ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

'เบอร์นันเก้' ระบุ QE ยังจำเป็นต่อเศรษฐกิจมะกัน(27/02/2556)

ประธานเฟด ระบุ เศรษฐกิจสหรัฐยังต้องการมาตรการกระตุ้นจากเฟด เตือน หากปล่อยให้มีการตัดลดงบประมาณอัตโนมัติ 1 มี.ค.นี้ จะกระทบการเติบโตเศรษฐกิจ

 

 

 

นายเบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวต่อคณะกรรมาธิการประจำวุฒิสภา ว่าเศรษฐกิจสหรัฐยังต้องการการกระตุ้นจากเฟด ในรูปของการเข้าซื้อพันธบัตรผ่านโครงการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) เดิอนละ 85,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อดึงดอกเบี้ยระยะยาวให้ลดลง และส่งเสริมการลงทุน

 

 

 

ส่วนความเสี่ยงจาก QE ที่หลายฝ่ายกังวลว่า อาจกระตุ้นเงินเฟ้อนั้นและหนุนนำให้เกิดพฤติกรรมเสี่ยงในอุตสาหกรรมการเงิน นั้น ได้รับการจับตาอย่างใกล้ชิด ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานว่าสิ่งดังกล่าวเป็นปัญหาจนถึงขั้นต้องระงับ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ

 

 

 

นายเบอร์นันเก กล่าวว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจยังไม่ราบรื่น และอาจได้รับผลกระทบจากการตัดลดงบประมาณอัตโนมัติในวันที่ 1 มี.ค. หากนักการเมืองหาทางออกในเรื่องนี้ไม่ได้

 

ที่มา : money channel (วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

'เบอร์นันเก้' ระบุ QE ยังจำเป็นต่อเศรษฐกิจมะกัน(27/02/2556)

ประธานเฟด ระบุ เศรษฐกิจสหรัฐยังต้องการมาตรการกระตุ้นจากเฟด เตือน หากปล่อยให้มีการตัดลดงบประมาณอัตโนมัติ 1 มี.ค.นี้ จะกระทบการเติบโตเศรษฐกิจ

 

 

 

นายเบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวต่อคณะกรรมาธิการประจำวุฒิสภา ว่าเศรษฐกิจสหรัฐยังต้องการการกระตุ้นจากเฟด ในรูปของการเข้าซื้อพันธบัตรผ่านโครงการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) เดิอนละ 85,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อดึงดอกเบี้ยระยะยาวให้ลดลง และส่งเสริมการลงทุน

 

 

 

ส่วนความเสี่ยงจาก QE ที่หลายฝ่ายกังวลว่า อาจกระตุ้นเงินเฟ้อนั้นและหนุนนำให้เกิดพฤติกรรมเสี่ยงในอุตสาหกรรมการเงิน นั้น ได้รับการจับตาอย่างใกล้ชิด ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานว่าสิ่งดังกล่าวเป็นปัญหาจนถึงขั้นต้องระงับ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ

 

 

 

นายเบอร์นันเก กล่าวว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจยังไม่ราบรื่น และอาจได้รับผลกระทบจากการตัดลดงบประมาณอัตโนมัติในวันที่ 1 มี.ค. หากนักการเมืองหาทางออกในเรื่องนี้ไม่ได้

 

ที่มา : money channel (วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตลาดซื้อขายดอลลาร์/เยน:เยนทรงตัว,ยูโรอ่อนค่าเช้านี้ (27/02/2556)

เยนทรงตัวใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 1 เดือนในวันนี้ โดยได้แรงหนุนจากการ ซื้อคืน ขณะที่ความไม่แน่นอนทางการเมืองในอิตาลียังคงกดดันยูโร

 

 

ความเห็นของนายเบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่คลายความวิตกของ ตลาดเกี่ยวกับการยุติโครงการซื้อพันธบัตรนั้น ได้ลดความต้องการ ซื้อดอลลาร์

 

 

 

ดอลลาร์อยู่ที่ 91.99 เยน เพิ่มขึ้นจากระดับต่ำสุดในรอบ 1 เดือนที่ 90.85 เยนที่เข้าทดสอบเมื่อวันจันทร์ ส่วนยูโรอยู่ที่ 120.18 เยน หลังร่วงลง สู่ระดับ 118.74 เยนในช่วงต้นสัปดาห์นี้

 

 

 

อย่างไรก็ตาม ทั้งสองสกุลเงินยังคงอยู่ใกล้ระดับสูงสุดในรอบหลายปีที่ 94.57 เยนและ 127.71 เยนตามลำดับ

