ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

....

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วันนี้ร้านทองเขาแจกฟรีกันหรือ คนแน่นร้านทะลักออกมาเลย ทั้งอาก๋ง อาม่า เด็กเล็ก แน่นร้านไปหมด แทบจะเหยียบกันตาย

ถูกแก้ไข โดย vitman

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Oh oh

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Oh oh

ถูกเลยป๋า ขนาดข้อมูลพร้อม ข่าวเพียบ ยังเจอเจ้าหะ หลอก

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วันนี้ร้านทองเขาแจกฟรีกันหรือ คนแน่นร้านทะลักออกมาเลย ทั้งอาก๋ง อาม่า เด็กเล็ก แน่นร้านไปหมด แทบจะเหยียบกันตาย

เสียดายที่เราไม่ใช่ หนึ่งในนั้น รู้งี้ไม่มือบอน ดีนะไม่ทิ่ม 99 แบบโล

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ถูกเลยป๋า ขนาดข้อมูลพร้อม ข่าวเพียบ ยังเจอเจ้าหะ หลอก

เจ้าฯ ไม่ได้หลอกนะครับ เรื่องจริงล้วนๆ กระแทกตรงๆ จึงทำให้ค่าเงินดอลล์แข็งแรง ราคาทองก็เลยถูกทุกร่วง

1. ร่วงแรก 1714 มาที่ 1706 เพราะตัวเลขฝั่งยุโรป ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ PMI ออกมาแย่

2. ร่วงสองหัวค่ำ 1706 มาที่ 1691 เพราะตัวเลข NFP non farm payroll ออกมาดี

3. ร่วงสามสี่ทุ่ม 1691 มาที่ 1681 เพราะตัวเลขคำสั่งซื้อมากขึ้น ออกมาดี

 

สิ่งเหล่านี้ ล้วนส่งเสริมดอลล์แข็ง / ยูโร อ่อนค่า ทั้งสิ้น เราไม่รู้หรอกว่า ตัวเลขรายงานที่ออกจะมากหรือน้อยกว่าเดิม จะไปบอกว่า กราฟฯ และ เส้นสัญญานบอกกล่าวล่วงหน้า เพราะขาใหญ่รู้ข้อมูลล่วงหน้า หรือ ข้อมูลรั่ว ก็แน่ใจเหรอว่า เป็นเช่นนั่นจริงๆๆ ซึ่งถ้าสมมุติ รายงานเมื่อวันศุกร์ ออกมาแย่ลง ราคาทองก็ขึ้น เส้นสัญญานก็เปลี่ยนแปลง อย่างที่บอกกล่าว คือ นักปั่นมองเฉพาะประเด็นข่าวสำคัญเป็นหลัก เมื่อวันศุกร์ รายงานออกมาแบบทิศทางเดียวกันหมด ฉะนั้น น่าจะขึ้นอยู่ที่วิธีรูปแบบที่เล่นซื้อขาย มากกว่า

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ผลสำรวจล่าสุด โอบาม่า- รอมนีย์ มีคะแนนค่อนข้างสูสี

 

 

ผลสำรวจล่าสุด ที่จัดทำโดย เอ็นบีซี/วอลล์สตรีทเจอร์นัล/แมริสต์ ที่เผยแพร่เมื่อคืนวันศุกร์ พบว่าประธานาธิบดีบารัค โอบาม่า มีคะแนนนำนายมิตต์ รอมนีย์ ผู้ท้าชิงจากพรรครีพับลีกัน ที่รัฐโอไฮโอ อยู่ 6 จุด แต่ในรัฐฟลอริด้า นำแค่ 2 จุด

 

ผลสำรวจความเห็นของผู้ที่มีแนวโน้มจะออกไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งในรัฐโอไอโอ พบว่า ประธานาธิบดีโอบาม่า มีคะแนนนำนายรอมนีย์ 51 ต่อ 45 เปอร์เซ็นต์ ส่วนการสำรวจความเห็นของผู้มีแนวโน้มจะไปใช้สิทธิ์ในรัฐฟลอริด้า พบว่า ประธานาธิบดีโอบาม่านำนายรอมนีย์ 49 ต่อ 47 เปอร์เซ็นต์

