ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

เนื่องจาก วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556 จะเป็นวันทำงานวันสุดท้ายของสัปดาห์นี้ ก่อนที่ ฝรั่งสหรัฐฯ จะหยุดยาว 3 วัน ที่เรียกว่า Long Weekend เนื่องจากเป็นวันสำคัญของชาวอเมริกัน วันประธานาธิบดีหรือPresident’s Day หรือ Washington’s Day ในฐานะที่ประเทศสหรัฐอเมริกา มีสถานะอภิมหาอำนาจของโลกอย่าง

 

บุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของประเทศ จึงมีความสำคัญอย่างมาก ซึ่งกำหนดให้ตรงกับวันจันทร์ที่ 3 เดือนกุมภาพันธ์ สำหรับปีนี้ตรงกับวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2556

 

กิจกรรมสุดมันส์ของลมหนาวและหิมะตกแบบนี้คงหนีไม่พ้นการเล่นสกีและไอซ์สเก็ต ที่เมื่อใกล้วันหยุดสุดสัปดาห์หรือวันหยุดยาว จะพากันจัดทริปของสมาชิกในครอบครัวหรือกลุ่มเพื่อน มุ่งหน้าสู่หุบเขาหิมะที่ท้าทายความสูงและความมันส์ ส่วนการเล่นไอซ์สเก็ตก็เป็นการเล่นแบบทริปสั้นๆ ที่ไม่ต้องเดินทางไปไกล แต่ได้ออกกำลังกายพร้อมโชว์ลีลา การทรงตัวและความสมดุลของร่างกาย

 

ปล. ไม่ต้องเช็คหรอกครับ หยุดแน่ๆๆ ปิดเร็วขึ้น ประมาณ 4 ทุ่มก็ปิดแล้ว

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ต่างประเทศ

 

 

สงครามค่าเงินระอุจับตาราคาทอง...กระฉูด!

 

 

icon-sns-facebook.gif

50

icon-sns-tweeter.gif

1

 

 

93AC4183F18C44C19341BE9985684A55.jpg

 

 

 

โดย...นงลักษณ์ อัจนปัญญา

 

หนึ่งในประเด็นที่มีการพูดถึงทักท้วงกันมาโดยตลอด และเริ่มทวีความเข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆ นับตั้งแต่ปีใหม่เป็นต้นมา คือ กรณีที่ประเทศเสาหลักทางเศรษฐกิจของโลกเดินหน้าใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงิน เพื่อกดค่าเงินสกุลเงินของตัวเองให้ต่ำลง

และกลายเป็นประเด็นหลักสำคัญที่บรรดาผู้นำหรือผู้แทนจาก 20 ประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ หรือ จี20 จะนำมาถกเถียงกันอย่างดุเดือดในการประชุมประจำปี ซึ่งจะจัดขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์นี้

เพราะแม้เจตนาจะมุ่งกระตุ้นเศรษฐกิจและการเติบโตภายในประเทศ ด้วยการเพิ่มความได้เปรียบของภาคส่งออก ลดการขาดดุลการค้า ทว่าผลข้างเคียงอย่างแรงของการใช้มาตรการดังกล่าวก็คือการที่ประเทศพันธมิตร คู่ค้าเสียเปรียบจนกระเทือนเสถียรภาพและเศรษฐกิจการเติบโตของตัวเอง จนนักวิเคราะห์ทั่วโลกหวั่นใจว่าจะเกิด “สงครามค่าเงิน” ภายในปี 2556 นี้

อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่า ขณะที่บรรยากาศการค้าการลงทุนของโลกมีแนวโน้มระอุด้วยสงครามค่าเงิน นักวิเคราะห์และนักลงทุนอีกส่วนหนึ่งเริ่มเล็งเห็นและคาดการณ์ไว้เรียบร้อย แล้วว่า สถานการณ์ดังกล่าวจะทำให้ “ทองคำ” ปรับตัวพุ่งขึ้นอย่างแน่นอน

เพราะในสถานการณ์ที่เงินล้นตลาดสภาพคล่องมากเกิน และมูลค่าของเงินสกุลหลักซึ่งนิยมใช้เป็นทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศลด น้อยถอยลง โลหะที่มีมูลค่าในตัวเองอย่าง ทองคำ ย่อมเป็นที่ต้องการมากกว่าในฐานะหลักประกันและแหล่งพักเงินที่ปลอดภัย

แพทริก อาร์มสตรอง ผู้จัดการจากบริษัทด้านการลงทุนอาร์มสตรอง อินเวสต์เมนต์ซึ่งเริ่มขยับพื้นที่เปิดทางให้กับการลงทุนในทองคำแล้ว ตั้งข้อสังเกตง่ายๆ ว่าเมื่อใดก็ตามที่โลกแวดล้อมไปด้วยข่าวร้ายมากมาย ราคาทองคำมักจะอยู่ในระดับดีเสมอ

หรือหมายความว่า แม้ราคาทองคำในตอนนี้จะปรับลดลงเรื่อยๆ แต่ราคาของทองคำจะปรับขึ้นแน่นอน เหมือนที่เคยทำสถิติสูงสุดมาแล้วในช่วงเดือน ก.ย. 2554 ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 1,920 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ ซึ่งเป็นช่วงที่สถานการณ์หนี้สาธารณะของกลุ่มยูโรโซนเลวร้ายหนัก จนผลักดันให้นักลงทุนแห่ซื้อทองคำเพื่อเป็นหลักประกันอย่างล้นหลาม

ทั้งนี้ ราคาทองคำในขณะนี้ ล่าสุดที่การซื้อขายเมื่อวันที่12 ก.พ. ทำสถิติต่ำสุดนับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา โดยลดลงมาอยู่ที่ 1,642 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ ขณะที่การซื้อขายทองคำล่วงหน้าสัญญาส่งมอบในเดือน เม.ย. ปรับลดลงมาอีก 0.1% ที่ 1,648.70 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ ในตลาดโคเม็กซ์ นิวยอร์ก และทำสถิติต่ำสุดในรอบ5 สัปดาห์ที่ผ่านมา

เหตุผลก็เพราะสัญญาณปัจจัยบวกการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของทั้งสหรัฐ เช่น การส่งออกที่เพิ่มขึ้น ตัวเลขการขาดดุลที่ลดลง เช่นเดียวกับจีนและญี่ปุ่น ทำให้นักลงทุนส่วนใหญ่เกิดความเชื่อมั่นที่จะเข้ามาลงทุนในตลาดเพิ่มมากขึ้น แทนที่การถือครองทองคำซึ่งไม่มีผลตอบแทนที่ตอบโจทย์กับนักลงทุนมากนัก

ทว่า สถานการณ์ข้างต้นก็ยังไม่สามารถวางใจได้แน่นอน เนื่องจากเป็นผลลัพธ์ของมาตรการกระตุ้นจากภาครัฐที่ออกมาชั่วครั้งชั่วคราว ไม่ได้เกิดจากความเคลื่อนไหวจากภาคเศรษฐกิจจริง รวมถึงปริมาณความต้องการบริโภคสินค้าภายในตลาดที่ยังคงอ่อนแรงอยู่

ยิ่งเมื่อแนวโน้มการประชุมจี20 ซึ่งเป็นการประชุมที่มักจะสะท้อนให้เห็นภาพรวมของเศรษฐกิจในปีนั้นๆ ระบุชัดว่า หลายประเทศทั่วโลกมุ่งสนใจกับนโยบายค่าเงินที่ทำให้กลไกอัตราแลกเปลี่ยน ระหว่างประเทศบิดเบือนมากขึ้นก็ยิ่งทำให้นักลงทุนและนักกลยุทธ์ส่วนใหญ่ค่อน ข้างเชื่อมั่นว่า ไม่ควรเพิกเฉยมองข้ามต่อทองคำโดยเด็ดขาด

