ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

ส่วนรายงานที่จะออกวันนี้ " โหวงเหวง " หลวมๆๆ ยิ่งจีนและฮ่องกง ก็ยังฉลองเทศกาลไหว้พระจันทร์ไม่เสร็จ ฝนก็ตกมาทั้งวัน

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก: แรงซื้อเก็งกำไรหนุนดอลล์แข็งค่าเทียบสกุลเงินหลักๆ

 

 

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 20 กันยายน 2556 07:09:40 น.

สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (19 ก.ย.) เนื่องจากนักลงทุนเข้ามาช้อนซื้อเก็งกำไร หลังจากที่ดอลลาร์ร่วงลงอย่างหนักเมื่อวันพุธที่ผ่านมา หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ตัดสินใจเดินหน้าใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ต่อไป

 

ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 99.31 เยน จากระดับของวันพุธที่ 97.96 เยน และแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9105 ฟรังค์สวิส จากระดับ 0.9135 ฟรังค์สวิส

 

 

 

ยูโรแข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 1.3527 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.3506 ดอลลาร์สหรัฐ เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะระดับ 1.6033 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.6111 ดอลลาร์สหรัฐ และดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงแตะระดับ 0.9440 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.9505 ดอลลาร์สหรัฐ

 

นักลงทุนเข้ามาช้อนซื้อเก็งกำไรสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ หลังจากดอลลาร์ร่วงลงอย่างหนักเมื่อวันพุธ เพราะได้รับแรงกดดันจากการที่เฟดประกาศว่าจะยังคงเดินหน้าโครงการซื้อสินทรัพย์ในวงเงินปัจจุบันที่ 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์/เดือน เพื่อกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจ

 

ก่อนหน้านี้ มีการคาดการณ์เป็นวงกว้างว่า เฟดอาจจะลดขนาดโครงการซื้อสินทรัพย์ หรือ QE ลงประมาณ 1-1.5 หมื่นล้านดอลลาร์/เดือน

 

ในการประชุมระยะเวลา 2 วันซึ่งเสร็จสิ้นเมื่อวันพุธที่ผ่านมา เฟดมีมติคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่ 0-0.25% โดยเฟดต้องการรอดูหลักฐานที่ชัดเจนมากขึ้นว่าเศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างยั่งยืน ก่อนที่จะปรับเปลี่ยนขนาดโครงการซื้อพันธบัตรซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์/เดือน และยืนยันว่าจะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น จนกว่าอัตราว่างงานจะลดลงแตะ 6.5% และอัตราเงินเฟ้อไม่เคลื่อนไหวสูงกว่า 2.5%

 

นอกจากนี้ ดอลลาร์ยังได้รับแรงหนุนจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐ โดยสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติเปิดเผยว่ายอดขายบ้านมือสองเดือนส.ค. พุ่งขึ้น 1.7% แตะระดับ 5.48 ล้านยูนิต ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 6 ปีครึ่ง และตรงข้ามกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลงมาอยู่ที่ระดับ 5.25 ล้านยูนิต บ่งชี้ว่าตลาดที่อยู่อาศัยของสหรัฐยังคงฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง ซึ่งจะช่วยหนุนเศรษฐกิจให้ขยายตัวอย่างยั่งยืน

 

ขณะที่กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 14 ก.ย. ปรับตัวเพิ่มขึ้น 15,000 ราย แตะระดับ 309,000 ราย แต่ยังน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ่นแตะระดับ 330,000 ราย จากสัปดาห์ก่อนหน้าที่ระดับ 292,000 ราย

 

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 20 กันยายน 2556 07:21:57 น.

ดัชนีและภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ ประจำวันที่ 19 ก.ย. 2556

 

ดัชนี DJIA ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 15,636.55 จุด ลดลง 40.39 จุด -0.26%

 

ดัชนี S&P500 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 1,722.34 จุด ลดลง 3.18 จุด -0.18%

 

 

 

ดัชนี NASDAQ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 3,789.38 จุด เพิ่มขึ้น 5.74 จุด +0.15%

 

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,206.04 จุด เพิ่มขึ้น 35.64 จุด +0.85%

 

ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 8,694.18 จุด เพิ่มขึ้น 58.12 จุด +0.67%

 

ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,625.39 จุด เพิ่มขึ้น 66.57 จุด +1.01%

 

ดัชนี Jakarta Composite ตลาดหุ้นอินโดนีเซียปิดที่ 4,670.73 จุด เพิ่มขึ้น 207.48 จุด +4.65%

 

ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปิดที่ 14,766.18 จุด เพิ่มขึ้น 260.82 จุด +1.80%

 

ดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดที่ 5,295.50 จุด เพิ่มขึ้น 57.40 จุด +1.10%

 

ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ปิดที่ 6,511.70 จุด เพิ่มขึ้น 177.74 จุด +2.81%

 

ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงปิดที่ 23,502.51 จุด เพิ่มขึ้น 385.06 จุด +1.67%

 

ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียปิดที่ 1,792.91 จุด เพิ่มขึ้น 21.51 จุด +1.21%

 

ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ปิดที่ 3,251.78 จุด เพิ่มขึ้น 57.93 จุด +1.81%

 

ดัชนี SENSEX ตลาดหุ้นอินเดียปิดที่ 20,646.64 จุด เพิ่มขึ้น 684.48 จุด +3.43%

 

-- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (19 ก.ย.) เนื่องจากนักลงทุนเทขายทำกำไรหลังจากดัชนีดาวโจนส์ และ S&P 500 พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ภายหลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ตัดสินใจเดินหน้าใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากรายงานที่ว่าจำนวนคนว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐปรับตัวสูงขึ้น

 

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 15,636.55 จุด ลดลง 40.39 จุด หรือ -0.26% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 1,722.34 จุด ลดลง 3.18 จุด หรือ -0.18% ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 3,789.38 จุด เพิ่มขึ้น 5.74 จุด หรือ +0.15%

 

-- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นแข็งแกร่งเมื่อคืนนี้ (19 ก.ย.) ทำสถิติพุ่งขึ้นแข็งแกร่งสุดนับตั้งปี 2552 หลังจากหลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ตัดสินใจเดินหน้าใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ต่อไป เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและการจ้างงานให้ฟื้นตัวอย่างยั่งยืน

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.พุ่งขึ้น 61.7 ดอลลาร์ หรือ 4.72% ปิดที่ 1,369.3 ดอลลาร์/ออนซ์

 

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนธ.ค.พุ่งขึ้น 1.728 ดอลลาร์ ปิดที่ 23.292 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนต.ค.พุ่งขึ้น 47.80 ดอลลาร์ ปิดที่ 1473.00 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนธ.ค.เพิ่มขึ้น 35.10 ดอลลาร์ ปิดที่ 738.20 ดอลลาร์/ออนซ์

 

-- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (19 ก.ย.) เนื่องจากนักลงทุนคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานน้ำมันในตะวันออกกลาง หลังจากซีเรียยอมให้คณะผู้ตรวจสอบต่างชาติเข้ามาตรวจโรงงานอาวุธเคมี

 

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนต.ค.ร่วงลง 1.68 ดอลลาร์ ปิดที่ 106.39 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนพ.ย.ร่วงลง 1.84 ดอลลาร์ ปิดที่ 108.76 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

-- สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (19 ก.ย.) เนื่องจากนักลงทุนเข้ามาช้อนซื้อเก็งกำไร หลังจากที่ดอลลาร์ร่วงลงอย่างหนักเมื่อวันพุธที่ผ่านมา หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ตัดสินใจเดินหน้าใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ต่อไป

 

ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 99.31 เยน จากระดับของวันพุธที่ 97.96 เยน และแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9105 ฟรังค์สวิส จากระดับ 0.9135 ฟรังค์สวิส

 

ยูโรแข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 1.3527 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.3506 ดอลลาร์สหรัฐ เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะระดับ 1.6033 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.6111 ดอลลาร์สหรัฐ และดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงแตะระดับ 0.9440 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.9505 ดอลลาร์สหรัฐ

 

-- ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนพุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบมากกว่า 6 สัปดาห์เมื่อคืนนี้ (19 ก.ย.) หลังธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ยังไม่ปรับลดขนาดโครงการซื้อพันธบัตรลงจากจำนวน 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน

 

