ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

**ดัชนีเช้านี้แกว่งลงในกรอบแคบ กังวลศก.โลก-ยังไร้ปัจจัยใหม่หนุน

 

 

นายอภิชาติ ผู้บรรเจิดกุล ผู้อำนวยการสายงานวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ สำนักวิจัยทิสโก้ กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้คาดว่าจะแกว่งตัวลงในกรอบแคบ ในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคเอเชียที่เช้านี้ส่วนใหญ่จะอยู่ในแดนลบประมาณ 0.5-0.7% เนื่องจากนักลงทุนมีความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลก และตลาดฯยังไม่ได้มีปัจจัยใหม่อะไรเข้ามาด้วย

โดยวันนี้ให้จับตาดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเยอรมนีเดือนก.ย.จาก Ifo ที่จะประกาศช่วงบ่าย ซึ่งคาดว่าไม่น่าจะออกมาดี และหากเป็นจริงก็คงจะเป็นตัวตอกย้ำความกังวลเศรษฐกิจโลก

 

นอกจากนี้ ขณะนี้กำลังจับตาดูท่าทีของเยอรมัน และฝรั่งเศส ว่าจะมีทางการแก้ไขปัญหาหนี้ในยุโรปอย่างไร เนื่องจากสเปน และอิตาลีเริ่มลังเลที่จะขอรับความช่วยเหลือ ภายหลังจากที่ยังตกลงในตัวเงื่อนไขไม่ได้

พร้อมให้แนวรับ 1,280 จุด แนวต้าน 1,290 จุด

 

ตลาดหุ้นฮ่องกง:ฮั่งเส็งเช้าลบ 0.5% นักลงทุนขายทำกำไรก่อนสิ้นไตรมาส 3

 

 

ตลาดหุ้นฮ่องกงปรับตัวลงในวันนี้ หลังจากดีดตัวขึ้น 3 สัปดาห์ติดต่อกัน ขณะที่นักลงทุนขายทำกำไรออกมาบางส่วนก่อนสิ้นไตรมาส และจากความวิตก เกี่ยวกับการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจจีน

 

ณ เวลา 09.05 น.ตามเวลาไทย ดัชนีฮั่งเส็งลบ 105.26 จุด หรือ 0.5% สู่ระดับ 20,629.68

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

USD/THB - US Dollar Thai Baht

30.925 +0.117    (+0.38%)

  2:36:55 GMT - Real-time Data. ( Disclaimer )

Type: Currency

Group: Exotic

Base: US Dollar

Second: Thai Baht

Prev. Close: 30.808 Bid/Ask: 30.850 / 31.000 Day's Range: 30.831 - 30.938

 

ราคาต่างจากหน้าเวป 10 สตางค์ คิดเป็นราคาทอง 100 บาท ที่ต่างจาก Fair หน้าเวป อาแปะ เป๊ะครับวันนี้

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

eurusd_st_20120923_20120923174704.gif

 

กราฟฯ มีหลายมุมมอง มีหลายสำนักฯที่มอง โดยนักเทคนิคต่างๆ รูปที่โพสต์ก่อนหน้านี้ กล่าวว่า " ลง " แต่รูปกราฟ ในโพสต์นี้ กล่าวว่า " ขึ้น " ยูโรขึ้นหรือลง ย่อมมีผลกระทบเชื่อมโยงไปยังราคาทอง อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะเป็นต้นเรื่อง ของค่าเงินดอลล์สหรัฐ ที่เป็นตลาดใหญ่ของทองคำ เพี้ยนไปตาม จริงหรือเปล่า

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

A Little Risk Off Going Through As Gold Weakens $12.00

Mon, Sep 24 2012, 01:32 GMT | Forex Live

 

By: Ed Thomas

 

The dollar and the Yen are at session highs. USD/YEN testing good support level at 78.00. EUR/USD looking for support at 1.2930/40 with AUD/USD finding some interest just above 1.0400  

 

Forex: The US Dollar dominates in early Asia

Mon, Sep 24 2012, 01:28 GMT | FXstreet.com

 

FXstreet.com (Barcelona) - The US Dollar is pressing into higher ground against riskier assets, with strategies centered around pricing out OMT-related gains gathering steam. The fact that over the weekend there was lack of clarity on the timing of a Spain baliout request, has worsened the mood from traders. If Spain delays, market pressures will only intensify.

 

 

ตลาดซื้อขายดอลลาร์/เยน:ยูโรอ่อนค่าช่วงเช้านี้

 

ยูโรอ่อนค่าลงในช่วงเช้านี้ที่ตลาดเอเชีย หลังจากที่ร่วงลงเป็นครั้งแรกใน รอบ 5 สัปดาห์ในสัปดาห์ที่แล้ว หลังจากข้อมูลเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ได้ตอกย้ำความท้าทาย ต่างๆที่ผู้กำหนดนโยบายของยูโรโซนกำลังเผชิญอยู่

 

ตลาดแทบไม่มีปฏิกริยาต่อรายงานจากนิตยสาร Der Spiegel ของเยอรมนี ที่ว่า สมาชิกยูโรโซนกำลังเตรียมการที่จะอนุญาติให้กองทุนกลไกรักษาเสถียรภาพยุโรป (ESM) เพิ่มทุนได้ ดังนั้น กองทุนจะสามารถมีขนาดกองทุนที่มากกว่า 2 ล้านล้านยูโร และช่วยเหลือประเทศขนาดใหญ่ได้ ถ้าจำเป็น

 

ถ้ารายงานดังกล่าวเป็นความจริง นั่นก็อาจจะเป็นปัจจัยบวกต่อยูโร ซึ่งอยู่ที่ 1.2975 ดอลลาร์ ใกล้ระดับต่ำสุดที่ 1.2920 ดอลลาร์ในสัปดาห์ที่แล้ว

คาดว่ายูโรมีแนวต้านที่ 1.3173 ดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 4 เดือน ที่เคยทำไว้ในสัปดาห์ที่แล้ว และแนวรับเส้นแรกอยู่ที่ 1.2905 ดอลลาร์

 

ดัชนีดอลลาร์รักษาแรงบวกในสัปดาห์ที่แล้วไว้ได้โดยส่วนใหญ่ โดยอยู่ที่ 79.397 หลังจากฟื้นตัวขึ้นจากระดับต่ำสุดในรอบ 6 เดือนที่ 78.601 ที่ทำไว้เมื่อวันที่ 14 ก.ย.

 

"ยูโรอาจอ่อนค่าลงอีก ขณะที่คาดว่าภาวะเศรษฐกิจจะตอกย้ำแนวโน้มที่ย่ำแย่ สำหรับยูโรโซน" นายเดวิด ซอง นักวิเคราะห์สกุลเงินจาก DailyFX กล่าว

 

"ขณะที่เขตยูโรกำลังเผชิญกับภาวะถดถอยที่รุนแรงขึ้น นายมาริโอ ดรากี ประ ธานธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) อาจจะเผชิญกับแรงกดดันมากขึ้นให้ขยายนโยบายอีก"

 

เทรดเดอร์กล่าวว่า ตลาดยังคงรอดูว่า สเปนจะขอความช่วยเหลือและใช้โครง การซื้อพันธบัตรของอีซีบีหรือไม่

สเปนเผชิญกับแรงกดดันเพิ่มเติมให้ขอความช่วยเหลือเมื่อคาดว่ามูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิสจะทบทวนอันดับความน่าเชื่อถือของสเปนในสัปดาห์นี้ และภาระในการรีไฟแนนซ์หนี้ 2.75 หมื่นล้านยูโรในปลายเดือนหน้า โดยมูดี้ส์ระบุว่าอาจลดอันดับความน่าเชื่อถือพันธบัตร ของสเปนลงสู่สถานะขยะ แต่มูดี้ส์ก็จะขานรับการขอความช่วยเหลือของสเปน

