ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

ตุรกีขู่จะระงับความสัมพันธ์กับยุโรป หากไซปรัสได้เป็นประธานสหภาพยุโรป

 

รองนายกรัฐมนตรีเบซีร์ อาตาเลย์ของตุรกีกล่าวข่มขู่ว่า จะระงับความสัมพันธ์กับสหภาพยุโรปหรืออียู. หากไซปรัสได้นั่งเก้าอี้ประธานอียู.ตามวาระในปีหน้า สำนักข่าวของทางการตุรกีรายงานโดยอ้างคำกล่าวของนายอาตาเลย์ที่ให้สัมภาษณ์ทางสถานีวิทยุและโทรทัศน์ของไซปรัสเหนือระหว่างการเยือนไซปรัสเหนือที่ระบุว่า หากอียู. มอบตำแหน่งประธานให้แก่ไซปรัสกรีกตามวาระเวียน ระหว่างที่การเจรจาสันติภาพไซปรัสกรีกยังไม่บรรลุ จะส่งผลให้เกิดวิกฤติความสัมพันธ์ระหว่างตุรกีกับอียู. ซึ่งตุรกีจะระงับความสัมพันธ์กับอียู.ทั้งหมดเพื่อเป็นการตอบโต้

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เห็นราคาทองเปิดมาเช้านี้ เพิ่มขึ้นมากอีกกว่า US$10 ก็เป็นหนทางข้างหน้าในไม่ช้านี้

ที่จะเพิ่มขึ้นได้ ในช่วงบ่าย 3 โมง ถามว่าเพราะอะไรถึงต้องเป็นเวลานั้น ก็ตลาดลอนดอยเปิดทำการไงครับ การโต้เถียงใน

การประชุมยูโรโซนเมื่อวันศุกรเสาร์ที่ผ่านมา จนมีการออก แถลงารณ์ร่วมกันว่า ขอเลื่อนออกไปก่อน เพราะมีบางประเทศ

ขัดแย้งกัน ในประเด็นของ ผู้นำโลกอย่างสหรัฐฯ จะขอมามีส่วนร่วม จนเกินไป ( รมต. คลังยูโร 17 ประเทศ ล้วนเป็นคน

สูงอายุ แต่มาเจอ รมต. คลังสหรัฐที่เป็นคนหนุ่มมาชี้นิ้ว สั่งนั้นสั่งนีื้ แบบว่า ลื้อไม่ทำแบบนี้แล้ว ไม่มีหนทางอื่น ) จนมีข่าว

ออกมาจากทำเนียบขาวสหรัฐฯ ออกมาว่า ไม่ได้ทำตัวใหญ่ เพียงให้คำปรึกษาเท่านั้น ยิ่งสร้างความไม่พอใจในกลุ่มยูโรโซน

มากขึ้น กรณีว่า " พูดเอาดีใส่ตัว ความไม่ดีให้คนอื่น มาคิดไปเองทั้งนั้น " นี่หรือ คือ " ข้อเท็จจริง "

 

อาทิตย์นี้ จะมีเรื่องของมูดีส์อีกเรื่องหนึ่ง ที่อาจะลดอันดับความน่าเขื่อถือ ของอิตาลี จากคำกล่าวว่า อีก 90 วันจากมิถุนายน

จะพิจารณาประเด็นของอิตาลี

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เกิดการสู้รบรุนแรงในเมืองของกลุ่มผู้สนับสนุนพันเอกมูอัมมาร์ กัดดาฟี

 

ผู้บัญชาการกองกำลังต่อต้านพันเอกมูอัมมาร์ กัดดาฟีแห่งลิเบียกล่าวว่า เกิดการสู้รบรุนแรงระหว่างกลุ่มสนับสนุนพันเอกกัดดาฟีกับกองกำลังรัฐบาลรักษาการที่ประจำการอยู่บริเวณโดยรอบเมืองบานีวาลิด ซึ่งมีทั้งระเบิดหลายลูกและยิงถล่มด้วยปืนกล

