ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

611a20d44e.gif611a20d44e.gif611a20d44e.gif611a20d44e.gif611a20d44e.gif

 

 

เด็กๆ..ใครรู้ตัวว่าดอย มาหวัดดีปู่ดอยเร้วว..

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ผมขอตามระบบอาจารย์เสมครับ ทองยังขึ้นได้อีกยาวไกลb467ebae85.png

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น
:blink: เกิดอะไรขึ้น ทำไมกระทู้นี้ไม่มีคนเลย คุณส้มโอมือ และคุณเสม หายไปไหน???? :( :wub:

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ก๊อก ๆ ๆ

เจ้าของบ้านไปหนายครับ มาชี้แนะหน่อยจ้า

:) :)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ความเสี่ยงต่อภาวะถดถอยของเศรษฐกิจโลกอีกรอบ

ดร.อาภรณ์ ชีวะเกรียงไกร กรุงเทพธุรกิจ วันพฤหัสบดีที่ 02 กันยายน พ.ศ. 2553

 

ประกาศตัวเลขเศรษฐกิจเดือนกรกฎาคม และสิงหาคม ออกมาที่สะท้อนถึงการอ่อนตัวลงของเศรษฐกิจหลักๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกา และยุโรป จนทำให้มีความกังวลว่าเศรษฐกิจโลก จะกลับเข้าสู่ภาวะถดถอยอีกรอบ "double dip" หรือไม่ ความกังวลดังกล่าวก็เพิ่มมากขึ้นภายหลังเกิดวิกฤติหนี้สาธารณะ ของประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปในเดือนเมษายน-พฤษภาคม

 

แม้ว่าสถานการณ์เริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้นแล้ว แต่ก็มีผลกระทบต่อเนื่องไปในช่วงครึ่งหลังของปีนี้และปีหน้า ที่ผลกระทบต่อตลาดเงินตลาดทุนเกิดขึ้นทั่วโลก จากการมีเงินทุนไหลออกจากตลาดประเทศที่พัฒนาแล้ว และไปสู่ตลาดประเทศกำลังพัฒนา หรือประเทศเกิดใหม่ในตลาดหุ้นและตลาดตราสารพันธบัตร ภายหลังที่สถานการณ์ทางด้านการเมืองเริ่มสงบลง ได้มีเงินทุนจากต่างประเทศเข้ามาสู่ตลาดหุ้นไทย ทำให้ตลาดหุ้นขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 900 จุด หรือคิดเป็นอัตราเพิ่ม 22.5% ทั้งนี้ เพราะการลงทุนในตลาดประเทศเกิดใหม่ในเอเชีย นอกจากจะได้กำไร/ขาดทุนจากการเปลี่ยนแปลงของราคาหลักทรัพย์แล้ว ยังจะมีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนอีกส่วนหนึ่งด้วย

 

ที่น่าเป็นห่วงสูงน่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ที่เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจในรอบเดือนสิงหาคมแสดงถึงการชะลอตัวลงอย่างชัดเจนเกือบทั้งหมด ได้แก่ ตัวเลขภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ทรุดตัวลงหลังที่มาตรการกระตุ้นของภาครัฐได้สิ้นสุดลง ตัวเลขดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม และตัวเลขการจ้างงานที่อ่อนตัวลงมาอย่างต่อเนื่อง จนเริ่มมีกระแสเรียกร้องให้ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา เร่งมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบที่สอง ที่เป็นมาตรการกระตุ้นแบบพิเศษที่เรียกว่า "Quantitative Easing II" ในการเพิ่มปริมาณเงินเข้าในการป้องกันไม่ให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอยอีกรอบ จึงมีการจับตาอย่างใกล้ชิดต่อการประชุมของคณะกรรมการกลางที่จะมีขึ้นในวันที่ 20 กันยายนนี้ ว่าจะประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอีกรอบหรือไม่ เช่นเดียวกับเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป ที่แม้ว่าตัวเลขเศรษฐกิจในไตรมาส จะขยายตัวที่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสแรก 1.0% อันเป็นผลมาจากการที่ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงอย่างรุนแรง จึงทำให้สามารถส่งออกได้เพิ่มขึ้น