 

ดอลลาร์และยูโรทรงตัวเมื่อเทียบกับเยนที่ 78.13 เยน และ 101.32 เยนตาม ลำดับ หลังจากร่วงลงจากระดับสูงสุดในสัปดาห์ที่แล้ว

ดอลลาร์ออสเตรเลียอยู่ที่ 1.0437 ดอลลาร์ ใกล้ระดับต่ำสุดของสัปดาห์ที่แล้วที่ 1.0367 ดอลลาร์มากกว่าระดับสูงสุดที่ 1.0625 ดอลลาร์

 

**ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลง เหตุนลท.หวั่นเจรจากู้วิกฤตยุโรปถึงทางตัน

 

ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลงเช้าวันนี้ เนื่องจากตลาดเกิดความวิตกกังวลว่าการเจรจาระหว่างผู้นำยุโรปเพื่อกู้วิกฤตหนี้ในภูมิภาคกำลังอยู่ในภาวะชะงักงัน

 

ดัชนี MSCI Asia Pacific Index ลดลง 0.2% ที่ระดับ 123.24 จุด ณ เวลา 9.46 น.ตามเวลาโตเกียว

ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 9,071.32 จุด ลดลง 38.68 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 20,611.10 จุด ลดลง 123.84 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 7,760.33 จุด เพิ่มขึ้น 5.74 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 1,996.42 จุด ลดลง 5.95 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,071.58 จุด ลดลง 6.65 จุด, ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์เปิดวันนี้ที่ 5,294.01 จุด เพิ่มขึ้น 1.95 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,614.35 จุด ลดลง 9.35 จุด และดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียเปิดวันนี้ที่ 4,404.20 จุด ลดลง 4.10 จุด

หุ้นแคนนอน อิงค์ ร่วงลง 3%, หุ้นริโอ ทินโต กรุ๊ป ลดลง 1.5% และหุ้นนิวเครสท์ ไมนิ่ง ติดลบ 2%

 

นักลงทุนเกิดความกังวลเรื่องวิกฤตหนี้ยุโรป หลังจากที่นายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคล ของเยอรมนี และประธานาธิบดีฟรองซัวส์ ออลลองด์ ของฝรั่งเศส ได้หารือร่วมกันในประเด็นการกำกับดูแลภาคการธนาคารร่วมกันเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ยังมีความเห็นแตกต่างกันอย่างชัดเจนเกี่ยวกับสหภาพการธนาคาร

 

ทั้งนี้ เยอรมนีและฝรั่งเศสเห็นพ้องกันเกี่ยวกับบทบาทของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ในฐานะผู้กำกับดูแลด้านการธนาคารโดยรวม แต่มีความเห็นต่างกันเกี่ยวกับขอบเขตและความรวดเร็วของการกำกับดูแลดังกล่าว โดยฝรั่งเศสต้องการให้อีซีบีกำกับดูแลธนาคารทั้ง 6,000 แห่งในยูโรโซน ขณะที่เยอรมนีต้องการให้มีการกำกับดูแลเฉพาะธนาคารรายใหญ่ๆที่มีผลกระทบต่อยูโรโซนโดยรวม

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ยูโรโซนมีแผนเพิ่มขนาดเงินกองทุนช่วยเหลือชาติสมาชิกที่ประสบปัญหาวิกฤตหนี้สินเป็น 2 ล้านล้านยูโร (24/09/2555)

นิตยสารรายสัปดาห์เดอ สปีเกลของเยอรมนี รายงานเมื่อวานนี้ว่าประเทศสมาชิกยูโรโซนมีแผนที่จะเพิ่มขนาดของกองทุนกลไกเพื่อความมั่นคงของยุโรป ซึ่งมีเป้าหมายในการให้ความช่วยเหลือทางการเงินต่อประเทศในยูโรโซนที่ประสบปัญหาวิกฤตหนี้สินเป็น 2 ล้านล้านยูโร หรือประมาณ 2.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเตรียมพร้อมในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินในยูโรโซน

ที่มา : สำนักข่าวแห่งชาติ (วันที่ 24 กันยายน 2555)

 

เผยทางการสเปนต้องอัดฉีดเม็ดเงินอีกมากกว่า 100,000 ล้านยูโรอุ้มภาคการเงินประเทศ (24/09/2555)

ทางการสเปนเผยผลการตรวจสอบความมั่นคงแข็งแกร่งของสถาบันการเงิน (stress test) ซึ่งคาดว่า จะมีการเผยแพร่สู่สาธารณชนอย่างเป็นทางการในช่วงปลายสัปดาห์นี้ ระบุ ภาคการเงินของประเทศ อาจจำเป็นต้องได้รับการอัดฉีดเม็ดเงินอีกมากกว่า 100,000 ล้านยูโร (ราว 4 ล้านล้านบาท) เนื่องจากต้องแบกรับ “หนี้เน่า” เป็นจำนวนมากและจำเป็นต้องดำเนินการเพิ่มทุนและปรับโครงสร้างองค์กรเป็นการด่วน มิฉะนั้นอาจต้องปิดตัวลง

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ (วันที่ 24 กันยายน 2555)

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รองผู้ว่าการแบงก์ชาติ ระบุ แรงกดดัน QE3 น้อยกว่าคาด (24/09/2555)

รองผู้ว่าการแบงก์ชาติ  ระบุ แรงกดดัน QE3 น้อยกว่าคาด ดันบาทแข็งขึ้นเพียง 0.5% เท่านั้น  

       

 

นางสุชาดา  กิระกุล รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือแบงก์ชาติ  บอกว่า จากการประเมินแรงกดดันจากมาตรการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบ หรือQE3  ของธนาคารกลางสหรัฐ   ซึ่งเริ่มดำเนินการไปเมื่อวันที่ 13 กันยายนที่ผ่านมานั้น  ถือว่าแรงกดดันส่วนนี้มีน้อยกว่าที่คาดเอาไว้ และยังไม่พบการเก็งกำไรในสินทรัพย์ต่างๆ ที่มากเกินไป   แต่ก็ยังต้องติดตามดูอย่างใกล้ชิด เพราะยังเป็นเพียงช่วงเริ่มต้นของการใช้มาตรการดังกล่าวเท่านั้น

 

โดยหลังจากที่เฟดประกาศใช้คิวอี3 จนถึงวันที่ 19 กันยายนที่ผ่านมา  ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเพียง 0.5%เท่านั้น  ซึ่งเป็นระดับที่ไม่สูงมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาค

 

ทั้งนี้สาเหตุที่แรงกดดันจากมาตรการคิวอี3 ต่อค่าเงินบาทไทย ไม่รุนแรงเหมือนคิวอี1และ2นั้น เป็นเพราะ ปัจจุบัน เศรษฐกิจไทยมีความแข็งแกร่งไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกมากนัก

 

ที่มา : money channel (วันที่ 24 กันยายน 2555)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เงินบาทเปิด 30.87/89 คาดอ่อนค่า นลท.กังวลมูดี้ส์ลดเครดิตพันธบัตรสเปน (24/09/2555)

นักบริหารเงินจากธนาคารซีไอเอ็มบีไทย เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 30.87/89 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าลงจากช่วงเย็นวันศุกร์ที่ปิดตลาดที่ระดับ 30.80/82 บาท/ดอลลาร์

 

แนวโน้มเงินบาทวันนี้มีทิศทางที่อ่อนค่า หลังจากที่เงินยูโรได้ปรับตัวอ่อนค่าลงจากเมื่อเย็นวันศุกร์เช่นกัน โดยช่วงนี้นักลงทุนกังวลว่ามูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส จะปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรสเปนลงสู่ระดับขยะหรือไม่ ขณะเดียวกันนักลงทุนยังติดตามต่อว่ากองทุนกลไกรักษาเสถียรภาพยุโรป(ESM) จะมีการเพิ่มเติมงบประมาณเข้าไปอีกหรือไม่

