ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

DECEMBER 27, 2011

POSTED BY KOBSAK (ADMIN)

การเข้าอุ้มแบงก์ของธนาคารกลางยุโรป

คอลัมน์ ไขปัญหาเศรษฐกิจกับดร. กอบ

 

หนึ่งในข่าวใหญ่จากยุโรปเมื่อสัปดาห์ที่แล้วคือ “การประกาศอัดฉีดสภาพคล่องรอบใหม่ของธนาคารกลางยุโรป” เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดสภาพคล่องให้กับแบงก์ต่างๆ และป้องกันไม่ให้ปัญหาดังกล่าวนำไปสู่การลดหรือหยุดการปล่อยกู้ ซ้ำเติมให้สภาพเศรษฐกิจที่แย่อยู่แล้วในปัจจุบัน ต้องซวนเซลงไปอีก

 

สิ่งที่พิเศษเกี่ยวกับการอัดฉีดสภาพคล่องรอบนี้ อยู่ที่เงื่อนไขที่ทางธนาคารกลางยุโรปกำหนดไว้ โดยแบงก์สามารถกู้ยืมเงินไปเก็บไว้ได้นานถึง 3 ปี ในอัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นพิเศษที่ 1 % เรียกว่าเป็น สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อเอื้อให้แบงก์ที่มีฐานะไม่ดีสามารถจะยืนขึ้นมาได้อีกครั้งหนึ่ง โดยรอบนี้ แบงก์สามารถใช้สินเชื่อที่ตนปล่อยออกไปมาเป็นหลักประกัน นอกจากนี้ ทาง ECB ยังไม่จำกัดจำนวนสภาพคล่องที่จะปล่อยออกมา ซึ่งถ้าแบงก์ยังต้องการเงินเพิ่ม ก็สามารถกู้ยืมได้อีกครั้งในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์

 

เรียกได้ว่า ธนาคารกลางยุโรปกำลังทุ่มอย่างเต็มที่ เพื่ออุ้มให้แบงก์ยุโรปยืนอยู่ได้ ไม่ล้มลงไป ที่ต้องทำเช่นนี้ ก็เพราะในช่วงที่ผ่านมา  แบงก์ในหลายประเทศกำลังเผชิญกับ (1) การถอนเงินฝากของผู้ฝากเงิน และไม่สามารถกู้ยืมเงินก้อนจากตลาดได้เช่นเคย (เงินฝากในกรีซ โปรตุเกส และไอร์แลนด์ กำลังลดลงในอัตรา 20% 15% และ 13% ต่อปี ตามลำดับ) นอกจากนี้ (2) แบงก์ในยุโรปก็เริ่มจะไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกันอีกรอบ โดยเริ่มตั้งแต่ช่วงกลางปี 54 เป็นต้นมา ทำให้แบงก์ที่มีเงินเกินความต้องการ เลือกเอาเงินไปฝากกับธนาคารกลาง แทนที่จะเอาไปให้แบงก์อื่นกู้ ปัญหาการขาดสภาพคล่องในระบบจึงทวีความรุนแรงขึ้น

 

ด้วยเหตุนี้ จึงไม่น่าแปลกใจว่า มีแบงก์ถึง 523 แห่งตัดสินใจกู้ยืมเงินจาก ECB ไปรวมกันทั้งสิ้น 489 พันล้านยูโร  ซึ่งมากกว่าที่ทุกคนคาดเกือบเท่าตัว

 

แล้วมาตรการนี้นับว่าประสบความสำเร็จหรือไม่ จะสามารถช่วยให้วิกฤตหยุดลงได้หรือไม่?

 

ถ้าจะตอบเร็วๆ ก็ต้องบอกว่า ในระยะสั้น มาตรการนี้จะช่วยให้แบงก์ยืนอยู่ได้ จะทำให้วิกฤตสภาพคล่องผ่อนคลายลงบ้าง โดยแบงก์ไม่ต้องหมกหมุ่นกับการไปหาเงินกู้ยืมระยะสั้นๆ ทุกวัน และมีสภาพคล่องพอที่จะผ่านช่วง 1-2 เดือนนี้ไปได้จนถึงการปล่อยสภาพคล่องรอบหน้า นอกจากนี้ ยังจะช่วยเพิ่มความต้องการซื้อพันธบัตรของประเทศในกลุ่มยุโรปบางประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่มี Rating ดีพอใช้ เช่น สเปน โดยแบงก์อาจจะเอาเงินที่ได้ไปลงทุนในตราสารเหล่านั้น ซึ่งให้ผลตอบแทนสูงกว่าอัตรา 1% ที่กู้มามาก

 

แต่ในระยะยาว มาตรการนี้เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถช่วยให้วิกฤตจบลงได้ ไฟวิกฤตจะลุกโหมไปต่อ เพราะยังคงมีอีกหลายคำถามที่ทุกคนยังรอคำตอบจากทางการยุโรป อาทิ จะทำอย่างไรกับพันธบัตรของประเทศที่มีปัญหาที่แบงก์ไปลงทุนเอาไว้จำนวนมาก จะเพิ่มทุนแบงก์จากไหน แบงก์ที่ไม่ดีควรล้มลงจะปล่อยให้ล้มหรือไม่ จะสร้างความเชื่อมั่นในระบบให้กับนักลงทุน และระหว่างแบงก์ด้วยกัน ให้กลับมาได้อย่างไร

 

ทั้งนี้ นอกเหนือไปจากปัญหาในกลุ่มแบงก์ ยังคงมีปัญหาอื่นๆ อีก โดยเฉพาะ (1) ปัญหาในภาคการคลัง ที่รัฐบาลในยุโรปจะต้องรัดเข็มขัด เร่งสร้างวินัยทางการคลังให้เกิดขึ้นอีกรอบ (2) การรองรับผลกระทบจากการที่สถาบันจัดอันดับเครดิตจะลด Rating ของประเทศต่างๆ ลงในช่วงปีหน้า ซึ่งอาจรวมถึง ฝรั่งเศสและเยอรมัน และ (3) การดูแลปัญหาเศรษฐกิจถดถอยรอบใหม่ในยุโรป ซึ่งจะกระทบกลับมายังฐานะของประเทศ และฐานะของแบงก์

 

ไม่น่าแปลกใจว่า แม้จะมีสภาพคล่องรอบใหม่ออกมา อัตราดอกเบี้ยพันธบัตร 10 ปี ของบางประเทศ ก็ยังเพิ่มสูงขึ้นอยู่ในช่วงสัปดาห์ที่แล้ว เช่น อิตาลี โปรตุเกส กรีซ โดยล่าสุดพันธบัตร 10 ปีของอิตาลี อยู่ที่ 6.981% เข้าใกล้ระดับ 7% (ที่หลายคนคิดว่าจะเป็นจุดของการเกิดวิกฤต) อีกรอบ สะท้อนถึงข้อจำกัดของมาตรการนี้ที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้กับประเทศที่มีฐานะการคลัง และอันดับความน่าเชื่อถือไม่ดี

