ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

US$1,636 ถึงเป้าหมายของเด็กขายของ

ปล. ซื้อคืนนะครับ

. ขอบคุุณและสวัสดีตอนเช้าค่ะ. คุณป๋า เจ๊เกี๊ยมอี๋ และทุกๆท่าน.

คุณป๋าเยี่ยม ใจนิ่งมากกกกกกกก

คำๆเจอกันใหม่ค่ะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก: ยูโรร่วงเทียบดอลล์ หลัง GDP ยูโรโซนหดตัวใน Q4/55

 

 

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556 07:02:51 น.

สกุลเงินยูโรร่วงลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (14 ก.พ.) หลังจากสำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป (ยูโรสแตท) รายงานว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของยูโรโซนหดตัวลงในไตรมาส 4/2555

 

ค่าเงินยูโรร่วงลงแตะระดับ 1.3347 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันพุธที่ 1.3449 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินปอนด์พุ่งขึ้นแตะระดับ 1.5484 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5442 ดอลลาร์สหรัฐ

 

 

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐพุ่งขึ้นเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9228 ฟรังค์ จากระดับ 0.9157 ฟรังค์ แต่อ่อนแรงลงเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 93.02 เยน จากระดับ 93.47 เยน

 

สกุลเงินยูโรร่วงลงหลังจากยูโรสแตท รายงานว่า จีดีพีของกลุ่มยูโรโซนหดตัวลง 0.6% ในไตรมาส 4 ปี 2555 เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาส และเมื่อเทียบเป็นรายปี จีดีพียูโรโซนหดตัว 0.9% เนื่องจากการหดตัวของเศรษฐกิจในประเทศยักษ์ใหญ่อย่างเยอรมนี ฝรั่งเศส และอิตาลี

 

โดยเศรษฐกิจฝรั่งเศสหดตัวลง 0.3% ในช่วงไตรมาส 4 ปี 2555 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่จีดีพีเยอรมนีในไตรมาส 4 ปี 2555 หดตัวลง 0.6% จากไตรมาส 3 ปีเดียวกัน และจีดีพี เบื้องต้นของอิตาลีในช่วงไตรมาส 4 ปี 2555 หดตัวลง 0.9% จากไตรมาสก่อนหน้า

 

ส่วนสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐได้รับแรงหนุนหลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 9 ก.พ. ร่วงลง 27,000 ราย แตะระดับ 341,000 ราย ซึ่งลดลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะอยู่ที่ 360,000 ราย สะท้อนให้เห็นว่าตลาดแรงงานของสหรัฐยังคงฟื้นตัว

 

ขณะที่สกุลเงินเยนแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ ขานรับรายงานที่ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ไม่ได้ประกาศใช้นโยบายผ่อนคลายการเงินเพิ่มเติมในการประชุมครั้งล่าสุด โดยบีโอเจต้องการประเมินผลกระทบของการกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อ 2% ขณะเดียวกันบีโอเจยังได้ปรับเพิ่มการประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจญี่ปุ่นในการประชุมครั้งนี้ด้วย

 

นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่า ที่ประชุม G-20 ในศุกร์และวันเสาร์นี้ที่กรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย ที่ประชุมจะต้องหารือกันเรื่องการหลีกเลี่ยง "สงครามค่าเงิน" โดยประเทศกำลังพัฒนาและประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ส่วนหนึ่งต่างวิพากษ์วิจารณ์ว่าญี่ปุ่นพยายามกดค่าเงินเยนให้ต่ำลง ซึ่งประเด็นนี้อาจทำให้ญี่ปุ่นถูกโจมตีในการประชุม G-20 และอาจถูกกดดันให้หยุดใช้นโยบายที่มีอิทธิพลอย่างมากต่ออัตราแลกเปลี่ยน

 

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดทองคำนิวยอร์ก: เงินดอลล์แข็งค่า ฉุดทองคำปิดร่วง $9.6

 

 

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556 06:46:35 น.

