ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

และแล้ว 1178 ก็รับไว้ไม่ไหว ย่อลงมา 1176-1175 ทำให้ตอนนี้ แนวต้านคือ 1178 และแนวรับสุดท้ายคือ 1171 และ 1166 ตามลำดับ

 

SHORT GOLD below 1198 SL 1201 TP 1192-1186-1178-1171-1166

LONG GOLD above 1200 SL 1197 TP 1208-1216-1224-1231-1236-1244-1250

 

สำหรับตัวเลขปิดสัปดาห์นี้ จะเป็นเท่าไหร่หนอ ? อาทิตย์หน้า คงเริ่มทยอยเก็บเข้าพอร์ตได้ สำหรับ ทองแท่งตัวเป็นๆ หนักๆๆ

สวัสดีบ่ายวันเสาร์ วันที่ 3 ของปี 2558 เมื่อคืนราคาทอง ย่อเกือบถึงแนวรับสุดท้าย แล้วก็กลับตาลปัตรพุ่งขึ้นทันใด มาชนแนวต้าน 1192 เลยไปนิด แต่แล้วก็มาปิดที่ 1189.80 จุดตรงกลางระหว่าง จุดต้าน 1192 และจุดรับ 1186 ( ราคาทองย่อ ก็ทยอยเก็บตามแนวรับ ราคาทองขึ้น ก็ทยอยขายตามแนวต้าน : คงยังจำกันได้นะ )

แล้วผมเด็กขายของ ก็คงต้องรอดูชุดตัวเลขจองฝรั่งวิเดาฯ ก่อน ในวันจันทร์บ่าย เพื่อวางแผนว่า จะทำยังไงดี เพราะตอนนี้ ใน รหัสกราฟ ฯ เกิดลักษณะที่จะเห็นในโพสต์ต่อไป

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

จากการลงไปสุดแนวรับ และเด้งคืนมา ทำให้ รหัส 5,35,9 ของสัญญานนำทาง เส้นดำเส้นแดง เกิดอาการทับกัน แต่ผมขยายภาพ จะเห็นว่า " เส้นแดงยาวยืดมากกว่า และเส้นดำออกอาการจะผงกหัวขึ้น " ถ้าเป็นตามแนวทางนี้ จังหวะที่ จะตัดกันและเส้นแดงสลับไปอยู่ใต้เส้นดำมี ซึ่งนั้นจะเท่ากับว่า สัญญานนำทาง เปลี่ยนทิศทาง เป็นฝั่งซื้อ ( ราคาทองปรับขึ้น ) อันนี้ ยัง 50:50 ปิดตลาดวันจันทร์ เห็นแน่ๆ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

มาดูที่รหัส 5,35,9 สัญญานนำทางของ ค่าเงินดอลล์สหรัฐฯ จังหวะที่เดาว่า ราคาทองจะสามารถไต่ขึ้น 50:50 ปรับเปลี่ยนเป็น 70:30 เพิ่มความน่าจะเป็นไปได้ขึ้นมาอีก เพราะค่าเงินปิดที่ 91.43 เส้นดำชูชันเกินไป เกิดการเก็งกำไรมากไป ที่คาดเดาว่า ยูโรฯ จะทำ QE ในเร็ววันนี้ตามที่รับปากไว้ เมื่อดอลล์แข็งค่าเกินไป ก็ตามรูปแบบที่ขาใหญ่ทำ " ลากมาเชือด แมงเม่าไล่ตามก็ขาย ฟัน ทำกำไรเป็นกอบเป็นกำ "

 

เพราะฉะนั้น อีก 20% ที่เพิ่มขึ้นมา ของความเชื่อส่วนตัว ก็มาจากเหตุ ขายดอลล์ ดอลล์อ่อน แล้ว ราคาทองจะปรับขึ้น เรื่องจริงเป็นยังไง ก็แหง่ว่า รอความจริงปรากฎ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อาทิตย์หน้า คงเห็น บาทอ่อนแตะ 33.00 บาท แต่คงไม่นาน แล้วก็แข็งค่าต่อ 32.85-32.90 บาท

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

หุ้นสหรัฐฯ ปิดผสมแดนลบ หลังนักลงทุนส่วนใหญ่ขอยังคงหยุดยาวช่วงปีใหม่ ขณะที่น้ำมันไนเม็กซ์ ลดลงอีก 58 เซนต์ ราคาทองคำตลาดนิวยอร์ก สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 2.10 ดอลลาร์

ปิดการซื้อขายตลาดหุ้นสหรัฐปิดผสมแดนลบ ผลจากนักลงทุนส่วนใหญ่ยังคงหยุดยาวปีใหม่และจากข้อมูลทางภาคการผลิตที่น่าผิดหวังของสหรัฐฯ

โดย ดาวโจนส์ เพิ่มขึ้น 9.92 จุด หรือ+0.06 เปอร์เซ็นต์ ปิดที่ 17,832.99 จุด เอสแอนด์พี ลดลง 0.7 จุด หรือ-0.03 เปอร์เซ็นต์ ปิดที่ 2,058.20 จุด แนสแดค ลดลง 9.24 จุด หรือ-0.20 เปอร์เซ็นต์ ปิดที่ 4,726.81 จุด

