ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

กระทรวงการคลัง ปรับรูปแบบระดมทุนออกพันธบัตรรัฐบาลอิงอัตราเงินเฟ้อ

เพื่อขายประชาชนรายย่อยทั่วไปในประเทศ ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบเงินบาทแข็งค่า

เพราะพันธบัตรรัฐบาลที่ออกมา โดยขณะนี้ถือโดยคนไทย 80% ต่างชาติไม่เกิน 20%

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ไร้สรุปหยุดบาทแข็ง! 'โต้ง'โยนแบงก์ชาติหามาตรการเสริมคงอาร์พี/วงแตกหลังถกเครียด

 

ผลประชุมร่วมคลัง-ธปท.วงแตก คลอดมาตรการร่วมรับมือบาทแข็งไม่ได้ "ประสาร"ยืนกราน

ไม่ลดดอกเบี้ยอาร์/พี ยันมีเครื่องมือเสริมพร้อมใช้เมื่อจำเป็น หลังปิดห้องหารือเครียดต่อเนื่อง 3 วันซ้อน

คลังเสียงอ่อยบาทอ่อนค่าแล้วไม่จำเป็นเร่งมาตรการเข้ม สบน.ลดสัดส่วนขายบอนด์นักลงทุนนอก

หวังลดแรงดูดเงินไหลเข้า เอกชนจี้แบงก์ชาติ เครื่องมืออ...ะไรก็ได้ขอให้เร่งดูแลค่าบาท

ตามถามชัดธปท.อีกครั้ง 30 เม.ย. ด้านสมาคมตราสารหนี้เสนอ ให้ต่างชาติลงทุน

ตราสารหนี้อายุ 6 เดือนขึ้นไป สกัดทุนร้อน

 

บาทแข็งค่าที่ทำสถิติใหม่เป็นรายวัน และพยายามทดสอบระดับ 28.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯอย่าง

ต่อเนื่องเมื่อปลายสัปดาห์ก่อน ก่อกระแสความเคลื่อนไหวแทบทุกวงการ ให้ทางการเร่งหามาตรการหยุด

การแข็งค่าของเงินบาท โดยแรงกดดันพุ่งเป้ารวมศูนย์ไปที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เมื่อทั้งฝ่ายเมือง

และเอกชนในภาคการผลิต-ส่งออก กดดันให้ธปท.ใช้ยาแรง สกัดบาทแข็งค่าให้อยู่ การประชุมร่วมคลัง-ธปท.

ที่ทำเนียบในบ่ายวันศุกร์ที่ผ่านมา หลังปิดห้องคุยกันต่อเนื่อง 2 วันซ้อนก่อนหน้านี้ จึงเป็นที่จับตาว่าน่าจะมี

การประกาศมาตรการคุมบาทแข็งที่ชัดเจน นั้น

 

-"ประสาร"หัก"รัฐบาล"

 

การประชุมร่วมคลัง,สศช.และธปท.ที่ทำเนียบรัฐบาลครั้งนี้ เริ่มตั้งแต่เวลา 14.00 น. โดยนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มอบหมายนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯและรมว.คลัง เป็นประธานการประชุม นั้น หลังการประชุมนายกิตติรัตน์ กล่าวว่า ทั้ง 3 หน่วยงานหลักมีความเห็นตรงกัน ว่าอัตราแลกเปลี่ยนที่อยู่ในระดับต่ำกว่า 29 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ อยู่ในระดับที่แข็งค่า และมีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดผลกระทบด้านการส่งออก และส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจในระยะถัดไป

 

ขณะเดียวกันด้านอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ที่ระดับ 2.75% ต่อปี หากธปท.ยังยืนยันที่จะคงระดับไว้ จะต้องดำเนินนโยบายเสริม เพื่อชะลอการไหลเข้าของเงินทุนต่างชาติ และทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น โดยธปท.ยืนยันว่า มีมาตรการเตรียมพร้อมแล้ว แต่เห็นสมควรว่ายังไม่จำเป็นต้องนำมาตรการด้านต่าง ๆ มาใช้ แม้สถานการณ์จะสะท้อนถึงภาวะตลาดที่มีการเก็งกำไรเกิดขึ้น

 

