ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

สวัสดีครับ เฮียนายห้างฯ คุณ เด็กขายของ คุณ nuchaba คุณ ปุยเมฆ คุณ NongRee คุณ GB2514 คุณ Raty คุณ Mr.Li คุณ Aiya คุณfoo คุณ พลอยสีสวย คุณ เกี้ยมอี๋ คุณ พวงชมพู คุณ Racha คุณ arthas คุณ กระต่ายทอง คุณ ขาใหม่ คุณ Jumbo A คุณ nene81 คุณ modtanoiy คุณ kimenyi คุณ Kero. Kero คุณ noijaa และทุกๆท่านครับ

 

วันนี้มาเดาราคาทองกันต่อ อิอิ หลังจากเมื่อวาน เดารูปคุณ เด็กขายของ นะครับ วันนี้ช่วงสายถึงบ่ายน่าจะขึ้น หรือไม่ก็ออกข้าง ขายมาหลายวันแล้ว ช่วงเวลานี้จะขายอีกก็ให้มันรู้ไป ค่ำคืนไม่ย่อก็ออกข้าง วันนี้ราคาคงไม่มีอะไรตื่นเต้นมากนักนะครับ เดาว่าน่าจะมีแรงส่งให้ยืน 1740 นะครับ แต่จะให้ดีมีแรงขึ้นไปทดสอบ 1750 จะดีมิใช่น้อยเลยครับ :_18

 

ว่าแต่ ราคาสมาคม บอกเกือบเท่าราคาแฟร์มาหลายวันแล้ว เมื่อไหร่จะบอกผ่านเปิดราคาสูงซะทีเอ่ย หรือว่าต้องรอให้หมดแรงขาย อัดราคาขึ้นไปเพื่อให้ได้ขายของแพง ในวันเงินเดือนออก จ๊ะ :10

น่าจะใกล้เคียงที่คุณ Donjuan เดามาครับ เพราะ การประชุมที่สำคัญๆ ก็เสร็จสิ้นแล้ว ตัวเลขปรับประมาณการณ์อัตราเจริญเติบโตจาก IMF ก็ทราบแล้ว จากธนาคารโลก World Bank ก็ทราบแล้ว นโยบายทางการเงิน ของยูโร และ สหรัฐอเมริกา ก็ทราบแล้ว ดอกเบี้ยนโยบายจากประเทศสำคัญทราบแล้ว ECB ธนาคารกลางยุโรป 1.25-1.50%. FED ก็ทราบ 0-0.25% ไปถึงปี 2014 ดังนั้น ทุกอย่างที่นักลงทุนในกองทุนขาใหญ่ ต้องการมาวิเคราห์ทิศทางฯ ก็ได้ครบ พวกเขาก็คงสรุปว่า ความเสี่ยงในโลกใบนี้ มีมากขึ้น. เงินสดในมือ ถืออยู่ อาจลดค่าลงถ้าไม่นำไปลงทุนเพิ่มค่า

 

ในเดือนที่ 2 คือเดือนกุมภาพันธ์ หลายๆ ประเทศในเอเชีย เกิดภาวะชะงักงันทางภาคอุตสาหกรรม การส่งออกลดลง นั้นคือ มองในรูปแบบบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ 3 เดือนแรกน่าจะอยู่ในขั้นฟื้นฟูต่างๆ ลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง โอกาสมีน้อยที่จะได้ตังค์

 

มองตัวอย่าง ในส่วนของราคาน้ำมันที่ปล่อยลอยตัวตามกลไกตลาด ยิ่งราคาแพง ภาคการใช้จ่ายของประชาชน ซึ่งเกิดจากความประหยัดก็น่าจะเพิ่มมากขึ้น แล้วใครจะซื้อของ คนซื้อน้อยแล้วใครจะผลิต เพราะค่าใช้จ่ายเพื่อการครองชีพต้องสูงขึ้นแน่ๆ ภาวะวิตกเรื่องน้ำท่วม ถามใครก็เลี่ยงที่จะตอบอย่างเต็มปากเต็มคำว่า ปีนี้ท่วมไหม ? หาคำตอบไม่เจอ เจอคนเดียวที่เป็นนักการเงิน ที่มาตอบเรื่องน้ำท่วมว่า ไม่ท่วมแน่นอนในเดือน ตุลาคม พฤศจิกายน ปีนี้ แล้วเดือนสิงหาคม จะมีการฝึกซ้อมระบบเตือนภัย งานนี้ ก็หนาวสิครับ เพราะมีคนเตือนแล้วว่า น้ำจากฝนพายุฤดูร้อน ปีนี้จะมาก ที่ได้ยินมาจากจิ้งจก คือ จะบ้าเหรอ มีที่ไหน พายุฝนฤดูร้อน เมื่อต้นทุนการผลิต ทั้งน้ำมัน, ค่าแรงงาน, ค่าเบี้ยประกันภัยต่างๆ ไฟไหม้น้ำท่วม, ค่าไฟฟ้า/ค่าน้ำ , ค่าครองชีพ ปรับตัวสูงขึ้น ในภาคอุตสาหกรรมการผลิต คำว่า " กระชากราคา " " ตรึงราคา " ย่อมส่งผลกระทบต่อเจ้าของฯสินค้า จะมีใครที่ผลิตสินค้า ที่จะยอมขายขาดทุนบ้าง หรือแม้แต่จะบวก Margin ผลกำไรแค่พออยู่พอกิน ฝรั่งคงบอกแบบภาษาฝรั่งแปลเป็นไทยว่า " ขี้ ขี้ " Shit Shit ( ไม่เคยได้ยินคำอื่น นอกจากคำนี้ สู้คนไทยไม่ได้ในเรื่องนี้ ) เพราะเขาต้องมีค่าเสื่อมในเรื่องเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตอีกมากมาย และที่น่าคิด บรรดาเจ้าของกิจการหลักๆ คือ ใคร ? ในเมืองสาระขันธ์.

 

ดังนั้น อัตราการเลือกลงทุนของบรรดาขาใหญ่ ในเดือนกุมภาฯ น่าจะลดการลงทุนในตลาดหุ้นฯ ลง เพื่อรอดูความแน่ชัดทางเศรษฐกิจ และเพิ่มสัดส่วนลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์บางตัวที่หาเงินได้มากกว่า และ ความเสี่ยงต่ำกว่า จังหวะดีๆ สำหรับคนดอยที่จะได้เข้าเมืองหาแหล่งศิวิไลแล้วมั่งครับ อดทนรออีกนิด เล่นสั้นๆ เมื่อวาน ถ้าขายไปที่ราคาสูงที่สุดเมื่อวานก็ได้เงิน25,410 ตกเย็นซื้อกลับที่ 25,390 บาท ส่วนต่าง 20 บาท เท่านั้น แต่วันนี้ อาจไม่เหมือนเมื่อวานนี้ ที่ขายออกไป แต่ตอนซื้อกลับ เดาว่า อาจตัองควักเงินเพิ่มนี่คือ ซื้อทองแท่งหน้าร้านทองฯ

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

25ชาติอียูลงนามคุมเข้มงบฯไม่ช่วยหุ้นฟื้น

วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555| |

 

Tweet ความคืบหน้าสมาชิก 25 ชาติอียูจาก 27 ชาติเห็นพ้องลงนามสนธิสัญญาใหม่เพื่อยุติการใช้จ่ายงบประมาณการคลังเกินตัวในยูโรโซน ออกมาตรการแก้ปัญหานี้ การสร้างงาน หวังกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ข่าวออกมาในช่วงท้ายตลาดกลับไม่ช่วยการฟื้นตัวของตลาดหุ้นมากนัก โดยสหรัฐปิดลบ-ยุโรปร่วงกว่า 1% เหตุยังไม่มั่นใจอนาคตเจรจาหนี้กรีซ รวมทั้งแรงเทขายน้ำมันกดดันราคาหลุดลงมาที่ 98.78 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และราคาทองทรงตัวลดลง 1.20 ดอลลาร์มาปิดที่ 1,731 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แต่ล่าสุดเช้าวันนี้ นิคเคอิญี่ปุ่นเปิดตลาดไต่ขึ้น 0.2%

