ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

วันนี้เซทวิ่งแรงจังครับ :)

silverก็ไม่น้อยหน้าวุ้ย ไม่มีจังหวะย่อบ้างเลยม้างเนี่ย

ถูกแก้ไข โดย AunTonio

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ดู SET วิ่งกันต่อไปครับ

 

:lol: :lol: :lol:

 

 

 

 

คุณเสมคะ จากวันนี้ set ยังต้านเดิม 1090 อยู่ป่ะคะ แล้ว set 50 ล่ะคะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ดู SET วิ่งกันต่อไปครับ

 

:lol: :lol: :lol:

 

 

 

 

 

set ดุ silver โหดจริงๆนะครับวันนี้ :wub: :wub: เกาะแท่งเขียวๆ จารเสมต่อไป :lol:

ถูกแก้ไข โดย leo_attack

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เหงาจังกูรูเก่งฯไปไหนกันอาจารย์ซีซาร์ก็ไม่เจออาจารย์วิเดาเฮียน่ำเชียงก็ไม่เห็นจรวดจะพุ่งของน้าโป๊ะก็ไม่รู้จะมาคืนนี้หรือเปล่าสงสัยต้องนั่งรอเบอร์นันเก้จะพาไปต่อหรือทุบกระจายโอยเหงาใจจังไม่ได้อ่านบทความมันส์หยดของกูรูขวัญใจเหมือนขับรถไปแบบคลำทางพิกลพิลึกป้ายบอกทางไม่มีเลยไปถูกก็โชคดีไปผิดก็เสียเวลารอแก้ทางใหม่หรือว่าท่านกูรูติดงานยุ่งช่วงต้นเดือนก็อย่าลืมมาทักทายให้กำลังใจกันหน่อยขอมาเป็นเข็มทิศชี้ทางก็ยังอุ่นใจบ้างนะคะ !32 !38 !45 !047 !Wt

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วันนี้ผมลองหยิบเงินเม็ดมาเผากะไฟปรากฎว่ามันดำครับ แต่ว่าพอเอาทิชชู่มาซับๆๆ เขม่าดำๆนั่นก็หลุดออกไป

ไม่รุ้ว่านี่เป็นเรื่องปกติของโลหะเงินหรือเปล่าอะคับ ผู้รุ้ท่านไหนพอทราบบ้างอะคับ !38

ขอบคุณครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ต้องใช้ปืนไฟ แบบนี้ จะได้ไม่มีเขม่าครับ

 

เงิน 99.99 เผาไม่ดำ เผานานๆสีจะออก ขาวมุก

 

เผาแล้วไม่เสีย ลองสักเม็ดก็ได้ครับ

 

อย่างมากก็หลอมละลายเป็นน้ำเงิน พอเย็นก็แข็งเป็นก้อนเงินเหมือนเดิม

 

 

:rolleyes: :rolleyes: :rolleyes:

post-903-014614300 1301931774.jpg

post-903-061937600 1301932799.jpg

ถูกแก้ไข โดย 888

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ต้องใช้ปืนไฟ แบบนี้ จะได้ไม่มีเขม่าครับ

 

 

 

 

:rolleyes: :rolleyes: :rolleyes:

555 ผมก็บ้านๆคับใช้ไฟจากเทียนไขเลย :lol:

ไม่มีปืนไฟแหะ แต่ช่างเต๊อะไว้มีโอกาสค่อยลอง ขอบคุณคับที่มาตอบให้

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ราคาน้ำมัน

เศรษฐศาสตร์จานร้อน : ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ กรุงเทพธุรกิจ วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

 

ในทางปฏิบัติเราจะดูราคาน้ำมันดิบ WTI หรือราคาน้ำมันของ West Texas สหรัฐอเมริกาเป็นราคาอ้างอิงราคาน้ำมันโลก นอกจากนี้ ก็มีราคาน้ำมันอื่นๆ เช่น เบรนท์ โอมาน และดูไบ ที่เป็นแหล่งสำคัญ อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันต่างๆ จะปรับตัวไปในทิศทางเดียวกัน เห็นได้จากการคำนวณสหสัมพันธ์ (correlation) หรือความสัมพันธ์กันทางสถิติดังตารางที่ 1

 