อย่างไรก็ตาม กระแสข่าวที่ว่าธปท.เตรียมมาตรการรองรับสถานการณ์การแข็งค่าของเงินบาท ส่งผลให้ตลาดคลายตัวลง โดยปรับอ่อนค่าลงมา ซึ่งยอมรับว่าได้ส่งผลเสียหายลดลงมาก ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องออกมาตรการเข้ามาควบคุม

 

นายกิตติรัตน์กล่าวด้วยว่า การติดตามสถานการณ์ค่าเงินบาทเป็นหน้าที่โดยตรงของธปท. โดยในที่ประชุมธปท.ได้แจกแจงระดับค่าเงิน ซึ่งไม่ได้เทียบกับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เพียงสกุลเดียว แต่มีการเปรียบเทียบกับสกุลเงินคู่ค้าและคู่แข่ง ที่ขยับตามกลไกตลาด และสถานการณ์เศรษฐกิจของแต่ละประเทศ

 

"ได้คุยกันว่าอาร์/พีที่ระดับปัจจุบันหากสามารถปรับลดลงได้ จะทำให้แรงจูงใจในการลงทุนของเงินต่างชาติลดลง โดยเฉพาะในตลาดตราสารหนี้ ซึ่งได้ย้ำเตือนธปท. ให้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพราะการดำเนินนโยบายการเงินด้านอัตราดอกเบี้ย ธปท.และคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะต้องนำสภาวการณ์ต่าง ๆ ไปหารือกันภายใน ขณะที่คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอื่น ๆ ก็ต้องใช้วิจารณญาณอย่างรอบคอบ ควบคู่กับการเตรียมเครื่องมือด้านอื่น ๆ หากมีความจำเป็น"

 

ทั้งนี้ หลังประชุมเสร็จสิ้นผู้ว่าการ ธปท.เดินออกจากห้องประชุมเป็นคนแรกด้วยสีหน้าเคร่งเครียด และปฏิเสธการให้สัมภาษณ์ โดยระบุให้รอการแถลงของรองนายกฯ จากนั้นขึ้นรถยนต์เดินทางออกจากทำเนียบ ตามด้วยนายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) ซึ่งแจ้งสื่อมวลชนทำนองเดียวกัน

 

-กกร.จี้ถามธปท.30 เม.ย.นี้

 

การที่ยังไม่มีมาตรการชัดเจนในการดูแลค่าบาทครั้งนี้ นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า คงต้องไปรอดูความชัดเจนอีกครั้งในวันที่ 30 เมษายนนี้ ที่ภาคเอกชนจะมีการหารือกับกับธปท. ว่าจะมีมาตรการตอบโจทย์ในการรักษาเสถียรภาพค่าเงินบาทได้อย่างไร รวมถึงไม่ให้ค่าเงินบาทแข็งค่าเกินกว่าประเทศในแถบภูมิภาคนี้

 

ซึ่งส.อ.ท.ยังคงยืนยันใน 5 ข้อเสนอ ไม่ว่าจะเป็นการบริหารจัดการอัตราแลกเปลี่ยนแบบภาวะวิกฤติ เปลี่ยนนโยบายจาก Inflating Targeting ไปสู่นโยบาย Exchange Rate Targeting แทน เพื่อแก้ไขปัญหา เศรษฐกิจของประเทศ เร่งดำเนินการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 1% ใช้นโยบาย Capital control ว่าจะต้องห้ามนำเงินลงทุนออกไปจากประเทศเป็นระยะ เวลาไม่น้อยกว่า 3 เดือน และหากสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น ควรปรับระยะเวลาให้มากขึ้นเป็น 6 เดือน เป็นต้น และ ปรับปรุงนโยบายการออกพันธบัตรของธปท.