ผู้นำชาติสมาชิกทั้งหมดในกลุ่มสหภาพยุโรป (อียู) ยกเว้น อังกฤษ และสาธารณรัฐเช็ค เห็นพ้องร่วมกันเมื่อวันจันทร์ ที่จะลงนามในสนธิสัญญาฉบับใหม่ ที่ร่างออกมาเพื่อยุติการใช้จ่ายงบประมาณเกินตัวในชาติยูโรโซน ออกมาตรการเพื่อยุติวิกฤติหนี้สาธารณะของกลุ่มที่บั่นทอนความเชื่อมั่นของตลาด และให้คำมั่นว่าจะดำเนินนโยบายต่างๆเพื่อกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจให้ทั่วภูมิภาค และทำให้เกิดการจ้างงานใหม่เพิ่มขึ้น

 

สนธิสัญญาใหม่ฉบับนี้ ซึ่งบรรดาผู้นำยุโรปเห็นพ้องร่วมกันในการประชุมสุดยอดครั้งที่ 17 ในระยะเวลา 2 ปี ที่กรุงบรัสเซลส์วันจันทร์ที่ผ่านมา ถือเป็นการจัดทำงบประมาณสมดุล ซึ่งถือเป็นการช่วยเหลือยูโรโซนแบบถาวร ซึ่งครอบคลุมถึง การออกมาตรการคุมเข้มการปล่อยสินเชื่อ และลงโทษประเทศที่บริหารงบประมาณขาดดุล

 

โดย 17 ชาติในยูโรโซน หวังว่า กฏระเบียบที่เข้มงวดขึ้นนี้ จะช่วยรื้อฟื้นความเชื่อมั่นของบรรดานักลงทุนให้กลับคืนมาได้ โดยเฉพาะในตลาดพันธบัตรรัฐบาล

 

แต่ตลาดไม่ขานรับข่าวดังกล่าว โดยดัชนีหุ้นสำคัญๆของสหรัฐปิดตลาดวันแรกของสัปดาห์อยู่ในแดนลบเล็กน้อย หลังเปิดตลาดร่วงลงเกือบ 1% เพราะตลาดไม่มั่นใจว่าการเจรจาลดหนี้จะช่วยให้กรีซรอดพ้นจากภาวะผิดนัดชำระหนี้ได้

 

ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ ขยับลง 6.74 จุดหรือ 0.05% ปิดที่ 12,653.72 ดัชนีเอสแอนด์พี 500 ลดลง 3.31 จุด หรือ 0.25% ปิดที่ 1,313.02 ส่วนดัชนีแนสแด็ก ปรับตัวลง 4.61 จุดหรือ 0.16% ปิดตลาดที่ 2,811.94

 

ด้านฟากฝั่งยุโรปเคลื่อนไหวในแดนลบตั้แต่เปิดตลาดเกือบ 2% แต่มาปิดลดช่วงลบ โดย FT100 ลอนดอน ปิดลบ 1.09% CAC40 ฝรั่งเศส ร่วงลง 1.6% และ DAX เยอรมัน ปิดลบ 1.04%

 

"นักลงทุนในตลาดเริ่มหวนกลับมาวิตกเรื่องการเจรจาเพื่อขอลดหนี้ของกรีซและกลัวว่าผลจะออกมาในเชิงลบ และทำให้กรีซต้องผิดนัดชำระหนี้ ขณะเดียวกันตลาดก็รอฟังผลการประชุมสุดยอดของกลุ่มผู้นำยุโรป (อียู) ว่าจะมีแนวทางอย่างไรในการบรรเทาวิกฤติหนี้สาธารณะ และกระตุ้นความเชื่อมั่นเกี่ยวกับระบบการเงินของภูมิภาค "นายชาร์ลส์ ชวาบบ์ นักวิเคราะห์ในตลาดให้ความเห็น

 

อย่างไรก็ตาม ในเวลาไม่กี่นาที ก่อนหน้าที่ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทจะปิดทำการ นายเฮอร์มาน แวน รอมปุย ประธานอียู ประกาศว่า 25 ชาติจาก 27 ชาติอียูเห็นพ้องทำข้อตกลงทางการเงินที่มีเป้าหมายเพื่อป้องกันการเกิดวิกฤติการเงินในอนาคต มีเพียงอังกฤษ และสาธารณรัฐเช็คเท่านั้น ปฏิเสธลงนามในการทำข้อตกลงครั้งนี้

 

น้ำมันดิบร่วงปิดต่ำกว่า99ดอลล์

 

ราคาน้ำมันดิบตลาดสหรัฐ ปิดตลาดร่วงลง 78 เซนต์ปิดที่ 98.78 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเพราะความกังวลว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะชะลอตัวและสถานการณ์ตึงเครียดในอ่าวเปอร์เซีย

 

ราคาน้ำมันดิบไลท์สวีท ตลาดไนเม็กซ์ นิวยอร์ก ร่วงลง 78 เซนต์ ปิดตลาดที่ราคา 98.78 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนราคาน้ำมันดิบเบรนท์ทะเลเหนือ ตลาดลอนดอน ขยับลง 71 เซนต์ ปิดที่ 110.75 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

 

ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐ รายงานว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ที่แท้จริงขั้นต้นประจำไตรมาส 4/2554 ขยายตัว 2.8% ต่อปี ซึ่งน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ไว้ที่ 3% นอกจากนี้ จีดีพีตลอดทั้งปี 2554 ขยายตัวเพียง 1.7% ซึ่งชะลอตัวลงอย่างมากเมื่อเทียบกับระดับ 3% ของปี 2553

 

อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจสหรัฐมีแนวโน้มที่จะกระเตื้องขึ้นในปี 2555 หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ให้คำมั่นสัญญาในการประชุมครั้งล่าสุดว่า เฟดจะยังคงรักษาอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำเป็นพิเศษต่อไปอย่างน้อยจนถึงปี 2557 โดยมีเป้าหมายที่จะกระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

 

ขณะที่อิหร่านให้การต้อนรับคณะผู้เชี่ยวชาญด้านอาวุธนิวเคลียร์สากลให้เข้าไปตรวจสอบโครงการพัฒนานิวเคลียร์ด้วยความหวังว่าจะไขข้อข้องใจของชาติตะวันตกที่ระแวงว่าอิหร่านแอบพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ ทำให้ช่วยบรรเทาความวิตกที่ว่าจะเกิดการตอบโต้ทางทหารในอ่าวเปอร์เซียลง

 

ทองร่วง1.20ดอลลาร์วิตกศก.ยุโรปซบ

 

ราคาโภคภัณฑ์มีค่าหลักๆ ปิดตลาดปรับตัวลงส่วนใหญ่ขณะมีสัญญาณว่าเศรษฐกิจในยุโรปจะชะลอตัว ทำให้นักลงทุนวิตกว่าความต้องการทองคำและน้ำมันในอนาคตจะลดลง ส่งผลให้มีการเทขายทำกำไรออกมาในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์

 