 

"บาทวันนี้อาจจะอ่อนค่าลง แต่ก็คงมี Limit ไม่น่าจะเกิน 30.90 บาท/ดอลลาร์ ตอนนี้นักลงทุนรอดูว่ามูดี้ส์จะปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรสเปนลงสู่ระดับขยะหรือไม่ ส่วนจะประกาศเมื่อไหร่ยังไม่ชัดเจน แต่คน concern เรื่องนี้เป็นสำคัญ เพราะจะทำให้ยูโรร่วง" นักบริหารเงิน ระบุ

 

ส่วนความเคลื่อนไหวของค่าเงินสกุลหลักต่างประเทศช่วงเปิดตลาดเช้านี้ เงินเยนอยู่ที่ระดับ 78.03/09 เยน/ดอลลาร์ ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.2943/2944 ดอลลาร์/ยูโร

 

นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 30.80-30.90 บาท/ดอลลาร์

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 24 กันยายน 255)

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คิวอี3พลิกผันดันน้ำมันไม่ขึ้นศก.โลกยังแย่-ซัพพลายยังล้น (24/09/2555)

พลิกผันตรงกันข้ามกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ทั่วโลกส่วนหนึ่งซึ่งเพ่งเล็งเก็งกันไว้ว่า ราคาสินค้าโภคภัณฑ์อย่างน้ำมันจะปรับตัวพุ่งสูงให้เห็นกันอีกครั้ง หลังจากที่บรรดาธนาคารกลางของประเทศเศรษฐกิจหลักๆ ของโลก พร้อมเพรียงพร้อมใจงัดหลากหลายมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาใช้เมื่อช่วงต้นเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา

 

เพราะนอกจากตัวเลขการซื้อขายน้ำมันดิบในตลาดโลกจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจนน่าจับตามองอยู่เพียงแค่วันสองวันแล้ว วันที่สามหลังการประกาศใช้นโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบใหม่ (คิวอี 3) ราคาน้ำมันดิบเบรนต์ก็ปรับตัวลดลงถึง 4 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล (ราว 120 บาท) หลังจากที่เปิดตลาดไปได้เพียงแค่ 4 นาทีเท่านั้น ขณะที่อีกสองวันถัดมา ราคาน้ำมันดิบเบรนต์ร่วงไปแล้วอีก 5.60 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล (ราว 168 บาท)

 

นับเป็นการปรับตัวร่วงลงอ่อนค่าลงต่อเนื่องอย่างชัดเจน ชนิดที่นักวิเคราะห์ส่วนหนึ่งต้องตกอยู่ในอาการตะลึงงัน จนต้องรีบควานหาคำอธิบายเป็นการใหญ่

 

ทั้งนี้ ตามทฤษฎีของหลักเศรษฐศาสตร์แล้ว หากมีปริมาณเงินจำนวนมหาศาลถาโถมเข้าสู่ระบบพร้อมๆ กัน ย่อมส่งผลให้มูลค่าของบรรดาสินทรัพย์ที่มีค่าในตนเองอย่างน้ำมันหรือทองคำปรับตัวเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นภูมิต้านทานเงินเฟ้อ

 

แน่นอนว่า เมื่อยึดตามหลักทฤษฎีข้างต้น การที่ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ประกาศใช้แผนทุ่มซื้อพันธบัตรไม่อั้น เพื่อช่วยเหลือรัฐบาลในกลุ่มผู้ใช้สกุลเงินยูโร การที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประกาศใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงนโยบายรอบใหม่ด้วยวงเงิน 4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐต่อเดือน (ราว 1.2 ล้านล้านบาท) จนกว่าเศรษฐกิจประเทศจะฟื้นตัว และการที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ประกาศใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงิน โดยการเพิ่มขนาดโครงการซื้อสินทรัพย์เป็น 80 ล้านล้านเยน จากเดิม 70 ล้านล้านเยน (ราว 30.4 ล้านล้านบาท) และยืดโครงการออกไปอีก 6 เดือน จนถึงสิ้นปี 2556 จึงย่อมทำให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน

 

อย่างไรก็ตาม แม้ราคาน้ำมันจะปรับตัวเพิ่มขึ้นทั่วหน้าขานรับข่าวดีดังกล่าว จนกระทั่งธนาคารสหรัฐ เมอร์ริล ลินช์ ถึงกับคาดการณ์อย่างมั่นใจว่า คิวอี 3 ครั้งนี้จะทำให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดถีบตัวเพิ่มสูงขึ้น 14% ภายในปี 2556

 

แต่จนแล้วจนรอด การซื้อขายน้ำมันตลอดช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา กลับมีแต่การเทขายโดยไม่รู้สาเหตุแน่ชัดออกมาอย่างต่อเนื่อง จนราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ ทั้งๆ ที่เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ควรจะได้รับผลกระทบมากที่สุดจากมาตรการคิวอี 3 ตามทัศนะของนักวิเคราะห์หลายคน รวมถึง ฟรานซิสโก บลานช์ หัวหน้าฝ่ายวิจัยตลาดโภคภัณฑ์และตลาดอนุพันธ์โลกจากธนาคารเมอร์ริล ลินช์ ระบุ

 

ทั้งนี้ สำหรับสาเหตุประการแรกที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ลงความเห็นว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการเป็นตัวการสำคัญที่ส่งผลให้ราคาน้ำมันไม่กระเตื้องไปตามการคาดการณ์ก็คือข้อเสนอจากซาอุดีอาระเบีย ประเทศที่ได้ชื่อว่าเป็นธนาคารน้ำมันของโลก ซึ่งกล่าวชัดเจนว่าจะผลิตน้ำมันเพิ่มเติมป้อนเข้าสู่ตลาดเพื่อบรรเทาราคาน้ำมันให้อยู่ในระดับประมาณไม่เกิน 100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล (ราว 3,000 บาท) และเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้ารายใหญ่

 

ท่าทีดังกล่าวของซาอุดีอาระเบียสืบเนื่องมาจากความกลัวที่กัดกร่อนมาอย่างยาวนาน ว่าปริมาณความต้องการน้ำมันในตลาดโลกจะปรับตัวลดลงไปอีกเมื่อน้ำมันมีราคาแพงขึ้น จากเดิมในปัจจุบันที่สถานการณ์เศรษฐกิจที่ซบเซาได้ส่งผลต่อปริมาณความต้องการน้ำมันในตลาดไปเรียบร้อยแล้ว โดยหนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทมส์ รายงานว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงอย่างเลวร้ายของสหรัฐในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันลดลงถึงวันละ 2 ล้านบาร์เรลเลยทีเดียว

 

ดังนั้น ประเทศผู้ค้าน้ำมันรายใหญ่อย่างซาอุดีอาระเบีย จึงต้องงัดหลากหลายมาตรการขึ้นมาใช้เพื่อรักษาปริมาณความต้องการน้ำมันในตลาดในปัจจุบันไว้

 

ขณะที่เหตุผลประการต่อมา สะท้อนจากปัจจัยประการแรก คือ การเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวอย่างมากได้ส่งผลต่อปริมาณการบริโภคในตลาด ทำให้เกิดความไม่เชื่อมั่นว่าตลาดจะเติบโตได้ทันกับผลพวงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่รัฐบาลทุ่มลงไป

 

พูดให้เข้าใจง่ายขึ้นก็คือว่า นักลงทุนและนักวิเคราะห์ชั้นแนวหน้าต่างเห็นตรงกันว่า นโยบายของภาครัฐทั่วโลกอาจไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโตได้ทันกับเวลาที่กลุ่มผู้ผลิตสินค้าโภคภัณฑ์กำลังขยายผลผลิตออกมา โดยมีดัชนีจีเอสซีไอของสินค้ากลุ่มโภคภัณฑ์ 24 ชนิดเป็นหลักฐานยืนยัน

 

ทั้งนี้ ความเคลื่อนไหวของดัชนีข้างต้นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ปิดตลาดสิ้นปีที่ระดับ 667 ซึ่งถือว่าเปลี่ยนแปลงน้อยมาก โดยดัชนีดังกล่าวปรับตัวลงมาแล้ว 2% นับตั้งแต่อีซีบีประกาศใช้นโยบายช่วยซื้อพันธบัตรเมื่อวันที่ 6 ก.ย. และลดลงถึง 4% ตั้งแต่ที่เฟดประกาศใช้คิวอี 3เมื่อวันที่ 13 ก.ย.

