ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

ไปส่งเด็กอ่ะดิ เอาไว้จะถามน้องโบรกว่า 2--3 วันก่อนใครท้องเสียจนต้องฉีดยา รู้ตัวไม่ยาก อิอิ

 

กับตันไปถามคนชื่อ จอย หรือ พฤก อะ เทรด สองคนนั้นเค้ารู้จักผม อิอิ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กับตันไปถามคนชื่อ จอย หรือ พฤก อะ เทรด สองคนนั้นเค้ารู้จักผม อิอิ

 

จัดไป หุหุ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รบกวนถามหน่อยครับ

กราฟหน้าแรกหายไปไหนนะครับ

ดูไม่ได้มา 2 วันแล้ว

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คร่าวๆนะครับ เป็นอัตราค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐครับ โดยส่วนใหญ่ค่านี้ลดลง ทองจะขึ้น ถ้าค่านี้ขึ้น ทองมักจะลงครับ เพราะนักลงทุนมักเลือกฝากเงินเอาไว้ 2 ส่วนใหญ่ๆคือ ทอง หรือ เงิน ดอลล่าร์ครับ ถ้ารู้สึกไม่ปลอดภัยก็จะเข้าหาไม่ทองก็ดอลล่าร์นะครับ ถ้าดอลล่าร์ลดค่าลง(ตัวเลขน้อยลง) ก็จะหันไปหาทองครับ แล้วเมื่อไหร่ค่าเงินมีแนวโน้มแข็งขึ้น(ตัวเลขมากขึ้น) ก็จะไปเล่นหรือเก็งกำไร หรือเอาเงินลงทุนไปดองไว้ชั่วคราวครับ

ขอบคุณมากค่ะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ก็อกๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ เสียงเคาะชาม ก๋วยจั๊บ + 50 นะท่าน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

 

ครับผม ขอบคุณครับ รับทราบ ว่าแต่ ของร้อนๆจน ... สุกนั้น ทนได้ครับ เพราะเจอของร้อน(แต่ใจเย็น) ของเจ้ บดขยี้บี้ทุกคืน อิอิ ทนไหวๆ ถ้าเจ้ เปลี่ยนให้อย่างอื่นร้อนแทน อย่างอื่นบ้าง คงได้ หรรษกันน่าดูครับ(ไปไงวกมากัดเจ้ได้นี่)

24150/24050 รับทราบ เค๊ :gvme

อรุนสวัส ทุกท่าน ยินดี กับผู้กล้า มะคืนด้วยนะ

จัดเพลงนี้ให้เลยครับ

http://www.youtube.com/watch?v=5znDs3FUmYA

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นายทิโมธี ไกธ์เนอร์ รมว.คลังสหรัฐกล่าวกับสถานีโทรทัศน์ CNBC ว่ายุโรปสามารถจัดการวิกฤตหนี้ของภูมิภาคดีขึ้น แม้ว่ายังคงมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอ และยังต้องเผขิญกับภาวการณ์ที่ยากลำบากเป็นเวลานาน

 

เขากล่าวว่า ยุโรปได้ดำเนินมาตรการมากขึ้นเพื่อสร้างเสถียรภาพโดยรวม และเดินหน้าความพยายามด้านการปฏิรูปต่างๆ

 

"ยุโรปกำลังทำหน้าดีได้ดีขึ้นในการจัดการวิกฤตของภูมิภาค แม้ว่าการขยายตัวยังอ่อนแอ"

 

สำหรับสหรัฐนั้น นายไกธ์เนอร์กล่าวว่า เศรษฐกิจกำลังแข็งแกร่งขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยปรับตัวดีกว่าช่วง 18 เดือนก่อน

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 26 เมษายน 2555)

 

ธปท.ไม่ห่วงเงินบาทอ่อนแตะ31บาทชี้สอดคล้องภูมิภาค(26/04/2555)

นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวถึง สถานการณ์การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในช่วงนี้ที่อ่อนค่าแตะ 31 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐว่า ไม่ค่อยน่ากังวล เพราะแม้จะอ่อนค่า แต่เมื่อดูค่าความผันผวนของเงินบาทในปัจจุบันที่อยู่ที่ระดับ 4% แล้วไม่ถือว่าน่าห่วง ยังถือว่าอยู่ในระดับที่ดูแลได้ และยังเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกับสกุลเงินในภูมิภาค

 

 

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ (วันที่ 26 เมษายน 2555)

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษเปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของอังกฤษหดตัว 0.2% ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2555

 

หลังจากที่หดตัว 0.3% ในไตรมาส 4 ปีที่แล้ว ซึ่งบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจอังกฤษกลับเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างเป็นทางการอีกครั้งนับตั้งแต่ปี 2552 ภาวะเศรษฐกิจถดถอยหมายความถึงการที่เศรษฐกิจมีอัตราการขยายตัวติดลบสองไตรมาสติดต่อกัน

 

สำนักงานสถิติฯระบุว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลง 0.4% ภาคการก่อสร้างร่วงลง 3% และภาคบริการขยับขึ้น 0.1% ในไตรมาสแรกปีนี้ การเปิดเผยตัวเลขจีดีพีไตรมาส 1 ปี 2555 ในวันนี้ถือเป็นตัวเลขประมาณการเบื้องต้นจากสำนักงานสถิติฯ ซึ่งได้จากข้อมูลเพียงประมาณ 40% ของข้อมูลทั้งหมดที่ใช้ในการคำนวณจีดีพี

 

สำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษ เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของอังกฤษหดตัว 0.2% ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2555 หลังจากที่หดตัว 0.3% ในไตรมาส 4 ปีที่แล้ว ซึ่งบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจอังกฤษกลับเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างเป็นทางการอีกครั้งนับตั้งแต่ปี 2552

 

สำนักงานสถิติฯระบุว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลง 0.4% ภาคการก่อสร้างร่วงลง 3% และภาคบริการขยับขึ้น 0.1% ในไตรมาสแรกปีนี้

 

การเปิดเผยตัวเลขจีดีพีไตรมาส 1 ปี 2555 ในวันนี้ถือเป็นตัวเลขประมาณการเบื้องต้นจากสำนักงานสถิติฯ ซึ่งได้จากข้อมูลเพียงประมาณ 40% ของข้อมูลทั้งหมดที่ใช้ในการคำนวณจีดีพี

 

ที่มา : money channel (วันที่ 26 เมษายน 2555)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

หลังสิ้นสุดการประชุม 2 วันที่วอชิงตัน คณะกรรมการกำหนดนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ มีมติคงอัตราดอกเบี้ยระดับต่ำต่อไปอีกที่ระดับ 0-0.25% โดยคณะกรรมการเฟด 11 คนจากทั้งหมดมีความเห็นว่าดอกเบี้ยจะอยู่ต่ำแบบนี้ไปจนถึงปลายปี 2014 หรือ อาจจะช้ากว่านั้น

 

ประธานเฟด นายเบน เบอร์นันกี้ ยังบอกด้วยว่า อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจจะยังอยู่ในระดับพอประมาณในช่วงไตรมาส 2 แต่จากนั้นก็จะค่อยๆดีขึ้นตามลำดับ โดยเฟดปรับเพิ่มประมาณเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในปีนี้เป็น 2.4-2.9% (2.2-2.7% ในเดือน ม.ค.) ขณะเดียวกันเฟดมองว่าการว่างงานจะลดลงจาก 8.2% ในปัจจุบัน ไปอยู่ในช่วง 7.8-8% ในช่วงปลายปี ขณะที่ระยะยาวเฟดมองว่าการว่างงานจะลดลงมาอยู่ที่ 5.2-6% ส่วนการประมาณเงินเฟ้อนั้น มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่จะยังคงอยู่ในกรอบที่เฟดวางไว้ที่ 2%

 

ส่วนประเด็นเรื่องของการใช้ QE นั้น เฟดยังเปิดช่องทางที่จะนำมาใช้ โดยประธานเฟดกล่าวว่า จะดำเนินการสิ่งที่จำเป็นต่อบาลานซ์ชีท เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ และเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจหากจำเป็น