ผู้บัญชาการกองกำลังรัฐบาลใหม่ลิเบียกล่าวว่า มีการสู้รบรุนแรงตลอดทั้งคืนที่ผ่านมาในเมืองบานีวาลิด ซึ่งเป็นหนึ่งในที่มั่นที่เหลืออยู่ของผู้ที่ภักดีต่อพันเอกกัดดาฟี และว่า กองกำลังของรัฐบาลใหม่ได้ปิดล้อมโดยรอบเมืองดังกล่าวในระยะ 40 กิโลเมตร

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ธนาคารในเกาหลีใต้ 7 แห่งถูกสั่งปิดดำเนินกิจการชั่วคราว

 

รัฐบาลเกาหลีใต้สั่งวันนี้ ให้ธนาคาร 7 แห่งระงับการดำเนินกิจการเป็นการชั่วคราว เนื่องจากสถานะทางการเงินที่ย่ำแย่ อันเป็นผลมาจากการลงทุนอย่างมากในโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่มีความเสี่ยงทั้งในประเทศและต่างประเทศ

 

การตัดสินใจดังกล่าวมีขึ้น 2 เดือนหลังคณะกรรมาธิการกำกับดูแลธนาคารเริ่มการตรวจสอบธนาคารที่มีปัญหาทางการเงิน ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก ด้านคณะกรรมาธิการตรวจสอบด้านการเงิน หรือเอฟเอสซี. ได้สั่งให้ธนาคาร 7 แห่งเหล่านี้ ระงับการดำเนินกิจการนาน 6 เดือน พร้อมกระตุ้นให้บริหารจัดการเพื่อพัฒนาสถานการเงินด้วยการเพิ่มจำนวนหุ้นหรือขายทรัพย์สิน ซึ่งธนาคารเหล่านี้มีอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงไม่ถึงร้อยละ 1 และหากไม่สามารถเพิ่มอัตราส่วนให้สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ร้อยละ 5 ได้ภายใน 45 วัน ก็จะถูกนำทรัพย์สินออกขาย

 

 

ผู้นำสหรัฐ เรียกร้องให้สภาคองเกรสอนุมัติแผนสร้างงานของเขาโดยเร็ว เนื่องจากแผนดังกล่าวจะทำให้ธุรกิจสามารถจ้างงานเพิ่มขึ้นและทำให้ชาวอเมริกันมีงาน

 

- ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐ กล่าวผ่านทางวิทยุและอินเทอร์เน็ตประจำสัปดาห์ เรียกร้องให้สภาคองเกรสอนุมัติแผนสร้างงานของเขาโดยเร็ว เนื่องจากแผนดังกล่าวจะทำให้ธุรกิจสามารถจ้างงานเพิ่มขึ้นและทำให้ชาวอเมริกันมีงานทำ ประธานาธิบดีโอบามากล่าวย้ำว่า จะต้องไม่มีการถ่วงหรือทำให้ล่าช้าอีกต่อไป ผู้นำสหรัฐกล่าวถึงแผนสร้างงานมูลค่า 447,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อต้นเดือนนี้ เพื่อพยายามแก้ไขปัญหาการว่างงานในประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดของโลกและมีอัตราการว่างงานสูงถึงร้อยละ 9.1 สาระสำคัญของแผนดังกล่าวก็คือการลดหย่อนภาษีรายได้ให้แก่นายจ้างและลูกจ้างในวงเงินถึง 240,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อกระตุ้นความต้องการของผู้บริโภคและส่งเสริมให้บริษัทต่าง ๆ จ้างพนักงานใหม่

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สหภาพแรงงานยุโรปพร้อมใจกันเดินขบวนประท้วงมาตรการรัดเข็มขัดของรัฐบาลหลายประเทศ

 

กลุ่มนักเคลื่อนไหวของสหภาพแรงงานยุโรปหลายหมื่นคนนำโดยนายแบร์นาเดตต์ เซกอล ประธานสหพันธ์แรงงานยุโรป และนายยาน กุซ ประธานพันธมิตรสหภาพแรงงานโปแลนด์ พร้อมใจกันเดินขบวนในเมืองวรอตสวัฟ ทางตอนใต้ของโปแลนด์ เพื่อประท้วงมาตรการรัดเข็มขัดของรัฐบาลหลายประเทศในยุโรป เนื่องจากมาตรการดังกล่าวทำให้มีการตัดลดเงินเดือนคนงาน และปลดคนงานออกเป็นจำนวนมาก

