ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

sellers came in and possibly locking in their profit as it is the end of the week and close to the end of the month.

 

In addition, gold is entering a new month where it is expected to slow down considerably (historically low number in May and June).

นักลงทุนอาจจะขายเพื่อทำกำไร ในวันนี้ เพื่อทำตัวเลขปิดเดือนเมษายน และ ปิดควอเตอร์ระดับ 4 เดือน / เป็นที่คาดโดยยึดถือประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ราคาทองจะลดค่าลง ในเดือน พฤษภาคม และ มิถุนายน

 

 

สำหรับแนวรับแนวต้าน คือ $1487 ซึ่งถ้าจะขึ้นจากราคาตอนนี้ ก็คงอย่างมาก 100-150 บาท คุ้มค่าไหม ที่จะรักกับทองคำตอนนี้ เด็กขายของบ่นว่า ไม่คุ้มกับความรักช่วงระยะสั้น แต่ต้องแบกความขมขื่น ติดดอย หรือ ซื้อแพงกว่าคนอื่น จึงถือว่า ไม่คุ้มค่า ไม่น่าเสี่ยง

Resistance: $ 1439, $ 1456, $ 1487 Support: $ 1398, $ 1371, $ 1366, $ 1325

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ลดดอกเบี้ยอุ้มบาท ภาระหนักอึ้งบนบ่า ธปท. (30/04/2556)

ถึงตอนนี้ต้องบอกว่า หน้าที่ในการตัดสินใจใช้เครื่องมือในการดูแลค่าเงินบาทไม่ให้แข็งค่าจนเกินไปได้ถูกโยนใส่มือธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ไปเรียบร้อย

 

แม้ขณะนี้ค่าเงินบาทจะเริ่มเคลื่อนไหวอ่อนค่าลงมาอยู่ที่ระดับ 29.36 บาทต่อเหรียญสหรัฐแล้ว จากเดิมที่แข็งค่าไปทดสอบ 28.56/82 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ซึ่งถือว่าแข็งค่าไปร่วม 6.28% นับจากต้นปี แต่ไม่ได้หมายความการอ่อนค่าลงมาในรอบนี้จะมีเสถียรภาพแต่อย่างใด

 

หากแต่เกิดขึ้นจากการร่วมหารือของรัฐบาล และ 3 หน่วยงานเศรษฐกิจสำคัญ อย่างกระทรวงการคลัง ธปท. และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ถึง 2 ครั้ง 2 คราภายในช่วงวันที่ 25 และ 26 เม.ย.ที่ผ่านมา เพื่อหาวิธีการกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาเงินบาทแข็งค่า จนนำมาซึ่งกระแสข่าวว่าจะมีมาตรการควบคุมเงินทุนระยะสั้นที่ลงทุนในตลาดตราสารหนี้ จนทำให้เกิดปรากฏการณ์โยกย้ายถ่ายเทเงินลงทุนของนักลงทุนต่างชาติอย่างหนักในปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา

 

แม้ผลการหารือยังไร้ข้อสรุปอะไรที่ชัดเจน และไม่มีการยืนยันว่าจะออกมาตรการมาดูแลเงินทุนต่างชาติไหลเข้าในตลาดพันธบัตร (บอนด์) หรือไม่ แต่ที่ประชุม 3 หน่วยงานได้เห็นร่วมกัน ด้วยการมอบหมายให้ ธปท.นำข้อหารือและข้อวิตกกังวลของรัฐบาลไปมอบให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) พิจารณาตัดสินใจว่าจะลดดอกเบี้ยลงมาดูแลค่าเงินหรือไม่ หรือจะใช้วิธีการใดมาดูแลค่าเงินบาทไม่ให้ผันผวน ย่อมเป็นการมัดมือมัดเท้า ธปท. และ กนง. ให้ตัดสินใจออกมาตรการมาดูแลหากค่าเงินบาทยังแข็งค่าเกินกว่าภูมิภาคอยู่เช่นนี้ ถึงขนาดเปิดทางออกให้ว่า หากไม่ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายจากปัจจุบันที่ 2.75% เพราะคิดว่าได้ไม่คุ้มเสีย กนง.ก็จำเป็นต้องมีมาตรการอื่นมาเสริมแทน

 

ถ้อยแถลงของ กิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง ที่ระบุว่า “ได้มีการปรึกษาหารือถึงข้อดีของการลดดอกเบี้ย ความเสี่ยง และผลกระทบจากการลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่ง ธปท.และ กนง. จะนำข้อมูลต่างๆ ที่ได้ประชุมร่วมกันไปปรึกษาในที่ประชุม และเป็นหน้าที่ของ กนง.ในการตัดสินใจ โดยผู้ว่าการ ธปท. และรองผู้ว่าการ ธปท. ทั้งสองท่าน จะรับเอาข้อมูลเหล่านี้ไปพิจารณาให้รอบคอบในการประชุม กนง. แต่หากอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 2.75% ก็ยังมีความเสี่ยง การมีมาตรการอื่นเสริมเป็นเรื่องจำเป็น”

 

บ่งชัดเจนว่า ภาระหน้าที่ในการตัดสินใจดำเนินมาตรการอย่างใดอย่างหนึ่งในการดูแลเงินบาทแข็งค่าเป็นหน้าที่ของ ธปท.เท่านั้น เพราะทางกระทรวงการคลังยืนยันมาตลอดว่าจะไม่ใช้เครื่องมือหรือมาตรการที่กระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน โดยเฉพาะการจัดเก็บภาษีเงินทุนไหลเข้า ในสถานการณ์เช่นนี้ หากหันกลับมาดูเครื่องไม้เครื่องมือของ ธปท.ที่ใช้ดูแลเงินบาทแข็ง ย่อมหนีไม่พ้น

 