ไมเคิล วิดเมอร์ นักกลยุทธ์ด้านตลาดแร่โลหะจาก BofA เมอร์ริล ลินช์ โกลบอล รีเสิร์ช กล่าวว่า ความผันผวนของราคาทองคำที่อยู่ในช่วงขาลงจะเป็นไปในระยะสั้นมากกว่าระยะยาว โดยราคาทองคำมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นหลังจากที่นโยบายกดค่าเงินของประเทศ ต่างๆ เริ่มออกฤทธิ์

“ขณะนี้ตลาดกำลังขาดแรงผลักดันสำคัญในการซื้อทองคำ และผมจะไม่แปลกใจเลยหากราคาทองจะลดลงไปอีกสัก 100 เหรียญสหรัฐ เหตุผลง่ายๆ เลยก็คือ เราส่วนใหญ่ต่างคิดตรงกันว่าน่าจะได้เห็นการเติบโตของเศรษฐกิจโลกมากขึ้นสัก เล็กน้อย” วิดเมอร์ กล่าว

ทั้งนี้ สิ่งที่นักกลยุทธ์ส่วนใหญ่รวมถึงวิดเมอร์คาดการณ์ไว้ตรงกันก็คือว่า ราคาทองคำมีแนวโน้มจะปรับตัวสูงขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังโดยปรับขึ้น ประมาณ250-300 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ จากราคาในปัจจุบัน โดยเป็นผลมาจากการที่หลายประเทศน่าจะยังคงดำเนินนโยบายลดค่าเงินของตัวเอง ต่อไป

และเงินสกุลสำคัญที่น่าจับตามองก็คือ“เงินเยน” เพราะหลายฝ่ายระบุชัดเจนว่า หากเงินเยนยังคงอ่อนต่อเนื่อง บรรดาธนาคารกลางต่างๆ ในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ โดยเฉพาะภายในภูมิภาคเอเชียย่อมไม่ยอมนิ่งเฉยดูดายปล่อยให้อัตราแลกเปลี่ยน เป็นไปตามยถากรรมของกลไกตลาดแน่นอน

และทันทีที่ประเทศต่างๆ เริ่มเข้าแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยน ทุนสำรองระหว่างประเทศย่อมปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ธนาคารกลางเหล่านั้นต้องเพิ่มความหลากหลายให้กับทุนสำรองของ ตัวเองเพื่อกระจายความเสี่ยง โดยแทนที่จะถือครองแต่เงินสกุลเหรียญสหรัฐอย่างเดียว ธนาคารกลางต่างๆ ก็จะหันเข้าหาทองคำมากขึ้น เหมือนเช่นที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในช่วง 23 ปีที่ผ่านมา

ทั้งนี้ แม้ผู้นำหลายประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคยุโรป ซึ่งกำลังทุกข์หนักกับค่าเงินยูโรที่แข็งค่าขึ้นเพราะเงินเหรียญสหรัฐและ เงินเยนอ่อนค่าลง จะพยายามออกมาทัดทานนโยบายการลดค่าเงินอย่างเต็มที่ พร้อมเรียกร้องให้ทุกประเทศร่วมกันปฏิรูประบบการเงินให้มีประสิทธิภาพเพื่อ หลีกเลี่ยงผลกระทบที่จะเกิดกับตลาดการค้าระหว่างประเทศ โดยมีหลายประเทศในเขตเศรษฐกิจเกิดใหม่ เช่น บราซิล ขานรับ

ทว่า เมื่อต้องเลือกระหว่างระบบกลไกตลาดที่เท่าเทียมกับความอยู่รอดของประเทศ ไม่ต้องเฉลยก็ย่อมเห็นได้ชัดเจนแล้วว่า ประเทศส่วนใหญ่จะเลือกข้อไหน เห็นได้จากการที่ธนาคารกลางญี่ปุ่นเพิ่งจะประกาศคงการซื้อพันธบัตรรัฐบาลใน ปีหน้าต่อไป

ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจ หากปลายปีนี้โลกจะได้เห็นราคาทองคำทำสถิติสูงสุดอีกครั้ง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เงินบาทเปิด 29.82/84 คาดแกว่งกรอบแคบ รอผลประชุม G20-กนง.(15/02/2556)

นักบริหารเงินจากธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 29.82/84 บาท/ดอลลาร์ ทรงตัวอยู่ในระดับเดียวกับเมื่อวานนี้ที่ปิดตลาดที่ระดับ 29.82/84 บาท/ดอลลาร์

 

 

โดยทิศทางของเงินบาทวันนี้คาดว่าจะยังทรงตัวอยู่ในกรอบแคบๆ โดยตลาดยังให้ความสนใจกับการประชุมรัฐมนตรีคลัง และธนาคารกลางของกลุ่มประเทศ G20 ในระหว่างวันที่ 14-15 ก.พ.ซึ่งคาดว่าจะมีการหารือถึงสถานการณ์สงครามค่าเงินซึ่งมีผลต่อบรรยากาศ การลงทุนของหลายประเทศในขณะนี้ โดยผลสรุปจากที่ประชุม G20 น่าจะออกมาในช่วงวันหยุดปลายสัปดาห์

 

 

ส่วนปัจจัยในประเทศที่นักลงทุนยังติดตาม คือ การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) ท่ามกลางความคาดการณ์ได้ 2 กระแส คือ การคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับเดิมที่ 2.75% หรือการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 0.25% มาอยู่ที่ระดับ 2.50%

 

 

สำหรับความเคลื่อนไหวของค่าเงินสกุลหลักต่างประเทศช่วงเปิดตลาดเช้า นี้ เงินเยนอยู่ที่ระดับ 92.66/68 เยน/ดอลลาร์ ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.3351/3354 ดอลลาร์/ยูโร

 

 

คืนนี้ สหรัฐฯ จะมีการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น ข้อมูลเงินทุนไหลเข้าสุทธิและปริมาณการซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐของต่างชาติ เดือนธ.ค.2012 และข้อมูลการผลิตภาคอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กำลังผลิตเดือนม.ค.2013 เป็นต้น

 

 

นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 29.75-29.85 บาท/ดอลลาร์

 

ที่มา : ทันหุ้น(วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ผู้ว่าแบงก์ชาติระบุค่าเงินบาทเริ่มนิ่ง (15/02/2556)

ผู้ว่าแบงก์ชาติ ระบุค่าเงินบาทเริ่มนิ่ง พร้อมย้ำส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของไทยไม่ใช่ปัจจัยหลักดึงดูดเงินไหลเข้าของต่างชาติ

 

นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท.เปิดเผยภายหลังมอบรางวัล bibor awards 2012 ว่า ค่าเงินบาทในช่วงนี้เริ่มทรงตัว และเคลื่อนไหวเกาะกลุ่มกับประเทศต่างๆ ในภูมิภาคมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ที่สนับสนุนให้เงินไหลเข้ามาลงทุนในไทย เช่น อัตราแลกเปลี่ยนสภาพคล่อง และผลตอบแทนที่ได้รับ รวมไปถึงนโยบายและกฏเกณฑ์ต่างๆ ซึ่งตนมองวา ปัจจัยเรื่องอัตราดอกเบี้ยเป็นประเด็นท้ายๆ ที่นักลงทุนจะนำมาประกอบการตัดสินใจ

 

และเชื่อว่า ความเห็นแตกต่างระหว่างกระทรวงการคลัง และแบงก์ชาตินั้น ถือเป็นเรื่องปกติ แต่ในภาพรวมแล้วมีความเห็นตรงกันเป็นส่วนใหญ่ และมั่นใจว่า ความเห็นที่แตกต่างนั้นน่าจะมีข้อสรุปในเชิงสร้างสรรค์ และไม่ถือว่าผิดธรรมชาติ พร้อมยืนยันแบงก์ชาติยังไม่มีความจำเป็นต้องของบประมาณจากรัฐบาล แม้ว่างบในบัญชีติดลบถึง 5 แสนล้านบาท