 

ล่าสุด หลายคนเริ่มตั้งคำถามว่า “ECB จะสามารถปั้มเงินออกมาในระบบเช่นนี้ ได้อีกนานแค่ไหน” ก่อนที่จะกลายเป็นประเด็นที่สร้างความไม่เชื่อมั่นในเงินยูโรโดยรวม หรือนำมาซึ่งข้อวิพากษ์วิจารณ์จากประเทศสมาชิก  ซึ่งเมื่อถึงจุดนั้นแล้ว อะไรก็สามารถเกิดขึ้นได้ ดังนั้น เรายังประมาท ตายใจกับปัญหาของยุโรปไม่ได้ ต้องจับตามองประเทศเหล่านี้ให้ดี ก็ขอเอาใจช่วยครับ

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ประจำวันที่ 28 ธ.ค. 54

คอลัมน์ ไขปัญหาเศรษฐกิจกับดร.กอบ

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

From Bloomberg: “Lending to euro-area banks jumped 214 billion euros ($280 billion) to 879 billion euros in the week ended Dec. 23, the Frankfurt-based ECB said in a statement today. Its balance sheet increased 239 billion euros to 2.73 trillion euros, it said. That’s 553 billion euros more than three months ago.

 

EUR/USD – The EUR/USD which had been trading in a tight range, pushed below this week’s lows puncturing the 1.30 level before finding some support.

ธนาคารกลางยุโรปเปิดเผยตัวเลข งบดุลเดือน 11 ปรากฎว่า เพิ่มขึ้นในส่วนของภาระหนี้สิน. ค่าเงินยูโร ร่วงเลย

 

122811-eur-usd.png

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอขอบคุณคุณเด็กขายของมากมาย ให้คำตอบกระจ่างใสมาก มีบางคำถามว่าจาถามต่อแต่มะต้องละ เหมือนคุณเด็กขายของจารู้ว่าจาถามไรต่อ(คุณเด็กขายของคงไม่ได้เล่นของหรอกนะคับ อิอิ หุหุ)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

From Bloomberg: “Lending to euro-area banks jumped 214 billion euros ($280 billion) to 879 billion euros in the week ended Dec. 23, the Frankfurt-based ECB said in a statement today. Its balance sheet increased 239 billion euros to 2.73 trillion euros, it said. That’s 553 billion euros more than three months ago.

 

EUR/USD – The EUR/USD which had been trading in a tight range, pushed below this week’s lows puncturing the 1.30 level before finding some support.

ธนาคารกลางยุโรปเปิดเผยตัวเลข งบดุลเดือน 11 ปรากฎว่า เพิ่มขึ้นในส่วนของภาระหนี้สิน. ค่าเงินยูโร ร่วงเลย

 

122811-eur-usd.png

 

ขอบคุณครับ ผมกำลังหาข่าวเลยว่าเล่นข่าวไหนกัน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Test

T091211_03C.gif

 

ยอมแพ้เดี๋ยวขอหาข้อมูลก่อนคะ ขอบคุณคะ

 

ขอบคุณพี่ใหญ่ทำได้แล้วคะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณพี่ใหญ่ทำได้แล้วคะ

ดีครับดี. ระบบใช้ไม่ได้ ก็ต้องบังคับ ไอ้แป๊ด IPad ให้ทำให้ได้

1. รูปภาพ [ img

2. อักษรใหญ่ [size

3. you tube [media].

เล่นเยอะๆ แล้ว สักเดือนเราก็เข้าไปที่ Profile. ตัวเรา เข้าไปจัดการลบใน รูปแนบทั้งหมดในนั้น เพื่อเรียกคืนพื้นที่ใช้งานกลับมานะครับ

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ค่าเงินอื่นๆ ที่คำนวณต่อดอลล์สหรัฐ ครั้งนี้ ร่วงแรงกันหมด

 

122811-aud-usd.png

 

S&P - No breaking news drove the move towards safety, though the S&P shed overnight gains and hit a low for the week

 

122811-sp-slides.png

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ความกลัววิกฤติหนี้ยุโรปยังคงกดดันภาวะเสี่ยงหุ้นโลก-น้ำมัน-ทองร่วงหนักแม้ว่าอิตาลีทำเซอร์ไพรซ์ขายพันธบัตรในอัตราเสี่ยงของผลตอบแทนลดลง

วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554AAAขนาดตัวอักษร| |

 

รูปอื่นๆ :

ตลาดหุ้นสหรัฐปิดตลาดซื้อขายเบาบางช่วงค่ำคืนที่ผ่านมาติดลบมากกว่า 1% หลังอยู่ในแดนบวกมา 5 วันติดโดยตลาดไม่ได้ซึมซับรายงานข่าวที่ว่า อิตาลีสามารถประมูลขายพันธบัตรจำนวน 9 พันล้านยูโรที่อัตราดอกเบี้ยต่ำลงมาก ขณะที่นักลงทุนหันถือดอลลาร์โดยเลือกขายทองคำส่งผลราคาดิ่งลง 31 ดอลลาร์ปิดที่ 1,564 ดอลลาร์ต่อออนซ์ลุ้นทดสอบแนวรับที่ 1,550 ดอลลาร์ เช่นเดียวกับราคาน้ำมันร่วงลง ด้านราคาน้ำมันไนเม็กซ์ร่วงลง 1.98 ดอลลาร์ ไปปิดที่ราคา 99.36 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลอีกครั้ง

 

 

ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ ปิดตลาดวานนี้ (28 ธ.ค.) ร่วงลง 139.94 จุด หรือ 1.14% อยู่ที่ 12,151.41 ดัชนีเอสแอนด์พี 500 ร่วงลงไป 15.79 จุด หรือ 1.25% ปิดที่ 1,249.64 และดัชนีแนสแด็ก ลดลง 35.22 จุด หรือ 1.34% ปิดตลาดราคาอยู่ที่ 2,589.98

 

ด้านฟากฝั่งยุโรป ร่วงลงทั้ง 3 ตลาดหลัก โดย FT100 ลอนดอนลดลง 0.1% CAC40 ฝรั่งเศส ร่วง 1.03% และ DAX เยอรมันดิ่งลงถึง 2.01%

 

ขณะที่ราคาทองคำดิ่งลงต่ำสุดในรอบกว่า 5 เดือน 31.40 ดอลลาร์หรือเกือบ 2%

 

โดยราคาทองคำ ส่งมอบล่วงหน้าเดือนก.พ. ปรับตัวร่วงลง 31.40 ดอลลาร์หรือเกือบ 2% ปิดที่ราคา 1,564 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ถือเป็นระดับปิดต่ำสุด นับตั้งแต่วันที่ 12 ก.ค.เป็นต้นมา โดยช่วงเดือนที่ผ่านมา ราคาทองคำร่วงลง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสัญญาณที่บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐกำลังขยายตัวแข็งแกร่งกว่าที่มีการคาดการณ์ไว้

