ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

*บาท/ดอลลาร์เช้านี้ทรงตัวจากเมื่อวาน และไม่ตอบรับกับการออกมาตรการ

ผ่อนคลายเชิงปริมาณ(QE) ของธนาคารกลางยุโรป(อีซีบี) เท่ากับสกุลเงิน

อื่นๆ ในภูมิภาค

*แต่ดีลเลอร์ มองว่า ตลาดหุ้นไทยที่มีแนวโน้มปรับขึ้นในวันนี้ จะเป็นแรงหนุน

ต่อเงินบาทได้ โดยมองแนวต้านไว้ที่ราว 32.40 และแนวรับที่ 32.65

*ยูโรเคลื่อนตัวอยู่ใกล้จุดต่ำสุดรอบ 11 ปีในช่วงเช้าวันนี้ หลังจากดิ่งลงอย่าง

รุนแรงเมื่อวานนี้ เนื่องจากอีซีบีประกาศมาตรการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาล

จำนวนมาก เพื่อจัดการกับภาวะเงินฝืด และกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ

*อีซีบีวางแผนจะซื้อสินทรัพย์วงเงิน 6 หมื่นล้านยูโร/เดือน นับตั้งแต่เดือน

มี.ค.58 ไปจนถึงสิ้นเดือนก.ย.59

*อีซีบียังประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.05% ตามคาด พร้อมทั้งคง

อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ 0.30% และ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ -0.20%

*นายมาริโอ ดรากี ประธานอีซีบี คาดว่า อัตราเงินเฟ้อของยูโรโซนอาจจะ

ยังลดลงในช่วง 2-3 เดือนข้างหน้า หลังราคาน้ำมันปรับลง ก่อนที่จะ

ปรับขึ้นอย่างช้าๆ ในช่วงก่อนสิ้นปี

*ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบตะกร้าสกุลเงิน พุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 11 ปี ที่

94.497 เมื่อวานนี้ ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.ย.46

*วานนี้ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นไทย 1.39 พันล้านบาท ขณะที่ซื้อสุทธิตราสารหนี้

ทุกช่วงอายุ 1.32 พันล้านบาท และถ้านับเฉพาะตราสารหนี้อายุเกิน 1 ปี

มีการซื้อสุทธิถึง 3.59 พันล้านบาท

*09.00 น.บาท/ดอลลาร์ อยู่ที่ 32.60/61 จาก 32.59/61 เมื่อวาน

*บาท/ยูโร อยู่ที่ 36.99/37.09 จาก 37.872/905 เมื่อวาน

*เยน/ดอลลาร์ อยู่ที่ 118.50/52 จาก 118.48 เมื่อวาน

*ยูโร/ดอลลาร์ อยู่ที่ 1.362/64 จาก 1.1365 เมื่อวาน

 

"เรื่อง QE ของอีซีบี ไม่ได้มีผลอะไรกับเราเลย บาทเรายังนิ่งอยู่ และยังมีแนวโน้มจะแข็งค่าด้วย ถ้าวันนี้มีแรงซื้อหุ้นเข้ามามากๆไม่เห็นใครมาดูแล ก็ปล่อยไปตามตลาด ช่วงนี้ขึ้นลง 10 สตางค์ได้ เป็นเรื่องปกติ" ดีลเลอร์ กล่าว

 

ที่มา: ทันหุ้น(23/01/2558)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Mario Draghi ประธานธนาคารกลางยุโรป กดปุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำ QE ด้วยการซื้อพันธบัตรรัฐบาล เดือนละ 6 หมื่นล้านยูโร เริ่มมีนาคมนี้

 

Mario Draghi ประธานธนาคารกลางยุโรป หรือ ECB แถลงผลการประชุมนัดแรกของปีว่า ECB จะทำการซื้อพันธบัตรทั้งภาครัฐบาลและเอกชน ตั้งแต่เดือนมีนาคมนี้ จนถึงเดือนกันยายนปี 2016 เดือนละ 6 หมื่นล้านยูโร (ประมาณ 7 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ซึ่งเป็นจำนวนเกือบเท่ากับของการทำ QE โดยธนาคารกลางสหรัฐฯ และรวมเป็นเงินกว่า 1.1 ล้านล้านยูโร ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการจัดการกับปัญหาเงินเฟ้อที่อยู่ระดับต่ำเกินไป กระทั่งเป็นความเสี่ยงต่อการเผชิญกับภาวะเงินฝืด

 