จะเห็นได้ว่าราคาน้ำมันทั้ง 4 ประเภทมีความสัมพันธ์กันสูงถึง 99% ในช่วง 2008-2011 (และหากจะเพิ่มตัวเลขกลับไปในอดีตอีกหลายปีก็ยังจะได้ค่าสหสัมพันธ์สูงใกล้เคียงเดิม) แต่ที่น่าสนใจ คือ ความสัมพันธ์ทางสถิติดังกล่าวได้เริ่มเสื่อมถอยลงในระยะหลัง โดยเฉพาะระหว่าง WTI กับน้ำมันประเภทอื่นๆ เห็นได้จากค่าสหสัมพันธ์ที่ปรับลดลงของราคาน้ำมันโอมาน และดูไบ กับ WTI (เหลือ 90%) และเบรนท์ กับ WTI (เหลือ 92%) แต่ความสัมพันธ์ระหว่าง โอมาน ดูไบ และเบรนท์ ดูเสมือนว่าจะยังคงสถานะเดิม (98%)

 

หากดูตัวเลขล่าสุด คือ การเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำมันประเภทต่างๆ ก็จะเห็นข้อมูลดังตารางที่ 2

 

จะเห็นได้ว่าในปี 2010 นั้น ราคาน้ำมันประเภทต่างๆ ปรับตัวในทิศทางเดียวกัน แต่มีความแตกต่างที่มีนัยสำคัญระหว่างโอมาน/ดูไบ และ WTI ซึ่งปรับเพิ่มขึ้น 13% และ 15% ตามลำดับ ขณะที่น้ำมันดิบเบรนท์ปรับเพิ่มขึ้นมากถึง 22% ที่สำคัญ คือ ความผิดเพี้ยนของราคาน้ำมันประเภทต่างๆ เห็นได้ชัดมากขึ้นนับแต่ต้นปีนี้ โดยราคา WTI ปรับลดลง 7% ในขณะที่ราคาน้ำมัน โอมาน/ดูไบ และเบรนท์ เพิ่มขึ้น 9% และ 8% ตามลำดับ คำถาม คือ ความผิดเพี้ยนของราคาดังกล่าวมีสาเหตุจากปัจจัยอะไร และเป็นความผันผวนชั่วคราวหรือมีปัจจัยที่จะทำให้โครงสร้างของราคาน้ำมันเปลี่ยนไปจากเดิมในระยะยาว

 

ตรงนี้คงเป็นเรื่องที่จะต้องแสวงหาข้อมูลกันต่อไป โดยผมได้นำเอาบทความที่ผมเห็นว่าน่าจะมีความเกี่ยวข้องกับประเด็นนี้มานำเสนอ 2 บทความ แต่ก่อนกล่าวถึงบทความดังกล่าวเราต้องทำความเข้าใจว่าน้ำมันดิบที่ไทยนำเข้านั้นส่วนใหญ่ คือ น้ำมันโอมาน ซึ่งราคาเทียบเคียงได้กับราคาน้ำมันดูไบและใกล้เคียงกับเบรนท์ มากกว่า WTI ดังนั้น เมื่อราคา WTI ปรับลดลงนั้นอาจไม่ใช่ข่าวดีสำหรับประเทศไทยก็ได้

 