 

ส่วนการมอบรางวัล bibor awards 2012 ในวันนี้ก็เพื่อต้องการผลักดันให้ตลาดการเงินไทยหันมาใช้อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงในตลาดกรุงเทพ หรือ bibor มาอ้างอิงกับการทำธุรกรรมเงินบาท ทั้งในระยะสั้น และระยะยาวมากขึ้น โดยในปีนี้แบงก์ชาติมีแผนใช้แทนอัตราดอกเบี้ยซื้อป้องกันความเสี่ยงเงินบาท อัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี และใช้ป้องกันความเสี่ยงในตลาดอัตราแลกเปลี่ยน (อินเตอร์แบงก์สว็อป)

 

ที่มา : ครอบครัวข่าว 3 (วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

*ตลาดหุ้นเอเชียลดลงเช้านี้ หลังตลาดผิดหวังผลประกอบการบริษัทออสเตรเลีย(15/02/2556)

ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลงเช้านี้ หลังจากที่บริษัทริโอ ทินโต กรุ๊ป และบริษัท ออสเตรเลีย แอนด์ นิวซีแลนด์ แบงกิ้ง กรุ๊ป เปิดเผยผลประกอบการที่น่าผิดหวัง

 

ดัชนี MSCI Asia Pacific ลดลง 0.3% แตะระดับ 133.50 จุด เมื่อเวลา 9.19 น.ตามเวลาโตเกียว

ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 11,239.21 จุด ลดลง 68.07 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 23,315.41 จุด ลดลง 97.84 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 1,981.06 จุด เพิ่มขึ้น 1.45 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,290.65 จุด เพิ่มขึ้น 0.18 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,632.45 จุด เพิ่มขึ้น 1.56 จุด และดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียเปิดวันนี้ที่ 5,031.90 จุด ลดลง 5.00 จุด

 

ตลาดหุ้นจีนและไต้หวันปิดทำการในวันนี้ เนื่องในเทศกาลตรุษจีน

 

หุ้นริโอ ทินโต บริษัทเหมืองรายใหญ่อันดับสองของโลก ลดลง 2.1% หลังบริษัทขาดทุนหนักสุดในรอบกว่า 15 ปี ขณะที่หุ้นออสเตรเลีย แอนด์ นิวซีแลนด์ แบงกิ้ง กรุ๊ป ธนาคารรายใหญ่อันดับสามของออสเตรเลีย ขยับลง 0.8% หลังกำไรไตรมาสแรกร่วงลง 20%

 

ที่มา : ทันหุ้น(วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

เก็งกำไรน้ำมันพ่นพิษราคาพุ่งไม่หยุด กระทบศก.มะกัน (15/02/2556)

แม้ว่าการเกิดขึ้นมาของเทคโนโลยีการขุดเจาะและสกัดหินน้ำมัน (Oil Shale) อันทันสมัยจะทำให้สหรัฐสามารถก้าวทะยานขึ้นผู้ผลิตพลังงานน้ำมันในอันดับต้นๆ ของโลก และคาดว่าในปี 2563 จะสามารถแซงหน้าซาอุดี อาระเบีย ขึ้นแท่นเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยกำลังการผลิตเฉลี่ยที่ 11.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน แต่ทว่าแนวโน้มความหวังว่าประชาชนชาวอเมริกันจะสามารถเข้าถึงและบริโภคพลังงานราคาถูกในอนาคตดูเหมือนว่าจะไม่ใช่เรื่องง่ายนัก

 

เพราะปัจจัยที่กำหนดราคาในตลาดสหรัฐ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความต้องการซื้อและขายจากตลาดภายในเป็นตัวชี้ขาดเพียงอย่างเดียว หากแต่ยังถูกกำหนดจากผลพวงจากการเก็งกำไรในตลาดน้ำมันซื้อขายล่วงหน้าของเหล่านักลงทุนด้วย

 

ยืนยันได้จากข้อมูลของสำนักข่าวรอยเตอร์ส ที่ระบุว่า กองทุนเก็งกำไรได้เพิ่มสัดส่วนการลงทุนในตลาดซื้อขายน้ำมันล่วงหน้าเกือบถึง 2 เท่า นับตั้งแต่ 11 ธ.ค.ปีที่แล้ว ขณะที่ข้อมูลในตลาดซื้อขายที่ลอนดอน และนิวยอร์ก ก็มีรายงานว่ามีนักลงทุนเข้าไปลงทุนในตลาดน้ำมันล่วงหน้ามากจนใกล้ถึงระดับที่เคยสูงที่สุดในอดีตแล้วในขณะนี้

 

นอกจากนี้ เมื่อสัปดาห์ก่อนจำนวนสัญญาที่ทำการซื้อขายน้ำมันในตลาดล่วงหน้า รวมแล้วมีปริมาณสูงมากเกือบถึง 420 ล้านบาร์เรล ซึ่งในจำนวนดังกล่าวถือว่ามากกว่าปริมาณการบริโภคน้ำมันในสหรัฐ 3 สัปดาห์รวมกัน

 

จึงไม่แปลกที่จะได้เห็นราคาน้ำมันในสหรัฐพุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยราคาน้ำมันดิบในตลาดนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 14 ก.พ.ที่ผ่านมา ที่ไต่ระดับไปอยู่ที่ 97.13 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ขณะที่เมื่อช่วงกลางเดือน ธ.ค.ปีที่แล้วอยู่ที่ 85 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลเท่านั้น ส่วนทางด้านราคาน้ำมันดิบเบรนต์ทำสถิติสูงสุดในรอบเกือบ 5 เดือน โดยขึ้นไปอยู่ที่ 118.01 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ขณะที่ 2 เดือนก่อนหน้าอยู่ที่ 108 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล

 

ด้านสมาคมยานยนต์อเมริกัน (เอเอเอ) ชี้ว่า ราคาแก๊สโซลีน นับตั้งแต่วันที่ 11 ธ.ค.ปีที่แล้ว ก็ปรับตัวขึ้น 28 เซนต์ ไปอยู่ที่ 3.60 เซนต์ต่อแกลลอน และคาดว่าอาจเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต เมื่อต้องเจอมาตรการภาษีท้องถิ่น ขณะที่องค์การข้อมูลพลังงานสหรัฐก็คาดว่าราคาที่ประชาชนสหรัฐจะต้องจ่ายอาจสูงถึง 3.73 เหรียญสหรัฐต่อแกลลอน ในเดือน พ.ค.นี้

 

ทั้งนี้ สาเหตุที่ทำให้นักลงทุนมองว่าราคาน้ำมันจะสูงขึ้นและกล้าเข้ามาเก็งกำไรก็คือ การที่ภาวะเศรษฐกิจจีนเริ่มฟื้นตัวขึ้น ซาอุดีอาระเบียมีการตัดลดการผลิตน้ำมันลง การปะทุขึ้นของความวุ่นวายในสถานการณ์ทวีปตะวันออกกลาง และแอฟริกา และการคว่ำบาตรอิหร่านของสหรัฐ

 

นอกจากนี้ กลุ่มประเทศส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ก็คาดการณ์ว่าความต้องการน้ำมันของโลกในปีนี้จะเพิ่มขึ้นจากที่คาดการณ์ไว้เดิมในเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา โดยขึ้นมาอยู่ที่ 89.68 ล้านบาร์เรล จากที่ 89.55 ล้านบาร์เรล

 

ดังนั้น จึงทำให้นักลงทุนจึงเชื่ออย่างสนิทใจว่าราคาน้ำมันจะพุ่งสูงขึ้นไปอีกในอนาคต

 

จากแนวโน้มราคาน้ำมัน และพลังงานที่จะเพิ่มสูงขึ้นนี้ ทำให้คาดว่าชาวอเมริกันต้องมีค่าใช้จ่ายน้ำมันสูงมากกว่าปีก่อนๆ ซึ่งปัจจุบันค่าใช้จ่ายที่ครัวเรือนสหรัฐต้องจ่ายค่าน้ำมันอยู่ที่ 3,000 เหรียญสหรัฐ (8.7 หมื่นบาท) ต่อปี