 

"สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนขณะนี้ มีเงินทุนไหลเข้ามาในประเทศจำนวนมากเพื่อการเก็งกำไร ซึ่งธปท.จะทำอย่างไรให้ค่าเงินบาทกลับมามีเสถียรภาพ ไม่ขึ้นลงเร็วจนเกินไป หากรัฐบาลไม่สามารถแก้ปัญหาได้ จะมีผลลบกับประเทศตามมา"

 

-เอกชนวอนรีบดูแลค่าบาท

 

เช่นเดียวกับ นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ที่กล่าวว่า ยังไม่สามารถคาดเดาได้ ว่าจะส่งผลอย่างไรต่อจากนี้ แต่ภาคเอกชนอาจมีความรู้สึก ว่าทางภาครัฐยังไม่มีมาตรการใด ๆ ออกมา และยิ่งเกิดความกังวล โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคการส่งออก ที่อยากให้ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพ และไม่ให้แข็งค่ามากกว่าเงินสกุลอื่นในภูมิภาค เพราะจะกระทบต่อความสามารถในการแข่งขัน

อย่างไรก็ดีมองว่าทางธปท.คงมีมาตรการอื่นไว้คอยดูแลค่าเงินบาทอยู่แล้ว ขึ้นอยู่กับว่าจะหยิบยกมาตรการใดมาใช้ในตอนไหน อย่างไร ไม่จำเป็นต้องใช้แนวทางการลดดอกเบี้ยนโยบายเสมอไป ซึ่งไม่ว่าจะใช้มาตรการใด ภาคเอกชนอยากให้เร่งดำเนินการ เพราะยิ่งช้ายิ่งกระทบมาก เนื่องจากเวลานี้เงินบาทแข็งค่าขึ้นจากต้นปีมากกว่า 5% กระทบความสามารถในการแข่งขันส่งออกอย่างมากในขณะนี้

 

"บทบาททางสภาหอฯ จากนี้ เราคงไม่สามารถทำอะไรได้มาก เพราะได้สะท้อนปัญหาไปแล้ว แต่ที่กำลังทำขณะนี้คือ การหาข้อมูลผลกระทบที่แท้จริงของเงินบาทที่แข็งค่าต่อภาคการส่งออก โดยไม่ใช่วัดจากความรู้สึก อาทิ กลุ่มยางพารา ปาล์มน้ำมัน ข้าว น้ำตาล อาหารทะเลแช่แข็ง และอาหารต่าง ๆ ที่ใช้วัตถุดิบในประเทศเป็นหลัก เป็นต้น"

 

นายไชยยศ สินเจริญกุล นายกสมาคมยางพาราไทย กล่าวว่า การที่ภาครัฐยังไม่มีมาตรการใดๆ ออกมาดูแลค่าเงินบาทที่เป็นรูปธรรม ที่อาจทำให้สถานการณ์ค่าเงินบาทแข็งค่ายิ่งขึ้นนั้น ยิ่งทำให้ผู้ส่งออกยางพาราเหนื่อย และลำบากมากขึ้น เพราะเงินบาทแข็งค่าไม่ได้มาจากพื้นฐานเศรษฐกิจไทยที่แข็งแกร่ง แต่มาจากการเก็งกำไร จริง ๆ แล้วรัฐบาลควรที่จะมีมาตรการออกมารองรับ ไม่ใช่รอจนแข็งค่าถึง 28 บาท ระดับที่เหมาะสมควรที่ 30-31 บาท มองว่าไม่ใช่เป็นจุดดีเลย ส่วนผู้ที่จะลงทุนเพิ่มเครื่องจักรก็มีบ้าง แต่ไม่มาก เพราะการที่จะซื้อเครื่องจักรขยายโรงงานเพิ่ม ระยะเวลาในการวางแผนงาน ไม่ใช่เพียงแค่ 1-2 เดือนที่เกิดเหตุเงินบาทแข็งค่า

 

-นายแบงก์เชื่อไม่แตะดอกเบี้ย

 

นายรุ่งศักดิ์ สาธุธรรม ผู้จัดการฝ่ายอาวุโส และผู้จัดการฝ่ายวิจัย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด(มหาชน) (บมจ.) ให้ความเห็นว่า ในหลักการเมื่อมีเงินทุนไหลเข้าในสภาวะเศรษฐกิจที่ดี เห็นได้จากหน่วยงานเศรษฐกิจทยอยปรับขึ้นประมาณการจีดีพี ขณะที่ผ่านมามีเงินทุนไหลเข้าตลาดพันธบัตร ดังนั้นสถานการณ์นี้ จึงควรใช้เครื่องมือที่เฉพาะเจาะจง เพื่อปกป้องค่าเงินหรือเงินทุนไหลเข้าที่ต้นเหตุ เพื่อลดความผันผวน หรือให้เงินทุนไหลเข้าแปลงสภาพเป็นระยะยาวขึ้นหรือยืดเวลาออกไป