 

ที่มา : money channel (วันที่ 26 เมษายน 2555)

 

ดอลลาร์ปรับตัวใกล้ระดับต่ำสุดในรอบ 3 สัปดาห์เมื่อเทียบกับตะกร้า สกุลเงินสำคัญในวันนี้ หลังธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) แสดงจุดยืนด้านนโยบาย การเงินที่ผ่อนคลายหลังเสร็จสิ้นการประชุมนโยบาย 2 วัน

ดอลลาร์นิวซีแลนด์ปรับตัวขึ้น แม้ธนาคารกลางเตือนว่าอาจพิจารณา การปรับลดอัตราดอกเบี้ย หากดอลลาร์นิวซีแลนด์ยังคงแข็งแกร่งอย่างมาก

 

 

ดัชนีดอลลาร์อยู่ที่ 79.020 หลังร่วงต่ำถึง 78.995 หลังนายเบน เบอร์นันเก้ ประธานเฟดระบุว่า เฟดจะไม่ลังเลในการซื้อพันธบัตรรอบใหม่ หากจำเป็นต้องกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐ

 

 

ยูโรอยู่ที่ 1.3227 ดอลลาร์หลังแตะระดับสูงสุดในรอบ 3 สัปดาห์ที่ 1.3237 ดอลลาร์

 

 

ดอลลาร์แคนาดาปรับตัวขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 7 เดือนที่ 0.9824 ดอลลาร์แคนาดาต่อดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ปอนด์ปรับตัวใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 7 เดือนครึ่งที่ 1.6183 ดอลลาร์ แม้ข้อมูลบ่งชี้ว่า เศรษฐกิจอังกฤษเข้าสู่ภาวะ ถดถอยเป็นครั้งที่สองนับตั้งแต่เกิดวิกฤติการเงิน

 

ดอลลาร์อ่อนค่าลงสู่ 81.30 เยนจากระดับสูงที่ 81.71 เยน แต่ ยังคงปรับตัวอยู่ในช่วง 80.30/81.80 เยน

ดอลลาร์ออสเตรเลียทรงตัวที่ระดับ 1.0361 ดอลลาร์สหรัฐหลัง ปรับตัวขึ้นในช่วง 2 วันที่ผ่านมาจากระดับต่ำที่ 1.0247 ดอลลาร์สหรัฐซึ่งเข้า ทดสอบหลังการเปิดเผยข้อมูลเงินเฟ้อที่สนับสนุนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยใน สัปดาห์หน้า

 

ที่มา : ทันหุ้น(วันที่ 26 เมษายน 2555)

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เปิดเผยว่า บรรดาธนาคารรายใหญ่ที่สุดของสเปนมีเงินทุนและศักยภาพในการทำกำไรเพียงพอที่จะรับมือกับภาวะเศรษฐกิจขาลง แต่ธนาคารที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลบางแห่งยังมีความเปราะบาง

 

ไอเอ็มเอฟเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการจัดการปัญหาเกี่ยวกับธนาคารที่อ่อนแออย่างเร่งด่วนและระมัดระวัง เพื่อไม่ให้ธนาคารที่มีฐานะแข็งแกร่งได้รับผลกระทบจากการที่นักลงทุนสูญเสียความเชื่อมั่นต่อภาคการธนาคารสเปน

 

นอกจากนี้ ไอเอ็มเอฟระบุว่าภาคธนาคารโดยรวมยังคงมีความอ่อนไหวต่อปัญหาต่างๆในตลาดระดมทุน

รายงานการประเมินภาคการเงินสเปนของไอเอ็มเอฟระบุว่าราว 90% ธนาคารสเปนสามารถรับมือกับภาวะอ่อนแอทางเศรษฐกิจได้

 