 

ประเด็นดังกล่าวมีแนวโน้มว่าจะสร้างปัญหาให้กับรัฐบาลของ บารัก โอบามา อย่างมากในช่วงเดือน พ.ค.นี้ ซึ่งจะเป็นช่วงวันหยุดติดต่อกันหลายวัน เนื่องในโอกาสวันทหารผ่านศึก และคาดว่าจะมีการใช้รถเดินทางมากขึ้น

 

อีกทั้งด้วยราคาน้ำมันที่สูงขึ้นก็จะไปกระทบกับอำนาจในการบริโภค และการใช้จ่ายของประชาชนให้น้อยลง ซึ่งจะทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐลำบากมากขึ้น

 

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปัญหาการเก็งกำไรในตลาดน้ำมันจะเป็นที่รับรู้กันดีในหมู่ผู้เชี่ยวชาญ ผู้กำหนดนโยบายระดับประเทศจะเริ่มมีให้เห็นออกมาเป็นระยะ แต่การดำเนินการแก้ไข และหามาตรการป้องกันก็ดูเหมือนว่าจะไม่คืบหน้าไปไหน และยากในการลงมือปฏิบัติ เพราะหลายฝ่ายยังมีมุมมองต่อปัญหาต่างกันสูงมาก โดยเฉพาะปัญหาคาใจว่าตกลงแล้วการเก็งกำไรในตลาดซื้อขายน้ำมันส่งผลต่อภาวะราคาที่เปลี่ยนแปลงไปจริงหรือไม่

 

ดังเห็นได้จากข้อเสนอของประธานาธิบดี บารัก โอบามา เมื่อต้นปีที่แล้ว ซึ่งต้องการที่จะจำกัดปริมาณการซื้อขายน้ำมันในตลาดล่วงหน้า และปกป้องผู้บริโภคจากการเก็งกำไรน้ำมัน ด้วยการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม และกำหนดบทลงโทษจากพวกนักเก็งกำไร ทว่าหลังจากนั้นเพียงไม่กี่เดือนศาลก็ตัดสินว่ามาตรการดังกล่าวไม่สามารถนำออกมาใช้บังคับได้ เพราะไม่สามารถพิสูจน์หลักฐานความเชื่อมโยงระหว่างการเก็งกำไรในตลาดน้ำมัน ที่จะส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงราคาน้ำมันได้อย่างชัดเจน

 

เนื่องจากต้องยอมรับว่ากระบวนการและวิธีการในตลาดซื้อขายน้ำมันค่อนข้างซับซ้อน และยากแก่การพิสูจน์ออกมาได้ชัดแจ้ง เนื่องจากการซื้อขายในตลาดโภคภัณฑ์มีความแตกต่างออกไปจากการซื้อขายในตลาดหุ้น และตลาดพันธบัตร ที่มีการกำหนดโดยธุรกิจที่ชัดเจน และมีผู้เข้าซื้อขายในปริมาณจำกัด ขณะที่ในตลาดน้ำมัน ทุกบริษัททั่วโลกสามารถผลิตและจำหน่ายออกมาแข่งกับราคาสหรัฐและยุโรปได้

 

นอกจากนี้ ปัจจัยสถานการณ์ในต่างประเทศก็ยังมีบทบาทในการกำหนดราคาน้ำมันในสหรัฐอีกด้วย เพราะสหรัฐยังพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันในสัดส่วนสูงมากถึง 8 ล้านบาร์เรลต่อวันอยู่

 

“ตลาดได้หันไปจับตามองถึงแนวโน้มที่จะเป็นปัจจัยลบต่อสถานการณ์ของตลาดน้ำมันโลกแล้ว ไม่ใช่เพียงเฉพาะสหรัฐอย่างเดียว” แอนดริว ลิปพาว จากลิปพาว ออยล์ แอสโซซิเอชัน บริษัทที่ปรึกษาด้านการซื้อขายน้ำมันจากรัฐเทกซัส กล่าว

 

ถึงกระนั้นแม้ว่าจะเป็นช่วงเวลาที่สดใสในมุมมองของนักเก็งกำไร แต่ก็มีเสียงเตือนมาจากหลายฝ่ายว่ามีโอกาสที่จะเกิดภาวะฟองสบู่แตกเช่นกัน

 

เหมือนดังเช่นเหตุการณ์ในต้นปี 2554 และปี 2555 ที่นักลงทุนได้ลงทุนในน้ำมันไปมากถึง 440 และ 422 ล้านบาร์เรล ตามลำดับ ทว่าเมื่อเข้าสู่ไตรมาส 2 ของปีนั้นๆ ราคาก็ตกลงต่ำลงอย่างรวดเร็ว โดยราคาน้ำมันดิบสหรัฐร่วงลงต่ำกว่า 80 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลในเดือน มิ.ย.ปีที่แล้ว ขณะที่ราคาน้ำมันดิบเบรนต์ร่วงลงจาก 125 เหรียญสหรัฐ ลงมาต่ำกว่า 90 เหรียญสหรัฐ ในช่วงเวลาเดียวกัน ขณะที่ราคาแก๊สโซลีนก็ลดลงเช่นกัน

 

จึงไม่แปลกที่ในช่วงเวลานั้นจะเห็นเหล่านักลงทุนหลายรายขาดทุนเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะการชิงเทขายออกอย่างรวดเร็วในปี 2554 จนทำให้ราคาน้ำมันตกลง 10 เหรียญสหรัฐภายในวันเดียว ในเดือน พ.ค.ปีดังกล่าว

 

ดังนั้นต้องจับตาดูต่อความเคลื่อนไหวของทิศทางราคาพลังงานในสหรัฐให้ดีว่าจะนำไปสู่ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจและนำไปสู่ความยากลำบากทางการเมืองให้กับโอบามาได้มากน้อยแค่ไหน

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ (วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

"โต้ง" แลกหมัด ธปท. เดิมพัน...มโหฬาร "เสถียรภาพเศรษฐกิจ" (15/02/2556)

ความตึงเครียดบนความเห็นต่างของการดำเนินนโยบายการเงินกับความรับผิดชอบต่อการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศระหว่างหน่วยงานผู้ดำเนินนโยบายการเงินคือธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กับกระทรวงการคลัง ผู้มีอำนาจกุมบังเหียนดูแลเศรษฐกิจโดยภาพรวมของประเทศ

 

เป็นประเด็นร้อนที่ตลาดทุนตลาดเงินเฝ้าติดตามการแลกหมัดระหว่างฟากกระทรวงการคลัง"กิตติรัตน์ณ ระนอง" รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง ซึ่งมีโปรโมเตอร์ออกหน้าออกตาที่เป็นถึงระดับประธานคณะกรรมการ ธปท.(บอร์ด) "ดร.วีรพงษ์ รามางกูร" แต่อยู่ตรงข้ามกับฟาก ธปท. "ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล" ผู้ว่าการ ธปท.หรือแบงก์ชาติ

 

สังเวียนการประลองกำลังครั้งนี้เปิดฉากขึ้นอีกระลอกในต้นปีนี้ จากกระแสเงินทุนไหลบ่าเข้ามาเพียงเดือนเศษค่าเงินบาทเทียบกับดอลลาร์สหรัฐแข็งค่ามากที่สุดในอาเซียน และเป็นอันดับ 2 ในเอเชีย (ดูตารางประกอบ) 2.65% ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนเมื่อปลายปีที่ 30 บาท/ดอลลาร์ มาอยู่ในกรอบ 29.60-29.80 บาท/ดอลลาร์ ในช่วงต้นปี เสียงจากฝั่ง รมว.คลังบอกว่า "ค่าเงินบาทเป็นเรื่องของ ธปท."

