ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

 

ข่าววิ่ง - ข่าววิ่ง

ตลาดหุ้นยุ​โรปยังคงปิดลบ​เมื่อคืนนี้ (21 ส.ค.) ​ทำสถิติปิดลบติดต่อกันยาวนานที่สุด​ในรอบ 8 สัปดาห์ ​เนื่องจากกระ​แสคาด​การณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (​เฟด) อาจจะส่งสัญญาณ​การปรับลดขนาดมาตร​การผ่อนคลาย​เชิงปริมาณ (QE) ​ในรายงาน​การประชุม​ซึ่งจะมี​การ​เผย​แพร่หลังจากตลาดหุ้นยุ​โรปปิด​ทำ​การ ​แล้ว

 

ดัชนี Stoxx Europe 600 ปรับตัวลง 0.5% ปิดที่ 300.61 จุด

 

ดัชนี DAX ตลาดหุ้น​เยอรมันปิดที่ 8,285.41 จุด ลดลง 14.62 จุด ​หรือ -0.18% ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่ง​เศสปิดที่ 4,015.09 จุด ลดลง 13.84 จุด ​หรือ -0.34% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,390.84 จุด ลดลง 62.62 จุด ​หรือ -0.97%

 

-- ดัชนีดาว​โจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลง​เมื่อคืนนี้ (21 ส.ค.) ​ทำสถิติปิดลบติดต่อกัน 6 วัน​ทำ​การ หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (​เฟด) ​ไม่​ได้ส่งสัญญาณที่ชัด​เจน​ในรายงาน​การประชุมครั้งล่าสุดว่า ​เฟดจะ​เริ่มชะลอมาตร​การผ่อนคลาย​เชิงปริมาณ (QE) ​เมื่อ​ใด

 

ดัชนี​เฉลี่ยอุตสาหกรรมดาว​โจนส์ปิดที่ 14,897.55 จุด ร่วงลง 105.44 จุด ​หรือ -0.70% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 1,642.80 จุด ลดลง 9.55 จุด ​หรือ -0.58% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 3,599.79 จุด ลดลง 13.80 จุด ​หรือ -0.38%

 

-- สัญญาน้ำมันดิบ​เวสต์​เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลง​เมื่อคืนนี้ (21 ส.ค.) หลังจากรายงาน​การประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (​เฟด) ระบุว่า ​เจ้าหน้าที่บางคนของ​เฟดสนับสนุน​ให้มี​การปรับลดขนาดมาตร​การผ่อนคลาย​ เชิงปริมาณ (QE)

 

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบ​เดือนต.ค.ร่วงลง 1.26 ดอลลาร์ ปิดที่ 103.85 ดอลลาร์/บาร์​เรล

 

ส่วนสัญญาน้ำมันดิบ​เบรนท์ (BRENT) ส่งมอบ​เดือนต.ค.ที่ตลาดลอนดอน ลดลง 34 ​เซนต์ ปิดที่ 109. 81 ดอลลาร์/บาร์​เรล

 

-- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบ​เมื่อคืนนี้ (21 ส.ค.) ​เนื่องจาก​ความวิตกกังวลที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (​เฟด) อาจจะส่งสัญญาณ​การปรับลดขนาดมาตร​การผ่อนคลาย​เชิงปริมาณ (QE) ​ในรายงาน​การประชุม​ซึ่งจะมี​การ​เผย​แพร่หลังจากตลาดทองคำนิวยอร์กปิด​ทำ​ การ​แล้ว

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบ​เดือนธ.ค.ปรับตัวลง 2.5 ดอลลาร์ ​หรือ 0.18% ปิดที่ 1,370.1 ดอลลาร์/ออนซ์

 

สัญญา​โลหะ​เงินส่งมอบ​เดือนก.ย.ลดลง 10.8 ​เซนต์ ปิดที่ 22.963 ดอลลาร์/ออนซ์

 

สัญญาพลาตินัมส่งมอบ​เดือนต.ค.ลดลง 6.40 ดอลลาร์ ปิดที่ 1519.10 ดอลลาร์/ออนซ์ ​และสัญญาพัลลา​เดียมส่งมอบ​เดือนก.ย.ร่วงลง 2.75 ดอลลาร์ ปิดที่ 746.90 ดอลลาร์/ออนซ์

 

-- สกุล​เงินดอลลาร์สหรัฐ​แข็งค่าขึ้น​เมื่อ​เทียบกับสกุล​เงินหลักๆ ​ใน​การซื้อขายที่ตลาดปริวรรต​เงินตรานิวยอร์ก​เมื่อคืนนี้ (21 ส.ค.) หลังจากรายงาน​การประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (​เฟด) ระบุว่า ​เจ้าหน้าที่บางคนของ​เฟดสนับสนุน​ให้มี​การปรับลดขนาดมาตร​การผ่อนคลาย​ เชิงปริมาณ (QE)

 

ดอลลาร์สหรัฐ​แข็งค่าขึ้น​เมื่อ​เทียบกับ​เงิน​เยนที่ระดับ 97.75 ​เยน จากระดับของวันอังคารที่ 97.22 ​เยน ​และ​แข็งค่าขึ้น​เมื่อ​เทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9213 ฟรังค์ จากระดับ 0.9170 ฟรังค์

 

ยู​โรอ่อนค่าลงมาอยู่ที่ระดับ 1.3376 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันอังคารที่ 1.3419 ดอลลาร์สหรัฐ ​เงินปอนด์​แข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 1.5698 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5677 ดอลลาร์สหรัฐ ดอลลาร์ออส​เตร​เลียอ่อนค่าลงสู่ระดับ 0.9025 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.9093 ดอลลาร์สหรัฐ

 

-- ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนร่วง​แตะระดับต่ำสุด​ในรอบมากกว่า 6 สัปดาห์​เมื่อคืนนี้ (21 ส.ค.) ​เนื่องจากกระ​แสคาด​การณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (​เฟด) อาจจะส่งสัญญาณ​การปรับลดขนาดมาตร​การผ่อนคลาย​เชิงปริมาณ (QE) ​ในรายงาน​การประชุม​ซึ่งมีกำหนด​เผย​แพร่หลังจากตลาดหุ้นลอนดอนปิด​ทำ​การ​ แล้ว

 

ดัชนี FTSE 100 ปิดที่ 6,390.84 จุด ลดลง 62.62 จุด ​หรือ 0.97%

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 22 สิงหาคม 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ข่าววิ่ง - ข่าววิ่ง

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว อินเดียได้กลายเป็นประเทศล่าสุด ที่ทุกคนต้องหันไปจับตามองเป็นพิเศษ โดยแบงก์ชาติอินเดียได้ประกาศมาตรการสกัดเงินไหลออกจากประเทศ หลังต้องเผชิญกับปัญหาค่าเงินรูปีที่อ่อนค่าลงอย่างรวดเร็วกว่า 13% นับแต่ช่วงต้นปี ทำให้อินเดียเป็นประเทศที่มีค่าเงินอ่อนลงสูงสุดอันดับสองของโลก รองจากบราซิล

 