ดัชนี FTSE 100 ปิดที่ 6,625.39 จุด เพิ่มขึ้น 66.57 จุด หรือ +1.01%

-- ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวกเมื่อคืนนี้ (19 ก.ย.) โดยดัชนี Stoxx Europe 600 พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบกว่า 5 ปี ขานรับธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่ตัดสินใจเดินหน้าใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและตลาดแรงงาน

 

ดัชนี Stoxx Europe 600 ดีดขึ้น 0.6% ปิดที่ 315.05 จุด ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย.ปี 2551

 

ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 8,694.18 จุด เพิ่มขึ้น 58.12 จุด หรือ +0.67% ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,206.04 จุด เพิ่มขึ้น 35.64 จุด หรือ +0.85% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,625.39 จุด เพิ่มขึ้น 66.57 จุด หรือ +1.01%

 

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณป๋าค่ะ

มาบ่นทุกวัน แต่ฟังไม่เบื่อค่ะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ประสารเกาะติดบาทผันผวนลั่นพร้อมเข้าแทรกแซง(20/09/2556)

ข่าววิ่ง - ข่าววิ่ง

ธปท." เกาะติดสถานการณ์เงินบาทใกล้ชิด หลังจากทุนนอกไหลกลับเข้าไทยและตลาดเอเชีย พร้อม "เฟด" คงมาตรการคิวอี ระบุนักลงทุนกลับสู่ภาวะกล้าเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น ชี้การปรับตัวยังมีข้อจำกัด เตือนสินทรัพย์เสี่ยงพุ่งขึ้นชั่วคราว "กิตติรัตน์" ฝาก "ประสาร" ดูแลดอกเบี้ย-เงินบาทให้มีเสถียรภาพ ขณะที่ "จรัมพร-นายแบงก์" เชื่อรอบหน้าหั่นคิวอีแน่ หวั่นเงินจะไหลออกอีกรอบ แนะระวังลงทุน-ควรบริหารความเสี่ยง

 

 

หลังจากที่ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (เอฟโอเอ็มซี) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติคงมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (คิวอี) ไว้ระดับเดิม ได้ส่งผลกระทบต่อตลาดทุนและตลาดเงินเมื่อวานนี้ (19 ก.ย.) โดยดันหุ้นไทยพุ่งขึ้นอย่างร้อนแรง ปิดตลาดปรับตัวเพิ่มขึ้น 49.93 จุด หรือเพิ่มขึ้น 3.47% ปิดตลาดที่ระดับ 1,489.06 จุด มูลค่าการซื้อขายหนาแน่นถึง 82,711.82 ล้านบาท

 

 

ส่วนตลาดเงินบาทแข็งค่าอย่างรวดเร็ว จากการปิดตลาดเงินบาทอยู่ที่ 31.67 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งวานนี้แข็งค่าสุดแตะที่ระดับ 30.93 บาทต่อดอลลาร์ หรือวันเดียวแข็งค่าถึง 74 สตางค์ กว่า 2% แต่ปิดที่ระดับ 30.96-30.98 บาทต่อดอลลาร์

 

 

จากกระแสความผันผวนดังกล่าว นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมาย้ำว่า ธปท.กำลังติดตามดูภาวะตลาดการเงินอย่างใกล้ชิด หลังจากเงินบาทเริ่มกลับมาแข็งค่าขึ้น และถ้าเห็นว่าอัตราแลกเปลี่ยนมีความผันผวนมากเกินไป ก็พร้อมเข้าดูแล แต่ถ้าการปรับตัวที่เกิดขึ้นเป็นไปตามกลไกตลาด ธปท.ก็จะปล่อยให้กลไกตลาดทำงานต่อไป

 

 

 

 

 

นักลงทุนเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น

 

 

สำหรับการแข็งค่าของเงินบาทวานนี้ (19 ก.ย.) ถือว่าเป็นไปทิศทางเดียวกับค่าเงินสกุลอื่นในภูมิภาค ซึ่งเป็นลักษณะของการปรับตัวกลับหลังจาก 2 เดือนก่อนหน้า ค่าเงินบาท รวมถึงค่าเงินสกุลอื่นในภูมิภาค และสินทรัพย์เสี่ยงต่างๆ อ่อนค่าลง ซึ่งเป็นผลจากการส่งสัญญาณของเฟดว่าอาจลดปริมาณการใช้มาตรการคิวอีลง

 

 