หนึ่ง ยอมจำนนด้วยการพิจารณาปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงจากปัจจุบันที่ 2.75% แม้ว่าตัวเลือกนี้เป็นไปได้น้อย เนื่องจาก ธปท.และ กนง. กังวลต่อภาวะฟองสบู่ เพราะหากดอกเบี้ยต่ำลงถึงจะมีผลดีทำให้ต้นทุนการกู้เงินต่ำลง แต่ก็ทำให้ผลตอบแทนเงินฝากต่ำลงด้วย อาจจูงใจให้ประชาชนนำเงินออกมาใช้จ่ายกันมากขึ้น จนทำให้ราคาสินทรัพย์ปรับเพิ่มขึ้นเร็ว เกิดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจเงินเฟ้อสูงขึ้น จนกระทบต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจในระยะต่อไป แต่ใช่ว่าแนวทางนี้จะเป็นไปไม่ได้

 

อย่าลืมว่า แรงกดดันอย่างหนักของฝ่ายการเมือง คือต้องการให้ลดดอกเบี้ยลงมา

 

เป้าหมายหลักเพื่อทำให้ส่วนต่างของกำไรจากการเก็งกำไรค่าเงินบาทลดลง ลดการยั่วยวนใจของเงินนอกที่มาแสวงหาส่วนต่าง

 

เป้าหมายรองของการลดดอกเบี้ย นั่นหมายถึงต้นทุนการกู้ยืมเงินของรัฐบาลที่มีอยู่จำนวนมหาศาลจากนโยบายกู้เงินก้อนมหึมาของรัฐบาล ทั้ง พ.ร.บ.น้ำ 3.5 แสนล้านบาท พ.ร.บ.กู้เงินมาลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท และเงินกู้จากการขาดดุลงบประมาณมาใช้ในโครงการประชานิยมอีกเพียบ ย่อมลดลงตาม

 

ผลข้างเคียงอีกอย่างที่มีการซุบซิบกันหนักในวงการเงิน คือ การลดดอกเบี้ยลงมาย่อมทำให้คนที่ทำธุรกิจกันอยู่ในตลาดหุ้น ตลาดทุน และตลาดอสังหาริมทรัพย์ ตีปีกดี๊ด๊าในการหากำไรเข้ากระเป๋าตัวเองและบริษัทที่เป็นฐานทุน

 

ถ้าตัดสินใจว่าจะไม่ลดดอกเบี้ยลงมาก็ต้องใช้มาตรการที่สอง นั่นคือการเข้าแทรกแซงค่าเงินบาท เพื่อชะลอการแข็งค่าของเงินบาทในช่วงที่เงินบาทเคลื่อนไหวผันผวนแข็งค่าเร็วจนสร้างผลกระทบต่อภาคธุรกิจ

 

วิธีการนี้จะทำให้ ธปท.มีต้นทุนที่สูง หากเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าไปทิศทางเดียวก็จะกลายเป็น ธปท.เข้าไปฝืนกลไกตลาดหรือสู้ค่าเงิน ซึ่งน่าจะได้ไม่คุ้มเสีย

 

ที่ผ่านมาจึงไม่เห็น ธปท.ใช้วิธีนี้มากนัก ไม่ว่าการแทรกแซงผ่านตลาดซื้อขายและส่งมอบทันที (Spot) หรือตลาดซื้อขายล่วงหน้า (Forward) เพราะอีกด้าน ธปท.ก็ต้องการดูแลงบดุลไม่ให้ขาดทุนเพิ่มขึ้น จากปัจจุบันที่งบดุลของ ธปท.มีการขาดทุนสะสมจำนวนมหาศาล 4 แสนกว่าล้านบาท ซึ่งยังไม่มีแนวทางแก้ไขอยู่แล้ว

 

วิธีการที่สาม คือ การเก็บสำรองเงินทุนไหลเข้าระยะสั้น อย่างที่เคยทำมาในอดีต เช่น เงินทุนต่างชาติไหลเข้ามาระยะสั้น 3 เดือน หรือ 6 เดือน หรือต่ำกว่า 1 ปี ต้องหักสำรองเอาไว้ก่อน เข้ามา 100 บาท หักไว้ 30 บาท สามารถนำไปบริหารหาผลตอบแทนในไทยได้เพียง 70 บาท เป็นต้น แต่หากอยู่ลงทุนนานกว่ากำหนดก็จะคืนเงินที่หักไว้

 

อย่างไรก็ตาม มาตรการ 30% นี้ เคยส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นของไทยอย่างรุนแรง จึงมีความเป็นไปได้น้อยมากที่ ธปท.จะนำมาประกาศใช้

 

วิธีที่สี่ คือ การออกมาตรการดูแลเงินทุนไหลเข้าตลาดพันธบัตร หรือตลาดตราสารหนี้ โดยกำหนดระยะเวลาในการลงทุน นักลงทุนต่างชาติรายใดเข้ามาสั้นกว่ากำหนดก็อาจจะมีการเสียค่าธรรมเนียมในการนำเงินออก เป็นต้น

 

แนวทางนี้มีการทำกันบ้างแล้วในหลายประเทศ นักลงทุนที่เข้ามาลงทุนน่าจะยอมรับได้ระดับหนึ่ง หรือไม่ ธปท.ก็อาจจะกำหนดมาตรการเบาไปหาหนัก คือ ให้มีการรายงานเงินทุนไหลเข้ามาลงทุน เพื่อกำหนดแนวทางในการคุมเงินเข้าและออก หากรายใดออกก่อนเกณฑ์ที่กำหนดก็อาจจะพิจารณาเก็บค่าธรรมเนียม ก่อนที่จะกำหนดมาตรการหนักขึ้นเรื่อยๆ เพื่อปราบนักลงทุนว่า หากยังมีการเก็งกำไรหรือเข้ามาลงทุนสั้นเกินไปไม่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจไทย ธปท.ก็จำเป็นต้องพิจารณาเก็บค่าธรรมเนียม

 

นี่คือมาตรการที่น่าจะเห็นผลที่สุดในการดูแลตลาดเงินไม่ให้ผันผวนมากนัก

 