 

ทิศทางดัชนีจีเอสซีไอข้างต้นสวนทางกับเมื่อช่วงปลายปี 2551 ถึงกลางปี 2554 ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่เฟดประกาศใช้มาตรการคิวอี 2 ด้วยวงเงิน 2.3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 70ล้านล้านบาท) โดยดัชนีจีเอสซีไอพุ่งทะยานขึ้นถึง 92%

 

เรียกได้ว่า สถานการณ์เศรษฐกิจโลกในขณะนี้มีแววซบเซาหนักและนาน ยิ่งเมื่อบริษัทวิจัยข้อมูลการเงินมาร์กิต เปิดเผยตัวเลขดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (พีเอ็มไอ) เดือน ก.ย. ของ 17 ชาติสมาชิกกลุ่มยูโรโซน ว่าปรับตัวลดลงเหลือ 45.9 จุด จาก 46.3 จุด ในเดือนก่อนหน้า ก็ยิ่งทำให้เห็นชัดเจนว่าสภาพเศรษฐกิจเฉพาะภูมิภาคยุโรป ซึ่งถือเป็นหนึ่งในตลาดสำคัญทางเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก มีแนวโน้มจะเข้าสู่ภาวะถดถอยรุนแรงมากยิ่งขึ้น

 

กาย วูล์ฟ นักกลยุทธ์จากบริษัทค้าหลักทรัพย์ มาเร็กซ์ สเปกตรอน กรุ๊ป สรุปไว้สั้นๆ ว่า ราคาน้ำมันในปีนี้อยู่ระหว่างปัจจัยด้านปริมาณสำรองที่ยังคงมีอย่างเหลือเฟือเพียงพอ กับแรงผลักจากนโยบายคิวอี และความหวังว่าเศรษฐกิจน่าจะดีขึ้นจากมาตรการกระตุ้น ส่งผลให้ความต้องการและราคาน้ำมันในปีนี้มีสิทธิเปลี่ยนแปลงชนิดที่คาดการณ์กะเกณฑ์ไม่ค่อยได้

 

ความกลัวและความไม่เชื่อมั่นที่เกิดขึ้นส่งผลให้แม้จะมีการทุ่มมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากบรรดาธนาคารกลางออกมา เช่น มาตรการคิวอี 3 ทว่ากระแสตอบรับจากตลาดก็เป็นไปในทิศทางที่ไม่ค่อยจะสดใสสักเท่าไรนัก

 

หรืออาจกล่าวได้ว่า คิวอี 3 ก็ดี หรือการทุ่มซื้อพันธบัตรก็ดี ก็อาจไม่ช่วยเยียวยาฉุดรั้งเศรษฐกิจ ณ ปัจจุบันนี้ได้

 

สอดคล้องกับความเห็นของ ริก เดอเวอเรลล์ หัวหน้าวิจัยตลาดโภคภัณฑ์จากเครดิต สวิส ที่เขียนผ่านไฟแนนเชียลไทมส์ ว่าสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันแตกต่างจากเมื่อปี 2552 ที่สภาพเศรษฐกิจและระบบการเงินในขณะนั้นมีเสถียรภาพมากกว่ามาก

 

ดังนั้น การหวังให้คิวอี 3 ให้ผลกระตุ้นเศรษฐกิจเหมือนที่เคยทำมาแล้วเมื่อ 2 ครั้งที่ผ่านมาจึงเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก

 

และการหวังพึ่งแต่คิวอี 3 หรือนโยบายจากบรรดาธนาคารกลางทั้งหลายแต่เพียงอย่างเดียว ก็ไม่ช่วยให้เศรษฐกิจกระเตื้องขึ้นมาเช่นเดียวกัน

ที่มา : หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ (วันที่ 24 กันยายน 255)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ประสารเขียนจม.ถึง'อจ.ป๋วย'ชูAEC Connectivity (24/09/2555) ที่มา สุทธิชัยหยุ่น

ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ได้เขียนจดหมายถึง"อาจารย์ป๋วย" ฉบับที่ 3 เกี่ยวกับบทบาทของธนาคารกลางที่ต้องให้การสนับสนุนการค้า การลงทุน ในระดับภูมิภาค โดยแสดงความมั่นใจสานต่อแนวคิดของอาจารย์ป๋วยในยุทธศาสตร์ AEC Connectivity พร้อมหนุนใช้เงินสกุลหยวน-บาททำธุรกรรมระหว่างไทยและจีนเชื่อมโยงการค้าระหว่างภูมิภาค..

 

เรียนอาจารย์ป๋วยที่เคารพ

 

จดหมายฉบับนี้เป็นฉบับที่ 3 ที่ผมได้เขียนถึงอาจารย์ ใน 2 ฉบับที่ผ่านมานั้นผมได้เรียนให้อาจารย์ได้ทราบถึงเหตุการณ์ในประเทศ ในฉบับนี้ผมจะขอเรียนถึงเรื่องระหว่างประเทศโดยเฉพาะเรื่องสร้างความเชื่อมโยงระหว่างเศรษฐกิจเอเชียที่อาจารย์ได้มีส่วนวางรากฐานสำคัญไว้และกำลังมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยมากขึ้นเรื่อยๆ

 

ในระยะ 40 กว่าปีมานี้ขั้วอำนาจของระบบเศรษฐกิจโลกได้เปลี่ยนไป สัดส่วนของจีนในระบบเศรษฐกิจโลกได้ไต่ขึ้นมาอยู่ใกล้เคียงกับของเศรษฐกิจสหรัฐฯและของสหภาพยุโรปคือที่ประมาณร้อยละ 15-19 ซึ่งสะท้อนว่าจีนได้กลายมาเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจคู่ขนานไปกับมหาอำนาจตะวันตกแล้ว ซึ่งจะส่งผลให้การค้าการลงทุนระหว่างประเทศของกลุ่มเอเชียด้วยกันเพิ่มมากขึ้น

 

ระบบการเงินระหว่างประเทศกลับยังไม่สามารถเปลี่ยนแปลงตามได้ทัน เงินดอลลาร์สหรัฐ ยังคงมีสัดส่วนเป็นร้อยละ 60-70 ในฐานะตัวกลางในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ แม้สัดส่วนของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในเศรษฐกิจโลกจะได้ลดลงมากแล้ว นอกจากนั้นทั้งสหรัฐฯและกลุ่มยูโรต่างพยายามแก้วิกฤตเศรษฐกิจของตนด้วยการพิมพ์เงินของตนออกมาปริมาณมหาศาลซึ่งส่งผลทำให้ค่าเงินของประเทศเหล่านั้นอ่อนลง เกิดเงินทุนไหลเข้ามายังประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่โดยเฉพาะในเอเชียเป็นจำนวนมาก และเพิ่มความบิดเบือนในระบบการเงินโลกอย่างรุนแรง

 