 

โดยเทรดเดอร์หลายรายเลือกลงทุนในทองคำ เพราะกลัวว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะอ่อนแอ แต่ขณะนี้กลับกลายเป็นว่า การลงทุนในตลาดซื้อขายทองคำมีความเสี่ยงมากขึ้นเหมือนการลงทุนในตลาดหุ้น

 

ทั้งนี้ นับตั้งแต่ต้นเดือนธันวาคมเป็นต้นมา ราคาทองคำปรับตัวร่วงลงไป 10% แล้ว

 

ส่วนราคาน้ำมันดิ่งเกือบ2ดอลล์ตลาดกังวลหนี้ยูโรโซนรอบใหม่ โดยราคาน้ำมันดิบปรับตัวร่วงลง 1.98 ดอลลาร์ เหตุเทรดเดอร์เทขายทำกำไรและเล็งลงทุนดอลลาร์แทนบวกกับวิตกรอบใหม่เกี่ยวกับวิกฤติหนี้ยูโรโซน

 

น้ำมันดิบไลท์สวีท ตลาดไนเม็กซ์ สหรัฐ ส่งมอบเดือนก.พ. ร่วงลงไป 1.98 ดอลลาร์ ไปปิดที่ราคา 99.36 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนราคาน้ำมันดิบเบรนท์ทะเลเหนือ กรุงลอนดอน ส่งมอบเดือนก.พ. ร่วงลง 1.71 ดอลลาร์ ปิดที่ราคา 107.56 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ท่ามกลางภาวะราคาที่ค่อนข้างผันผวนในช่วงท้ายตลาดก่อนที่ตลาดจะปิดทำการในช่วงเทศกาลปีใหม่

 

ทั้งนี้ ค่าเงินยูโร อ่อนค่าลงไปเมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐโดยอยู่ที่ 1.2941 ดอลลาร์ ถือเป็นการอ่อนค่ามากที่สุด นับตั้งแต่วันที่ 11 ม.ค. ก่อนจะดีดตัวขึ้นมาเล็กน้อยในเวลาต่อมา

 

การแข็งค่าของดอลลาร์ ทำให้น้ำมันซึ่งซื้อขายในรูปสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ มีราคาแพงขึ้นสำหรับสกุลเงินที่อ่อนแอกว่า อาทิเช่น ยูโร และมีแนวโน้มที่จะฉุดความต้องการน้ำมันตลอดจนราคาให้ปรับตัวร่วงลง

 

อย่างไรก็ตาม ภาวะตลาดดังกล่าวไม่ได้รู้สึกคลายกังวลจากข่าวที่ว่า ธนาคารกลางอิตาลี ออกประมูลขายตั๋วเงินคลังอายุ 6 เดือน เพื่อระดมทุนจำนวน 9 พันล้านยูโร (1.18 หมื่นล้านดอลลาร์) เมื่อวานนี้ (28 ธ.ค.) โดยให้อัตราผลตอบแทนที่ 3.251% ต่ำกว่าระดับ 6.504% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 14 ปี ในการประมูลเมื่อวันที่ 25 พ.ย. ถึงครึ่งหนึ่ง ส่วนความต้องการซื้อตั๋วเงินคลังสูงกว่ามูลค่าที่นำออกประมูลอยู่ 1.7 เท่า เทียบกับระดับ 1.74 เท่าในการประมูลเดือนที่แล้ว

 

การประมูลขายตั๋วเงินคลังของอิตาลีในวันดังกล่าว มีขึ้นหลังจากที่รัฐสภาอิตาลี ลงมติรับรองแผนการรัดเข็มขัดชุดใหม่ของรัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีมาริโอ มอนติ ซึ่งความเคลื่อนไหวดังกล่าวได้ช่วยฟื้นความเชื่อมั่นให้กับตลาดว่า อิตาลีจะสามารถควบคุมหนี้สินของประเทศที่อยู่ในระดับสูงถึง 1.9 ล้านล้านยูโร รวมถึงหลีกเลี่ยงการขอรับความช่วยเหลือทางการเงินจากต่างประเทศได้

 

ทั้งนี้ อิตาลีเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ในยูโรโซน และถูกมองว่าใหญ่เกินกว่าที่กองทุนช่วยเหลือทางการเงินในปัจจุบันของยูโรโซนจะสามารถรองรับได้ โดยในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ตลาดการเงินทั่วโลกวิตกกังวลว่า อิตาลีจะประสบกับความยากลำบากในการชำระหนี้

 

หนี้สาธารณะฝรั่งเศสลด 3.6พันล้านยูโร

 

สำนักงานสถิติของฝรั่งเศส(อินซี) เผยยอดหนี้สาธารณะของฝรั่งเศสช่วงไตรมาส 3 ลดลง 3.6 พันล้านยูโร (4.7 พันล้านดอลลาร์) มาอยู่ที่ 1.688 ล้านล้านยูโร

 

สำนักงานสถิติของฝรั่งเศส(อินซี) ประกาศยอดหนี้สาธารณะของประเทศช่วงไตรมาส 3 ลดลง 3.6 พันล้านยูโร (4.7 พันล้านดอลลาร์) มาอยู่ที่ 1.688 ล้านล้านยูโร ส่วนสัดส่วนหนี้สินต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ลดลงเช่นกัน จากระดับ 86.2% ในไตรมาส2 มาอยู่ที่ระดับ 85.3% ในไตรมาส 3 เนื่องจากจีดีพีขยายตัวในอัตรารวดเร็วขึ้นที่ 0.3% ในช่วงเดือนก.ค.-ก.ย.

 

ขณะเดียวกัน หนี้สินสุทธิของรัฐบาลฝรั่งเศสมีจำนวนอยู่ที่ 1.56 ล้านล้านยูโร หรือประมาณ 78.6% ของจีดีพี เมื่อเทียบกับระดับ 77.8% ในช่วงสามเดือนก่อนหน้า

 

ฝรั่งเศส คาดการณ์ว่า หนี้สินของประเทศจะขยายตัวประมาณ 1.5 หมื่นล้านยูโร (1.96 หมื่นล้านดอลลาร์) ภายในปี 2557 ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ฝรั่งเศสให้เงินช่วยเหลือประเทศในยูโรโซนที่ประสบปัญหาหนี้

 

อินซี ยังคาดการณ์ด้วยว่า สัดส่วนหนี้ต่อจีดีพีจะสูงขึ้นแตะ 87.4% ในปี 2555 จากระดับ 85.5% ที่คาดการณ์ไว้สำหรับปีนี้

 

นอกจากนี้ รมว.แรงงานฝรั่งเศสออกมาเปิดเผยถึงมาตรการใหม่กระตุ้นตลาดแรงงานของประเทศหลังรายงานล่าสุดบ่งชี้จำนวนคนตกงานสูงเป็นประวัติการณ์

 