การประท้วงครั้งนี้มีขึ้นวันเดียวกับที่กลุ่มรัฐมนตรีคลังของยุโรปจัดการประชุมอย่างไม่เป็นทางการ เพื่อหาทางแก้วิกฤติที่อาจทำให้กลุ่มยูโรโซนหลายประเทศล้มละลาย เนื่องจากปัญหาหนี้สาธารณะล้นเพดาน

 

ผู้นำสหรัฐเตรียมเสนอแผนปรับขึ้นอัตราภาษีขั้นต่ำแก่บรรดามหาเศรษฐี

 

เจ้าหน้าที่ทำเนียบขาวสหรัฐเปิดเผยว่า ประธานาธิบดีบารัค โอบามา เตรียมเสนอแผนปรับขึ้นอัตราภาษีขั้นต่ำแก่บรรดามหาเศรษฐี เพื่อให้จ่ายภาษีเงินได้ในสัดส่วนเดียวกับชนชั้นกลางทั่วไป โดยนโยบายดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของแผนกระตุ้นการจ้างงาน ซึ่งจะต้องใช้งบประมาณราว 447 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อลดอัตราการว่างงานที่สูงถึงร้อยละ 9.1

อย่างไรก็ตามคาดว่าข้อเสนอขึ้นภาษีคนรวยของประธานาธิบดีโอบามา จะไม่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา เนื่องจากสมาชิกพรรครีพับลิกันได้ประกาศแล้วว่าจะคัดค้าน แผนนี้และมองว่าเป็นเพียงกลเม็ดทางการเมืองของประธานาธิบดีโอบามา

ขณะที่เจ้าหน้าที่รัฐบาลสหรัฐซึ่งไม่เปิดเผยนาม กล่าวว่า ประธานาธิบดีโอบามา เรียกแผนขึ้นภาษีคนรวยนี้ว่า กฎบัฟเฟ็ตต์.

 

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ยูเอ็นเอสซี ลงมติผ่อนคลายมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจและทางทหารต่อลิเบีย

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน 2011 เวลา 07:22 น. กอง บก.ออนไลน์ ข่าวรายวัน - ข่าวต่างประเทศ

 

คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสประชาชาติ หรือ ยูเอ็นเอสซี ลงมติอย่างเป็นเอกฉันท์ผ่านความเห็นชอบการผ่อนคลายมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจและทางทหารต่อลิเบีย พร้อมเตรียมตั้งคณะทำงานช่วยเหลือรัฐบาลเฉพาะกาลดูแลการเปลี่ยนผ่านอำนาจหลังสิ้นสุดยุคการปกครองของพันเอกมูอัมมาร์ กัดดาฟี ที่ผูกขาดมานานกว่า 40 ปี ความเคลื่อนไหวดังกล่าวมีขึ้นเพียงไม่กี่ชั่วโมง หลังสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ โหวตอ้าแขนรับรัฐบาลชุดใหม่ของลิเบีย อย่างไรก็ดี ยูเอ็นเอสซี จะยังคงมาตรการคว่ำบาตรพันเอกกัดดาฟีและครอบครัวไว้ตามเดิม เช่นเดียวกับการกำหนดเขตห้ามบินเหนือน่านฟ้าลิเบีย ที่ถูกใช้เป็นข้ออ้างความชอบธรรมขององค์การนาโตในการเปิดฉากสงครามลิเบียเมื่อหลายเดือนก่อน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เตือนมรสุมพัดผ่านทั่วทุกภาคมีฝนตกเพิ่มขึ้นในช่วง20-23ก.ย

 

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

 

ทั่วทุกภาคมีฝน40-70%คลื่นสูง2 เมตรชาวเรือระวังอันตราย

อากาศวันนี้ทั่วทุกภาคมีฝนเฉลี่ย40-70%กทม.ฝนกระจาย40 %

อากาศวันนี้เหนือ อีสานมีฝนร้อย80กทม.ฝนลดลง

อากาศวันนี้ทั่วทุกภาคฝนลดลง ชุมชนพื้นที่ลาดเขาระวังฝนตกหนัก

อุตุเตือนฝนตกหนักระวังน้ำท่วมฉับพลันในช่วง1-2วันนี้

 