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (14 ก.พ.) เพราะได้รับแรงกดดันจากสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับยูโร หลังจากมีรายงานว่ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของยูโรโซนหดตัวลงในไตรมาส 4/2555

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย.ร่วงลง 9.6 ดอลลาร์ หรือ 0.58% ปิดที่ 1,635.5 ดอลลาร์/ออนซ์

 

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค.ปิดที่ 30.353 ดอลลาร์/ออนซ์ ลดลง 51.6 เซนต์ และสัญญาโลหะทองแดงส่งมอบเดือนมี.ค.ลดลง 0.5 เซนต์ ปิดที่ 3.7375 ดอลลาร์/ออนซ์

 

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย.ปิดที่ 1,710.90 ดอลลาร์/ออนซ์ ร่วงลง 18.80 ดอลลาร์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมี.ค.ปิดที่ 764.05 ดอลลาร์/ออนซ์ ลดลง 8.00 ดอลลาร์

 

สัญญาทองคำได้รับแรงกดดันจากสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับยูโร หลังจากสำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป หรือยูโรสแตท รายงานว่า จีดีพีของกลุ่มยูโรโซนหดตัวลง 0.6% ในไตรมาส 4 ปี 2555 เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาส และเมื่อเทียบเป็นรายปี จีดีพียูโรโซนหดตัว 0.9% เนื่องจากการหดตัวของเศรษฐกิจในประเทศยักษ์ใหญ่อย่างเยอรมนี ฝรั่งเศส และอิตาลี

 

ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินสกุลดอลลาร์ในตระกร้าเงินเมื่อเทียบกับสกุลอื่นๆ พุ่งขึ้นแตะระดับ 80.489 จุดเมื่อวานนี้ จากระดับของวันพุธที่ 80.082 จุด

 

สภาทองคำโลก (WGC) เปิดเผยว่า ความต้องการทองคำทั่วโลกในช่วงไตรมาส 4/2555 เพิ่มขึ้น 3.8% สู่ระดับ 1,195.9 ตัน จากไตรมาส 4/2554 ที่ระดับ 1,151.7 ตัน เนื่องจากปริมาณการใช้ทองคำของอินเดียปรับตัวสูงขึ้น

 

รายงานของ WGC ระบุว่า อินเดียยังคงเป็นผู้ซื้อทองคำรายใหญ่สุดของโลก แซงหน้าจีน โดยปริมาณการใช้ทองคำของอินเดียในปี 2555 พุ่งขึ้น 41%

 

นอกจากนี้ WTC ระบุว่า ธนาคารกลางทั่วโลกเข้าซื้อทองคำรวมกันทั้งสิ้น 534.6 ตันในปี 2555 ซึ่งเป็นตัวเลขสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2507 เนื่องจากความต้องการทองคำทั่วโลกพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์

 

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดน้ำมัน: น้ำมัน WTI ปิดบวก 30 เซนต์ขานรับจำนวนคนว่างงานสหรัฐลดลง

 

 

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556 06:32:14 น.

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (14 ก.พ.) เพราะได้แรงหนุนจากจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานของสหรัฐที่ปรับตัวลดลงเกินคาดในรอบสัปดาห์ที่แล้ว อย่างไรก็ตาม สัญญาน้ำมันดิบขยับขึ้นเพียงเล็กน้อย เนื่องจากตลาดวิตกกังวลหลังจากผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของยูโรโซนและญี่ปุ่นหดตัวลงในไตรมาส 4/2555

 

 

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมี.ค.เพิ่มขึ้น 30 เซนต์ หรือ 0.31% ปิดที่ 97.31 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนมี.ค.ที่ตลาดลอนดอน เพิ่มขึ้น 12 เซนต์ ปิดที่ 118.00 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

สัญญาน้ำมันดิบได้รับแรงหนุนหลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 9 ก.พ. ร่วงลง 27,000 ราย แตะระดับ 341,000 ราย ซึ่งลดลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะอยู่ที่ 360,000 ราย สะท้อนให้เห็นว่าตลาดแรงงานของสหรัฐยังคงฟื้นตัว

 

นอกจากนี้ สัญญาน้ำมันดิบยังได้รับแรงหนุนจากข่าวที่ การเจรจาประเด็นนิวเคลียร์ในรอบที่ 2 ระหว่างสำนักงานพลังงานปรมาณูสากล (IAEA) และอิหร่าน ยังไม่มีความคืบหน้า

 