Draghi กล่าวย้ำว่า เป้าหมายสำคัญของมาตรการนี้ก็คือดันเงิน เฟ้อให้เข้าใกล้เป้าหมายที่ 2% ขณะที่ปัจจุบันเงินเฟ้อของยูโรโซน ติดลบอยู่ 0.2% นอกจากนี้ ECB ยังได้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 0.05% ในวันนี้ และตรึงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากข้ามคืนสำหรับธนาคารพาณิชย์ที่ -0.20% และตรึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ข้ามคืนที่ 0.30%

 

การตัดสินใจในครั้งนี้ของ ECB สวนทางกับกระแสทัดทาน ของเยอรมนี พี่ใหญ่ในยูโรโซน ที่ก่อนหน้านี้ออกตัวว่าไม่เห็นด้วยต่อการซื้อพันธบัตรรัฐบาล เพราะอาจทำให้เกิดการใช้จ่ายที่ไม่ระมัดระวังของภาครัฐ ขณะที่ ผอ.กองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ IMF คริสติน ลาการ์ด ได้ออกมาขานรับมาตรการดังกล่าว โดยระบุว่าการซื้อพันธบัตรวงเงิน 6 หมื่นล้านยูโรต่อเดือนจะช่วยเน้นย้ำการผ่อนคลายจอง ECB, ลดอัตราดอกเบี้ยทั่วยูโรโซน และเพิ่มการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อ รวมถึงสนับสนุนธนาคารกลางในการรักษาเสถียรภาพด้านราคาอีกด้วย

 

อย่างไรก็ตามสำนักข่าว CNBC ได้ออกบทวิเคราะห์ล่าสุดที่ประเมินว่า อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำใกล้ 0 ของ ECB ณ ขณะนี้จะทำให้ QE รอบนี้แทบไม่ส่งผลบอกต่อเศรษฐกิจในยุโรป เพราะการเข้าถึงสินเชื่อของบรรดาบริษัทในยุโรป ต่างกับวิธีการของบริษัทในสหรัฐฯ และที่สำคัญการประกาศมารการใครครั้งนี้ถือว่าช้าเกินไป หากเทียบกับวิกฤตสินเชื่อในยุโรปตั้งแต่ปี 2008

 

ทั้งนี้เม็ดเงินการทำ QE ดังกล่าว (6 หมื่นล้านยูโรต่อเดือน) มากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 5 หมื่นล้านยูโรต่อเดือน ส่งผลให้ตลาดหุ้นยุโรป ดัชนี Eurofirst 300 เปิดตลาดพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 7 ปีทันที และค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงไปอยู่ที่ 1.1611 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อยูโร ใกล้เคียงกับจุดที่ยูโรอ่อนค่ามากที่สุดในรอบ 11 ปี -

 

ที่มา: money channel (23/01/2558)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ผม....คาดว่า สัปดาห์หน้าและต่อไป.......

 

เป็นสัญญาณ ขาขึ้น แล้ว

 

อาจมีสับขาหลอกลง บ้าง 10-15$ และดันขึ้นต่อ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ดอลล์สหรัฐ เส้นดำเชิดสูงขึ้นไปอีก รหัส 5,35,9 ยังอยู่ในสถานะด้านแข็งค่าอีกต่อไป ซึ่งยังคงเป็นภาวะที่ผิดปกติที่มีผลต่อราคาทองในอดีตที่ผ่านมา / ดอลล์แข็ง ทองอ่อนค่า ซึ่งจากเหตุการณ์คืนที่ผ่านมา จะเห็นว่า ราคาทองมันดันเดินตามค่าเงินดอลล์ ดอลล์อ่อนช่วงขณะ ราคาทองก็ย่อชั่วขณะ โปรดสังเกตุด้วยตัวเองในวันต่อไปวันจันทร์ วันทำการ ลองดู

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รหัส 5,35,9 ของราคาทองคำ เส้นดำจากที่ชนกรอบด้านบน ตามสัญญานกราฟ อันล่าง ก็หันหัวลงมา สถานะที่มองแค่เส้นดำเส้นแดง ซึ่งยังไม่ได้มีการตัดกัน ก็ถือว่า ยังอยู่ในสถานะซื้ออยู่ดี ในสิ่งที่ใครที่เล่นทอง มองแค่ว่า จะตัดหรือไม่ตัด ตรงจุดไหนจองสัญญานฯ

 

1293 ที่ปิดไปเมื่อวันศุกร์ ก็ยังถือเป็นการปิดตรงจุดแนวต้านรับ ของขาเสี่ยงฝรั่ง ด่านที่ 2 ไม่ได้ปิดเหนือ เป้าหมายสุดท้าย 1303 ที่คิดเดาว่า ราคาทองจะไปต่อได้ รอดูตัวเลขขาเสี่ยงฝรั่งในบ่ายวันจันทร์ ต่อไป

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

หุ้นUSปิดลบ,น้ำมันลง72เซนต์,ทองลบ8.10$

ข่าวเศรษฐกิจ วันเสาร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ.2558 7:18น.

