ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

อรุณสวัสดิ์ค่ะทุกคน

เพิ่งรู้ว่าจิ้มครั้งละ 5 บาทมัน มันส์ อย่างนี้นี่เอง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อรุณสวัสดิ์ค่ะทุกคน

เพิ่งรู้ว่าจิ้มครั้งละ 5 บาทมัน มันส์ อย่างนี้นี่เอง

 

ขอต้อนรับเข้าสู่. รายการ จิ้มมันส์เพราะคันมือ. อิอิ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีครับ ทุกท่าน เมื่อคืนนี้ไปเทส 1585 เพื่อให้เห็นว่า อ้ายกันไม่เอาลงแล้วนะ แม้ SPDR ขาย 8.88 ตันก็ไม่ย่อลงไปเกิดโลว์ใหม่ ซื้อก็ไม่ได้ขึ้นตื่นเต้นมากมาย ขายก็ไม่ได้ย่ออะไรเยอะ แนวโน้มราคาปิดยืนได้เหนือเส้นเทรน์ขาขึ้น(เส้นสีแดงใหญ่ที่ลากจากจุดเริ่มต้นก่อนขึ้นไปทำนิวไฮลากผ่านจุดต่ำสุดของราคาเมื่อปรับฐานครั้งที่แล้ว)

 

วันนี้ราคาคงพยายามยืนให้ได้ที่ 1582-1585 หากปิดราคาระดับวันได้เหนือแนวนี้จะสวยมาก จะเป็นราคาปิดสัปดาห์ด้วย เพื่อสัปดาห์หน้าขึ้นต่อ วันนี้อาจมีการสวิงขึ้นไปเทส 1600(เชื่อว่ายืนไม่อยู่) บ้าง หรืออาจจะลงมาย้ำ 1569(ในกรณีเลวร้ายไม่น่าหลุด)

 

ศุกร์นี้น่าจะเป็นค่ำคืนหรรษาบ้าง หลังจาทำให้ขาแอลผวามาหลายวัน ส่วนตัวเดาว่าราคาคงปิด 1585 ยกเว้นขาใหญ่ที่ทิ้งของเก็บกลับบ้าง อาจไปปิดแถวๆ 1600 +/- เพือความสดใสในสัปดาห์หน้าต่อไป แต่หากปิดราคาต่ำกว่า 1580-1582 สัปดาห์หน้าก็มาลุ้นเสียวกันอีก ปิดสัปดาห์ไม่ควรต่ำกว่า 1569 เพราะหมายถึงมีแววอาจจะไปเทสที่ 1535 ได้นะครับ

post-2755-0-40272700-1361497610_thumb.gif

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

World Markets: สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ (22/02/2556)

ตลาดหุ้นยุโรปปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (21 ก.พ.) เพราะได้รับแรงกดดันจากความกังวลที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะยุติโครงการซื้อพันธบัตร นอกจากนี้ นักลงทุนยังวิตกกังวลเกี่ยวกับข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐและยูโรโซน

 

ดัชนี Stoxx 600 ร่วงลง 1.5% ปิดที่ 284.86 จุด

 

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดวันทำการล่าสุดที่ 3,624.80 จุด ลดลง 85.08 จุด, -2.29% ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดวันทำการล่าสุดที่ 7,583.57 จุด ลดลง 145.33 จุด, -1.88% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดวันทำการล่าสุดที่ 6,291.54 จุด ลดลง 103.83 จุด, -1.62%

 

-- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (21 ก.พ.) ซึ่งเป็นการปิดลบติดต่อกัน 2 วันทำการ เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐและยูโรโซน นอกจากนี้ ตลาดยังคงได้รับแรงกดดันจากความกังวลที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะยุติโครงการซื้อพันธบัตร

 

