ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

รายงานของฝั่งยุโรป ไม่มีอะไรตกใจตื่นเต้นในช่วงบ่าย / ตอนเย็น เรืี่องของดอกเบี้ย กับ ประธานฯ ECB ก็ไม่น่าทำให้ยูโรแข็งค่า ไม่มีนโยบายใหม่ๆ มาสร้างความเชื่อมั่น

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ในส่วนของสหรัฐฯ ข่าวเศรษฐกิจอาจเป็นแค่สับขาหลอก จากข่าวลดวงเงิน QE มาแทรก นะครับ อย่าไปยึดติดกับรายงานมากในวันนี้ เช่น ข่าวออกมาแย่ๆๆ เย้ๆๆๆๆ ทองจะขึ้น อาจขึ้นนิดแล้วลงก็ได้ หรือ ข่าวดีๆๆๆ ราคาทองจะลง แต่ทองขึ้นมาหลอกเรา คิดว่าเจอข่าวลือสงครามซีเรีย อ้าวที่ไหนได้ เผลอแว๊ปเดียว ลงมาแล้ว ก็ว่ากันไป 555

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ราคาทองฟิวเจอร์ร่วงลง จากคาดการณ์เฟดชะลอ QE เดือนนี้

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 4 กันยายน 2556 20:41:31 น.

 

ราคาทองฟิวเจอร์ปรับตัวลดลง ท่ามกลางกระแสคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจชะลอโครงการซื้อพันธบัตรในเดือนนี้ ขณะเดียวกันตลาดรอดูรายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจ หรือ Beige Book จากเฟดในเช้าวันพฤหัสบดีที่ 5 ก.ย.ตามเวลาไทย

 

เมื่อเวลาประมาณ 20.23 น.ตามเวลาประเทศไทย สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค. ร่วงลง 18.10 ดอลลาร์ หรือ 1.28% แตะที่ 1,393.90 ดอลลาร์/ออนซ์

 

ราคาทองได้รับแรงกดดันจากกระแสคาดการณ์ที่ว่าเฟดจะชะลอแผนการซื้อพันธบัตรในการประชุมกำหนดนโยบายการเงินครั้งต่อไปในวันที่ 17-18 ก.ย.นี้ หลังจากที่ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐหลายตัวออกมาในทิศทางที่สดใส ขณะเดียวกันมีการคาดการณ์ว่าตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐเดือนส.ค.อาจปรับเพิ่มขึ้น โดยสหรัฐจะเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวในช่วงค่ำวันศุกร์นี้ตามเวลาไทย

 

อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์เชื่อว่าราคาทองคำจะทะยานขึ้นอีกครั้งหากสถานการณ์ตึงเครียดในซีเรียทวีความรุนแรงขึ้น เพราะนักลงทุนจะแห่ซื้อทองคำซึ่งถูกมองว่าเป็นแหล่งลงทุนที่ปลอดภัย

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ปรียพรรณ มีสุข โทร.02-2535000 ต่อ 338 อีเมล์: preeyapan@infoquest.co.th--

 

http://www.ryt9.com/s/iq31/1728717

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

น้ำมัน-ทองคำดิ่งรอท่าทีคองเกรสต่อปฏิบัติการถล่มซีเรีย หุ้นมะกันขึ้นแรง blank.gif โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 5 กันยายน 2556 04:15 น.

 

 

blank.gif 556000011700201.JPEG blank.gif

เอเอฟพี/เอเจนซี - ราคาน้ำมันและทองคำวานนี้(4) ดิ่งลงหนัก หลังตลาดรอดูท่าทีสภาคองเกรสต่อปฏิบัติการโจมตีซีเรีย สวนทางกับวอลล์สตรีท ที่พุ่งแรง จากข้อมูลภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ของสหรัฐฯและตัวเลขทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง ของยูโรโซน

 

สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนตุลาคม ลดลง 1.31 ดอลลาร์ ปิดที่ 107.23 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน ลดลง 77 เซนต์ ปิดที่ 114.91 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

 

จีเน แมคกิลเลียน โบรกเกอร์และนักวิเคราะห์เผยว่าน้ำมันได้ขยับลง ก่อนหน้าคณะกรรมการด้านความสัมพันธ์ต่างประเทศของวุฒิสภาสหรัฐฯ จะลงโหวตรับรองร่างมติอนุญาตให้วอชิงตันใช้ปฏิบัติการทางทหารโจมตีซีเรีย สะท้อนให้เห็นว่าไม่มีข้อมูลข่าวที่หนักแน่นเพียงพอต่อความเป็นไปได้ในการ ถล่มดามัสกัส

 