 

 

ความวิตกครั้งใหม่เกี่ยวกับยุโรปถ่วงสกุลเงินของประเทศที่ส่งออก สินค้า โภคภัณฑ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งดอลลาร์นิวซีแลนด์ซึ่งร่วงลงสู่ 0.8249 ดอลลาร์ หลังแตะระดับสูงสุดในรอบ 17 เดือนในเดือนนี้ที่ 0.8534 ดอลลาร์

 

ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียอยู่ที่ 1.0232 ดอลลาร์ หลังร่วงต่ำสุดในรอบ 4 เดือนที่ 1.0200 ดอลลาร์

ตลาดจะจับตาการประมูลพันธบัตรของอิตาลีในวันนี้ ขณะที่ไม่มีการเปิดเผย ข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของเอเชียในวันนี้

 

ที่มา : ทันหุ้น(วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ต่างชาติโยกเงินลงทุนตราสารหนี้ระยะยาว (27/02/2556)

สมาคมตลาดตราสารหนี้เผยต่างชาติเริ่มโยกเงินบางส่วนลงทุนตราสารหนี้ระยะยาว หลังชะลอลงทุนประเมินสถานการณ์ต่างประเทศ

 

 

 

นางสาวอริยา ติรณะประกิจ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย เปิดเผยว่า วานนี้ (26 ก.พ.) นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิตราสารหนี้ไทยกว่า 8 พันล้านบาท โดยกว่า 20% เป็นการลงทุนในตราสารหนี้ระยะยาว หลังจากที่ก่อนหน้านี้นักลงทุนต่างชาติลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นต่ำกว่า 1 ปี

 

ตั้งแต่ต้นปีจนถึงวันที่ 22 ก.พ. นักลงทุนต่างชาติถือครองตราสารหนี้สะสม 7.89 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2555 ถือครองตราสารหนี้สะสม 7.1 แสนล้านบาท

 

ขณะที่สัดส่วนการถือครองตราสารหนี้ตั้งแต่ต้นปีจนถึง 22 ก.พ. ต่างชาติถือครองตราสารหนี้ระยะยาว 65% ตราสารหนี้ระยะสั้น 35% เมื่อเทียบกับสิ้นปีถือครองตราสารหนี้ระยะยาว 70% ระยะสั้น 30%

 

"ฟันด์โฟลวเข้ามาเยอะในช่วงเดือนมกราคม ส่วนใหญ่พักเงินในตราสารหนี้ระยะสั้น ช่วงก่อนที่จะมีการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน วอลุ่มลดลงมาก จากเดิมนักลงทุนต่างชาติซื้อขายวันละ 20,000 ล้านบาท ลดลงเหลือเพียง 10,000 ล้านบาท"

 

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ กล่าวว่า ขณะนี้อัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ ยิลด์) ค่อนข้างนิ่ง หลังการประชุม กนง. แต่เหตุผลหลักคงไม่ใช่จากการคงดอกเบี้ย เพราะนักลงทุนต่างชาติไม่ได้ให้น้ำหนักมากนัก ส่วนใหญ่จะให้น้ำหนักกับประเด็นต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งเห็นได้จากกรณีที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณว่าอาจชะลอมาตรการ QE ลง หรือมาตรการแก้ปัญหาหนี้ยุโรป เป็นต้น

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ (วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ผลผลิตทองคำในจีน เพิ่มเกือบ 12 เปอร์เซนต์(27/02/2556)

สำนักข่าวซินหวาอ้างข้อมูลกระทรวงอุตสาหกรรมและสารสนเทศ รายงานเมื่อวันเสาร์(23 ก.พ.) ระบุผลผลิตทองคำสูงขึ้น ที่ 403.1 ตัน ในปี 2555 เพิ่มขึ้น 11.66 เปอร์เซนต์จากปี 2554

 

จีนเป็นผู้บริโภคทองคำมากเป็นอันดับสองของโลก รองจากอินเดีย สภาทองคำโลก (World Gold Council) รายงานความต้องการทองคำของผู้บริโภคชาวจีน อยู่ที่ 777.6 ตันเมื่อปีที่แล้ว เท่าๆกับเมื่อปี 2554

 

สภาทองคำโลกชี้ปัจจัยที่ทำให้ความต้องการทองคำคงที่ คือชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศ และสภาพนิ่งของราคาทองคำ ซึ่งไม่ดึงดูดนักลงทุน