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปรับตัวลง 46.92 จุด หรือ 0.3% ปิดที่ 13880.62 จุด ดัชนี S&P 500 ลดลง 9.53 จุด หรือ 0.6% ปิดที่ 1502.42 จุด และดัชนี Nasdaq ลดลง 32.92 จุด หรือ 1% ปิดที่ 3131.49 จุด

 

-- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (21 ก.พ.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยว่าสต็อกน้ำมันดิบพุ่งขึ้นเกินคาดในรอบสัปดาห์ที่แล้ว นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากข้อมูลด้านแรงงานที่อ่อนแอของสหรัฐด้วย

 

สัญญาน้ำมันดิบ WTI เดือนมี.ค.ร่วงลง 2.38 ดอลลาร์ หรือ 2.50% ปิดที่ 92.84 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) เดือนเม.ย.ที่ตลาดลอนดอน ร่วงลง 2.07 ดอลลาร์ หรือ 1.79% ปิดที่ 113.53 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

-- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดขยับขึ้นเมื่อคืนนี้ (21 ก.พ.) ซึ่งเป็นการปิดบวกวันแรกในรอบ 6 วันทำการ เนื่องจากข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐและยูโรโซนได้กระตุ้นให้นักลงทุนเข้าซื้อทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย.เพิ่มขึ้น 60 เซนต์ หรือ 0.04% ปิดที่ 1,578.6 ดอลลาร์/ออนซ์ หลังจากดิ่งลงไปแตะระดับต่ำสุดในระหว่างวันที่ 1,554.3 ดอลลาร์

 

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค.ปิดที่ 28.699 ดอลลาร์/ออนซ์ เพิ่มขึ้น 7.7 เซนต์ และสัญญาโลหะทองแดงส่งมอบเดือนมี.ค.ลดลง 5.50 เซนต์ ปิดที่ 3.5530 ดอลลาร์/ปอนด์

 

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย.ปิดที่ 1,620.00 ดอลลาร์/ออนซ์ ร่วงลง 27.10 ดอลลาร์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมี.ค.ปิดที่ 733.60 ดอลลาร์/ออนซ์ ร่วงลง 2.80 ดอลลาร์

 

-- ราคาทองคำตลาดลอนดอนปิดวานนี้ (21 ก.พ.) ที่ 1,577.00 ดอลลาร์/ออนซ์

 

-- สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (21 ก.พ.) หลังจากรายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณว่าเฟดอาจจะยุติโครงการซื้อพันธบัตร ขณะที่สกุลเงินยูโรร่วงลงหลังจากมีรายงานว่าดัชนีภาคการผลิตและภาคบริการของยูโรโซนหดตัวลง

 

ค่าเงินยูโรร่วงลงแตะระดับ 1.3171 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันพุธที่ 1.3284 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ค่าเงินปอนด์ร่วงลงแตะระดับ 1.5242 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5244 ดอลลาร์สหรัฐ

 

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐพุ่งขึ้นเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9317 ฟรังค์ จากระดับ 0.9279 ฟรังค์ แต่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 93.11 เยน จากระดับ 93.82 เยน

 

-- ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดร่วงลงกว่า 100 จุดเมื่อคืนนี้ (21 ก.พ.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลว่าเฟดอาจจะยุติโครงการซื้อพันธบัตร นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากดัชนีภาคการผลิตและภาคบริการที่หดตัวลงของกลุ่มประเทศยูโรโซน

 

ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดวันทำการล่าสุดที่ 6,291.54 จุด ลดลง 103.83 จุด, -1.62%

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดทองคำนิวยอร์ก: ทองปิดบวก 60 เซนต์หลังข้อมูลศก.อ่อนแอหนุนแรงซื้อ (22/02/2556)