แม้ ซีเรีย ไม่ใช่ชาติผู้ผลิตน้ำมันสำคัญ แต่มีความกังวลว่าปฏิบัติการโจมตีทางทหารของสหรัฐฯอาจทำให้ความตึงเครียด ลุกลามไปทั่วภูมิภาคและส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมพลังงานโดยปริยาย

 

ทั้งนี้ด้วยที่นักลงทุนจับตาความคืบหน้าสถานการณ์ในวิกฤตซีเรีย ก็ฉุดให้ราคาทองคำวานนี้(4) ปิดลบแรง แตะระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 2 สัปดาห์ โดยราคาทองคำตลาดโคเม็กซ์ ลดลง 22.00 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,390.00 ดอลลาร์ต่อออนซ์

 

ด้านตลาดหุ้นสหรัฐฯวานนี้(4) ขยับขึ้นแรง ได้แรงหนุนจากยอดจำหน่ายรถยนต์และข้อมูลทางเศรษฐกิจยูโรโซน หล้งจากช่วงหลายวันที่ผ่านมาปิดลบอย่างต่อเนื่องจากความกังวลต่อปัญหาใน ซีเรีย

 

ดัชนีดาวโจนส์ เพิ่มขึ้น 106.29 จุด (0.72 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 14,940.25 จุด เอสแอนด์พี เพิ่มขึ้น 14.08 จุด (0.86 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 1,653.85 จุด แนสแดค เพิ่มขึ้น 37.18 จุด (1.03 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 3,649.79 จุด

 

ยอดจำหน่ายรถยนต์สหรัฐฯในเดือนสิงหาคม เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนถึงร้อยละ 17 นับเป็นเดือนที่แข็งแกร่งที่สุดของภาคอุตสาหกรรมนี้นับตั้งแต่ช่วงก่อนเริ่ม ต้นของภาวะเศรษฐกิจถดถอยในปี 2007-2009 ปัจจัยนี้เองก่อความคึกคักแก่นักลงทุนเป็นอย่างมาก

 

ขณะเดียวกันวอลล์สตรีท ยังได้ปัจจัยหนุนจากข้อมูลการค้าของสหรัฐฯที่บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจไตรมาสนี้จะ เติบโต ส่วนภาคธุรกิจยูโรโซนในเดือนสิงหาคมก็ทำสถิติเป็นเดือนที่ดีที่สุดในรอบ 2 ปี เช่นเดียวกับภาคบริการของจีนที่ขยายตัวมากที่สุดในรอบ 5 เดือน

 

http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9560000111487

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีครับป๋า

 

รอลุ้นเลขเด็ดพรุ่งนี้ด้วยคนครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

มาอ่านข่าวสารที่เกิดขึ้นผ่านไปแล้ว เศรษฐกิจยูโรโซนหลุดพ้นภาวะถดถอยแล้ว (05/09/2556)

ข่าววิ่ง - ข่าววิ่ง

สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า ข้อมูลใหม่ที่เผยแพร่ออกมาในวันนี้ (4 ก.ย.) ยืนยันว่าเศรษฐกิจยูโรโซนในช่วงไตรมาส 2 หลุดพ้นจากภาวะถดถอยที่ยืดเยื้อมานาน 18 เดือน

 

แต่แนวโน้มยังคงล้าหลังเศรษฐกิจโลกอยู่มาก

 

สำนักงานสถิติยูโรสแตท ระบุในการประเมินครั้งที่ 2 ว่าเศรษฐกิจของยูโรโซน 17 ประเทศซึ่งมีประชากรรวมกันประมาณ 340 ล้านคน ในช่วงเดือนเมษายนถึงมิถุนายน เติบโตขึ้นร้อยละ 0.3 หลังจากช่วงไตรมาสแรกหดตัวร้อยละ 0.2

 

หากนับรวมทั้ง 27 ชาติสมาชิกสหภาพยุโรป(อียู) จะพบว่าเศรษฐกิจของกลุ่มนี้มีการขยายตัวช่วงไตรมาส 2 ร้อยละ 0.4 ดีกว่าที่ประมาณการณ์ไว้เบื้องต้นร้อยละ 0.3 หลังจากช่วงเดือนมกราคมถึงมีนาคม หดตัวที่ร้อยละ 0.1 โดยเมื่อเทียบกับช่วงไตรมาส 2 ของปี 2012 เศรษฐกิจของยูโรโซนยังหดตัวลงร้อยละ 0.5 ขณะที่อียูก็หดตัวเช่นกัน

 

ที่มา หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ (วันที่ 4 กันยายน 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวกเมื่อคืนนี้ (4 ก.ย.) เนื่องจากการพุ่งขึ้นของหุ้นโวดาโฟนช่วยหนุนหุ้นกลุ่มสื่อสารทะยานขึ้นถ้วน หน้า อย่างไรก็ตาม นักลงทุนระมัดระวังการซื้อขายก่อนที่จะรับทราบผลการลงมติของวุฒิสภาสหรัฐ เกี่ยวกับการโจมตีซีเรีย