อย่างไรก็ตาม ภาวะการซื้อขายในตลาดเป็นไปอย่างซบเซา ซึ่งส่งผลจำกัดการพุ่งขึ้นของสัญญาน้ำมันดิบ หลังจากสำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป หรือยูโรสแตท รายงานว่า จีดีพีของกลุ่มยูโรโซนหดตัวลง 0.6% ในไตรมาส 4 ปี 2555 เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาส และเมื่อเทียบเป็นรายปี จีดีพียูโรโซนหดตัว 0.9% เนื่องจากการหดตัวของเศรษฐกิจในประเทศยักษ์ใหญ่อย่างเยอรมนี ฝรั่งเศส และอิตาลี

 

โดยเศรษฐกิจฝรั่งเศสหดตัวลง 0.3% ในช่วงไตรมาส 4 ปี 2555 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่จีดีพีเยอรมนีในไตรมาส 4 ปี 2555 หดตัวลง 0.6% จากไตรมาส 3 ปีเดียวกัน และจีดีพี เบื้องต้นของอิตาลีในช่วงไตรมาส 4 ปี 2555 หดตัวลง 0.9% จากไตรมาสก่อนหน้า

 

ขณะที่รัฐบาลญี่ปุ่นรายงานว่าจีดีพีในไตรมาส 4/2555 ของญี่ปุ่นหดตัวลง 0.4% ซึ่งเป็นการหดตัวติดต่อกัน 3 ไตรมาส และสวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะขยายตัว 0.6% เนื่องจากยอดส่งออกและการลงทุนภาคธุรกิจชะลอตัวลง

 

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก: ดาวโจนส์ปิดลบ 9.52 จุดหลังจีดีพียูโรโซน,ญี่ปุ่นหดตัว

 

 

ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556 06:04:46 น.

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (14 ก.พ.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลต่อรายงานที่ว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของยูโรโซนและญี่ปุ่นหดตัวลงเกินคาดในไตรมาส 4 ปี 2555 อย่างไรก็ตาม ดาวโจนส์ขยับลงเพียงเล็กน้อย ในขณะที่ดัชนี Nasdaq และ S&P 500 สามารถปิดในแดนบวกได้เพราะตลาดได้รับแรงหนุนจากจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐที่ลดลงเกินคาด

 

 

 

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปรับตัวลง 9.52 จุด หรือ 0.07% ปิดที่ 13,973.39 จุด ดัชนี S&P 500 เพิ่มขึ้น 1.05 จุด หรือ 0.07% ปิดที่ 1,521.38 จุด และดัชนี Nasdaq เพิ่มขึ้น 1.78 จุด หรือ 0.06% ปิดที่ 3,198.66 จุด

 

ตลาดหุ้นนิวยอร์กได้รับแรงกดดันหลังจากสำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป หรือยูโรสแตท รายงานว่า จีดีพีของกลุ่มยูโรโซนหดตัวลง 0.6% ในไตรมาส 4 ปี 2555 เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาส และเมื่อเทียบเป็นรายปี จีดีพียูโรโซนหดตัว 0.9% เนื่องจากการหดตัวของเศรษฐกิจในประเทศยักษ์ใหญ่อย่างเยอรมนี ฝรั่งเศส และอิตาลี

 

โดยเศรษฐกิจฝรั่งเศสหดตัวลง 0.3% ในช่วงไตรมาส 4 ปี 2555 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่จีดีพีเยอรมนีในไตรมาส 4 ปี 2555 หดตัวลง 0.6% จากไตรมาส 3 ปีเดียวกัน และจีดีพี เบื้องต้นของอิตาลีในช่วงไตรมาส 4 ปี 2555 หดตัวลง 0.9% จากไตรมาสก่อนหน้า

 

ขณะที่รัฐบาลญี่ปุ่นรายงานว่าจีดีพีในไตรมาส 4/2555 ของญี่ปุ่นหดตัวลง 0.4% ซึ่งเป็นการหดตัวติดต่อกัน 3 ไตรมาส และสวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะขยายตัว 0.6% เนื่องจากยอดส่งออกและการลงทุนภาคธุรกิจชะลอตัวลง

 

อย่างไรก็ตาม ตลาดได้รับแรงหนุนในระหว่างวันหลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 9 ก.พ. ร่วงลง 27,000 ราย แตะระดับ 341,000 ราย ซึ่งลดลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะอยู่ที่ 360,000 ราย สะท้อนให้เห็นว่าตลาดแรงงานของสหรัฐยังคงฟื้นตัว

 