 

ขณะที่ราคาน้ำมันดิบตลาดไนเม็กซ์ ลดลง 58 เซนต์ หรือ -1.09 เปอร์เซ็นต์ ปิดที่ 52.69 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อ บาร์เรล จากข้อมูลสต๊อกคลังสำรองเชื้อเพลิงของสหรัฐฯ ที่มีปริมาณมาก ส่งผลต่ออุปทานล้นตลาด และเศรษฐกิจที่น่าผิดหวังของจีนและยุโรป ส่วนเบรนท์เหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน ลดลง 91 เซนต์ ปิดที่ 56.42 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

 

ราคาทองคำตลาดนิวยอร์ก สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 2.10 ดอลลาร์ หรือ +0.18 เปอร์เซ็นต์ ปิดที่ 1,186.20 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ผลจากนักลงทุน เบนเข็มเข้าซื้อสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำชนิดนี้

 

U.S. Stocks

See After-Hours Trading Data as of 5:16pm ET

Friday’s Close:

Dow+9.92 17,832.99 +0.06%

 

Nasdaq-9.24 4,726.81 -0.20%

 

S&P-0.7 2,058.20 -0.03%

 

Oil (Light Crude)

Feb. 2015 contract

$ / barrel Floor 52.69 -0.58 -1.09%

 

Gold

Feb. 2015 contract

$ / troy ounce 1,186.20 +2.10 +0.18%

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีครับ เพื่อนๆ ทุกๆคน สวัสดีเช้าวันจันทร์ที่ 5 มกราคม 2558 เช้าวันแรกของการทำงานในปี 2558

 

" ทยอยเข้าตามแนวรับ ทยอยขายตามแนวต้าน / เส้นรหัสฯ 5,35,9 สัญญานนำทาง เมื่อตัดกันแบบส่งสัญญานนำทางฝั่งซื้อ ( ราคาทองปรับขึ้น ) พฤติกรรมของราคา จะเหวี่ยงลงด้านล่าง ( ย่อตัว ราคาลดลง ) ก่อนที่จะปรับราคาขึ้น แต่ถ้า เมื่อตัดกันแบบส่งสัญญานนำทางฝั่งขาย ( ราคาทองย่อลง ) พฤติกรรมของราคา จะเหวี่ยงขึ้นด้านบน ( ปรับขึ้น ราคาเพิ่มขึ้น ) ก่อนที่จะราคาทองย่อลดลง "

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เงินดอลลาร์สหรัฐเทียบกับสกุลเงินหลักของโลกแข็งค่ามากที่สุดในรอบ11ปี

 

 

นับตั้งแต่เดือนกันยายน 2003 ธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) เริ่มออกมาบอกว่า การแข็งค่าของเงินดอลล่าร์จะส่งผลต่อการค้าและการลงทุนภาคอุตสาหกรรม โดยที่ดอลล่าร์แข็งค่าเทียบกับเงินเยนในปี2014ถึง15%ที่120เยนต่อดอลล่าร์

 

และแข็งค่ามากว่า10%เมื่อเทียเงินยูโรที่1.21ต่อยูโร อย่างไรก็ตามนับตั้งแต่เกิดวิกฤติซับไพรม์ส2008 ดัชนีค่าเงินดอลล่าร์ยังคงเคลื่อนไหวในทิศทางอ่อนค่าระหว่าง79-85% แต่หลังจากที่ยกเลิกทำ QEเดือนละ85,000ล้านดอล์ในเดือนตุลาคมปีที่แล้ว

 

เงินดอลล่าร์ได้แข็งค่าต่อเนื่องในบางช่วงแข็งมีดัชนีค่าเงินถึง88-89% โดยมีการคาดการณ์ว่าดอลล่าร์จะยังคงแข็งค่าต่อ เนื่องเมื่อเทียบเยนและยูโรในปี2015 ยกเว้นแต่ว่าเฟดจะทำQE4ช่วยเหลือธุรกิจน้ำมันที่ได้รับผลกระทบจากการตกต่ำ ของราคาน้ำมัน เช่น Exxon, Chevron แลุะบริษัทน้ำมันอื่นๆที่มีปัญหาขาดทุนและขาดสภาพคช่องในวงเงินมากกว่า1ล้าน ล้านเหรียญสหรัฐฯในขณะนี้

 

ที่มา หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ (วันที่ 5 มกราคม 2558)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

-- สกุลเงินยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อวันศุกร์ (2 ม.ค.) หลังจากนายมาริโอ ดรากี ประธานธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ได้ส่งสัญญาณการใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ครั้งใหญ่ ซึ่งความเคลื่อนไหวครั้งล่าสุดของประธานอีซีบีส่งผลให้ค่าเงินยูโรร่วงลง เกือบแตะระดับต่ำสุดในรอบ 5 ปีเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีปีใหม่ครับ คุณป๋า

 

ปีนี้ ก็ขอร่วมเป็นสมาชิกนักอ่าน นักฟัง เหมือนที่ผ่านมานะครับ

 

ขอให้ คุณป๋า ร่ำรวยสุขภาพ ร่ำรวยเงินทอง ไม่มีเรื่องให้ร้อนใจ

 