 

ดัชนี Stoxx 600 เพิ่มขึ้น 0.2% ปิดที่ 302.34 จุด

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 3,980.42 จุด เพิ่มขึ้น 6.35 จุด หรือ +0.16% ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 8,195.92 จุด เพิ่มขึ้น 15.21 จุด หรือ +0.19% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,474.74 จุด เพิ่มขึ้น 6.33 จุด หรือ +0.10%

 

-- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (4 ก.ย.) เพราะได้แรงหนุนจากรายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ทั้ง 12 เขต หรือ Beige Book ที่ระบุว่าเศรษฐกิจสหรัฐยังคงมีการขยายตัว อย่างไรก็ตาม ตลาดยังคงได้รับแรงกดดันจากความกังวลที่ว่ากองกำลังทหารซึ่งนำโดยสหรัฐ อาจจะบุกโจมตีซีเรีย

 

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 14,930.87 จุด เพิ่มขึ้น 96.91 จุด หรือ +0.65% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 1,653.08 จุด เพิ่มขึ้น 13.31 จุด หรือ +0.81% ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 3,649.04 จุด เพิ่มขึ้น 36.43 จุด หรือ +1.01%

 

-- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (4 ก.ย.) หลังจากมีรายงานว่าสหรัฐอาจจะใช้กำลังทางทหารโจมตีซีเรียเพียงแค่ในวงจำกัด ซึ่งข่าวดังกล่าวทำให้นักลงทุนคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับอุปทานน้ำมันใน ตะวันออกกกลาง

 

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนต.ค.ร่วงลง 1.31 ดอลลาร์ ปิดที่ 107.23 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนต.ค.ที่ตลาดลอนดอน ลดลง 77 เซนต์ ปิดที่ 114.91 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

-- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (4 ก.ย.) หลังจากมีรายงานว่ารัสเซียได้ออกมาแสดงท่าทีไม่เห็นด้วยที่สหรัฐจะใช้กำลัง ทางทหารโจมตีซีเรีย ซึ่งข่าวดังกล่าวทำให้นักลงทุนเทขายสัญญาทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.ร่วงลง 22 ดอลลาร์ หรือ 1.56% ปิดที่ 1,390 ดอลลาร์/ออนซ์

 

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ย.ร่วงลง 1.014 ดอลลาร์ ปิดที่ 23.415 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนต.ค.ร่วงลง 43.50 ดอลลาร์ ปิดที่ 1494.70 ดอลลาร์/ออนซ์ ขณะที่สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนก.ย.ร่วงลง 19.70 ดอลลาร์ ปิดที่ 698.25 ดอลลาร์/ออนซ์

 

-- ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (4 ก.ย.) หลังจากมีรายงานว่าสหรัฐมียอดขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้นในเดือนก.ค.

 

ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9361 ฟรังค์ จากระดับของวันอังคารที่ 0.9364 ฟรังค์ แต่ขยับขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ 99.74 เยน จากระดับ 99.47 เยน

 

ยูโรแข็งค่าขึ้นแตะระดับ 1.3207 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.3169 ดอลลาร์สหรัฐ เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นแตะระดับ 1.5623 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5563 ดอลลาร์สหรัฐ และดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้นแตะระดับ 0.9169 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.9053 ดอลลาร์สหรัฐ

 

-- ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดบวกเมื่อคืนนี้ (4 ก.ย.) เพราะได้แรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของหุ้นโวดาโฟน อย่างไรก็ตาม ภาวะการซื้อขายได้รับแรงกดดัน เนื่องจากหุ้นกลุ่มสายการบินได้ปรับตัวลดลงหลังเจ้าหน้าที่สหรัฐแสดงความ เห็นสนับสนุนประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐในปฏิบัติการโจมตีซีเรีย

 

ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,474.74 จุด เพิ่มขึ้น 6.33 จุด หรือ +0.10%

 

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (05/09/56)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อินเดียเป็นประเทศผู้นำเข้าทองคำรายใหญ่ของโลก โดยในปี 2555 มีตัวเลขการนำเข้าทองคำจากต่างประเทศคิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 5.3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ มูลค่าการนำเข้าที่สูงมากนี้คิดเป็นสัดส่วนถึง 61 % ของตัวเลขการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด(ปีงบประมาณ 2556)

 