 

แต่ทว่าหลังจากนั้นไม่นาน "ดร.วีรพงษ์" ประธานบอร์ดแบงก์ชาติ กลับเป็นฝ่ายออกมาวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของ ธปท.อย่างเผ็ดร้อน ที่ออกมาตรการสนับสนุนให้นักธุรกิจไทยไปลงทุนหรือถือครองสินทรัพย์ในต่างประเทศ สำหรับรับมือเงินทุนไหลเข้านั้น เป็นเพียง "ยาหม่อง" เท่านั้น และยังระบุอีกว่า "เงินร้อน" จะไหลบ่าเข้าประเทศไทย หาก ธปท.ยังคงรักษาส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยเงินบาท (2.75%) กับอัตราดอกเบี้ยดอลลาร์สหรัฐ (0.25%) ไว้สูงเช่นปัจจุบัน อาจทำให้เห็นเงินบาทแข็งไปที่ 28 บาท/ดอลลาร์

 

ดังนั้นคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ภายใต้ ธปท.ควรดำเนินการลดดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งการประชุม กนง.จะมีขึ้นในวันที่ 20 ก.พ.นี้

 

"ที่เป็นห่วงที่สุดคือผู้กำหนดนโยบายการเงินไม่มีความเข้าใจเรื่องความเชื่อมโยงระหว่างส่วนต่างของดอกเบี้ยกับการเคลื่อนย้ายของเงินทุนระยะสั้นซึ่งเป็นเรื่องน่าห่วงอย่างยิ่งแม้ผมจะเป็นประธานธนาคารแห่งประเทศไทยก็ยังพูดกันไม่ได้"คำกล่าวนี้น่าจะเป็นหมัดแรกที่กระแทกเข้าหน้าแบงก์ชาติ

 

ตามติดมาด้วยการที่ รมว.คลัง "กิตติรัตน์" ส่งจดหมายตรงถึง "ดร.วีรพงษ์" ประธานบอร์ดแบงก์ชาติ เมื่อวันที่ 31 ม.ค. ให้ ธปท.ทบทวนการดำเนินนโยบายดอกเบี้ย เพื่อให้ส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยในประเทศกับต่างประเทศแคบลง พร้อมอ้าง พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย ในมาตรา 7 และมาตรา 25 เพื่อให้บอร์ด ธปท.ต้องรับผิดชอบหากเกิดความเสียหายกับประเทศชาติ

 

"ขณะนี้ ธปท.มีเงินกองทุนติดลบไปแล้ว 5.3 แสนล้านบาท แล้วปี 2556 ก็จะต้องขาดทุนต่อไปอีก เพราะได้ออกพันธบัตรกู้เงินจากธนาคารและประชาชน มูลค่า 4.7 ล้านล้านบาท ที่อัตราดอกเบี้ย 3% แล้วต้องควักจ่ายโดยไม่มีรายได้อะไร และจะต้องขาดทุนไปเรื่อย ๆ ซึ่งผมก็เคยถามว่า แล้วจะต้องขาดทุนไปจนถึงเมื่อไร เขาก็บอกว่า ขาดทุนไปได้เรื่อย ๆ ถ้าถึงจุดหนึ่งความเชื่อมั่นไม่มี ก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลต้องนำภาษีอากรของประชาชนมาเพิ่มทุนให้" ดร.วีรพงษ์กล่าว

 

สถานการณ์ล่าสุดความขัดแย้งขมวดปมขึ้นไปอีก ด้วยคำถามจาก "โต้ง" ในรายการ "รัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน" (9 ก.พ.) ว่า ธปท.จะดูแลไม่ให้เกิดภาระขาดทุนสะสมมากขึ้นได้อย่างไร ?

 

นั่นคือหมัดฮุกยกสองที่ฝ่ายรัฐบาลปล่อยออกมา

 

ขณะที่ฝั่งผู้ว่าการ ธปท.ยังสงบนิ่ง ไม่เผยข้อความใดให้ตลาดทุนตลาดเงินนำไปวิเคราะห์สถานการณ์ได้ อย่างไรก็ตามช่วงภาวะอึมครึมนี้ก็เริ่มมีแรงเทขายของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหุ้นออกมาตั้งแต่วันที่ 5-11 ก.พ. ประมาณ 11,887 ล้านบาท ขณะที่ค่าเงินบาทเริ่มทรงตัวอยู่บริเวณ 29.70-29.80 บาทต่อดอลลาร์ โดยเมื่อวันที่ 11 ก.พ.ค่าเงินบาทปิดตลาดที่ 29.81/83 บาท/ดอลลาร์

 

เสียงสะท้อนจากนักลงทุนในตลาด โดย "เอ็ดเวิร์ด ทีธเตอร์" นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ศูนย์วิจัยอาเซียน ยูบีเอส สิงคโปร์ ให้ความเห็นต่อสถานการณ์ที่ฝ่ายการเมืองเรียกร้องให้ ธปท.ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายว่า ตลาดกำลังรอดูเช่นกันว่า ธปท.จะเปลี่ยนแนวทางการตัดสินใจการดำเนินนโยบายการเงินจากที่เคยใช้เพื่อการควบคุมเงินเฟ้อไปอย่างไร เมื่อมีแรงกดดันอีกด้านเกิดขึ้นอย่างนี้

 

"หากมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายจากแรงบีบคั้นดังกล่าว สิ่งที่ตลาดกำลังกังวลคือ การดำเนินนโยบายของธนาคารกลางที่เคยเคร่งครัดจะถูกทำให้เบาบางลงไป ด้วยการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แม้เพียง 0.25% ก็ย่อมแสดงให้เห็นถึงนโยบายที่เปลี่ยนแปลงไป และเป็นสัญญาณถึงทิศทางการทำงานของธนาคารกลางที่ตอบสนองต่อนโยบายนั้น" ทีธเตอร์กล่าว

 

อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากข้อมูลอัตราแลกเปลี่ยนเงินสกุลเอเชียเทียบกับดอลลาร์สหรัฐและอัตราดอกเบี้ยของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้ (ดูตาราง) พบว่าตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบันค่าเงินบาทไทยแข็งค่ามากเป็นอันดับ 2 ในเอเชีย รองจากอินเดียที่อัตราดอกเบี้ยสูงสุด 7.75% ขณะที่สิงคโปร์อัตราดอกเบี้ยต่ำที่สุด 0.50% ค่าเงินดอลลาร์สิงคโปร์อ่อนค่าลง 1.32% แต่ก็ออกมาตรการดูแลเงินร้อนไหลเข้าด้วยการเก็บอากรแสตมป์เพิ่มขึ้น 15% กับชาวต่างชาติที่ซื้อที่อยู่อาศัยแห่งที่ 2 ในสิงค์โปร์

 

มุมของนายนิพนธ์ พัวพงศกร ประธานสภาพวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เห็่นว่า กรณีเงินทุนไหลเข้ามากผิดปกติ หุ้นขึ้นแตะระดับ 1,500 จุด ภายในเดือนเดียว ทั้งที่นักลงทุนคาดการณ์ว่า ปีนี้จะแตะที่ระดับ 1,500 จุดได้ ธปท.จะต้องเปิดเผยหลักเกณฑ์ในการดำเนินงานให้สาธารณะรับรู้มากขึ้น ว่ามีเครื่องมืออะไรบ้าง หากมีเงินเข้ามาระดับเท่านี้ หรือหากมีเงินเข้ามาเพิ่มขึ้นจะทำอย่างไรบ้าง

 

"สิ่งที่ ดร.โกร่ง (วีรพงษ์) พูดมีทั้งสิ่งที่ผมเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย จึงอยากให้มีการพิสูจน์ทางวิชาการ ถ้าไม่ลดดอกเบี้ยเงินจะไหลเข้ามามโหฬารหรือลดลง แล้วเงินจะหยุดไหลเข้าหรือไม่ รวมถึงอยากเรียกร้องให้นักเศรษฐศาสตร์ด้านแม็คโครไม่เพียงแต่พูดความเห็นเท่านั้น ควรจะศึกษาและมีหลักฐานออกมาให้เห็นเชิงประจักษ์ ซึ่งจะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนนโยบายทางเศรษฐกิจได้"