ที่สำคัญการผูกโบเงินที่ลงทุนในตลาดตราสารหนี้เช่นนี้จะเกิดผลดีต่อตลาดทุน ตลาดหุ้น โดยอัตโนมัติ เพราะเงินทุนไหลเข้าที่ต้องการหากำไรจากค่าเงินและผลตอบแทนที่สูงกว่าตลาดสหรัฐจะหันไปลงทุนในตลาดหุ้น ซึ่งทำให้ตลาดหุ้นฟูฟ่องและความรู้สึกของประชาชน นักลงทุน ดีขึ้น เพียงแต่มาตรการนี้ ธปท.ต้องเป็นผู้ดำเนินการในการกำหนดค่าธรรมเนียม มิใช่กระทรวงการคลัง

 

ทางออกสุดท้ายที่ทำได้อย่างต่อเนื่อง แต่มีผลต่อตลาดน้อยมาก คือ มาตรการอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการสกัดเงินทุนไหลเข้า เช่น การเพิ่มการผ่อนคลายเงินทุนไทยไหลไปลงทุนต่างประเทศ จากปัจจุบันที่ ธปท.ทยอยผ่อนผันเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

 

ซึ่งมาตรการนี้เป็นการเปิดท่อขาเข้า กับท่อขาออก ให้สมดุลกัน เพียงแต่ในทางปฏิบัติต้องยอมรับว่าจำนวนนักลงทุนในประเทศที่จะขนเงินออกไปลงทุนกับเงินร้อนที่พร้อมทะลักเข้ามานั้นไม่สัมพันธ์กันแม้แต่น้อยนิด เพราะขนาดประเทศไทยและจำนวนคนรวยในเมืองไทยน้อยกว่าเงินร้อนที่ท่วมโลกอยู่มหาศาล นี่คืออาวุธที่ ธปท.มีอยู่ในมือที่จะนำไปสู้กับค่าเงินบาทที่แข็งค่า แต่ไม่ว่าจะตัดสินใจใช้แนวทางใด ธปท.ต้องตัดสินใจอย่างแน่นอน ส่วนผลข้างเคียงต้องไปแก้ไขกันภายหลัง

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ (วันที่ 30 เมษายน 2556)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อาเซียนร้อน ต่างชาติจ่อทึ้งตลาดสินทรัพย์ (30/04/2556)

เมื่อพิจารณาสถานการณ์ทางเศรษฐกิจทั่วโลกขณะนี้ นักวิเคราะห์หลายสำนักเห็นตรงกันว่า ภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะภายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ดูจะเป็นเป้าหมายเปี่ยมเสน่ห์อันดับต้นๆ ที่นักลงทุนเชื่อมั่น

 

ยืนยันได้จากผลสำรวจนักลงทุนต่างชาติ โดยอีโคโนมิสต์ อินเทลเลเจนซ์ ยูนิต ในออสเตรเลีย ที่ระบุว่า เป้าหมายอันดับ 1 ที่จะไปลงทุนในปีนี้คืออาเซียน โดยเฉพาะในตลาดสินทรัพย์ต่างๆ

 

เพราะอาเซียนมีปัจจัยที่เอื้อต่อการเติบโต ทั้งปริมาณประชากรที่มีกำลังในการบริโภคและการทำงานมากกว่า 600 ล้านคน หรือมูลค่าการค้าระหว่างกันที่สูงถึง 2.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ

 

ทั้งนี้ 68% ของนักลงทุนจาก 730 สถาบันทั่วโลก เชื่อว่า ราคาสินค้าโภคภัณฑ์รวมถึงพลังงานและน้ำมันที่ถูกลงจะส่งผลต่อภาคอุตสาหกรรมการผลิตของอาเซียน ถึงขั้นที่อาจเป็นคู่แข่งของประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐ เนื่องจากอาเซียนยังมีความได้เปรียบในเรื่องแรงงานคน ขณะที่ 54% เห็นว่าแผนกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลจีนจะเผื่อแผ่อานิสงส์มายังอาเซียนจนทำให้เกิดโอกาสการลงทุนใหม่ๆ

 

ยิ่งกว่านั้น 53% ยังคาดว่าผลตอบแทนในตลาดหุ้นอาเซียนจะปรับสูงขึ้นจากปีก่อนขณะที่การคาดการณ์การเติบโตของภูมิภาคเอเชียโดยรวมปีนี้ ยกเว้นญี่ปุ่น น่าจะเติบโตได้ดีถึง 6.2% ซึ่งเป็นตัวเลขการเติบโตที่สูงถึง 3 เท่าเมื่อเทียบกับสหรัฐ และสวนทางกับการเติบโตของสหภาพยุโรป (อียู) ที่คาดว่าจะหดตัว 0.4%

 

อาจเรียกได้ว่าด้วยแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจ รวมถึงช่องทางโอกาสในการลงทุนของหลายประเทศในอาเซียน เช่น ภาคการคมนาคม โทรคมนาคม และการสาธารณสุขในเวียดนามหรือเมียนมาร์ ได้ส่งผลสำคัญให้นักลงทุนยังคงความเชื่อมั่นและหลั่งไหลมาลงทุนในภูมิภาคแห่งนี้มากขึ้น เห็นได้จากตัวเลขเงินทุนที่ไหลเข้ามาภายในภูมิภาคในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในตลาดหุ้นและตลาดสินทรัพย์

 

ทั้งนี้ ตลาดหุ้นหลายประเทศในอาเซียนต่างปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น โดยในช่วงปิดตลาดเมื่อวันที่ 26 เม.ย. ดัชนีสเตรทไทม์สของตลาดหุ้นสิงคโปร์ปรับขึ้นอีก 0.3% มาอยู่ที่ 3,348.87 จุด ทำให้ตลอดสัปดาห์ตลาดหุ้นสิงคโปร์ปรับขึ้นถึง 1.74% นับเป็นการเพิ่มที่สูงที่สุดในรอบ 3 เดือน ขณะที่ดัชนีเซตอินเด็กซ์ของไทยในช่วงเดียวกันเพิ่ม 2.4% กลายเป็นประเทศที่มีความเคลื่อนไหวที่ดีที่สุดในอาเซียน

