คุณส้มโอมือ ตื่นแต่เช้านำข่าวดีๆมาให้ทุกวันขอบคุณมากๆเลยอ่ะ:) ถูกแก้ไข โดย farerex

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...