มาตรการสกัดเงินไหลออกดังกล่าว ได้สร้างความปั่นป่วนให้กับตลาดการเงินของอินเดีย และนำมาซึ่งคำถามที่หลายคนอยากรู้ลงไปว่า “เกิดอะไรขึ้นกับอินเดีย” อันเป็นประเทศที่อยู่ในกลุ่ม BRIC ซึ่งเป็นเศรษฐกิจเกิดใหม่ที่สำคัญที่สุดของโลก เป็นประเทศที่หลายคนเคยมองด้วยความอิจฉาตาร้อนในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ว่าสามารถพัฒนาเศรษฐกิจของตนด้วยความรวดเร็ว จนมีการพูดกันว่า วันหนึ่งอินเดียก้าวขึ้นไปทัดเทียมหรือแซงจีนได้ และกลายเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจใหม่ของโลกอีกแห่งหนึ่ง

 

เกิดอะไรที่อินเดีย

 

อินเดียมีปัญหาสำคัญอยู่ 4 ด้าน

 

ด้านแรก – อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของอินเดียได้ชะลอลงอย่างรวดเร็ว จากเมื่อ 6-7 ปีที่แล้ว ที่ขยายตัวได้ถึง 9-10% ตามการลงทุนภายในประเทศ ที่เพิ่มขึ้นไปถึง 37-38% ของจีดีพี ซึ่งส่วนหนึ่งถูกขับเคลื่อน จากเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศ ที่เทไปยังอินเดียอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ล่าสุดอัตราขยายตัวทางเศรษฐกิจของอินเดียได้ลดลงเหลือเพียง 4.8% หรือประมาณครึ่งหนึ่งของในอดีต

 

ด้านที่สอง – เงินเฟ้ออินเดียอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง ช่วงก่อนปี ค.ศ. 2008 เงินเฟ้ออินเดียขึ้นไปแตะระดับประมาณ 11% ก่อนปรับลดลงมาอย่างรวดเร็ว หลังจากเกิดวิกฤติเศรษฐกิจในสหรัฐและยุโรป แต่ครั้นเมื่อเศรษฐกิจโลกและอินเดียขยายตัวได้อีกครั้งหนึ่ง อัตราเงินเฟ้อก็กลับขึ้นไปที่ 10-11% อีกรอบในระหว่างปี ค.ศ. 2010 จนแบงก์ชาติอินเดียต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยจาก 4.25% ขึ้นไปที่ระดับ 8.5% เพื่อต่อสู้กับเงินเฟ้อในช่วงดังกล่าว เงินเฟ้ออินเดียจึงค่อยทยอยลดลงมาอยู่ที่ระดับประมาณ 5% ในปัจจุบัน

 

ด้านที่สาม – ผลพวงหนึ่งของเงินเฟ้อที่สูงกว่าประเทศอื่น ๆ ก็คือ ต้นทุนการผลิตในอินเดียปรับสูงขึ้นเทียบกับคู่แข่ง ผู้ผลิตของอินเดียจึงแข่งขันในตลาดโลกได้ลำบากยากยิ่งขึ้น นำไปสู่การขาดดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัด โดยปัญหานี้เริ่มขึ้นนับแต่ปี ค.ศ. 2005 เป็นต้นมา ล่าสุด อินเดียขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอยู่ที่ประมาณร้อยละ 4.8% ของจีดีพี สูงที่สุดในรอบหลาย ๆ ปีที่ผ่านมา หลายคนจึงเริ่มกังวลใจว่า เรื่องนี้จะเป็นจุดเปราะบางของเศรษฐกิจ อินเดียในช่วงต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากบริหารจัดการปัญหาไม่ดี นอกจากนี้ จะเพิ่มแรงกดดันให้ค่าเงินรูปีอ่อนลงต่อเนื่อง กลายเป็นอีกปัญหาอีกด้าน

 

ด้านที่สี่ – ปัญหาเงินไหลออก ซึ่งเกิดหนักขึ้นในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ซ้ำเติมให้ค่าเงินรูปีอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็ว โดยจากปลายเดือนเมษายนเป็นต้นมา ค่าเงินรูปีอ่อนค่าลงจาก 54 เป็น 63 รูปีต่อดอลลาร์ ทำให้ทางการของอินเดียกังวลใจมาก จนต้องออกมาตรการสกัดเงินทุนไหลออกในช่วงสัปดาห์ที่แล้ว

 

แล้วมาตรการสกัดเงินทุนไหลออกมีอะไรบ้าง

 

มาตรการที่ออกมานั้น ยังนับว่าเป็นมาตรการขั้นต้น ที่เน้นเฉพาะคนอินเดียด้วยกันเองเท่านั้น โดยแบงก์ชาติอินเดีย (1) ประกาศลดวงเงินลงทุนโดยตรงในต่างประเทศของบริษัทอินเดียลงจาก 4 เท่าของมูลค่าสุทธิของบริษัท เหลือเพียง 1 เท่าตัว พร้อมกับ (2) ประกาศลดวงเงินลงทุนในต่างประเทศ ที่บุคคลทั่วไปในอินเดียสามารถส่งออกไปได้ จากคนละ 2 แสนดอลลาร์ เหลือเพียง 7.5 หมื่นดอลลาร์

 

ทั้งนี้ มีรายงานว่า แม้คนทั่วไปในอินเดีย จะไม่ได้มีการนำเงินออกไปผ่านช่องทางนี้มากนัก แต่ก็มีบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน บริษัทหลักทรัพย์บางแห่งได้เริ่มส่งจดหมายอีเมล ไปหาลูกค้าของตนและแนะนำว่า ให้ทุกคนแลกเงินรูปีออกไปลงทุนนอกประเทศ (ตามที่ทางการอนุญาต) ไปก่อน รอจนกระทั่งเงินรูปีอ่อนไปที่ 70 รูปีต่อดอลลาร์ แล้วจึงค่อยเอาเงินกลับคืนเข้ามาอีกครั้ง

 

หากทุกคนเชื่อและทำเช่นนั้นจริง ค่าเงินรูปีก็จะถูกกดดันทำให้อ่อนค่าลงไปอีก และกลายเป็นวิกฤติได้ ดังนั้น แบงก์ชาติอินเดียจึงได้ออกมาตรการดังกล่าวมา เพื่อปรามไม่ให้คนทั่วไป อาศัยช่องดังกล่าวในการเก็งกำไรค่าเงินรูปี ส่วนที่บอกว่าเป็นมาตรการขั้นต้นนั้น ก็เพราะยังไม่ได้ประกาศห้ามไปถึงกลุ่มนักลงทุนต่างชาติด้วย

 