หุ้นยูเอส แอร์เวย์ส ร่วงลง 4.57% หลังจากมีรายงานว่าอเมริกัน แอร์ไลน์ส และยูเอส แอร์เวย์ส ได้ทำข้อตกลงควบรวมกิจการ มูลค่า 1.1 หมื่นล้านดอลลาร์ เพื่อจัดตั้งสายการบินรายใหญ่ที่สุดของสหรัฐและเป็นสายการบินที่มีความแข็งแกร่งทางด้านการเงิน โดยหลังจากการควบรวมกิจการแล้ว กลุ่มเจ้าหนี้ กลุ่มสหภาพ และพนักงานของบริษัท เอเอ็มอาร์ คอร์ป ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของอเมริกัน แอร์ไลน์ส จะเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่

 

หุ้นไฮนซ์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตซอสมะเขือเทศรายใหญ่ของสหรัฐ พุ่งขึ้น 19.87% หลังจากบริษัท เบิร์กเชียร์ แฮทธาเวย์ ของนายวอร์เรน บัฟเฟตต์ และบริษัท 3G Capital ตกลงที่จะเข้าซื้อกิจการของไฮนซ์

 

หุ้นเจนเนอรัล มอเตอร์ส (จีเอ็ม) ร่วงลง 3.21% หลังจากบริษัทเปิดเผยกำไรลดลงในปี 2555 เนื่องจากการขาดทุนในยุโรป ขณะที่หุ้นซิสโก ซิสเต็มส์ ขยับลง 0.71% แม้บริษัทเปิดเผยผลประกอบการรายไตรมาสที่สูงกว่าการคาดการณ์ของตลาดก็ตาม

 

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดหุ้นยุโรป: หุ้นยุโรปปิดลบ เหตุวิตกจีดีพีกลุ่มยูโรโซนหดตัว

 

 

ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556 06:18:07 น.

ตลาดหุ้นยุโรปปิดลบเมื่อคืนนี้ (14 ก.พ.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศยูโรโซน หลังจากสำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป (ยูโรสแตท) รายงานว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของยูโรโซนหดตัวลงในไตรมาส 4/2555 ซึ่งข้อมูลดังกล่าวได้บดบังปัจจัยบวกจากผลประกอบการที่สดใสของบริษัทเอกชน

 

 

 

ดัชนี Stoxx 600 ลดลง 0.2% ปิดที่ 287.79 จุด

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 3669.60 จุด ลบ 28.93 จุด ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีปิดที่ 7631.19 จุด ลบ 80.70 จุด ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6327.36 จุด ลบ 31.75 จุด

 

ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นยุโรปเป็นไปอย่างซบเซา หลังจากยูโรสแตท รายงานว่า จีดีพีของกลุ่มยูโรโซนหดตัวลง 0.6% ในไตรมาส 4 ปี 2555 เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาส และเมื่อเทียบเป็นรายปี จีดีพียูโรโซนหดตัว 0.9% เนื่องจากการหดตัวของเศรษฐกิจในประเทศยักษ์ใหญ่อย่างเยอรมนี ฝรั่งเศส และอิตาลี

 

โดยเศรษฐกิจฝรั่งเศสหดตัวลง 0.3% ในช่วงไตรมาส 4 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่จีดีพีเยอรมนีในไตรมาส 4 หดตัวลง 0.6% จากไตรมาส 3 ปีเดียวกัน และจีดีพี เบื้องต้นของอิตาลีในไตรมาส 4 หดตัวลง 0.9% จากไตรมาสก่อนหน้า

 

หุ้นเนสท์เลย์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตอาหารรายใหญ่ของโลก ร่วงลง 2.4% หลังจากบริษัทเปิดเผยยอดขายเพิ่มขึ้น 5.9% ในปี 2555 ซึ่งน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์เอาไว้ราว 6%

 

หุ้นธนาคารบังเกียของสเปน ดิ่งลง 13% หลังจากธนาคารเปิดเผยแผนการปรับโครงสร้างองค์กร ซึ่งรวมถึงการแปลงสภาพหุ้น

 

ขณะที่หุ้นเรโนล์ท ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของฝรั่งเศส ปรับตัวขึ้น 7.9% หลังจากบริษัทเปิดเผยว่า รายได้ก่อนหักภาษีอยู่ที่ 729 ล้านยูโร มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 698 ล้านยูโร

 

หุ้นธนาคารบีเอ็นพี พาริบาส์ พุ่งขึ้น 3.3% หลังจากธนาคารประกาศแผนลดต้นทุนรายปีลง 2 พันล้านยูโรภายในปี 2558

 

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คุณนาย Aiya อย่าลืมซื้อคืนนะย่ะ !!!!!