 

เศรษฐกิจแดนมังกรซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เติบโตด้วยอัตราที่ช้าที่สุดในรอบ 13 ปี ในปี 2555 เท่ากับ 7.8 เปอร์เซนต์จากปีก่อนหน้า แต่มีสัญญาณที่สดใสเมื่อปลายปีที่ผ่านมา ได้แก่ อัตราเติบโตที่คึกคักในสามเดือนสุดท้ายของปี เท่ากับ 7.9 เปอร์เซนต์

 

“สัญญาณการขยายตัวเศรษฐกิจที่ดีขึ้นนี้ อาจช่วยกระตุ้นความต้องการทองในจีน” สภาทองคำโลก ระบุ

 

กระทรวงอุตสาหกรรมจีนระบุราคาทองคำในประเทศ ตกลงในเดือนธ.ค.ปีที่แล้ว เนื่องจากกระแสวิตกวิกฤต “หน้าผาการคลัง” ของสหรัฐฯ

ผู้ผลิตทองคำจีน มีกำไรสูงเป็นประวัติการณ์ในปีที่แล้ว(2555) รวมทั้งสิ้น 35,000 ล้านหยวน หรือ 5,600 ล้านเหรียญสหรัฐ สูงขึ้น 4.0 เปอร์เซนต์ จากปี 2554

 

ด้านผู้ค้าปลีกทองในจีน ขณะนี้กำลังบุกตลาดใหม่โดยในเมืองอันดับ 3 และอันดับ 4 เนื่องจากร้านค้าในเมืองใหญ่อย่างปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ ล้นตลาดแล้ว

 

บริษัทโจวต้าฝูจิวเวลเลอรีกรุ๊ป (Choe Tai Fook Jewellery Group Ltd) ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง และเป็นผู้ค้าปลีกอัญมณีรายใหญ่ที่สุดในโลกเผยว่ากว่าปีที่ผ่านมา ทางบริษัทได้เปิดร้านใหม่ ซึ่งจำนวนถึงครึ่งหนึ่งตั้งอยู่ในเมืองอันดับ 3 และอันดับ 4 ทางภาคกลางและภาคตะวันตก

 

นักวิเคราะห์และเจ้าหน้าที่ด้านอุตสาหกรรมระบุว่า ความมั่งคั่งและอำนาจซื้อ ที่เพิ่มขึ้นของผู้คนในภูมิภาค ซึ่งมีการพัฒนาน้อยกว่า จะช่วยกระตุ้นการซื้อทองบนแดนมังกร

 

ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์(วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีตอนเช้าครับป๋า เมื่อคืนได้รอบเลยรีบเข้านอน ไม่ได้เข้ามาทักทาย ป๋า กับ เพื่อน ๆ

 

คืนนี้ลุ้น ลุงเบน อีกรอบใช่ไหมครับ ???

 

ขออนุญาติ สอบถามความเห็นป๋าหน่อยครับ ว่าการกระตุ้น QE รอบนี้ ว่ายังมีอยู่จริง

 

ป๋ามองว่า ทองจะวิ่ง ขึ้นลง ได้มากแค่ไหนครับ

 

P.S. รอกราฟรหัสเทพจากป๋าด้วยนะครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมัน : บมจ.ไทยออยล์(27/02/2556)

ราคาน้ำมันดิบปรับลดลง กังวลสูญญากาศทางการเมืองในอิตาลี "

 

เบรนท์ส่งมอบเดือนเม.ย. ปรับลดลง 1.73 ปิดที่ 112.71 เหรียญฯ ส่วนเวสต์เท็กซัสส่งมอบเดือนเม.ย.ปรับลดลง 0.48 ปิดที่ 92.63 เหรียญฯ

- ผลการเลือกตั้งของอิตาลีที่ออกมาได้สร้างความกังวลให้กับตลาด เนื่องจากนายปิแอร์ ลุยจิ เบอร์ซานีมีคะแนนเหนือนายซิลวีโอ แบร์ลุสโคนีและนายเบปเป กริลโล ซึ่งชูนโยบายต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัดเพียงเล็กน้อย นอกจากนี้ยังไม่มีฝ่ายใดได้เสียงข้างมากในวุฒิสภา ทำให้ในปัจจุบันไม่มีพรรคใดสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ เนื่องจากการจัดตั้งรัฐบาลต้องได้เสียงข้างมากทั้งสองสภา สถานการณ์ดังกล่าวอาจนำไปสู่การจัดตั้งรัฐบาลผสม ซึ่งถ้าหากไม่สำเร็จอาจนำไปสู่การเลือกตั้งใหม่อีกครั้งภายในปีนี้

+ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ แถลงยืนยันต่อสภาคองเกรสว่า นโยบายผ่อนคลายทางการเงิน (QE) ซึ่งเป็นการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลมูลค่า 85 พันล้านเหรียญฯต่อเดือน ยังมีความจำเป็นต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมทั้งยังไม่เห็นความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อและปัญหาฟองสบู่ในตลาด นอกจากนี้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังกระตุ้นในรัฐบาลหลีกเลี่ยงการตัดลดงบประมาณรายจ่ายมูลค่า 85 พันล้านเหรียญฯ ในปีนี้เพื่อลดความเสี่ยงต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ

+ ตัวเลขยอดขายบ้านใหม่ของสหรัฐฯ ในเดือน ม.ค. ปรับเพิ่มขึ้น 15.6% มาอยู่ที่ 437,000 ยูนิต มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ 380,000 ยูนิต นอกจากนี้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐฯ ในเดือน ก.พ. เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 69.6 มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดที่ระดับ 61 สะท้อนให้เห็นถึงการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจสหรัฐฯ

+/- การเจรจาระหว่าง 6 ชาติมหาอำนาจกับอิหร่านเกี่ยวกับโครงการนิวเคลียร์ ที่จัดขึ้นที่ประเทศคาซัคสถานในวันแรกยังไม่มีความคืบหน้า แม้ชาติมหาอำนาจได้เสนอข้อตกลงในการผ่อนคลายมาตรการคว่ำบาตร โดยเฉพาะการซื้อขายโลหะมีค่า แต่อิหร่านยังไม่แสดงท่าทีตอบสนองแต่อย่างใด

+ สถาบันปิโตรเลียมด้านพลังงานของสหรัฐฯ (API) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ สัปดาห์ที่ผ่านมา ปรับเพิ่มขึ้น 904,000 บาร์เรล น้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 2.4 ล้านบาร์เรล ในขณะที่ปริมาณน้ำมันเบนซินและดีเซลปรับลดลง 1.4 ล้านบาร์เรลและ 1.7 ล้านบาร์เรล ตามลำดับ

ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับลดลงตามราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากมีการขายเปลี่ยนเกรดน้ำมันจากที่ใช้ในฤดูหนาวมาเป็นฤดูร้อน ขณะที่อุปสงค์ในภูมิภาคมีแนวโน้มดีขึ้น

ราคาน้ำมันมันดีเซล ปรับลดลงตามราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุปสงค์ในยุโรปที่ชะลอตัวและอุปทานที่มีอยู่มาก ขณะที่อุปทานในภูมิภาคยังมีจำกัดจากการปิดซ่อมบำรุง

ทิศทางราคาน้ำมันดิบในระยะสั้นและปัจจัยที่น่าจับตามอง

กรอบการเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันดิบสัปดาห์นี้ เบรนท์ 110-118 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนเวสต์เท็กซัส 90-98 เหรียญฯ

ส่วนในวันนี้ติดตามยอดขายปลีกและความรู้สึกผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจเยอรมนี (GfK) จีดีพีไตรมาส 4/55 ของอังกฤษ ยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทนและยอดสัญญาซื้อขายบ้านรอการปิดขายสหรัฐฯ

ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่

วันพุธ : ยอดขายปลีกและความรู้สึกผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจเยอรมนี (GfK) จีดีพีไตรมาส 4 ของอังกฤษ ยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทนและยอดสัญญาซื้อขายบ้านรอการปิดขายสหรัฐฯ

วันพฤหัส: ดัชนีราคาผู้บริโภคยูโรโซน จีดีพีไตรมาส 4 และยอดขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงานสหรัฐฯ ดัชนีชี้วัดภาคการผลิตเมืองชิคาโก ดัชนีภาคการผลิตจีนโดยทางการจีนและ HSBC (final)

วันศุกร์: ดัชนีภาคการผลิต รายได้และรายจ่ายส่วนบุคคลสหรัฐฯ ดัชนีภาคการผลิตและอัตราว่างงานยูโรโซน ดัชนีภาคการผลิตอังกฤษ สเปนและอิตาลี ดัชนีภาคบริการจีน ความรู้สึกของผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ(ม.มิชิแกน)