บทความเขียนโดย John Carney ของ CNBC เมื่อ 9 กุมภาพันธ์ กล่าวถึง ข้อมูล Wikkileaks คือ โทรเลขลับของสหรัฐ ซึ่งถูกนำมาเปิดเผย อ้างว่าบริษัทน้ำมันของประเทศซาอุดีอาระเบีย คือ Aramco นั้น ประเมินว่า ประเทศซาอุฯ มีน้ำมันสำรอง (reserve) เท่ากับ 716,000 ล้านบาร์เรล ซึ่ง 51% ของสำรองดังกล่าว (365,160 ล้านบาร์เรล) นั้น สามารถขุดเจาะออกมาใช้ได้ นอกจากนั้น ยังเชื่อมั่นว่าจะสามารถค้นพบน้ำมันเพิ่ม ทำให้สำรองทั้งหมดเพิ่มขึ้นเป็น 900,000 ล้านบาร์เรล ใน 20 ปีข้างหน้า แต่ผู้เชี่ยวชาญไม่เห็นด้วยกับการประเมินดังกล่าวและเชื่อว่าตัวเลขน้ำมันสำรองที่ Aramco อ้างถึงนั้นอาจสูงเกินจริงมากถึง 30% (หมายความว่าสำรองที่มีอยู่จริงนั้นมีเพียง 550,000 ล้านบาร์เรล) ดังนั้น จึงเป็นไปได้มากกว่าใน 2-3 ปีข้างหน้าการผลิตน้ำมันของซาอุฯ จะถึงจุดสูงสุด และหลังจากนั้น อีก 15 ปี ก็จะค่อยๆ ลดลงตามทฤษฎี Peak oil ที่ผมเคยเขียนถึงมาแล้ว ทำให้สถานทูตสหรัฐ ณ กรุงริยาด แสดงความเป็นห่วงว่า Aramco จะต้องทำงานหนักมากขึ้นเพื่อรักษาระดับการผลิตปัจจุบันและสรุปว่าประเทศซาอุฯ นั้น สามารถทำให้ราคาน้ำมันปรับขึ้นได้ (เพราะปริมาณการผลิตมีแนวโน้มลดลง) แต่จะไม่สามารถทำให้ราคาน้ำมันปรับลดลงได้เหมือนแต่ก่อน หากข้อมูลจากบทความดังกล่าวเป็นจริงก็จะไม่แปลกอะไรที่ราคาน้ำมันในตะวันออกกลางน่าจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอนาคต

 

สำหรับราคาน้ำมัน WTI นั้น ผมขอนำเสนอข่าวที่รายงานโดยสำนักข่าวเอพีเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ ว่า การผลิตน้ำมันของสหรัฐนั้นเคยสูงสุดที่ 9.6 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 1970 และจากนั้นก็ปรับลดลงมาอย่างต่อเนื่อง แม้จะค้นพบและขุดเจาะน้ำมันจากมลรัฐอลาสกาในทศวรรษ 80 และในอ่าวเม็กซิโกในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา (ในทั้งสองกรณีก็ได้มีอุบัติเหตุทำให้น้ำมันดิบไหลออกมาทำลายสภาวะสิ่งแวดล้อมอย่างมาก) อย่างไรก็ดี ปริมาณการผลิตน้ำมันของสหรัฐนั้นเหลือเพียง 5 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2008

 

แต่ ได้มีการค้นพบวิธีเจาะก๊าซธรรมชาติแบบใหม่ เรียกว่า hydraulic fracturing (ขอใช้ตัวย่อว่า HF) คือ การขุดเจาะในแนวดิ่งและหักหัวมาเจาะตามแนวนอน (horizontal drilling) ทำให้สามารถเจาะเข้าไปในหินสู่แหล่งก๊าซธรรมชาติ ทั้งนี้ โดยการสูบน้ำทรายและเคมีต่างๆ เข้าไปในหลุมที่ขุดเจาะดังกล่าว เพื่อดันให้ก๊าซธรรมชาติไหลออกมาสู่พื้นดินได้ เทคโนโลยี HF ดังกล่าวได้ถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายทำให้อุตสาหกรรมก๊าซธรรมชาติของสหรัฐพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว แม้ว่ากลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติจะแสดงความเป็นห่วงว่าวิธีการดังกล่าวอาจนำไปสู่การสร้างมลภาวะให้กับแหล่งน้ำดื่มใกล้เคียง แม้ว่าสำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของสหรัฐ (EPA) ได้เคยทำการศึกษาเรื่องนี้และสรุปว่าการขุดเจาะดังกล่าวจะไม่เป็นภัยอันตราย กล่าวโดยสรุป คือ เทคโนโลยี HF ได้ทำให้สหรัฐประเมินว่าจะมีก๊าซธรรมชาติสำรองใช้ไปได้อีกเป็นร้อยปี ทำให้ราคาก๊าซธรรมชาติในสหรัฐต่ำกว่าราคาน้ำมันดิบอย่างมาก เมื่อคำนวณโดยใช้มาตรฐานการใช้งานเดียวกัน ทำให้เชื่อได้ว่าต่อไปอุตสาหกรรมและบ้านเรือนของสหรัฐจะปรับตัวไปสู่การใช้ก๊าซธรรมชาติมากขึ้น ทำให้ความต้องการน้ำมันดิบมีสัดส่วนลดลง ซึ่งอาจเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่จะทำให้ราคาน้ำมัน WTI ไม่ปรับตัวขึ้นมาก