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดขยับขึ้นเมื่อคืนนี้ (21 ก.พ.) ซึ่งเป็นการปิดบวกวันแรกในรอบ 6 วันทำการ เนื่องจากข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐและยูโรโซนได้กระตุ้นให้นักลงทุนเข้าซื้อทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย.เพิ่มขึ้น 60 เซนต์ หรือ 0.04% ปิดที่ 1,578.6 ดอลลาร์/ออนซ์ หลังจากดิ่งลงไปแตะระดับต่ำสุดในระหว่างวันที่ 1,554.3 ดอลลาร์

 

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค.ปิดที่ 28.699 ดอลลาร์/ออนซ์ เพิ่มขึ้น 7.7 เซนต์ และสัญญาโลหะทองแดงส่งมอบเดือนมี.ค.ลดลง 5.50 เซนต์ ปิดที่ 3.5530 ดอลลาร์/ปอนด์

 

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย.ปิดที่ 1,620.00 ดอลลาร์/ออนซ์ ร่วงลง 27.10 ดอลลาร์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมี.ค.ปิดที่ 733.60 ดอลลาร์/ออนซ์ ร่วงลง 2.80 ดอลลาร์

 

สัญญาทองคำดีดตัวขึ้น หลังจากที่ร่วงลงไปกว่า 72 ดอลลาร์/ออนซ์ หรือกว่า 4% ในกช่วง 5 วันทำการที่ผ่านมา ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์และการปรับตัวลงของยอดซื้อทองคำในช่วงเทศกาลตรุษจีน

 

ทั้งนี้ นักลงทุนเข้ามาช้อนซื้อสัญญาทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย หลังจากมาร์กิตระบุว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เบื้องต้นภาคการผลิตของยูโรโซนในเดือนก.พ.ลดลงสู่ระดับ 47.8 จาก 47.9 ในเดือนม.ค. ขณะที่ดัชนี PMI เบื้องต้นภาคบริการหดตัวลงแตะ 47.3 จาก 48.6 ในเดือนก่อนหน้า

 

ขณะที่สหรัฐรายงานว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 16 ก.พ. เพิ่มขึ้น 20,000 ราย สู่ระดับ 362,000 ราย ส่วนจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานอย่างต่อเนื่องโดยเฉลี่ย 4 สัปดาห์ เพิ่มขึ้น 8,000 ราย สู่ระดับ 360,750 ราย ซึ่งบ่งชี้ว่าตลาดแรงงานของสหรัฐยังคงฟื้นตัวอย่างเชื่องช้า

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก: ดอลล์แข็งค่ารับคาดการณ์เฟดอาจยุติโครงการซื้อบอนด์ (22/02/2556)

สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (21 ก.พ.) หลังจากรายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณว่าเฟดอาจจะยุติโครงการซื้อพันธบัตร ขณะที่สกุลเงินยูโรร่วงลงหลังจากมีรายงานว่าดัชนีภาคการผลิตและภาคบริการของยูโรโซนหดตัวลง

 

ค่าเงินยูโรร่วงลงแตะระดับ 1.3171 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันพุธที่ 1.3284 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ค่าเงินปอนด์ร่วงลงแตะระดับ 1.5242 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5244 ดอลลาร์สหรัฐ

 

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐพุ่งขึ้นเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9317 ฟรังค์ จากระดับ 0.9279 ฟรังค์ แต่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 93.11 เยน จากระดับ 93.82 เยน

 

สกุลเงินเยนร่วงลงหลังจากผลสำรวจของมาร์กิตแสดงให้เห็นว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เบื้องต้นภาคการผลิตของยูโรโซนในเดือนก.พ.ลดลงสู่ระดับ 47.8 จาก 47.9 ในเดือนม.ค. เช่นเดียวกับดัชนี PMI เบื้องต้นภาคบริการที่หดตัวลงแตะ 47.3 จาก 48.6 ในเดือนก่อนหน้า

 