ราคาทองคำ ส่งมอบเดือนก.พ. ร่วงลง 1.20 ดอลลาร์ ปิดที่ราคา 1,731 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ส่วนสัญญาล่วงหน้าเงิน ส่งมอบเดือนมีนาคม ร่วงลง 26.3 เซนต์ ปิดตลาดที่ราคา 33.527ดอลลาร์ต่อออนซ์ ราคาทองแดง ร่วงลง 6.25 เซนต์ ปิดที่ 3.8265 ดอลลาร์ต่อปอนด์ และพัลลาเดียม ลดลง 1.65 ดอลลาร์ ปิดที่ 688.50 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ส่วนทองคำขาว ส่งมอบเดือนเม.ย. ร่วงลง 6.70 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,616.30 ดอลลาร์ต่อออนซ์

 

ทั้งนี้ บรรดานักลงทุนรอฟังผลการเจรจาเพื่อลดหนี้ระหว่างกรีซและบรรดาผู้ถือครองพันธบัตรรัฐบาลกรีซ ซึ่งถือเป็นดัชนีชี้วัดอนาคตของกรีซว่าจะผิดนัดชำระหนี้หรือไม่ในเดือนมีนาคมที่จะถึงนี้ แต่จนถึงขณะนี้ ยังไม่มีการประกาศผลการเจรจาอย่างเป็นทางการออกมา

 

อย่างไรก็ตาม มีสัญญาณอื่นๆที่บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจยุโรปกำลังชะลอตัว โดยฝรั่งเศสหั่นคาดการณ์การเติบโตของจีดีพีประเทศปีนี้ลงเหลือ 0.5% จาก 1% และสเปนประกาศว่าเศรษฐกิจในไตรมาส 4 หดตัว

 

ที่มา สุทธิชัยหยุ่น

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

US$1,735 ด่านเมื่อคืน แตกเช้านี้แล้ว

แบบ ยังไม่ถึงเวลาประกาศราคาสมาคมฯ

 

Picture31.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สกุลเงินยูโรร่วงลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (30 ม.ค.) เนื่องจากนักลงทุนผิดหวังที่การเจรจาเรื่องการปรับโครงสร้างหนี้ระหว่างรัฐบาลกรีซและกลุ่มเจ้าหนี้ไม่มีความคืบหน้า อย่างไรก็ตาม สกุลเงินยูโรปรับตัวลงในกรอบที่จำกัด เพราะได้รับแรงหนุนในระหว่างวัน จากข่าวที่ว่า 25 ชาติสมาชิกสหภาพยุโรป (อียู) สามารถตกลงกันได้เรื่องการจัดตั้งกลไกรักษาเสถียรภาพยุโรป (ESM)

 

ค่าเงินยูโรร่วงลง 0.68% แตะที่ 1.3134 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันศุกร์ที่ 1.3224 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนตัวลง 0.18% แตะที่ 1.5704 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5733 ดอลลาร์สหรัฐ

 

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลง 0.51% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 76.280 เยน จากระดับ 76.670  เยน และพุ่งขึ้น 0.64% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9176 ฟรังค์ จากระดับ 0.9118 ฟรังค์

 

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียดิ่งลง 0.54% แตะที่ 1.0594 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.0651 ดอลลาร์สหรัฐ และค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์ร่วงลง 0.68% 0.8182 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.8238 ดอลลาร์สหรัฐ

 

สกุลเงินยูโรร่วงลงหลังจากรัฐบาลกรีซและกลุ่มเจ้าหนี้เอกชนไม่สามารถตกลงกันได้ในเรื่องการปรับโครงสร้างหนี้ของกรีซมูลค่า 2 แสนล้านยูโรได้ก่อนการประชุมอียู ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวอาจทำให้กรีซเผชิญกับการผิดนัดชำระหนี้ เนื่องจากกรีซใกล้จะถึงเวลาไถ่ถอนพันธบัตรจำนวนมหาศาลในวันที่ 20  มี.ค.นี้

 

การเจรจาเรื่องการปรับโครงสร้างหนี้ยังคงยืดเยื้อ เนื่องจากกลุ่มเจ้าหนี้เอกชนและรัฐบาลกรีซยังไม่สามารถตกลงกันได้ในเรื่องอัตราผลตอบแทน นอกจากนี้ กรีซยังได้ปฏิเสธข้อเสนอการปล่อยให้บุคคลภายนอกเข้ามาก้าวก่ายในเรื่องการใช้มาตรการรัดเข็มขัด

 

อย่างไรก็ตาม สกุลเงินยูโรปรับตัวลงในกรอบที่จำกัด เนื่องจากตลาดขานรับข่าวที่ว่า ที่ประชุมยังมีมติรับรองข้อตกลงที่ทำขึ้นระหว่าง 17 ชาติสมาชิกยูโรโซน เกี่ยวกับสนธิสัญญาการจัดตั้ง ESM ซึ่งเป็นกองทุนถาวรวงเงิน 5 แสนล้านยูโรที่จะเริ่มดำเนินการในเดือนก.ค. และ 25 ประเทศสมาชิกอียูจะร่วมลงนามในสนธิสัญญาด้านการคลังซึ่งมีเป้าหมายที่จะคุมเข้มวินัยด้านการคลังและหนี้สิน

 

ทางการสหรัฐจะเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ รวมถึงต้นทุนการจ้างงานประจำไตรมาส 4/2554, ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐเดือนม.ค., ดัชนีภาคการผลิตเดือนม.ค. และตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนม.ค.

 

นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่า ตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรเดือนม.ค.ของสหรัฐ จะปรับตัวเพิ่มขึ้น 167,000 ตำแหน่ง และคาดว่าอัตราว่างงานจะอยู่ที่ระดับ 8.5% ในเดือนม.ค. เนื่องจากภาคเอกชนมีความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะขยายตัวและสามารถต้านทานวิกฤตหนี้ยุโรปได้

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (30 ม.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเข้ามาเทขายทำกำไรหลังจากสัญญาทองคำทะยานขึ้นติดต่อกัน 3 วันทำการ นอกจากนี้ การแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้นักลงทุนเทขายสัญญาทองคำ

 

สัญญาทองคำที่ตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย.ปรับตัวลง 1 ดอลลาร์ หรือ 0.05% ปิดที่ 1,734.4 ดอลลาร์/ออนซ์ หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 1735.0 - 1727.8 ดอลลาร์

 

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค.ร่วงลง 26.30 เซนต์ ปิดที่ 33.527 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาโลหะทองแดงส่งมอบเดือนมี.ค.ร่วงลง 6.25 เซนต์ ปิดที่ 3.8265 ดอลลาร์/ปอนด์

 

ส่วนสัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย.ร่วงลง 6.70 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,616.30 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมี.ค.ปรับตัวลง 1.65 ดอลลาร์ ปิดที่ 688.50 ดอลลาร์/ออนซ์

 

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ในช่วงเช้านั้นสัญญาทองคำเคลื่อนไหวในแดนบวกเนื่องจากนักลงทุนยังคงมองว่าทองคำเป็นแหล่งการลงทุนที่ปลอดภัย แต่สัญญาทองคำอ่อนแรงลงในช่วงสาย หลังจากสกุลเงินดอลลาร์ฟื้นตัวขึ้นเมื่อเทียบกับยูโร อันเนื่องมาจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญาหนี้ของกรีซ หลังจากมีรายงานว่า การเจรจาเรื่องการปรับโครงสร้างหนี้ระหว่างรัฐบาลกรีซและกลุ่มเจ้าหนี้มีความคืบหน้าเล็กน้อย แต่ทั้งสองฝ่ายยังไม่สามารถตกลงกันได้อย่างสมบูรณ์

 

นอกจากนี้ สัญญาทองคำยังปรับตัวลงหลังจากนักลงทุนเข้ามาเทขายทำกำไรหลังจากสัญญาทองคำทะยานขึ้นติดต่อกัน 3 วันทำการ

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 31 มกราคม 2555)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ที่ประชุมผู้นำสหภาพยุโรป (อียู) มีมติรับรองข้อตกลงที่ทำขึ้นระหว่าง 17 ชาติสมาชิกยูโรโซน เกี่ยวกับสนธิสัญญาการจัดตั้งกลไกรักษาเสถียรภาพยุโรป (ESM) ซึ่งเป็นกองทุนถาวรวงเงิน 5 แสนล้านยูโรที่จะเริ่มดำเนินการในเดือนก.ค.