จึงถูกเพ่งเล็งว่าเป็นตัวการใหญ่ที่ก่อปัญหาการขาดดุลและทำให้ค่าเงินรูปี อ่อนตัวลงมากในเวลานี้ ถึงแม้รัฐบาลอินเดียและธนาคารกลาง(อาร์บีไอ) จะยอมรับว่า เงินเฟ้อที่สูงขึ้นในประเทศมีส่วนผลักดันให้นักลงทุนหันไปลงทุนในทองคำและทำ ให้มีความต้องการนำเข้าทองคำมากยิ่งขึ้น แต่ในสถานการณ์ปัจจุบัน ทั้งรัฐบาลและอาร์บีไอจำเป็นต้องฉุดรั้งการดำดิ่งของค่าเงินรูปีซึ่งนับ ตั้งแต่ต้นปีมา มูลค่าลดลงไปแล้วเกือบ 1 ใน 4 ในระยะเร็วๆนี้จึงมีการนำมาตรการสกัดกั้นการนำเข้าทองคำในรูปแบบต่างๆมาใช้ ซึ่งรวมถึงการขึ้นภาษีการนำเข้าทองคำจาก 8% เป็น 10%

ดิ อีโคโนมิก ไทม์ส สื่อท้องถิ่นของอินเดีย รายงานว่า เนื่องจากความต้องการซื้อทองคำในประเทศมีสูงมากแต่ก็มีความจำเป็นที่ภาครัฐ จะต้องสกัดกั้นการนำเข้า อาร์บีไอจึงพิจารณาใช้มาตรการเชิญชวนให้ภาคครัวเรือนหรือองค์กรต่างๆ เช่น วัด ศาสนสถาน หรือมูลนิธิ ที่ถือครองทองคำไม่ว่าจะเป็นในรูปทองคำแท่งหรือทองรูปพรรณที่ถูกเก็บไว้เฉยๆ ให้นำออกมาขายให้กับธนาคารที่รัฐให้การรับรองเพื่อเวียนนำทองคำเหล่านั้น กลับมาสนองอุปสงค์ภายในประเทศ โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสำคัญๆและฤดูกาลที่มีการแต่งงาน

สื่ออินเดียรายงานต่อไปว่า ศาสนสถานที่ถือครองทองคำในรูปแบบต่างๆอยู่เป็นจำนวนมากที่สุดนั้นได้แก่ วัดทิรูปาตีในรัฐอันตรประเทศ วัดเชอร์ดี ไสบาบา ในมหาราชตระ วัดสิธิวินายัคในเมืองมุมไบ และวัดพัดมานาพาสวามีในเมืองธิรูวานันทปูรัม เป็นต้น ทั้งนี้ วัดทิรูปาตี ติดอันดับเป็นหนึ่งในวัดที่ร่ำรวยมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยทางวัดมีทองคำอยู่ในครอบครองประมาณ 1 พันตัน หรือคิดเป็นปริมาณ 2 เท่าของตัวเลขประมาณการการนำเข้าทองคำของอินเดียในปีนี้ ส่วนปริมาณทองคำที่มีอยู่ในประเทศอินเดียทั้งหมดในปัจจุบันนั้น มีตัวเลขประมาณการที่ 1.8-3 หมื่นตัน

แหล่งข่าวในวงการธนาคารของอินเดียซึ่งไม่ประสงค์เปิดเผยนามเนื่องจากเป็น ประเด็นที่อ่อนไหวเปิดเผยว่า แนวคิดของอาร์บีไอก็คือการให้อำนาจแก่ธนาคารพาณิชย์ที่ได้รับการรับรอง ซื้อทองคำจากทรัสต์หรือสถาบันที่ดูแลทรัพย์สินของศาสนสถานมาเพื่อส่งเข้าโรง งานแปรรูปเป็นเหรียญทองคำ แล้วจากนั้นก็ให้ธนาคารกลางมารับซื้อไปซึ่งจะช่วยดูดซับปริมาณเงินรูปีออก จากตลาดด้วย อย่างไรก็ตาม โฆษกรายหนึ่งของทรัสต์ที่ดูแลทรัพย์สินให้กับศาสนสถานเปิดเผยว่า ยังไม่มีความสนใจที่จะเข้าร่วมโครงการดังกล่าวของรัฐบาล อย่างน้อยก็ในช่วงเวลานี้ อีกทั้งยังไม่มีการติดต่อเพื่อเจรจาหารือกับอาร์บีไอแต่อย่างใด

ในส่วนของมาตรการให้ธนาคารพาณิชย์รับซื้อทองคำจากภาคครัวเรือนนั้น สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า โครงการนำร่องกำลังจะเริ่มขึ้นในเร็วๆนี้ โดยอาร์บีไอจะขอให้ธนาคารที่ได้รับการรับรอง ซื้อทองคำในรูปแบบต่างๆเช่น ทองรูปพรรณ ทองแท่ง และเหรียญทอง จากประชาชนในราคาที่สูงกว่าราคาของโรงรับจำนำและร้านอัญมณีเพื่อเป็นการเชิญ ชวนให้ประชาชนเข้าร่วมโครงการ