 

เสียงเรียกร้องนี้น่าจะนำไปสู่การเปิดใจของทุกฝ่ายภายใต้ข้อถกเถียงทางวิชาการเพื่อนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นมากกว่าที่จะมากระพือกระแสจนขัดแย้งบานปลาย อันจะนำไปสู่ความเสียหายเพราะเกมการเมือง

 

ที่มา : มติชนออนไลน์ (วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมัน : บมจ.ไทยออยล์(15/02/2556)

WTI ปรับขึ้นเล็กน้อย ตามตลาดเบนซินที่คาดจะตึงตัว หลังโรงกลั่นสหรัฐฯปิดซ่อมบำรุง"

เบรนท์ส่งมอบเดือน เม.ย. ปรับเพิ่มขึ้น 0.12 ปิดที่ 118.00 เหรียญฯ ส่วนเวสต์เท็กซัสส่งมอบเดือน มี.ค. ปรับเพิ่มขึ้น 0.30 ปิดที่ 97.31 เหรียญฯ

 

+สัญญาซื้อขายน้ำมันเบนซินล่วงหน้าของสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 8 เซนต์ต่อแกลลอน มาที่ 3.12 เหรียญฯต่อแกลลอน หรือเพิ่มขึ้นกว่า 2% เนื่องจากตลาดกังวลว่าช่วงการปิดซ่อมโรงกลั่นตามฤดูกาล จะส่งผลให้ปริมาณการผลิตน้ำมันเบนซินปรับลดลงและทำให้ปริมาณน้ำมันเบนซินคง คลังบริเวณชายฝั่งด้านตะวันออกของสหรัฐฯ ปรับตัวลดลง จากระดับสูงสุดในเกือบรอบปี

 

+ การเจรจาระหว่างสำนักงานพลังงานปรมาณูสากล (IAEA) และอิหร่านล้มเหลว หลัง IAEA ยังไม่สามารถขอทำการตรวจสอบโครงการนิวเคลียร์ในอิหร่านได้ ทำให้ตลาดกังวลเรื่องปริมาณการผลิตน้ำมันดิบที่จำกัดจากอิหร่าน จากมาตรการคว่ำบาตรของชาติตะวันตก

 

+ จำนวนผู้ขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงมากกว่าคาด มาอยู่ที่ 341,000 ตำแหน่งหรือ ลดลง 27,000 ตำแหน่ง ส่งสัญญาณว่าตลาดแรงงานในสหรัฐฯ กำลังฟื้นตัว

- ตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจของกลุ่มสหภาพยุโรป 17 ประเทศ ในไตรมาส 4 ปี 55 หดตัว 0.6% จากไตรมาส 3 สร้างความผิดหวังให้แก่นักวิเคราะห์ที่คาดว่าจีดีพีจะหดตัวเพียง 0.4% โดยเฉพาะเศรษฐกิจของประเทศที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป 3 ประเทศหดตัวมากกว่าคาด โดยจีดีพีเยอรมนีหดตัว 0.6% ฝรั่งเศสหดตัว 0.3% และอิตาลีหดตัว 0.9% ซึ่งจีดีพีของเยอรมนีที่ 0.6% นับเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่วิกฤตการทางการเงินปี 52 ส่งผลให้ตลาดคาดว่าเศรษฐกิจของโลกจะฟื้นตัวช้าลง และปริมาณการใช้น้ำมันลดลง

 

ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับลดลงตามราคาน้ำมันดิบดูไบ แม้ว่าปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังที่สิงคโปร์ปรับลดลงมาแตะระดับต่ำสุดในรอบ 7 สัปดาห์

 

ราคาน้ำมันมันดีเซล ปรับลดลงตามราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากมีการส่งออกน้ำมันดีเซลจากจีน อย่างก็ดีความต้องการจากแถบตะวันออกกลางค่อนข้างสูง หลังโรงกลั่นจะปิดซ่อมบำรุง ประกอบปริมาณน้ำมันดีเซลคงคลังที่สิงคโปร์ปรับตัวลดลง

 

 

ทิศทางราคาน้ำมันดิบในระยะสั้นและปัจจัยที่น่าจับตามอง

 

กรอบการเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันดิบสัปดาห์หน้า เบรนท์ 112 -120 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนเวสต์เท็กซัส 92-100 เหรียญฯ โดยวันนี้การผลิตภาคอุตสาหกรรมสหรัฐฯ ความรู้สึกของผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ (ม.มิชิแกน) ผลสำรวจดัชนีภาคอุตสาหกรรมของรัฐนิวยอร์ค ดุลการค้ายูโรโซน รวมทั้งการประชุมกลุ่มประเทศ G20

 

ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่

วันศุกร์: การผลิตภาคอุตสาหกรรมสหรัฐฯ ความรู้สึกของผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ (ม.มิชิแกน) ผลสำรวจดัชนีภาคอุตสาหกรรมของรัฐนิวยอร์ค ดุลการค้ายูโรโซน รวมทั้งการประชุมกลุ่มประเทศ G20

ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์หน้า / ผลประกอบการไตรมาส 4/55 ของบริษัท จดทะเบียนในสหรัฐฯ ได้แก่

วันจันทร์: ดุลบัญชีเดินสะพัดยูโรโซน รายงานการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น ตลาดสหรัฐฯ ปิดเนื่องในวันประธานาธิบดี

วันอังคาร: ดัชนีชี้วัดภาวะเศรษฐกิจยุโรปและเยอรมนี (ZEW)

วันพุธ: ยอดการขอสร้างบ้านใหม่ ดัชนีราคาผู้ผลิตสหรัฐฯ รายงานการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคยูโรโซน

วันพฤหัส: ดัชนีชี้วัดภาคการผลิตและภาคบริการของยูโรโซน ยอดขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงาน ดัชนีราคาผู้บริโภคและยอดขายบ้านมือสองสหรัฐฯ ผลสำรวจดัชนีภาคอุตสาหกรรมของธนาคารกลางฟิลาเดลเฟีย /ฮิวเลตต์-แพคการ์ด/วอล-มาร์ต

วันศุกร์: ดัชนีชี้วัดภาวะเศรษฐกิจ (Ifo) และจีดีพีไตรมาส 4 เยอรมนี (Final)

วันเสาร์: ดัชนีชี้วัดภาคการผลิตจีน (flash) โดย HSBC

ติดตามปัญหาความขัดแย้งในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ โดยเฉพาะในประเทศผู้ผลิตน้ำมันที่สำคัญ อาทิ ปัญหาเรื่องโครงการนิวเคลียร์ระหว่างอิหร่านกับชาติตะวันตก การปะทะกันอย่างต่อเนื่องระหว่างผู้สนับสนุนประธานาธิบดีกับกับผู้ต่อต้านใน ซีเรีย ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตล์เรื่องการสร้างที่อยู่อาศัยในเขต เวสต์แบงก์ รวมทั้งปัญหาในแอลจีเรีย อียิปต์และซูดาน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่ออุปทานน้ำมันของโลก

- ติดตามรายงานการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ เกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจและทิศทางในการดำเนินนโยบายผ่อนคลายทางการเงิน โดยเฉพาะ QE4 ซึ่งในการประชุมครั้งก่อนมีสมาชิกบางคนมีความเห็นว่าอยากจะให้หยุดนโยบายดัง กล่าวก่อนสิ้นปี นอกจากนี้ควรติดตามการเจรจาตัดลดรายจ่ายของสหรัฐฯ ที่มีเส้นตายในวันที่ 1 มีนาคม ว่าผลสุดท้ายจะออกมาในทิศทางใด ซึ่งล่าสุดยังมีความเห็นที่ไม่ตรงกันระหว่างพรรคดีโมเครตกับริพับริกัน