 

"เราจะขอให้รัฐมนตรีคลังกลุ่มยูโรโซนลงนามในสนธิสัญญาดังกล่าวในที่ประชุมยูโรกรุ๊ปในครั้งหน้า เพื่อที่ ESM จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนก.ค.ปีนี้เป็นต้นไป" นายเฮอร์มาน ฟาน รอมปุย ประธานสภายุโรปกล่าวภายหลังการประชุมอียูเสร็จสิ้นลงเมื่อช่วงกลางดึกวานนี้ตามเวลาไทย

 

ทั้งนี้ ESM จะเริ่มดำเนินการเร็วกว่าที่เคยตั้งเป้าไว้ในช่วงแรกราวหนึ่งปี  และจะทำหน้าที่แทนกองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป (EFSF)  ซึ่งเป็นกองทุนชั่วคราวที่เคยให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ไอร์แลนด์และโปรตุเกส

 

"การผลักดันให้ ESM มีผลบังคับใช้เร็วขึ้น จะช่วยป้องกันการลุกลามของปัญหาหนี้สาธารณะในยูโรโซน และจะช่วยฟื้นฟูความเชื่อมั่นของตลาดการเงินด้วย" นายแวน รอมปุยกล่าว สำนักข่าวซินหัวรายงาน

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 31 มกราคม 2555)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นางอังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี กล่าวกับผู้สื่อข่าวก่อนเข้าร่วมการประชุมสุดยอดสหภาพยุโรป (อียู) ที่กรุงบรัสเซลส์ว่า ผู้นำยุโรปจะไม่สรุปแผนช่วยเหลือกรึซรอบที่สองในการประชุมวันนี้ เนื่องจากการหารือเรื่องการลดหนี้กับธนาคารต่างๆ ยังไม่เสร็จสิ้น

 

นอกจากนี้ ผู้นำยุโรปกำลังรอดูผลการประเมินของ Troika ซึ่งประกอบด้วยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) คณะกรรมาธิการยุโรป (อีซี) และธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) เกี่ยวกับความช่วยเหลือที่กรีซต้องการในเวลานี้ ตลอดจนความคืบหน้าของกรีซในการปฏิรูปเศรษฐกิจ

 

พร้อมกันนี้นางแมร์เคิลยังได้ลดท่าทีของเยอรมนีกรณีเรียกร้องให้มีการตั้งเจ้าหน้าที่กำกับดูแลหนี้ที่มีอิทธิพลในยุโรปเพื่อติดตามตรวจสอบการใช้จ่ายของกรีซโดยตรง

 

"ดิฉันคิดว่า เรากำลังพูดถึงเรื่องที่เราไม่ควรพูด" นายกฯเยอรมนีกล่าว พร้อมระบุว่า ยุโรปต้องสนับสุนนกรีซให้สามารถดำเนินมาตรการปฏิรูปและรัดเข็มขัดได้สำเร็จตามที่สัญญาไว้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น สิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อกรีซและทุกประเทศหารือเรื่องนี้ร่วมกัน

 

ทั้งกรีซและคณะกรรมาธิการยุโรปต่างปฏิเสธข้อเสนอของเยอรมนีเมื่อสุปดาห์ที่ผ่านมาที่ให้มีการตั้งกรรมาธิการขึ้นมาหนึ่งคน ซึ่งจะมีอำนาจในการบีบให้กรีซจ่ายหนี้คืน ขณะที่ผู้นำยุโรปคนอื่นๆ กล่าวว่า กรรมาธิการที่จะได้รับการแต่งตั้งขึ้นใหม่นั้น นอกจากจะมีอำนาจในการยับยั้งการใช้จ่ายของกรีซแล้ว ยังจำเป็นที่จะต้องควบคุมประเทศอื่นๆที่มีหนี้สูงด้วย

 

นายกฯเยอรมนีระบุว่า การประชุมสุดยอดในครั้งนี้จะมุ่งเน้นไปที่การขจัดข้อสงสัยติดค้างเกี่ยวกับสนธิสัญญาควบคุมยอดขาดดุลงบประมาณ ซึ่งเยอรมนีเชื่อว่าจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤตซ้ำรอยอีกในอนาคต รวมไปถึงการหารือเกี่ยวกับการจ้างงานเพื่อการขยายตัวของเศรษฐกิจภูมิภาค นอกเหนือไปจากเรื่องการปรับลดยอดขาดดุลการคลังที่อยู่ในความสนใจอยู่ในขณะนี้

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 31 มกราคม 2555)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่า ตัวเลขการใช้จ่ายผู้บริโภคทรงตัวในเดือนธ.ค. อย่างไรก็ตาม รายได้ส่วนบุคคลในเดือนธ.ค. ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.5% ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นแข็งแกร่งที่สุดในรอบ 9 เดือน และเป็นสัญญาบ่งชี้ถึงความหวังเรื่องการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ หลังจากที่รายได้ของชาวอเมริกันปรับตัวลดลงมาเป็นเวลานานนับปี

 

ในช่วงไตรมาส 4 ปี 2554 ชาวสหรัฐใช้จ่ายมากขึ้นในการซื่อรถยนต์ และบริษัทเอกชนได้ปรับเพิ่มสต็อกสินค้า โดยตัวเลขการใช้จ่ายผู้บริโภคได้รับการจับตาจากตลาดอย่างใกล้ชิด เพราะตัวเลขดังกล่าวคิดเป็นสัดส่วน 70% ของกิจกรรมโดยรวมทางเศรษฐกิจ

 

กระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานเมื่อวันศุกร์ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ที่แท้จริงขั้นต้นประจำไตรมาส 4/2554 ขยายตัว 2.8% ต่อปี ซึ่งน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ไว้ที่ 3% นอกจากนี้ จีดีพีตลอดทั้งปี 2554 ขยายตัวเพียง 1.7% ซึ่งชะลอตัวลงอย่างมากเมื่อเทียบกับระดับ 3% ของปี 2553

 

อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจสหรัฐมีแนวโน้มที่จะกระเตื้องขึ้นในปี 2555 หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ให้คำมั่นสัญญาในการประชุมครั้งล่าสุดว่า เฟดจะยังคงรักษาอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำเป็นพิเศษต่อไปอย่างน้อยจนถึงปี 2557 โดยมีเป้าหมายที่จะกระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 31 มกราคม 2555)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กรีซลั่นไม่ยอมให้อียูแทรกแซงงบประมาณ

 

ด้านผู้นำอียูเปิดม่านประชุมสุดยอดผู้นำ เดินหน้าลงนามข้อตกลงวินัยทางการคลัง-ตั้งกองทุนอีเอสเอ็ม

 

อีวานเกลอส เวนิเซลอส รัฐมนตรีคลังกรีซ ออกโรงปฏิเสธข้อเสนอของเยอรมนีที่ต้องการให้รัฐมนตรีคลังยูโรโซนร่วมกันแต่งตั้งกรรมาธิการที่จะมีอำนาจยับยั้ง (วีโต) การตัดสินใจด้านงบประมาณและภาษีของกรีซในอนาคต โดยเวนิเซลอสได้กล่าวอย่างฉุนเฉียวว่า แผนดังกล่าวถือเป็นการละเมิดอธิปไตยของกรุงเอเธนส์