หลังการประกาศมาตรการ (ซึ่งเป็นการประกาศใช้ในช่วงวันประกาศอิสรภาพของอินเดีย) หลายคนตั้งข้อสังเกตว่า มาตรการทั้งสองเป็นการเดินถอยหลังเข้าคลองของประเทศอินเดีย ที่ต้องถอยย้อนกลับไปในส่วนของการเปิดเสรีเงินทุนไหลเข้าไหลออกจากประเทศ โดยบางคนยังกลัวไปต่ออีกว่า หากมาตรการที่ออกมาแล้วไม่ได้ผลพอ ค่าเงินรูปียังอ่อนต่อเนื่อง แบงก์ชาติอินเดียอาจจะต้องประกาศจำกัดการนำเงินทุนออกนอกประเทศของนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งจะมีนัยและผลกระทบต่อไปอย่างกว้างขวาง

 

แล้วเราต้องกังวลใจหรือเปล่า

 

ในช่วงนี้ เราคงต้องติดตามดูปัญหาของอินเดียอย่างใกล้ชิด เพราะมาตรการที่เขาประกาศออกมานั้น ได้ส่งผลให้ตลาดการเงินในประเทศอินเดียและในภูมิภาคได้รับผลกระทบ ปั่นป่วนไปด้วย โดยนักลงทุนต่างชาติเริ่มมามองหาโอกาสเก็งกำไรในค่าเงินของประเทศ ต่าง ๆ (ในด้านการอ่อนค่า) รวมไปถึงเริ่มมองถึงความเสี่ยงที่ทางการในภูมิภาคอาจออกมาตรการเพื่อสกัดการไหลออกของเงินทุน

 

สถานการณ์เช่นนี้ จะนำมาซึ่งความผันผวนในระยะสั้น ในระบบการเงินของภูมิภาค ซึ่งเมื่อช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา เราก็ได้เห็นผลบางส่วนที่ส่งมาถึงอินโดนีเซีย และไทยไปบ้างแล้ว ทั้งด้านค่าเงินและตลาดหุ้น

 

ที่น่ากังวลใจไปกว่านั้นก็คือ เมื่อมีเวลามาลองนั่งนึกตรึกตรองดู เราจะพบว่า ปัญหาเศรษฐกิจปีนี้ ไม่เหมือนกับเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ครั้งนั้น ปัญหาเกิดในภูมิภาคที่ห่างไกลไปจากเรา (สหรัฐและยุโรป) แต่รอบนี้ ปัญหามาใกล้ตัวเรามากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกรณีของการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของจีน ปัญหาเงินไหลออกของอินเดีย ปัญหาค่าเงินอ่อนของอินโด กระทั่งไทยเอง เศรษฐกิจเราก็แผ่วลงไปพอสมควรในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา ช่วงเช่นนี้ ทุกคนจึงควรตั้งอยู่ในความไม่ประมาท เตรียมการไว้อย่างรอบคอบ พยายามรักษาตนให้พ้นจากภัยเหล่านี้ ยิ่งช่วงข้างหน้า เมื่อสหรัฐเริ่มกระบวนการหยุดการอัดฉีดสภาพคล่องตามที่เขาตั้งใจไว้ ตลาดการเงินคงต้องปรับตัวอีกรอบ ก็ขอเอาใจช่วยครับ

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ (วันที่ 22 สิงหาคม 2556)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีตอนเช้าครับป๋า

 

เงินบาทมา 32 แว้ววววววว ดีใจ ๆ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เศรษฐกิจต่างประเทศ

วันที่ 22 สิงหาคม 2556 07:41

ดาวโจนส์ร่วง105จุด เฟดเสียงแตกลดคิวอี

news_img_524729_1.jpg

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

 

ดาวโจนส์ปิดร่วง 105.44 จุดที่ 14,897.55 จุด เฟดเสียงแตกระยะเวลาลดขนาดคิวอี

 

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 14,897.55 จุด ร่วงลง 105.44 จุด หรือ -0.70% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 1,642.80 จุด ลดลง 9.55 จุด หรือ -0.58% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 3,599.79 จุด ลดลง 13.80 จุด หรือ -0.38%

 

ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กเป็นไปอย่างผันผวนหลังจากรายงานการประชุมประจำวันที่ 30-31 ก.ค.ของเฟดซึ่งได้มีการเผยแผร่ในช่วงเช้าวันพฤหัสบดีตามเวลาประเทศไทยระบุว่า เจ้าหน้าที่ระดับสูงของเฟดยังคงมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับกรอบเวลาในการชะลอมาตรการ QE

 

ทั้งนี้ รายงานการประชุมนี้ทำให้ความไม่แน่นอนเพิ่มมากขึ้น ว่าการลดขนาดการซื้อพันธบัตรจะเกิดขึ้นเมื่อใดกันแน่

 

http://www.bangkokbiznews.com

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

น้ำมัน-หุ้นมะกันดิ่งหลังเฟดไม่ชัดเจนลดกระตุ้นศก.ทองคำก็ลง blank.gif โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 22 สิงหาคม 2556 05:36 น.

 

 

blank.gif 556000010995601.JPEG blank.gif

เอเอฟพี - ราคาน้ำมันนิวยอร์กและวอลล์สตรีท ดิ่งลงแรงวานนี้(21) หลังกังวลต่อช่วงเวลาที่เฟดจะลดระดับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ขณะที่ข้อมูลซึ่งไม่ชัดเจนในรายงานผลประชุมของคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน นี้เอง ก็ผลักให้ทองคำปิดลบเช่นกัน

 

สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนกันยายน ลดลง 1.26 ดอลลาร์ ปิดที่ 103.85 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน ลดลง 34 เซนต์ ปิดที่ 109.81 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

 

รายงานการประชุม(minutes) ของคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินธนาคารกลางสหรัฐฯ(FOMC) ระหว่างวันที่ 30-31 กรกฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันพุธ(21) พบว่าเหล่าสมาชิกมีความเห็นแตกแยกอย่างรุนแรงต่อกรอบเวลาของการลดระดับ โครงการเข้าซื้อพันธบัตรรายเดือน เมื่อเปรียบเทียบกับการฟื้นตัวอย่างเข้มแข็งของเศรษฐกิจอเมริกา

 

ขณะเดียวกันนักวิเคราะห์มองว่ารายงานคลังน้ำมันสำรองรายสัปดาห์ของ สหรัฐฯ ไม่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยต่อตลาดน้ำมันวานนี้(21) แม้มีรายงานว่าสต็อกน้ำมันลดลง 1.4 ล้านบาร์เรล บ่งชี้ถึงอุปสงค์อันแข็งแกร่ง

 

ด้านตลาดหุ้นสหรัฐฯวานนี้(21) ซื้อขายผันผวน ก่อนปิดลบพอสมควร หลังรายงานการประชุม (minutes)ของเฟด ไม่ส่งสัญญาณที่ชัดเจนว่าธนาคารกลางแห่งนี้มีแผนอย่างไรต่อมาตรการกระตุ้น เศรษฐกิจเชิงปริมาณ

 

ดัชนีดาวโจนส์ ลดลง 105.44 จุด (0.70 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 14,897.55 จุด เอสแอนด์พี ลดลง 9.55 จุด (0.58 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 1,642.80 จุด แนสแดก ลดลง 13.80 จุด (0.38 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 3,599.79 จุด

 

อาร์ท โฮแกน หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ของลาซาร์ด แคปิตอล มาร์เก็ตส์ บอกว่าจุดยืนที่คลุมเครือของเฟดเพิ่มความไม่มั่นคงแก่ตลาด "ตลาดต้องการความชัดเจนกว่านี้ ตลาดขานรับข่าวใหม่ที่ว่างเปล่าด้วยการเทขาย"

 

ปัจจัยข้างต้นส่งผลให้ราคาทองคำวานนี้(21) ทรงตัว โดยราคาทองคำตลาดโคเม็กซ์ ลดลง 2.50 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,370.10 ดอลลาร์ต่อออนซ์

 

http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9560000104674

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

จับตา FOMC minutes

 

updated: 21 ส.ค. 2556 เวลา 17:35:10 น.