- ติดตามการจัดตั้งรัฐบาลผสม ซึ่งถ้าไม่สำเร็จอาจจะต้องมีการเลือกตั้งใหม่และมีความเสียงต่อการแก้ปัญหาหนี้ของอิตาลี

- ติดตามการเจรจาตัดลดรายจ่ายของสหรัฐฯ มูลค่ารวม 85,000 ล้านเหรียญฯ ที่จะมีผลในวันที่ 1 มี.ค. นี้ว่ารัฐบาลสหรัฐฯ จะสามารถเจรจาได้สำเร็จก่อนเส้นตายหรือไม่

- ติดตามผลการเจรจาระหว่าง 6 ประเทศมหาอำนาจกับอิหร่านในเรื่องโครงการนิวเคลียร์

ในวันที่ 26-27 ก.พ. ที่ประเทศคาซัคสถาน หลังชาติตะวันตกพร้อมจะผ่อนคลายมาตรการคว่ำบาตร โดยเฉพาะการซื้อขายทองคำและโลหะมีค่า เพื่อให้อิหร่านยุติโครงการนิวเคลียร์

- ติดตามปัญหาความขัดแย้งในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ โดยเฉพาะในประเทศซีเรีย อิสราเอล ซูดาน อียิปต์และตูนิเซีย ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่ออุปทานน้ำมันของโลก

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ(วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีตอนเช้าครับป๋า เมื่อคืนได้รอบเลยรีบเข้านอน ไม่ได้เข้ามาทักทาย ป๋า กับ เพื่อน ๆ

 

คืนนี้ลุ้น ลุงเบน อีกรอบใช่ไหมครับ ???

 

ขออนุญาติ สอบถามความเห็นป๋าหน่อยครับ ว่าการกระตุ้น QE รอบนี้ ว่ายังมีอยู่จริง

 

ป๋ามองว่า ทองจะวิ่ง ขึ้นลง ได้มากแค่ไหนครับ

 

P.S. รอกราฟรหัสเทพจากป๋าด้วยนะครับ

เอาเรื่องน้าเบนก่อนนะ : ใช่ครับมีอีก 1 วัน รายละเอียดความคิดเห็นก็ตามข่าวฯ นะ และที่บอก น้าเบน ตัวดีเลยแหละ ที่ชอบทำ QE อนาคตมากแค่ไหน ไม่ทราบ มองแค่ใกล้ๆ ครับ ไม่เสี่ยงจนเกินไปเพราะสินค้ามีขึ้นลงตลอด

 

 

'เบอร์นันเก้'ชี้ QE ยังจำเป็นต่อเศรษฐกิจมะกัน (27/02/2556)

ประธานเฟดระบุเศรษฐกิจสหรัฐยังต้องการมาตรการกระตุ้นจากเฟด เตือนหากปล่อยให้มีการตัดลดงบประมาณอัตโนมัติ 1 มี.ค.นี้ จะกระทบการเติบโตศก.

 

นายเบน เบอร์นันเก ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวต่อคณะกรรมาธิการประจำวุฒิสภา ว่าเศรษฐกิจสหรัฐยังต้องการการกระตุ้นจากเฟด ในรูปของการเข้าซื้อพันธบัตรผ่านโครงการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (คิวอี) เดิอนละ 85,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อดึงดอกเบี้ยระยะยาวให้ลดลง และส่งเสริมการลงทุน

 

ความเสี่ยงจากคิวอีที่อาจกระตุ้นเงินเฟ้อนั้นและหนุนนำให้เกิดพฤติกรรมเสี่ยงในอุตสาหกรรมการเงินนั้น ได้รับการจับตาอย่างใกล้ชิด ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานว่าสิ่งดังกล่าวเป็นปัญหาจนถึงขั้นต้องระงับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ

 

นายเบอร์นันกล่าวว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจยังไม่ราบรื่นและอาจได้รับผลกระทบจากการตัดลดงบประมาณอัตโนมัติในวันที่ 1 มี.ค. หากนักการเมืองหาทางออกในเรื่องนี้ไม่ได้

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ (วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2556)

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

มูดีส์ระบุธนาคารของสเปนยังมีปัญหาในการชำระหนี้และการระดมทุน(27/02/2556)

สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศ มูดีส์ อินเวสต์เตอร์ เซอร์วิส ระบุว่า ธนาคารของสเปนยังมีปัญหาในการชำระหนี้และการระดมทุน รวมถึงความท้าทายอื่นๆอีกหลายประการ พร้อมทั้งคาดถึงบรรยากาศเชิงลบสำหรับภาคธนาคารและหนี้สาธารณะของสเปน ที่อาจจะกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนและทำให้การระดมทุนเป็นไปได้ยาก