ทั้งนี้ ข่าวระบุว่า อินเดียทั้งประเทศมีทองคำในรูปที่สามารถซื้อขายได้ปริมาณถึง 3.1 หมื่นตัน หรือคิดเป็นมูลค่า 1.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ฉะนั้น หากแม้มีการขายเสี้ยวส่วนหนึ่งของจำนวนนี้เข้าโครงการดังกล่าวก็จะช่วยให้มี ทองคำเวียนกลับมาสนองอุปสงค์ภายในประเทศทดแทนการนำเข้าได้เป็นจำนวนมาก (ในปี 2555 อินเดียนำเข้าทองคำเป็นปริมาณถึง 860 ตัน)

สถิติล่าสุดชี้ว่า อินเดียมีตัวเลขการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสูงเกือบ 9 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือคิดเป็นอันดับ 3 ของโลก ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีการนำเข้าทองคำเป็นปริมาณสูงมาก แหล่งข่าวใกล้ชิดวงในของอาร์บีไอเปิดเผยว่า โครงการนำร่องให้ธนาคารพาณิชย์รับซื้อทองคำจากภาคครัวเรือนจะเป็นส่วนหนึ่ง ของมาตรการลดการนำเข้าทองคำจากต่างประเทศมาสนองอุปสงค์ภายในประเทศ โดยธนาคารที่ได้รับการรับรองให้เข้าร่วมโครงการจะเป็นธนาคารใหญ่ที่มีการลง ทุนในทองคำมากอยู่แล้ว นอกจากนี้ธนาคารบางแห่งของอินเดียยังรับเปิดบัญชีฝากทองคำโดยจ่ายดอกเบี้ย ให้กับผู้ฝากอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์บางรายมองว่า โครงการนี้ไม่น่าจะประสบผลที่คาดหวัง มาตรการที่อาร์บีไอจะนำมาใช้ควรจะต้องมีการวางโครงสร้างที่ดีกว่านี้ เช่นการออกพันธบัตรทองคำ ซึ่งแนวความคิดดังกล่าวได้เคยมีการพูดถึงมาแล้วเมื่อเร็วๆนี้ โดยนายอนัน ชาร์มา รัฐมนตรีการค้าของอินเดีย ได้กล่าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า ธนาคารกลางควรจะหาแนวทางที่จะแปลงค่าของทองคำให้เป็นทุน เช่นด้วยการออกพันธบัตรให้กับผู้ถือครองทองคำ เป็นต้น เขายังให้ความเห็นเหมือนกับเป็นการส่งสัญญาณไปยังอาร์บีไอซึ่งถือครองทองคำ อยู่ 557.7 ตันด้วยว่า หากเพียงมีการนำทองคำ 500 ตันมาแปลงค่าเป็นทุน(ในรูปพันธบัตร) ก็จะช่วยให้อินเดียสามารถจัดการกับปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดได้เป็น อย่างดี

อย่างไรก็ตาม แนวคิดดังกล่าวทำให้หลายคนนึกย้อนรำลึกถึงวิกฤติเศรษฐกิจของอินเดียในปี 1991 ที่ในเวลานั้นรัฐบาลอินเดียต้องนำทองคำ 67 ตันบินไปค้ำประกันเงินกู้ในยุโรปเพื่อหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ต่าง ประเทศ เหตุการณ์ดังกล่าวมีผู้มองว่าเป็นการเสียหน้าระดับประเทศและทำให้อาจมีการ คัดค้านหากอาร์บีไอมีแผนจะออกพันธบัตรที่มีทองคำค้ำประกัน

"การเอาทอง(ของรัฐ)ออกมาขายดูจะเป็นมาตรการที่สิ้นหวัง และนั่นจะส่งสัญญาณเชิงลบที่ผิดอย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เพราะตลอดเวลาที่ผ่านมาเรา (รัฐ) พยายามบอกมาเสมอว่าทุกสิ่งทุกอย่างยังสามารถควบคุมได้แม้ว่าจริงๆแล้วมันจะ แย่ก็ตาม" นายมาดาน ซับนาวิส หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ แคร์ เรตติ้งส์ กล่าว ไม่เพียงเท่านั้น มาตรการดังกล่าวจะมีผลทำให้ราคาทองคำโลกตกดิ่งลง เช่นเดียวกับที่เคยเป็นมาแล้วเมื่อต้นปีนี้ เมื่อรัฐบาลไซปรัสประกาศว่าจะขายทองคำในสำรองของรัฐออกมาเพื่อแก้ไขปัญหา วิกฤติเศรษฐกิจ

 

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ (วันที่ 5 กย.56)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ข่าววิ่ง - ข่าววิ่ง

ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (4 ก.ย.) หลังจากมีรายงานว่าสหรัฐมียอดขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้นในเดือนก.ค.