 

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

 

ฝ่ายค้าเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพรายงานว่า ภาวะการเคลื่อนไหวของค่าเงินประจำวันพุธที่ 21 สิงหาคม 2556 ค่าเงินบาทเปิดตลาดเช้านี้ที่ระดับ 3.65/67 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับระดับปิดตลาดวันอังคาร (20/8) ที่ 31.64/65 บาท/ดอลลาร์ การอ่อนค่าของสกุลเงินบาทอ่อนค่าลงต่อเนื่องจากวานนี้ และไปในทิศทางเดียวกับสกุลเงินในภูมิภาคเอเชีย โดยปัจจัยหลักที่ส่งผลให้เงินบาทยังคงอ่อนค่าในรอบ 13 เดือนนี้ ยังคงเป็นปัจจัยกังวลจากการผิดหวังตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของไทยในไตรมาส 2/56 ที่ออกมาต่ำกว่าที่คาดการณ์ ประกอบกับตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ดีอย่างต่อเนื่อง ทำให้นักลงทุนเพิ่มการคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (FED) อาจจะลดวงเงินในการเข้าซื้อสินทรัพย์เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (QE) ในการประชุมประจำของ FED วันที่ 17-18 กันยายนนี้ ส่งผลให้นักลงทุนถอนเงินออกจากตลาดประเทศเกิดใหม่และกลับเข้าถือครองเงินดอลลาร์สหรัฐฯมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ช่วงบ่ายของวัน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 2.50% ขณะที่นักลงทุนยังคงรอรายงานการประชุมเฟดประจำวันที่ 30-31 ก.ค.ในคืนวันนี้ที่อาจจะบ่งชี้ถึงแนวทางการดำเนินนโยบายของ QE ได้เช่นกัน โดยตลอดทั้งวันค่าเงินบาทมีกรอบการเคลื่อนไหวอยู่ที่ 31.67-83 บาท/ดอลลาร์ ก่อนปิดตลาดที่ระดับ 31.79/81 บาท/ดอลลาร์

 

สำหรับค่าเงินยูโรวันนี้เปิดตลาดที่ระดับ 1.3419/22 ดอลลาร์/ยูโร ปรับตัวแข็งค่าเมื่อเทียบกับระดับปิดตลาดเมื่อวันอังคารที่ 1.3382/83 ดอลลาร์/ยุโร โดยเงินยูโรนั้นเปิดตลาดทรงตัวจากการแข็งค่าเมื่อวานนี้เนื่องจากได้รับอานิสงส์จากรัฐมนตรีคลังประเทศเยอรมนีนายวูลฟ์กังชอยเบิล ได้ให้ความเห็นว่า การเติบโตของเศรษฐกิจของเยอรมนีปีนี้มีแนวโน้มที่จะโต 0.7% มากกว่าที่รัฐบาลเคยคาดการณ์ไว้ก่อนหน้าที่ 0.5% ทำให้นักลงทุนยังคงเชื่อมั่นในสกุลเงินยูโรอยู่ โดยตลอดทั้งวันค่าเงินยุโรมีกรอบการเคลื่อนไหวที่ 1.3387-1.3426 ดอลลาร์/ยูโร ก่อนปิดตลาดที่ระดับ 1.3387/90 ดอลลาร์/ยูโร

 

สำหรับค่าเงินเยนวันนี้เปิดตลาดที่ระดับ 97.43/48 เยน/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับระดับปิดตลาดเมื่อวันอังคารที่ 97.25/26 เยน/ดอลลาร์ โดยการปรับตัวของแข็งค่าของเงินเยนนั้น เนื่องจากนักลงทุนกังวลเกี่ยวกับการปรับลดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯ (QE) และนักลงทุนหันมาเลือกลงทุนเงินเยนซึ่งเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยในขณะที่รอการเปิดเผยรายงานการประชุมประจำของ FED ประจำเดือนกันยายนนี้ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสริมจากเงินทุนไหลออกจากกลุ่มประเทศเกิดใหม่ (Emerging Market) และการร่วงลงของตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชีย ส่งผลให้นักลงทุนจำนวนมากกลับเข้าถือสินทรัพย์ปลอดภัยสกุลเงินเยน สำหรับเงินเยนนั้นมีกรอบการเคลื่อนไหวระหว่างวันอยู่ที่ระดับ 97.10-97.67 เยน/ดอลลาร์ ก่อนปิดตลาดที่ระดับ 97.41/45 เยน/ดอลลาร์

 

อนึ่ง ข้อมูลเศรษฐกิจที่น่าสนใจในสัปดาห์นี้คือ การเปิดเผยรายงานการประชุมของ FED (21/8), ดัชนีราคาบ้านและตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการผู้ว่างงานประจำสัปดาห์ของสหรัฐ (22/8), ตัวเลข GDP ของเยอรมนี, ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของยูโรโซน, ยอดขายบ้านใหม่ของสหรัฐฯเดือน ก.ค. และการประชุมประธานธนาคารกลางสำคัญต่าง ๆ ที่เมืองแจ็คสันโฮล (23/8)

 

อัตราป้องกันความเสี่ยง (swap point) ภาคเช้า 1 เดือนในประเทศอยู่ที่ +5.3/5.5 สตางค์/ดอลลาร์ และอัตราป้องกันความเสี่ยง (swap point) ภาคเช้า 1 เดือนต่างประเทศอยู่ที่ +12.5/14.5 สตางค์/ดอลลาร์

 

 

 

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับประชาชาติธุรกิจออนไลน์

www.facebook.com/prachachat

หรือติดตามผ่านทวิตเตอร์@prachachat

 

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1377081210

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

บาทอ่อนค่าแตะระดับต่ำสุดในรอบ 13 เดือนจากแรงขายของกองทุน ส่วนริงกิตอ่อนค่าลงก่อนการเปิดเผยข้อมูลดุลบัญชีเดินสะพัดและการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสสองของมาเลเซีย

 

ด้านรูเปี๊ยะห์ร่วงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 4 ปีในวันนี้ จากแรงขายพันธบัตรอินโดนีเซีย และแรงซื้อดอลลาร์จากกลุ่มผู้นำเข้าท่ามกลางสภาพคล่องดอลลาร์ที่เบาบาง ขณะที่นักลงทุนจับตาระดับแนวรับสำคัญที่ 11,000

 

 

 