 

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ(วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ปธ.เฟดแอตแลนตา แนะ เฟดควรซื้อพันธบัตรต่อเนื่อง(27/02/2556)

นายเดนนิส ล็อคฮาร์ท ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาแอตแลนตา กล่าวว่า เฟดควรยังคงดำเนินการซื้อพันธบัตรต่อไป เพื่อหนุนการฟื้นตัวและภาวะการจ้างงานของประเทศยังคงมีความเหมาะสมสำหรับใน ขณะนี้ และเชื่อว่าแนวทางในปัจจุบันจะมีความเหมาะสมไปจนถึงช่วงครึ่งหลังของปีนี้ เป็นอย่างน้อยที่สุด

 

ก่อนหน้านี้ ตลาดมีความกังวลว่าเฟดจะยุติแผนการซื้อสินทรัพย์เร็วกว่าที่คาด หลังจากที่รายงานการประชุมนโยบายของคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของเฟด (FOMC) เมื่อวันที่ 29-30 ม.ค.ระบุว่า เจ้าหน้าที่กำหนดนโยบายระดับสูงของเฟดหลายรายวิตกว่าการดำเนินนโยบายการเงิน ที่ผ่อนคลายมากเป็นพิเศษอาจทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้น และกระทบต่อเสถียรภาพทางการเงินในอนาคต

 

ในการประชุมเมื่อ เดือน ม.ค. เฟดมีมติคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น (fed funds rate) ที่ระดับ 0 - 0.25% และย้ำว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำเป็นพิเศษจนกว่าอัตราว่างงานจะลดลง ต่ำกว่าระดับ 6.5%

 

นอกจากนี้ เฟดประกาศว่าจะยังคงซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐในวงเงิน 4.5 หมื่นล้านดอลลาร์/เดือน ตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบที่ 4 (QE4) ที่เฟดประกาศใช้ในเดือนธ.ค. 2555 และซื้อหลักทรัพย์ที่ได้รับการค้ำประกันจากสัญญาจำนอง (MBS) วงเงิน 4 หมื่นล้านดอลลาร์/เดือน ตามมาตรการ QE3 ที่ประกาศใช้ในเดือนก.ย. 2555 โดยมาตรการ QE3 และ QE4 มีวงเงินรวมกันทั้งสิ้น 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์/เดือน

 

ที่มา : money channel (วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยต่ำต่อ(27/02/2556)

สหรัฐ 27 ก.พ.- ประธานธนาคารกลางสหรัฐชี้ว่านโยบายการคงอัตราดอกเบี้ยต่ำนับเป็นกุญแจสำคัญ ในการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ขณะนี้ยังคงมีอัตราการว่างงานสูง

 

นายเบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ หรือเฟด แถลงต่อรัฐสภาส่งสัญญาณว่าเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยต่ำต่อไปอีก แม้จะยอมรับว่ามีความเสี่ยงจากการคงอัตราดอกเบี้ยต่ำอย่างไม่มีกำหนด แต่ก็มั่นใจว่าในขณะนี้มีความเสี่ยงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ถ้อยแถลงของนายเบอร์นันเก้ ต้องการจะผ่อนคลายความกังวลที่ว่า นโยบายผ่อนปรนทางการเงินของเฟดอาจทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้นและมีความเสี่ยงจะ เกิดภาวะฟองสบู่ขึ้นในตลาดหุ้น พร้อมกับให้หลักประกันว่า เฟดได้เฝ้าระวังความเสี่ยงอย่างใกล้ชิด และสามารถจะหาทางป้องกันได้ก่อนที่จะเกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจ

 

โอกาสนี้ นายเบอร์นันเก้ ได้เรียกร้องให้รัฐสภาหาแนวทางอื่นทดแทนการตัดลดงบประมาณโดยอัตโนมัติที่จะ เริ่มมีผลในวันศุกร์นี้ ด้วยการทยอยลดรายจ่ายเพื่อลดการขาดดุลงบประมาณในระยะสั้นแทน ขณะที่การลดรายจ่ายอัตโนมัตินั้นจะส่งผลให้การเติบโตของเศรษฐกิจลดลงถึงร้อย ละ 0.6 ในปีนี้.-

 