ส่วนสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐยังคงได้รับแรงหนุนหลังจากรายงานการประชุมของเฟดส่งสัญญาณว่าเจ้าหน้าที่เฟดยังคงมีความคิดเห็นที่ไม่สอดคล้องกันเกี่ยวกับระยะเวลาและปริมาณการซื้อพันธบัตร โดยกรรมการบางคนของเอฟโอเอ็มซีกล่าวว่า โครงการซื้อพันธบัตรอาจจำเป็นต้องยุติก่อนที่อัตราว่างงานจะลดลงต่ำกว่าระดับ 6.5%

 

อย่างไรก็ตาม สกุลเงินดอลลาร์อ่อนแรงลงเมื่อเทียบกับเงินเยน หลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ทรงตัวในเดือนม.ค. ตรงข้ามกับที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.1% ซึ่งนักวิเคราะห์มองว่า การชะลอตัวลงของดัชนี CPI ซึ่งเป็นดัชนีวัดเงินเฟ้อหลักนั้น อาจทำให้เฟดมีโอกาสที่จะใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไป

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดน้ำมัน: น้ำมัน WTI ปิดร่วง $2.38 หลังสต็อกน้ำมันดิบพุ่งเกินคาด (22/02/2556)

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (21 ก.พ.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยว่าสต็อกน้ำมันดิบพุ่งขึ้นเกินคาดในรอบสัปดาห์ที่แล้ว นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากข้อมูลด้านแรงงานที่อ่อนแอของสหรัฐด้วย

 

สัญญาน้ำมันดิบ WTI เดือนมี.ค.ร่วงลง 2.38 ดอลลาร์ หรือ 2.50% ปิดที่ 92.84 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) เดือนเม.ย.ที่ตลาดลอนดอน ร่วงลง 2.07 ดอลลาร์ หรือ 1.79% ปิดที่ 113.53 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

สัญญาน้ำมันดิบร่วงลงหลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) เปิดเผยว่า สต็อกน้ำมันดิบในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 15 ก.พ. พุ่งขึ้น 4.1 ล้านบาร์เรล แตะระดับ 376.4 ล้านบาร์เรล ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.ค.ปีที่แล้ว และมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 1.7 ล้านบาร์เรล เนื่องจากยอดการนำเข้าน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้น

 

ขณะที่สต็อกน้ำมันเบนซินปรับตัวลง 2.9 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลง 1.2 ล้านบาร์เรล ส่วนสต็อกน้ำมันกลั่น ซึ่งรวมถึงเชื้อเพลิงดีเซลและฮีทติ้งออยล์ ร่วงลง 2.3 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลง 1.5 ล้านบาร์เรล

 

นอกจากนี้ ตลาดน้ำมันนิวยอร์กยังได้รับแรงกดดันจากข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐและยูโรโซน โดยผลสำรวจของมาร์กิตระบุว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เบื้องต้นภาคการผลิตของยูโรโซนในเดือนก.พ.ลดลงสู่ระดับ 47.8 จาก 47.9 ในเดือนม.ค. ขณะที่ดัชนี PMI เบื้องต้นภาคบริการหดตัวลงแตะ 47.3 จาก 48.6 ในเดือนก่อนหน้า

 

ด้านกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่ากระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 16 ก.พ. เพิ่มขึ้น 20,000 ราย สู่ระดับ 362,000 ราย ส่วนจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานอย่างต่อเนื่องโดยเฉลี่ย 4 สัปดาห์ เพิ่มขึ้น 8,000 ราย สู่ระดับ 360,750 ราย ซึ่งบ่งชี้ว่าตลาดแรงงานของสหรัฐยังคงฟื้นตัวอย่างเชื่องช้า

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก: ข้อมูลศก.สหรัฐ,ยูโรโซนอ่อนแอฉุดดาวโจนส์ปิดลบ 46.92 จุด (22/02/2556)

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (21 ก.พ.) ซึ่งเป็นการปิดลบติดต่อกัน 2 วันทำการ เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐและยูโรโซน นอกจากนี้ ตลาดยังคงได้รับแรงกดดันจากความกังวลที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะยุติโครงการซื้อพันธบัตร