 

แต่ ประเด็นหลักของบทความนั้นกล่าวถึงการนำเอาเทคโนโลยี HF นี้ มาดัดแปลงเพื่อใช้ในการขุดเจาะและ "ไล่" น้ำมันดิบออกมาในทำนองเดียวกับการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติ ทั้งนี้ เดิมทีบริษัทน้ำมันเข้าใจว่าเทคโนโลยีดังกล่าวจะไม่สามารถนำมาใช้กับน้ำมันดิบได้เพราะน้ำมันดิบหนักกว่าก๊าซธรรมชาติมาก แต่วิวัฒนาการต่างๆ ทำให้พบว่า HF นั้นใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากในการขุดเจาะน้ำมันดิบ ซึ่งเริ่มทดลองครั้งแรกในปี 2007 ที่หลุมน้ำมัน Bakken ในบริเวณมลรัฐ North Dakota และ Montana ทำให้ปริมาณการผลิตน้ำมันในบริเวณดังกล่าวเพิ่มขึ้น 50% เป็น 458,000 บาร์เรลต่อวัน ต่อมาเมื่อนำเอา HF ไปใช้ที่บริเวณอื่นๆ ก็ประสบผลสำเร็จเช่นที่ Eagle Ford (รัฐเทกซัส) ทำให้การผลิตเพิ่มขึ้น 11 เท่าในปี 2010 และเชื่อว่าจะสามารถนำเอา HF ไปใช้ได้ที่หลุม Niobrara ซึ่งอยู่ในมลรัฐ Wyoming Colorado Nebraska และ Kansas ตลอดจนที่หลุม Leonard ที่มลรัฐ New Mexico Texas และ California ทำให้อุตสาหกรรมน้ำมันของสหรัฐเชื่อว่าสามารถขุดเจาะน้ำมันจากหลุม Bakken และ Eagle Ford อีก 4,000 ล้านบาร์เรล โดยมีต้นทุนที่ต่ำกว่าการขุดเจาะใต้ทะเลและเชื่อว่าสหรัฐจะสามารถผลิตน้ำมันได้เพิ่มขึ้นอีก 1-2 ล้านบาร์เรลต่อวันใน 5 ปีข้างหน้า ทำให้การพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศ (ตะวันออกกลาง) ลดลงอย่างมาก ซึ่งอาจเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ราคาน้ำมัน WTI ปรับตัวลงในขณะที่ราคาน้ำมันอื่นๆ ปรับตัวขึ้น เพราะการขุดเจาะดังกล่าวของสหรัฐจะช่วยการบริโภคภายในของสหรัฐเป็นหลัก แต่จะไม่มีปริมาณสูงเพียงพอที่จะฉุดราคาน้ำมันประเภทอื่นๆ ลง และสุดท้าย ตลาดซื้อขาย WTI จะเป็นการทำธุรกรรมทางการเงินและการเก็งกำไรอย่างมาก ในขณะที่ตลาดซื้อขายอื่นจะสะท้อนอุปสงค์และอุปทานจริงเป็นหลัก แต่หากราคา WTI เมื่อเทียบกับน้ำมันอื่นๆ แตกต่างกันมากขึ้น ก็จะเกิดการเก็งส่วนต่างของราคา (Arbitrage) ซึ่งจะจำกัดความแตกต่างของราคาในระยะยาว

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ราคาน้ำมัน

เศรษฐศาสตร์จานร้อน : ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ กรุงเทพธุรกิจ วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

 

ในทางปฏิบัติเราจะดูราคาน้ำมันดิบ WTI หรือราคาน้ำมันของ West Texas สหรัฐอเมริกาเป็นราคาอ้างอิงราคาน้ำมันโลก นอกจากนี้ ก็มีราคาน้ำมันอื่นๆ เช่น เบรนท์ โอมาน และดูไบ ที่เป็นแหล่งสำคัญ อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันต่างๆ จะปรับตัวไปในทิศทางเดียวกัน เห็นได้จากการคำนวณสหสัมพันธ์ (correlation) หรือความสัมพันธ์กันทางสถิติดังตารางที่ 1