ที่มา : สำนักข่าวไทย(วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตลาดหุ้นเอเชียผันผวนเช้านี้ ขณะข้อมูลศก.สหรัฐ แต่ตลาดกังวลการเมืองอิตาลี (27/02/2556)

ตลาดหุ้นเอเชียเคลื่อนไหวอย่างผันผวนเช้านี้ หลังจากที่ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐดีเกินคาด แต่นักลงทุนยังวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองในอิตาลี

 

 

ดัชนี MSCI Asia Pacific ลดลง 0.3% แตะที่ 133.06 จุด เมื่อเวลา 10.12 น.ตามเวลาโตเกียว

ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 11,418.56 จุด เพิ่มขึ้น 19.75 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 2,297.77 จุด เพิ่มขึ้น 4.43 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 22,656.40 จุด เพิ่มขึ้น 136.71 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 7,886.03 จุด เพิ่มขึ้น 5.13 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 2,008.94 จุด เพิ่มขึ้น 8.93 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,258.63 จุด เพิ่มขึ้น 4.37 จุด, ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์เปิดวันนี้ที่ 6,671.62 จุด เพิ่มขึ้น 40.95 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,625.33 จุด เพิ่มขึ้น 1.15 จุด และดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียเปิดวันนี้ที่ 5,011.60 จุด เพิ่มขึ้น 8.00 จุด

 

 

หุ้นซัมซุง อิเล็กทรอนิกส์ บวกขึ้น 0.6%, หุ้นแคนนอน อิงค์ ร่วง 2.3% และหุ้นนิวเครสต์ ไมนิ่ง เพิ่ม 2%

คอน เฟอเรนซ์ บอร์ด เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐในเดือนก.พ. เพิ่มขึ้นแตะ 69.6 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับแต่เดือนพ.ย.2555 จากระดับ 58.4 ในเดือนม.ค.

 

 

ขณะที่กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดขายบ้านใหม่เดือนม.ค.พุ่งขึ้น 15.6% แตะที่ 437,000 ยูนิตในรายปี ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับแต่เดือนก.ค.2551 ขณะที่ราคากลางของบ้านใหม่ในเดือนม.ค.เพิ่มขึ้น 2.1% สู่ระดับ 226,400 ดอลลาร์ เมื่อเทียบกับเดือนม.ค.ปีก่อน

 

 

อย่างไรก็ดี ปัจจัยบวกดังกล่าวถูกบดบังด้วยความกังวลเกี่ยวกับปัญหาการเมืองในอิตาลี โดยผลการเลือกตั้งของอิตาลีก่อให้เกิดความวิตกว่าวิกฤตหนี้ยูโรโซนอาจปะทุ ขึ้นอีกครั้ง หลังจากที่ผลเบื้องต้นระบุว่าพรรคกลาง-ซ้ายของนายปิแอร์ ลุยจิ เบอร์ซานีกวาดเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร แต่กลับมีที่นั่งไม่มากพอในวุฒิสภา ซึ่งทำให้เป็นเรื่องยากในการที่จะผ่านร่างกฎหมายต่างๆ

 

 

ทั้งนี้ หลายฝ่ายประเมินว่าสถานการณ์ทางการเมืองของอิตาลีมีแนวโน้มจะไร้เสถียรภาพใน ระยะใกล้นี้ และจะส่งผลให้การดำเนินการปฏิรูปเชิงโครงสร้างล่าช้าออกไป หากไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลผสมได้

 

ที่มา : ทันหุ้น(วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

จรัมพร"พบสัญญาณฟองสบู่ในหุ้นที่ราคาปรับขึ้นร้อนแรง แนะใช้เงินสดลงทุน (27/02/2556)

นายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ระบุว่า ขณะนี้มีสัญญาณความเสี่ยงจากปัญหาฟองสบู่ใน 120 หลักทรัพย์ โดย 70 หลักทรัพย์ เป็นหุ้นที่มีราคาปรับขึ้นอย่างร้อนแรงจนอัตราส่วนราคาต่อกำไรสุทธิ (P/E Ratio) พุ่งขึ้นเกิน 40 เท่า และหุ้นอีก 50 หลักทรัพย์ มีผลตอบแทนติดลบ

 

ซึ่งทางตลาดหลักทรัพย์และคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้มีคำเตือนไปยังนักลงทุนในการลงทุนในหุ้นดังกล่าว เพราะไม่อยากให้นักลงทุนขาดทุนจากการลงทุน ดังนั้นขอให้นักลงทุนกระจายความเสี่ยง หากต้องการเล่นหุ้นร้อนแรง ควรเลือกลงทุนในหุ้นที่มีพื้นฐานดี อาทิ หุ้นใน SET50 และขอให้ลงทุนด้วยเงินสด ไม่ควรลงทุนจากเงินกู้