 

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปรับตัวลง 46.92 จุด หรือ 0.3% ปิดที่ 13880.62 จุด ดัชนี S&P 500 ลดลง 9.53 จุด หรือ 0.6% ปิดที่ 1502.42 จุด และดัชนี Nasdaq ลดลง 32.92 จุด หรือ 1% ปิดที่ 3131.49 จุด

 

ตลาดหุ้นนิวยอร์กอ่อนแรงลงเพราะได้รับแรงกดดันหลังจากรายงานการประชุมของเฟดส่งสัญญาณว่าเจ้าหน้าที่เฟดยังคงมีความคิดเห็นที่ไม่สอดคล้องกันเกี่ยวกับระยะเวลาและปริมาณการซื้อพันธบัตร โดยกรรมการบางคนของเอฟโอเอ็มซีกล่าวว่า โครงการซื้อพันธบัตรอาจจำเป็นต้องยุติก่อนที่อัตราว่างงานจะลดลงต่ำกว่าระดับ 6.5%

 

นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับปัจจัยลบจากข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐและยูโรโซน โดยผลสำรวจของมาร์กิตแสดงให้เห็นว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เบื้องต้นภาคการผลิตของยูโรโซนในเดือนก.พ.ลดลงสู่ระดับ 47.8 จาก 47.9 ในเดือนม.ค. เช่นเดียวกับดัชนี PMI เบื้องต้นภาคบริการที่หดตัวลงแตะ 47.3 จาก 48.6 ในเดือนก่อนหน้า

 

ด้านกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่ากระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 16 ก.พ. เพิ่มขึ้น 20,000 ราย สู่ระดับ 362,000 ราย ส่วนจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานอย่างต่อเนื่องโดยเฉลี่ย 4 สัปดาห์ เพิ่มขึ้น 8,000 ราย สู่ระดับ 360,750 ราย ซึ่งบ่งชี้ว่าตลาดแรงงานของสหรัฐยังคงฟื้นตัวอย่างเชื่องช้า

 

อย่างไรก็ตาม ตลาดได้รับแรงหนุนในระหว่างวัน หลังจากสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติของสหรัฐ (NAR) รายงานว่า ยอดขายบ้านมือสองเดือนม.ค.ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.4% สู่ระดับ 4.92 ล้านยูนิต/ปี มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่ายอดขายบ้านมือสองจะอยู่ที่ 4.90 ล้านยูนิต

 

หุ้นวอล-มาร์ท ดีดตัวขึ้น 1.5% หลังจากบริษัทเปิดเผยผลประกอบการที่ดีเกินคาด

 

หุ้นฮิวเลตต์-แพคการ์ดพุ่งขึ้น 6.7% หลังจากบริษัทปรับเพิ่มแนวโน้มผลประกอบการ

 

หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีส่วนใหญ่ปิดร่วงลง โดยหุ้นแอดวานซ์ ไมโคร ดีไวเซส (เอเอ็มดี) ร่วงลง 3.7% หุ้นไมครอน เทคโนโลยี ดิ่งลง 2.5% และหุ้นอินเทล คอร์ป ร่วงลง 2.3%

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดหุ้นยุโรป: หุ้นยุโรปปิดร่วง วิตกเฟดยุติซื้อบอนด์,ข้อมูลศก.อ่อนแอ (22/02/2556)

ตลาดหุ้นยุโรปปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (21 ก.พ.) เพราะได้รับแรงกดดันจากความกังวลที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะยุติโครงการซื้อพันธบัตร นอกจากนี้ นักลงทุนยังวิตกกังวลเกี่ยวกับข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐและยูโรโซน

 

ดัชนี Stoxx 600 ร่วงลง 1.5% ปิดที่ 284.86 จุด

 