 

ทว่า แม้กระแสเงินทุนต่างชาติที่หลั่งไหลเข้ามาในอาเซียนจะทำให้บรรยากาศการลงทุนคึกคัก กระนั้นบทเรียนในอดีตที่ผ่านมาเตือนให้หลายฝ่ายตระหนักดีว่า หากละเลยไม่ใส่ใจในเงินที่ไหลเข้ามาอาจส่งผลร้ายต่อเศรษฐกิจ

 

ต้องไม่ลืมว่าปริมาณเงินลงทุนโดยตรงส่วนใหญ่จากต่างชาตินิยมเข้าไปเก็งกำไรหาผลตอบแทนจากสินทรัพย์ในตลาดหุ้น ตลาดเงิน และตลาดอสังหาริมทรัพย์ ยืนยันได้จากปริมาณเงินที่เข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น ที่เงินส่วนใหญ่จะเน้นไปที่บริษัทอสังหาริมทรัพย์ของประเทศนั้นๆ

 

ขณะเดียวกัน ด้วยเงื่อนไขของสถานการณ์โลกในปัจจุบันที่เปลี่ยนไป ทำให้นักวิเคราะห์หลายสำนักต่างออกโรงเตือนว่ามาตรการเดิมๆ ที่เคยใช้มาในอดีตอาจจะใช้ไม่ได้ผลอีกต่อไป

 

ธาร์มัน ชานมูการัตนัม รัฐมนตรีคลังสิงคโปร์ กล่าวในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีคลังอาเซียนเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาที่บรูไน ว่า อาเซียนจำเป็นต้องเรียนรู้เพื่อจัดการรับมือในรูปแบบที่ต่างออกไป และต้องให้มั่นใจว่านโยบายที่นำมาใช้จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดสภาวะฟองสบู่ในตลาดสินทรัพย์ของภูมิภาค

 

ทั้งนี้ สิงคโปร์ถือเป็นชาติอันดับต้นๆ ในอาเซียนที่ออกมาตรการคุมทุนไหลเข้า ด้วยการเก็บอากรแสตมป์จากการซื้อขายที่อยู่อาศัยหลังที่สองของชาวต่างชาติและภาคเอกชนที่อาศัยอยู่ในสิงคโปร์ โดยเป็นมาตรการเดียวกันกับที่เขตปกครองพิเศษฮ่องกงนำมาใช้ก่อนหน้า โดยสิงคโปร์เรียกเก็บในอัตรา 15% ของราคาซื้อซึ่งเพิ่มขึ้นจากอัตราเดิมซึ่งอยู่ที่ 10%

 

ขณะที่เมื่อกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ได้ส่งสัญญาณเตรียมออกกฎคุมตลาดอสังหาริมทรัพย์ หลังพบว่าภาคธนาคารมีการปล่อยสินเชื่อเพื่อบ้านและที่ดินเพิ่มมากขึ้น โดยตัวเลขการกู้ยืมและการลงทุนปรับตัวสูงขึ้นถึง 18.9% หรืออยู่ที่ 1.36 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2555 พร้อมกันนี้ ยังประกาศตัดลดอัตราดอกเบี้ยในบัญชีเงินฝากพิเศษจาก 2.5% เป็น 2% ซึ่งนับเป็นครั้งที่ 3 ของปี เพื่อให้กองทุนต่างชาติไหลเข้าไปลงทุนในตลาดอื่นแทน

 

ทั้งนี้ แม้ข้อมูลจากอาร์บีซี แคปปิตอล มาร์เก็ต จะแสดงให้เห็นว่าเงินไหลเข้าอาเซียนได้ผ่อนคลายขึ้น โดยเงินไหลเข้าในเดือน มี.ค. ลดลงอยู่ที่ 933 ล้านเหรียญสหรัฐ จาก 1,110 ล้านเหรียญสหรัฐในเดือนก่อนหน้า แต่ตราบใดที่ญี่ปุ่นยังคงอัดเงินเข้าระบบ อาเซียนก็ยังต้องรับมือกับกระแสเงินทุนมหาศาลที่จะเข้ามา โดยเฉพาะไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ที่คาดกันว่าจะเป็นเป้าหมายรายใหญ่ เพราะยังไม่มีนโยบายที่ชัดเจนเพื่อรับมือกับกระแสเงินทุนไหลเข้าในหมู่ประเทศที่เอ่ยถึงข้างต้น

 

ทว่า ผู้เชี่ยวชาญอีกส่วนหนึ่งแย้งว่า อาเซียนควรใช้มาตรการคุมทุนไหลเข้าอย่างระมัดระวัง เพราะถ้าเข้มงวดมากเกินไปก็อาจตัดโอกาสผลักดันเศรษฐกิจให้เติบโตก้าวหน้าขึ้น

 

ขณะเดียวกัน หากสามารถจัดการรับมือได้ลงตัวแล้ว อาเซียนย่อมสามารถเป็นฝ่ายกอบโกยผลประโยชน์เข้าประเทศได้เช่นเดียวกัน

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ (วันที่ 30 เมษายน 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นายกฯส​เปนยืนยันอียูจะ​ให้​เวลามากขึ้น​เพื่อบรรลุ​เป้าลดขาดดุล(30/04/2556)

นายกรัฐมนตรีมาริอา​โน ราฮอยของส​เปน ยืนยันว่าสหภาพยุ​โรป (อียู) จะ​ให้​เวลาส​เปนมากขึ้น​ใน​การบรรลุ​เป้าหมายลด​การขาดดุลของประ​เทศ

 