 

“ทุกคนทราบดีว่า การรวมตัวของชาติสมาชิกยุโรป (อียู) นั้นอยู่บนพื้นฐานของความเท่าเทียมกัน และการเคารพเอกลักษณ์ของแต่ละชาติ” เวนิเซลอส ลั่น โดยย้ำว่าขณะนี้กรีซสามารถบรรลุข้อตกลง ลดหนี้กับเจ้าหนี้ได้แล้ว และคาดว่าจะสามารถสรุปผลได้ภายในสัปดาห์หน้า

 

ทั้งนี้ แผนการดังกล่าวได้รับการเสนอขึ้นโดย ฟิลิปป์ โรสเลอร์ รัฐมนตรีเศรษฐกิจเยอรมนี เมื่อวันที่ 27 ม.ค.ที่ผ่านมา โดยโรสเลอร์ได้เรียกร้องให้อียูเข้าไปมีบทบาทมากขึ้นในการควบคุมงบประมาณของกรีซ กรณีที่รัฐบาลกรุงเอเธนส์ล้มเหลวในมาตรการรัดเข็มขัด

 

ความเห็นของโรสเลอร์สอดคล้องกับความเห็นของ โวล์ฟกัง ชอยเบล รัฐมนตรีคลังเยอรมนี ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ออกโรงเตือนว่า หากกรีซต้องการเงินช่วยเหลืองวดที่ 2 ก็จำเป็นต้องแสดงให้อียูเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่มากกว่านี้

 

“เงินจำนวนมากเพียงใดก็ไม่สามารถช่วยกรีซแก้ปัญหาได้ ตราบใดที่กรีซยังคงดีแต่พูด และไม่ลงมือแก้ปัญหาอย่างจริงจังเสียที” ชอยเบล กล่าว

 

วันเดียวกัน บรรดาผู้นำชาติสมาชิกอียูเดินทางยังกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม เพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำอียู ซึ่งจะเป็นการประชุมครั้งที่ 17 ในรอบ 2 ปี ท่ามกลางวิกฤตหนี้สาธารณะที่ยืดเยื้อและส่อเค้าบานปลาย

 

ประเด็นหลักในการประชุมครั้งนี้ คือ การมุ่งเน้นการสร้างงานและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ สวนทางจากมาตรการที่ผ่านมาที่มุ่งเน้นแต่การรัดเข็มขัด ซึ่งได้สร้างความไม่พอใจให้กับประชาชนในหลายประเทศ โดยคาดว่าจะมีการหารือถึงมาตรการต่างๆ อาทิ การลดภาษีเพื่อกระตุ้นการจ้างงาน การส่งเสริมเยาวชนในด้านการเรียน การทำงาน และการฝึกอบรมทักษะต่างๆ

 

นอกจากนี้ ที่ประชุมเตรียมบรรลุข้อตกลงขั้นสุดท้ายของข้อตกลงทางการคลัง ซึ่งเป็นข้อตกลงทางกฎหมายที่มุ่งสร้างระเบียบวินัยทางการคลัง เพื่อป้องกันไม่ให้ประเทศสมาชิกขาดดุลงบประมาณ และการลงนามในสนธิสัญญาตั้งกลไกสร้างเสถียรภาพยุโรป (อีเอสเอ็ม) ซึ่งเป็นกองทุนช่วยเหลือถาวรมูลค่า 5 แสนล้านยูโร (ราว 20.5 ล้านล้านบาท) ที่จะเริ่มดำเนินการในเดือน ก.ค.นี้ โดยจะแทนที่กองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป (อีเอฟเอสเอฟ) ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

 

ที่มา : ข่าวราคายาง (วันที่ 31 มกราคม 2555)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สมาชิก 25 ชาติอียูลงนามสนธิสัญญาใหม่เพื่อยุติการใช้จ่ายงบประมาณการคลังเกินตัวในยูโรโซน ออกมาตรการแก้ปัญหานี้และกระตุ้นเศรษฐกิจในภูมิภาค

 

 

 

 

ชาติสมาชิกทั้งหมดในกลุ่มสหภาพยุโรป (อียู) ยกเว้น อังกฤษ และสาธารณรัฐเช็ค เห็นพ้องร่วมกันเมื่อวันจันทร์ ที่จะลงนามในสนธิสัญญาฉบับใหม่ ที่ร่างออกมาเพื่อยุติการใช้จ่ายงบประมาณเกินตัวในชาติยูโรโซน ออกมาตรการเพื่อยุติวิกฤติหนี้สาธารณะของกลุ่มที่บั่นทอนความเชื่อมั่นของตลาด และให้คำมั่นว่าจะดำเนินนโยบายต่างๆเพื่อกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจให้ทั่วภูมิภาค

 

สนธิสัญญาใหม่ฉบับนี้ ซึ่งบรรดาผู้นำยุโรปเห็นพ้องร่วมกันในการประชุมสุดยอดครั้งที่ 17 ในระยะเวลา 2 ปี ที่กรุงบรัสเซลส์วันจันทร์ที่ผ่านมา ถือเป็นการจัดทำงบประมาณสมดุล ซึ่งถือเป็นการช่วยเหลือยูโรโซนแบบถาวร

 

ครอบคลุมถึง การออกมาตรการคุมเข้มการปล่อยสินเชื่อ และลงโทษประเทศที่บริหารงบประมาณขาดดุล โดย 17 ชาติในยูโรโซน หวังว่า กฏระเบียบที่เข้มงวดขึ้นนี้ จะช่วยรื้อฟื้นความเชื่อมั่นของบรรดานักลงทุนให้กลับคืนมาได้ โดยเฉพาะในตลาดพันธบัตรรัฐบาล

 

นอกจากนี้่ ที่ประชุมผู้นำอียู ยังมีมติรับรองข้อตกลงที่ทำขึ้นระหว่าง 17 ชาติสมาชิกยูโรโซน เกี่ยวกับสนธิสัญญาการจัดตั้งกลไกรักษาเสถียรภาพยุโรป (อีเอสเอ็ม) ซึ่งเป็นกองทุนถาวรวงเงิน 5 แสนล้านยูโรที่จะเริ่มดำเนินการในเดือนก.ค.

 

"เราจะขอให้รัฐมนตรีคลังกลุ่มยูโรโซนลงนามในสนธิสัญญาดังกล่าวในที่ประชุมยูโรกรุ๊ปในครั้งหน้า เพื่อให้อีเอสเอ็มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนก.ค.ปีนี้เป็นต้นไป" นายเฮอร์มาน แวน รอมปุย ประธานสภายุโรปกล่าวภายหลังการประชุมอียูเสร็จสิ้นลง

 

ทั้งนี้ อีเอสเอ็ม จะเริ่มดำเนินการเร็วกว่าที่เคยตั้งเป้าไว้ในช่วงแรกราวหนึ่งปี และจะทำหน้าที่แทนกองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป (อีเอฟเอสเอฟ) ซึ่งเป็นกองทุนชั่วคราวที่เคยให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ไอร์แลนด์และโปรตุเกส

 

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ (วันที่ 31 มกราคม 2555)

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปี 2555 เริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวที่ดีขึ้น ทั้งในส่วนของการบริโภคภาคประชาชน การลงทุนของภาคเอกชนและภาครัฐ รวมถึงภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่เริ่มปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น ซึ่งจากปัจจัยดังกล่าวจะช่วยสนับสนุนให้แนวโน้มผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ปี2555 เติบโตได้ไม่น้อยกว่า 5% แน่นอน

 