ตลอดปี ตลอดไป นะครับ ^^

 

เพียว

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สถานการณ์ราคาน้ำมันในรอบปี 2557 ที่ผ่านมา เป็นอีกปีหนึ่งที่ต้องถือว่าหักปากกาเซียนวงการน้ำมันก็ว่าได้ เนื่องจากราคาน้ำมันดิบมีความผันผวนมาก โดยราคาน้ำมันดิบดูไบเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบกว้างที่ 55 - 111 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล และมีราคาเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 96 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ปรับลดลงจากราคาเฉลี่ยในปี 2556 ที่อยู่ในระดับ 106 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล

 

ทั้งนี้ นับตั้งแต่ต้นปี 2557 ราคานํ้ามันดิบดูไบได้ปรับลดลงจากปลายปี2556 มาอยู่ในระดับเฉลี่ยที่ 104.45ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล เนื่องจากความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัวลง โดยเฉพาะการที่สหรัฐอเมริกาตัดสินใจปรับลดวงเงินมาตรการการกระตุ้นเศรษฐกิจ (QE) ลงมา ทำให้ตลาดกังวลว่าอาจกระทบภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯ เนื่องจากหลายฝ่ายยังมองว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ นั้นอาจยังไม่แข็งแกร่งเต็มที่ รวมถึงการบรรลุข้อตกลงในการผ่อนปรนมาตรการควํ่าบาตรต่อโครงการนิวเคลียร์ อิหร่านชั่วคราวเป็นเวลา 6เดือน นับจากเดือนมกราคม 2557 ทำให้อิหร่านสามารถส่งออกนํ้ามันดิบได้ราว 1ล้านบาร์เรลต่อวัน

-ปรับตัวสูงสุดในรอบปี

อย่างไรก็ตามเมื่อเข้าสู่ไตรมาสที่2 ราคานํ้ามันดิบดูไบได้ดีดตัวกลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้งเฉลี่ยที่ 106.13 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล หลังปัญหาความขัดแย้งระหว่างเชื้อชาติในอิรักปะทุขึ้นส่งผลให้ตลาดเกิดความ กังวลว่าอาจเกิดปัญหาต่อการส่งออกนํ้ามันดิบของอิรัก ซึ่งถือเป็นประเทศที่ผลิตและส่งออกนํ้ามันดิบอันดับต้นๆ ของโลก

อีกทั้งเหตุการณ์ความรุนแรงในลิเบียและยูเครนก็ยังคงยืดเยื้อ โดยกลุ่มกบฏในลิเบียยังคงปักหลักปิดท่าเรือขนส่งนํ้ามันดิบต่างๆ ส่งผลให้กำลังการผลิตนํ้ามันดิบของลิเบียในไตรมาสที่ 2ปรับลดลงมาอยู่ที่ 2.5 แสนบาร์เรลต่อวันจากเดิมที่ผลิตได้ราว 5 แสนบาร์เรลต่อวันในช่วงต้นปี นอกจากนี้เหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลยูเครนและกลุ่มกบฏแบ่งแยกดินแดน ฝักใฝ่รัสเซียส่งผลให้สหรัฐฯ และยุโรปตัดสินใจออกมาตรการควํ่าบาตรทางเศรษฐกิจ ทำให้หลายฝ่ายกังวลว่าอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกนํ้ามันดิบและก๊าซธรรมชาติ ของรัสเซียได้

-กำลังผลิตล้นราคาเริ่มผันผวน

เมื่อเข้าสู่ไตรมาส 3 ราคาน้ำมันดิบดูไบได้ปรับลดลงมาเฉลี่ยที่ 101.4 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล หลังตลาดคลายความกังวลเรื่องการจัดหาน้ำมันดิบที่ตึงตัว จากเหตุการณ์ความไม่สงบต่างๆ ส่อเค้าคลี่คลายลง ประกอบกับความรุนแรงในอิรักและยูเครนกลับไม่ส่งผลกระทบต่อกำลังการผลิตและ ส่งออกน้ำมันดิบของประเทศอย่างที่ตลาดเคยกังว ประกอบกับสำนักงานพลังงานสากล(IEA) ออกมาแสดงมุมมองต่อความต้องการใช้น้ำมันดิบโลกในปี 2557 และปี 2558 ว่าไม่น่าจะเติบโตมากนัก โดย IEA ออกมาปรับลดคาดการณ์ความต้องการใช้น้ำมันดิบโลกของปี 2557 และ 2558 ลง มาขยายตัวที่ระดับ 0.7 และ 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ตามลำดับ โดยมองว่าเศรษฐกิจของผู้บริโภคนํ้ามันหลักในโลกอย่างจีนและยุโรปจะยังคงมี เศรษฐกิจที่ไม่เติบโตมากนัก จึงส่งผ ลใ ห้ใ นไตรมาสสุดท้ายของปี 2557 ราคานํ้ามันดิบดูไบมีการปรับลดลงมากเป็นประวัติการณ์เฉลี่ยที่ 74.32 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล และลงมาแตะระดับตํ่าสุดในรอบ 6 ปี ที่ 60.5 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล ในเดือนธันวาคม สาเหตุหลักมาจากการจัดหานํ้ามันดิบที่ล้นตลาดจากการตัดสินใจคงกำลังการผลิต ของกลุ่มโอเปก การผลิตนํ้ามันจากชั้นหินดินดานของสหรัฐฯได้มากขึ้น