 

แต่ความเสี่ยงของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปที่สำคัญ คือ ตลาดแรงงานที่อ่อนแอที่อัตราการว่างงานอยู่ในระดับที่สูง สหรัฐอเมริกามีอัตราว่างงานอยู่ที่ 10.5% และสหภาพยุโรปเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 10% แต่มีบางประเทศ เช่น สเปนมีอัตราการว่างงานสูงถึง 20% อัตราการว่างงานในอัตราสูงนี้ จะเป็นตัวถ่วงที่สำคัญของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ เพราะคนไม่มีงานทำ ก็จะทำให้กำลังซื้อของประชาชนลดลง ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเองก็จะลดลง ความต้องการซื้อบ้านที่อยู่อาศัยและสินค้าอุปโภคบริโภคถาวรลดลง และจะย้อนกลับมาสู่ผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เป็นวัฏจักร

 

ต่อคำถามว่าแล้วจะมีผลกระทบต่อกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียอย่างไร ที่สำคัญ ก็คือ ประเทศจีนที่เป็นผู้นำหลักของเศรษฐกิจเอเชีย ซึ่งแน่นอนว่าการเติบโตของประเทศจีนเองก็จะพลอยถูกระทบตามไปด้วย เพราะจีนเองก็เป็นประเทศที่เติบโตสูงจากการส่งออก แต่ผลกระทบนั้นจะไม่รุนแรงมาก จนกระทั่งที่จะทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย ทั้งนี้ เพราะทางการจีนเองก็มีความพร้อมในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจเพิ่มเติมอยู่แล้ว ที่กล่าวได้ว่าประเทศในเอเชียโดยรวมแล้วมีความพร้อมที่จะมีมาตรการกระตุ้นทางการคลังและมาตรการการเงิน ดังจะเห็นได้ว่าสัดส่วนหนี้สาธารณะของจีน และประเทศในเอเชียอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งทำให้มีความยืดหยุ่นของทางเลือกนโยบายที่ดีกว่า จึงน่าจะยังสามารถที่จะเติบโตได้แต่ในอัตราที่ชะลอลง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

5 กับดักเศรษฐกิจ..พิษร้ายแรง

ประวิทย์ เรืองศิริกูลชัย นักเศรษฐศาสตร์นอกกรอบ อดีตนักเรียนทุนญี่ปุ่น กรุงเทพธุรกิจ วันพฤหัสบดีที่ 02 กันยายน พ.ศ. 2553

 

ถ้าพูดถึง “กับดักเศรษฐกิจ” คือ ระบบที่ดูเหมือนจะดี แต่ที่จริงแล้วกลับไม่ใช่สิ่งที่ดี และสร้างความเสียหายได้อย่างมากมายตามมา อาจหยิบยกสถานการณ์เศรษฐกิจโลกปัจจุบันที่กำลังประสบอยู่เป็น 5 เรื่องดังต่อไปนี้

 

1. กับดักเงินหยวน คือ การที่ประเทศจีนได้กำหนดค่าเงินหยวนให้ผูกกับเงินดอลลาร์ ส่งผลให้สมดุลการค้าของโลกสูญเสียไป ประเทศจีนได้ดุลการค้ามากที่สุดในโลก ขณะที่อเมริกาก็ขาดดุลการค้าอย่างมหาศาลที่สุดในโลกเช่นกัน โดยที่ 2 ประเทศกลับผูกค่าเงินด้วยกันซึ่งเป็นเรื่องที่ผิดปกติมากๆ ระบบเงินหยวนนี้เคยสร้างปัญหามาแล้ว โดยได้เคยลดค่าถึง 33% และเป็นตัวจุดชนวนให้การส่งออกของไทยสูญเสียการแข่งขัน เมื่อรวมกับปัญหาเงินบาทและ BIBF จึงนำไปสู่ “วิกฤติต้มยำกุ้ง” ในที่สุด