 

จะเห็นได้ว่าราคาน้ำมันทั้ง 4 ประเภทมีความสัมพันธ์กันสูงถึง 99% ในช่วง 2008-2011 (และหากจะเพิ่มตัวเลขกลับไปในอดีตอีกหลายปีก็ยังจะได้ค่าสหสัมพันธ์สูงใกล้เคียงเดิม) แต่ที่น่าสนใจ คือ ความสัมพันธ์ทางสถิติดังกล่าวได้เริ่มเสื่อมถอยลงในระยะหลัง โดยเฉพาะระหว่าง WTI กับน้ำมันประเภทอื่นๆ เห็นได้จากค่าสหสัมพันธ์ที่ปรับลดลงของราคาน้ำมันโอมาน และดูไบ กับ WTI (เหลือ 90%) และเบรนท์ กับ WTI (เหลือ 92%) แต่ความสัมพันธ์ระหว่าง โอมาน ดูไบ และเบรนท์ ดูเสมือนว่าจะยังคงสถานะเดิม (98%)

 

หากดูตัวเลขล่าสุด คือ การเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำมันประเภทต่างๆ ก็จะเห็นข้อมูลดังตารางที่ 2

 

จะเห็นได้ว่าในปี 2010 นั้น ราคาน้ำมันประเภทต่างๆ ปรับตัวในทิศทางเดียวกัน แต่มีความแตกต่างที่มีนัยสำคัญระหว่างโอมาน/ดูไบ และ WTI ซึ่งปรับเพิ่มขึ้น 13% และ 15% ตามลำดับ ขณะที่น้ำมันดิบเบรนท์ปรับเพิ่มขึ้นมากถึง 22% ที่สำคัญ คือ ความผิดเพี้ยนของราคาน้ำมันประเภทต่างๆ เห็นได้ชัดมากขึ้นนับแต่ต้นปีนี้ โดยราคา WTI ปรับลดลง 7% ในขณะที่ราคาน้ำมัน โอมาน/ดูไบ และเบรนท์ เพิ่มขึ้น 9% และ 8% ตามลำดับ คำถาม คือ ความผิดเพี้ยนของราคาดังกล่าวมีสาเหตุจากปัจจัยอะไร และเป็นความผันผวนชั่วคราวหรือมีปัจจัยที่จะทำให้โครงสร้างของราคาน้ำมันเปลี่ยนไปจากเดิมในระยะยาว

 

ตรงนี้คงเป็นเรื่องที่จะต้องแสวงหาข้อมูลกันต่อไป โดยผมได้นำเอาบทความที่ผมเห็นว่าน่าจะมีความเกี่ยวข้องกับประเด็นนี้มานำเสนอ 2 บทความ แต่ก่อนกล่าวถึงบทความดังกล่าวเราต้องทำความเข้าใจว่าน้ำมันดิบที่ไทยนำเข้านั้นส่วนใหญ่ คือ น้ำมันโอมาน ซึ่งราคาเทียบเคียงได้กับราคาน้ำมันดูไบและใกล้เคียงกับเบรนท์ มากกว่า WTI ดังนั้น เมื่อราคา WTI ปรับลดลงนั้นอาจไม่ใช่ข่าวดีสำหรับประเทศไทยก็ได้

 