"​เป้าหมาย​การขาดดุลปีนี้อยู่ที่ 4.5% ​แต่ตอนนี้คณะกรรมาธิ​การยุ​โรป (อีซี) ระบุว่าต้องอยู่ที่ 6.3%" นายราฮอย​เปิด​เผย​ในระหว่าง​การพบปะกับนักธุรกิจ

 

นายราฮอยกล่าวว่า ​เขา"พึงพอ​ใจ" กับน​โยบายที่รัฐบาลส​เปนดำ​เนิน​การ​เพื่อลด​การขาดดุลของประ​เทศ ​แม้​เขาต้อง​การจะมี​เวลา​เพิ่มมากขึ้น​เพื่อปรับสมดุลบัญชีของประ​เทศ​ก็ ตาม

 

อย่าง​ไร​ก็ตาม นายราฮอย​ไม่พอ​ใจกับ​การขยายตัวทาง​เศรษฐกิจ​และ​การสร้างงาน​ในส​เปน ภายหลังสำนักงานสถิติ​แห่งชาติส​เปน (INE) รายงาน​ในสัปดาห์ที่​แล้วว่า ​ผู้ว่างงาน​ในส​เปนมีจำนวนสูงกว่า 6,202,700 คน

 

​ทั้งนี้ ส​เปน​ได้​ใช้​เงินราว 1.26 พันล้านยู​โร (ประมาณ 1.65 พันล้านดอลลาร์) ที่​ได้จากอียู ​เพื่อลดอัตราว่างงาน​ในวัยหนุ่มสาว ​ซึ่ง​เป็น​แผน​การที่อีซีระบุว่าจะส่งผลต่อคนวัยหนุ่มสาวชาวส​เปนราว 150,000 คน

 

​ทั้งนี้ นายราฮอย​ได้ย้ำ​ในจุดยืนหลายครั้งว่าส​เปนจะสร้างงาน​ในปี 2557 ​โดย​เขากล่าววานนี้ว่ารัฐบาลจะดำ​เนิน​การปฏิรูป​เชิง​โครงสร้างต่อ​ไป ขณะที่สร้าง​ความมั่น​ใจว่า​แม้สถาน​การณ์​การว่างงานย่ำ​แย่ลง ​แต่สถาน​การณ์​โดยทั่ว​ไป​ในประ​เทศ​ได้ปรับตัวดีขึ้น สำนักข่าวซินหัวรายงาน

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์(วันที่ 30 เมษายน 2556)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น
WHO ระบุ ไวรัส H7N9 อันตรายร้ายแรงที่สุด ข่าวต่างประเทศ วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ.2556 8:35น. ตัวเลขผู้เสียชีวิตเหยื่อไข้หวัดนกในจีนเพิ่มขึ้น เป็น 24 ราย องค์การอนามัยโลก ระบุ เป็นไวรัสที่อันตรายร้ายแรงที่สุด สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า ตัวเลขผู้เสียชีวิตจากไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 ในจีนเพิ่มขึ้นเป็น 24 รายแล้ว หลังจากมีการยืนยันว่า ชายชราวัย 89 ปี เสียชีวิตลง หลังล้มป่วยจากการติดเชื้อไวรัส H7N9 และเข้ารับการรักษาพยาบาลในเมืองเซี่ยงไฮ้ ทางภาคตะวันออกของประเทศ นาน 12 วัน ขณะที่ตัวเลขผู้ป่วยมีมากกว่า 120 ราย ทางการจีนเริ่มพบผู้ป่วยติดเชื้อ H7N9 เป็นครั้งแรก ในช่วงปลายเดือนมีนาคม ก่อนที่จะมีการแพร่กระจายไปตามเมืองต่าง ๆ ในภาคตะวันออก และไต้หวัน ผู้เชี่ยวชาญกังวลว่า มีความเป็นไปได้ที่เชื้อไวรัสจะมีการติดต่อจากคนสู่คนได้ แต่ยังไม่มีหลักฐานยืนยัน ขณะที่ องค์การอนามัยโลก ระบุ H7N9 เป็น หนึ่งในเชื้อไวรัสที่อันตรายร้ายแรงที่สุด และแพร่เชื้อได้ง่ายกว่าสายพันธุ์ก่อนหน้านี้ ที่คร่าชีวิตประชาชนทั่วโลกหลายร้อยราย นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 http://www.innnews.co.th/shownews/show?newscode=449792

ขอเล่าสู่กันฟังค่ะ เผื่ออยากป้องกัน เพิ่งไปฉีดวัคซีน 3 สายพันธ์ ซึ่งมีตัวนี้ด้วยค่ะ ที่ศิริราช สดวก รวดเร็ว ไม่แพง ไปที่opdชั้น1 บอกเขาว่ามาขอฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ที่เหลือก็ไปตามที่เขาอธิบายค่ะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อึ้งกับความไฮเทค ภาพที่ถ่ายจากด้านหลัง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

ขอเล่าสู่กันฟังค่ะ เผื่ออยากป้องกัน เพิ่งไปฉีดวัคซีน 3 สายพันธ์ ซึ่งมีตัวนี้ด้วยค่ะ ที่ศิริราช สดวก รวดเร็ว ไม่แพง ไปที่opdชั้น1 บอกเขาว่ามาขอฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ที่เหลือก็ไปตามที่เขาอธิบายค่ะ

ป้องกันแต่เนิ่นๆ ดีมากเลยครับ ก่อนที่จะขาดแคลนวัคซีน / รับทราบ ขอบคุณมากครับ สำหรับแบ่งปันข้อมูล

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

จีที เวลธ์ จับตาเงินบาทกระทบการลงทุนทองคำ(30/04/2556)

จีที เวลธ์ แมเนจเมนท์ สรุปภาวะ Precious Metals Futures วันนี้ (30 เมษายน 2556) ภาคเช้า ราคาทองคำในตลาดโลกปรับเพิ่มขึ้น US$13.29 ต่อออนซ์ ปิดที่ระดับ US$1,475.79 ต่อออนซ์