 

ทั้งประธานาธิบดีโอบาม่าและนายรอมนีย์ ต่างก็แย่งชิงคะแนนเสียงในรัฐโอไฮโอ โดยเฉพาะนายรอมนีย์ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเอาชนะในรัฐนี้ เพื่อให้ได้คะแนนเสียงจากคณะผู้เลือกตั้งครบ 270 เสียง ซึ่งนายพอล ไรอัน คู่หูชิงตำแหน่งรองประธานาธิบดีของนายรอมนีย์ ก็มุ่งมั่นอยู่กับการหาเสียงในรัฐนี้เช่นกัน

 

ประธานาธิบดีโอบาม่า ได้เรียกร้องให้ผู้สนับสนุนเขาในรัฐโอไฮโอ ออกไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง โดยบอกว่า การใช้สิทธิ์คือการตอบโต้ที่ดีที่สุด ซึ่งผลสำรวจที่จัดทำโยด เอ็นบีซี/วอลล์สตรีท/มาริสต์ จะให้ประธานาธิบดีโอบาม่านำนายรอมนีย์มาโดยตลอด โดยเมื่อเดือนกันยายน นำที่โอไฮโอ 7 จุด และนำที่ฟลอริด้า 5 จุด เมื่อช่วงต้นเดือนกันยายน ส่วนเมื่อต้นเดือนตุลาคม ประธานาธิบดีโอบาม่านำนายรอมนีย์ ที่โอไฮโอ 6-8 จุด และนำที่ฟลอริด้า 1 จุด

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Tuesday, Nov. 6

Election Day -- polls begin to close at 6 p.m. Eastern time.

 

คะแนนของโพลฯ จะเริ่มออกมาตอน 6 โมงเช้าวันพุธ

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีวันอาทิตย์ครับ หุหุ หลังจากวันเสาร์ แลกตั๋วหนังดูฟรี Sky Fall 007 ไปแล้ว วันนี้ก็ถึงคิว Shopping ไปรื้อกะบะ เอะไปที่ไหนดีหนอ 2 แห่ง หรือไปมันทั้งคู่ดีกว่า

 

http://www.promotiontoyou.com/2012/10/promotion-amarin-brand-sale-nine-west-brand-sale-sale-up-to-80-off-oct-2012/

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

What Forex Target Traders See: We are currently sitting @ 1.2831 on the support. We are certainly at a bounce point. We are bearish below 1.2950 so a bounce will be considered a corrective move. A break south target the 2.618 Fib extension @ 1.2761 with the 1.2644 as the outer target. The average daily true range (ATR) for the pair currently is 79 pips.

 

eurusd-ws1-42_20121103142610.jpg

 

http://www.fxstreet.com/technical/analysis-reports/what-i-see-in-fx-market/2012/11/03/

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

US Elections: ทำความเข้าใจกระบวนการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 3 พฤศจิกายน 2555 18:24 น.

 

 

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - คุณเคยสงสัยหรือไม่ว่าเพราะเหตุใดผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ถึงทุ่มเทเวลามากต่อมากเพื่อเสาะแสวงหาคะแนนเสียงในมลรัฐต่างๆ ที่มีขนาดเล็ก อาทิ โอไฮโอ หรือไอโอวา แทนที่ควรจะเป็นนครนิวยอร์ก ซึ่งมีประชากรมากที่สุดประเทศ หรือไม่ก็เมืองลอสแอนเจลิส ซึ่งมีประชากรมากที่สุดอันดับ 2 มิหนำซ้ำยังเป็นหนึ่งในศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และบันเทิงของสหรัฐฯ ด้วย

 

นั่นเป็นเพราะสหรัฐฯ มีระบบการเลือกตั้งประธานาธิบดีที่เป็นเอกลักษณ์พิเศษ หรือที่หลายคนเชื่อว่า เป็นข้อบกพร่องชนิดไม่มีใครเหมือน