นายซาวิเยร์ แบร์ทรองด์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานของฝรั่งเศส ให้สัมภาษณ์สถานีโทรทัศน์อาร์ทีแอล ว่า กำลังออกมาตรการใหม่เพื่อกระตุ้นการจ้างงานในประเทศ และมาตรการ 2 มาตรการที่ว่าด้วยเรื่องงานพาร์ทไทม์และสัญญาการจ้างงาน สามารถดำเนินการได้ทันที เพื่อควบคุมความต้องการหางานที่เพิ่มสูงขึ้นอันเป็นผลมาจากวิกฤตหนี้ยุโรป

 

“เราจำเป็นต้องมีระบบการระดมทรัพยากรแรงงานที่มีประสิทธิภาพกว่านี้ โดยเฉพาะการจ้างงานคนวัยหนุ่มสาว เรามีการระดมความร่วมมือในมาตรการต่างๆซึ่งได้เริ่มดำเนินการแล้ว" รมว.แรงงานเขาฝรั่งเศส กล่าว

 

ทั้งนี้ ตัวเลขของกระทรวงแรงงาน ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันจันทร์ (26 ธ.ค.)ที่ผ่านมาระบุว่า มีจำนวนผู้หางานทำเพิ่มขึ้น 29,900 รายในเดือนพ.ย. หรือเพิ่มขึ้น 1.1% เมื่อเทียบรายเดือน และ 5.2% เมื่อเทียบรายปี ซึ่งตัวเลขดังกล่าว ทำให้ผู้ที่ต้องการหางานทำทั้งหมดในประเทศมีจำนวนอยู่ที่ 2.844 ล้านคน ถือเป็นระดับสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2542

 

“หากข้อมูลทางเศรษฐกิจยังไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ดี ข้อมูลการจ้างงานก็ไม่ดีเช่นกัน" นายแบร์ทรองด์กล่าวและว่า มีเพียงเยอรมนีที่ขณะนี้มีการว่างงานลดลง เนื่องจากมีการปฏิรูปตลาดแรงงานอย่างถึงรากถึงโคนมานานกว่า 10 ปี แต่ประเทศของเราเพิ่งดำเนินการปฏิรูปเพียงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ จึงเป็นข้อแตกต่างแต่ฝรั่งเศสจะจัดประชุมเพื่อหารือเรื่องการจ้างงานทั่วประเทศในวันที่ 18 ม.ค.ปีหน้า" นายแบร์ทรองด์ ระบุ

 

สหรัฐเตือนญี่ปุ่นไม่ควรแทรกแซงตลาดเงิน

 

สหรัฐเตือนว่า ญี่ปุ่นไม่ควรใช้วิธีแทรกแซงตลาดปริวรรตเงินตราฝ่ายเดียวสกัดการแข็งค่าของเงินเยน กระตุ้นเศรษฐกิจ และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของบริษัทญี่ปุ่น

 

ทั้งนี้ รัฐบาลวอชิงตัน ออกแถลงการณ์เตือนว่า ญี่ปุ่นไม่ควรใช้วิธีแทรกแซงตลาดปริวรรตเงินตราฝ่ายเดียวในการสกัดการแข็งค่าของเงินเยน กระตุ้นเศรษฐกิจ และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของบริษัทญี่ปุ่น

 

"แทนที่จะแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยน ญี่ปุ่นควรใช้มาตรการอย่างเต็มที่ในการเพิ่มพลวัตของเศรษฐกิจในประเทศ เพิ่มความสามารถในการแข่งขันของบริษัทญี่ปุ่น และกระตุ้นเศรษฐกิจ" กระทรวงการคลังสหรัฐ กล่าวในรายงานครึ่งปีที่เสนอต่อสภาคองเกรส ว่าด้วยนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

 

สำนักข่าวเกียวโด รายงานว่า สหรัฐ ญี่ปุ่น และประเทศอื่นในกลุ่มจี-7 เริ่มแทรกแซงตลาดปริวรรตเงินตราเมื่อวันที่ 18 มีนาคม เพื่อทำให้เงินเยนอ่อนค่าลง หลังเงินเยนแข็งค่าอย่างมากเมื่อเทียบเงินดอลลาร์สหรัฐ อันเป็นผลพวงจากเหตุแผ่นดินไหวและสึนามิเมื่อวันที่ 11 มีนาคม แต่สหรัฐไม่พอใจวิธีแทรกแซงตลาดฝ่ายเดียวของญี่ปุ่นในเดือนสิงหาคมและตุลาคมที่ผ่านมา

 

"สหรัฐไม่สนับสนุนการแทรกแซงฝ่ายเดียว ผิดกับการที่จี-7 ร่วมกันแทรกแซงตลาดหลังเกิดแผ่นดินไหวเมื่อเดือนมีนาคม" รายงานระบุ

 

ผู้นำอุตฯเยอรมนีมั่นใจเศรษฐกิจปีหน้าไม่ถดถอย

 

ผู้นำกลุ่มธุรกิจและอุตสาหกรรมชั้นนำของเยอรมนีคาดเศรษฐกิจประเทศจะชะลอตัวลงแต่ไม่เข้าสู่ภาวะถดถอยในปีหน้า

 

ผู้นำกลุ่มธุรกิจและอุตสาหกรรมชั้นนำของเยอรมนี ยังมั่นใจว่ายูโรจะล่มสลายลง แต่ก็เห็นพ้องกันว่าวิกฤติของยูโรโซน เป็นภัยคุกคามครั้งใหญ่ต่อเศรษฐกิจ และเสถียรภาพในยุโรปและสหรัฐ

 

"เราคาดว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัวลง แต่จะไม่ถดถอย" นายฮันส์-ปีเตอร์ ไคเทิล ประธานกลุ่มบีดีไอกล่าวและว่า เป็นปรากฏการณ์ตามปกติ หลังจากที่เศรษฐกิจเติบโตแข็งแกร่งมา 2 ปี และเขามีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจในปีหน้า

 

ทั้งนี้ รัฐบาลเยอรมนี คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจจะขยายตัว 3% ในปีนี้ และจะชะลอตัวลงมาที่ 1% ในปีหน้า ขณะที่กระทรวงเศรษฐกิจ ปฏิเสธรายงานในนิตยสารโกัส ที่ว่าจะมีการปรับลดตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจ โดยสถาบันอิสระหลายแห่งได้ปรับลดคาดการณ์การเติบโตในปีหน้าลงสู่เศรษฐกิจที่หดตัวลงเล็กน้อยไปจนถึงเศรษฐกิจที่เติบโตไม่ถึง 1%

 

นายฮันส์ เฮนริค ดริฟท์แมน ประธานหออุตสาหกรรมและการค้า(ดีไอเอชเค) คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัว 2% ในปีหน้า และคาดว่าจะมีการจ้างงานมากขึ้นในตลาดแรงงาน

 

นายออตโต เคนท์ซเลอร์ ประธานสมาคมซีดีเอช กล่าวว่า เขาเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจเยอรมนีจะขยายตัวต่อเนื่องในปีหน้า

 

ที่มา http://www.suthichaiyoon.com/detail/19685

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

น้ำมันดิ่งแรงหลังดอลล์แข็งค่า-หุ้นสหรัฐฯปิดลบครั้งแรกรอบ6วัน

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 29 ธันวาคม 2554 05:03 น.