ประจำวันที่ 19 กันยายน 2554

ลักษณะอากาศทั่วไปเมื่อเวลา 04:00 น. บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนทำให้ร่องมรสุมที่พาดผ่านประเทศพม่าและประเทศลาวตอนบนเริ่มเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ลักษณะเช่นนี้จะทำให้บริเวณภาคเหนือและ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีฝนชุกหนาแน่นกับมีฝนตกหนักในหลายพื้นที่

สำหรับร่องมรสุมนี้จะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างประมาณวันที่ 20-23 ก.ย. ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีฝนเพิ่มมากขึ้นขอให้ประชาชนระมัดระวังฝนตกหนักในระยะนี้

 

พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06:00 วันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้.

ภาคเหนือ มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง

ส่วนมากบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ และเพชรบูรณ์

อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศา

อุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศา

ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักหลายพื้นที่

บริเวณจังหวัดหนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม ขอนแก่น และมุกดาหาร

อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศา

อุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศา

ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

 

ภาคกลาง มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่

ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ลพบุรี สระบุรี และพระนครศรีอยุธยา

อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศา

อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศา

ลมตะวันตก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

 

ภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่

ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครนายก ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศา อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศา

ลมตะวันตก ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร

 

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี

สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศา อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศา

ลมตะวันตก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร

 

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่

ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต และสตูล

อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศา

อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศา

ลมตะวันตก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร

 

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากในระหว่างบ่ายถึงค่ำ

อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศา อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศา

ลมตะวันตก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ปัญหาเศรษฐกิจยุโรป : ลางร้ายเศรษฐกิจโลก?

 

กระจกหักมุม 19 กันยายน 2554 - 00:00

ความเดิม

เมื่อสองสัปดาห์ที่แล้ว ผมได้แสดงความเห็นคล้อยตามคุณปู่อลันฯ อดีตผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ ที่พูดว่า “หากจะเกิด Double Dip ยุโรปน่าจะไปก่อนอเมริกา (ชัวร์)”

หลังจากนั้นไม่นานก็มีผู้คนสอบถามผมมากหลายในทำนองว่า

“ตกลงยุโรปไปไม่รอดจริงๆ หรือ?”

“ยุโรปจะเจ๊งเมื่อไหร่?”

“แล้วเศรษฐกิจมะกันจะเจ๊งตามไปด้วยไหม?”

แล้วเศรษฐกิจโลกจะเป็นอย่างไร?”

ฯลฯ

และหลังจากนั้นอีกไม่นาน (อันที่จริงเมื่อวันที่ 9 กันยายนที่ผ่านมานี้เอง) หัวหน้าเศรษฐกิจของธนาคารกลางแห่งสหภาพยุโรป (European Central Bank’s Chief Economist) นายเจอร์เก็น สตาร์ค (Juergen Stark) ก็ประกาศลาออกด้วยเหตุผลส่วนตัว (ซึ่งตามพจนานุกรมการเมืองของฝรั่งก็คือ “ทะเลาะกับเจ้านาย” นั่นเอง) และล่าสุด ธนาคารยักษ์ใหญ่ที่สุดของสวิตเซอร์แลนด์ก็ประกาศข่าวร้าย “ขาดทุนจากการลงทุนในพอร์ต” (ตามด้วยรายการจับกุม “นักค้า” ของธนาคารด้วย) ประมาณ 2,000 ล้านยูโร

ทั้งหมดถือเป็นข่าวร้าย “รายการเล็กๆ” ที่บ่งบอกถึงอาการโรคของเศรษฐกิจยุโรป ซึ่งเคยเชื่อกันว่าออกจากห้องไอซียูมาแล้วเมื่อปลายปี 2009 ว่าอาจจะต้องกลับเข้าห้องดังกล่าวอีก และคราวนี้มีความเป็นไปได้ว่า “อาจจะต้องอยู่ยาว”

สัปดาห์นี้ ผมจะลองส่องกระจกแบบ “หักมุม” ดูอีกสักรอบ ไม่แน่ว่าอาจจะมองเห็นอะไรดีๆ ก็ได้

ทำไมวิกฤติเศรษฐกิจยุโรปดูท่าจะหนักหนากว่าวิกฤติเศรษฐกิจสหรัฐ?