 

หุ้นสหรัฐปิดแดนผสมแดนลบ จากความกังวลอุตสาหกรรมด้านอสังหาริมทรัพย์น้ำมันไนเม็กซ์ ลดลง 72เซนต์ ราคาทองคำตลาดนิวยอร์ก ลดลง 8.10ดอลลาร์

ปิดการซื้อขายตลาดหุ้นสหรัฐ เมื่อคืนที่ผ่านมา ปิดผสมแดนลบ หลังจากนักลงทุนเกิดความกังวล ธุรกิจอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ หลังเครดิตสวิสเชื่อว่าการก่อสร้างบ้านอาจจะขาดทุนถึง 20% ในปีนี้ โดย ดาวโจนส์ ลดลง 141.38 จุด หรือ 0.79 เปอร์เซ็นต์ ปิดที่ 17,672.60 จุด เอสแอนด์พี ลดลง 11.33 จุด หรือลบ 0.55เปอร์เซ็นต์ ปิดที่ 2,051.82จุด แนสแดค เพิ่มขึ้น 7.48 จุด หรือบวก 0.16 เปอร์เซ็นต์ ปิดที่ 4,757.88 จุด

 

ราคาน้ำมันดิบตลาดไนเม็กซ์ สหรัฐ งวดส่งมอบเดือน มี.ค. ลดลง 72เซนต์ ปิดที่ 45.59 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อ บาร์เรล หลังจากกษัตริย์ อับดุลลาห์ บิน อับดุลลาซิซ แห่งซาอุฯ เสด็จสวรรคต ซึ่งซาอุเป็นประเทศผลิตน้ำใหญ่รายใหญ่ของโลกและ สถานการณ์ความไม่สงบในเยเมน

 

ราคาทองคำตลาดนิวยอร์ก สหรัฐ ลดลง 8.10ดอลลาร์ หรือลบ 0.62 เปอร์เซ็นต์ ปิดที่ 1,292.60 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อ ออนซ์ จากการคาดการณ์อภาวะเงินฝืดค่าใช้จ่าย การค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งตัวขึ้นต่อเนื่อง

 

 

U.S. Stocks

See After-Hours Trading Data as of 5:16pm ET

Friday’s Close:

Dow-141.38 17,672.60 -0.79%

 

Nasdaq+7.48 4,757.88 +0.16%

 

S&P-11.33 2,051.82 -0.55%

 

 

Oil (Light Crude)

March 2015 contract

$ / barrel Floor 45.59 -0.72 -1.55%

 

Gold

Feb. 2015 contract

$ / troy ounce 1,292.60 -8.10 -0.62%

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เลขาใหญ่OPECยันราคาไม่ปรับลงระดับ20-25$

ข่าวต่างประเทศ วันเสาร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ.2558 7:38น.

 

เลขาธิการใหญ่กลุ่มโอเปก ยันราคาน้ำมันอาจจะไม่ปรับตัวลงมาอยู่ที่ระดับ 20 -25 ดอลลาร์และจะยังคงอยู่ที่ระดับปัจจุบัน

สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานจากการเปิดเผยของ นายอับดุลลาห์ เอลบาดรี เลขาธิการกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน หรือโอเปก ที่ออกมาเปิดเผยว่า ราคาน้ำมันอาจจะไม่ปรับตัวลงมาอยู่ที่ระดับ 20 หรือ 25 ดอลลาร์ และคิดว่า ราคาน้ำมันจะยังคงอยู่ที่ระดับปัจจุบัน ซึ่งสถานการณ์เช่นนี้เคยเกิดขึ้นมาก่อนแล้วแต่ราคาจะปรับตัวขึ้นในที่สุด โดยก่อนหน้านี้ กลุ่มประเทศโอเปก ได้คงโควต้าการผลิตน้ำมันไว้ที่ระดับเดิมนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ปี 2557ที่ผ่านมา