 

ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9361 ฟรังค์ จากระดับของวันอังคารที่ 0.9364 ฟรังค์ แต่ขยับขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ 99.74 เยน จากระดับ 99.47 เยน

 

ยูโรแข็งค่าขึ้นแตะระดับ 1.3207 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.3169 ดอลลาร์สหรัฐ เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นแตะระดับ 1.5623 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5563 ดอลลาร์สหรัฐ และดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้นแตะระดับ 0.9169 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.9053 ดอลลาร์สหรัฐ

 

ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงหลังจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดนำเข้าสินค้ามายังสหรัฐเพิ่มขึ้น 1.6% ในเดือนก.ค.เมื่อเทียบกับเดือนมิ.ย. สู่ระดับ 2.2859 แสนล้านดอลลาร์ ขณะที่ยอดส่งออกหดตัวลง 0.6% แตะ 1.8945 แสนล้านดอลลาร์ ส่งผลให้ยอดขาดดุลการค้าของสหรัฐขยายตัว 13.3% สู่ระดับ 3.915 หมื่นล้านดอลลาร์

 

รายงานระบุว่า ยอดนำเข้าขยายตัวเพราะชาวอเมริกันซื้อรถยนต์ ของเล่น และเครื่องใช้ไฟฟ้าจากต่างประเทศมากขึ้นในเดือนก.ค. แสดงให้เห็นว่าการใช้จ่ายผู้บริโภคฟื้นตัวขึ้นปานกลางเมื่อเทียบกับเดือน มิ.ย. ส่วนยอดส่งออกที่ลดลงจากเดือนมิ.ย. แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจโลกยังคงอ่อนแอ ซึ่งกระทบต่อความต้องการสินค้าจากสหรัฐ

 

อย่างไรก็ตาม ดอลลาร์สหรัฐอ่อนตัวลงในกรอบที่จำกัด เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ในซีเรียและถือครอง ดอลลาร์ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย

 

นักลงทุนจับตาดู ADP Employer Services จะเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนทั่วประเทศสหรัฐประจำเดือนส.ค.ในวันนี้ เวลา 19.15 น.ตามเวลาไทย ซึ่งนักวิเคราะห์คาดว่าตัวเลขการจ้างงานจะเพิ่มขึ้น 180,000 ตำแหน่ง

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 5 กันยายน 2556)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

ข่าววิ่ง - ข่าววิ่ง

ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยในรายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจ หรือ Beige Book ว่าเศรษฐกิจสหรัฐยังคงมีการขยายตัว “เล็กน้อยถึงปานกลาง" ตั้งแต่ช่วงต้นเดือนก.ค.ไปจนถึงปลายเดือนส.ค. โดยได้รับแรงหนุนจากการฟื้นตัวของภาคที่อยู่อาศัยและการเติบโตด้านการบริโภค และการผลิต

 

 

“มีการขยายตัวปานกลางใน 8 เขต ส่วนอีก 4 เขตที่เหลือนั้น บอสตัน แอตแลนตา และซานฟรานซิสโกรายงานถึงการขยายตัวเล็กน้อย และชิคาโกระบุว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจได้ปรับตัวดีขึ้น"

 

 

รายงานระบุว่า การใช้จ่ายของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นในเขตส่วนใหญ่ ซึ่งบางส่วนสะท้อนถึงอุปสงค์ที่แข็งแกร่งสำหรับรถยนต์และสินค้าที่เกี่ยว ข้องกับที่อยู่อาศัย ขณะที่ภาคการผลิตขยายตัวเล็กน้อย

 

 

“กิจกรรมภาคอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัยเพิ่มขึ้นปานกลางในเขต ส่วนใหญ่ และความต้องการอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ใช่เพื่อการอยู่อาศัยปรับตัวขึ้นโดย รวม" เฟดระบุ

 

เงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับต่ำ ขณะที่เฟดระบุว่าแรงกดดันด้านราคาที่เพิ่มขึ้น “ยังคงไม่รุนแรง" และราคาได้ปรับเพิ่มขึ้นเพียง “เล็กน้อย"

 

 

ทั้งนี้ รายงาน Beige Book อิงกับข้อมูลเศรษฐกิจจากธนาคารภูมิภาค 12 แห่งของเฟด โดยจะมีการเปิดเผยปีละ 8 ครั้งเพื่อแสดงถึงภาพรวมของเศรษฐกิจสหรัฐ และจะมีการอัพเดทข้อมูล 2 สัปดาห์ก่อนการประชุมกำหนดนโยบายของเฟดในแต่ละครั้ง ขณะที่เจ้าหน้าที่เฟดจะพิจารณารายงานดังกล่าวในการประชุมกำหนดนโยบายในวัน ที่ 17-18 ก.ย.นี้ ซึ่งจะยังคงมีการหารือกันในประเด็นกำหนดเวลาในการเริ่มชะลอแผนการซื้อ พันธบัตรวงเงิน 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน สำนักข่าวซินหัวรายงาน