เมื่อวิกฤติเศรษฐกิจเริ่มก่อตัวขึ้นในตอนปลายฤดูร้อนของปี 2007 ธนาคารกลางยุโรปยังคงชะล่าใจว่าน่าจะเป็นปัญหาสภาพคล่องและความไม่มั่นคงของธนาคารบางแห่ง (ส่วนใหญ่เป็นธนาคารอเมริกัน) เท่านั้น ไม่น่าจะส่งผลถึงเศรษฐกิจยุโรปซึ่งยังคงแข็งแกร่งทั้งภาคส่งออก และภาคการบริโภคส่วนบุคคล

จนกระทั่งเมื่อรัฐบาลกลางสหรัฐเข้าโอบอุ้ม Fannie Mae and Freddy Mac ตามมาด้วยการล่มสลายของวานิชธนกิจ เลย์แมนบราเดอร์ส (Lehman Brothers) ในเดือนกันยายน 2008

ณ จุดนั้น ธนาคารกลางแห่งสหภาพยุโรป จึงได้เริ่มตระหนักว่าวิกฤติเศรษฐกิจที่กำลังโอบล้อมสหภาพยุโรปนั้นมีขนาดและความรุนแรงเกินกว่าที่พวกเขาได้คาดคิดไว้ตั้งแต่ต้น และอาจจะเป็นวิกฤติที่ยิ่งใหญ่ และเลวร้ายที่สุดเท่าที่ยุโรปได้เคยเผชิญมาหลัง The Great Depression ในช่วงต้นทศวรรษ 1930s

จริงอยู่ วิกฤติเศรษฐกิจโลกปี 2008 มีจุดกำเนิด และปฐมเหตุมาจากปัญหาฟองสบู่อสังหาฯ และธุรกรรมสินเชื่อซับไพร์มในสหรัฐอเมริกา (ตามรายงานพิเศษของ European Commission, Directorate-General for Economic and Financial Affairs, July 2009) แต่จากการประเมินความเสียหายที่เกิดขึ้นเพียงปี 2009 โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF (The April 2009 IMF Global Financial Stability Report (IMF 2009a) ตัวเลขสำหรับยุโรปนั้นสูงถึง 1,193,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ร่วม 10% ของ GDP ทั้งสหภาพยุโรป) ทั้งความเสียหายในเชิงสินเชื่อ (หนี้เสีย ฯลฯ) และหลักทรัพย์/ตราสารทางการเงิน (ด้อยค่า ฯลฯ) ส่วนสหรัฐอเมริกานั้นไม่ต้องพูดถึงตัวเลขพุ่งไปถึง 2,712,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ตัวเลขดังกล่าวบอกเรื่องราวอย่างชัดเจนว่า วิกฤติครั้งนี้ ยุโรปได้รับผลกระทบอย่างเต็มที่และรุนแรงที่สุดอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน เหตุผลประการแรก แม้ตัวเลขความเสียหาย (เบื้องต้น) จะน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของสหรัฐอเมริกา แต่ความเสียหายที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา ผู้รับความเสียหายส่วนมากก็คือกองทุนและสถาบันการเงินในยุโรป ซึ่งสุดท้ายก็หนีไม่พ้นนักลงทุนชาวยุโรปอยู่ดี เหตุผลประการที่สอง ความไม่เป็นเอกภาพในทางการคลัง (Fiscal Policy) ทำให้ปัญหาของแต่ละประเทศในยุโรปมีความแตกต่างกันมหาศาล แนวทางและมาตรการช่วยเหลือก็ย่อมแตกต่างและส่งประสิทธิผลที่ต่างกัน (ไม่เหมือนสหรัฐอเมริกาที่มีรัฐบาลกลางที่สามารถ unify มาตรการความช่วยเหลือ เช่น QE1/QE2 ได้เป็นหนึ่งเดียว) ส่วน เหตุผลอีกประการก็คือ วิกฤติครั้งนี้ซึ่งเริ่มจากการเป็น “วิกฤติทางการเงิน” ได้ขยายวงกว้างส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจแท้จริง (Real Sector) จนได้กลายร่างเป็นวิกฤติเศรษฐกิจและสังคมอย่างเต็มรูปแบบในแทบจะทุกประเทศของสหภาพยุโรปแล้ว ในขณะนี้ การแก้ปัญหาโดยใช้ “นโยบายการเงิน” เพียงอย่างเดียวจึงไม่เพียงพออีกต่อไป