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดวันทำการล่าสุดที่ 3,624.80 จุด ลดลง 85.08 จุด, -2.29% ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดวันทำการล่าสุดที่ 7,583.57 จุด ลดลง 145.33 จุด, -1.88% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดวันทำการล่าสุดที่ 6,291.54 จุด ลดลง 103.83 จุด, -1.62%

 

ตลาดยังได้รับปัจจัยลบจากข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐและยูโรโซน โดยผลสำรวจของมาร์กิตแสดงให้เห็นว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เบื้องต้นภาคการผลิตของยูโรโซนในเดือนก.พ.ลดลงสู่ระดับ 47.8 จาก 47.9 ในเดือนม.ค. เช่นเดียวกับดัชนี PMI เบื้องต้นภาคบริการที่หดตัวลงแตะ 47.3 จาก 48.6 ในเดือนก่อนหน้า

 

ด้านกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่ากระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 16 ก.พ. เพิ่มขึ้น 20,000 ราย สู่ระดับ 362,000 ราย ส่วนจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานอย่างต่อเนื่องโดยเฉลี่ย 4 สัปดาห์ เพิ่มขึ้น 8,000 ราย สู่ระดับ 360,750 ราย ซึ่งบ่งชี้ว่าตลาดแรงงานของสหรัฐยังคงฟื้นตัวอย่างเชื่องช้า

 

นอกจากนี้ นักลงทุนยังวิตกกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนในการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรับ หลังจากรายงานการประชุมของเฟดส่งสัญญาณว่าเจ้าหน้าที่เฟดยังคงมีความคิดเห็นที่ไม่สอดคล้องกันเกี่ยวกับระยะเวลาและปริมาณการซื้อพันธบัตร โดยกรรมการบางคนของเอฟโอเอ็มซีกล่าวว่า โครงการซื้อพันธบัตรอาจจำเป็นต้องยุติก่อนที่อัตราว่างงานจะลดลงต่ำกว่าระดับ 6.5%

 

หุ้นกลุ่มเหมืองแร่ร่วงลง โดยหุ้นบีเอชพี บิลลิตัน ดิ่งลง 4% ขณะที่หุ้นริโอทินโต ร่งลง 3.5% หลังจากราคาโลหะทองแดงและนิกเกิลในตลาดลอนดอนร่วงลงมากกว่า 1%

 

หุ้นสวิส รี ซึ่งเป็นบริษัทรับประกันภัยต่อ ดีดตัวขึ้น 3.5% หลังจากบริษัทปรับเพิ่มคาดการณ์ผลประกอบการในปี 2556

 

ส่วนหุ้นบีเออี ซิสเต็มส์ พุ่งขึ้น 4.1% หลังจากบริษัทประกาศแผนซื้อคืนหุ้นมูลค่า 1 พันล้านปอนด์ หรือ 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ทองตลาดโลกขยับขึ้นแค่60เซนต์ น้ำมันดิบรูดเหลือ92.84เหรียญ/บาร์เรล ดาวโจนส์ลบ46จุด(22/02/2556)

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า การซื้อขายในตลาดหุ้นสหรัฐเมื่อคืนที่ผ่านมา(21ก.พ.)ปรับลดลง หลังตลาดวิตกกังวลเกี่ยวกับตัวเลขเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐและยูโรโซน รวมทั้งยังมีปัจจัยลบจากกระแสข่าวที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ หรือเฟด อาจจะยุติโครงการซื้อพันธบัตร ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจก่อนหน้านี้

 

หลังปิดตลาดดาวโจนส์ปรับลดลง 46.92 จุด หรือ 0.3% ปิดตลาดที่ระดับ 13880.62 จุด ดัชนี เอสแอนด์พี 500 ลดลง 9.53 จุด หรือ 0.6% ปิดตลาดที่ระดับ 1502.42 จุด และแนสแดคลบ 32.92 จุด หรือ 1% ปิดตลาดที่ระดับ 3131.49 จุด

 

 