 

วิธีปลดล็อก : จีนต้องมองให้กว้างออกไป ดำเนินนโยบายไม่ใช่เพื่อประเทศตนเอง แต่เป็นเพื่อโลก ในฐานะมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ การยอมให้ค่าเงินหยวนแข็งค่าขึ้นไม่ต่ำกว่า 20% ภายในเวลา 1 ปี จะช่วยให้สมดุลการค้าของโลกคืนมาได้ สินค้าและสินทรัพย์ของอเมริกาจะมีมูลค่าถูกลงในสายตาคนเอเชียที่มีค่าเงินแข็งขึ้น ซึ่งจะช่วยประเทศอเมริกาได้เป็นอย่างดี ขณะที่คนจีนก็จะมีกำลังซื้อมากขึ้น ความเป็นอยู่ดีขึ้นจากค่าเงินที่แข็งค่า

 

2. กับดักเงินยูโร คือ การที่กำหนดค่าเงินสกุลเดียว แต่ผูกประเทศที่มีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกันอย่างมากให้อยู่ในยูโรโซนเดียวกัน เยอรมนีมีเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง ได้ดุลการค้าอย่างมาก ในเวลาเดียวกันพบว่า ไอร์แลนด์ สเปนและกรีซ มีเศรษฐกิจที่อ่อนแอ ขาดดุลการค้าอย่างหนัก โดยปกติแล้วค่าเงินจะสะท้อนสภาพเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ แต่ด้วยระบบเงินยูโร มันจึงเกิดขึ้นไม่ได้ จึงสร้างปัญหาอย่างมากต่อประเทศที่อ่อนแอ

 

วิธีปลดล็อก : จะต้องมีการปรับเปลี่ยนไปใช้เงิน 2 สกุล โดยเยอรมนีและฝรั่งเศสที่แข็งแกร่งเป็นแกนกลางนั้น ควรจะเปลี่ยนมาใช้เงินสกุลใหม่ Eura แทน ส่วนประเทศที่อ่อนแอริมขอบยูโรโซน ก็ใช้เงิน Euro กันต่อไป ยอมให้ Euro อ่อนค่าลง เพื่อช่วยเหลือการส่งออก และการชำระหนี้สินของประเทศริมขอบยูโรโซน

 

3. กับดักสภาพคล่อง เรื่องนี้อยู่ในตำราอยู่แล้ว คือ การลดอัตราดอกเบี้ยลงมาต่ำมาก แต่เศรษฐกิจก็ยังไม่ฟื้นตัวอย่างแข็งแรง สิ่งนี้กำลังเกิดอยู่ในประเทศญี่ปุ่น อเมริกา และอังกฤษ

 

วิธีปลดล็อก : เคนส์แนะนำให้รัฐบาลทำงบประมาณขาดดุล เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ

 

4. กับดักเคนส์ คือ สภาพที่ประเทศได้สร้างหนี้สาธารณะเพิ่มตลอดจากการใช้นโยบายการคลังขาดดุล โดยที่เศรษฐกิจไม่ได้มีการฟื้นตัวอย่างยั่งยืน เศรษฐกิจซบเซาและมีภาวะเงินฝืด ญี่ปุ่นได้ติดกับดักนี้มา 18 ปีแล้ว ส่วนประเทศอเมริกา และยุโรป เริ่มติดกับดักนี้มาได้ราว 2 ปี

 