 

ที่มา: ทันหุ้น(วันที่ 5 กย.56)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

ข่าววิ่ง - ข่าววิ่ง

ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยในรายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจ หรือ Beige Book ว่าเศรษฐกิจสหรัฐยังคงมีการขยายตัว “เล็กน้อยถึงปานกลาง" ตั้งแต่ช่วงต้นเดือนก.ค.ไปจนถึงปลายเดือนส.ค. โดยได้รับแรงหนุนจากการฟื้นตัวของภาคที่อยู่อาศัยและการเติบโตด้านการบริโภค และการผลิต

 

 

“มีการขยายตัวปานกลางใน 8 เขต ส่วนอีก 4 เขตที่เหลือนั้น บอสตัน แอตแลนตา และซานฟรานซิสโกรายงานถึงการขยายตัวเล็กน้อย และชิคาโกระบุว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจได้ปรับตัวดีขึ้น"

 

 

รายงานระบุว่า การใช้จ่ายของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นในเขตส่วนใหญ่ ซึ่งบางส่วนสะท้อนถึงอุปสงค์ที่แข็งแกร่งสำหรับรถยนต์และสินค้าที่เกี่ยว ข้องกับที่อยู่อาศัย ขณะที่ภาคการผลิตขยายตัวเล็กน้อย

 

 

“กิจกรรมภาคอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัยเพิ่มขึ้นปานกลางในเขต ส่วนใหญ่ และความต้องการอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ใช่เพื่อการอยู่อาศัยปรับตัวขึ้นโดย รวม" เฟดระบุ

 

เงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับต่ำ ขณะที่เฟดระบุว่าแรงกดดันด้านราคาที่เพิ่มขึ้น “ยังคงไม่รุนแรง" และราคาได้ปรับเพิ่มขึ้นเพียง “เล็กน้อย"

 

 

ทั้งนี้ รายงาน Beige Book อิงกับข้อมูลเศรษฐกิจจากธนาคารภูมิภาค 12 แห่งของเฟด โดยจะมีการเปิดเผยปีละ 8 ครั้งเพื่อแสดงถึงภาพรวมของเศรษฐกิจสหรัฐ และจะมีการอัพเดทข้อมูล 2 สัปดาห์ก่อนการประชุมกำหนดนโยบายของเฟดในแต่ละครั้ง ขณะที่เจ้าหน้าที่เฟดจะพิจารณารายงานดังกล่าวในการประชุมกำหนดนโยบายในวัน ที่ 17-18 ก.ย.นี้ ซึ่งจะยังคงมีการหารือกันในประเด็นกำหนดเวลาในการเริ่มชะลอแผนการซื้อ พันธบัตรวงเงิน 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน สำนักข่าวซินหัวรายงาน

 

ที่มา: ทันหุ้น(วันที่ 5 กย.56)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

China Foreign Exchange Trading System (CFETS) รายงานว่า เงินหยวนแข็งค่าขึ้น 0.33% แตะที่ 6.1696 หยวนต่อดอลลาร์

 

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ในตลาดปริวรรตเงินตราต่างประเทศของจีนนั้น เงินหยวนได้รับอนุญาตให้ปรับตัวขึ้นหรือลงไม่เกิน 1% จากอัตราค่ากลางของการซื้อขายแต่ละวัน

 

ทั้งนี้ อัตราค่ากลางสกุลเงินหยวนเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ อิงกับราคาเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนัก ก่อนที่ตลาดจะเปิดทำการซื้อขายในแต่ละวัน

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 5 กันยายน 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ฝ่ายค้าเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพรายงานว่า ภาวะการเคลื่อนไหวของค่าเงินประจำวันพุธที่ 4 กันยายน 2556 ค่าเงินบาทเปิดตลาดเช้านี้ที่ระดับ 32.14/16 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับระดับปิดตลาดวันอังคารที่ (3/9) ที่ 32.12/14 บาท/ดอลลาร์ เนื่องจากเงินดอลลาร์ปรับตัวแข็งค่าขึ้น หลังจากสถาบันจัดการอุปทานของสหรัฐเปิดเผยว่า

 

ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 55.7 ในเดือนกรกฎาคม จากระดับ 55.4 ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นในอัตราที่เร็วที่สุดในรอบกว่า 2 ปี และขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 นอกจากนี้เงินดอลลาร์ยังได้รับแรงหนุนต่อเนื่อง หลังจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างในเดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้น 0.6% สู่ระดับสูงสุดในรอบ 4 ปี ที่ 9.008 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งมาจากการก่อสร้างที่อยู่อาศัยและสถานประกอบการที่เพิ่มขึ้น และเพิ่มขึ้นสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 0.4% ซึ่งตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาดีนั้นช่วยสนับสนุนการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐอาจจะทำการเริ่มปรับลดมาตรการกระตุ้นในเดือนนี้