โดยในช่วงไตรมาส 1 ปี 2555 คาดว่าจีพีดีของไทยจะเติบโตที่ระดับ 2% ซึ่งเป็นการฟื้นตัวจากช่วงไตรมาส 4 ปี 2554 ที่จีดีพีเติบโตติดลบ 5% และทั้งปี 2554 เศรษฐกิจไทยขยายตัวเพียง 1.1% เท่านั้น เป็นผลมาจากผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมเมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา ทำให้ภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม การลงทุน เกิดการหยุดชะลักลง

 

"สศค. ได้ประเมินเบื้องต้นเกี่ยวกับแนวโน้มจีดีพีปี 2555 ว่า ช่วงไตรมาสแรกของปี จีดีพีเติบโตที่ 2 % ส่วนไตรมาส 2 จะอยู่ที่ 3 % และไตรมาส 3 อยู่ที่ 5 % ส่วนไตรมาส 4 ปี 2555 จีดีพีจะอยู่ที่ 7 % ซึ่งส่วนใหญ่จะมาจากแรงสนับสนุนของการเร่งดำเนินนโยบายในการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ และการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ ที่สำคัญ" นายสมชัย กล่าว

 

สำหรับปัจจัยที่จะมีผลทางด้านเศรษฐกิจที่ต้องเร่งจับตาในช่วงปี2555 ได้แก่ ปัญหาวิกฤติหนี้ในประเทศกลุ่มยุโรป ที่ยังไม่มีทางออกที่ชัดเจน โดยคาดว่าปีนี้เศรษฐกิจของประเทศกลุ่มยุโรป จะติดลบ 0.8% รวมถึงปัญหาการเมืองทั้งในและนอกประเทศ และปัญหาภัยธรรมชาติ ที่หลายฝ่ายประเมินว่าปี 2555 มีโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ขึ้นอีก

 

นายสมชัย กล่าวอีกว่า สำหรับเศรษฐกิจไทยในเดือนธันวาคม 2554 เริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวจากปัญหาน้ำท่วม โดยเฉพาะภาคการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่สามารถกลับมาขยายตัวได้อีกครั้ง สะท้อนจากยอดจัดเก็บภาษีมู่ลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน 9.8% ขณะที่ปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนเพิ่มขึ้น 13% และการส่งออกที่ปรับตัวดีขึ้น โดยมูลค่าการส่งออกติดลบ 2% หรือประมาณ 1.7 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า สะท้อนถึงความสามารถในการผลิตเพื่อการส่งออกที่เริ่มปรับตัวดีขึ้นท่ามกลางความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจโลก

 

ขณะที่การผลิตภาคอุตสาหกรรมฟื้นตัวดีขึ้นจาก 2 เดือนก่อนหน้า โดยในเดือนธันวาคม อยู่ที่ติดลบ 25.8% ส่วนหนึ่งเป็นเพราะบางภาคการผลิตที่ยังไม่มีการฟื้นตัวอย่างชัดเจน โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ขณะที่ผลผลิตภาคเกษตรกรรม ฟื้นตัวดีขึ้นที่ 4.8% โดยเฉพาะยางพารา มันสำปะหลังและปาล์มน้ำมัน ส่วนแนวโน้มการว่างงานอยู่ที่ 0.8% และทุนสำรอง/หนี้ต่างประเทศระยะสั้น อยู่ที่ 1.75 แสนล้านดอลล่าร์สหรัฐ สูงกว่าหนี้ระยะสั้นของรัฐถึง 3 เท่า ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนธันวาคม อยู่ที่ 3.5% ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 2.7%

 

ที่มา : แนวหน้า (วันที่ 31 มกราคม 2555)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

บมจ.โกลเบล็ก โฮลดิ้งฯชี้ราคาทองคำเด้งหลังเฟดคงอัตราดอกเบี้ย 0-0.25% ส่งผลดอลลาร์อ่อน คาดกองทุนและนักลงทุนซื้อถือครอง-ทยอยขายดอลลาร์ แนะจับตาประชุมทางสหภาพยุโรป และการเจรจากรีซกับเจ้าหนี้ภาคเอกชนอีกปัจจัยกดดันราคา หากเป็นในทางบวกดันราคาทองไปต่อ ให้กรอบลงทุน 1,695-1,750ดอลลาร์/ทรอยออนซ์

 

นายณัฐวุฒิ วงศ์เยาวรักษ์ นักวิเคราะห์ทองคำ บริษัท โกลเบล็ก โฮลดิ้ง แมนเนจเม้นท์ จำกัด( มหาชน) หรือ GBX กล่าวถึงแนวโน้มราคาทองคำในช่วงสัปดาห์หน้า (30 ม.ค.-3 ก.พ.55) ว่า ราคาทองคำโลกในสัปดาห์ที่ผ่านมาได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 1,718.79 ดอลลาร์/ทรอยออนซ์ (ณ วันที่ 27 มกราคม 10.30น.) ปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 61.03 ดอลลาร์/ทรอยออนซ์ หรือคิดเป็น 3.68% จากสัปดาห์ก่อนหน้า โดยราคาทองคำปรับตัวขึ้นแรงในวันพุธหลังจากทราบผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) ซึ่งผลการประชุมเฟดมีมติ 9-1 เสียงให้คงอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำที่ 0-0.25% ต่อไปอย่างน้อยจนถึง “กลางปี 2014” จากเดิมให้คงถึง “กลางปี 2013” รวมถึงจะมีนโยบายผ่อนคลายทางการเงินมากขึ้นในอนาคตด้วย จึงทำให้เงินดอลลาร์อ่อนค่าลงสวนทางกับเงินยูโรและราคา่ทองคำที่ปรับตัวขึ้น

 

ขณะเดียวกัน ตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน และยอดขายบ้านของสหรัฐฯที่ประกาศในวันต่อมา มีตัวเลขที่แย่กว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ส่งผลให้ค่าเงินสกุลดอลลาร์ยิ่งอ่อนค่าลง จึงเป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลทำให้ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัจจัยกดดันจากกรีซ และเจ้าหนี้ภาคเอกชนเรื่องการเจรจาแลกเปลี่ยนพันธบัตรที่ยังคงยืดเยื้ออยู่เป็นปัจจัยกดดันตลอดสัปดาห์

 

“เป็นปกติที่ราคาทองคำ และเงินสกุลอื่นจะปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังจากที่เงินดอลลาร์อ่อนตัวลง เนื่องจากนักลงทุนทยอยขายดอลลาร์ เปลี่ยนไปถือครองทองคำ และเงินสกุลอื่นๆแทน โดยการที่ราคาทองคำปรับตัวขึ้นมาอาจเป็นไปได้ว่าส่วนหนึ่งจะมาจากกองทุนและนักลงทุนที่เข้าซื้อทองคำส่งผลให้ราคาทองเพิ่มขึ้นในช่วงกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา”นายณัฐวุฒิ กล่าว

 

อย่างไรก็ตาม นักลงทุนต้องติดตามการประชุมทางสหภาพยุโรป(EU) ในวันจันทร์ที่ 30 ม.ค. รวมถึงการประชุมระหว่างกรีซ และเจ้าหนี้ภาคเอกชน ที่จะเป็นปัจจัยที่กระทบต่อราคาทองคำ ซึ่งหากการเจรจาเป็นไปได้ด้วยดี น่าจะส่งผลให้ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้น ในทางกลับกันหากการเจรจายืดเยื้อจะเป็นปัจจัยที่ทำให้ราคาทองคำปรับตัวลดลงเช่นกัน

 