- ติดตามโค้งสุดท้ายก่อนการเลือกตั้งของอิตาลีที่จะมีขึ้นในวันที่ 24-25 ก.พ. โดยโพลล่าสุดพบว่านายซิลวิโอ แบร์ลุสโคนี อดีตนายกรัฐมนตรีซึ่งชูนโยบายยกเลิกมาตรการรัดเข็มขัดกำลังมีคะแนนนิยมเพิ่ม ขึ้น ความไม่แน่นอนดังกล่าวส่งผลให้ผลตอบแทนพันธบัตรของประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้น และสร้างความกังวลให้กับตลาด

 

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ (วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เศรษฐกิจยูโรโซนถดถอยหนัก(15/02/2556)

สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป หรือยูโรสแตท รายงานว่า GDP ของกลุ่มประเทศที่ใช้ สกุลเงินยูโรหดตัวลง 0.6% ในไตรมาส 4 ปี 2555 และเมื่อเทียบเป็นรายปี เศรษฐกิจ ยูโรโซนหดตัว 0.9%

 

สำหรับสาเหตุที่ทำให้เศรษฐกิจยูโรโซนซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 17 ประเทศ หดตัวเกินคาด ในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของปีที่แล้วเป็นเพราะภาวะหดตัวในประเทศเศรษฐกิจใหญ่สุดของ ภูมิภาคอย่างเยอรมนี ฝรั่งเศส และอิตาลี

 

โดยในวันนี้ สำนักงานสถิติแห่งชาติของฝรั่งเศส (Insee) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจฝรั่งเศส หดตัวลง 0.3% ในช่วงไตรมาส 4 ปี 2555 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า

 

ด้านสำนักงานสถิติแห่งชาติของเยอรมนี (Destatis) เปิดเผยว่า GDP ของเยอรมนี ในช่วงไตรมาส 4 ปี 2555 หดตัวลง 0.6% จากไตรมาส 3 ปีเดียวกัน หลังจากที่ มีการขยายตัว 3 ไตรมาสติดต่อกัน

 

ขณะที่สำนักงานสถิติแห่งชาติของอิตาลี (Istat) เปิดเผยว่า GDP เบื้องต้นของอิตาลี ในช่วงไตรมาส 4 ปี 2555 หดตัวลง 0.9% จากไตรมาสก่อนหน้า และดิ่งลง 2.7% จากไตรมาสเดียวกันของปี 2554

 

ที่มา : money channel (วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

บันทึกข้อตกลง G7 ออกวันเสาร์เย็นๆ รับทราบกันไว้นะครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คุณนาย Aiya อย่าลืมซื้อคืนนะย่ะ !!!!!

จากกราฟฯ และสถานการณ์ตอนนี้ จะมี Rebound และอย่าคิดว่าจะขึ้นไปเยอะ นิดหน่อยเท่านั้น จะเฮ ! ก็เพราะพรุ่งนี้ เสาร์-อาทิตย์ ตลาดฯ ปิด จึงเป็นที่มาของสัญลักษณ์ดังนี้

 

ปล. ทิศทางแนวโน้ม รอฝรั่งฯ มาบอก อนึ่ง บางสิ่งที่ผมโพสต์ไปแล้ว ถึงแม้จะถามอีก เช่น แนวรับเท่าไหร่ ผมก็จะไม่โพสต์ซ้ำ เปลืองเนื้อที่ไป 1 โพสต์ของเฮียกัมพลเปล่าๆ จึงควรที่จะอ่านย้อนหลัง หรือ จดเอาไว้. การผลุบๆโผล่ๆ แล้วเอาความสะดวกในตัวเอง เมื่ออยากรู้ ผมไม่สนับสนุนข้อมูลนะครับ

สวัสดีครับทุกท่าน ก่อนอื่นขออภัยทุกท่านด้วยนะครับ :_087 เมื่อวานมั่นใจว่าไม่หลุด 1640 เพราะรับได้มา 2 วันและในหลายเวลา แต่ในที่สุดก็หลุดลงมาครับ แนวรับต่อไปน่าจะติดแถว 1625 ที่เป็นโลว์เก่า หากยังไม่จบอาจไปที่ 1617 แล้วต่อไปที่ 1600 ครับ เลวร้ายที่สุดก็ 1585 นะครับ วันนี้หากดีด ต้านคือ 1640 และ 1652 ยืนได้ไปต่อครับ

 

 

หวังว่าการหลุดลงมานี้ คงเป็นแค่การกินสต็อปลอสของขาแอลนะครับ แล้วลงมา 4 วัน วันนี้คงขึ้นให้เป็นศุกร์หรรษาครับผม

ขอบคุณป๋า คุณกัปตันมากๆค่ะ :01

สาธุๆๆๆๆๆ ขึ้นไปทีเถ้ออออ เพี้ยงๆๆๆๆๆ

ดอยอลันจะเป็นน้ำแข็งแล้ว

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ผอ.IMF ​เตรียมร่วมประชุม G20 ​เพื่อหารือประ​เด็น​เศรษฐกิจ(15/02/2556)

กองทุน​การ​เงินระหว่างประ​เทศ ​หรือ​ไอ​เอ็ม​เอฟ ​เปิด​เผยว่า นางคริสติน ลา​การ์ด ​ผู้อำนวย​การ​ไอ​เอ็ม​เอฟจะ​เข้าร่วม​การประชุมรัฐมนตรีคลัง​และ​ผู้ว่า​ การธนาคารกลางของกลุ่มประ​เทศจี-20 ​ในปลายสัปดาห์นี้ ​เพื่อหารือประ​เด็น​เศรษฐกิจที่สำคัญๆ

 

นาย​เจอร์รี ​ไรซ์ หัวหน้า​โฆษกของ​ไอ​เอ็ม​เอฟกล่าว​ใน​การ​แถลงข่าวว่า นางลา​การ์ด ​และนาย​เดวิด ลิปตัน รอง​ผู้อำนวย​การ​ไอ​เอ็ม​เอฟ จะร่วมประชุม​ในวันที่ 15-16 ก.พ. ณ กรุงมอส​โก ประ​เทศรัส​เซีย

 

นาย​ไรซ์กล่าวว่า ​การขยายตัวทาง​เศรษฐกิจ ​การจ้างงาน ​ความยั่งยืนทาง​การคลัง ​การบรรลุผล​ใน​การปฏิรูปด้าน​การ​เงิน ​และประ​เด็นอื่นๆล้วน​เป็นหัวข้อสำคัญ​ใน​การประชุมครั้งนี้

 

​ทั้งนี้ ​การพูด​ถึงสงครามค่า​เงิน​ในช่วงที่ผ่านมา​เป็น​เรื่องที่​เกินจริง ขณะที่​การประ​เมิน​เชิงพหุภาคีของ​ไอ​เอ็ม​เอฟ​ไม่​ได้บ่งชี้​ถึง​การ​ เบี่ยง​เบนอย่างมากจากมูลค่าที่​เหมาะสมสำหรับสกุล​เงินที่สำคัญๆ ​โดยนาย​ไรซ์กล่าวกับ​ผู้สื่อข่าวว่า​ไอ​เอ็ม​เอฟจะพยายามอำนวย​ความสะดวก​ ในด้าน​ความร่วมมือของประ​เทศต่างๆ​ในประ​เด็น​เกี่ยวกับสกุล​เงิน สำนักข่าวซินหัวรายงาน

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์(วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ดอลลาร์​เคลื่อน​ไหว​เหนือ 92 ​เยน​เช้านี้ก่อน​การประชุม G20(15/02/2556)