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สำนักวิจัยธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จับตาการเลือกตั้งใหญ่กรีซกำหนดชะตาเศรษฐกิจยุโรป แนะนักลงทุนหาจังหวะลงทุนยุโรป มองเป็นโอกาสทองแม้จะมีวิกฤตเงินยูโรอ่อนค่า

24/01/58

นายอมรเทพ จาวะลา ผู้อำนวยการสำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากประเทศกรีซกำลังจะมีการเลือกตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติ ในวันที่ 25 ม.ค.2558 ซึ่งตลาดคาดการณ์กันว่าพรรคฝ่ายค้าน Syriza จะชนะการเลือกตั้ง ส่งผลให้กรีซกลับไปเจรจาต่อรองใหม่กับ IMF ธนาคารกลางยุโรป และสหภาพยุโรปเพื่อเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐให้สูงขึ้น แต่เยอรมนีมีท่าทีไม่เห็นด้วย เพราะเกรงจะส่งผลกระทบทำให้รัฐบาลในยูโรโซนสูญเสียวินัยการคลังจนทำให้เกิดวิกฤตหนี้ และในท้ายที่สุด กรีซอาจไม่มีทางเลือกจนต้องลาออกจากสมาชิกภาพของสหภาพยุโรป

 

สำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย มองว่า กรีซคงไม่ออกจากสหภาพยุโรป แม้การไม่ใช้สกุลเงินร่วมในยูโรโซนจะทำให้กรีซสามารถปล่อยให้ค่าเงิน Drachma อ่อนค่าลงเพื่อสนับสนุนการส่งออกและการท่องเที่ยวได้ อย่างไรก็ดี ข้อเสียของการออกจากกลุ่ม คือ กรีซจะเผชิญอุปสรรคทางเศรษฐกิจเพราะจะสูญเสียแหล่งเงินทุนจากต่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากธนาคารกลางยุโรป และธนาคารต่างๆในยุโรป ดังนั้น ประเด็นที่น่าสนใจคือ แล้วกรีซมีทางเลือกอะไรบ้าง

 

สำนักวิจัยฯมองว่า ความเป็นไปได้ทางหนึ่งคือ กรีซจะเจรจาเรื่องดอกเบี้ยและผ่อนคลายการชำระหนี้กับ Troika เพื่อลดต้นทุนการเงินลง กรีซจะได้มีเม็ดเงินไปกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยช่วงเวลาก่อนการเลือกตั้งซึ่งเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน นักลงทุนเริ่มโยกสินทรัพย์ไปลงทุนในช่องทางที่เสี่ยงน้อยลง อาทิ ทองคำ พันธบัตรในสหรัฐและญี่ปุ่น แต่เมื่อปัญหาของกรีซเริ่มคลี่คลายและสหภาพยุโรปเริ่มกลับมามีเสถียรภาพ นักลงทุนจะค่อยเริ่มกลับเข้าลงทุนในสินทรัพย์ที่เสี่ยงมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือกลับเข้ามาลงทุนในยุโรปเช่นเดียวกับตลาดเกิดใหม่

 

อย่างไรก็ดี ค่าเงินยูโรไม่ใช่ทางเลือกที่น่าสนใจในสายตานักลงทุนตอนนี้ เพราะแม้สหภาพยุโรปจะกลับมามีเสถียรภาพโดยที่กรีซไม่ได้ลาออกไป แต่ตลาดมองว่าเงินยูโรจะอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลหลักๆโดยเฉพาะหลังจากที่ธนาคารกลางยุโรปเริ่มอัดฉีดสภาพคล่องเข้าระบบผ่านมาตรการ QE ภายหลังการประชุมของธนาคารกลางยุโรปเมื่อวันที่ 22 ม.ค.58 ขณะที่ธนาคารกลางยุโรปมีแนวโน้มจะออกมาตรการอื่นเพิ่มเติมเพื่อผ่อนคลายความน่าสนใจของค่าเงินยูโรลงหรืออาจจะใช้นโยบายแทรกแซงค่าเงินเพื่อกดดันให้เงินยูโรอ่อนค่าลงเพื่อสนับสนุนการส่งออก

 