ส่วนเหตุที่ขณะนี้ผู้รู้ส่วนใหญ่หนักใจกับยุโรปมากกว่าอเมริกา ก็เพราะถึงสหภาพยุโรปจะผลิตสินค้าและบริการ (GDP) ได้สูสีกับสหรัฐอเมริกาก็ตาม แต่อเมริกาก็ยังคงเป็น “หนึ่งเดียว” ยังคงสามารถดำเนินนโยบายทั้งการเงินและการคลังสำหรับทั้งประเทศได้ แก้ปัญหาได้อย่างเป็นระบบและมีเอกภาพ ในขณะที่อียูเป็นเอกภาพเฉพาะนโยบายทางการเงินเท่านั้น ซึ่งไม่พอที่จะแก้ปัญหาปัจจุบันได้อีกต่อไป

ความหมายในภาคปฏิบัติก็คือ ไม่ว่าจะมองในแง่ “อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ” (GDP Growth) “เทคโนโลยีและผลิตภาพในการผลิต” (Technology and Labor Productivity) และ “อัตราการจ้างงาน” (Employment) สหรัฐอเมริกาแม้จะด้อยกว่าประเทศ “ซูเปอร์สตาร์” ของอียู เช่น เยอรมนี ฝรั่งเศส อังกฤษ (ในบางช่วง) สวิตเซอร์แลนด์ ฮอลแลนด์ เป็นต้น แต่เมื่อนำสหภาพยุโรปทั้งมวล (17 ประเทศ 27 ประเทศ) มาเปรียบเทียบแล้ว เศรษฐกิจสหรัฐยังคงมีความแข็งแกร่ง มีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงกว่า อย่างเห็นได้ชัด การแก้ปัญหาที่ไม่ครอบคลุม “ด้านการคลัง” จึงทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจของอียูแทบจะกลายเป็นศูนย์ และอนาคตที่จะแข่งขันในเวทีเศรษฐกิจโลกก็ดูค่อนข้างจะมืดมน

สหรัฐฯ vs อียู : The Odd Couple ที่ยิ่งกว่าแฝดสยาม

ใครจะแข็งกว่าใครนั้นเรื่องหนึ่ง แต่ที่แน่ ๆ ก็คือ สหรัฐ กับอียูเป็นแฝดสยามที่ยากจะแยกจากกัน ไม่ว่าจะในทางวัฒนธรรม การเมือง และ

“เศรษฐกิจ” The United States and the European Union (EU) economic relationship is the largest in the world - and it is growing (จากรายงานของ Congressional Research Service ที่เสนอต่อรัฐสภาสหรัฐ เมื่อ 27 มกราคม 2011 ที่ผ่านมา) พิจารณาตัวเลขสถิติเพียงบางตัว อาทิเช่น เม็ดเงินที่ไหลเวียนระหว่างสองเศรษฐกิจยักษ์ในปี 2009 ก็มีมูลค่าสูงถึง 1.25 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ในแง่การค้าและบริการ อียูก็คือคู่ค้าที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ (34.5% ในแง่ส่งออก และ 36.4% ในแง่นำเข้า) ตลอดกาล

เมื่อรวมสหรัฐกับอียูเข้าด้วยกัน จะมีประชากรเกือบ 800 ล้านคน แต่ผลิตรายได้ประชาชาติได้ 40% ของโลก และครอบคลุมการค้าโลกกว่า 47%

ฉะนั้น อะไรที่เกิดขึ้นกับแฝดสยามอียู ก็ย่อมกระทบแฝดสยามสหรัฐอย่างเลี่ยงไม่ได้ และเมื่อเกิดอะไรขึ้นกับคู่แฝดอย่างจัง ๆ แล้ว ทั่วโลก (รวมประเทศไทยด้วยครับ) คงได้ทำการค้ากันน้อยลงอีกโข และสงสัยคงได้จนกันทั่วหน้า จากนั้น Double Dip คงไม่ใช่เรื่องเพ้อฝันอีกต่อไป.