วิธีปลดล็อก : ใช้เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก (Taiji-Econ.) มาเพื่อช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยไม่เป็นภาระการคลังเลยแม้แต่น้อย แต่ใช้หลักการยืมพลังจากแหล่งต่างๆ โดยเฉพาะกองทุนบำนาญแทน สำหรับประเทศญี่ปุ่นนั้น อาจใช้ “โครงการสินเชื่อ 777” หรือ “Lucky Seven Loan” ซึ่งมีแนวคิดคล้ายกัน “สินเชื่อ 999” โดยให้องค์กรที่บริหารเงินบำนาญ ทำการค้ำประกันสินเชื่อให้กับคนญี่ปุ่นไม่เกิน 7 ส่วนของเงินออมในอัตราดอกเบี้ย 7% ผ่อนได้ 7 ปี ส่วนของดอกเบี้ยนั้นบางส่วนจะถูกจัดสรรเข้าองค์กรบริหารเงินบำนาญ และรัฐบาลเป็นค่าธรรมเนียมค้ำประกันเงินกู้ด้วย ด้วยวิธีง่ายๆ เงินเศษเสี้ยวของกองทุนบำนาญเพียง 1% เมื่อถูกนำมาใช้จ่าย จะส่งผลให้ยกเศรษฐกิจขนาดใหญ่ได้ โดยรัฐบาลแทบไม่ต้องใส่เงินงบประมาณลงไปตรงๆ เลยแม้แต่น้อย

 

ผมคิดว่าหากท่านนายกฯ ของญี่ปุ่นได้อ่านมาถึงบรรทัดนี้ อาจจะตื่นเต้นดีใจเป็นอย่างมาก เพราะหลังจากประชุมทีมเศรษฐกิจ และเปิดตำราเศรษฐศาสตร์ดูทุกหน้าแล้ว คงไม่เห็นทางออกที่จะฟื้นเศรษฐกิจญี่ปุ่นได้ เพราะนโยบายทั้ง 3 ด้าน คือ การเงิน การคลัง และอัตราแลกเปลี่ยนนั้น ได้ทำมาอย่างเต็มที่แต่ไม่ได้ผลเลย หากแนวคิดใหม่นี้สามารถฟื้นเศรษฐกิจญี่ปุ่นได้พร้อมๆ กับแก้ไขวิกฤติการคลังไปด้วยได้ จะเป็นผลงานชิ้นโบแดงให้กับรัฐบาลชุดนี้ และพรรค DPJ อีกด้วย

 

นโยบายการคลังเปรียบไปก็เหมือนกับ “มวยเส้าหลิน” ที่ใช้พลังแข็งกร้าวเพื่อปะทะคู่ต่อสู้โดยตรง แต่สังคมญี่ปุ่นนั้นเริ่มเข้าสู่สังคมสูงอายุแล้ว โดยประชากรมีอายุเฉลี่ยถึง 43 ปีสูงที่สุดในโลก พลังก็เริ่มลดน้อยถดถอยลงไป การใช้ “มวยไท้เก๊ก” ซึ่งเป็นหลักการอ่อนสยบแข็ง ใช้การยืมพลังสะท้อนพลัง ตามเคล็ดวิชา “สี่ตำลึงปาดพันชั่ง” จะมีโอกาสพิชิตวิกฤติเศรษฐกิจได้ดีกว่า

 

ที่จริงแล้วทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ไท้เก๊กที่ผมสร้างสรรค์ขึ้นมานี้ มีจุดเริ่มต้นจากคำถามของผมเมื่อ 10 ปีก่อน “ในเมื่อญี่ปุ่นดำเนินนโยบายเศรษฐกิจทั้ง 3 ด้านอย่างเต็มที่แล้ว เศรษฐกิจก็ยังไม่ฟื้น ญี่ปุ่นควรทำอย่างไรต่อไป” คนญี่ปุ่นตอบว่า “ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน คุณช่วยไปคิดต่อหน่อย” เรื่องแบบนี้ไม่เคยมีในตำราเศรษฐศาสตร์ โดยผมต้องใช้เวลาถึง 8 ปีกว่าจะค้นพบทฤษฎีใหม่นี้ได้

 