อย่างไรก็ตาม ทางฝ่ายวิเคราะห์แนะนำกลยุทธ์ประจำสัปดาห์ และประเมินราคาทองคำ(30 ม.ค.-3 ก.พ.55) ไว้ที่แนวต้านที่ 1,750 ดอลลาร์/ทรอยออนซ์ หรือ 25,960บาท/บาททองคำ (อ้างอิงค่าเงินบาทที่ 31.33บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ)เป็นหลัก หากราคาเข้าใกล้ราคาดังกล่าวให้ “ทยอยขาย” และมารอรับที่ 1,700-1,710 ดอลลาร์/ทรอยออนซ์ หรือ 25,220-25,360บาท/บาททองคำ แต่หากราคาต่ำกว่า 1,695 ดอลลาร์/ทรอยออนซ์ หรือ 25,150 บาท/บาททองคำ ให้ “ทยอยขายออก”

 

ที่มา : ThaiPR.net (วันที่ 31 มกราคม 2555)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

"ปัญหาหนี้กรีซยังไม่สรุป นักลงทุนกังวล กดดันราคาน้ำมันดิบ" (31/01/2555)

ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ที่ตลาดนิวยอร์ก ส่งมอบเดือน มี.ค. ปรับลดลง 0.78 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ปิดที่ 98.78 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนราคาน้ำมันดิบ

เบรนท์ ที่ตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือน มี.ค. ปรับลดลง 0.71 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ปิดที่ 110.75 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

- นักลงทุนมีความกังวลเกี่ยวกับความล่าช้าในการปรับโครงสร้างหนี้ภาคเอกชนของกรีซ ทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินยูโร และนักลงทุนลดการถือสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงเช่น น้ำมัน จึงมีแรงขายและกดดันให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง

- อินเดียได้ออกมาประกาศว่าจะยังไม่มีการลดการนำเข้าน้ำมันดิบจากอิหร่านโดยทันที แม้ว่าทางชาติตะวันตกจะเริ่มมาตรการคว่ำบาตรห้ามนำเข้าน้ำมันดิบอิหร่านแล้วก็ตาม ทั้งนี้อินเดียบริโภคน้ำมันดิบมากเป็นอันดับ 4 ของโลก ซึ่ง 12% ของน้ำมันที่บริโภคนั้นนำเข้าจากอิหร่าน

- ตัวเลขการใช้จ่ายของผู้บริโภคสหรัฐฯ เดือน ธ.ค. ไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับเดือน พ.ย. แม้ว่าตัวเลขรายได้ส่วนบุคคลจะปรับเพิ่มขึ้น 0.5% ก็ตาม แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคจะชะลอการใช้จ่ายลงในช่วงต้นปีนี้

- สภาพอากาศที่หนาวเย็นน้อยกว่าที่คาดในสหรัฐฯ เป็นผลให้มีการใช้น้ำมันสำเร็จรูปเพื่อให้ความร้อนน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดย ปริมาณการใช้น้ำมันสำเร็จรูปน้อยกว่าปกติ 16.5% ขณะที่ปริมาณการใช้ก๊าซธรรมชาติน้อยกว่าปกติ 29%

- หน่วยผลิตน้ำมันเบนซินของโรงกลั่น ConocoPhillip ในรัฐนิวเจอร์ซี่ สหรัฐอเมริกา ได้กลับมาดำเนินการผลิตอีกครั้งเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา หลังจากหยุดกระทันหันเพื่อซ่อมบำรุง โดยราคาน้ำมันสำเร็จรูปในสหรัญฯได้ปรับตัวลดลงและส่งผลลบถึงราคาน้ำมันดิบ

+ ผู้นำของกลุ่มผู้ส่งออกน้ำมันโอเปค ได้ออกมากล่าวว่ามาตรการคว่ำบาตรห้ามนำเข้าน้ำมันดิบอิหร่านของกลุ่มประเทศตะวันตกนั้น แม้จะยังไม่ทำให้เกิดสภาวะน้ำมันขาดตลาดในขณะนี้ แต่อย่างไรก็ดียังมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะขาดแคลนอุปทาน ซึ่งยังเป็นปัจจัยหนุนราคาน้ำมันอยู่

+ ซูดานและซูดานใต้ ยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมท่อส่งน้ำมันได้ แม้ทางซูดานจะยอมปล่อยเรือขนส่งน้ำมันที่มีน้ำมันของซูดานใต้จำนวน 4 ลำที่ยึดไว้แล้วก็ตาม  อย่างไรก็ดี ทางซูดานได้ขายน้ำมันดิบที่ยึดจากซูดานใต้ไปแล้ว 1 ลำ เสนอขายอยู่อีก 2 ลำและยึดเรือน้ำมันดิบไว้อยู่อีก 7 ลำ

+ สหภาพแรงงานในสหรัฐฯและกลุ่มบริษัทน้ำมัน เริ่มการประชุมเพื่อยุติข้อขัดแย้ง หลังจากทางสหภาพฯมีแผนที่จะหยุดการทำงานภายใน 48 ชั่วโมง (วันพุธนี้) หากไม่สามารถบรรลุข้อตกลงได้ โดยหากเกิดการหยุดงาน คาดว่าจะมีผลกระทบต่อกำลังการผลิตของโรงกลั่นในสหรัฐฯประมาณ 6%

 

 ราคาน้ำมันดิบดูไบ ที่ตลาดสิงคโปร์ ส่งมอบเดือน มี.ค. ปรับเพิ่มขึ้น 0.45 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 109.24 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

 

๑ ทิศทางราคาน้ำมันระยะสั้น

ไทยออยล์คาด ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวในกรอบ 105- 113 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวที่กรอบ 95 - 103 เหรียญฯ  ในสัปดาห์นี้ติดตามปัญหาความขัดแย้งเรื่องโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน และการเจรจาปรับโครสร้างหนี้ภาคเอกชนของกรีซ ส่วนตัวเลขเศรษฐกิจที่ต้องติดตามวันนี้ได้แก่ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และดัชนีภาคการผลิตของจีน

 

๑ ราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่ตลาดสิงคโปร์

ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจาก อุปทานที่ตึงตัวทั้งในตลาดเอเชีย สหรัฐฯและยุโรป  ประกอบกับอุปสงค์ที่ยังคงมีอยู่ในฝั่งเอเชียโดยเฉพาะใน อินโดนีเซียและมาเลเซีย

 

ราคาน้ำมันดีเซล ปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นในยุโรปและโรงกลั่นในสหรัฐฯและยุโรปที่ปิดซ่อมบำรุง

 

๑ ปัจจัยที่น่าจับตามอง

• ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ และตัวเลขผลประกอบการของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐฯ ในไตรมาส 4/54 ที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่

วันอังคาร: ดัชนีชี้วัดภาคการผลิตของเมืองชิคาโก ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และดัชนีภาคการผลิตของจีน /ผลประกอบการของเอ็กซอนโมบิล ไฟเซอร์ วาเลโร เอนเนอยี ยูพีเอสและอเมซอน

วันพุธ: ดัชนีภาคการผลิตและการจ้างงานภาคเอกชน ยอดขายรถ ดัชนีภาคการผลิตและ ตัวเลขการใช้จ่ายภาคการก่อสร้าง

วันพฤหัส: ยอดผู้ขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงาน ยอดขายร้านสาขา และ ผลประกอบการของ เคลลอกก์ เชลล์ ซันโนโก้ มาสเตอร์การ์ ดอยซ์แบงก์ เมอร์คและโซนี่

วันศุกร์: การจ้างงานนอกภาคเกษตรและอัตราการว่างงาน ดัชนีภาคการบริการ และยอดคำสั่งซื้อสินค้าโรงงาน