 

"จริงๆ แล้ว ประชาชนผู้ออกเสียง (popular vote) ไม่ได้มีความสำคัญเท่าใดนัก เนื่องจากเรามีบางอย่างที่เรียกว่า "คณะผู้เลือกตั้ง (electoral college) หรืออีซี" ริชาร์ด ฮีเมลฟาร์บ อาจารย์ด้านรัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฮอฟสตราในมลรัฐนิวยอร์กกล่าว

 

ในทางเทคนิคแล้ว ประชาชนผู้ออกเสียงแต่ละคนไม่ได้ลงคะแนนเลือกประธานาธิบดีโดยตรง แต่พวกเขาจะเลือก "ผู้เลือกตั้ง" (elector) ซึ่งให้สัญญาไว้ชัดเจนว่าจะไปโหวตให้ผู้สมัครคนไหน และผู้เลือกตั้งเหล่านี้ คือผู้เลือกตั้งประธานาธิบดีตัวจริง

 

เขาอธิบายเพิ่มว่า ในทางพื้นฐานแล้ว คณะผู้เลือกตั้ง จะมาจากเขตเลือกตั้งที่จัดการเลือกตั้งแยกกันอย่างอิสระจำนวน 51 เขต นั่นคือ มลรัฐต่าง ๆ ทั้ง 50 มลรัฐทั่วประเทศ บวกกับดิสตริกต์ออฟโคลอมเบีย (ที่ตั้งของกรุงวอชิงตัน) อีก 1 เขต

 

ทั้งนี้ ในแทบจะทุกเขตทุกมลรัฐใช้กติกาที่ว่า ผู้สมัครชิงประธานาธิบดีคนไหนที่ชนะได้คะแนนเสียงข้างมากจากประชาชนผู้ออกเสียง ในมลรัฐนั้นๆ ก็จะได้คะแนนของคณะผู้เลือกตั้งของมลรัฐดังกล่าวไปทั้งหมดเลย อย่างที่เรียกว่าระบบ "ผู้ชนะกินรวบ" แม้จะเฉือนชนะผู้สมัครคนอื่นเพียงนิดเดียวก็ตาม ดังนั้น จึงเป็นไปได้ที่ลงท้ายผู้สมัครคนหนึ่งได้เสียงคณะผู้เลือกตั้งมากกว่า และได้เป็นประธานาธิบดีคนต่อไป แม้จะได้คะแนนเสียงจากประชาชนผู้ออกเสียงทั้งหมดทั่วประเทศ น้อยกว่าคู่แข่งขันก็ตามที

 

จำนวนคณะผู้เลือกตั้งของแต่ละเขตแต่ละมลรัฐ จะเท่ากับจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร บวกด้วยจำนวนวุฒิสมาชิกของมลรัฐนั้นๆ เนื่องจากทุกมลรัฐจะมีวุฒิสมาชิกจำนวนเท่ากันคือ 2 คน แต่มีสส.ไม่เท่ากัน โดยปัจจัยสำคัญคือจำนวนประชากร ดังนั้นมลรัฐที่มีขนาดใหญ่จะมีจำนวนอีซีมากกว่า ขณะที่มลรัฐขนาดเล็กจะมีจำนวนอีซีน้อยกว่า แต่รวมแล้วคณะผู้เลือกตั้งทั่วประเทศจะมีจำนวน 538 คน หากผู้สมัครคนใดได้คะแนนสนับสนุนจากคณะผู้เลือกตั้งเกินครึ่งของจำนวนผู้เลือกตั้งทั้งหมด หรือได้ตั้งแต่ 270 เสียงขึ้นไป ผู้สมัครคนนั้นก็จะได้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนต่อไป

 

**มลรัฐที่การออกเสียงอาจเหวี่ยงไปมา**

 