5. กับดักการออม คือ สภาพที่รัฐบาลสนับสนุนเอาเงินภาษีไปช่วยเพิ่มผลตอบแทนการออมให้กับคนระดับเศรษฐี ขณะเดียวกัน บังคับออมกับคนจนซึ่งทำให้พวกเขาติดหนี้สินกันมากทางอ้อม ซึ่งเป็นระบบที่ทำกันอยู่ในประเทศไทยตอนนี้ ด้วยระบบเช่นนี้ จะทำให้คนรวย ซึ่งมีค่าจ้างแรงงานสูง ได้รับผลตอบแทนการลงทุนสูงอีกด้วย ทำให้คนรวยนั้นรวยขึ้น ขณะที่ทำให้คนจนซึ่งมีค่าแรงต่ำ ยังถูกบังคับทางอ้อมไปติดหนี้ดอกเบี้ยโหด เพราะการถูกบังคับออมเงินทำให้เงินขาดมือ จึงมีผลตอบแทนส่วนทุนติดลบไปมาก สรุปแล้วคือทำให้คนจนนั้นจนลงไปอีก เห็นได้ชัดว่าระบบแบบนี้ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคมขยายกว้างขึ้น

 

วิธีปลดล็อก : ลดวงเงินการหักลดหย่อนภาษี RMF, LTF ลงมา เลิกอุ้มคนรวยได้แล้ว ขณะเดียวกันต้องให้มีการยืดหยุ่นเงินออมของประกันสังคม และ กบข. โดยให้ผู้ประกันตนและสมาชิก สามารถเข้าถึงเงินออมของตนเองได้ ตามแนวคิดของ “สินเชื่อ 999” รวมถึงหยุดแนวคิดจัดตั้ง กองทุนการออมแห่งชาติไปเสีย

 

หากผู้นำประเทศต่างๆ เห็นถึงกับดักเหล่านี้ และเดินหน้าปลดล็อกได้เร็ว โลกก็อาจรอดพ้นจากวิกฤติรอบ 2 ไปได้ แต่ผมคิดว่ามีโอกาสถึง 80% ที่โลกกำลังเดินหน้าสู่วิกฤติรอบ 2 เสียก่อนแล้วผู้นำของประเทศต่างๆ จึงจะตาสว่าง เห็นถึงข้อเสียของกับดักเศรษฐกิจในปัจจุบันแล้วตัดสินใจเดินหน้าปลดล็อกกับดักเหล่านั้น จึงจะช่วยฟื้นเศรษฐกิจโลกได้ในที่สุด

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณค่ะคุณส้มโอมือข่าวที่ส่งมามีประโยชน์มากกับการเคลื่อนไหวเศรษฐกิจเอเชีย +1ให้กำลังใจส่งความสุขและรอยยิ้มมาให้ค่ะ :lol: :lol:

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

บาทหลุด 31 วันเดียวสวิงเกือบ 20 สต. มาร์คไฟเขียว ธปท.ออกมาตรการเข้ม

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 9 กันยายน 2553 22:16 น.

 

 

 

 

 

วันเดียวค่าเงินบาทสวิงเกือบ 20 สต.ล่าสุดแตะ 30.85 นายกรัฐมนตรีไฟเขียวแบงก์ชาติออกมาตรการคุมเงินไหลเข้า-ออก ด้านสภาอุตฯ ถกด่วนหาทางรับมือ จี้ ธปท.ทำงาน อัด "ธาริษา" อย่านั่งรอเวลาเกษียณ

 

นักบริหารเงินจากธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เงินบาทวานนี้ยังคงแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเปิดตลาดที่ระดับ 31.00 บาทต่อดอลลาร์ แล้วไปแตะระดับแข็งค่าสุดของวันที่ 30.85 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 30.87-30.90 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เป็นการข็งค่าขึ้นค่อนข้างรวดเร็ว โดยแนวรับของค่าเงินบาทในระดับต่อไปอยู่ที่ 30.80 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และแนวต้านที่ระดับ 31.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

 

"ยังไม่มีปัจจัยอะไรใหม่ๆเข้ามา และทิศทางก็ยังคงจะแข็งค่าต่อไป แต่ที่ต้องจับตาดูคือมาตรการดูแลค่าเงินบาทของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่าจะมีการออกมาตรการมาหรือไม่"

 

นายกฯ ไฟเขียว ธปท.คุมเข้ม

 