เทรดเดอร์และนักวิเคราะห์กล่าวว่า คาดว่ารูเปี๊ยะห์จะร่วงลงแตะระดับ 11,000 ต่อดอลลาร์ อันเนื่องจากเงินทุนที่ไหลออกอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่ร่วงทะลุแนวรับทางเทคนิคที่บริเวณ 10,650-10,700 ต่อดอลลาร์

 

 

รูเปี๊ยะห์และรูปี ถูกมองว่าเป็นสกุลเงินที่เปราะบางมากที่สุดต่อการปรับลดมาตรการกระตุ้นของเฟด เนื่องจากยอดขาดดุลบัญชีเดินสะพัดที่เพิ่มขึ้น และความวิตกด้านเศรษฐกิจอื่นๆ

 

 

ขณะเดียวกัน ริงกิตและบาทก็เป็นสกุลเงินที่จะได้รับผลกระทบเป็นลำดับต่อไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากมียอดขาดดุลการคลังสูง, เศรษฐกิจชะลอตัวลง และนักลงทุนต่างประเทศถือครองพันธบัตรรัฐบาลเป็นจำนวนมาก

 

 

ริงกิตและบาทร่วงลง แม้ดอลลาร์ทรงตัวเมื่อเทียบกับเยน และทรงตัวใกล้ระดับต่ำสุดในรอบครึ่งปีเมื่อเทียบกับยูโรก็ตาม

 

 

นักลงทุนรอดูรายงานการประชุมครั้งล่าสุดของเฟด เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้แนวโน้มนโยบายในวันนี้

 

 

บาทต่อดอลลาร์ ร่วงลง 0.5% อยู่ที่ 31.79 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุด นับตั้งแต่เดือนก.ค. 2012 ขณะที่กองทุนต่างประเทศขายบาท

 

 

บาทฟื้นตัวขึ้นบ้างจากการร่วงลงในช่วงแรก ขณะที่พบว่าธนาคารที่เป็นตัวแทนของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ขายดอลลาร์ ขณะที่บาทอยู่ที่ระดับต่ำสุดของวัน

 

 

 

 

อินเดียใช้มาตรการพยุงบอนด์-รูปี

 

 

ทางการอินเดียได้ดำเนินมาตรการ เพื่อพยุงตลาดพันธบัตรที่ดิ่งลงอย่างหนัก รวมทั้งพยุงค่าเงินรูปี โดย ธนาคารกลางอินเดีย (RBI) เปิดเผยว่า จะซื้อพันธบัตรระยะยาว มูลค่า 8.0 หมื่นล้านรูปี หรือ 1.3 พันล้านดอลลาร์ ผ่านทางการซื้อพันธบัตรรัฐบาลในตลาดรอง (open market operation) ในวันที่ 23 ส.ค. และจะทำการตัดสินใจหลังจากนั้น เกี่ยวกับจำนวนและความถี่ในการซื้อพันธบัตรเพิ่มเติมตามความจำเป็น

 

 

อาร์บีไอ ยังได้ผ่อนคลายกฎการถือครองพันธบัตรตามข้อบังคับสำหรับภาคธนาคาร ในการดำรงสัดส่วนสภาพคล่องทางการเงิน ซึ่งจะช่วยปกป้องธนาคารจากผลขาดทุนจำนวนมากหากอิงตามมูลค่าตลาด

 

 

ทั้งนี้ อาร์บีไอ อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์สามารถคงปริมาณการถือครองพันธบัตรจนครบกำหนดไถ่ถอนได้ในสัดส่วน 24.5% ของเงินฝากต่อไป ซึ่งสวนทางกับกฎที่ออกมาในช่วงก่อนหน้านี้ที่ระบุว่า ธนาคารพาณิชย์จำเป็นต้องปรับลดปริมาณการถือครองพันธบัตรลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป สู่ระดับ 23% ของเงินฝาก

 

 

ด้าน นายอาร์วินด์ มายารัม รมว.กิจการเศรษฐกิจ ปฏิเสธถึงความเป็นไปได้เกี่ยวกับการใช้มาตรการควบคุมเงินทุน

 

 

 

 

มาเลย์ลดคาดการณ์เศรษฐกิจปีนี้

 

 

ธนาคารกลางมาเลเซีย รายงานว่า เศรษฐกิจไตรมาส 2 ขยายตัว 4.3% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว อันเป็นการขยายตัวต่ำกว่าการคาดหมาย ที่ 4.2-5.2% และมีขึ้นหลังจากไตรมาสแรกเศรษฐกิจเติบโต 4.1%

 

 

แนวโน้มการเติบโตที่ลดลง ทำให้ธนาคารกลางลดการคาดหมายการเติบโตสำหรับทั้งปีนี้ เหลือ 4.5-5% จาก 5-6%

 

 

นางเซติ อักตาร์ อาซิส ผู้ว่าการธนาคารกลาง แถลงว่าความต้องการภายในประเทศ จะยังเป็นเสาหลักสำหรับการเติบโต ท่ามกลางสภาพภายนอกประเทศที่ท้าทาย พร้อมเสริมว่าตลาดในหลายประเทศกำลังเผชิญสภาพเงินทุนไหลออกที่ไร้เสถียรภาพมาก แต่มาเลเซียสามารถรับมือได้เหมือนที่เคยทำมาแล้วท่ามกลางความผันผวน ดังนั้นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นจึงไม่ใช่ปรากฏการณ์ใหม่

 

 

นางอาซิส กล่าวว่า จากสถาบันมาเลเซีย รวมถึงอุตสาหกรรมประกัน อาจเข้าดูดซับพันธบัตรรัฐบาลที่ต่างชาติเทขาย

 

ที่มา: สิทธิชัยหยุ่น(วันที่ 22 สค.56)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

บาทอ่อนค่าแตะระดับต่ำสุดในรอบ 13 เดือนจากแรงขายของกองทุน ส่วนริงกิตอ่อนค่าลงก่อนการเปิดเผยข้อมูลดุลบัญชีเดินสะพัดและการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสสองของมาเลเซีย

 

ด้านรูเปี๊ยะห์ร่วงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 4 ปีในวันนี้ จากแรงขายพันธบัตรอินโดนีเซีย และแรงซื้อดอลลาร์จากกลุ่มผู้นำเข้าท่ามกลางสภาพคล่องดอลลาร์ที่เบาบาง ขณะที่นักลงทุนจับตาระดับแนวรับสำคัญที่ 11,000

 

 

 

เทรดเดอร์และนักวิเคราะห์กล่าวว่า คาดว่ารูเปี๊ยะห์จะร่วงลงแตะระดับ 11,000 ต่อดอลลาร์ อันเนื่องจากเงินทุนที่ไหลออกอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่ร่วงทะลุแนวรับทางเทคนิคที่บริเวณ 10,650-10,700 ต่อดอลลาร์

 

 

รูเปี๊ยะห์และรูปี ถูกมองว่าเป็นสกุลเงินที่เปราะบางมากที่สุดต่อการปรับลดมาตรการกระตุ้นของเฟด เนื่องจากยอดขาดดุลบัญชีเดินสะพัดที่เพิ่มขึ้น และความวิตกด้านเศรษฐกิจอื่นๆ