ราคาได้รับแรงหนุนก่อนการประชุม FOMC และการประชุม ECB หลังการรายงานตัวเลข GDP ไตรมาส 1 ที่ออกมาต่ำกว่าคาดการณ์ ทำให้ตลาดคาดว่าการดำเนินนโยบายผ่อนคลายทางการเงินของ FED จะยังดำเนินต่อไปทำให้ค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ เทียบสกุลเงินหลักอ่อนค่าลงต่อเนื่องโดยเมื่อวานอ่อนค่าลงอีก 0.332 จุด ขณะที่การประชุม ECB ในช่วงวันพฤหัสบดีก็คาดว่าอาจจะมีการผ่อนคลายนโยบายอย่างการลดอัตราดอกเบี้ย นโยบายลงหลังจากที่เศรษฐกิจยูโรโซนชะลอตัวลงต่อเนื่อง ค่าเงินบาททรงตัวก่อนการประชุมนัดพิเศษของ กนง. ในวันนี้ โดยเคลื่อนไหวใกล้ 29.25 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐฯ กองทุน SPDR รายงานการขายทองคำอีก 2.41 ตัน มาถือครองที่ระดับ 1,080.64 ตัน

 

ราคาทองคำโลกเช้านี้ (Gold Spot) เคลื่อนไหวเหนือระดับ US$1,470 โกลด์ฟิวเจอร์สัญญาสิ้นสุดอายุเดือนมิถุนายน 2556 (GFM13) ราคาเปิดเช้านี้ที่ 20,530 บาท ส่วนราคาทองคำที่ประกาศโดยสมาคมค้าทองคำวันนี้ ราคาเสนอซื้อ 20,350 บาท ราคาเสนอขาย 20,450 บาท คงที่

 

แนวโน้มทองคำ นายกมลธัญ พรไพศาลวิจิต ผู้จัดการฝ่ายวิเคราะห์ บริษัท จีที เวลธ์ แมเนจเมนท์ จำกัดและผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทองคำ กล่าวว่า Demand ทองคำในเอเชียยังหนุนราคาทองคำในตลาดโลก สะท้อนผ่านค่า premium ของการซื้อทองต่อออนซ์เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่การอ่อนตัวลงของราคาทองคำในช่วงกลางเดือนยังกระตุ้นการเข้าเก็งกำไร อย่างไรก็ดีการลงทุนทองคำยังต้องระมัดระวังเนื่องจากยังเป็น Trend ขาลง ทำให้อาจจะมีการแรงขายทำกำไรต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่นการขายหน่วยลงทุนของกองทุน ETF ที่ทำให้ระดับการถือครองทองคำของกองทุนลดลงอย่างต่อเนื่อง ทิศทางเงินบาทยังเป็นประเด็นสำคัญต่อการลงทุนทองคำ การประชุม กนง. นัดพิเศษวันนี้จึงเป็นประเด็นที่ต้องติดตาม

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ(วันที่ 30 เมษายน 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อังกฤษเผยความเชื่อมั่นผู้บริโภคแย่ลงในเดือนเม.ย. เหตุฐานะการเงินตกต่ำ

 

 

ผลสำรวจจากบริษัทวิจัย GfK ระบุว่า ความเชื่อมั่นผู้บริโภคอังกฤษในเดือนเม.ย.ลดลงแตะ -27 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับแต่ปลายปีที่แล้ว เทียบกับระดับ -26 ในเดือนมี.ค.

ความเชื่อมั่นที่ย่ำแย่ลงในเดือนนี้ เป็นผลมาจากฐานะการเงินของภาคครัวเรือนที่ตกต่ำจากอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นและแรงกดดันด้านค่าจ้าง ซึ่งส่งผลกระทบต่อความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยของชาวอังกฤษ

ข้อมูลของ GfK ระบุว่า ผู้บริโภคอังกฤษมีมุมมองที่เป็นบวกมากขึ้นเล็กน้อยเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจในช่วงปีที่ผ่านมาและในช่วง 12 เดือนข้างหน้า แต่กลับมีมุมมองลบมากขึ้นต่อแนวโน้มฐานะการเงินส่วนบุคคล ซึ่งส่งผลให้ผู้บริโภคไม่ต้องการที่จะใช้จ่ายมากนัก

ทั้งนี้ การจับจ่ายของผู้บริโภคนับเป็นส่วนสำคัญต่อการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจของอังกฤษ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

พรุ่งนี้ วัดหยุด แต่ เรา ยังคง ทำงาน ต่อ เพราะ spot ไม่หยุุัด -*-

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วันนี้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงในรอบหนึ่งสัปดาห์ครึ่ง เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักอื่นๆ ในช่วงต้นตลาดเอเชีย จากการปรับตัวลดลงของอัตราพันธบัตรและการชะลอตัวของภาวะเงินเฟ้อ จึงเป็นแรงกดดันให้เฟดอาจดำเนินมาตรการต่อไป

 

ค่าเงินดอลลาร์ได้รับผลกระทบจากการที่ตั๋วเงินคลังอายุ 2 ปี ในรอบ 9 เดือน แตะระดับ 0.21% และจากอัตราภาวะเงินเฟ้อที่ชะลอตัวลง จึงส่งผลให้ผู้มีส่วนในตลาดต่างๆมีความมั่นใจว่าธนาคารกลางต่างๆจะดำเนินการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไป

 

ดัชนีค่าเงินดอลลาร์ (Dollar Index)ในตลาดล่าสุดแตะระดับ 82.151 ซึ่งลดลงมากกว่า 0.4% จากระดับต่ำสุด 82.035 ซึ่งเป็นระดับที่ไม่เคยมีมาก่อนตั้งแต่ 17 เมษายน

 

อย่างไรก็ตาม ค่าเงินยูโรอาจมีการปรับตัวได้อย่างจำกัด เนื่องจากมีการคาดการณ์ว่าอีซีบีจะทำการตัดลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมที่จะมีขึ้นในวันพฤหัสบดี