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการที่เงินบาทแข็งค่าหลุดระดับ 31 บาทต่อดอลลาร์ว่า ไม่ได้อยู่เหนือจากความคาดหมาย พร้อมได้ให้แนวทางกับ ธปท.ไปแล้วว่า หากมีความจำเป็น ธปท.สามารถพิจารณาใช้มาตรการดูแลเงินทุนไหลเข้าออกได้ โดยแนวโน้มค่าเงินบาทยังแข็งค่าอยู่บ้าง แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าจะแข็งค่าไปถึงระดับ 29 บาทหรือไม่

 

ส่วนมีการเข้ามาเก็งกำไรหรือไม่นั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การเก็งกำไรก็มีเงื่อนไขจากตัวพื้นฐานด้วย ซึ่งจำเป็นต้องดูหลายตัวชี้วัดทั้งการเคลื่อนไหวของค่าเงินภูมิภาคเพื่ออ้างอิงและเทียบเคียงกัน รวมถึงในแง่ของการซื้อขายเงินว่าเป็นคนภายในประเทศเองหรือเป็นการซื้อขายมาจากต่างประเทศ และผู้ส่งออกที่ขายดอลลาร์เป็นใคร ซึ่งรายละเอียดทั้งหมดก็จะนำมาพิจารณาเพื่อดูความจำเป็นในการกำหนดมาตรการต่อไป

 

กรณีที่ทางหอการค้าไทยคาดการณ์ว่าเงินบาทอาจแข็งค่าไปถึง 29.80 บาท/ดอลลาร์ในช่วงไตรมาส 4/53 นั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ขณะนี้เรามีการเกินดุลฯ อยู่ แต่ไม่ขอลงรายละเอียดว่าเงินบาทจะไปอยู่ที่ระดับใด

 

กสิกรฯ แนะผู้ส่งออกซื้อฟอร์เวิร์ด

 

 

นายปกรณ์ พรรธนะแพทย์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (KBANK) กล่าวว่า แนวโน้มค่าเงินบาทที่แข็งค่าอาจจะกระทบต่อผู้ส่งออกโดยตรง ซึ่งผู้ส่งออกที่เป็นธุรกิจเอสเอ็มอีควรการซื้ออัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า (ฟอร์เวิร์ด) เพื่อให้ผู้ส่งออกสามารถบริหารจัดการธุรกิจ และ ทราบว่ารายได้ที่เป็นเงินบาทจะอยู่ที่ประมาณเท่าใด ซึ่งจะสามารถบริหารจัดการกำไรได้ตามเป้าหมาย โดยหากไม่ทำการป้องกันความเสี่ยงก็อาจขาดทุนได้

 

อย่างไรก็ตาม ธนาคารมีความกังวลว่าผู้ประกอบการธุรกิจส่งออกที่เป็นเอสเอ็มอีที่มีสัดส่วน 20% นั้นมีการทำฟอร์เวิร์ดน้อยมาก ซึ่งพบว่ามีเพียง 20% จากอัตราทั้งหมด โดยเมื่อพิจารณาถึงการส่งออกกลับมีมูลค่าสูงถึง 70% ของอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ซึ่งหากมีปัญหาทั้งระบบก็สามารถส่งผลทางอ้อมต่อกลุ่มเอสเอ็มอีได้

 

"ผู้ประกอบการในส่วนที่เหลือควรพิจารณาทำฟอร์เวิร์ด หรือ หาทางควบคุมบริหารต้นทุนให้ต่ำที่สุด แต่ต้องไม่ลดคุณภาพของสินค้า อีกทั้ง ควรขยายตลาดไปยังประเทศที่เป็นเงินสกุลอื่นที่ไม่ใช่ดอลลาร์สหรัฐฯเพื่อกระจายความเสี่ยง เช่น ประเทศแถบเอเชีย เป็นต้น"นายปกรณ์ กล่าว

 