 

ทั้งนี้ ดัชนีราคาหุ้นไทยในปี 2555 ปรับขึ้นร้อนแรงมาก ส่งผลให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับสูงขึ้น 35.8% ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นอันดับที่ 1 ของภูมิภาคเอเชีย ทำให้มูลค่าตลาดรวม (มาร์เก็ตแคป) เพิ่มขึ้นถึง 600,000 ล้านบาท โดยส่วนหนึ่งเป็นการลงทุนจากรายย่อยถึง 300,000 ล้านบาท ทำให้ราคาหุ้นปรับขึ้นมาก

 

ที่มา : ทันหุ้น(วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เบอร์นันเก้ ส่งสัญญาณเดินหน้านโยบายผ่อนคลายการเงิน ชี้ว่างงานยังสูง(27/02/2556)

นายเบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าววานนี้ว่า ขณะที่อัตราว่างงานในสหรัฐยังคงอยู่ในระดับสูง เฟดจำเป็นต้องดำเนินมาตรการหนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอ

 

 

 

นายเบอร์นันเก้กล่าวในการแถลงนโยบายการเงินรอบครึ่งปีของเฟดต่อคณะกรรมาธิการด้านการธนาคารของวุฒิสภาว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจของสหรัฐยังคงขยายตัวในอัตราปานกลาง และสถานการณ์ในตลาดแรงงานได้ปรับตัวดีขึ้นทีละน้อย

 

ประธานเฟดกล่าวว่า ผู้ว่างงานราว 4.7 ล้านคนไม่มีงานทำมาเป็นเวลา 6 เดือนหรือมากกว่านั้น และอีกหลายล้านคนต้องการทำงานแบบเต็มเวลา แต่สามารถหาได้เพียงงานพาร์ท-ไทม์เท่านั้น

 

“อัตราว่างงานสูงได้สร้างความเสียหายอย่างมาก ซึ่งมีเพียงแต่ทำให้ผู้ว่างงานและครอบครัวของพวกเขาต้องเผชิญกับความยากลำบากเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อศักยภาพและแนวโน้มการผลิตของเศรษฐกิจของเราโดยรวมอีกด้วย"

 

“ขณะที่อัตราว่างงานสูงกว่าระดับปกติอยู่มากและเงินเฟ้อบรรเทาลงนั้น ความคืบหน้าสู่เป้าหมายว่าด้วยการจ้างงานสูงสุดและความมีเสถียรภาพด้านราคาของเฟดนั้น ต้องอาศัยนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายอย่างมาก" นายเบอร์นันเก้กล่าวต่อสมาชิกสภานิติบัญญัติของสหรัฐ

 

ประธานเฟดกล่าวว่า ในบรรยากาศทางเศรษฐกิจปัจจุบัน ประโยชน์ของแผนการซื้อสินทรัพย์ขนานใหญ่ของเฟดกำลังช่วยหนุนการฟื้นตัวอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งส่งสัญญาณว่าเฟดจะยังคงดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายในปัจจุบันต่อไป

 

เฟดได้เข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐและหลักทรัพย์ที่มีสัญญาจำนองค้ำประกัน (MBS) มูลค่า 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ในแต่ละเดือน เพื่อฉุดต้นทุนการกู้ยืมระยะยาวและกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยเริ่มตั้งแต่เดือนม.ค.เป็นต้นมา

 

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า นับตั้งแต่เริ่มเกิดวิกฤตการเงิน เฟดได้ดำเนินเสร็จสินการดำเนินมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณไปแล้ว 2 รอบ ซึ่งรู้จักกันในชื่อ QE1 และ QE2 โดยได้ซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ, ตราสาร MBS และสินทรัพย์อื่นๆกว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์ ขณะที่แผนการดังกล่าวได้ส่งผลให้มีกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงทั้งจากในและต่างประเทศ

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์(27 กุมภาพันธ์ 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กราฟรหัสสัญญานฯ 12,26,9 ดั้งเดิม โบราณ ก็ยังถ่าง ยังห่าง ยังไม่ตัดกัน บอกว่า อย่างเสี่ยง นิ่งๆ ต่อไป ดูเขากำไรกันไปก่อน เดี๋ยวค่อยเข้าตอนจะลง นะจ๊ะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...