วีระ มานะคงตรีชีพ

19 กันยายน 2554

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Australian stocks lost ground in early Monday trading, as renewed concerns about European debt weighed broadly on the market and hit resource shares in particular. The benchmark -1.02% lost 1.1% to 4,104.80, with miners pushing lower after European officials warned of the possibility of withdrawing aid to Greece without tough fiscal-austerity moves

 

ตลาดหุ้นออสเตรเลียเปิดมาติดลบในช่วงเช้า จากไม่มีความคืบหน้าเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหายูโรโซน และมีประเด็นจากแหล่งข่าว

ว่า มีความเป็นไปได้ที่จะถอนการเยียวยากรีซ ( อาจแค่เป็นข่าวปล่อย สร้างกระแสช่ั่วคราว เท่านั้น อย่าประมาท )

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

SYDNEY (MarketWatch) -- The euro fell to $1.3692 against the dollar in Asian trading hours on Monday, from $1.3793 in late North American trading on Friday, as investors remain focused on Europe's debt woes. Reports over the weekend said Greece is holding crisis talks to try to ensure that it receives the next tranche of the funding necessary for the country to stave off default.

 

ค่าเงินยูโรตกลงในตลาดค้าเอเชีย เริ่มต้นสัปดาห์ นักลงทุนหันมาสนใจอีกแล้วในปัญหาหนี้ยุโรป

ในข้อตกลงบางข้อของการประชุม รมต. ยูโรโซน คือ ให้ประเทศต่างๆที่มีปัญหาในภาคธนาคาร

ช่วยกันนำทุนสำรองประเทศมาใช้ ต่อการเพิ่มทุนสถาบันการเงิน ซึ่งมันเหมือนกับการเข้าไปซื้อหุ้น

ธนาคารโดยรัฐฯ แต่ประเด็นอยู่ที่ว่า มีเงินทุนสำรองเพียงพอต่อการถมหนี้หรือ และ ประชาชน

รู้เข้า จะไม่เกิดต่อต้านตามมาหรือเปล่า เพราะเป็นการอุ้มคนรวย

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

SYDNEY (MarketWatch) -- Australian and South Korean shares fell Monday, as concerns about a Greek default came back to the fore after reports indicated that Europe is losing patience with the country’s efforts to cut its debt pile.

 

The S&P/ASX 200 index AU:XJO -1.02%  fell 1.3% in early trading

South Korea’s Kospi KR:0100 -0.21%   lost 0.3%.

 

For the first time this week, European officials have formally begun to examine the possibility of joining to issue euro-zone bonds to address an ever-worsening financial crisis.

 

Japanese equity markets were closed Monday for a holiday.

 

วันนี้ ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ปิดทำการ เป็นวันหยุด

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แม้ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่อย่างจีนและบราซิลจะเสนอตัวเข้าฉุดยุโรปให้พ้นจากหล่มหนี้สิน เพื่อให้เศรษฐกิจโลกไม่ต้องเผชิญทางตัน แต่นักวิเคราะห์มองว่าความช่วยเหลือดังกล่าวจะไม่เป็นผลเท่าใดนัก และกลับจะสร้างความเสี่ยงด้านการเงินเพิ่มขึ้นอีก

 

บราซิล ประกาศว่า ประเทศกลุ่มบริกส์ (BRICS) ซึ่งประกอบด้วยบราซิล, รัสเซีย, อินเดีย, จีน และแอฟริกาใต้ จะจัดการประชุมที่กรุงวอชิงตันในวันพฤหัสบดีหน้า (22) เพื่อหารือถึงวิธีช่วยเหลือให้สหภาพยุโรปพ้นวิกฤตหนี้สินครั้งใหญ่ ขณะที่จีนก็ยืนยันว่า พร้อมจะช่วยกระตุ้นการลงทุนในภูมิภาคยุโรป

 

ทั้งนี้ นักวิเคราะห์เชื่อว่า ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่สามารถช่วยบรรเทาวิกฤต ด้วยการซื้อพันธบัตรของประเทศในยูโรโซนที่มีหนี้สินล้นพ้น