ดอลลาร์​เคลื่อน​ไหว​เหนือระดับ 92 ​เยนปลายๆ​ใน​การซื้อขาย​เช้านี้ที่ตลาดปริวรรต​เงินตรา​โต​เกียว ก่อน​การประชุมรัฐมนตรีคลัง​และ​ผู้ว่า​การธนาคารกลางของกลุ่มประ​เทศจี-20 ขณะที่ยู​โร​เคลื่อน​ไหว​ใกล้​เคียงระดับต่ำสุด​ในรอบ 3 สัปดาห์​เมื่อ​เทียบดอลลาร์ จาก​ความกังวล​เกี่ยวกับยู​โร​โซน

 

​เมื่อ​เที่ยงวันนี้ตาม​เวลา​ในญี่ปุ่น ดอลลาร์​เคลื่อน​ไหวที่ 92.82-92.85 ​เยน​เมื่อ​เทียบกับ 92.83-92.93 ​เยนที่ตลาดนิวยอร์ก ​และ 93.45-93.46 ​เยนที่ตลาด​โต​เกียว​เมื่อ​เวลา 17.00 น.วานนี้

 

ขณะที่​เงินยู​โร​เคลื่อน​ไหวที่ 1.3363-1.3365 ดอลลาร์ ​และ 124.04-124.11 ​เยน ​เมื่อ​เทียบกับ 1.3358-1.3368 ดอลลาร์ ​และ 124.04-124.14 ​เยนที่ตลาดนิวยอร์ก ​และ 1.3388-1.3390 ดอลลาร์ ​และ 125.11-125.15 ​เยนที่ตลาด​โต​เกียว​ใน​เย็นวานนี้ สำนักข่าว​เกียว​โดรายงาน

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์(วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตลาดทองเอเชีย:ทองร่วงเช้านี้ต่ำสุด 6 สัปดาห์ ผวาเศรษฐกิจยุโรปทรุด (15/02/2556)

ราคาทองอ่อนตัวลงในช่วงเช้าวันนี้ สู่ระดับต่ำสุดในรอบ 6 สัปดาห์ และยังคงมีแนวโน้มว่าในสัปดาห์นี้จะดิ่งลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค. โดย ได้รับผลกระทบขณะที่ยูโรอ่อนค่าลงจากข้อมูลที่น่าผิดหวังจากยุโรป

ณ เวลา 09.53 น.ตามเวลาไทย ราคาทองสปอตร่วงแตะ 1,632.17 ดอลลาร์/ออนซ์ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ต้นเดือน ม.ค.

 

ความวิตกเกี่ยวกับความต้องการทองเป็นปัจจัยถ่วงราคาเช่นกัน โดยสภาทองคำโลก (WGC) เปิดเผยว่า อุปสงค์ทองทั่วโลกลดลงในปีที่ผ่านมา เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2009 ขณะที่การซื้ออัญมณีลดลงในตลาดอินเดีย และจีน ส่วนการลงทุนในเหรียญทองและทองคำแท่งในสหรัฐและยุโรปก็ลดลงเช่นกัน

 

 

ราคาสัญญาทองส่งมอบเดือนเม.ย.ที่ตลาดนิวยอร์คปรับตัวลงแตะ 1,632.9 ดอลลาร์/ออนซ์ในวันนี้

ยูโรโซนเผชิญกับภาวะถดถอยที่รุนแรงขึ้นในไตรมาส 4 ของปี 2012 หลังจากที่เศรษฐกิจของเยอรมนีและฝรั่งเศสหดตัวลงในปลายปีที่แล้ว

 

สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป (ยูโรสแตท) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจ ยูโรโซนหดตัวลง 0.6% ในไตรมาส 4 ของปี 2012 ซึ่งย่ำแย่กว่าที่นักวิเคราะห์ คาดการณ์ว่าหดตัวลง 0.4% โดยถูกกระทบจากการทรุดตัวของเศรษฐกิจเยอรมนี และฝรั่งเศส

 

ก่อนหน้านี้ เศรษฐกิจยูโรโซนหดตัวลง 0.1% ในไตรมาส 3, หดตัว 0.2% ในไตรมาส 2 และขยายตัว 0% ในไตรมาส 1 ส่งผลให้ปี 2012 เป็น ปีแรกในประวัติศาสตร์ที่เศรษฐกิจยูโรโซนไม่มีการขยายตัวในทุกไตรมาส

 

 

ส่วนเศรษฐกิจเยอรมนีหดตัวลง 0.6% ในไตรมาส 4/2012 ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจเยอรมนีอาจหดตัวลง 0.5% ในไตรมาสดังกล่าว หลังจากขยายตัว 0.2% ในไตรมาส 3 โดยเป็น การหดตัวลงมากที่สุดนับตั้งแต่วิกฤติการเงินโลกทวีความรุนแรงมากที่สุด ในปี 2009 ขณะที่การส่งออกชะลอตัวในปลายปีที่แล้ว

 

 

ทางด้านเศรษฐกิจฝรั่งเศสหดตัวลง 0.3% ในไตรมาส 4 ขณะที่ นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจฝรั่งเศสอาจหดตัวลง 0.2% ใน ไตรมาสดังกล่าว หลังจากขยายตัว 0.1% ในไตรมาส 3

 

 

ทั้งนี้ เยอรมนีและฝรั่งเศสเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ เป็นอันดับ 1 และ 2 ในยูโรโซนตามลำดับ

 

ที่มา : ทันหุ้น(วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

โกลเบล็ก คาดราคาทองอาจปรับลงอีก หากไม่สามารถยืนเหนือ $1,623/Oz(15/02/2556)

บมจ.โกลเบล็ก โฮลดิ้ง แมเนจเมนท์ แนะกลยุทธลงทุนทองคำวันนี้ ( 15 ก.พ. 2556 )

 

กลยุทธ์การลงทุนในทองคำ

• นักลงทุนระยะสั้น(เล่น 1-2 วัน)

หากราคายืนเหนือแนวรับที่ $1,623/Oz ให้ซื้อ โดยมีจุดตัดขาดทุนที่ $1,620/Oz

 

• นักลงทุนระยะกลาง-ยาว

ให้ถือสถานะหากราคาไม่ต่ำกว่า $1,623/Oz

ภาพรวมตลาดวานนี้

Gold – ราคาทองคำโลกปิดปรับตัวลดลง $8.10/Oz หรือ 0.49% มาอยู่ที่ $1,633.70/Oz (จุดต่ำสุด-สูงสุดในรอบวันอยู่ที่ $1,632.84-1,649.80)

ในคืนที่ผ่านมาราคาทองคำปรับตัวลดลงจากผลผลิตมวลรวมยุโรปที่ออกมา -0.6% ซึ่งต่ำกว่าในงวดก่อนที่ -0.1% ทำให้นักลงทุนกลับมากังวลในวิกฤตหนี้ยุโรปอีกครั้ง นอกจากนี้ยอดผู้ขอรับสวัสดิการสหรัฐที่ออกมาปรับตัวลดลงกว่า 27,000 รายสู่ระดับ 341,000 รายทำให้เงินดอลลาร์แข็งซึ่งเป็นปัจจัยกดดันต่อราคาทองคำเพิ่มเติม ส่วนกองทุน SPDR ได้ปรับลดสถานะลงอีก 3.91 ตัน

 

แนวโน้มตลาดวันนี้

Gold – ในวันนี้หากราคาไม่สามารถยืนเหนือแนวรับที่ $1,623/Oz ได้มีโอกาสปรับตัวลงต่ำได้ เนื่องจากได้รับแรงกดดันจากกองทุนSPDRปรับลดสถานะอย่างต่อเนื่อง ในวันนี้มองกรอบราคาทองคำ $1,605-1,653/Oz

 

ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญประจำวันนี้

• ยอดค้าปลีกอังกฤษ(MoM) เวลา 16.30 น.

• ดัชนีภาคการผลิตสาขานิวยอร์ก เวลา 20.30 น.

• ผลผลิตอุตสาหกรรมสหรัฐ (MoM) เวลา 21.15 น.

 

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ (วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...