ทั้งนี้ สเปนได้เผชิญแรงกดดันอย่างหนักจากตลาดการเงินให้จัดการฐานะการคลังของประเทศ ท่ามกลางกระแสคาดการณ์ที่ว่าสเปนอาจจะต้องขอรับความช่วยเหลือจากไอเอ็มเอฟและสหภาพยุโรป หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสเปนพุ่งสูง เนื่องจากนักลงทุนไม่มั่นใจในศักยภาพของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่ประเทศเผชิญอยู่

 

ที่มา : ทันหุ้น(วันที่ 26 เมษายน 2555)

 

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ได้เงินเพิ่มเพื่อการปล่อยกู้พิเศษอีกอย่างน้อย 4.3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือกว่า 13.3 ล้านล้านบาทในการประชุมที่กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา สำหรับใช้ในกรณีฉุกเฉินหากวิกฤติการเงินในกลุ่มยูโรโซนหรือสถานการณ์การเงินโลกเลวร้ายลงกว่าที่เป็นอยู่

 

การประชุมครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อเป็นเวทีหารือเพื่อหามาตรการร่วมกันในการกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจโลก ลดการว่างงาน ความยากจน และสร้างเสถียรภาพทางการเงินให้เกิดขึ้นทั่วโลก

 

 นางคริสติน ลาการ์ด กรรมการผู้จัดการไอเอ็มเอฟ กล่าวว่าการให้ความสนับสนุนของประเทศสมาชิกในครั้งนี้ทำให้ไอเอ็มเอฟมีความสามารถในการปล่อยกู้เพิ่มขึ้นเกือบๆสองเท่า ทั้งนี้ เงินสำหรับการปล่อยกู้พิเศษก้อนใหม่ที่เพิ่มขึ้นนี้ ส่วนใหญ่มาจากการสนับสนุนของประเทศร่ำรวยในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมพัฒนาแล้ว เช่น ญี่ปุ่น รับปากให้เงินสนับสนุนเพิ่ม 60,000 ล้านดอลลาร์ อังกฤษ ซาอุดีอาระเบียและเกาหลีใต้ ให้เท่าๆกันประเทศละ15,000 ล้านดอลลาร์ นอกนั้นมาจากประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจเล็กลงมา เช่น สวีเดน นอร์เวย์ โปแลนด์ ออสเตรเลีย เดนมาร์ก และสิงคโปร์ เงินเพื่อการปล่อยกู้พิเศษก้อนใหม่ล่าสุดนี้จะถูกนำไปสมทบกับเงินจำนวน 2 แสนล้านดอลลาร์ (กว่า 6.2 ล้านล้านบาท) ที่ประเทศในกลุ่มยูโรโซนรับปากลงขันให้เพิ่มมาแล้วก่อนหน้านี้

 

 ส่วนประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ในกลุ่มดาวรุ่งโตเร็ว เช่น บราซิล จีน รัสเซีย และอินเดีย ไม่ได้รับปากว่าจะให้การสนับสนุนเงินเข้ากองทุนจำนวนเท่าใดในการประชุมครั้งนี้ซึ่งถือเป็นการประชุมประจำฤดูใบไม้ผลิของไอเอ็มเอฟ เพียงแต่รับปากว่าจะลงเงินสนับสนุนโดยตัวแทนของแต่ละประเทศขอกลับไปหารือรัฐบาลของตัวเองก่อน และคาดว่าจะประกาศจำนวนเงินที่ชัดเจนในการประชุมของไอเอ็มเอฟกับกลุ่มจี-20 ที่ประเทศเหล่านี้เป็นสมาชิกอยู่ โดยการประชุมดังกล่าวกำลังจะมีขึ้นในเดือนมิถุนายนศกนี้ ที่ประเทศเม็กซิโก ข่าวระบุว่า ประเทศดาวรุ่งเศรษฐกิจเกิดใหม่จำนวนหนึ่งต้องการมีสิทธิ์ในการออกเสียงในเรื่องต่างๆของไอเอ็

 