ตามแบบแผนการออกเสียงในอดีตที่ผ่านมาบ่งชี้ว่า มลรัฐใหญ่ ๆ แถบชายฝั่งตะวันออกและชายฝั่งตะวันตกแทบทั้งหมดจะเทคะแนนอย่างท่วมท้นให้พรรคเดโมแครต ขณะที่มลรัฐอื่นๆ ที่เหลือส่วนใหญ่ อย่างเทกซัส หรือมลรัฐแถบใต้สุดของประเทศจะออกเสียงสนับสนุนพรรครีพับลิกันอย่างแข็งขัน

 

แต่ในการเลือกตั้งทุกครั้งผู้สมัครยังต้องเอื้อมมือจากมลรัฐซึ่งเป็น "ฐานที่มั่นอันปลอดภัย" ของตนเอง ไปเก็บเกี่ยวคะแนนเสียงในมลรัฐต่างๆ ที่เสียงสนับสนุนพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตยังจวนเจียนก้ำกึ่งกันอยู่

 

มลรัฐเหล่านี้ถูกเรียกขานว่า "มลรัฐที่การออกเสียงอาจเหวี่ยงไปมาไม่แน่นอน" (swing states) อันได้แก่ โอไฮโอ,ฟลอริดา และเพนซิลเวเนีย (ซึ่งแต่ละมลรัฐมีคะแนนคณะผู้เลือกตั้งตั้งแต่ 20 เสียงขึ้นไป) ตลอดจนมลรัฐอื่นๆ อีกจำนวนหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ในการเลือกตั้งครั้งนี้ ปรากฏว่า หลายมลรัฐซึ่งเคยเป็นฐานที่มั่นอันปลอดภัยของพรรครีพับลิกัน เช่นเวอร์จิเนียและนอร์ทแคโลไลนา กลับแสดงท่าทีเปลี่ยนใจและถูกเสริมอยู่ในรายชื่อมลรัฐที่การออกเสียงอาจเหวี่ยงไปมา

 

ผู้สมัครจำเป็นต้องแสวงหาเสียงสนับสนุนจากเป็นมลรัฐต่างๆ เหล่านี้ เพื่อรวบรวมจำนวนคณะผู้เลือกตั้งให้ถึง 270 เสียง ดังนั้น ส่วนใหญ่แล้วมลรัฐต่างๆ ที่การออกเสียงอาจเหวี่ยงไปมาไม่นอน จึงเป็นสนามเลือกตั้งที่ผู้สมัครต่างขะมักเขม้นรณรงค์หาเสียง จนแทบจะละเลยมลรัฐอื่นๆ ที่เหลือ

 

"ในการเลือกตั้งที่ขับเคี่ยวกันอย่างสูสี เราทุกคนล้วนแล้วแต่มีส่วนได้ส่วนเสียในผลการเลือกตั้ง แต่เอาเข้าจริงจะมีเพียงผู้ออกเสียงใน 10 หรือ 12 มลรัฐเท่านั้นที่มีความสำคัญ" ร็อบ ริตชี ผู้อำนวยการองค์กร "ผู้ออกเสียงแห่งชาติ" ซึ่งรณรงค์เพื่อการปฏิรูปคณะเลือกตั้งกล่าว

 

"มลรัฐอื่นๆ ที่เหลือจึงเป็นเพียงผู้ชมเท่านั้น"

 

**กฎหมู่**

 

ย้อนกลับไปในปี 1789 คณะผู้ร่างรัฐธรรมนูญของสหรัฐ ดูเหมือนจะหงุดหงิดไม่ค่อยสบายใจกับความเป็น "ประชาธิปไตย"

 

พวกเขาจึงตัดสินใจสร้างกันชนระหว่างปวงชนกับตำแหน่งผู้มีอำนาจสูงสุดของประเทศ

 

"ขณะนั้น คณะผู้ร่างรัฐธรรมนูญของเรามองว่า ประชาธิปไตยเป็นถ้อยคำอันสกปรก เป็นการปกครองแบบกฎหมู่กฎหมู่" ฮีมัลฟารบ์กล่าว

 

"คณะผู้ร่างรัฐธรรมนูญคิดว่าคณะผู้เลือกตั้งจะเป็นผู้ที่มีความละเอียดถี่ถ้วนและมีความรู้ข้อมูลมากที่สุด"