จากกราฟฯ และสถานการณ์ตอนนี้ จะมี Rebound และอย่าคิดว่าจะขึ้นไปเยอะ นิดหน่อยเท่านั้น จะเฮ ! ก็เพราะพรุ่งนี้ เสาร์-อาทิตย์ ตลาดฯ ปิด จึงเป็นที่มาของสัญลักษณ์ดังนี้

 

ปล. ทิศทางแนวโน้ม รอฝรั่งฯ มาบอก อนึ่ง บางสิ่งที่ผมโพสต์ไปแล้ว ถึงแม้จะถามอีก เช่น แนวรับเท่าไหร่ ผมก็จะไม่โพสต์ซ้ำ เปลืองเนื้อที่ไป 1 โพสต์ของเฮียกัมพลเปล่าๆ จึงควรที่จะอ่านย้อนหลัง หรือ จดเอาไว้. การผลุบๆโผล่ๆ แล้วเอาความสะดวกในตัวเอง เมื่ออยากรู้ ผมไม่สนับสนุนข้อมูลนะครับ

 

ขอบคุณเฮีย. เรียบร้อยก่อนออนปิดตีหนึ่ง. เช้ากลัวซื้อไม่ได้ เพราะออนเปิดสิบโมง

 

อิอิ ฝึกตาม trend มันทำใจยากจริงๆ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน: วิตกเศรษฐกิจยุโรปหดตัว ฉุดฟุตซี่ปิดลบ

 

 

ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556 07:28:10 น.

ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดลบเมื่อคืนนี้ (14 ก.พ.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศยักษ์ใหญ่ในยุโรป หลังจากมีรายงานว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของเยอรมนี อิตาลี และฝรั่งเศส หดตัวลงในไตรมาส 4/2555

 

ทั้งนี้ ดัชนี FTSE 100 ปรับตัวลง 31.75 จุด หรือ 0.5% ปิดที่ 6,327.36 จุด หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 6,302.00-6,364.72 จุด

 

 

 

ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นลอนดอนเป็นไปอย่างซบเซา หลังจากสำนักงานสถิติแห่งชาติของฝรั่งเศส (Insee) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจฝรั่งเศสหดตัวลง 0.3% ในช่วงไตรมาส 4 ปี 2555 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า และปรับตัวลง 0.3% เช่นกันเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2554

 

ด้านสำนักงานสถิติแห่งชาติของเยอรมนี (Destatis) เปิดเผยในวันเดียกันว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของเยอรมนีในช่วงไตรมาส 4 ปี 2555 หดตัวลง 0.6% จากไตรมาส 3 ปีเดียวกัน ขณะที่สำนักงานสถิติแห่งชาติของอิตาลี (Istat) เปิดเผยว่า จีดีพีเบื้องต้นของอิตาลีในช่วงไตรมาส 4 ปี 2555 หดตัวลง 0.9% จากไตรมาสก่อนหน้า และดิ่งลง 2.7% จากไตรมาสเดียวกันของปี 2554

 

หุ้นคาร์นิวาล ซึ่งเป็นผู้ประกอบการเรือสำราญ ร่วงลง 2.9% หลังจากบริษัทยอมรับว่าเหตุการณ์เพลิงไหม้เรือ "Triumph" อาจจะทำให้รายได้ของบริษัทลดลง 8 - 10 เซนต์ต่อหุ้น ในช่วงครึ่งแรกของปี 2556

 

หุ้นโวดาโฟนร่วงลง 2.4% จากการคาดการณ์ที่ว่าโวดาโฟนอาจเตรียมยื่นข้อเสนอซื้อกิจการบริษัท คาเบล ดอยช์แลนด์ ซึ่งเป็นบริษัทของเยอรมนี

 

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

 

ขอบคุณเฮีย. เรียบร้อยก่อนออนปิดตีหนึ่ง. เช้ากลัวซื้อไม่ได้ เพราะออนเปิดสิบโมง

 