มเอฟมากขึ้นเพื่อที่จะให้สอดคล้องกับจำนวนเงินสนับสนุนที่พวกตนจะมีให้กับกองทุนของไอเอ็มเอฟมากขึ้น หลายประเทศมองว่าไอเอ็มเอฟนั้นถูกครอบงำโดยสหรัฐฯและยุโรป  อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ของสหรัฐฯที่ไม่ประสงค์ออกนามเปิดเผยว่า จำนวนเงินที่ประเทศสมาชิกให้เพิ่มก้อนใหม่นี้จะไม่มีส่วนเพิ่มโควตาหรือสิทธิการออกเสียงของประเทศสมาชิกแต่อย่างใด  

 

 สำหรับสหรัฐฯนั้น ไม่ได้มีการรับปากให้เงินเพิ่มเพื่อการปล่อยกู้พิเศษของกองทุนโดยมีจุดยืนว่าวิกฤติที่เกิดขึ้นในยุโรปก็ต้องให้ยุโรปเป็นหลักในการแก้ ก่อนหน้านี้ นายทิโมธี ไกธ์เนอร์ รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ เคยกล่าวว่า สหรัฐฯจะไม่รับปากออกเงินเพิ่มให้กับไอเอ็มเอฟเนื่องจากปัญหาในยุโรปเป็นหน้าที่ของยุโรปในการแก้ไข และไอเอ็มเอฟเองก็มีความสามารถในการปล่อยกู้เพียงพอ การเพิ่มเงินเพื่อการปล่อยกู้พิเศษของไอเอ็มเอฟครั้งนี้มีขึ้นหลังจากที่มีการประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจโลกโดยพิจารณาผลกระทบที่เพิ่มขึ้นจากวิกฤติหนี้ในยุโรป ซึ่งทำให้นักเศรษฐศาสตร์ไอเอ็มเอฟประเมินว่า ในระยะไม่กี่ปีข้างหน้าประเทศต่างๆทั่วโลกอาจมีความจำเป็นต้องขอเงินกู้จากไอเอ็มเอฟถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ 

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ (วันที่ 26 เมษายน 2555)

 

 

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

มูดีส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิส เผยแนวโน้มความน่าเชื่อถือพันธบัตรสกุลเงินต่างประเทศและสกุลเงินหยวนของจีน ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ระดับ Aa3 เป็นบวก เพราะได้แรงหนุนจากภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มการเติบโตที่ดีในระยะกลาง รวมทั้งการจัดการหนี้สินของรัฐบาลซึ่งอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง

 

อย่างไรก็ตาม การคุมเข้มการคลังของรัฐบาลท้องถิ่น และการปฏิรูปครั้งใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิรูประบบการเงินนั้น ถือเป็นสิ่งจำเป็นที่จีนจะต้องนำมาใช้เพื่อหนุนเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างรวดเร็วและมีเสถียรภาพได้ตลอดระเวลา 10 ปีนี้

 

บทวิเคราะห์ของมูดีส์เกี่ยวกับจีนนั้น ระบุว่า การที่จีนมีระบบเศรษฐกิจขนาดใหญ่ช่วยให้จีนเสถียรภาพมากพอที่จะรับมือกับภาวะวิกฤต และสามารถชดเชยความอ่อนแอเชิงระบบที่เกี่ยวข้องกับรายได้ต่อหัวที่อยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ

 

มูดีส์กล่าวว่า เศรษฐกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ประกอบกับยอดขาดดุลและหนี้สินของรัฐบาลกลางที่อยู่ในระดับต่ำ ทำให้สถานะการคลังของจีนมีความแข็งแกร่งมากพอที่จะบริหารจัดการความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นกับสถานะการคลังของรัฐบาลท้องถิ่น หรือระบบธนาคาร

 

อย่างไรก็ตาม มูดีส์ระบุว่า ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในยุโรป และผลกระทบที่เกิดจากการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่เพื่อตอบสนองวิกฤตการเงินทั่วโลกนั้น กำลังส่งผลให้เศรษฐกิจจีนชะลอตัวลง โดยคาดว่า การขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ที่แท้จริงของจีนจะลดลงมาอยู่ที่ 7.5%-8.5% ในปี 2555 และปี 2556