ส่วนน้ำมันดิบที่ตลาดล่วงหน้านิวยอร์ก(NYMEX)ส่งมอบเดือนมี.ค.ลดลง 2.38 ดอลลาร์ หรือ 2.50% ปิดตลาดที่ระดับ 92.84 ดอลลาร์/บาร์เรล ขณะที่น้ำมันดิบเบรนท์ที่ตลาดลอนดนอน งวดส่งมอบเดือนเม.ย.ปรับลดลง 2.07 ดอลลาร์ หรือ 1.79% ปิดตลาดที่ระดับ 113.53 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

 

 

ขณะที่ราคาทองคำที่ตลาดนิวยอร์ก(COMEX) หลังวันก่อนหน้านี้ร่วงลงแรงกว่า 26 ดอลลาร์ แต่ในการซื้อขายเมื่อคืนที่ผ่านมา ปรับขึ้นแค่ 60 เซนต์เท่านั้น หรือ 0.04% ปิดตลาดที่ระดับ 1,578.6 ดอลลาร์/ออนซ์ โดยการซื้อขายระหว่างวันลดลงไปแตะระดับต่ำสุดที่ระดับ 1,554.3 ดอลลาร์

 

ที่มา : มติชนออนไลน์ (22 กุมภาพันธ์ 2556)

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ฝรั่งเศสปรับลดการคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจปี 56 ลงสู่ระดับ 0.2-0.3% (22/02/2556)

รัฐบาลฝรั่งเศสได้ปรับทบทวนเป้าหมายการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศลงราว 0.5-0.6% โดยระบุว่าสถานการณ์ในยุโรปไม่สู้ดีนัก ส่งผลให้ฝรั่งเศสจำเป็นต้องปรับลดการคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจปี 2556 ลงสู่ระดับ 0.2-0.3% จากเป้าหมายเดิมที่ 0.8%

 

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ(วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เฟดเสียงแตกเรื่องยุติ QE ก่อนจ้างงานดีขึ้น (22/02/2556)

เจ้าหน้าที่เฟดเสียงแตกเรื่อง QE ระบุอาจชะลอหรือยุติการเข้าซื้อตราสารหนี้ก่อนการจ้างงานปรับดีขึ้น

 

 

 

รายงานการประชุมกำหนดนโยบายการเงินประจำวันที่ 29-30 ม.ค.ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งเปิดเผยไปเมื่อวานนี้ (20 ก.พ.) แสดงให้เห็นว่า เจ้าหน้าที่เฟดหลายคนมองว่า เฟดอาจจำเป็นต้องชะลอหรือยุติมาตรการเข้าซื้อตราสารหนี้ ก่อนที่การจ้างงานจะปรับตัวดีขึ้น

 

ในการประชุมวันที่ 29-30 ม.ค. เฟดตัดสินใจเข้าซื้อตราสารหนี้ต่อไปในอัตรา 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือนจนกว่าแนวโน้มในตลาดแรงงานจะปรับตัวดีขึ้นเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ดี รายงานการประชุมที่ออกมาเมื่อวานนี้แสดงให้เห็นว่า เจ้าหน้าที่เฟดมีความกังวลต่อความเสี่ยงในมาตรการเข้าซื้อตราสารหนี้ หรือมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) และข่าวนี้ได้กดดันตลาดหุ้นสหรัฐให้ร่วงลงอย่างรุนแรง ดอลลาร์แข็งค่าขึ้น ขณะที่ราคาทองดิ่งลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 7 เดือนนับตั้งแต่เดือนก.ค.2012 ส่วนราคาพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐปรับตัวขึ้น โดยได้รับแรงหนุนบางส่วนจากการดิ่งลงของตลาดหุ้นสหรัฐ

 

 