 

" ตราบใดที่ไม่เห็นเศรษฐกิจโลกส่งผลกระทบเชิงลบต่อเศรษฐกิจไทย เชื่อว่าทางการจะเตรียมมาตรการไว้เท่านั้น โดยไม่เชื่อว่าแนวทางลดดอกเบี้ยนโยบายจะถูกนำมาใช้ เพราะนอกจากไม่เหมาะแล้วยังเกิดผลกระทบในวงกว้างและกลายเป็นการคุมปลายเหตุ เพราะหากปรับลดดอกเบี้ยนโยบายก็จะส่งผลตลาดสินเชื่อบูมเกินศักยภาพ"

 

-หุ้นเด้งเก็งไม่ใช้ยาแรง

 

บรรยากาศตลาดทุนสัปดาห์ที่ผ่านมา ทั้งตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้ ต่างรอลุ้นการออกมาตรการสกัดบาทแข็ง จนปิดตลาดก่อนจะทราบผลการประชุม โดยฟากตลาดหุ้นมีการเก็งกันว่า ธปท.จะไม่ออกมาตรการที่รุนแรงหรือยาแรงออกมา ที่มีผลกระทบต่อเงินทุนไหลเข้าตลาดหุ้น ส่งผลตลาดหุ้นไทยวันที่ 26 เมษายนที่ผ่านมาปิดบวก 8.61 จุด มาที่ 1,582.93 จุด มูลค่าการซื้อขายหนาแน่น 5.4 หมื่นล้านบาท นักลงทุนต่างชาติพลิกซื้อสุทธิ 2.7 พันล้านบาท

 

ส่วนแรงขายของนักลงทุนต่างชาติกว่า 8 พันล้านบาท ในวันที่ 24-25 เมษายนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงคุกรุ่นของการกดดัน ให้ธปท.ลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดบาทแข็งนั้น นักวิเคราะห์ระบุว่า ไม่เกี่ยวกับการตื่นตระหนกเรื่องการออกมาตรการ แต่เป็นแรงขายในหุ้นบริษัท ซีพีออลล์ จำกัด(มหาชน)(บมจ.) หลังทุ่มเงินซื้อบมจ.สยามแม็คโคร 1.89 แสนล้านบาท

 

นายอดิศักดิ์ ผู้พิพัฒน์หิรัญกุล นักกลยุทธ์การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์(บล.)ธนชาต จำกัด กล่าวว่า ตลาดหุ้นปรับขึ้นแม้นักลงทุนรอผลการประชุมร่วมคลัง-ธปท. พิจารณาแนวทางแก้ปัญหาเงินบาทแข็งค่าเร็วและมากเกินไป แต่เชื่อว่าหากนำมาตรการใดมาใช้ คงไม่กระทบตลาดทุนมากนัก ในทางตรงกันข้ามเริ่มเห็นค่าเงินบาทอ่อนค่าลงมา ทำให้ความกังวลที่ทางการจะใช้มาตรการแรงมีน้อยลง

 

-สกัดเงินทุนร้อนสูตรThaiBMA

 

ด้านนายนิวัฒน์ กาญจนภูมินทร์ กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย(ThaiBMA) กล่าวว่า สำหรับมาตรการที่สมาคมเสนอแนะกับทางการ หลังจากได้หารือกับบรรดาผู้ค้าในตลาดตราสารหนี้ และคาดว่าเป็นมาตรการที่นักลงทุนเห็นด้วย และเป็นมาตรการที่มีประสิทธิภาพด้วย คือ มาตรการสกัดเงินลงทุนระยะสั้น ซึ่งเป็นเงินที่ประเทศไม่ต้องการ

 