 

 

ขณะเดียวกัน ริงกิตและบาทก็เป็นสกุลเงินที่จะได้รับผลกระทบเป็นลำดับต่อไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากมียอดขาดดุลการคลังสูง, เศรษฐกิจชะลอตัวลง และนักลงทุนต่างประเทศถือครองพันธบัตรรัฐบาลเป็นจำนวนมาก

 

 

ริงกิตและบาทร่วงลง แม้ดอลลาร์ทรงตัวเมื่อเทียบกับเยน และทรงตัวใกล้ระดับต่ำสุดในรอบครึ่งปีเมื่อเทียบกับยูโรก็ตาม

 

 

นักลงทุนรอดูรายงานการประชุมครั้งล่าสุดของเฟด เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้แนวโน้มนโยบายในวันนี้

 

 

บาทต่อดอลลาร์ ร่วงลง 0.5% อยู่ที่ 31.79 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุด นับตั้งแต่เดือนก.ค. 2012 ขณะที่กองทุนต่างประเทศขายบาท

 

 

บาทฟื้นตัวขึ้นบ้างจากการร่วงลงในช่วงแรก ขณะที่พบว่าธนาคารที่เป็นตัวแทนของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ขายดอลลาร์ ขณะที่บาทอยู่ที่ระดับต่ำสุดของวัน

 

 

 

 

อินเดียใช้มาตรการพยุงบอนด์-รูปี

 

 

ทางการอินเดียได้ดำเนินมาตรการ เพื่อพยุงตลาดพันธบัตรที่ดิ่งลงอย่างหนัก รวมทั้งพยุงค่าเงินรูปี โดย ธนาคารกลางอินเดีย (RBI) เปิดเผยว่า จะซื้อพันธบัตรระยะยาว มูลค่า 8.0 หมื่นล้านรูปี หรือ 1.3 พันล้านดอลลาร์ ผ่านทางการซื้อพันธบัตรรัฐบาลในตลาดรอง (open market operation) ในวันที่ 23 ส.ค. และจะทำการตัดสินใจหลังจากนั้น เกี่ยวกับจำนวนและความถี่ในการซื้อพันธบัตรเพิ่มเติมตามความจำเป็น

 

 

อาร์บีไอ ยังได้ผ่อนคลายกฎการถือครองพันธบัตรตามข้อบังคับสำหรับภาคธนาคาร ในการดำรงสัดส่วนสภาพคล่องทางการเงิน ซึ่งจะช่วยปกป้องธนาคารจากผลขาดทุนจำนวนมากหากอิงตามมูลค่าตลาด

 

 

ทั้งนี้ อาร์บีไอ อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์สามารถคงปริมาณการถือครองพันธบัตรจนครบกำหนดไถ่ถอนได้ในสัดส่วน 24.5% ของเงินฝากต่อไป ซึ่งสวนทางกับกฎที่ออกมาในช่วงก่อนหน้านี้ที่ระบุว่า ธนาคารพาณิชย์จำเป็นต้องปรับลดปริมาณการถือครองพันธบัตรลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป สู่ระดับ 23% ของเงินฝาก

 

 

ด้าน นายอาร์วินด์ มายารัม รมว.กิจการเศรษฐกิจ ปฏิเสธถึงความเป็นไปได้เกี่ยวกับการใช้มาตรการควบคุมเงินทุน

 

 

 

 

มาเลย์ลดคาดการณ์เศรษฐกิจปีนี้

 

 

ธนาคารกลางมาเลเซีย รายงานว่า เศรษฐกิจไตรมาส 2 ขยายตัว 4.3% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว อันเป็นการขยายตัวต่ำกว่าการคาดหมาย ที่ 4.2-5.2% และมีขึ้นหลังจากไตรมาสแรกเศรษฐกิจเติบโต 4.1%

 

 

แนวโน้มการเติบโตที่ลดลง ทำให้ธนาคารกลางลดการคาดหมายการเติบโตสำหรับทั้งปีนี้ เหลือ 4.5-5% จาก 5-6%

 

 

นางเซติ อักตาร์ อาซิส ผู้ว่าการธนาคารกลาง แถลงว่าความต้องการภายในประเทศ จะยังเป็นเสาหลักสำหรับการเติบโต ท่ามกลางสภาพภายนอกประเทศที่ท้าทาย พร้อมเสริมว่าตลาดในหลายประเทศกำลังเผชิญสภาพเงินทุนไหลออกที่ไร้เสถียรภาพมาก แต่มาเลเซียสามารถรับมือได้เหมือนที่เคยทำมาแล้วท่ามกลางความผันผวน ดังนั้นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นจึงไม่ใช่ปรากฏการณ์ใหม่

 

 

นางอาซิส กล่าวว่า จากสถาบันมาเลเซีย รวมถึงอุตสาหกรรมประกัน อาจเข้าดูดซับพันธบัตรรัฐบาลที่ต่างชาติเทขาย

 

ที่มา: สิทธิชัยหยุ่น(วันที่ 22 สค.56)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นายกฯ อียิปต์ ประกาศ ไม่ต้องพึ่งเงินช่วยเหลือ อียิปต์ก็อยู่ได้ หลังสหรัฐและสหภาพยุโรปทบทวนความสัมพันธ์

 

นาย อัล-เบบลาวี นายกฯ อียิปต์ ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเอบีซีว่า อียิปต์กำลังเดินหน้าไปในทิศทางที่ถูกต้อง และเขาไม่กลัวว่าจะเกิดสงครามกลางเมือง แม้ว่าจะมีผู้เสียชีวิตกว่า 900 รายในการสลายการชุมนุมซึ่งนำโดยกองทัพต่อผู้สนับสนุนอดีตประธานาธิบดีโมฮาเห ม็ด มอร์ซี

 

เมื่อช่วงเช้าวานนี้ ทางการอียิปต์ได้จับกุมตัวหัวหน้ากลุ่มภราดรภาพมุสลิม "นายโมฮัมเหม็ด บาดี" ทำให้เกิดความวิตกกังวลว่าจะมีเหตุรุนแรงรอบใหม่ระหว่างกองกำลังรักษาความ มั่นคงกับกลุ่มผู้ประท้วงต่อต้านการทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคมที่ผ่านมา

 

ศาลอียิปต์สสั่งควบคุมตัวนายบาดีระหว่าง รอพิจารณาคดีเป็นเวลา 15 วัน ในข้อหาต้องสงสัยว่ากระทำการยั่วยุให้เกิดเหตุรุนแรงจนทำให้มีผู้ประท้วง เสียชีวิตหลายราย ซึ่งนับเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2524 ที่ผู้นำสูงสุดของกลุ่มภราดรภาพมุสลิมถูกจับกุมตัว

 

กลุ่ม ภราดรภาพมุสลิมซึ่งอ่อนกำลังลงจากการที่มีสมาชิกหลายคนถูกจำคุกและเสียชีวิต ได้แต่งตั้งผู้นำคนใหม่แทนนายบาดีโดยทันทีซึ่งก็คือ "นายมาห์มูด เอซซาต" รองหัวหน้ากลุ่มที่มีแนวคิดสายเหยี่ยว