บทความเขียนโดย John Carney ของ CNBC เมื่อ 9 กุมภาพันธ์ กล่าวถึง ข้อมูล Wikkileaks คือ โทรเลขลับของสหรัฐ ซึ่งถูกนำมาเปิดเผย อ้างว่าบริษัทน้ำมันของประเทศซาอุดีอาระเบีย คือ Aramco นั้น ประเมินว่า ประเทศซาอุฯ มีน้ำมันสำรอง (reserve) เท่ากับ 716,000 ล้านบาร์เรล ซึ่ง 51% ของสำรองดังกล่าว (365,160 ล้านบาร์เรล) นั้น สามารถขุดเจาะออกมาใช้ได้ นอกจากนั้น ยังเชื่อมั่นว่าจะสามารถค้นพบน้ำมันเพิ่ม ทำให้สำรองทั้งหมดเพิ่มขึ้นเป็น 900,000 ล้านบาร์เรล ใน 20 ปีข้างหน้า แต่ผู้เชี่ยวชาญไม่เห็นด้วยกับการประเมินดังกล่าวและเชื่อว่าตัวเลขน้ำมันสำรองที่ Aramco อ้างถึงนั้นอาจสูงเกินจริงมากถึง 30% (หมายความว่าสำรองที่มีอยู่จริงนั้นมีเพียง 550,000 ล้านบาร์เรล) ดังนั้น จึงเป็นไปได้มากกว่าใน 2-3 ปีข้างหน้าการผลิตน้ำมันของซาอุฯ จะถึงจุดสูงสุด และหลังจากนั้น อีก 15 ปี ก็จะค่อยๆ ลดลงตามทฤษฎี Peak oil ที่ผมเคยเขียนถึงมาแล้ว ทำให้สถานทูตสหรัฐ ณ กรุงริยาด แสดงความเป็นห่วงว่า Aramco จะต้องทำงานหนักมากขึ้นเพื่อรักษาระดับการผลิตปัจจุบันและสรุปว่าประเทศซาอุฯ นั้น สามารถทำให้ราคาน้ำมันปรับขึ้นได้ (เพราะปริมาณการผลิตมีแนวโน้มลดลง) แต่จะไม่สามารถทำให้ราคาน้ำมันปรับลดลงได้เหมือนแต่ก่อน หากข้อมูลจากบทความดังกล่าวเป็นจริงก็จะไม่แปลกอะไรที่ราคาน้ำมันในตะวันออกกลางน่าจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอนาคต

 

สำหรับราคาน้ำมัน WTI นั้น ผมขอนำเสนอข่าวที่รายงานโดยสำนักข่าวเอพีเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ ว่า การผลิตน้ำมันของสหรัฐนั้นเคยสูงสุดที่ 9.6 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 1970 และจากนั้นก็ปรับลดลงมาอย่างต่อเนื่อง แม้จะค้นพบและขุดเจาะน้ำมันจากมลรัฐอลาสกาในทศวรรษ 80 และในอ่าวเม็กซิโกในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา (ในทั้งสองกรณีก็ได้มีอุบัติเหตุทำให้น้ำมันดิบไหลออกมาทำลายสภาวะสิ่งแวดล้อมอย่างมาก) อย่างไรก็ดี ปริมาณการผลิตน้ำมันของสหรัฐนั้นเหลือเพียง 5 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2008

 

แต่ ได้มีการค้นพบวิธีเจาะก๊าซธรรมชาติแบบใหม่ เรียกว่า hydraulic fracturing (ขอใช้ตัวย่อว่า HF) คือ การขุดเจาะในแนวดิ่งและหักหัวมาเจาะตามแนวนอน (horizontal drilling) ทำให้สามารถเจาะเข้าไปในหินสู่แหล่งก๊าซธรรมชาติ ทั้งนี้ โดยการสูบน้ำทรายและเคมีต่างๆ เข้าไปในหลุมที่ขุดเจาะดังกล่าว เพื่อดันให้ก๊าซธรรมชาติไหลออกมาสู่พื้นดินได้ เทคโนโลยี HF ดังกล่าวได้ถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายทำให้อุตสาหกรรมก๊าซธรรมชาติของสหรัฐพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว แม้ว่ากลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติจะแสดงความเป็นห่วงว่าวิธีการดังกล่าวอาจนำไปสู่การสร้างมลภาวะให้กับแหล่งน้ำดื่มใกล้เคียง แม้ว่าสำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของสหรัฐ (EPA) ได้เคยทำการศึกษาเรื่องนี้และสรุปว่าการขุดเจาะดังกล่าวจะไม่เป็นภัยอันตราย กล่าวโดยสรุป คือ เทคโนโลยี HF ได้ทำให้สหรัฐประเมินว่าจะมีก๊าซธรรมชาติสำรองใช้ไปได้อีกเป็นร้อยปี ทำให้ราคาก๊าซธรรมชาติในสหรัฐต่ำกว่าราคาน้ำมันดิบอย่างมาก เมื่อคำนวณโดยใช้มาตรฐานการใช้งานเดียวกัน ทำให้เชื่อได้ว่าต่อไปอุตสาหกรรมและบ้านเรือนของสหรัฐจะปรับตัวไปสู่การใช้ก๊าซธรรมชาติมากขึ้น ทำให้ความต้องการน้ำมันดิบมีสัดส่วนลดลง ซึ่งอาจเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่จะทำให้ราคาน้ำมัน WTI ไม่ปรับตัวขึ้นมาก