 

แต่ทุกวันนี้ คณะผู้เลือกตั้งไม่ได้มีอำนาจอันใดเลย พวกเขามักจะเป็นเจ้าหน้าที่พรรค ซึ่งมีหน้าที่เพียงแค่เดินทางไปยังทำเนียบขาว ภายหลังการเลือกตั้งสัก 2 - 3 อาทิตย์ เพียงเพื่อ "เป็นตรายางยืนยัน" ผลการเลือกตั้งเท่านั้น

 

คณะร่างรัฐธรรมนูญสมัยก่อน คงไม่นึกไม่ถึงว่าจะเกิดระบบ 2 พรรคการเมืองขึ้นมา

 

เวลานั้น พวกเขาจินตนาการว่า การเลือกตั้งทุกครั้งจะมีผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดี 4 คน, 5 คน หรืออาจจะมากกว่านั้น ซึ่งเป็นตัวแทนจากภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศ แทนที่จะเป็นผู้สมัครซึ่งมีความโน้มเอียงทางอุดมคติแตกต่างกันดังเช่นในปัจจุบัน

 

ผู้ร่างรัฐธรรมนูญอาจจะทึกทักเอาว่า คณะผู้เลือกตั้งจะสามารถป้องกันไม่ให้พวกผู้สมัครจาก “บางภาคส่วนของประเทศ” ชนะการเลือกตั้งได้อย่างง่ายดาย

 

ทั้งนี้ หากผลการเลือกตั้งยังไม่สามารถหาผู้ชนะอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดได้ สภาผู้แทนของสหรัฐฯ ก็จะเข้ามามีส่วนร่วมและพิจารณาว่าใครจะเป็นประธานาธิบดีคนต่อไป

 

**ผลเลือกตั้งที่ไม่เป็นประชาธิปไตย?**

 

แต่ผลของระบบ"ผู้ชนะกินรวบ" ของคณะผู้เลือกตั้ง ทำให้ประชาชนผู้ออกเสียงจำนวนมากรู้สึกว่าตนเองเสียสิทธิในการออกเสียง

 

หากคุณเป็นผู้สนับสนุนพรรคเดโมแครตซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ในมลรัฐที่เทคะแนนให้รีพับลิกันอย่างแข็งขัน เช่นที่เทกซัสหรือไอดาโฮ คุณอาจรู้สึกว่า เสียงของคุณไม่มีความหมายอะไรเลย เพราะถึงอย่างไรคุณก็รู้ดีว่า คณะผู้เลือกตั้งจากมลรัฐของคุณย่อมต้องเทคะแนนเสียงให้รีพับลิกันเกือบจะแน่นอนอยู่แล้ว

 

เช่นเดียวกัน หากคุณต้องการออกเสียงให้พรรครีพับลิกันในมลรัฐแมตซาชูเซตส์หรือแมรีแลนด์ มลรัฐเหล่านี้ย่อมต้องมอบคะแนนผู้เลือกตั้งให้เดโมแครตวันยันค่ำ

 

เนื่องจากระบบผู้ชนะกินรวบของคณะผู้เลือกตั้ง ไม่ได้ตอบสนองประชากรในมลรัฐอย่างแท้จริง บางครั้งบางคราระบบดังกล่าวจึงล้มเหลว จนนำไปสู่ผลการเลือกตั้งที่ไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริงอย่างที่บางคนวิจารณ์

 

ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา สหรัฐฯ มีประธานาธิบดี 4 คน ซึ่งชนะการเลือกตั้งด้วยคะแนนจากคณะผู้เลือกตั้ง หลังพ่ายแพ้คะแนนป๊อบปูลาร์โหวต

 

ครั้งล่าสุดในปี 2000 ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช กลายเป็นประธานาธิบดีคนคนใหม่ แม้อดีตรองประธานาธิบดีอัล กอร์จะมีคะแนนเสียงป๊อบปูลาร์โหวตทั่วประเทศมากกว่าเขาถึง 600,000 เสียง