-ดูไบเฉลี่ย 64 ดอลลาร์สหรัฐฯ

ดังนั้นในช่วงปี 2558 วงการอุตสาหกรรมนํ้ามัน จึงมีการวิเคราะห์ว่าราคานํ้ามันดิบจะยังทรงตัวหรือมีแนวโน้มปรับลดลงไปได้ อีก 6 เดือน โดยทางบริษัท ไทยออยล์ จำกัด ได้คาดว่าราคานํ้ามันดิบดูไบจะมีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ระดับประมาณ 64 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรลซึ่งถือว่าปรับลดลงอย่างมากจากราคาเฉลี่ยในปี 2557 ที่ประมาณ 96 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล เนื่องจากมีแนวโน้มว่าอัตราการขยายตัวของการจัดหานํ้ามันดิบโลกจะเพิ่มขึ้น สูงกว่าอัตราการขยายตัวของความต้องการใช้นํ้ามันโลก ส่งผลให้เกิดภาวะการจัดหานํ้ามันดิบล้นตลาดมากขึ้น จากผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปก ประกอบกับในปี 2558 คาดว่าอิหร่านและลิเบียจะกลับมาผลิตได้เพิ่มขึ้น ขณะที่การจัดหานํ้ามันดิบจากสหรัฐฯคาดว่าจะยังคงอยู่ในระดับสูง ประกอบกับเศรษฐกิจโลกที่ถึงแม้จะฟื้นตัวดีขึ้นแต่ยังคงเปราะบาง ส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันดิบไม่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากนัก

-กูรูยังเห็นต่างกัน

อย่างไรก็ตาม ในมุมมองของผู้ที่มีอยู่ในวงการน้ำมัน ต่างก็มีความเห็นในการคาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในปี 2558 ที่แตกต่างกันไป อย่างนายสุกฤตย์ สุรบถโสภณ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) เห็นว่าแนวโน้มราคาน้ำมันดิบน่าจะเฉลี่ยที่ประมาณ 70-80 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล เนื่องจากปริมาณการจัดหาน้ำมันของโลกยังล้นอยู่ จึงเชื่อว่าราคาน้ำมันดิบจะไม่ปรับขึ้นไปเกิน 100 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล

สอดคล้องกับนายนายวิเชียร อุษณาโชติ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ประเมินราคาน้ำมันดิบน่าจะทรงตัวในระดับ 65-75 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล เนื่องจากต้นทุนการผลิตและขุดเจาะน้ำมันในช่วงที่ผ่านมาอยู่ระดับ 100 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล หากปล่อยให้ราคาต่ำต่อไปจะมีผลกระทบต่อธุรกิจการผลิตน้ำมันในอนาคต โดยราคาน้ำมันที่ 50-60 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล เป็นราคาที่ต่ำเกินไป เชื่อว่าโอเปกจะมีการปรับลดกำลังการผลิตและทำให้ราคาน้ำมันโลกปรับตัวสูง ขึ้น

ส่วนนายมนูญ ศิริวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน และสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) กล่าวว่า แนวโน้มราคาน้ำมันโลกในไตรมาสแรก 2558 คาดว่าจะยังเคลื่อนไหว 50-70 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล โดยมีปัจจัยจากกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ไม่มีฝ่ายใดยอมลดกำลังการ ผลิตลงมา จนทำให้ปริมาณน้ำมันดิบที่ออกสู่ตลาดโลกล้นเกินความต้องการ

ขณะเดียวกันสำนักงานพลังงานสากล (IEA) ได้คาดการณ์ความต้องการใช้น้ำมันดิบของโลกในปี 2558 จะขยายตัวที่ระดับ 9 แสนบาร์เรลต่อวัน มาอยู่ที่ 93.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน บนสมมติฐานการใช้น้ำมันในรัสเซียและประเทศพัฒนาแล้วที่ปรับตัวลดลง เหตุจากความเปราะบางในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ขณะที่จีนซึ่งเป็นผู้บริโภคน้ำมันรายใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกอาจมีความต้องการใช้น้ำมันที่ไม่สูงมากนัก หลังภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศเติบโตด้วยอัตราที่ลดน้อยลงในปี 2558

-ตะวันออกกลางตัวแปร

อย่างไรก็ตาม คงต้องจับตามองสถานการณ์การเมืองระหว่างประเทศในตะวันออกกลาง ที่จะมีการเจรจาระหว่างอิหร่านและชาติมหาอำนาจ 6 ชาติ ซึ่งจะถึงกำหนดในวันที่ 1 กรกฎาคม 2558 หากอิหร่านยอมยุติการพัฒนาสมรรถนะแร่ยูเรเนียมไม่ให้ไปถึงระดับที่จะสามารถ นำไปผลิตเป็นอาวุธนิวเคลียร์ได้ เพื่อแลกกับการลดทอนมาตรการคว่ำบาตรจะทำให้อิหร่านสามารถกลับมาส่งออกน้ำมัน ดิบได้ตามปกติ