 

       เอเอฟพี - ราคาน้ำมันโลกวานนี้(28) ดิ่งลงแรง จากการขายทำกำไรของนักลงทุนและดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นตามหลังความกังวลรอบใหม่ต่อวิกฤตหนี้ยูโรโซน โดยปัจจัยหลังนี้ก็ฉุดให้วอลล์สตรีทปิดลบหนักเช่นกัน แม้อิตาลีจะประมูลขายพันธบัตรได้ตามเป้าหมายก็ตาม

       

       สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ ลดลง 1.98 ดอลลาร์ ปิดที่ 99.36 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน ลดลง 1.71 ดอลลาร์ ปิดที่ 107.56 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

       

       ในช่วงท้ายของการซื้อขายของวันพุธ(28) ค่าเงินยูโรดิ่งลงไปถึง 1.2941 ดอลลาร์ ต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม ก่อนขยับขึ้นมาเล็กน้อยตอนปิดตลาด ขณะเดียวกันราคาน้ำมันยังถูกฉุดจากการขายทำกำไรของนักลงทุน หลังช่วงหลายวันที่ผ่านมาตลาดปิดบวกต่อเนื่องจากความตึงเครียดระหว่างชาติตะวันตกกับอิหร่าน

       

       ก่อนหน้านี้เมื่อวันอังคาร(27) ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นอย่างแรง หลังอิหร่านขู่ปิดช่องแคบฮอร์มุซ ช่องทางลำเลียงเชื้อเพลิงสำคัญของโลกตอบโต้มาตรการคว่ำบาตรเพิ่มเติมของชาติตะวันตก แต่ความกังวลนี้ก็บรรเทาลงไปเล็กน้อยในวันพุธ(28)

       

       ด้านตลาดหุ้นสหรัฐฯวานนี้(28) ปิดลบเป็นครั้งแรกในรอบ 6 วันท่ามกลางการซื้อขายที่เบาบาง หลังนักลงทุนยังคงมีความกังวลต่อวิกฤตหนี้ยุโรป

       

       ดัชนีหุ้นดาวโจนส์ ลดลง 139.94 จุด (1.14 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 12,151.41 แนสแดค ลดลง 35.22 จุด (1.34 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 2,589.98 เอสแอนด์พี ลดลง 15.79 จุด (1.25 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 1,249.64

       

       แม้ตลาดจะผ่อนคลายลงไปบ้างหลังจากเมื่อวันพุธ(28) อิตาลี สามารถประมูลพันธบัตร 6 เดือนระดมทุนได้ 9 พันล้านยูโร ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ ทว่าสุดท้ายแล้วความกังวลต่อวิกฤตหนี้ยูโรโซนก็ทำให้นักลงทุนขายออกมา

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

หน้าหลัก ข่าวร้อน

โอนหนี้กองทุนฟื้นฟู1.14ล้านล้านบาทให้ธปท.'คิดได้..แต่ทำจริงไม่ง่าย'

วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2554AAAขนาดตัวอักษร| |

 

แนวคิดรัฐบาลที่จะโอนหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ที่เกิดจากการโอนสินทรัพย์และหนี้สิน 56 ไฟแนนซ์ที่ต้องปิดกิจการในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 รวมทั้งสิ้น 1.4 ล้านล้านบาท และล่าสุดเหลือหนี้ 1.14 ล้านล้านบาท แต่กระทรวงการคลังต้องรับภาระดอกเบี้ยด้วยการตั้งงบประมาณรายจ่ายปีละประมาณ 7 หมื่นล้านบาท ซึ่งการโอนหนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องแก้กฎหมายและจะทำให้ฐานะของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีความเสี่ยงมากขึ้นในการดูแลสถาบันการเงิน

 

 

เจ้าหน้าที่ ธปท. กล่าวว่า การจะโอนหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินไทย (เอฟไอดีเอฟ) มาอยู่ในความดูแลของ ธปท.คงเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก ซึ่งถ้าจะทำจริงต้องแก้กฎหมายที่เป็นพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) 2 ฉบับ

 

รายงานโดย ศรัณย์ กิจวศิน

 

 

 

พ.ร.ก.ที่ต้องทำการแก้ไข หากรัฐบาลจะโอนหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ มาอยู่ในความดูแลของธปท.ได้แก่ พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2541 และ พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่สอง พ.ศ. 2545

 

ทั้งสองฉบับออกมาเพื่อแก้ปัญหาวิกฤติการเงินเมื่อปี 2540

 

"รัฐบาลจำเป็นต้องหารือกับ ธปท.ก่อนที่จะนำเรื่องนี้เข้าขออนุมัติจากที่ประชุม ครม. เพราะโดยมารยาทแล้ว ครม. คงไม่ได้อนุมัติเรื่องดังกล่าว ถ้ายังไม่ผ่านความเห็นชอบจากผู้เกี่ยวข้องซึ่งก็คือ ธปท." เจ้าหน้าที่รายเดียวกันกล่าว

 

ความพยายามในการโอนหนี้ให้ ธปท. ดูแลเกิดขึ้นตั้งแต่รัฐบาลชุดนี้เข้ามาบริหารประเทศ เนื่องจากงบประมาณในการดำเนินตามนโยบายของรัฐบาลมีค่อนข้างจำกัด ส่วนใหญ่จะหมดไปกับงบประจำที่เพิ่มขึ้นถึง 70-80% ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ทำให้รัฐบาลไม่มีงบประมาณเพื่อดำเนินนโยบาย ซึ่งทางออกของรัฐบาลคือการกู้เงิน

 

หากรัฐบาลสามารถโอนหนี้ให้ธปท.รับภาระได้ รัฐบาลก็จะมีเงินประมาณปีละ 7-8 หมื่นล้านบาท มาใช้เพื่อดำเนินนโยบาย

 

ก่อนหน้านี้ นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รมว.การคลัง ได้มอบการบ้านให้ธปท.ไปศึกษาถึงความเป็นไปได้และผลดีผลเสียของการโอนหนี้ดังกล่าว

 

ผลการศึกษา ธปท.ให้ความเห็นไว้ 5 ประการ คือ ประการแรก ภาระหนี้กองทุนฟื้นฟูเกิดจากการรับประกันผู้ฝากเงินและการฟื้นฟูระบบสถาบันการเงินตามมติครม.ในช่วงปี 2540-2541 ซึ่งมีความจำเป็นต้องดำเนินการเพื่อรักษาเสถียรภาพและความเชื่อมั่นของประชาชนในช่วงที่เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงิน

 

ประการที่สอง กองทุนฟื้นฟูเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจาก ธปท. และเป็นกลไกของภาครัฐที่มีหน้าที่ช่วยเหลือระบบสถาบันการเงิน คณะกรรมการจัดการกองทุนจึงมีผู้ว่าการธปท.และปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธานและรองประธานโดยตำแหน่ง สะท้อนการตัดสินใจเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกันของภาครัฐ ดังนั้นหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ จึงเป็นภาระหนี้สาธารณะที่ภาครัฐต้องเข้ามาดูแล และไม่ใช่ภาระของธปท.