• ติดตามการเยือนอิหร่านของสำนักงานปรมาณูสากล (IAEA) เพื่อตรวจสอบโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านในวันที่ 29-31 ม.ค. นี้ รวมทั้งการตัดสินใจของอิหร่านที่จะหยุดการส่งออกน้ำมันดิบเพื่อตอบโต้มาตรการคว่ำบาตรห้ามนำเข้าน้ำมันดิบอิหร่านของยุโรป

• ติดตามวิกฤตการเมืองในอิรักที่อาจจะรุนแรงขึ้น หลังสหรัฐฯ ได้ถอนกำลังทหารทั้งหมดออกจากอิรักไปแล้ว  รวมทั้งความขัดแย้งระหว่างซูดานและซูดานใต้ในเรื่องท่อส่งน้ำมัน โดยล่าสุดซูดานใต้ทยอยหยุดผลิตน้ำมันดิบแล้วเพื่อกดดันให้ซูดานมาเจรจาค่าท่อ

• ความคืบหน้าของการปรับโครงสร้างหนี้ของภาคเอกชนของกรีซมูลค่า 200 พันล้านยูโรให้แล้วเสร็จก่อนวันที่ 5 มี.ค.นี้เพื่อให้กรีซได้รับเงินจากแผนช่วยเหลือหนี้กรีซฉบับ 2 มูลค่า 130 พันล้านยูโร ก่อนที่จะถึงกำหนดชำระหนี้มูลค่า 14.5 พันล้านยูโรในวันที่ 20 มี.ค. นี้

• รายละเอียดข้อตกลงการปฏิรูประบบเศรษฐกิจและการคลังในกลุ่มยุโรปให้มีความเข้มงวดขึ้น ที่จะต้องจัดทำให้แล้วเสร็จภายในเดือน มี.ค. 55

• รายละเอียดของกองทุนช่วยเหลือถาวร ESM ที่จะเริ่มดำเนินการในเดือน ก.ค. 55 รวมทั้ง ข้อตกลงที่จะปล่อยกู้ให้กับ IMF เพิ่มเติม หลังประเทศกลุ่มผู้ใช้เงินยูโรตกลงปล่อยกู้ไปแล้วมูลค่า 150 พันล้านยูโร เมื่อ 19 ธ.ค. 54 และอีก 50 พันล้านยูโร จากกลุ่มที่ไม่ใช้เงินยูโร

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ (วันที่ 31 มกราคม 2555)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นายคมสันต์ ปรมาภูติ รองผู้อำนวยการ ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล.บัวหลวง กล่าวในงานสัมมนา"ทองคำ พื้นฐาน หรือ ฟองสบู่" ว่า ราคาทอง upside ปีนี้ที่ 2,000 ดอลลาร์/ออนซ์ น่าจะเห็นช่วงไตรมาส 3 โดยจะเริ่มปรับขึ้นตั้งแต่กลางไตรมาส 3 สิ่งที่มองปีนี้สหรัฐจะมีการเลือกตั้งไตรมาส 4 พอไตรมาส 3 ก็จะรับผลแคมเปญอัดฉีดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจโอกาสที่ราคาทองจะปรับขึ้นแรงช่วงนั้นมี ขณะที่มอร์แกนสแตนเลย์ซึ่งเป็นพาร์ทเนอร์มองที 2,200 ดอลลาร์

 

ส่วนราคาพื้นฐานมองที่ 1,600 ดอลลาร์ ซึ่งช่วงไตรมาส 2 ปกติจะเป็น low season อาจมีความผันผวนอีกรอบน่าจะลงมาแถว 1,600 ดอลลาร์ น่าจะมีคนเข้ามาซื้อทองเก็บ

 

"ราคาทองตอนนี้เริ่มปรับขึ้นเพราะเฟดให้ความหวังว่าจะอัดฉีดเม็ดเงิน sentiment นักลงทุนมีความหวังขึ้นมาจึงเห็นกระแสเงินกลับเข้ามาลงทุนใน  Community Currency อย่างออสเตรเลียค่าเงินแข็งขึ้น เงินก็จะเข้าทองคำมากขึ้น นอกจากนี้ตามดูเศรษฐกิจจีนด้วย" นายคมสันต์ กล่าว

 

น.ส.ฐิภา นววัฒนทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บ.วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด กล่าวว่า มองกรอบราคาทองปีนี้ 1,480-2,000 ดอลลาร์ ที่มอง 2,000 ดอลลาร์ กรณีที่มี QE3 มีเงินอัดฉีดเข้ามาในระบบมากเมื่อเกิดเงินเฟ้อ คนก็จะหันมาซื้อทองคำมากขึ้น

 

ปี 55 ราคาทองมีโอกาสที่จะเหวี่ยงแรงเหมือนปี 54 ที่ผ่านมา นักลงทุนระยะยาวซื้อได้ ถ้าเล่นสั้นซื้อเก็บวันละ 10% ตอนนี้ต้องดูปัจจัยหลายอย่าง ทั้งสถานการณ์อิหร่าน ถ้ายืดเยื้อน้ำมันก็จะปรับขึ้นทองก็ปรับขึ้นด้วย แต่ถ้าเป็นปัจจัยทั้งปีดูค่าเงินยูโร ดอลลาร์ และราคาน้ำมัน ขณะที่ค่าเงินบาทปีนี้ก็มีส่วนซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มองว่าจะเคลื่อนไหวในกรอบ 29-32 บาท/ดอลลาร์ เพราะการเหวี่ยงทุก 10 สตางค์ของเงินบาท ทำให้ราคาทองเปลี่ยน 80 บาททองไม่ว่าจะขึ้นหรือลง นักลงทุนก็อยากจะให้เงินบาทอ่อน ทองจะได้ขึ้น

 

"ทองที่ 2,000 ดอลลาร์ น่าจะเห็นช่วงปลายไตรมาส 2 ถึงต้นไตรมาส 3 แต่ก็ขึ้นอยู่กับว่าจะมีประกาศอะไรเร็วกว่าคาดหรือไม่ เช่น QE เพราะล่าสุดสัปดาห์ที่แล้วเฟดบอกยังคงดอกเบี้ยระดับต่ำ 0-0.25% ไปถึงปี 2014 ราคาทองกระชากขึ้นทันที และถ้าสถานการณ์อิหร่านแย่หรือรุนแรงมากขึ้น ก็จะเห็น 2,000 ดอลลาร์ เร็วกว่าคาด" น.ส.ฐิภา กล่าว

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 31 มกราคม 2555)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นักวิเคราะห์ บล.ฟินันเซียไซรัส มองหุ้นไทยผันผวน ในกรอบแคบ เหตุไร้ปัจจัยบวกหนุน แนะจับตาการแก้ปัญหาหนี้กรีซ

             

นายสมชาย เอนกทวีผล ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซียไซรัส เปิดเผยว่า แนวโน้มตลาดหุ้นไทยวันนี้ว่า มีโอกาสแกว่งตัวผันผวนในกรอบแคบ หลังยังไม่มีปัจจัยบวกใหม่ เข้ามาช่วยหนุนตลาดฯ ซึ่งต้องติดตามภาวะตลาดหุ้นในต่างประเทศประกอบด้วย

            

ส่วนปัจจัย ยุโรป ต้องจับตาการเจรจาหนี้สาธารณะ ในประเทศกรีซว่า จะมีข้อสรุปอย่างไร ซึ่งหากผลของการเจรจาออกมาดี อาจจะทำให้มีแรงกระตุ้นตลาดหุ้นทั่วโลกได้บ้าง

            

สำหรับกลยุทธ์การลงทุน ในวันนี้ แนะนำนักลงทุนเก็งกำไรในกรอบแนวรับ-แนวต้าน โดยให้แนวรับไว้ที่ 1,065 จุด แนวต้าน 1,082 จุด  

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...