ขณะที่เหตุการณ์ความไม่สงบในลิเบียยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง และอิรักก็ยังมีการก่อความไม่สงบจากกลุ่มกบฏ IS รวมถึงผลกระทบที่โอเปกตัดสินใจคงกำลังการผลิตไว้ อาจทำให้ประเทศผู้ส่งออกน้ำมันในกลุ่ม โดยเฉพาะอิหร่าน เวเนซุเอลา และไนจีเรีย ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากราคาน้ำมันดิบที่อยู่ในระดับต่ำ ซ้ำเติมสภาวะเศรษฐกิจของบางประเทศที่มีความเปราะบางอยู่แล้ว อาจส่งผลให้เกิดความไม่สงบภายในประเทศขึ้นได้

 

ที่มา หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ (วันที่ 1 - 3 มกราคม พ.ศ. 2558)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

โดยทีมข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ

 

ราคาน้ำมันที่ร่วงลงสร้างแรงสั่นสะเทือนให้แพร่กระจายไปทั่วโลก โดยมีทั้งฝ่ายที่ได้รับความสูญเสียและฝ่ายที่ได้ประโยชน์จากเรื่องนี้ โดยราคาน้ำมันดิบร่วงลงเกือบครึ่งหนึ่งนับตั้งแต่เมื่อเดือนมิถุนายน 2557 สร้างความบอบช้ำให้เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจของประเทศผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่บางแห่ง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือรัสเซีย ที่เงินสกุลรูเบิลดิ่งลงเหว และนักลงทุนหลายรายยังเป็นกังวลว่า เวเนซุเอลาอาจผิดนัดชำระหนี้

 

- น้ำมันโลกขาลงดีต่อ ศก.จริงหรือ

 

แต่สำหรับหลายๆ ชาติที่บริโภคน้ำมันจำนวนมาก เรื่องราวนั้นแตกต่างออกไป ประเทศที่มีเขตเศรษฐกิจใหญ่ที่สุด 4 อันดับแรกของโลกคือ สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป (อียู) ต่างก็ได้ประโยชน์จากราคาน้ำมันที่ลดต่ำลง

 

"ในทางเศรษฐกิจแล้ว นี่เป็นเรื่องดีสำหรับสหรัฐ ยุโรป และจีน และเป็นเรื่องดีสำหรับผู้บริโภคโดยส่วนใหญ่" ซาราห์ ลาดิสลาฟ ผู้อำนวยการโครงการพลังงานและความมั่นคงแห่งชาติของศูนย์เพื่อยุทธศาสตร์และการศึกษานานาชาติในสหรัฐ กล่าวไว้

 

ทว่าที่สุดแล้ว การที่ราคาน้ำมันลดต่ำลงจะเป็นการช่วยเหลือหรือทำร้ายเศรษฐกิจโลกนั้นขึ้นอยู่กับว่า ราคาน้ำมันลดต่่ำลงไปอยู่ที่ระดับไหน และราคาคงอยู่ที่ระดับต่ำนานแค่ไหน และการลดต่ำของราคาน้ำมันครั้งนี้จุดชนวนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่ทำให้การค้าหยุดชะงักหรือทำให้นักลงทุนตื่นตกใจกลัวหรือไม่

 

โดยเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2557 ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ทะเลเหนือที่เป็นราคาน้ำมันอ้างอิงส่วนใหญ่ของโลกอยู่ที่ 59.45 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ร่วงลงราว 47 เปอร์เซ็นต์ จากระดับสูงที่สุดของปีนี้ที่ 115 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งการลดลงของราคานี้ ทำให้อุตสาหกรรมน้ำมันของโลกสูญเสียรายได้ไปถึงวันละเกือบ 500,000 ล้านดอลลาร์ และเป็นการลดค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคลง

 

- ค่าเงินรูเบิลโดนถล่มต่ำสุดแห่งปี

 

ราคาหุ้นกู้ของบริษัทน้ำมันของรัฐบาลหลายแห่งรวมถึงราคาพันธบัตรในประเทศกำลังพัฒนาบางแห่งก็ลดลงด้วย และภาวะเศรษฐกิจถดถอยในรัสเซียในปี 2558 ที่เป็นไปได้ว่าจะเกิดขึ้นอาจเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยุโรปได้ แต่ทว่าตลาดหุ้นสหรัฐทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ครั้งแล้วครั้งเล่าในช่วงสัปดาห์สุดท้ายก่อนเทศกาลวันหยุดยาว โดยได้รับแรงหนุนจากข้อมูลตัวเลขทางเศรษฐกิจทั้งอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ที่โดดเด่นในไตรมาสที่ 3 ตัวเลขอัตราการจ้างงาน รวมทั้งการเพิ่มของอัตราค่าจ้าง ที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่เมื่อปี 2550-2551

 

 

 