 

ที่มา : ทันหุ้น (วันที่ 26 เมษายน 2555)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

+50 :10

ไม่ได้อยากทำให้ไขว้เขว่ แต่ท่านแน่ใจแล้วเหรอว่า + 50 ก็พอ จากตัวเลขรายงานเมื่อคืนของสหรัฐ ที่ยอดสั่งซื้อเครื่องบินพาณิชย์ ลดลงอย่างมาก น่าจะส่งเสริมราคาทองได้นะครับ แล้วเมื่อคืนนี้ นาย BB มาค่อนข้างจะใกล้ปิดตลาด เตรียมตัวไม่ค่อยทันในบรรดานักลงทุน เพราะเงื้อง้าง ถือเงินสดกันเยอะ ส่วนที่ยังอยู่ในกองทุนฯ ก็กำลังทนฝืนเพื่อให้ขึ้นสักที เพราะตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ มันต้องมีขึ้นมีลง ลงมาหลายวันแล้ว วันนี้ อาจจะขึ้น เพื่อให้บรรดานักลงทุนฯ กองทุนฯ ดีใจกันบ้างว่า " นี่ไง เย้ เย้ ขึ้นมาแล้ว " ดังนั้นอาจมีอะไรให้เห็นนะครับ +15 ถึง +20 สุดท้าย ก็แล้วแต่พิจารณา เป๋าใครเป๋ามัน 55555555555 เพราะเด็กขายของ เดา

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ไม่ได้อยากทำใหไขว้เขว่ แต่ท่านแน่ใจแล้วเหรอว่า + 50 ก็พอ จากตัวเลขรายงานเมื่อคืนของสหรัฐ ที่ยอดสั่งซื้อเครื่องบินพาณิชย์ ลดลงอย่างมาก น่าจะส่งเสริมราคาทองได้นะครับ แล้วเมื่อคืนนี้ นาย BB มาค่อนข้างจะใกล้ปิดตลาด เตรียมตัวไม่ค่อยทันในบรรดานักลงทุน เพราะเงื้อง้าง ถือเงินสดกันเยอะ อาจมีอะไรให้เห็นนะ สุดท้าย ก็แล้วแต่พิจารณา เป๋าใครเป๋ามัน 55555555555 เพราะเด็กขายของ เดา

 

ลืมสนิทที่คิดไว้ ว่าตามนั้นดูอารมณ์พวกเราก็ได้ เมื่อวานขายกันหน้าร้าน พวกไม่มีออนไลน์ก็คงต้องซื้อกลับในเช้านี้ อ้ายกันก็เช่นกัน คืนนี้ค่อยขาย น่าจะได้อีกสัก 100-150 บาท แช่ๆแบบนี้ เจ้ คงชอบบบบบบบบบ แต่ถ้าพลาดไป มีคนรอหัวเราะอยู่เพียบ อิอิ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สรุปภาวะตลาดเงินและภาวะเศรษฐกิจ – ธนาคารกสิกรไทย (26/04/2555)

ตลาดหุ้นสหรัฐฯปิดพุ่งขึ้นจากผลประกอบการของบริษัทต่างๆที่ออกมาดี ตลาดยังได้แรงหนุนจากการส่งสัญญาณว่า Fed พร้อมที่จะดำเนินมาตรการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อที่จะส่งเสริมให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจไม่หยุดชะงัก

USD/THB ปิดที่ระดับ 30.94 (รอยเตอร์ ปิดที่ 30.93) ค่าเงินบาทเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยวานนี้ โดยมีแนวโน้มแข็งค่าตามราคาของรอยเตอร์ ตามแรงซื้อสินทรัพย์เสี่ยงที่กลับเข้ามาในช่วงสั้น แต่ค่าเงินบาทยังเคลื่อนไหวไม่มากนักเนื่องจากขาดปัจจัยสนับสนุนใหม่ ๆ เข้ามาในตลาด และบาทยังแข็งค่าได้ในกรอบจำกัดเนื่องจากมีแรงซื้อดอลลาร์สหรัฐฯ จากผู้นำเข้ารออยู่ในช่วงปลายเดือน ทั้งนี้ นักลงทุนยังคงรอผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เมื่อคืนนี้