โดยวิธีการกำหนดระยะเวลาการลงทุนในตราสารหนี้ สำหรับนักลงทุนต่างชาติให้ลงทุนในตราสารหนี้อายุไม่น้อยกว่า 6 เดือนขึ้นไป ถือว่าเป็นมาตรการที่จะมีประสิทธิภาพกว่าการลดอัตราดอกเบี้ย และการจัดเก็บภาษี อาทิ ลดอัตราดอกเบี้ย0.5% ก็ยังมีส่วนต่างจากตราสารหนี้ต่างประเทศอยู่ สุดท้ายกระแสเงินลงทุนก็ยังจะกลับมาได้อีก เช่นเดียวกับมาตรการจัดเก็บภาษีกำไรจากการลงทุนในตราสารหนี้ ในอัตรา 15 % ก็จะมีผลต่อกำไรประมาณ 0.4% เท่านั้น และยังกระทบต่อการลงทุนในตราสารหนี้ระยะยาวได้ ซึ่งประเทศไทยยังมีแผนลงทุนขนาดใหญ่จึงยังมีความต้องการเงินลงทุนจากต่างชาติอยู่ดูเพิ่มเติม

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดียามเย็นค่ะทุกคน

วนเวียนเวียนวน ไม่เว้นแม้กระทั่งการแก้ปัญหาค่าเงินบาท

สุดท้ายพี่ท่านก็โยนให้แพะ แบ๊ะๆๆๆๆๆ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

มารยาทในการใช้บันไดเลื่อนของคนญี่ปุ่น คันโต vs คันไซ ♥

 

หลายคนอาจจะทราบดีถึงมารยาทการใช้บันไดเลื่อนที่ญี่ปุ่น แต่เคยสงสัยกันไหมคะ ว่าทำไมคนโตเกียวถึงยืนชิดซ้าย คนโอซาก้าถึงยืนชิดขวา?

 

ข้อมูลจาก Tokyo360.net บอกว่า ในสมัยเอโดะนั้น เขตคันโต(โตเกียว) มีซามูไรอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก และซามูไรก็มักจะเดินชิดซ้ายเพื่อที่จะได้ชักดาบได้สะดวก ในขณะที่เขตคันไซ(โอซาก้า) เป็นเมืองท่าและการค้าขาย จึงมีพ่อค้าแม่ค้าเป็นจำนวนมาก ซึ่งมักจะเดินชิดขวาเพื่อที่จะรักษาทรัพย์สินมีค่าไว้ ไม่ให้ขโมยที่เดินสวนมาหยิบไปได้ง่าย ต่อมาธรรมเนียมการยืนชิดขวาของโอซาก้าก็ได้รับความนิยมกันมากขึ้น เมื่อทางการรถไฟ Hankyu ได้ประกาศให้คนยืนชิดขวา ซึ่งถือเป็นธรรมเนียมสากล เนื่องในโอกาสที่โอซาก้าได้เป็นเจ้าภาพงาน World Expo ในปี 1970 จนกลายเป็นธรรมเนียมมาจนถึงปัจจุบัน ดังนั้นเราจึงเห็นคนใช้บันไดเลื่อนที่โตเกียวยืนชิดซ้าย ที่โอซาก้ายืนชิดขวา และเว้นทางเดินอีกข้างไว้สำหรับคนที่รีบ เพื่อจะได้เดินไปได้เร็วนั่งเองค่ะ

 

แล้วที่เมืองไทยเราล่ะคะ จะยืนชิดทางไหนกันดี? =^___^=

 

Cr : Tokyo360.net

Photo : SUPER-STAGE

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คนเสื้อแดงยกพวกตะลุมบอนกับกรมศาสนาที่หน้าศาลรัฐธรรมนูญ

วันจันทร์ที่ 29 เมษายน 2556 เวลา 15:20 น.

 

 

ป่วนหน้าศาลรัฐธรรมนูญ กลุ่มคนเสื้อแดงปะทะคารมกับเจ้าหน้าที่กรมศาสนา ที่เข้ามาเชิญพระสงฆ์ทีร่วมชุมนุมให้ออกจากพื้นที่ ถึงขั้นไล่ชกต่อยกัน โชคดีไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ

วันที่ 29 เม.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลุ่มคนเสื้อแดง ที่ปักหลักชุมนุมหน้าศาลรัฐธรรมนูญ (ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ) อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ โดยใช้เครื่องขยายเสียงกล่าวถึงการปฏิบัติหน้าที่ของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และประกาศยกระดับการชุมนุมให้เข้มข้น หากศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ยกเลิกรับคำร้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ตามที่ นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา ไปยื่นไว้ ท่ามกลางสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าว กระทั่งมาเกิดเหตุชุลมุนขึ้น เนื่องจากเจ้าหน้าที่จากกรมศาสนาเดินทางเข้ามาเชิญตัวพระสงฆ์ที่เข้าร่วมชุมนุมออกจากพื้นที่ ทำให้กลุ่มคนเสื้อแดงเกิดความเข้าใจผิด จึงมีการปะทะคารม จนถึงขั้นยกพวกไล่ชกต่อยกัน สร้างความโกลาหลอย่างมาก แต่ยังไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัส

http://www.dailynews.co.th/politics/200807

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แบงก์ ออฟ ไซปรัส" แปลงสภาพบัญชีเงินฝากรายใหญ่เป็นหุ้นเพื่อเพิ่มทุน

 

 

แบงก์ ออฟ ไซปรัส ซึ่งเป็นธนาคารรายใหญ่ที่สุดของไซปรัส ได้เสร็จสิ้นการแปลงสภาพ 1 ใน 3 ของเงินฝากที่ไม่ได้รับการประกัน ไปเป็นหุ้น “ชั้น A" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเพิ่มทุนผ่านเม็ดเงินของผู้ฝาก

การแปลงสภาพดังกล่าวมีขึ้นภายใต้การตกลงกับยูโรกรุ๊ป ซึ่งทำให้ผู้ฝากเงินรายใหญ่ต้องสูญเสียเงินในกระบวนการเพิ่มทุนของธนาคารดังกล่าว เพื่อแลกกับความช่วยเหลือทางการเงินจำนวน 1.0 หมื่นล้านยูโร (1.3 หมื่นล้านดอลลาร์) แก่ไซปรัส

 

แถลงการณ์ของแบงก์ ออฟ ไซปรัสระบุว่า ทางธนาคารได้เสร็จสิ้นการแปลงสภาพ 37.5% ของเงินฝากที่มีวงเงินเกิน 100,000 ยูโร ไปเป็นหุ้น “ชั้น A" ซึ่งหมายความว่าผู้ฝากเงินของธนาคารได้กลายมาเป็นเจ้าของรายใหม่ของธนาคาร สำนักข่าวซินหัวรายงาน

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สโลวีเนีย ′โดมิโน′ ตัวถัดไปของยูโรโซน (29/04/2556)

สโลวีเนียจะกลายเป็นเหยื่อรายต่อไปของวิกฤตหนี้สาธารณะยูโรโซนหรือไม่? รายงานฉบับใหม่ขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (โออีซีดี) เน้นให้เห็นถึงปัญหาที่หยั่งรากลึกซึ่งภาคการธนาคารและเศรษฐกิจของสโลวีเนีย กำลังเผชิญอยู่ ขณะที่ทั้งสหภาพยุโรป (อียู) และรัฐบาลสโลวีเนียยืนยันว่า ความช่วยเหลือทางการเงินไม่จำเป็น แต่ช่วงเวลาที่ยากลำบากสำหรับสโลวีเนียมาถึงแล้ว

 

สิ่งก่อสร้างต่างๆ เป็นแถวยาว ซึ่งประกอบไปด้วยอพาร์ตเมนต์ 833 แห่ง ส่วนใหญ่แล้วว่างเปล่า และการก่อสร้างอาคารบางแห่งยังไม่ทันเสร็จสมบูรณ์ดีด้วยซ้ำ ใกล้กันนั้นเป็นหลุมลึกที่ขุดเตรียมไว้สำหรับการลงเสาเข็มเพื่อก่อสร้าง โรงแรมแห่งใหม่ ซึ่งเป็นที่ค่อนข้างแน่นอนในตอนนี้แล้วว่าจะไม่มีวันได้สร้าง

 

นี่ เป็นภาพที่เห็นได้ในหลายๆ ประเทศสมาชิกกลุ่มผู้ใช้เงินสกุลยูโร (ยูโรโซน) ที่ได้รับความเสียหายจากผลกระทบของวิกฤตหนี้สาธารณะ และภาวะฟองสบู่แตกในภาคอสังหาริมทรัพย์

 