ขณะที่การคว่ำบาตรของชาติตะวันตกต่อรัสเซียสร้างแรงกดดันให้กับค่าเงินรูเบิลอยู่แล้ว เมื่อราคาน้ำมันลดลงยิ่งทำให้อัตราเร่งของการอ่อนค่าเพิ่มขึ้นไปอีก การตัดสินใจของรัฐบาลรัสเซียเมื่อช่วงกลางเดือนธันวาคมที่เข้าช่วยเหลือรอสเนฟต์ บริษัทน้ำมันใหญ่ที่สุดของประเทศซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจในการชำระหนี้ ส่งผลให้ค่าเงินรูเบิลร่วงลงหนักเข้าไปอีก จุดชนวนให้เกิดความกังวลว่าจะมีการแห่ถอนเงินออกจากธนาคาร ขณะที่ชาวรัสเซียต่างพากันไปซื้อสินค้านำเข้าราคาแพงเนื่องจากกลัวว่า สินค้าเหล่านี้จะแพงขึ้นอีกหลังจากที่มีการปรับอัตราตามการนำเข้ารอบใหม่ ส่งผลให้ธนาคารกลางรัสเซียออกมาตรการแบบใช้ "ยาแรง" หลายข้อ เพื่อช่วยพยุงค่าเงินรูเบิล อาทิ การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงขึ้นอย่างพรวดพราดจาก 10 เป็น 17 เปอร์เซ็นต์ ขณะเดียวกันก็นำทุนสำรองเงินตราต่างประเทศออกมาขายในตลาดเพื่อสนับสนุนค่าเงินรูเบิล ทำให้ค่าเงินรูเบิลของรัสเซียฟื้นตัวติดต่อกันเป็นเวลา 5 วัน โดยมีมูลค่าเพิ่มมาราว 15 เปอร์เซ็นต์ ก่อนที่จะร่วงลง 4 เปอร์เซ็นต์ ในวันที่ 26 ธันวาคม 2557 มาอยู่ที่ 54 รูเบิลต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยรูเบิลนับเป็นสกุลเงินที่มีผลงานแย่ที่สุดในปีนี้ร่วมกับสกุลเงินฮริฟเนียของยูเครน ที่สูญเสียมูลค่าไปมากกว่าครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ

 

- หวั่นรัสเซียต้นเหตุวิกฤตศก.ครั้งใหม่

 

การส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติคิดเป็นเกือบ 70 เปอร์เซ็นต์ของรายได้จากการส่งออกทั้งหมดของรัสเซีย ธนาคารกลางของรัสเซียระบุว่า หากราคาน้ำมันยังอยู่ที่ระดับ 60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เศรษฐกิจของรัสเซียจะหดตัวลง 5 เปอร์เซ็นต์ในปี 2558 และแม้ว่าราคาน้ำมันจะอยู่ที่ระดับ 80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เศรษฐกิจของรัสเซียก็ยังจะหดตัวลงอยู่ดีที่ 0.8 เปอร์เซ็นต์

 

ทั้งนี้รัสเซียถือว่ามีความสำคัญต่อเศรษฐกิจโลก เมื่อปี 2541 เกิดแรงสั่นสะเทือนไปทั่วโลกเมื่อรัสเซียผิดนัดชำระหนี้ และจะมีปัญหาอีกครั้งถ้าราคาน้ำมันที่ลดต่ำลงนำไปสู่การล่มสลายของเศรษฐกิจรัสเซีย แม้ว่าขนาดของเศรษฐกิจรัสเซียจะค่อนข้างเล็ก โดยคิดเป็น 3 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพีรวมทั่วโลก

 

หากดูจากขนาดและขอบเขตแล้ว โครงสร้างทางเศรษฐกิจของรัสเซียน่าจะทำให้การแพร่ขยายของผลกระทบอยู่ในระดับที่ไม่รุนแรงนัก การไม่มีภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่ทันสมัย ทำให้ไม่มีความสำคัญต่อวงจรห่วงโซ่อุปทานหรือซัพพลายเชนของโลก ทว่ามีอย่างน้อย 5 หนทางที่วิกฤตของรัสเซียสามารถแพร่ขยายออกไปได้

 

ปัญหาของรัสเซียตอนนี้เกิดจากราคาน้ำมันที่ร่วงลงอย่างรุนแรง และพวกเขาไม่ใช่ประเทศเดียวที่ประสบปัญหาจากสาเหตุนี้ เวเนซุเอลาและอิหร่านเองก็พบว่า เป็นเรื่องยากที่จะสามารถรับมือกับระดับราคาน้ำมันที่ต่ำกว่า 70ดอลลาร์ต่อบาร์เรลได้ หากรัสเซียเกิดไปไม่รอด จะมีคำถามตามมาคือ ใครจะเป็นรายต่อไป

 

- ห่วงผลพวงลามทั่วทวีปยุโรป

 

ปัญหาที่ 2 คือ รัสเซียมีความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดกับยุโรปตะวันออก ดังนั้นแล้วการล่มสลายของรัสเซียจะส่งผลสืบเนื่องที่ร้ายแรงต่อประเทศอย่างโปแลนด์และยูเครนที่กำลังย่ำแย่ไม่แพ้กัน ขณะที่ยุโรปตะวันตกก็จะได้รับผลกระทบจากการขาดหายไปของก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียเช่นกัน

 