อิอิ ฝึกตาม trend มันทำใจยากจริงๆ

ไอ้ประโยคนี้ วลีนี้ คือ " การขออีกนิด ขออีกหน่อย รอก่อนนะ อีกแป๊ปหนึ่ง " ระวัง " อดแดก " ต้องมาเขกกะโหลกตัวเอง นะครับ อนึ่ง เข้าซื้อตอนนี้ ก็ขึ้นไม่มาก การประชุม G7 มี 2 วัน จบวันเสาร์ ดังนั้น ถ้าอยากเข้าจริง ก็ต้องทนรอ ทำใจ รออาทิตย์หน้่า

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

ไอ้ประโยคนี้ วลีนี้ คือ " การขออีกนิด ขออีกหน่อย รอก่อนนะ อีกแป๊ปหนึ่ง " ระวัง " อดแดก " ต้องมาเขกกะโหลกตัวเอง นะครับ อนึ่ง เข้าซื้อตอนนี้ ก็ขึ้นไม่มาก การประชุม G7 มี 2 วัน จบวันเสาร์ ดังนั้น ถ้าอยากเข้าจริง ก็ต้องทนรอ ทำใจ รออาทิตย์หน้่า

 

ไม่รอ. กำขรี้ดีกว่ากำตด

 

เขกกระโหลกตัวเองหลายทีแล้ว ต้องไม่โลภ ต้องฝึกกกกกกกกกกกกก

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

 

ไม่รอ. กำขรี้ดีกว่ากำตด

 

เขกกระโหลกตัวเองหลายทีแล้ว ต้องไม่โลภ ต้องฝึกกกกกกกกกกกกก

:) ช่วงนี้ นายฯ คนนี้ เป็นขวัญใจผม เลยขอยกมากล่าวกับ คุณ Aiya ว่า " เยี่ยมว่ะ "

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

และแล้ว ก็ถึงเป้าหมายของฝรั่งฯ วิเคราะห์วิเดา เป็นที่เรียบร้อยแล้ว US$1630

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

:) ขำขำ เลขเด็ดคือเลขที่ออกยาก ยี้ื ! หวยออกวันเสาร์ ปาฎิหารย์เลยไม่มีต่อราคาทองฯ งวดนี้

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ปี 55 เจ๊งค่าบาทแสนล.ยอดสะสม5.3แสนล.-ยันจัดการเองได้ ธปท.ไม่ของบโปะขาดทุน (15/02/2556)

แบงก์ชาติยอมรับปี 2555 ขาดทุนค่าเงินบาท 1 แสนล้าน รวมสะสมในบัญชี 5.3 แสนล้าน แต่เป็นเรื่อง ที่จัดการได้ ไม่ต้องของบจากรัฐบาลเข้ามาชดชย ย้ำธปท.มีหน้าหลักในการดูแลเสถียรภาพของเศรษฐกิจ ส่วนเรื่องความเห็นต่างในการบริหารเงินทุนเคลื่อนย้าย ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ และดอกเบี้ยไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่ทำให้เงินไหลเข้า? มีเครื่องมือหลายตัวให้เลือกใช้

 

นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงงบดุลของ ธปท.ที่ขาดดุลสะสม 530,000 ล้านบาท ที่มาจากเข้าแทรกแซงการแข็งค่าของเงินบาท และปี 2555 ขาดทุนจากส่วนต่างดอกเบี้ยอีก 100,000 ล้านบาท ว่า ปัญหาการขาดทุนมาจาก 2 ส่วน คือ จากการเข้าแทรกแซงค่าเงินบาท และจากการบริหารงานที่ขาดทุนจากส่วนต่างดอกเบี้ยจ่ายที่สูงกว่าดอกเบี้ยรับอยู่ 2 % ซึ่ง ธปท.สามารถบริหารจัดการได้และดูแลได้ ดังนั้น จึงไม่มีความจำเป็นต้องให้รัฐบาลตั้งงบประมาณมาใช้หนี้ หรือรบกวนเงินภาษีของประชาชน

 

นายประสาร กล่าวว่า หน้าที่ของธนาคารกลางมีไว้เพื่อดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ?การเงิน ซึ่งตามหลักสากลวัดผลงานของแบงก์ชาติจากการดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมากกว่าการแสวงหาผลกำไร ??ปัจจุบันงบในบัญชีของธปท. อาจติดลบจำนวน 5 แสนล้านบาท แต่หากพิจารณาจากบัญชีเงินตราต่างประเทศยังเป็นบวกถึง 8 แสนล้านบาท โดยธปท.มีรายจ่ายจากดอกเบี้ยสูงกว่ารายรับจากดอกเบี้ยถึง 2 % และหากสภาวะเศรษฐกิจในต่างประเทศเริ่มฟื้นตัวก็จะสามารถแก้ปัญหาได้