 

ประการที่สาม ความพยายามแก้ไขปัญหาที่ผ่านมา เป็นแนวทางที่ถูกต้องและสอดคล้องกับหลักสากล กล่าวคือ ภาคการคลังรับภาระแก้ไขปัญหา โดยในปี 2541 และ 2545 รัฐบาลได้ออกกฎหมาย 2 ฉบับ เพื่อออกพันธบัตรกู้เงินชดใช้ความเสียหาย ยอดหนี้คงค้างปัจจุบันมีรวมกัน 1.14 ล้านล้านบาท

 

สำหรับตัวเลขดังกล่าวแม้จะเป็นจำนวนเงินที่มาก แต่ภาระสุทธิทางการคลังที่เกิดจากการแก้ปัญหาระบบสถาบันการเงินในต่างประเทศก็อยู่ในระดับสูงเช่นกัน โดยบางประเทศเช่น อินโดนีเซีย สูงเกินกว่า 50% ของจีดีพี ขณะที่ของประเทศไทยอยู่ที่ประมาณ 35% ของจีดีพี

 

ประการที่สี่ ธนาคารกลางไม่สามารถรับภาระหนี้ดังกล่าวได้ เนื่องจากไม่มีอำนาจเก็บภาษี และที่สำคัญหากธนาคารกลางพิมพ์เงินออกมาใช้หนี้ จะเป็นการผิดวินัยทางการเงิน กระทบต่อความเชื่อมั่นในการทำหน้าที่ของธนาคารกลาง และส่งผลเสียหายต่อการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจการเงินของประเทศในภาพรวม

 

ประการสุดท้าย การนำส่งกำไรของธปท. เพื่อชำระหนี้ดังกล่าวตามข้อตกลง เป็นการดำเนินการปกติทั่วไปที่หน่วยงานของรัฐต้องนำส่งกำไรต่อรัฐอยู่แล้ว เพียงแต่ระบุวัตถุประสงค์การใช้เงินนำส่งนั้นให้ชัดเจน และไม่ถือเป็นการพิมพ์เงินออกมาใช้หนี้

 

ส่วนแนวทางอื่นที่เป็นไปได้ คือ 1.การโอนสินทรัพย์คงเหลือภายหลังการปิดกองทุนฟื้นฟูให้กระทรวงการคลังเพื่อชำระหนี้ดังกล่าว 2.ปรับวิธีบันทึกบัญชีของทุนสำรองเงินตราในการรับรู้ผลกำไรหรือขาดทุนเพื่อลดข้อจำกัดทางบัญชี ซึ่งจะเอื้อต่อการมีเงินนำส่งกำไรเพื่อชำระคืนหนี้ได้มากขึ้น

 

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลควรทำความเข้าใจกับสาธารณชนและควรกำหนดระดับขั้นต่ำของบัญชีสำรองพิเศษของทุนสำรองเงินตราที่ต้องมีเหลือไว้ เพื่อให้ทุนสำรองเงินตรายังคงมีเสถียรภาพ

 

ต่อมา นายธีระชัย ได้ให้ความเห็นหลังจากที่รับมอบการบ้านจาก ธปท.ว่า ธปท.ได้ชี้แจงในกรณีรับโอนหนี้ก้อนดังกล่าวมา จะทำให้เงินกองทุนของธปท.ในอีก 5 ปีข้างหน้าติดลบเพิ่มเป็น 1.5 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากกรณีที่ไม่รับโอนที่คาดว่าจะติดลบประมาณ 6.89 แสนล้านบาท

 

"ถ้าภาพออกมาเป็นแบบนี้ ก็คงต้องจบประเด็นที่เคยคิดจะโอนหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ กลับไปให้ธปท. เพราะจะทำให้ฐานะของธปท.แย่ลงมาก ดังนั้นที่ใครๆ บอกว่า ธปท.ฐานะดีก็คงไม่จริง และถ้าเป็นเช่นนี้ในอีก 5 ปีข้างหน้า ธปท.ก็คงไม่สามารถชำระเงินต้นลงได้เลย จึงให้กลับไปศึกษาใหม่ว่า หากกลับข้างความรับผิดชอบโดยธปท.รับผิดชอบดอกเบี้ยและกระทรวงการคลังรับจ่ายเงินต้นผลจะเป็นอย่างไร" นายธีระชัยกล่าว

 

ดังนั้น หากติดตามความเคลื่อนไหวของรัฐบาลที่พยายามจะโอนภาระหนี้ออกจากงบประมาณด้วยการให้ธปท.รับผิดชอบนั้น ดูเหมือนไม่ใช่เรื่องง่ายนัก เนื่องจากการแก้ปัญหาไม่ใช่แค่เรื่องการโยกบัญชี กระเป๋าซ้าย-กระเป๋าขวา แต่เกี่ยวข้องกับความเชื่อมั่นและความมั่นคงของสถาบันหลักทางเศรษฐกิจ เป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องพิจารณาอย่างรอบคอบที่สุด

 

ขณะที่ความคิดเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ เช่น นายไพโรจน์ วงศ์วิภานนท์ นักวิจัยอาวุโส สถาบันวิจัยสังคมและเศรษฐกิจ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวว่า ก่อนจะดูว่าหนี้ส่วนนี้ควรโอนให้ใครรับผิดชอบ อยากให้ทำความเข้าใจถึงความแตกต่างขององค์กรทั้ง 2 แห่งก่อนในเรื่องการบริหารจัดการวิกฤติหนี้ที่เคยเกิดขึ้นจนกลายมาเป็นหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ

 

ในหลักการ อาจมองได้ว่ากระทรวงการคลัง ถือเป็นผู้รับผิดชอบสูงสุดขั้นสุดท้าย เนื่องจากในทางเศรษฐศาสตร์ กระทรวงการคลังถือเป็น ตัวการ (PRINCIPAL) ของรัฐบาลในการจัดการ โดยมีทั้งอำนาจและความรับผิดชอบ เช่น อำนาจในการหาเงินจากการเก็บภาษี หรือการก่อหนี้ ซึ่งองค์กรอื่นๆ หรือแม้แต่ ธปท. เองก็ไม่สามารถทำได้ ยกเว้นว่า ธปท.จะพิมพ์ธนบัตรขึ้น

ด้วยเหตุนี้ตามหลักการและในทางปฏิบัติ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดๆ กระทรวงการคลังในฐานะตัวแทนของชาติต้องเป็นผู้รับผิดชอบหนี้ที่ก่อขึ้นอันเกิดจากการแก้ปัญหาสถาบันการเงิน