นายมิลแลน มัลเรน จากบล.ทีดี เผยว่า รายงานการประชุมในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าความเห็นของเฟดที่มีต่อการดำเนินนโยบายการเงินเป็นสิ่งที่ปรับเปลี่ยนได้เรื่อยๆตลอดเวลา และสะท้อนว่า สมาชิกคณะกรรมการกำหนดนโยบายของเฟด มีความเห็นขัดแย้งกันมากกว่าระยะเวลาใดๆในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา

 

ความเห็นที่ขัดแย้งกันอย่างรุนแรงระหว่างสมาชิกคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินจะส่งผลให้นักลงทุนมุ่งความสนใจไปที่คำแถลงรอบครึ่งปีของนายเบน เบอร์นันเก้ ประธานเฟด ในสัปดาห์หน้า อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ ยังคงเชื่อว่า เบอร์นันเก้และสมาชิกกลุ่มหลักใน คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินจะสนับสนุนนโยบายของเฟดในการเข้าซื้อสินทรัพย์ต่อไป

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ (วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ไอเอ็มเอฟเตือนรัสเซียเงินเฟ้อสูง - จีดีพีชะลอ (22/02/2556)

"ไอเอ็มเอฟ"ออกโรงเตือนรัสเซียอาจมีเงินเฟ้อสูงกว่าที่คาดไว้ รวมทั้งการเติบโตในประเทศเริ่มชะลอตัว

 

 

 

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ ไอเอ็มเอฟ กล่าวเมื่อวานนี้ (20 ก.พ.) ว่า เงินเฟ้อของรัสเซียในปี 2556 และ 2557 อาจจะสูงเกินกว่าเป้าที่รัฐบาลตั้งไว้ และรูปแบบการเติบโตในปัจจุบันได้เริ่มชะลอตัวแล้ว

 

จากรายงานของไอเอ็มเอฟที่ชื่อว่า "ภาพรวมเศรษฐกิจและอุปสรรคด้านนโยบายของรัสเซีย" ระบุว่า เงินเฟ้อในรัสเซียจะมากกว่า 5.6% ที่ธนาคารกลางตั้งเป้าไว้ในปี 2556 และ 4-5% ในปี 2557 โดยคาดว่าถ้าหากธนาคารยังใช้นโยบายเดิม อัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ 6% "

 

รายงานดังกล่าว ยังบ่งชี้ด้วยว่า รูปแบบการเติบโตของประเทศที่ถูกปรับใช้โดยรัฐบาลรัสเซียเริ่มชะลอตัวลงแล้ว และไม่อาจรับรองได้ว่าการเติบโตของจีดีพีจะอยู่ที่ 5-5.5% เหมือนอย่างที่เคยเป็นมาในช่วงวิกฤติการเงินก่อนหน้านี้

 

ออดด์ เพอร์ เบรคค์ ผู้แทนอาวุโสของไอเอ็มเอฟ เปิดเผยที่กรุงมอสโกว่า ตัวเลขดังกล่าวยังถือว่าต่ำกว่าที่ไอเอ็มเอฟคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ที่ 6.3% พร้อมเสริมว่า ธนาคารกลางรัสเซียจะสามารถทำตามเป้าหมายของตัวเองได้ก็ต่อเมื่อใช้นโยบายทางการเงินอย่างรัดกุมเท่านั้น

 

การลดลงของจีดีพี มีปัจจัยหนุนจากราคาน้ำมันที่สูง ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงและอย่างมากต่อทั้งภาคการส่งออกและรายได้ของรัฐ แต่ตอนนี้รัสเซียต้องเผชิญกับภาวะขาดแคลนความสามารถในการผลิต

 

นายเบรคค์ กล่าวว่า เพื่อคงอัตราการเติบโตรายปีให้มากกว่า 6% รัฐบาลรัสเซียจำเป็นต้องกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในภาคการผลิต ทั้งนี้ ไอเอ็มเอฟ ได้ประมาณการว่า จีดีพีของรัสเซียจะโต 3.75% ในปี 2556

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ (วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...