 

แต่ ประเด็นหลักของบทความนั้นกล่าวถึงการนำเอาเทคโนโลยี HF นี้ มาดัดแปลงเพื่อใช้ในการขุดเจาะและ "ไล่" น้ำมันดิบออกมาในทำนองเดียวกับการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติ ทั้งนี้ เดิมทีบริษัทน้ำมันเข้าใจว่าเทคโนโลยีดังกล่าวจะไม่สามารถนำมาใช้กับน้ำมันดิบได้เพราะน้ำมันดิบหนักกว่าก๊าซธรรมชาติมาก แต่วิวัฒนาการต่างๆ ทำให้พบว่า HF นั้นใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากในการขุดเจาะน้ำมันดิบ ซึ่งเริ่มทดลองครั้งแรกในปี 2007 ที่หลุมน้ำมัน Bakken ในบริเวณมลรัฐ North Dakota และ Montana ทำให้ปริมาณการผลิตน้ำมันในบริเวณดังกล่าวเพิ่มขึ้น 50% เป็น 458,000 บาร์เรลต่อวัน ต่อมาเมื่อนำเอา HF ไปใช้ที่บริเวณอื่นๆ ก็ประสบผลสำเร็จเช่นที่ Eagle Ford (รัฐเทกซัส) ทำให้การผลิตเพิ่มขึ้น 11 เท่าในปี 2010 และเชื่อว่าจะสามารถนำเอา HF ไปใช้ได้ที่หลุม Niobrara ซึ่งอยู่ในมลรัฐ Wyoming Colorado Nebraska และ Kansas ตลอดจนที่หลุม Leonard ที่มลรัฐ New Mexico Texas และ California ทำให้อุตสาหกรรมน้ำมันของสหรัฐเชื่อว่าสามารถขุดเจาะน้ำมันจากหลุม Bakken และ Eagle Ford อีก 4,000 ล้านบาร์เรล โดยมีต้นทุนที่ต่ำกว่าการขุดเจาะใต้ทะเลและเชื่อว่าสหรัฐจะสามารถผลิตน้ำมันได้เพิ่มขึ้นอีก 1-2 ล้านบาร์เรลต่อวันใน 5 ปีข้างหน้า ทำให้การพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศ (ตะวันออกกลาง) ลดลงอย่างมาก ซึ่งอาจเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ราคาน้ำมัน WTI ปรับตัวลงในขณะที่ราคาน้ำมันอื่นๆ ปรับตัวขึ้น เพราะการขุดเจาะดังกล่าวของสหรัฐจะช่วยการบริโภคภายในของสหรัฐเป็นหลัก แต่จะไม่มีปริมาณสูงเพียงพอที่จะฉุดราคาน้ำมันประเภทอื่นๆ ลง และสุดท้าย ตลาดซื้อขาย WTI จะเป็นการทำธุรกรรมทางการเงินและการเก็งกำไรอย่างมาก ในขณะที่ตลาดซื้อขายอื่นจะสะท้อนอุปสงค์และอุปทานจริงเป็นหลัก แต่หากราคา WTI เมื่อเทียบกับน้ำมันอื่นๆ แตกต่างกันมากขึ้น ก็จะเกิดการเก็งส่วนต่างของราคา (Arbitrage) ซึ่งจะจำกัดความแตกต่างของราคาในระยะยาว

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ลีก (คืนวันอังคาร)

 

01.45 น. เรอัล มาดริด - สเปอร์ส ช่อง 3

01.45 น. อินเตอร์ มิลาน - ชาลเก้ 04 ช่อง 7

 

ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ลีก (คืนวันพุธ)

 

01.45 น. บาร์เซโลน่า - ชัคเตอร์ โดเนทส์ค ช่อง 3

01.45 น. เชลซี - แมนฯ ยู ช่อง 7

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...