 

นอกจากนี้ ตลาดต่างๆ กำลังจับตาไปยังตัวเลขความเชื่อมั่นผู้บริโภคของเยอรมนี ยอดค้าปลีก และอัตราคนว่างงาน ที่จะประกาศในวันนี้ ซึ่งข้อมูลด้านภาวะเงินเฟ้อของเยอรมนีที่ประกาศเมื่อวานนี้ได้สร้างความน่าประหลาดใจกับผลที่ออกมาแย่ลง

 

ประเทศในกลุ่มยูโรโซนส่วนใหญ่ประสบปัญหาสภาวะเศรษฐกิจถดถอย ซึ่งข้อมูลล่าสุดต่างๆชี้ให้เห็นว่าประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่เริ่มอ่อนแอของยุโรป อาจเผชิญกับการตัดลดอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 0.75% ของอีซีบี โดยการตัดลดครั้งใหม่อาจทำให้ระดับดอกเบี้ยต่ำลงกว่าเดิม

credit mtsgold

ที่มา: Reuters – U.S. dollar subdued as low inflation alters Fed calculus, 30 April 2013, 08:12am by Ian Chua

 

cleardot.gif

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

พรุ่งนี้ วัดหยุด แต่ เรา ยังคง ทำงาน ต่อ เพราะ spot ไม่หยุุัด -*-

ก็ยินดีด้วย แสดงว่า " ไม่ได้ใช้แรงงาน " ส่วนวันพืชมงคล ก็คงไม่หยุด แสดงว่า " ไม่ใช่ข้าราชการ หรือ ชาวนา " เป็นระดับ " ใช้สมองในการทำงาน " 5555

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

การประชุมเฟด 30 เม.ย.- 1 พ.ค. 2556 ... คาดเฟดยังคงมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณอย่างต่อเนื่อง

 

 

ประเด็นสำคัญ

- คาดเฟดยังคงอัตราดอกเบี้ยและมาตรการซื้อสินทรัพย์ที่ระดับ 85 พันล้านดอลลาร์ฯ/เดือนอย่างต่อเนื่องในการประชุมวันที่ 30 เมษายน – 1 พฤษภาคม 2556 นี้

- ท่ามกลางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ยังคงเปราะบางจากแรงกดดันด้านการปรับลดงบประมาณ และการหมดอายุลงของมาตรการการปรับลดภาษีการจ้างงาน การดำเนินมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณของเฟดยังคงมีความจำเป็น

- ทั้งนี้ ทิศทางของกระแสการไหลเข้าของเงินทุน ยังคงเป็นปัจจัยที่ท้าทายต่อเนื่อง จนกว่าตลาดเริ่มกลับมาพิจารณาถึงโอกาสในการปรับลดการซื้อพันธบัตรของเฟด

 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ในการประชุม ณ วันที่ 30 เมษายน – 1 พฤษภาคม 2556 นี้ เฟดน่าจะยังคงขนาดของการซื้อสินทรัพย์ที่ 85 พันล้านดอลลาร์ฯ/เดือนต่อเนื่องถึงช่วงปลายปี 2556 เป็นอย่างน้อย หลังการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาส 1/2556 ออกมาค่อนข้างผิดหวัง โดยการปรับลดรายจ่ายภาครัฐฯ รวมทั้งการสิ้นสุดมาตรการปรับลดภาษีการจ้างงาน ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการฉุดรั้งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อในปัจจุบันที่อยุ่ในระดับต่ำอาจเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เฟดยังคงมีความยืดหยุ่นในการดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายเชิงปริมาณอย่างต่อเนื่อง

 

การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงต้องเผชิญแรงกดดันต่อเนื่อง จากการปรับลดงบประมาณ และการหมดอายุลงของมาตรการการปรับลดภาษีการจ้างงาน

ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในช่วงไตรมาส 1/2556 จะสามารถขยายตัวได้ 2.5% (QoQ s.a.) ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลของฐานที่จีดีพีไตรมาสก่อนขยายตัวเพียง 0.4% แต่หากพิจารณาถึงรายละเอียดขององค์ประกอบใน GDP สหรัฐฯ จะพบว่า ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับประเด็นด้านการคลังได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ โดยการลงทุนภาคเอกชนเริ่มชะลอตัวลง สอดคล้องกับเครื่องชี้ภาคการผลิตที่เริ่มสะท้อนทิศทางการขยายตัวที่ชะลอลงของกิจกรรมการผลิตในระยะข้างหน้า ขณะที่เครื่องชี้ภาคการบริโภคอันได้แก่ ยอดค้าปลีกและความเชื่อมั่นผู้บริโภคก็เริ่มปรับตัวลดลง สะท้อนถึงมุมมองที่แย่ลงของผู้บริโภคสหรัฐฯ ที่ส่วนหนึ่งคงได้รับผลกระทบจากการสิ้นสุดของมาตรการปรับลดภาษีการจ้างงาน (Payroll-Tax Cut) และการปรับขึ้นภาษีเงินได้ อันจะเห็นได้จากการขยายตัวของรายได้หลังหักภาษี (Disposable Income) ของอเมริกันชนที่ปรับลดลง นอกจากนี้ การปรับลดงบประมาณของสหรัฐฯ ยังมีผลกดดันการฟื้นตัวของตลาดแรงงาน ผ่านการจ้างงานของภาครัฐที่คงปรับลดลง

ทั้งนี้ เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในระยะข้างหน้ายังคงต้องเผชิญกับผลกระทบจากการปรับลดรายจ่ายมูลค่า 85 พันล้านดอลลาร์ฯ และความไม่แน่นอนเกี่ยวกับประเด็นการขยายเพดานหนี้สาธารณะ ที่มาตรการผ่อนผันชั่วคราวจะหมดอายุลงในช่วงกลางเดือน พ.ค. 56 นี้ และภาคการเมืองยังไม่สามารถหาข้อยุติในประเด็นดังกล่าวได้ ซึ่งนำไปสู่ความเสี่ยงที่รัฐบาลสหรัฐฯ อาจผิดนัดชำระหนี้ รวมทั้งมีความเป็นไปได้ที่สหรัฐฯ อาจต้องเผชิญกับมาตรการปรับลดงบประมาณเพิ่มเติม เพื่อแลกกับการขยายเพดานหนี้สาธารณะ ซึ่งจะกลายเป็นปัจจัยกดดันการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ อย่างต่อเนื่องต่อไป