ในสถานการณ์เช่นนี้ ประเทศไทยจำเป็นต้องหาทางออกให้ได้โดยเร็ว โดยเฉพาะที่ปัจจุบันการส่งออกเพิ่มเป็นกว่าร้อยละ 70 ของจีดีพีไทย การพึ่งพาการส่งออกไปยังประเทศตะวันตกด้วยค่าแรงที่ต่ำและอัตราแลกเปลี่ยนที่อ่อนอย่างที่ผ่านมาจะเป็นไปได้ยาก ประเทศไทยจำเป็นต้องปรับโครงสร้างเศรษฐกิจภายในเพื่อมุ่งไปสู่กิจกรรมที่มูลค่าเพิ่มสูงและพัฒนาการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจกับกลุ่มเอเชียให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

ผมดีใจที่เห็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 ปี 2555-2559 ระบุให้การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคหรือที่ปัจจุบันเรียกกันว่า Connectivity เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศของไทยด้วย ซึ่งทางแบงก์ชาติเองเราก็เล็งเห็นถึงความจำเป็นในการสนับสนุนยุทธศาสตร์ Connectivity และได้ทำการวิเคราะห์และวางแผนผลักดันนโยบายด้าน Connectivity เพื่อสนับสนุนการเชื่อมโยงกับกลุ่มเอเชียและการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของไทย ผ่านแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี (2555-2559) ของแบงก์ชาติเองใน 3 ระดับคือทั้งระดับสากล ระดับภูมิภาค และระดับอนุภูมิภาค

 

ในระดับสากล ธปท. จะสนับสนุนยุทธศาสตร์ Connectivity ผ่อนคลายกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวกับเงินทุนเคลื่อนย้ายเพื่อสนับสนุนให้ภาคเอกชนไทยไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้นทั้งในรูปของการลงทุนโดยตรงและในรูปของหลักทรัพย์ ซึ่งจะช่วยความสามารถในการเข้าถึงตลาด วัตถุดิบ เทคโนโลยี และแรงงาน ของภาคเอกชนไทย ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพของการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ และเพิ่มสมดุลแก่ฐานะการลงทุนสุทธิของไทย

 

แม้ว่า ธปท. จะได้ทยอยผ่อนคลายกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับเงินทุนเคลื่อนย้ายเพื่อสนับสนุนการไปลงทุนในต่างประเทศของไทยมาระยะหนึ่งแล้ว แต่ในปัจจุบันการลงทุนในต่างประเทศของไทยส่วนใหญ่ยังทำโดยภาครัฐ ขณะที่การไปลงทุนในต่างประเทศของภาคเอกชนส่วนใหญ่ก็ยังอยู่ในรูปของเงินฝากและตราสารหนี้ ซึ่งสะท้อนว่าเศรษฐกิจไทยยังมิได้ประโยชน์จากการกระจายความเสี่ยงและผลตอบแทนจากการลงทุนในต่างประเทศเท่าที่ควร

 

ธปท.ได้ดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนในลักษณะที่ยืดหยุ่นขึ้นเพื่อช่วยกระตุ้นให้ระบบเศรษฐกิจเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน สร้างแรงจูงใจส่งเสริมให้ภาคธุรกิจปรับโครงสร้างและปรับกลยุทธ์ด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผลิตภัณฑ์ การลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และการลดการพึ่งพาการส่งออกที่มุ่งเน้นแต่การแข่งขันด้วยราคาเป็นหลัก นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนที่ยืดหยุ่นขึ้นนี้จะช่วยลดต้นทุนแฝงในระบบเศรษฐกิจ ทั้งต้นทุนของการนำเข้าพลังงานและสินค้าทุน ตลอดจนต้นทุนในการแทรกแซงค่าเงินซึ่งมีผลต่อฐานะการคลังของประเทศจากการที่ ธปท. ขาดรายได้นำส่งกระทรวงการคลังด้วย

 

ในส่วนของระบบสถาบันการเงิน ได้ร่วมผลักดันการปฏิรูปกฎเกณฑ์การกำกับดูแลสถาบันการเงินในระดับสากลเช่นบาเซิล 3 อย่างต่อเนื่อง และจะมุ่งพัฒนาระบบสถาบันการเงินไทยเพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้บริการทั้งรายใหญ่และรายย่อยในเศรษฐกิจโลกที่เชื่อมโยงมากขึ้นนี้ให้เป็นไปได้อย่างสะดวกและมีต้นทุนที่เหมาะสมผ่านการวางแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเพิ่มเติมจากแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินระยะที่ 2

 

ในระดับภูมิภาคเอเชีย ธปท.จะผลักดันนโยบาย Connectivity ด้วยการพัฒนาประสิทธิภาพการเชื่อมโยงการค้าการลงทุนกับจีน และสนับสนุนการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในกรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC

 

ในส่วนของจีนซึ่งปัจจุบันเป็นตลาดส่งออกอันดับหนึ่งของไทยและคู่ค้าอันดับสองของไทยรองจากญี่ปุ่นนั้น ธปท. ได้ทำข้อตกลงทวิภาคีเพื่อแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลหยวนและบาทกับธนาคารกลางจีนเป็นมูลค่า 7 หมื่นล้านหยวนหรือ 3 แสน 2 หมื่นล้านบาท เพื่อให้ ธปท. เข้าถึงเงินสกุลหยวนและธนาคารกลางจีนเข้าถึงเงินสกุลบาทได้ ซึ่งจะช่วยทำให้ภาคธุรกิจและสถาบันการเงินในทั้งสองประเทศมีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนในสกุลท้องถิ่นของกันและกันได้มากขึ้น การใช้เงินสกุลหยวน-บาทในการทำธุรกรรมระหว่างไทยและจีน โดยไม่ต้องผ่านเงินสกุลของประเทศที่สามจะช่วยลดต้นทุนและเพิ่มความสะดวกการค้าการลงทุนระหว่างทั้ง 2 ประเทศได้

 

ธปท.ได้เล็งเห็นว่าเงินสกุลหยวนมีแนวโน้มจะกลายเป็นสกุลเงินสำรองระหว่างประเทศ (Reserve Currency) ที่สำคัญในอนาคต จึงได้เจรจาขออนุญาตคณะกรรมการกำกับดูแลหลักทรัพย์จีนเพื่อให้ได้สิทธิไปลงทุนในหลักทรัพย์สกุลหยวน และเจรจาขออนุญาตจากธนาคารกลางจีนเพื่อเข้าไปเป็นผู้เล่นในตลาดพันธบัตร interbank ของจีนโดยตรง ซึ่งทางการจีนได้ให้สิทธิแก่ ธปท. มาทั้ง 2 ส่วนแล้ว การได้รับสิทธิดังกล่าวจะช่วยให้ ธปท. สามารถเข้าไปลงทุนในสินทรัพย์สกุลหยวนได้อย่างทันท่วงทีในอนาคตเมื่อจีนรับพันธะข้อ 8 ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศและเปิดเสรีการแลกเปลี่ยนเงินสกุลหยวน

 

ในส่วนของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของ AEC ในปี 2015 นั้นมีเป้าหมายหลักเพื่อให้กลุ่มอาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตร่วมเพื่อให้สามารถใช้ปัจจัยการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยให้การค้าสินค้าและบริการเป็นไปอย่างเสรี และเงินทุนเคลื่อนย้ายเสรีขึ้น อย่างไรก็ตาม การรวมกลุ่มภาคการเงินของ AEC มีเป้าหมายภายในปี 2020 แทนที่จะเป็นปี 2015 เนื่องจากภาคการเงินเป็นภาคที่มีความอ่อนไหวและส่งผลต่อเสถียรภาพระบบเศรษฐกิจ และพัฒนาการทางการเงินของแต่ละประเทศยังแตกต่างกันมาก จึงต้องใช้เวลาเพื่อสร้างความพร้อมก่อนจะเปิดเสรีในระดับที่เหมาะสม