วันนี้คาดปรับตัวลงไปที่ 30.85

 

การเคลื่อนไหวของตลาดที่สำคัญ

ตลาดหุ้นไทย ดัชนีตลาดหุ้นปรับเพิ่มขึ้นสำหรับวันที่สาม แม้นักลงทุนต่างชาติจะขายหุ้นออกมามากกว่าที่ซื้อ เป็นมูลค่า THB911mn วานนี้ โดยผลกำไรของภาคธุรกิจยังคงอยู่ในแสงที่ดีโดยเฉพาะสำหรับธุรกิจผู้บริโภค สินเชื่อภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีนลดลง 54% yoy ใน Q1 ปี หลังจากที่ทางการเพิ่มมาตรการมากขึ้นและเข้มงวดขึ้นในการซื้อขายที่อยู่อาศัย สะท้อนว่ารัฐบาลมีความสำเร็จกับการดูแลราคาที่อยู่อาศัย และลดความเสี่ยงภาวะฟองสบู่ในตลาด

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดพุ่งขึ้นจากผลประกอบการของบริษัทต่างๆที่ออกมาดี โดย เฉพาะ Apple Inc. นอกจากนี้ ตลาดยังได้แรงหนุนจากการส่งสัญญาณของนาย เบ็น เบอร์นันคีว่า Fed พร้อมที่จะดำเนินมาตรการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อที่จะส่งเสริมให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจไม่หยุดชะงัก วานนี้ เฟดยังคงแนวทางการดำเนินนโยบายเดิม โดยแถลงข่าวของ FOMC แสดงให้เห็นว่าผู้กำหนดนโยบายทราบถึงการปรับตัวขึ้นของภาคต่างๆในเศรษฐกิจจากข้อมูลล่าสุด แต่ยังคงกังวลเกี่ยวกับอัตราการว่างงานที่ยังอยู่ในระดับสูงและตลาดที่อยู่อาศัยยังคงค่อนข้างซบเซา

เศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรกลับเข้าสู่ภาวะหดตัวอีกครั้งหนึ่ง โดย GDP Q1 ลดลง 0.2% qoq sa หลังจากที่หดตัว 0.3% qoq sa จุ่มใน Q4 ปีก่อน ธนาคารกลางยังคงแสดงความกังวลต่อแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ และอาจจะไม่ดำเนินมาตรการ Q.E. รอบใหม่ ในช่วงนี้ แต่การฟื้นตัวกำลังอ่อนแรงลงชัดเจน และรัฐบาลเองอาจเผชิญแรงกดดันอย่างรุนแรงจากประชาชน ไม่แตกต่างจากหลายประเทศในยูโรโซน เนื่องจากการตัดงบประมาณการคลังเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลง อย่างไรก็ดี หุ้นยุโรปวานนี้ปรับตัวขึ้น ยกเว้นดัชนี FTSE100 โดยผลกำไรภาคธุรกิจยังค่อนข้างสดใส

ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ส่งมอบเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้น 0.57 ดอลลาร์ สู่ระดับ 104.12 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล จากคำแถลงของเฟดและหู้นสหรัฐฯ

ราคาทองตลาด COMEX ส่งมอบเดือนมิ.ย.ปรับลดลง 1.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ออนซ์ สู่ระดับ 1,642.30 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ออนซ์ โดยเป็นการปรับตัวลดลงเนื่องจากยังไม่มีความชัดเจนว่าเฟดจะดำเนินมาตรการ Q.E. ช่วงไหน

 