ปัญหาต่อมาคือ ความเชื่อมั่นจะถูกกระทบกระเทือน ผลงานที่อ่อนแอของเศรษฐกิจเยอรมนีนับตั้งแต่ฤดูใบไม้ผลิปีที่แล้วเป็นต้นมา ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากบรรยากาศทางเศรษฐกิจที่เศร้าหมองมากขึ้น การชะลอตัวในกลุ่มประเทศผู้ใช้เงินสกุลยูโร (ยูโรโซน) ทั้งหมดมีผลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจของเยอรมนี ปัญหาของรัสเซียที่เพิ่มเข้ามาอีกอาจเพียงพอต่อการทำให้เศรษฐกิจเยอรมนีเข้าสู่ภาวะถดถอยได้ ที่จะเป็นสาเหตุให้ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) เริ่มต้นใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ หรือคิวอี

 

เหตุผลอีกข้อคือ ไม่มีใครแน่ใจว่าประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซียจะรับมือกับปัญหาท้าทายทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่สุดของประเทศนับตั้งแต่ปี 2541 นี้อย่างไร ผลสะเทือนต่อความเชื่อมั่นจากวิกฤตครั้งนี้จะยิ่งทรุดหนักลงจากความรู้สึกที่ว่า รัสเซียปกครองโดยผู้นำที่มีความสามารถในการทำให้ประเทศยังมีความสำคัญด้านภูมิรัฐศาสตร์และมีอิทธิพลทางการทหาร

 

- เวเนฯ-ไนจีเรียออกอาการเป๋ตาม

 

ปัญหาสุดท้ายคือ สมมติฐานที่ว่าความเสี่ยงของตลาดการเงินต่อรัสเซียค่อนข้างจำกัด โดยดูจากจำนวนเงินที่ธนาคารต่างชาติปล่อยกู้ให้กับรัสเซียที่มีเพียงแค่ 209,000 ล้านดอลลาร์ เมื่อมีการออกมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียในเดือนมีนาคม 2557 ซึ่งนักลงทุนชาวตะวันตกดูเหมือนว่าจะไม่ได้รับผลกระทบมากนักจากการที่พวกเขายังมีเวลาในการนำเงินออก ทว่าตลาดค้าเงินในตอนนี้ซับซ้อนขึ้นกว่าเดิม ไม่มีทางรู้ได้เลยว่าความสูญเสียที่เกิดขึ้นในครั้งนี้จะมากน้อยขนาดไหน

 

ขณะที่เวเนซุเอลาซึ่งเหมือนกับรัสเซียตรงที่ ประสบปัญหาเศรษฐกิจก่อนหน้าที่ราคาน้ำมันจะร่วงลงอยู่แล้ว แต่เวเนซุเอลาหนักยิ่งกว่าตรงที่พึ่งพารายได้จากน้ำมันมากกว่ารัสเซีย โดยรายได้จากส่วนนี้คิดเป็น 95 เปอร์เซ็นต์ของรายได้จากการส่งออกทั้งหมดของประเทศ ราคาพันธบัตรของรัฐบาลเวเนซุเอลาลดต่ำลงอย่างมากในช่วงหลายวันที่ผ่านมาจากการที่นักลงทุนเป็นกังวลว่ารัฐบาลจะผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งจะเป็นย่างก้าวที่จุดชนวนให้เกิดความสั่นคลอนทางการเมือง

 

ด้านไนจีเรียประกาศตัดลดงบประมาณรายจ่ายของประเทศในปี 2558 ลง 23,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 12 เปอร์เซ็นต์ เมื่อกลางเดือนธันวาคมที่ผ่านมา เนื่องจากผลกระทบของราคาน้ำมันที่ลดลง

 

ขณะเดียวกัน บรรดาประเทศที่มีเขตเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดของโลกก็เป็นประเทศผู้ใช้น้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลกเช่นเดียวกัน ราคาน้ำมันเบนซิน ดีเซล และเชื้อเพลิงของเครื่องบิน ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจจากการที่ผู้บริโภคมีเงินให้ใช้จ่ายมากขึ้น และธุรกิจมีเงินสำหรับลงทุนเพิ่มขึ้น โดยกระทรวงพลังงานสหรัฐประเมินว่า ราคาน้ำมันที่ต่ำลงจะช่วยให้ครัวเรือนอเมริกันประหยัดเงินได้เฉลี่ย 550 ดอลลาร์ ราคาหุ้นของบริษัทด้านการเดินทางและขนส่งอย่าง เช่น ยูพีเอสและเฟดเอ็กซ์เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา

 

นางเจเน็ต เยลเลน ประธานกองทุนสำรองแห่งรัฐ (เฟด) หรือธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา กล่าวไว้เมื่อกลางเดือนธันวาคม 2557 ว่าการลดลงของราคาเชื้อเพลิง "ดูเหมือนว่าจะมีแต่แง่บวก" สำหรับสหรัฐ แม้ว่าจะทำให้กิจกรรมการขุดเจาะน้ำมันภายในประเทศลดลงเนื่องจากสหรัฐยังคงเป็นประเทศผู้นำเข้าน้ำมันรายใหญ่ที่สุด

 

- ราคาน้ำมันขาลงเสียมากกว่าได้

 