 

ที่มา: money channel (วันที่ 22 สค.56)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อินเดีย ออกมาตรการพยุงตลาดพันธบัตร และค่าเงินรูปี หลังจากร่วงลงอย่างหนัก ด้วยแผนการเพิ่มเม็ดเงินเข้าระบบกว่า 1.3 พันล้านดอลลาร์

 

ธนาคาร กลางอินเดีย เปิดเผยถึงแผนในการเข้าซื้อพันธบัตรระยะยาว มูลค่า 8.0 หมื่นล้านรูปี หรือ คิดเป็น 1,300 ล้านดอลลาร์ ผ่านทางการซื้อในตลาด เริ่มตั้งแต่ ในวันที่ 23 สิงหาคมนี้ ส่วนความถี่ในการเข้าซื้อนั้น จะขึ้นอยู่กับสถานการณ์

 

นอกจากนี้ ธนาคารกลางอินเดีย ยังได้ผ่อนคลายกฎการถือครองพันธบัตรตามข้อบังคับสำหรับภาคธนาคาร ในการดำรงสัดส่วนสภาพคล่องทางการเงิน ซึ่งจะช่วยปกป้องธนาคารจากผลขาดทุน

จำนวนมากหากอิงตามมูลค่าตลาด

 

พร้อม กับปรับเกณฑ์ใหม่ ให้ธนาคารพาณิชย์ในอินเดียสามารถคงปริมาณการถือครองพันธบัตร จนครบกำหนดไถ่ถอนได้ในสัดส่วน 24.5% ของเงินฝากต่อไป ซึ่งสวนทางกับกฎที่ออกมาก่อนหน้านี้

 

นอกจากนี้ นายอาร์วินด์ มายารัม รัฐมนตรีกิจการเศรษฐกิจ ยังได้ปฏิเสธถึงโอกาสในการใช้มาตรการควบคุมเงินทุน

 

ที่มา: money channel (วันที่ 22 สค.56)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เอช​เอสบีซี ​โฮลดิงส์​เผย ดัชนี​ผู้จัด​การฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาค​การผลิต​เบื้องต้น​ใน​เดือนส.ค.​เพิ่มขึ้น​แตะ 50.1 ​ซึ่ง​เป็นระดับสูงสุด​ในรอบ 4 ​เดือน ​เทียบกับระดับ 47.7 ​ใน​เดือนก.ค.

 

ดัชนีที่สูงกว่า 50 บ่งชี้ว่ากิจกรรมภาค​การผลิตของจีนมี​การขยายตัวจาก​เดือนก่อนหน้า

นายฉู หงปิน หัวหน้านัก​เศรษฐศาสตร์ของ​เอช​เอสบีซีกล่าว​ใน​แถลง​การณ์ว่า ​การขยายตัวของภาค​การผลิตจีน​เริ่มมี​เสถียรภาพ จาก​การปรับตัวดีขึ้นของธุรกิจ​ใหม่​และ​การผลิต ​โดยมี​แรงผลักดันสำคัญจาก​การขานรับ​ใน​เบื้องต้น​เกี่ยวกับมาตร​การที่ ปรับ​เปลี่ยน​ให้สอดคล้อง​ในช่วงที่ผ่านมา ​และกิจกรรม​การ​เพิ่มสต็อกของบริษัทต่างๆ ​แม้ยังมีภาวะอ่อน​แรงต่อ​เนื่อง​ในต่างประ​เทศ

 

นอกจากนี้ นายฉูยังระบุว่า ​เอช​เอสบีซีคาดว่าภาค​การผลิตจะปรับตัวดีขึ้นต่อ​เนื่อง ​ซึ่งมี​แนว​โน้มจะส่งผล​ให้​การขยายตัวของ​เศรษฐจีนปรับตัว​ในช่วงขาขึ้น​ ในช่วงหลาย​เดือนข้างหน้า

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 22 สิงหาคม 2556)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คิวอีผสมโรงจีดีพีต่ำเป้ากดบาทอ่อนค่ารอบ 1 ปี "ประสาร" ยันไม่น่าห่วง เหตุอัตราแลกเปลี่ยนยังเคลื่อนไหวสอดคล้องพื้นฐานเศรษฐกิจ "กสิกรไทย" เผย 3 ปัจจัยฉุดจีดีพีต่ำเป้า-ถอนคิวอี-ผู้นำเข้าเร่งซื้อดอลลาร์ฯ "ทหารไทย" พุ่งเป้าเคสพิเศษจราจลในอินโดนีเซีย คาดทั้งปีโอกาสเห็นอ่อนค่า 32 บาท/ดอลลาร์

 

นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า กรณีค่าเงินบาทเทียบดอลลาร์สหรัฐฯ ปรับอ่อนค่าต่ำสุดในรอบ 1 ปี เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2556 ระดับอ่อนค่าสุดในรอบวันอยู่ที่ 31.72 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ นับจากเดือนกรกฎาคม 2555 มองว่าไม่ใช่ประเด็นที่น่ากังวล เนื่องจากยังเคลื่อนไหวสอดคล้องกับพื้นฐานของเศรษฐกิจประเทศ ขณะที่สาเหตุการปรับตัวอ่อนค่าลงนั้นยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง แต่สมมุติฐานเบื้องต้นอาจเกิดจากรายงานภาวะเศรษฐกิจไตรมาส 2/56 ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์ หรือสศช.)

ขณะที่นางสาวกาญจนา โชคไพศาลศิลป์ ผู้จัดการฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจมหภาค ศูนย์วิจัยกสิกรไทย กล่าวกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ประเมินปัจจัยกระทบเงินบาทปรับตัวอ่อนค่าจาก 3 สาเหตุ คือ 1.ตัวเลขจีดีพีไตรมาส 2/56 ที่ปรับตัวลดลงต่ำกว่าคาดการณ์ 2.การประกาศทยอยถอนมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (คิวอี) เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) และ 3.กลุ่มผู้นำเข้าซื้อดอลลาร์สหรัฐฯ ในปริมาณที่มากขึ้นในช่วงปลายเดือนนี้ แต่โดยภาพรวมยังเป็นการอ่อนค่าตามภูมิภาค ขณะที่แนวโน้มระยะถัดไปมองว่าค่าเงินบาทจะยังคงผันผวนโดยมีทิศทางอ่อนค่า มากกว่าแข็งค่า ตามกระแสข่าวการถอนมาตรการคิวอีของเฟดที่อาจเริ่มเห็นในเดือนกันยายน-ตุลาคม นี้

ด้านนายวราพงศ์ วงศ์วัชรา ผู้เชี่ยวชาญศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ค่าเงินบาทปรับตัวอ่อนค่าตามค่าเงินในภูมิภาค หรือคิวอี และปัจจัยพิเศษที่เกิดจากการก่อจราจลของผู้ต้องขังในอินโดนีเซีย ถ้าเฟดจะถอนคิวอีเดือนกันยายนนี้จะทำให้เงินบาทเผันผวนอาจจะรุนแรงถึงระดับ 32 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ดังนั้น ทุกฝ่ายต้องเตรียมตัวรับมือ