 

"ถ้าโอนให้ ธปท. รับผิดชอบ โดยหน้าที่ของ ธปท.แล้ว ไม่มีความสามารถในการหาเงินเท่ากับกระทรวงการคลัง และโดยวัตถุประสงค์นี้ ก็ไม่มีหน้าที่บริหารเงิน แม้จริงๆ แล้ว ธปท.จะมีกำไร ดังนั้นขีดความสามารถในการรับผิดชอบอันนี้เทียบกับกระทรวงการคลังไม่ได้เพราะมีน้อยกว่ามาก จริงอยู่ ธปท. มีกำไร ซึ่งกำไรก็จะส่งคลังด้วย ดังนั้นด้วยเหตุนี้ในแง่เปรียบเทียบ มองว่า ธปท.ถือเป็นตัวแทนเหมือนเป็นผู้จัดการในการบริหารวิกฤติผ่านกองทุนฟื้นฟูฯ ให้กับรัฐบาล” นายไพโรจน์ กล่าว

http://www.suthichaiyoon.com/detail/19662

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

อ่าวเปอร์เซียระอุ!!สหรัฐฯลั่นไม่ยอมให้อิหร่านปิดช่องแคบฮอร์มุซ

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 29 ธันวาคม 2554 02:11 น.

 

กองทัพเรืออิหร่านซ้อมรบใกล้ช่องแคบฮอร์มุซ ท่ามกลางคำขู่ปิดช่องแคบแห่งนี้ของเตหะรานเพื่อตอบโต้มาตรการคว่ำบาตรของชาติตะวันตก

 

       เอเอฟพี - สหรัฐฯเตือนอิหร่านเมื่อวันพุธ(28) จะไม่อดทนต่อความพยายามใดๆที่หมายสร้างความวุ่นวายแก่การขนส่งทางเรือในช่องแคบฮอร์มุซ หลังเตะหรานประกาศลั่นจะปิดเส้นทางลำเลียงน้ำมันสำคัญของโลกนี้ตอบโต้ฝ่ายตะวันตกแซงก์ชั่นลงโทษการส่งออกน้ำมันของประเทศ ขณะที่ผู้บัญชาการทหารเรือของเตหะรานก็สำทับว่าการปิดอ่าวเปอร์เซียไม่ให้เรือน้ำมันเข้าออก เป็นเรื่องที่ “ง่ายดายยิ่งกว่าดื่มน้ำสักแก้วหนึ่ง”

       

       "การแทรกแซงใดๆต่อการขนส่งทางเรือผ่านช่องแคบฮอร์มุซ คงไม่อาจยอมให้เกิดขึ้นได้" จอร์จ ลิทเทิล โฆษกของเพนตากอนกล่าวตามหลัง โมฮัมหมัด เรซา ราฮิมี รองประธานาธิบดีอันดับ 1 ของอิหร่านขู่ว่าจะปิดช่องแคบแห่งนี้หากว่าเตหะรานถูกชาติตะวันตกคว่ำบาตรต่อโครงการนิวเคลียร์ของพวกเขาเพิ่มเติม ขณะที่กองทัพเรือของอิหร่านก็กำลังซ้อมรบในน่านน้ำสากลทางตะวันออกของช่องแคบ

       

       ราฮิมี เตือนเมื่อวันอังคาร (27) ว่า "หากตะวันตกแซงก์ชันการส่งออกน้ำมันของอิหร่าน จะไม่มีน้ำมันแม้แต่หยดเดียวเคลื่อนย้ายออกจากช่องแคบฮอร์มุซ"

       

       ท่ามกลางความกังวลต่อความทะเยอทะยานทางนิวเคลียร์ของอิหร่าน ทางสหรัฐฯและสหภาพยุโรปกำลังชั่งใจถึงมาตรการคว่ำบาตรรอบใหม่ต่อภาคน้ำมันและภาคการเงินของเตหะราน

       

       "การซ้อมรบอย่างเป็นกิจวัตรในบริเวณนี้ของอิหร่าน เป็นเรื่องที่เราทราบดีอยู่แล้ว" ลิตเติลกล่าว "เราบอกได้แต่เพียงว่าความพยายามใดๆที่หมายเพิ่มอุณหภูมิความตึงเครียดรอบๆช่องแคบฮอร์มุซ ไม่ก่อประโยชน์อันใดเลย"

       

       อย่างไรก็ตามเขายอมรับว่ายังไม่พบสัญญาณว่าอิหร่านกำลังเพิ่มระดับการยั่วยุใกล้ช่องแคบแห่งนี้ "เรายังไม่พบพฤติกรรมอันเป็นปกปักษ์และรุกรานใดๆต่อเรือรบของสหรัฐฯที่ประจำการในอ่าวเปอร์เซียหรือช่องแคบฮอร์มุซ"

       

       ก่อนการให้สัมภาษณ์ของลิตเติล นายฮาบิบโบลเลาะห์ ซายยารี ผู้บัญชาการทหารเรืออิหร่านบอกกับ เพรส ทีวี สถานีโทรทัศน์ภาษาอังกฤษของอิหร่านว่า การปิดอ่าวเปอร์เซียไม่ให้เรือน้ำมันเข้าออก เป็นเรื่องที่ “ง่ายดายยิ่งกว่าดื่มน้ำสักแก้วหนึ่ง” การแถลงเหล่านี้ทำให้เกิดความหวาดผวาเกี่ยวกับสถานการณ์ความมั่นคงปลอดภัยของบริเวณที่ถือเป็นคอขวดสำคัญที่สุดในการขนส่งน้ำมันของโลก

       

       “สำหรับกองทัพอิหร่านแล้ว การปิดช่องแคบฮอร์มุซเป็นเรื่องที่ง่ายดายจริงๆ … หรืออย่างที่ชาวอิหร่านชอบพูดกันว่า มันง่ายดายยิ่งกว่าดื่มน้ำสักแก้วหนึ่งเสียอีก” ฮาบิบโบลเลาะห์ ซายยารี ผู้บัญชาการทหารเรืออิหร่าน บอกกับเพรส ทีวี

       

       “แต่สำหรับในตอนนี้ เรายังไม่จำเป็นต้องปิดช่องแคบฮอร์มุซหรอก เนื่องจากทะเลโอมานก็อยู่ในความควบคุมของเราแล้ว และเราสามารถควบคุมการเข้าออก (ของเรือน้ำมัน) ได้อยู่แล้ว” ซายยารี ซึ่งกำลังทำหน้าที่เป็นผู้นำการซ้อมรบของอิหร่านที่บริเวณช่องแคบฮอร์มุซเป็นเวลา 10 วัน กล่าวแจกแจงต่อ

       