 

ปัจจุบัน ธปท.มีบทบาทเกี่ยวข้องในการเจรจาในส่วนของการรวมกลุ่มภาคการเงินใน 4 ส่วนหลักคือ ความร่วมมือด้านระบบการชำระเงิน การเปิดเสรีเงินทุนเคลื่อนย้าย การเปิดเสรีภาคการธนาคาร และการพัฒนาและเชื่อมโยงตลาดทุน

 

ในส่วนของความร่วมมือด้านระบบการชำระเงิน ธปท. จะส่งเสริมการเชื่อมโยงการทําธุรกรรมการค้าและลงทุนระหว่างประเทศ การโอนเงินข้ามพรมแดน รวมถึงการชําระและส่งมอบหลักทรัพย์ทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ น่าเชื่อถือ สะดวกในการใช้ และไม่แพง

 

ด้านการเปิดเสรีเงินทุนเคลื่อนย้าย ได้ทำไปมากแล้วและจะทยอยผ่อนคลายกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวกับเงินทุนขาออก เพื่อสนับสนุนการไปลงทุนในต่างประเทศของภาคเอกชนไทยทั้งในรูปการลงทุนโดยตรงและการลงทุนในหลักทรัพย์ต่อไป โดยความท้าทายในการเปิดเสรีบัญชีทุนอยู่ที่ การเปิดเสรีให้อาเซียนเสมือนกับเปิดให้ประเทศอื่นๆ ด้วย จึงควรจะมีมาตรการรับมือสำหรับสถานการณ์พิเศษ โดยการเปิดเสรีภาคธนาคาร จะเริ่มอย่างช้าภายในปี 2020 โดยวิสัยทัศน์ที่เป็นเป้าหมายคือ จะมีธนาคารจํานวนหนึ่งที่เรียกว่า Qualified ASEAN Bank หรือ QAB ซึ่งจะได้รับอนุญาตให้ทําธุรกิจในทุกประเทศในอาเซียน ซึ่ง ธปท.จะดำเนินการผลักดันหลักการต่างตอบแทนเพื่อให้แน่ใจว่าธนาคารไทยที่ต้องการไปจัดตั้งในต่างประเทศไม่เสียเปรียบธนาคารต่างประเทศที่จะมาจัดตั้งในไทย

 

ในส่วนของการพัฒนาและเชื่อมโยงตลาดทุน ตลาดทุนไทยยังมีขนาดเล็กเมื่อพิจารณาจากสัดส่วนของทั้งตลาดตราสารทุนและตลาดตราสารหนี้ของไทยเทียบกับของโลกแล้ว ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะถูกลดบทบาท (marginalized) ในตลาดทุนโลก แต่เมื่อนำมารวมกับตลาดทุนของทั้งอาเซียนแล้วก็จะทำให้เป็นที่สนใจของนักลงทุนทั่วโลกมากขึ้นและยังป้องกันปัญหาการถูกลดบทบาทได้อีกด้วย ในระยะยาว การพัฒนาตลาดทุนไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องการโครงสร้างสำคัญโดยเฉพาะความรู้ความเข้าใจของธุรกิจผู้ออกตราสารและผู้ลงทุน ตลอดจนการมีตัวกลางที่สามารถให้บริการวิเคราะห์รวมทั้งจัดจำหน่ายตราสาร เพื่อรองรับผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจข้ามพรมแดน เช่น ธุรกิจของอาเซียนอาจต้องระดมทุนในรูปเงินตราต่างประเทศสกุลหลักภายในอาเซียนกันมากขึ้น หรืออาจใช้เงินสกุลเอเชียมากขึ้น การเปิดเสรีมากขึ้นให้สถาบันการเงินของอาเซียนเช่น QAB ทำธุรกิจได้ในประเทศก็จะช่วยส่งเสริมการเชื่อมโยงตลาดทุน

 

ส่วนระดับอนุภูมิภาคกลุ่มประเทศ CLMV ซึ่งประกอบไปด้วยประเทศกัมพูชา © สปป. ลาว (L) สหภาพเมียนมาร์ (M) และสาธารณรัฐเวียดนาม (V) ธปท. จะมุ่งเน้น การให้ความช่วยเหลือแก่สหภาพเมียนมาร์ และการร่วมพัฒนาบุคคลากรทางการเงินของประเทศในอนุภูมิภาค เพื่อสนับสนุนให้พัฒนาการของภาคการเงินของประเทศในอนุภูมิภาคใกล้เคียงกันมากขึ้นซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการเงินในกลุ่มต่อไป

 

ในส่วนของสหภาพเมียนมาร์ซึ่งเพิ่งเริ่มเปิดประเทศและปรับระบบอัตราแลกเปลี่ยนหลายอัตราให้เป็นอัตราเดียวในปีนี้นั้น ได้ส่งทีมไปให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่ธนาคารกลางเมียนมาร์ซึ่งกำลังจะเริ่มใช้นโยบายการเงินแบบเป้าหมายปริมาณเงิน โดย ธปท. ได้ช่วยให้ความรู้เรื่องการสร้างฐานข้อมูลเศรษฐกิจที่จะนำมาใช้ในการดำเนินนโยบายการเงิน การพยากรณ์สภาพคล่อง และการดำเนินธุรกรรมในตลาดการเงิน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบการเงินและโครงสร้างเศรษฐกิจของสหภาพเมียนมาร์และการรวมกลุ่มของประชาคมอาเซียนในระยะข้างหน้า

 

อาจารย์ครับ การผลักดันนโยบาย Connectivity นี้ทำให้ผมคิดถึงความพยายามและวิสัยทัศน์อันกว้างไกลของอาจารย์ในเรื่องการเข้าร่วมพัฒนากลุ่มประเทศเอเชียและการสร้างความร่วมมือและรวมพลังทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศเอเชียให้พร้อมรับมือกับกระแสโลกาภิวัตน์นับแต่เมื่อเกือบ 50 ปีก่อน ทั้งในส่วนของการร่วมผลักดันการก่อตั้งธนาคารพัฒนาเอเชีย เพื่อส่งเสริมการพัฒนาของประเทศในเอเชียผ่านการลงทุนทั้งของภาครัฐและภาคเอกชน และการร่วมกับผู้ว่าการธนาคารกลางมาเลเซียสมัยนั้น ริเริ่มรวมกลุ่มของธนาคารกลางในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์จนทำให้ประเทศในเอเชียอาคเนย์มีกลุ่มของตนเองในกองทุนการเงินระหว่างประเทศและในธนาคารโลก และมีคะแนนเสียงมากพอในการตั้งกรรมการบริหารในกลุ่มกองทุนฯ ซึ่งช่วยให้เสียงของกลุ่มเอเชียอาคเนย์เป็นที่ได้ยินมากขึ้นในเวทีการเงินโลกซึ่งสร้างประโยชน์ต่อเอเชียและไทยมาถึงปัจจุบัน

 

อาจารย์ครับ ถึงแม้สถานการณ์ในวันนี้จะเปลี่ยนไปจากสมัยที่อาจารย์เป็นผู้ว่าการ กล่าวคือเศรษฐกิจเอเชียกำลังจะกลายเป็นอีกขั้วอำนาจในระบบเศรษฐกิจการเงินโลก และประเทศเพื่อนบ้านที่แม้เคยใช้ระบอบคอมมิวนิสต์ทั้งประเทศใหญ่และเล็กต่างหันมาเปิดประเทศและรวมผนึกกำลังกัน แต่อาจกล่าวได้ว่าการผลักดันนโยบาย Connectivity ของ ธปท. ข้างต้นทั้งหมดนี้เป็นการสานต่อเจตนารมณ์ของอาจารย์ในการประสานความร่วมมือระหว่างประเทศและการรวมเสียงของกลุ่มเอเชียให้มีพลังมากขึ้นท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงสำคัญในระบบเศรษฐกิจการเงินโลก