นายปกรณ์กล่าวว่า แม้การทำฟอร์เวิร์ดของธุรกิจเอสเอ็มอีจะมีต้นทุนที่สูงกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ แต่หากประเมินการสูญเสียรายได้จากอัตราแลกเปลี่ยนก็จะทำให้พบว่าการฟอร์เวิร์ดล่วงหน้าจะมีประโยชน์อย่างมาก เนื่องจากค่าเงินบาทในช่วงที่ผ่านมามีการผันผวนสูง ด้านกลุ่มลูกค้าที่เป็นกลุ่มส่งออกที่เป็นเอสเอ็มอีรายย่อยนั้น ส่วนใหญ่กลุ่มนี้จะรับผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนมากที่สุดเนื่องจากไม่มีอำนาจต่อรอง ซึ่งกลุ่มลูกค่าดังกล่าวธนาคารมีอยู่น้อย โดยลูกค้าประเภทนำเข้า และ ส่งออก รวมกันไม่ถึง20% ของพอร์ต

 

ส.อ.ท.ถกด่วนผลกระทบบาทวันนี้

 

นายธนิต โสรัตน์รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.)เปิดเผยว่า วันนี้(10ก.ย.) จะจัดทำรายงานสรุปผลกระทบเป็นรายกลุ่มอุตสาหกรรมในสังกัดส.อ.ท.ทั้ง39กลุ่มจากกรณีเงินบาทแข็งค่าเพื่อเสนอให้ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)รับไปพิจารณาหามาตรการช่วยเหลือเป็นการเร่งด่วนเพราะขณะนี้ค่าบาทหลุดมาแตะที่30.80บาทต่อเหรียญสหรัฐถือเป็นจุดอันตรายในภาคการส่งออกของประเทศไทยแต่ธปท.ก็ไม่ได้หามาตรการใดๆออกมาช่วยเหลือผู้ประกอบการ

 

"คงจะสรุปภาพรวมได้ในวันนี้ซึ่งเบื้องต้นแต่ละกลุ่มได้มีการส่งข้อมูลมาบ้างแล้ว และขณะนี้ผู้ประกอบการบางรายไม่สามารถรับคำสั่งซื้อหรือออเดอร์จากต่างประเทศได้เพราะก่อนหน้านี้ได้กำหนดแนวรับในการรับออเดอร์สินค้าที่เงินบาทระดับ31.50บาทแต่เมื่อเงินบาทแข็งค่าขึ้นในระดับปัจจุบันจึงไม่กล้ารับออเดอร์เพราะเกรงว่าจะมีรายรับที่ลดลงไม่คุ้มต้นทุนการผลิต”นายธนิตกล่าว

 

ทั้งนี้ เห็นว่าธปท.ต้องออกมาตรการมาสกัดไม่ให้เงินเหรียญสหรัฐฯไหลทะลักเข้ามาในไทยเพื่อเก็งกำไรแล้วนำเงินกลับออกไปในทันทีทันใดไม่ใช่มานั่งรอวันเกษียณอายุโดยไม่ทำอะไรเลย

 

นายพงษ์ศักดิ์ อัสสกุล รองประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า เอกชนมีความเป็นห่วงประเด็นค่าเงินบาทแข็งค่าว่าจะกระทบกับภาคการส่งออกไทยที่ทำให้การแข่งขันกับประเทศคู่แข่งทำได้ยากขึ้น เพราะผู้ส่งออกคงไม่สามารถปรับขึ้นราคากับลูกค้าต่างประเทศได้ ดังนั้น ต้องการให้รัฐบาลเข้ามาดูแลด่วน เพราะส.ค.เพียงเดือนเดียวเงินบาทแข็งค่าขึ้นมา 1.8% ซึ่งมาตรการที่รัฐบาลควรนำมาใช้ คือ ไม่ให้มีเงินต่างชาติเข้ามาเก็งกำไรค่าเงินในประเทศ และไม่ควรปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในครึ่งปีหลังอีก หลังจากที่ได้มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายไปก่อนหน้านี้ 0.25%

 

หวั่นทำศก.เจ๊ง-จีดีพีโตไม่ถึง 7%

 

นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า มาตรการที่ของธปท.ควรจะส่งสัญญาณ เพื่อไม่ให้มีการเก็งกำไรค่าเงินบาท คือการประกาศใช้มาตรการทางภาษีเข้ามาดูแลอัตราแลกเปลี่ยนโดยเร็ว เช่น หากเงินทุนต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนระยะสั้น 3-6 เดือน แล้วนำเงินออกไปจะต้องถูกเรียกเก็บภาษี 5-10%

 

ทั้งนี้ หากไม่มีการดูแลและปล่อยให้ค่าเงินบาทแข็งค่ารวดเร็ว โดยหลุดกรอบ 30 บาท/เหรียญสหรัฐ ในไตรมาส 4 นี้ จะทำให้เกิดความสูญเสียต่อระบบเศรษฐกิจประมาณ 1 แสนล้านบาท แบ่งเป็นมูลค่าการส่งออกหายไปอีก 5 หมื่นล้านบาท และรายได้จากการท่องเที่ยวหายไปประมาณ 2 หมื่นล้านบาท ทำให้เศรษฐกิจไทยไตรมาส 4 ขยายตัวเหลือ 3-4% เพราะทุกๆ 1 แสนล้านบาทที่หายไปจะกระทบให้อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจไทยลดลง 1% หรือปีนี้เศรษฐกิจไทยอาจขยายตัวลดลงเหลือ 6% ต่ำกว่าเป้าที่คาดว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้จะขยายตัว 7.5%

 

“เงินบาทแข็งค่าขึ้นทุกๆ 1 บาท จะทำให้การส่งออกกระทบ 2-3% หรือมีมูลค่าหายไป 2-3 แสนล้านบาท ของการส่งออกในภาพรวมทั้งหมด ปัญหาเงินบาทจึงเป็นประเด็นที่น่าห่วงและหลายฝ่ายจับตามองที่อาจกระทบต่อการขยายตัวเศรษฐกิจไทยที่จะบานปลายไปถึงปีหน้า อาจทำให้เศรษฐกิจปี 2554 โตไม่ถึง 4%”

 

“แบงก์ชาติ”ระบุกำลังศึกษามาตรการคุมการซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนที่เสี่ยงเกิดการเก็งกำไรเกินควร จากหลายๆ ธนาคารกลางในภูมิภาค พร้อมงัดมาใช้ได้หากจำเป็น แต่ในขณะนี้มองว่า การไหลเข้าของเงินทุนยังเป็นการหากำไรในตลาดหุ้น-ตราสารหนี้ มากกว่าการตั้งใจเข้ามาเพื่อเก็งกำไรค่าเงินบาทอย่างเดียว

 

ธปท.เตรียมพร้อมออกมาตรการ

 

แหล่งข่าว ธปท.เปิดเผยว่า ฝ่ายตลาดการเงินได้มีการประชุมผู้บริหารอย่างต่อเนื่อง เพื่อประเมินสถานการณ์ค่าเงินบาทตลอดเวลา ทั้งในตลาดเงินบาทในประเทศ และตลาดเงินบาทต่างประเทศ ส่วนการเตรียมมาตรการในการดูแลการไหลเข้าออกของเงินทุนต่างประเทศนั้น ได้มีการศึกษามาตรการที่ธนาคารกลางหลายประเทศนำมาใช้ โดยเฉพาะธนาคารกลางเกาหลีใต้ ธนาคารกลางไต้หวันและธนาคารกลางอินโดนิเซียที่นำมาใช้ก่อนหน้านี้ ซึ่งเป็นมาตรการจำกัดการซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนบางประเภทของ ทั้งนักลงทุนในประเทศ และนักลงทุนต่างประเทศ ที่มองว่าเป็นการซื้อขายที่จะก่อให้เกิดการเก็งกำไรมากเกินไป ว่าเหมาะสมหรือไม่ และอย่างไรกับประเทศไทย

 

ส่วนการควบคุมการไหลเข้าของเงินทุนต่างประเทศด้วยการให้สำรองเงินทุนบางส่วน หรือการเก็บภาษีจากรายได้ของเงินทุนต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนระยะสั้นนั้น เป็นมาตรการที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...