ก่อนหน้านี้ ธนาคารกลางของสวิตเซอร์แลนด์ (SNB) ยกเลิกการกำหนดกรอบล่างของค่าเงินฟรังก์สวิสที่ระดับไม่ต่ำกว่า 1.2 ฟรังก์ต่อยูโร และลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ที่ฝากไว้กับธนาคารกลาง (Deposit rate) เป็น -0.75% จาก -0.25% ส่งผลให้มีเงินทุนไหลเข้าอย่างรวดเร็วและทำให้เงินฟรังก์แข็งค่าขึ้น นับเป็นการเตรียมพร้อมก่อนที่ยุโรปจะออก QE เพราะสวิตเซอร์แลนด์คงทราบดีว่าไม่อาจต้านทานการออกมาตรการนี้ จึงมีความเป็นไปได้ที่จะได้เห็นเงินยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลหลักๆ กระนั้นก็ตาม เศรษฐกิจมีแนวโน้มจะฟื้นตัวจากเสถียรภาพของกรีซและภาคการส่งออกที่แข่งขันได้มากขึ้น

 

สำหรับนักลงทุนที่เล็งหาโอกาสลงทุนในยุโรป สำนักวิจัยฯมองว่า เป็นจังหวะที่ดีที่จะขยายธุรกิจไปยังประเทศในยุโรป ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนตรง การซื้อหรือควบรวมกิจการ หรือการลงทุนผ่านหุ้น สืบเนื่องจากสหภาพยุโรปจะมีสภาพคล่องสูงขึ้นท่ามกลางสภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำที่จะยืดระยะเวลาออกไป แต่ต้องพึงระวังความผันผวนระยะสั้นในตลาด ที่เกิดจากความวิตกกังวลว่ากรีซจะออกจากสหภาพยุโรป กรณีถ้าเหตุการณ์ไม่เป็นไปตามที่สำนักวิจัยฯคาด คือ กรีซตัดสินใจออกจากกลุ่มยุโรป เราก็ยังมองว่าวิกฤตค่าเงินยูโรเป็นโอกาสดีที่จะค่อยๆลงทุนในยุโรปอยู่ดี โดยเฉพาะในเยอรมนีเพราะคาดว่าเยอรมนีจะได้รับประโยชน์จากเงินยูโรที่อ่อนค่าลงทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันด้านส่งออกสูงขึ้น ในขณะที่ผู้ส่งออกไทยจะได้รับผลกระทบจากเงินยูโรอ่อนค่า คือ ลูกค้าต่างชาติจะสั่งซื้อสินค้าจากไทยแพงขึ้น นับเป็นอุปสรรคของผู้ส่งออกไทย อย่างไรก็ดี ตราบเท่าที่ประเทศในกลุ่มยุโรปยังมีการเติบโตทางเศรษฐกิจ ผู้ส่งออกไทยที่ส่งออกสินค้าไปประเทศเหล่านี้ ซึ่งมีสัดส่วนราว 10% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด ไม่น่าจะได้รับผลกระทบมากนัก เราควรจะวิตกเกี่ยวกับการตัดสิทธิ GSP มากกว่า ความวิตกกังวลที่สำคัญคือ ค่าเงินบาทไม่อ่อนค่ามากเท่ากับค่าเงินของประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งฉุดรั้งความสามารถในการส่งออกของไทย

 

 

http://www.cimbthai.com/CIMB/news/press_release/5265/

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลงในช่วงเช้าวันนี้ โดยการนำของตลาดหุ้นญี่ปุ่นที่ร่วงลงเพราะเงินเยนแข็งค่าเทียบยูโร หลังจากเอ็กซิทโพลล์ระบุว่า พรรคไซรีซา ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านของกรีซ มีคะแนนนำเหนือพรรคนิวเดโมเครซี (ND) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาล โดยพรรคไซรีซามีคะแนน 35.8% เหนือพรรค ND ซึ่งได้คะแนนเพียง 28.3%

 

ดัชนี MSCI Asia Pacific Index (MXAP) ร่วงลง 0.4% แตะ 140.59 จุด เมื่อเวลา 9.01 น.ตามเวลาโตเกียว

 

ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 17,285.71 จุด ลดลง 226.04 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 24,907.19 จุด เพิ่มขึ้น 56.74 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 9,474.56 จุด เพิ่มขึ้น 3.62 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 1,928.26 จุด ลดลง 7.83 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,409.36 จุด ลดลง 2.14 จุด และดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,800.49 จุด ลดลง 2.59 จุด

 

ทั้งนี้ นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่มองว่า หากพรรคไซรีซาได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง ก็อาจทำให้กรีซมีความเสี่ยงที่จะเผชิญกับการผิดนัดชำระหนี้และอาจจะต้องออกจากกลุ่มยูโรโซน เนื่องจากพรรคไซรีซาต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัดซึ่งเป็นเงื่อนไขที่ได้รับการสนับสนุนจากเยอรมนีเพื่อแลกกับการให้ความช่วยเหลือกรีซ