 

เพราะฉะนั้น หากระบบการเลือกตั้งแบบคณะผู้แทนถูกยกเลิกไป การรณรงค์หาเสียงของผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ย่อมต้องแตกต่างอย่างลิบลับจากที่เป็นอยู่ทุกวันนี้แน่นอน

 

"เราจะได้เห็นบรรดาผู้สมัครจัดการรณรงค์หาเสียงตามศูนย์กลางมวลชนทั้งหลาย เช่นที่เมืองฮูสตันหรือชิคาโก และไม่มีทางไปหาเสียงในมลรัฐต่างๆ เช่น นิวเม็กซิโก,นิวแฮมเชียร์ และเวสต์เวอร์จิเนีย ซึ่งเป็นมลรัฐที่ยังแกว่งไปแกว่งมา แต่มีประชากรจำนวนไม่มาก" ฮีเมลฟาร์บกล่าว

 

**การเปลี่ยนแปลงระบบเลือกตั้ง**

 

การสำรวจความคิดเห็นของหลายสำนัก เผยว่า ร้อยละ 70 ชาวอเมริกันคิดว่า ระบบคณะผู้แทนเลือกตั้ง เป็นสิ่งที่คร่ำครึล้าสมัยซึ่งสมควรถูกเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกได้แล้ว

 

แต่เนื่องจากระบบดังกล่าวถูกระบุในรัฐธรรมนูญสหรัฐฯ ดังนั้น การยกเลิกหรือปรับเปลี่ยนแทบเป็นสิ่งที่ไม่มีทางเป็นไปได้

 

ด้วยเหตุผลที่ว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จำเป็นต้องผ่านความเห็นชอบจาก 2 ใน 3 ทั้งของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ตลอดจนอีก 2 ใน 3 ของสภานิติบัญญัติในแต่ละมลรัฐด้วย

 

รัฐเล็กๆ อย่างนิวแฮมเชียร์หรือไอโอวา รวมถึงบรรดารัฐใหญ่ ๆ ที่การออกเสียงอาจเหวี่ยงไปมาไม่แน่นอน เช่น โอไฮโอ และฟลอริดาย่อม พอใจกับระบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เพราะได้รับประโยชน์แบบเต็มๆ ดังนั้นจึงไม่น่าจะมีมลรัฐต่างๆ ที่เห็นชอบให้แก้ไขรัฐธรรมนูญเพียงพอตามที่กำหนดไว้

 

แต่ยังมีรัฐอื่นๆ อีกมากมาย กำลังทำงานร่วมกันเพื่อผลักดันการเปลี่ยนแปลงระบบดังกล่าว

 

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

พรุ่งนี้ มะรืนนี้ คือ วันจันทร์ และ วันอังคาร ราคาทอง จะมีการขยับไปในทิศทางใดหนอ ? ในเมื่อเหตุการณ์สำคัญอยู่ที่

1. วันอังคาร วันตรงของการเลือกตั้งสหรัฐ ผลโพลออกวันพุธ

2. วันพฤหัส ประชุม ECB

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

พรุ่งนี้ มะรืนนี้ คือ วันจันทร์ และ วันอังคาร ราคาทอง จะมีการขยับไปในทิศทางใดหนอ ? ในเมื่อเหตุการณ์สำคัญอยู่ที่

1. วันอังคาร วันตรงของการเลือกตั้งสหรัฐ ผลโพลออกวันพุธ

2. วันพฤหัส ประชุม ECB

 

 

ยังไงก็ขอให้มันดีดขึ้นมาบ้างเหอะ อย่าลงอย่างเดียวเลย

 

ไม่เข้าใจริงฯ อเมริกาพึ่งโดนพายุเข้าไปสร้างความเสียหายเยอะ ข่าวก็บอกว่าจะทําให้เศษฐกิจแย่ ข่าวดีที่ออกมาก็ไม่ใช่ดีมากมายอะไร ทําไมดอลมันถึงขึ้นเอาฯ งง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...