ทว่าคอมเพล็กซ์แห่งนี้ที่ รู้จักกันในชื่อซิสกา ตั้งอยู่ชานกรุงลูบลิยานา เมืองหลวงของสโลวีเนีย เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงให้เห็นถึงสถานการณ์ที่เสื่อมถอยลงอย่างรวดเร็ว และความกลัวที่เพิ่มมากขึ้นว่าสโลวีเนียจะกลายเป็นประเทศสมาชิกยูโรโซนชาติ ต่อไป ที่ต้องขอความช่วยเหลือทางการเงินจากอียู

 

ความกังวลว่ารัฐบาล สโลวีเนียอาจจะต้องร้องขอความช่วยเหลือฉุกเฉินเริ่มรุนแรงขึ้นหลังจากที่โอ อีซีดีออกรายงานฉบับใหม่ ระบุถึงความดิ้นรนทางเศรษฐกิจของประเทศ หนี้สาธารณะที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น และภาคการธนาคารที่ประสบปัญหาอย่างลึกซึ้ง รายงานชี้ว่าสโลวีเนียตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะประสบกับ "ภาวะเศรษฐกิจขาลงยาวนาน และมีข้อจำกัดในการเข้าถึงตลาดการเงิน"

 

พูดอีกอย่างคือ สโลวีเนียจะไม่สามารถยืมเงินที่พวกเขาต้องการจากตลาดเงินเพื่อที่จะนำมาใช้ชำระหนี้ได้

 

นา งอเลนกา บราตูเซ็ก นายกรัฐมนตรีสโลวีเนีย ได้ออกมาขจัดความกังวลในเรื่องการรับความช่วยเหลือทางการเงินอย่างรวดเร็ว โดยระบุว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเพียง "การคาดเดา" ไปเอง เธอยืนยันว่า กลไกพื้นฐานทางเศรษฐกิจของสโลวีเนียยังคงแข็งแกร่ง และรัฐบาลสามารถดูแลจัดการกับปัญหาที่เผชิญอยู่ในปัจจุบันได้โดยไม่ต้องพึ่ง พาความช่วยเหลือจากภายนอก

 

ขณะที่นายโชเซ มานูเอล บาร์โรโซ ประธานกรรมาธิการยุโรปเองก็ส่งเสียงออกมาในทิศทางเดียวกัน โดยระบุว่า เขา "มั่นใจว่าสโลวีเนียจะเอาชนะปัญหาท้าทาย" ที่กำลังเผชิญอยู่ได้สำเร็จ

 

ทว่า ปัญหาความท้าทายดังกล่าวมีมากมายเหลือเกิน เศรษฐกิจสโลวีเนียกำลังอยู่ในภาวะถดถอย โดยโออีซีดีคาดการณ์ว่าจะหดตัวลงอีก 2.1 เปอร์เซ็นต์ในปีนี้ ขณะที่แม้ว่าหนี้สาธารณะของพวกเขาจะอยู่ต่ำกว่าระดับค่าเฉลี่ยของยูโรโซน ที่ 50 เปอร์เซ็นต์ แต่ก็เพิ่มขึ้นในอัตราเร็วที่จะทำให้อัตราส่วนของหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์ มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) เท่ากับ 100 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2568 อ้างอิงจากรายงานของโออีซีดี

 

และแม้โออีซีดีจะระบุว่า รัฐบาลสโลวีเนียมีย่างก้าวที่ชัดเจนและสำคัญในการที่จะสร้างความมั่นคงให้ กับงบประมาณและปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศแล้ว แต่รายงานระบุว่า อาจต้องใช้เวลาหลายปีก่อนที่สโลวีเนียจะกลับมาพัฒนาเศรษฐกิจให้ดีขึ้นจน สามารถไล่ตาม "บรรดาประเทศที่พัฒนาแล้วอื่นๆ ในโออีซีดี" ได้ทัน

 

อย่าง ไรก็ตาม สิ่งแรกและสิ่งสำคัญที่สุดในปัญหาของสโลวีเนียคือการพุ่งเป้าไปที่การจัดการ กับสถาบันการเงินต่างๆ ขณะที่มูลค่าภาคการธนาคารของประเทศคิดเป็นเพียงแค่เท่ากับ 140 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพีเท่านั้น ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของยูโรโซน และต่ำกว่าอัตราส่วน 800 เปอร์เซ็นต์ต่อจีดีพีของไซปรัสมาก แต่การล่มสลายของภาคอสังหาริมทรัพย์ในประเทศส่งผลให้ธนาคารต่างๆ ที่นั่นมีปริมาณของหนี้เสียจำนวนมากอย่างมีนัยสำคัญอยู่ในดุลบัญชี