 

“ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่เหล่านี้ล้วนแต่มีบัญชีเดินสะพัดเกินดุล ไม่เฉพาะจีนซึ่งมีทุนสำรองระหว่างประเทศสูงที่สุดถึง 2.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯเท่านั้น” อักแนส เบนาสซี-เกเร ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจ CEPII ในฝรั่งเศส ระบุ

 

“การนำงบประมาณส่วนเกินมาหมุนเวียนนั้น นอกจากซื้อทองคำหรือเงินฟรังก์สวิสแล้ว ก็ไม่เสียหายถ้าจะซื้อพันธบัตรอิตาลี”

 

ปล. เรื่องนี้ มีความเป็นไปได้สูงมาก ที่พวกกลุ่ม BRICS จะนำเงินเข้าไปช่วย ดังนั้นศุกร์ที่ 23 กันยายน อาจเกิด.....

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อตลาด

 

    1.   เศรษฐกิจประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก

 

         1.1  สหรัฐฯ มีสัญญาณอ่อนแรงทางเศรษฐกิจ นับตั้งแต่ประกาศตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาค่อนข้างน่าผิดหวัง ไม่ว่าจะเป็นตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 2 ขยายตัวต่ำกว่าที่คาดไว้ และดัชนีราคาผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมและบริการลดลงต่ำสุดในรอบ 2 ปี และ 17 เดือน ตามลำดับ ขณะที่อัตราว่างงานปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 9.2 อีกทั้งตัวเลขการใช้จ่ายผู้บริโภคส่วนบุคคลลดลงร้อยละ 0.2 ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงครั้งแรกในรอบกว่า 2 ปี ประกอบกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลงสู่ระดับ 63.7 จุด ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดตั้งแต่เดือนมีนาคม 2552 เนื่องจากผู้บริโภคมีความกังวลต่อภาวะซบเซาของตลาดแรงงานและวิกฤตหนี้ของรัฐบาลสหรัฐฯ แม้รัฐบาลสหรัฐฯ จะผ่านวิกฤตดังกล่าวไปได้ แต่เงื่อนไขในการลดการใช้จ่ายงบประมาณ จะกลายเป็นข้อจำกัดต่อการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ทำให้สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือต่าง ๆ เฝ้าดูสถานการณ์ฐานะทางการคลังของสหรัฐฯ ที่ยังมีความเสี่ยงต่อการถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถืออย่างใกล้ชิด

 

         1.2  ประเทศจีน ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตขยายตัวที่ระดับ 50.7 จุด เป็นระดับที่ต่ำสุดในรอบ 29 เดือน ประกอบกับจีนประสบปัญหาเงินเฟ้ออย่างต่อเนื่อง จึงมีมาตรการควบคุมเงินเฟ้อโดยการประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 3 ในรอบปี

 

         1.3  ยุโรปประสบปัญหาหนี้สาธารณะที่อาจลุกลามไปทั่วเขตยูโรโซน โดยเฉพาะประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ เช่น อิตาลี และสเปน อาจไม่สามารถชำระหนี้ได้

 

         1.4  เศรษฐกิจญี่ปุ่นไตรมาสแรกลดลงร้อยละ 3.5 ต่อปี หรือลดลงร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปีที่แล้ว โดยคาดว่าไตรมาส 2 จะหดตัวลงร้อยละ 2.6 จากปีที่แล้ว และหดตัวลงร้อยละ 0.7 จากไตรมาสแรก

 

    2.   การเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนมีความผันผวนและแข็งค่าขึ้น ทั้งเงินเยนและเงินบาท

อยู่ในช่วง 77.64 - 80.99 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ และ 29.70 - 30.75 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นจากเดือนที่แล้วร้อยละ 1.28 และ 1.37 ตามลำดับ

 

    3.   ราคาน้ำมันดิบตลาดโลกเคลื่อนไหวอยู่ในช่วงแคบ ๆ ในทิศทางที่ปรับตัวลดลง (94.94 - 99.87 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล) ตามกระแสคาดการณ์ก่อนหน้านี้เกี่ยวกับเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...