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เงินง่ายๆ ไม่มีจริง http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/life-style/lifestyle/20120924/471173/ฝันสลาย-วัยรุ่น-พันล้าน.html

วรุต มหาวาณิชย์วงศ์ หนุ่มวัย 26 ปี ผู้เผชิญโลกเงินทุนมาอย่างช่ำชอง และสามารถเก็บเกี่ยวกำไรจากการลงทุนเต็มเม็ดเต็มหน่วย ถึงขั้นที่น่าจะเรียกได้ว่า เขาคือ เศรษฐีร้อยล้านกับเขาได้เหมือนกัน

 

แม้ว่าคนทั่วไป อาจจะมองว่า 'นักลงทุน' เป็นงานสบาย วันๆ ไม่ต้องทำอะไร นั่งเฉยๆ ก็ได้เงินมา เรื่องนี้ วรุต ขอเถียงขาดใจ พร้อมฟันธงว่า 'งานง่าย เงินเยอะ' มีอยู่จริงน่ะเหรอ

 

...ไม่มีทาง!!!

 

"ดูเหมือนนั่งเฉยๆ แต่จริงๆ ในหัวผมคิดอยู่ตลอดเวลานะ อย่างผู้บริหารตามองค์กรต่างๆ ก็เหมือนกัน ถึงเราจะเห็นว่าเขานั่งเฉยๆ แต่ที่จริงในหัวก็ต้องทำงานอยู่ตลอด" วรุตเอ่ย

 

พร้อมเสริมด้วยนิยาม 'งานทำเงิน' ในความคิดของเขาว่า จะต้องเป็นงานที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ มีนวัตกรรม จนถึงงานที่อาศัยการมองภาพรวม (Big Picture)

 

"เขาบอกว่า งานง่ายๆ ทำแป๊บเดียวก็ได้ตังค์ ควรจะต้องตั้งคำถามต่อแล้วนะ ว่า ถ้ามันง่ายมาก แล้วเงินดี เขาจะมาบอกเราทำไม ทำไมเขาไม่ทำซะเอง" คำถามบนตรรกะพื้นฐานสุดๆ ที่วรุต บอกว่า ใช้เป็นคาถาป้องกันตัวจากการโดนหลอกได้ชะงัดนัก เพียงขอให้มีสติอยู่กับตัว อย่าลงไปตามคำโฆษณา และใช้สมองสักนิดเพื่อคิดไตร่ตรอง

 

อีกหนึ่งหนุ่มนักลงทุนเจ้าของพอร์ตร้อยล้านอย่าง วีระพงษ์ ธัม วัย 31 ซึ่งที่ปรึกษาทางการเงินที่ว่ากันว่า จำนวนเงินในกระเป๋าที่หาด้วยน้ำพักน้ำแรงของตัวเองนั้นอยู่ในระดับไม่ต่างกันกับวรุต สะท้อนภาพวงการนักลงทุนให้ฟังว่า ในช่วงหลังได้เห็นเด็กรุ่นใหม่ที่ฝันอยากจะรวยเข้ามาสู่วงการนี้เยอะขึ้นมากจริงๆ สาเหตุหนึ่งก็เพราะความเข้าใจที่ผิดๆ ว่า การลงทุนเป็นอะไรที่ง่าย และรวยเร็ว

 

"ต้องมองอย่างเป็นเหตุเป็นผลว่า อะไรก็ตามถ้าทำง่ายๆ แล้วได้เงินมากๆ มีอยู่จริง แน่นอนว่าคนต้องแห่กันมาทำ ก็ต้องแข่งขันสูง ต้องแย่งกัน"

 

เขาอธิบายง่ายๆ ว่า งานลักษณะแบบนี้ไม่ได้ต่างอะไรกับการก่อเจดีย์ทราย คนที่ได้ประโยชน์คือคนบนยอด ส่วนรายใหม่ที่เพิ่งเข้ามา ถ้าอยากจะได้อยู่ข้างบนกับเขาบ้าง ก็ต้องหาคนใหม่ๆ เข้ามาเป็นฐานให้แทน

 

อยากให้เข้าใจว่า คนเราจะทำงานสร้างผลตอบแทนอะไรกลับมาได้ เราจะต้องสร้างคุณค่าอะไรขึ้นมาซักอย่างก่อน แต่ถ้าเราไม่ได้สร้างอะไรขึ้นมาเลยนั้น ไม่น่าจะเรียกว่าเป็นงาน แต่เป็นการมุ่งหารายได้เพียงอย่างเดียว และถ้าเป็นอย่างนั้น ก็เรียกว่าไม่มีความยั่งยืนอะไรเลย

 

"นี่ไม่ได้พูดเรื่องศีลธรรมเลยนะ เอาแค่มองธุรกิจล้วนๆ" วีระพงษ์ บอก เพราะส่วนตัวแล้ว เขาไม่สนับสนุนให้ทำธุรกิจที่ไม่ซื่อ หรือคิดหลอกคนอื่นๆ

 

และยังเอ่ยฝากไปถึงน้องๆ ที่คิดอยากจะทำธุรกิจนี้ว่า ขอให้เริ่มต้นให้ถูกต้องก่อน ไม่ใช่มองหาแต่ความั่งคั่ง ซึ่งนั่นจะทำให้ไม่มีความยั่งยืน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ราคาน้ำมัน WTI ร่วง $1.11 เหตุวิตกเจรจากู้วิกฤตยุโรปคว้าน้ำเหลว

 

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) เดือน พ.ย. ร่วงลง 1.11 ดอลลาร์ แตะที่ 91.78 ดอลลาร์/บาร์เรล ในการซื้อขายทางระบบอิเล็กทรอนิกที่ตลาดเอเชียช่วงเช้าวันนี้ เนื่องจากความกังวลที่ว่าการเจรจาเพื่อแก้ไขวิกฤตหนี้ยุโรปจะหยุดชะงักลง

 

สัญญาน้ำมันดิบร่วงลงหลังจากที่นายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคล ของเยอรมนี และประธานาธิบดีฟรองซัวส์ ออลลองด์ ของฝรั่งเศส ได้หารือร่วมกันในประเด็นการกำกับดูแลภาคการธนาคารร่วมกันเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ยังมีความเห็นแตกต่างกันอย่างชัดเจนเกี่ยวกับสหภาพการธนาคาร

 

ทั้งนี้ เยอรมนีและฝรั่งเศสเห็นพ้องกันเกี่ยวกับบทบาทของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ในฐานะผู้กำกับดูแลด้านการธนาคารโดยรวม แต่มีความเห็นต่างกันเกี่ยวกับขอบเขตและความรวดเร็วของการกำกับดูแลดังกล่าว โดยฝรั่งเศสต้องการให้อีซีบีกำกับดูแลธนาคารทั้ง 6,000 แห่งในยูโรโซน ขณะที่เยอรมนีต้องการให้มีการกำกับดูแลเฉพาะธนาคารรายใหญ่ๆที่มีผลกระทบต่อยูโรโซนโดยรวม

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

“น้ำมันผันผวน จับตาการขอเงินช่วยเหลือของสเปนและความไม่สงบในตะวันออกกลาง”

บทวิเคราะห์สถานการณ์น้ำมันประจำสัปดาห์ โดย บมจ. ไทยออยล์: ฉบับวันที่ 24 กันยายน 2555

“ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบจะปรับลดลงมาเคลื่อนไหวในกรอบใหม่ โดยเบรนท์จะเคลื่อนไหวที่ 105-115 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนเวสต์เท็กซัสที่กรอบ 85-95 เหรียญฯ”

 

แนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมัน (24 - 28 ก.ย. 55)

ราคาน้ำมันดิบจะเคลื่อนไหวในระดับที่ลดลง โดยได้รับแรงกดดันจากความไม่แน่นอนของการแก้ปัญหาหนี้ยุโรป ในการตัดสินใจขอรับเงินช่วยเหลือของสเปนและการรับเงินช่วยเหลืองวดใหม่ของกรีซ ขณะที่แผนการปล่อยน้ำมันสำรองทางยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ ยังคงมีความเป็นไปได้ อย่างไรก็ตาม ความไม่สงบในตะวันออกกลางซึ่งรวมถึงปัญหานิวเคลียร์อิหร่านยังคงเป็นปัจจัยหนุนให้ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ยังยืนอยู่ในระดับสูง

ปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์นี้:

 

• สเปนจะขอความช่วยเหลือทางการเงินเพิ่มเติมจากสหภาพยุโรปหรือไม่และด้วยเงื่อนไขใด ซึ่งจะนำไปสู่การที่ธนาคารกลางยุโรปจะเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลของสเปน โดยสเปนกล่าวว่าจะจัดทำแผนปฏิรูประบบการคลังให้แล้วเสร็จในวันที่ 28 ก.ย. นี้ เพื่อปูทางไปสู่การขอรับเงินช่วยเหลือจากสหภาพยุโรป

• รายงานการตรวจสอบสถานะการเงินและการคลังของกรีซโดย EC/ECB/IMF ในช่วงปลายเดือนนี้ ที่จะส่ง

 

ผลต่อการตัดสินใจของ EU/IMF ว่าจะปล่อยเงินจากแผนช่วยเหลือหนี้กรีซรอบ 2 ให้แก่กรีซหรือไม่ รวมทั้งจะยอมผ่อนปรนข้อเรียกร้องจากกรีซที่ต้องการเวลามากขึ้นในการลดงบประมาณขาดดุลให้ได้ตามเป้า

 

• ตัวเลขเศรษฐกิจ ได้แก่ จีดีพีไตรมาส 2/55 (ครั้งที่ 3) ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ดัชนีภาคการผลิตเมืองชิคาโกและของจีน (HSBC PMI) รวมทั้งดัชนีความรู้สึกของภาคธุรกิจเยอรมนี (lfo index)

 

• ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของประเทศสมาชิกในกลุ่มโอเปก หลังซาอุดิอาระเบียกล่าวให้ความเชื่อมั่นกับตลาดว่า จะพยายามทำทุกวิถีทางให้ราคาน้ำมันปรับลดลง โดยซาอุฯ จะคงกำลังการผลิตน้ำมันดิบที่สูงถึง 10 ล้านบาร์เรลต่อวัน และจะผลิตเพิ่มเติมอีกถ้ามีความต้องการในตลาดมากขึ้น

 

• แม้ว่าราคาน้ำมันในตลาดโลกได้ปรับลดลงแล้วก็ตาม แต่ก็ยังคงมีความเป็นไปได้ที่สหรัฐฯ อาจจะปล่อยน้ำมันสำรองทางยุทธศาสตร์ออกมาในเร็วๆนี้ เพื่อกดดันราคาน้ำมันให้ปรับลดลงอีก โดยเฉพาะ ในช่วงก่อนการเลือกตั้งสหรัฐฯ

 

• การปิดซ่อมบำรุงของแหล่ง Buzzard ในแถบทะเลเหนือที่นานกว่าแผนเดิมที่กำหนดไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ โดยคาดว่าจะเสร็จสิ้นการซ่อมบำรุงในช่วงกลางเดือน ต.ค. ส่งผลให้การส่งออกน้ำมันจากแหล่งดังกล่าวต้องล่าช้าออกไป

 

• ปัญหาโครงการนิวเคลียร์อิหร่านยังคงสร้างความกังวลให้กับตลาด หลังนายกรัฐมนตรีอิสราเอลกล่าวว่าอาจจะเข้าโจมตีฐานที่ตั้งโครงการนิวเคลียร์ซึ่งคาดว่าอาจจะเป็นช่วงก่อนการเลือกตั้งของสหรัฐฯ ขณะที่อิหร่านออกมาตอบโต้ว่าจะโจมตีอิสราเอลก่อน ถ้าแน่ใจว่าอิสราเอลจะเข้าโจมตีอิหร่านจริง

 

 

 

สรุปสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์ที่ผ่านมา (17 - 21 ก.ย. 55)

ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับลดลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า 5.24 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาปิดที่ 111.42 ขณะที่ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสปรับลดลงเช่นกัน 6.11 เหรียญฯ มาปิดที่ 92.89 เหรียญฯ

 

ราคาน้ำมันดิบปรับลดลงอย่างหนักจากการขายทำกำไร โดยเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมามีการเทขายสัญญาน้ำมันดิบล่วงหน้าที่ตลาดนิวยอร์กและลอนดอนปริมาณรวมกว่า 23 ล้านบาร์เรล ภายในเวลา 1 นาที นอกจากนี้ ราคายังได้รับแรงกดดันจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงหลังตัวเลขภาคอุตสาหกรรมในสหรัฐฯ ยุโรปและจีนออกมาแย่ ขณะที่สหรัฐฯ รายงานว่าปริมาณน้ำมันดิบคงคลังปรับเพิ่มกว่า 8 ล้านบาร์เรล ทั้งยืนยันว่ายังไม่ได้วางมือเรื่องแผนการปล่อยน้ำมันสำรองทางยุทธศาสตร์ ขณะที่ซาอุดิอาระเบียประกาศคงกำลังการผลิตที่ระดับสูงต่อเนื่องที่ 10 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพื่อหวังลดราคาน้ำมันให้ลงมาอยู่ในระดับ 100 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ซึ่งทำให้ตลาดลดความกังวลว่าอุปทานน้ำมันดิบโลกจะตึงตัว อย่างไรก็ดี ความไม่สงบในโลกมุสลิมและความล่าช้าของการส่งออกน้ำมันดิบจากแถบทะเลเหนือยังเป็นปัจจัยที่หนุนราคาน้ำมันดิบไว้

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รายงานประชุมชี้ จนท.บีโอเจ กังวลวิกฤตหนี้ยุโรปกระทบการค้าทั่วโลก

 

 

รายงานการประชุมของธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ประจำวันที่ 8-9 ส.ค.ซึ่งมีการเปิดเผยในวันนี้ระบุว่า เจ้าหน้าที่กำหนดนโยบายบางรายของบีโอเจได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบที่รุนแรงของการชะลอตัวทางเศรษฐกิจในยุโรปที่มีต่อการค้าทั่วโลก ขณะที่เจ้าหน้าที่อีกหลายคนได้แสดงความคิดเห็นว่าอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจจีนกำลังชะลอตัวลง

 

 

"เจ้าหน้าที่บางรายของบีโอเจกล่าวว่า เศรษฐกิจที่ชะลอตัวมากขึ้นในยูโรโซนนั้น ได้สร้างแรงกดดันให้กับเศรษฐกิจทั่วโลก ด้วยการทำให้การค้าทั่วโลกหดตัวลง ส่วนในด้านเศรษฐกิจจีนนั้น เจ้าหน้าที่บีโอเจได้แสดงความเห็นว่า อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจจีนชะลอตัวลง และคาดว่าสถานการณ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นยาวนานกว่าที่คาดการณ์ไว้"

 

 

ในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความคืบหน้าด้านการส่งออกของญี่ปุ่นนั้น เจ้าหน้าที่บางรายกล่าวว่า บริษัทเอกชน "อาจจะเริ่มปรับแผนการผลิต เพราะคาดว่ายอดส่งออกอาจจะหดตัวลง และผลด้านนโยบายก็จะลดน้อยลงด้วย"

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...