 

ส่วนกระแสความขัดแย้งกับกระทรวงการคลังในการดูแลเงินทุนเคลื่อนย้ายนั้น ถือว่าเป็นเรื่องปกติที่ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเรื่องนี้จะมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันบ้าง โดยเป็นเหมือนกันทุกประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นผลดีที่จะทำให้เห็นถึงข้อเสียในแต่ละด้านให้ครบถ้วน แต่ทุกอย่างจะต้องหาข้อสรุปในเชิงสร้างสรรค์ให้มากที่สุด ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว กระทรวงการคลัง และ ธปท.ต่างมีความเป็นห่วงเรื่องเงินทุนเคลื่อนย้ายเช่นเดียวกัน เพราะเป็นปัญหาต่อเนื่อง หลังจากที่ประเทศขนาดใหญ่ใช้มาตรการอัดฉีดเงินเข้าระบบ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศตัวเอง เพราะหากสภาพคล่องเคลื่อนย้ายเข้ามามากก็จะเกิดปัญหาฟองสบู่ เพราะเรื่องอัตราดอกเบี้ยจะต่ำหรือสูง มีข้อดี-ข้อเสียต่างกัน เช่น หากอัตราดอกเบี้ยต่ำเกินไปจะเกิดฟองสบู่ในตลาดอสังหาริมทรัพย์และตลาดหุ้นได้ เพราะจะเกิดการเก็งกำไร ทำให้ราคาสินทรัพย์สูงกว่ามูลค่าที่แท้จริง แต่หากอัตราดอกเบี้ยสูงก็จะมีปัญหาการเก็งกำไรในตลาดพันธบัตรที่ได้จากกำไรส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยเช่นกัน

 

ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวอีกว่า ยังมีปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ที่มีแนวโน้มในทางบวก ที่เป็นแรงสนับสนุนให้มีเงินไหลเข้ามาลงทุนในประเทศ ไม่เพียงเฉพาะจากปัจจัยเรื่องอัตราดอกเบี้ยเท่านั้น เช่น ระบบเศรษฐกิจมีความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นหากเข้ามาลงทุนหรือไม่, ความเสี่ยงในเรื่องเกี่ยวกับนโยบายและกฎเกณฑ์ต่างๆ, ความเสี่ยงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน, ความเสี่ยงในเรื่องสภาพคล่อง, ความเสี่ยงในเรื่องผลตอบแทนที่จะได้รับ, บรรยากาศการลงทุน เป็นต้น ขณะที่ปัจจัยเรื่องดอกเบี้ยนั้นจะเป็นประเด็นท้ายๆ ที่นักลงทุนจะนำมาพิจารณาประกอบการตัดสินใจ

 

“แบงก์ชาติก็ไม่ได้อยู่ในความประมาท เพราะยังมีเครื่องมือที่จะใช้ในการบริหารจัดการ มีเครื่องมือหลายตัวที่จะนำมาใช้ในการดูแล เรื่องผลกระทบจากเงินทุนไหลเข้า ซึ่งเครื่องมือแต่ละตัวนั้น จะมีข้อดี-ข้อเสียแตกต่างกันไป ต้องตัดสินใจว่าจะให้น้ำหนักการ ดูแลที่ส่วนไหน เพราะอัตราดอกเบี้ยไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่ทำให้เงินทุนไหลเข้า นักลงทุนจะพิจารณาจากหลายปัจจัยประกอบกัน ทั้งความเสี่ยงด้านนโยบายการเงิน ความเสี่ยงกฎเกณฑ์การลงทุน ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง โดยในส่วนของประเทศไทย ปัจจัยเสี่ยงด้านบรรยากาศการลงทุน (Sentimental) เป็นปัจจัยหลักมากกว่า“ นายประสาร กล่าว

 

พร้อมกันนี้ ยังยืนยันว่า ธปท.ดูแลปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเต็มที่ให้ระบบการเงินมีเสถียรภาพมากที่สุด และมีเครื่องมือทางการเงินเตรียมพร้อมไว้อยู่แล้ว ซึ่งมีเครื่องมือในหลายระดับ เพราะหลายมาตรการมีข้อดี-ข้อเสียที่แตกต่างกัน

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า (วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...