 

มาตราการผ่อนคลายของเฟดยังคงจำเป็นต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ แต่คาดว่าเฟดอาจพิจารณาปรับลดขนาดของการซื้อพันธบัตรในช่วงปลายปีนี้หรือต้นปีหน้า หากพัฒนาการของตลาดแรงงานปรับตัวดีขึ้น กว่าระดับในปัจจุบัน

แม้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะทยอยฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง แต่พัฒนาการของภาคการบริโภคและภาคการผลิตซึ่งได้รับผลกระทบอย่างมากในช่วงวิกฤติและมีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยค่อนข้างสูง ยังคงมีความเปราะบางอยู่ ขณะที่ หากพิจารณาสภาวะเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ที่ปัจจุบันยังคงอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่อง ผนวกกับการค้นพบแหล่งพลังงานในชั้นหินดินดานในสหรัฐฯ (Shale Gas) ก็น่าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อให้อยู่ในขอบเขตที่ไม่น่ากังวลมากนักในระยะข้างหน้า และส่งผลให้เฟดยังคงมีความยืดหยุ่นในการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเชิงปริมาณอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ คาดว่าเฟดคงติดตามพัฒนาการทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ อย่างใกล้ชิด และจะมีการพิจารณาปรับลดขนาดของการซื้อสินทรัพย์ เมื่อโมเมนตัมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจมีเสถียรภาพเพียงพอที่จะขับเคลื่อนการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนต่อไป โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะต้องมีการเพิ่มตำแหน่งงานมากกว่า 200,000 ตำแหน่งต่อเดือน ติดต่อกันเป็นระยะเวลาหนึ่ง เพื่อยืนยันถึงการฟื้นตัวของตลาดแรงงานที่ไม่ได้เกิดจากปัจจัยชั่วคราว ก่อนที่เฟดจะเริ่มมีการพิจารณาถึงการปรับลดขนาดของมาตรการซื้อสินทรัพย์ลง ซึ่งหากพิจารณาถึงสภาวะตลาดแรงงานในปัจจุบันที่การเพิ่มขึ้นของตำแหน่งงานเฉลี่ยในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้อยู่ที่ประมาณ 168,000 ตำแหน่งต่อเดือน ก็นับว่าเป็นอัตราการปรับขึ้นที่ค่อยเป็นค่อยไป และยังไม่แข็งแกร่งพอที่เฟดจะเปลี่ยนแปลงทิศทางการดำเนินนโยบายในระยะเวลาอันใกล้ ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ช่วงจังหวะเวลาที่เร็วที่สุดที่เฟดอาจจะพิจารณาปรับลดขนาดของการซื้อสินทรัพย์น่าจะเกิดในช่วงปลายปีนี้ถึงต้นปีหน้า ขณะที่การยุติมาตรการซื้อสินทรัพย์ น่าจะเกิดขึ้นหลังจากนั้นอีกราว 3 ไตรมาส อย่างไรก็ดี เฟดคงจะมีการพิจาณาถึงสภาพแวดล้อมของเศรษฐกิจหลายๆ ด้านอย่างถี่ถ้วน ไม่ว่าจะเป็น สภาวะตลาดแรงงาน สถานการณ์เงินเฟ้อ รวมไปถึง สภาวะตลาดการเงิน ก่อนที่จะมีการตัดสินในในการเปลี่ยนแปลงแนวทางในการดำเนินนโยบายทางการเงิน

 

กระแสการไหลเข้าของเงินทุน ยังคงเป็นปัจจัยที่ท้าทายเชิงนโยบาย จนกว่าตลาดเริ่มกลับมาพิจารณาถึงโอกาสในการปรับลดการซื้อพันธบัตรของเฟด

ทั้งนี้ ท่ามกลางภาวะที่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และกลุ่มประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ยังคงเป็นไปอย่างเปราะบาง คาดว่าเฟดและธนาคารกลางของประเทศขนาดใหญ่เหล่านั้นจะยังคงดำเนินมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณอย่างต่อเนื่อง โดยโอกาสที่เฟดจะปรับเปลี่ยนหรือชะลอมาตรการซื้อพันธบัตรภายในปีนี้ยังคงมีไม่มาก ซึ่งหมายความว่า สภาพคล่องในโลกยังคงอยู่ในระดับสูง และเป็นแรงกดดันต่อกระแสการไหลของเงินทุนไปยังประเทศที่มีมุมมองการขยายตัวของเศรษฐกิจที่ดีกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศในภูมิภาคเอเชียรวมถึงไทย รวมทั้ง อาจกดดันค่าเงินของประเทศเหล่านั้นให้ปรับตัวแข็งค่าขึ้น ซึ่งคงจะเป็นความท้าทายเชิงนโยบายสำหรับทางการในการเตรียมรับมือถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในระยะข้างหน้า

อย่างไรก็ดี คงต้องจับตาพัฒนาการเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐฯ อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ ที่ประเด็นด้านการคลังของสหรัฐฯ น่าจะมีความชัดเจนมากขึ้น ซึ่งหากทิศทางของการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ สามารถที่จะกลับมาขยายตัวอย่างยั่งยืนได้ ก็อาจทำให้ตลาดเริ่มกลับมาพิจารณาถึงโอกาสในการปรับลดการซื้อพันธบัตรของเฟด ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวก็อาจส่งผลลดแรงกดดันของเงินทุนไหลเข้าลงบางส่วน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...