 

ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (26/01/58)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นายกฯกรีซยอมรับความพ่ายแพ้ หลังเอ็กซิทโพลล์ชี้พรรคฝ่ายค้านมีคะแนนนำพรรครบ. (26/01/58)

ข่าววิ่ง - ข่าววิ่ง(ไทย)

นายอันโตนิส ซามาราส นายกรัฐมนตรีกรีซ ได้ออกมายอมรับความพ่ายแพ้ให้กับพรรคไซรีซา ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้าน หลังจากเอ็กซิทโพลล์ระบุว่า พรรคไซรีซา ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านของกรีซ มีคะแนนนำเหนือพรรคนิวเดโมเครซี (ND) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาล

 

นายซามาราสเปิดเผยกับผู้สื่อข่าวหลังจากที่กล่าวแสดงความยินดีกับไซรีซา ว่า "ชาวกรีซได้เลือกแล้ว และเราควรจะเคารพผลการเลือกตั้งครั้งนี้"

 

นายซามาราสเรียกร้องให้รัฐบาลชุดใหม่เดินหน้ามาตรการปฏิรูปซึ่งได้นำมาใช้ตั้งแต่เมื่อ 5 ปีที่แล้ว ควบคู่ไปกับการใช้มาตรการรัดเข็มขัด เพื่อคลี่คลายวิกฤตหนี้สินที่เป็นเหตุให้กรีซต้องเผชิญกับการผิดนัดชำระหนี้

 

ทั้งนี้ ผลการนับคะแนนรอบแรกอย่างเป็นทางการของกระทรวงมหาดไทยระบุว่า พรรคไซรีซามีคะแนน 35.8% เหนือพรรค ND ซึ่งได้คะแนนเพียง 28.3%

 

ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (26/01/58)

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

พรรคฝ่ายค้านกรีซให้คำมั่นกอบกู้ศักดิ์ศรีประเทศ เชื่อกรีซไม่หลุดจากยูโรโซน (26/01/58)

ข่าววิ่ง - ข่าววิ่ง(ไทย)

นายอเล็กซิส ซิปราส หัวหน้าพรรคไซรีซา ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านของกรีซ ให้คำมั่นสัญญาว่าจะกอบกู้ศักดิ์ศรีของกรีซกลับคืนมา พร้อมกับกล่าวว่า ยุคสมัยที่กรีซต้องก้มหัวให้กับกลุ่มเจ้าหนี้ต่างประเทศนั้น ได้สิ้นสุดลงแล้ว

 

ถ้อยแถลงดังกล่าวมีขึ้นหลังจากเอ็กซิทโพลล์ระบุว่า พรรคไซรีซา ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านของกรีซ มีคะแนนนำเหนือพรรคนิวเดโมเครซี (ND) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาล โดยพรรคไซรีซามีคะแนน 35.8% เหนือพรรค ND ซึ่งได้คะแนนเพียง 28.3%

 

"วันนี้ชาวกรีซได้สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ ซึ่งชาวกรีซได้เลือกแล้ว นับจากนี้ไป กรีซจะทิ้งมาตรการรัดเข็มขัด ความกลัว ความเจ็บปวด และความรู้สึกอัปยศ เราจะทิ้งทั้งหมดนี้เอาไว้ข้างหลัง แล้วเราจะก้าวไปข้างหน้าด้วยความหวังและมุมมองใหม่ที่เป็นบวก" นายซิปราส วัย 40 ปี กล่าวกับฝูงชนที่เดินทางมาร่วมสนับสนุนพรรคไซรีซาที่จตุรัสกลางกรุงเอเธนส์

 

นายซิปราสยังให้คำมั่นสัญญาว่า เขาจะทุ่มเททำงานอย่างหนักเพื่อประเทศชาติ พร้อมกับเรียกร้องให้ชาวกรีซร่วมกับฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ และย้ำว่า พรรคไซรีซาจะเปิดฉากการเจรจาครั้งใหม่กับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) และสหภาพยุโรป (อียู) ด้วยความเป็นธรรม และเอื้อผลประโยชน์ต่อชาวกรีซ ส่วนกรณีที่กรีซจะกลายเป็นประเทศล้มละลายและต้องออกจากยูโรโซนนั้น จะไม่มีทางเกิดขึ้นอย่างแน่นอน

 

ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (26/01/58)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...