สรุปความเคลื่อนไหวอัตราแลกเปลี่ยน

EUR/USD ปิดที่ระดับ 1.3217 ยูโรปรับแข็งค่าต่อเนื่องหลังตลาดมีความต้องการสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้นจากการประมูลพันธบัตรรัฐบาลยูโรโซนที่มีแรงซื้อเข้ามาเมื่อวานก่อน และการเปิดเผยผลประกอบการที่ออกมาดีในสหรัฐฯ ที่ช่วยหนุนแรงซื้อในสินทรัพย์เสี่ยง แม้ว่าเมื่อวานนี้การประมูลพันธบัตร 30 ปีของรัฐบาลเยอรมนีได้ยอดน้อยกว่าเป้าหมายสูงสุดที่ตั้งไว้ สำหรับเมื่อคืนนี้ ดอลลาร์สหรัฐฯ ร่วงลงเมื่อเทียบกับค่าเงินส่วนใหญ่ (รวมทั้งยูโร) หลังนายเบน เบอร์นันเก้ กล่าวว่า เขาเตรียมที่จะใช้งบดุลบัญชีของเฟดเพื่อกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจหากมีความจำเป็น แม้ว่าดอลลาร์สหรัฐฯ จะปรับตัวขึ้นในช่วงแรกจากการปรับประมาณการณ์ทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นของเฟด

USD/JPY ปิดที่ระดับ 81.34 ทรงตัว โดยตลาดคาดการณ์ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) น่าจะมีการผ่อนคลายทางนโยบายในการประชุมวันศุกร์นี้

GBP/USD ปิดแข็งค่าที่ระดับ 1.6163 โดยในช่วงแรกปอนด์ปรับอ่อนค่าจากแรงกดดันหลังอังกฤษรายงานตัวเลขการชะลอตัวของ GDP ในไตรมาส 1 ที่ผ่านมา ซึ่งสวนทางกับการคาดการณ์ของตลาด โดย GDP ได้ปรับลดลง 0.2% จากไตรมาสก่อนหน้าเนื่องจากการชะลอตัวในธุรกิจก่อสร้าง อย่างไรก็ดี ปอนด์ฟื้นตัวหลังการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ ไปปิดแข็งค่า

สกุลเงินเอเชีย ส่วนใหญ่ฟื้นตัว หลังการประมูลพันธบัตรเนเธอร์แลนด์เมื่อวานก่อนได้รับการตอบรับหนาแน่นและการประกาศผลประกอบการที่แข็งแกร่งของบริษัทในสหรัฐฯ แต่นักลงทุนยังคงระมัดระวังก่อนทราบผลการประชุมนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) แม้ว่าจะมีความต้องการสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้นเมื่อวานนี้ ส่งผลให้สกุลเงินเอเชียปรับแข็งค่าอย่างยากลำบาก สำหรับอินเดีย ค่าเงินรูปีได้อ่อนค่า หลัง S&P ปรับลดแนวโน้มอันดับความน่าเชื่อถือของอินเดียจากมีเสถียรภาพลงสู่เชิงลบ และยังระบุว่ามีโอกาส 1 ใน 3 ที่อินเดียจะถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือถ้าหากสภาวะภายนอกยังคงย่ำแย่ลง

USD/THB ปิดที่ระดับ 30.94 (รอยเตอร์ ปิดที่ 30.93) ค่าเงินบาทเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยวานนี้ โดยมีแนวโน้มแข็งค่าตามราคาของรอยเตอร์ ตามแรงซื้อสินทรัพย์เสี่ยงที่กลับเข้ามาในช่วงสั้น แต่ค่าเงินบาทยังเคลื่อนไหวไม่มากนักเนื่องจากขาดปัจจัยสนับสนุนใหม่ ๆ เข้ามาในตลาด และบาทยังแข็งค่าได้ในกรอบจำกัดเนื่องจากมีแรงซื้อดอลลาร์สหรัฐฯ จากผู้นำเข้ารออยู่ในช่วงปลายเดือน ทั้งนี้ นักลงทุนยังคงรอผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เมื่อคืนนี้

 

หมายเหตุ: อัตราแลกเปลี่ยนที่ปรากฏอ้างอิงจาก Reuters ซึ่งอาจไม่ใช่ราคาทำการจริงในตลาด

 

ที่มา : ทันหุ้น (วันที่ 26 เมษายน 2555)

 

 

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...