 

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ(วันที่ 22 สค.56)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตลาดหุ้น​เอ​เชียปรับตัวลดลง​เป็นวันที่ 6 ติดต่อกัน หลังจากที่​เจ้าหน้าที่หลายคนของธนาคารกลางสหรัฐ (​เฟด) ส่งสัญญาณว่าสนับสนุน​ให้มี​การชะลอมาตร​การผ่อนคลาย​เชิงปริมาณ (QE) ภาย​ในปีนี้ หาก​เศรษฐกิจสหรัฐดีขึ้น

 

ดัชนี MSCI Asia Pacific ลดลง 0.8% ​แตะ 129.58 จุด ​เมื่อ​เวลา 9.54 น.ตาม​เวลา​โต​เกียว

 

ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่น​เปิดวันนี้ที่ 13,314.05 จุด ลดลง 110.28 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีน​เปิดวันนี้ที่ 2,069.31 จุด ลดลง 3.65 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกง​เปิดวันนี้ที่ 21,538.19 จุด ลดลง 279.54 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้น​ไต้หวัน​เปิดวันนี้ที่ 7,779.44 จุด ลดลง 53.21 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้น​เกาหลี​ใต้​เปิดวันนี้ที่ 1,847.94 จุด ลดลง 19.52 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงค​โปร์​เปิดวันนี้ที่ 3,074.70 จุด ลดลง 34.29 จุด, ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์​เปิดวันนี้ที่ 6,150.25 จุด ลดลง 375.70 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมา​เล​เซีย​เปิดวันนี้ที่ 1,727.34 จุด ลดลง 17.51 จุด ​และดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออส​เตร​เลีย​เปิดวันนี้ที่ 5,079.00 จุด ลดลง 21.00 จุด

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 22 สิงหาคม 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า เงินรูเปียของอินโดนีเซียอ่อนค่าสู่จุดต่ำสุดในรอบ 4 ปี เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม และดูเหมือนเตรียมจะทะลุระดับแนวต้านสำคัญที่มีผลต่อจิตวิทยาที่ 11,000 รูเปียต่อดอลลาร์ จากการที่ตลาดเกิดใหม่หลายแห่งได้รับผลกระทบจากเงินทุนไหลออกระลอกใหม่ที่เกิดจากความกลัวว่า กองทุนสำรองแห่งรัฐหรือธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (เฟด) จะเริ่มถอนคันเร่งจากการกระตุ้นเศรษฐกิจในเร็วๆ นี้

 

อัตราแลกเปลี่ยนเงินรูเปียร่วงลงมากถึง 0.9 เปอร์เซ็นต์ มาอยู่ที่ 10,780 รูเปียต่อดอลลาร์ ซึ่งนับเป็นระดับอ่อนค่าที่สุดตั้งแต่เดือนเมษายน 2552 เป็นต้นมา และตลาดอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มที่จะลดลงอีกสำหรับค่าเงินรูเปีย ซึ่งถือเป็นสกุลเงินที่มีผลงานย่ำแย่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ในบรรดาสกุลเงินของประเทศเศรษฐกิจใหม่ในเอเชียด้วยกันรองจากเงินรูปีของอินเดีย

 

โดยอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าระยะเวลา 1 เดือนแบบไม่มีการส่งมอบเมื่อครบกำหนด (เอ็นดีเอฟ) ของเงินรูเปียอยู่ที่ 11,350 รูเปียต่อดอลลาร์

 

เงินรูเปียอินโดนีเซียและเงินรูปีอินเดีย ถูกมองว่าเป็นค่าเงินที่เปราะบางที่สุดต่อการยกเลิกมาตรการกระตุ้นทางการเงินของเฟด เนื่องจากการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดจำนวนมาก อัตราการเติบโตที่ชะลอตัว และการคัดค้านการออกกฎหมายในการปฏิรูปที่จำเป็น

 

ข้อมูลของธอมสัน รอยเตอร์ระบุว่า เงินรูเปียอ่อนค่าลง 10.7 เปอร์เซ็นต์แล้วในปีนี้

 

ทางด้านตลาดหุ้นในกรุงจาการ์ตาร่วงลงอย่างฮวบฮาบเป็นเวลา 4 วัน ทำให้เข้าสู่ภาวะ "ตลาดหมี" โดยในช่วงบ่ายแก่ๆ วันดังกล่าวนี้ ดัชนีดีดตัวกลับขึ้นมา 1.2 เปอร์เซ็นต์ หลังจากที่ประธานาธิบดีสุศีโล บัมบัง ยุทโธโยโน ของอินโดนีเซียเปิดเผยว่า รัฐบาลจะประกาศนโยบายในการต่อสู้กับอัตราเงินเฟ้อและการว่างงานในวันที่ 23 สิงหาคมนี้

 

ทว่านักค้าเงินและนักวิเคราะห์ระบุว่า แผนการดังกล่าวอาจจะไม่ช่วยบรรเทาอาการย่ำแย่ของค่าเงินรูเปียได้มากเท่าไหร่นัก

 

"นโยบายที่จะประกาศออกมาอาจเป็นบางสิ่งบางอย่างที่ช่วยกระตุ้นอัตราการเติบโตในระยะสั้น ทว่าปัญหาที่แท้จริงของอินโดนีเซียค่อนข้างเกี่ยวข้องกับเชิงโครงสร้าง ซึ่งไม่ง่ายที่จะแก้ไขด้วยมาตรการแบบผิวเผิน" กันดี คาห์ยาดี นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคาร โอซีบีซีในสิงคโปร์กล่าว และว่า "แรงกดดันต่อค่าเงินรูเปียจะยังคงอยู่ต่อไป นานตราบเท่าที่บรรยากาศทางเศรษฐกิจของอินโดนีเซียยังคงอ่อนแอ"

 

นักวิเคราะห์และนักค้าเงินจำนวนมากระบุว่า เงินรูเปียคาดว่าจะถูกทดสอบที่ระดับ 11,000 รูเปียต่อดอลลาร์ หลังจากอ่อนค่าผ่านระดับ 10,650-10,700 รูเปียต่อดอลลาร์

 

ขณะที่นักลงทุนยังคงทิ้งพันธบัตรรัฐบาลอินโดนีเซียอย่างต่อเนื่อง โดยผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปี พุ่งขึ้นมาอยู่ที่ 7.800 เปอร์เซ็นต์ และพันธบัตรอายุ 10 ปี ขึ้นมาอยู่ที่ 8.563 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งทั้ง 2 อัตราถืว่าสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2554

 

เมื่อเดือนที่แล้ว ธนาคารกลางอินโดนีเซียปรับลดประมาณการอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจจาก 6.2-6.6 เปอร์เซ็นต์ มาอยู่ที่ 5.8-6.2 เปอร์เซ็นต์

 

ที่มา : มติชนออนไลน์ (วันที่ 22 สิงหาคม 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...