 

และ เหมือนกับที่รายงานของโออีซีดีเน้นย้ำให้เห็น ปัญหามากมายที่ธนาคารต้องเผชิญสามารถสาวร่องรอยไปถึงความจริงที่ว่า ภาคอุตสาหกรรมการธนาคารไม่เคยถูกแปรรูปเป็นของเอกชนเต็มตัวอย่างแท้จริง หลังการล่มสลายของระบอบคอมมิวนิสต์ ผลก็คือ มีอิทธิพลทางการเมืองครอบงำธนาคารใหญ่ๆ อย่างเช่น โนวา ลูบลิยานสกา ซึ่งเป็นธนาคารใหญ่ที่สุดของประเทศ มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ที่กล่าวหาว่า บริษัทบางแห่งได้รับการปฏิบัติที่ดีเป็นพิเศษจากสายสัมพันธ์ทางการเมือง

 

ผล ก็คือหนี้เสียที่มีมูลค่าสูงถึงกว่า 7,000 ล้านยูโร (ราว 267,000 ล้านบาท) อยู่ในงบดุลบัญชีของธนาคารในสโลวีเนีย รัฐบาลของนางบราตูเซ็กอยู่ระหว่างการดำเนินแผนการสร้าง "ธนาคารหนี้เสีย" เพื่อขจัดหนี้เสียเหล่านี้ออกไป ส่วนใหญ่แล้วเป็นหนี้ที่มาจากภาคอุตสาหกรรมก่อสร้างของประเทศที่ใกล้จะล้ม ละลายเต็มที

 

จากรายงานข่าวแล้ว รัฐบาลสโลวีเนียจะอัดฉีดเงินมูลค่า 1,000 ล้านยูโรให้กับธนาคารเหล่านี้และเตรียมตัวที่จะขายกิจการ ทว่ายังไม่มีการกำหนดตารางเวลาที่แน่นอน ยังมีความกังวลว่ารัฐบาลอาจจะไม่สามารถหาเงินอีก 2,000 ล้านยูโรที่จำเป็นต้องใช้ในการชำระหนี้เพื่อที่จะไม่ให้ต้นทุนในการกู้ยืม ของประเทศถูกผลักดันให้สูงขึ้นไปมากกว่านี้

 

"เราตระหนักดีว่าภาคการ ธนาคารเป็นปัญหาอันดับ 1 ของสโลวีเนีย" นางบราตูเซ็กกล่าว และว่า "เราทำงานเพื่อแก้ปัญหานี้กันจนแทบไม่ได้หลับได้นอน"

 

หากสโลวีเนียถูกบีบบังคับให้ต้องรับความช่วยเหลือฉุกเฉินจริง พวกเขาจะกลายเป็นประเทศที่ 6 ในยูโรโซนที่ต้องรับเงินช่วยเหลือ

 

ทั้งนี้ ขนาดเศรษฐกิจของสโลวีเนียคิดเป็นเพียงแค่ 0.4 เปอร์เซ็นต์ของผลผลิตทางเศรษฐกิจประจำปีของกลุ่มเท่านั้น

 

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ(วันที่ 29 เมษายน 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีค่ะคุณป๋า รายงานออกมาแล้ว คุณป่าคิดว่า วันนี้พอจะเทรดได้บ้างไหมค่ะ หรือว่าควรอยู่เฉยๆดีกว่าค่ะ ขอบพระคุณมากค่ะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Pending Home Sales (MoM)

 

Actual:1.5%

Forecast:1.0%

Previous:-0.4%

Importance: Currency:USDSource Of Report:National Association of Realtors (Release URL)

OverviewChartHistory

The National Association of Realtors (NAR) Pending Home Sales Report measures the change in the number of homes under contract to be sold but still awaiting the closing transaction, excluding new construction.

 

A higher than expected reading should be taken as positive/bullish for the USD, while a lower than expected reading should be taken as negative/bearish for the USD.

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...