ผู้บริโภคในจีน ญี่ปุ่น และยุโรปใช้เงินรายได้ไปกับการจ่ายค่าพลังงานด้วยสัดส่วนที่ลดลง ถึงอย่างนั้นก็ตาม การลดลงของราคาน้ำมันก็ยังไม่ช่วยอะไรมากนักสำหรับญี่ปุ่น แม้ว่าจะมีส่วนในการกระตุ้นเศรษฐกิจ เนื่องจากในทางกลับกัน สิ่งนี้เป็นอุปสรรคในการผลักดันให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นถึงเป้า 2 เปอร์เซ็นต์ที่กำหนดไว้เพื่อเอาชนะภาวะเศรษฐกิจซบเซา

 

อีกด้านหนึ่ง ประเทศที่มีความทะเยอทะยานในการเพิ่มกำลังผลิตน้ำมันอย่างบราซิล โคลอมเบีย และเม็กซิโก แน่นอนว่าจะต้องระงับโครงการไว้ก่อน

 

อุตสาหกรรมน้ำมันของบราซิลเพิ่งจะโซซัดโซเซมาจากกรณีอื้อฉาวด้านการทุจริตในเปโตรบราส บริษัทน้ำมันของรัฐบาล นอกจากนี้ปริมาณน้ำมันดิบสำรองที่มีอยู่ค่อนข้างมากของบราซิลยังต้องใช้ต้นทุนมหาศาลในการขุดเจาะเพื่อนำออกมาใช้ จากการที่แหล่งน้ำมันดิบดังกล่าวอยู่ลึกลงไปใต้ก้นมหาสมุทร ซึ่งราคาน้ำมันที่ลดต่ำลงทำให้ผลตอบแทนที่จะลงทุนในส่วนนี้ไม่คุ้มค่า

 

ขณะที่อุตสาหกรรมน้ำมันของชาติในละตินอเมริกาอีกแห่งอย่างโคลอมเบีย มีพัฒนาการที่ดีในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แม้ว่าพวกเขายังไม่ค้นพบแหล่งน้ำมันดิบใหญ่เพิ่มแต่อย่างใด แต่ก็สามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้มากขึ้น ทว่าถึงตอนนี้ราคาน้ำมันร่วงลง การสำรวจแหล่งน้ำมันแห่งใหม่ก็ต้องชะลอออกไปก่อน

 

ในส่วนของเม็กซิโกนั้น หลังจากที่ผลิตน้ำมันได้ลดลงมาหลายปี ก็ได้มีการปรับแก้รัฐธรรมนูญให้บริษัทต่างชาติเข้ามาดำเนินธุรกิจน้ำมันได้ โดยคาดว่าเม็กซิโกเป็นประเทศที่มีปริมาณน้ำมันดิบสำรองที่ยังไม่ถูกนำออกมาใช้ประโยชน์อยู่มากพอสมควรทั้งบนพื้นดินและนอกชายฝั่งทะเล ที่อย่างไรก็ตามบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ทั่วโลกคงจะชะลอการเข้ามาเจรจาสัญญาสัมปทานออกไปก่อน

 

และหากพูดถึงเรื่องราคาน้ำมันแล้ว ที่จะไม่กล่าวถึงไม่ได้ก็คือ องค์การกลุ่มประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออก หรือโอเปก ที่สมาชิกรายใหญ่ของกลุ่มยังคงมีกำไรจากการขายน้ำมันอยู่แม้ว่าราคาน้ำมันจะลดลง เนื่องจากต้นทุนในการผลิตน้ำมันนั้นยังต่ำกว่าระดับราคาน้ำมันในปัจจุบันมาก ถึงอย่างนั้นก็ตาม งบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลที่ประเทศเหล่านี้ตั้งไว้ ยังอยู่บนสมมติฐานที่ว่าระดับราคาน้ำมันสูงกว่านี้ โดยกระทรวงพลังงานสหรัฐประเมินว่า รายรับจากการขายน้ำมันของกลุ่มประเทศโอเปกจะลดลง 446,000 ล้านดอลลาร์ในปี ค.ศ. 2015 หรือปี 2558 ลดลง 36 เปอร์เซ็นต์ จากรายรับที่คาดว่าจะได้รับในปี 2557

 

คงต้องจับตาดูอย่างใกล้ชิดถึงผลกระทบของราคาน้ำมันที่มีต่อเศรษฐกิจโลกที่ยังคงเปราะบางในปี 2558 นี้ ว่าจะออกมาในรูปไหน

 

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ (วันที่ 3 มกราคม 2558)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณครับป๋า สำหรับคำบ่น และข้อมูลข่าวสาร ต่างๆ สวัสดีปีใหม่ครับ :01

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ฝรั่งขอเดาสำหรับอาทิตย์แรก ปี 2015 สำหรับขาเสี่ยง ให้มาดังนี้

 

LONG GOLD above 1202 SL 1199 TP 1208-1216-1222-1232-1238

SHORT GOLD below 1186 SL 1189 TP 1172-1166-1152-1145

 

ดังนั้น จุด งงงวย เวียนไปเวียนมายังไม่รู้ทางไป น่าจะอยู่ช่วง 1187-1201 แนวรับจึงให้ชิดขอบล่าง 1186 และแนวต้านให้ชิดขอบบน 1202 : โชคดี

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...