 

อย่างไรก็ตามนักลงทุนยังคงจับตาดูตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯที่จะประกาศในวันศุกร์นี้ เพื่อทำการตัดสินใจว่าจะทำการลดวงเงินในการเข้าซื้อสินทรัพย์หรือไม่ รวมถึงนักลงทุนยังคงกังวลกับสถานการณ์ในประเทศซีเรีย เนื่องจากมีรายงานว่า นายจอห์น โบห์เนอร์ สมาชิกระดับสูงของพรรคเดโมแครตได้ออกมาสนับสนุนการปฏิบัติการทางทหารต่อประเทศซีเรีย เพื่อตอบโต้รัฐบาลที่มีการใช้อาวุธเคมีทำร้ายประชาชน ทำให้ในระหว่างวันเงินบาทปรับตัวค่อนข้างผันผวน และมีกรอบการเคลื่อนไหวอยู่ที่ 32.17-32.24 บาท/ดอลลาร์ ก่อนปิดตลาดที่ระดับ 32.21/22 บาท/ดอลลาร์

 

สำหนับค่าเงินยูโรวานนี้เปิดตลาดที่ระดับ 1.3191/93 ดอลลาร์/ยูโร ปรับตัวอ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับระดับปิดตลาดเมื่อวันอังคารที่ 1.3181/83 ดอลลาร์/ยูโร โดยได้รับแรงกดดันจากค่าเงินสกุลดอลลาร์ที่ปรับตัวแข็งค่าขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ในระหว่างวันเงินยูโรปรับตัวแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังจากมีการประกาศตัวเลขภาคบริการของสเปนในเดือนสิงหาคมขยายตัวสู่ระดับ 50.4 จาก 48.5 ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งนับเป็นการขยายตัวครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2011 แสดงถึงสัญญาณฟื้นตัวของสเปน หลังจากที่ตกอยู่ในภาวะถดถอยเป็นเวลา 2 ปี ประกอบกับดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อของเยอรมันยังขยายตัวสูงสุดในรอบ 7 ปี สู่ระดับ 53.5 ในเดือนสิงหาคม จากระดับ 52.1 ในเดือนกรกฎาคม ซึ่งแสดงถึงความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจเยอรมัน นอกจากนี้ค่าเงินยูโรยังได้รับแรงหนุนจากการประกาศดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อในยูโรโซนเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 51.5 ในเดือนสิงหาคม จากระดับ 50.5 ในเดือนก่อนหน้า นับเป็นสัญญาณว่าเศรษฐกิจยูโรโซนฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง โดยตลอดทั้งวันค่าเงินยูโรมีกรอบการเคลื่อนไหวที่ 1.3155-1.3180 ดอลลาร์/ยูโร ก่อนปิดตลาดที่ระดับ 1.3174/77 ดอลลาร์/ยูโร

 

สำหรับค่าเงินเยนวานนี้เปิดตลาดที่ระดับ 99.55/59 เยน/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับระดับปิดวันอังคารที่ 99.42/47 เยน/ดอลลาร์ โดยได้รับแรงกดดันจากเงินสกุลดอลลาร์ที่ปรับตัวแข็งค่าขึ้น ในระหว่างวันค่าเงินเยนปรับตัวแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากนักลงทุนคาดการณ์ว่า การประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่นจะคงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไป ซึ่งจะทำให้ฐานเงินเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าเป็น 270 ล้านล้านเยนภายในสิ้นปี 2014 เพื่อบรรลุเป้าหมายงินเฟ้อ 2% โดยในระหว่างวันเงินเยนนั้นมีกรอบการเคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับ 99.39-99.80 เยน/ดอลลาร์ ก่อนปิดตลาดที่ระดับ 99.57/62 เยน/ดอลลาร์

 

อนึ่ง ข้อมูลเศรษฐกิจที่น่าสนใจในสัปดาห์นี้คือ อัตราการว่างงานของฝรั่งเศส, ยอดสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรมของเยอรมัน, การประชุมธนาคารกลางอังกฤษและธนาคารกลางยุโรป, และตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนของสหรัฐฯ (5*9), ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ (6/9)

 

อัตราป้องกันความเสี่ยง (swap point) ภาคเช้า 1 เดือนในประเทศอยู่ที่ +5.9/6.1 สตางค์/ดอลลาร์ และอัตราป้องกันความเสี่ยง (swap point) ภาคเช้า 1 เดือนต่างประเทศอยู่ที่ +9/12 สตางค์/ดอลลาร์

 

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ (วันที่ 5 กันยายน 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...