       ความตึงเครียดระหว่างตะวันตกกับเตหะรานเขม็งเกลียวขึ้นนับจากวันที่ 8 พฤศจิกายน ที่ทบวงพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (ไอเออีเอ) ซึ่งเป็นหน่วยงานตรวจสอบอาวุธนิวเคลียร์ของสหประชาชาติ รายงานว่า ดูเหมือนเตหะรานกำลังออกแบบสร้างระเบิดนิวเคลียร์ และอาจทำการวิจัยต่อจนบรรลุเป้าหมาย ถึงแม้ทางอิหร่านออกมาปฏิเสธและยืนยันว่าตนมีเพียงโครงการพลังงานนิวเคลียร์เท่านั้น

       

       อิหร่านนั้นยังคงขยายกิจกรรมนิวเคลียร์ตลอดมาแม้ถูกคว่ำบาตรจากยูเอ็นแล้ว 4 ครั้งตั้งแต่ปี 2006 ฐานที่ไม่ยอมระงับโครงการเสริมสมรรถนะยูเรเนียม ตลอดจนไม่ยอมเปิดให้เจ้าหน้าที่ยูเอ็นเข้าไปตรวจสอบ

       

       นักการทูตและนักวิเคราะห์จำนวนมากเชื่อว่า มีเพียงมาตรการคว่ำบาตรการส่งออกน้ำมันเท่านั้นที่สามารถเปลี่ยนใจอิหร่านได้ แต่รัสเซียและจีน สองประเทศคู่ค้ารายใหญ่ของเตหะราน ขัดขวางการดำเนินการดังกล่าวในที่ประชุมยูเอ็น

       

       คำเตือนของอิหร่านครั้งนี้มีขึ้นหลังจากที่เมื่อ 3 สัปดาห์ที่แล้ว รัฐมนตรีต่างประเทศของสหภาพยุโรป (อียู) ประกาศเพิ่มมาตรการคว่ำบาตรสืบเนื่องจากรายงานฉบับดังกล่าวของยูเอ็น โดยที่ได้ร่างแผนสำหรับความเป็นไปได้ในการคว่ำบาตรน้ำมันจากประเทศผู้ส่งออกน้ำมันดิบอันดับ 5 ของโลกแห่งนี้

       

       ทั้งนี้ อียูนำเข้าน้ำมันจากอิหร่าน 450,000 บาร์เรลต่อวัน (บีพีดี) หรือราว 18% ของการส่งออกของเตหะราน ซึ่งมีจำนวนมากที่ส่งไปยังจีนและอินเดีย

       

       นอกจากนี้ จากข้อมูลของสำนักงานข้อมูลพลังงานของสหรัฐฯ (อีไอเอ) พบว่า 1 ใน 3 ของน้ำมันทั่วโลกที่ขนส่งทางทะเลในปี 2009 ขนส่งผ่านช่องแคบฮอร์มุซ โดยมีเรือรบของอเมริกตรวจการณ์รักษาความปลอดภัยในบริเวณดังกล่าว

       

       น้ำมันดิบส่วนใหญ่ที่ส่งออกจากซาอุดีอาระเบีย อิหร่าน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ คูเวต และอิรัก ตลอดทั้งก๊าซธรรมชาติเหลวทั้งหมดจากผู้ส่งออกรายใหญ่คือ กาตาร์ ล้วนแล้วต้องผ่านช่องแคบฮอร์มุซ ซึ่งเป็นเส้นทางขนส่งสินค้ากว้าง 6.5 กิโลเมตร และอยู่ระหว่างโอมานกับอิหร่าน

       

       อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์บางคน อาทิ ฟิล ฟินน์ จากพีจีเอฟ เบสต์ รีเสิร์ชในชิคาโก ดักคอว่า อิหร่านคงต้องคิดหนักในการปิดช่องแคบ เพราะตัวเองก็อาจได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจหนักพอๆ กับชาติตะวันตกผู้นำเข้าน้ำมัน อีกทั้งยังเป็นการยั่วยุให้เกิดสงครามกับมหาอำนาจทางการทหารของโลก และแม้แต่พันธมิตรก็อาจเปลี่ยนใจเป็นศัตรูได้

       

       แหล่งข่าวในอุตสาหกรรมสำทับว่า ซาอุดีอาระเบีย ผู้ส่งออกน้ำมันเบอร์ 1 ของโลก และประเทศอ่าวอื่นๆ พร้อมส่งออกน้ำมันชดเชยหากอิหร่านถูกแซงก์ชันเพิ่มเติม แม้ รอสแตม กาเซมี รัฐมนตรีน้ำมันของเตหะราน เคยกล่าวก่อนหน้านี้ว่า ริยาดห์ให้คำมั่นว่าจะไม่ทำแบบนั้นก็ตาม

       

       ความกลัวว่าซัปพลายน้ำมันจะติดขัด และกังวลกับการซ้อมรบของอิหร่านในเส้นทางขนส่งน้ำมันสำคัญ ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบชนิดเบรนท์ที่ตลาดลอนดอนดีดขึ้นกว่า 1 ดอลลาร์ ทะลุ 109 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเมื่อวันอังคาร อย่างไรก็ดี ตัวแทนของโอเปกเชื่อว่า เรื่องนี้จะเป็นเพียงปัจจัยชั่วคราวเท่านั้น เพราะไม่คิดว่าอิหร่านจะทำตามที่ขู่

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ค่าเงินยูโร ถ้ามองจากกราฟแล้ว เป็นแบบนี้

หมายเหตุ : เส้นกราฟที่ลากมาถึงเวลานี้ คือ ภาวะเศรษฐกิจจริง เกิดขึ้นแล้ว มารวมอยู่ที่เส้นกราฟ แต่ เวลาข้างหน้า ทิศทางข้างหน้า ไม่มีใครทราบว่าจะเป็นทิศทางใด ทุกอย่างก็ต้องรอความคืบหน้าของข่าวสาร และ ภาวะของโลก ซึ่งฝรั่งเรียกว่า Fundamental News มาเป็นตัวผันแปร และวันนี้ สิ่งนั้น ก็คงเป็น

1. สถานะของค่าเงินยูโร จะหยุดอ่อนหรือไม่

2. ผลประมูลพันธบัตรอิตาลี เย็นนี้

3. ตัวเลขการว่างงานของสหรัฐฯ และอื่นๆ คืนนี้

 

eurusd12282011wk.gif

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

The news of the ECB balance sheet hitting a record high of 2.73 trillion euros (chart below) likely had something to do with the drop in the euro on Wednesday and it will be interesting to see how German authorities respond to calls for more easing amid inflation which continues to run higher than the ECB’s target.

122811-euro-zone-ecb-balance-sheet.png

 

ตัวเลขงบดุล ทำยอดสูงสุดเท่าที่ปรากฎมาก ทำให้ดูเหมือนว่า ปริมาณเงินยูโรที่ต้องการหมุนเวียนต้องมีอีกมากตาม

 

 

 

That outgoing member of the ECB executive board Lorenzo Smaghi said that if a deflationary scenario presents itself the ECB should use QE. Therefore were going to have to closely monitor inflation that data out of Germany and the wider euro zone the coming months.

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...