"สิ่งที่เห็นในช่วงเช้าวานนี้ คือ ตลาดเริ่มปรับตัวกลับ เพราะช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา เป็นภาวะ Risk Off (นักลงทุนปิดรับความเสี่ยง) ทำให้สินทรัพย์เสี่ยงต่างๆ ในสายตานักลงทุนทั่วโลก รวมถึงสกุลเงินในภูมิภาค และค่าเงินบาท อ่อนค่าลงกันหมด แต่มติเฟดที่ออกมาก็ทำให้นักลงทุนเริ่มกลับมาสู่ภาวะ Risk On (กล้าเปิดรับความเสี่ยง) มากขึ้น จึงเห็นสินทรัพย์ที่อ่อนตัวลงไปก่อนหน้านี้เริ่มปรับขึ้นมา" นายประสาร กล่าว

 

 

 

 

 

ชี้สินทรัพย์เสี่ยงพุ่งชั่วคราว

 

 

ส่วนแนวโน้มการปรับขึ้นของสินทรัพย์เสี่ยงเหล่านี้ จะเพิ่มขึ้นมากน้อยแค่ไหนนั้น นายประสาร กล่าวว่า การปรับตัวคงมีข้อจำกัด เพราะอย่างน้อยเฟดก็ระบุชัดเจนว่า สุดท้ายแล้วเขาจะลดมาตรการคิวอีลง เพียงแต่จะลดเมื่อไร เป็นประเด็นที่ยังต้องติดตาม

 

 

"ถามว่าจะไปเยอะแค่ไหน เราก็เห็นการปรับตัวระยะสั้นๆ ไม่ใช่เฉพาะเงินบาท แต่เป็นทั้งภูมิภาค และถามว่าจะมีลิมิตหรือไม่ ก็คงมีลิมิต เพราะเฟดบอกว่า เขาจะทยอยลดคิวอีลง เพียงแต่ว่าจะเป็นเมื่อไหร่เท่านั้น" นายประสาร กล่าว

 

 

 

 

 

"ประสาร"เตือนอย่าตื่นบาทแข็ง

 

 

ทั้งนี้สิ่งที่ เฟด พยายามทำในคิวอี 3 คือ การไม่นำมาตรการดังกล่าวไปผูกติดกับเงื่อนเวลาเหมือนกับ คิวอี 1 และคิวอี 2 เพราะเฟดเห็นแล้วว่า การผูกติดกับเงื่อนเวลา ไม่สามารถทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้เต็มที่ และที่หนักกว่านั้นยังทำให้เศรษฐกิจฟุบลงหลังมาตรการคิวอี 1 และคิวอี 2 จบลง ดังนั้นบทเรียนดังกล่าวจึงทำให้การทำคิวอี 3 ของเฟด เปลี่ยนมาสร้างเงื่อนไขโดยยึดติดกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจแทน

 

 

ส่วนตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐนั้น แม้ภาพรวมจะเห็นการฟื้นตัวขึ้น แต่ก็ยังมีตัวเลขบางตัวที่เฟดยังไม่แน่ใจว่า จะสามารถฟื้นตัวได้อย่างเข้มแข็งหรือไม่ จึงเป็นเหตุผลที่เฟดตัดสินใจดำเนินมาตรการคิวอีต่อเพื่อประคับประคองเศรษฐกิจไปก่อน

 

 

"การตัดสินใจของเฟดที่ออกมานั้น ไม่อยากให้ตลาดเงิน หรือผู้เกี่ยวข้องไปตื่นตระหนกกับเรื่องดังกล่าวมากเกินไป เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเพียงการปรับตัวของตลาดเท่านั้น เมื่อตลาดเงินอ่อนตัวเร็วเกินไป ก็จะเห็นการปรับตัวในช่วงสั้นๆ ที่อาจจะมากหน่อย แต่เมื่อถึงจุดหนึ่ง การเคลื่อนไหวในตลาดก็จะมีเสถียรภาพมากขึ้นเอง" นายประสาร กล่าว

 

 

 

 

 

คลังฝากธปท.ดูแลค่าบาท

 

 

นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ต้องการฝากให้นายประสาร ดูแลอัตราดอกเบี้ย และค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพ ไม่ให้ผันผวน เพราะจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกและนำเข้า

 

 

หลังจาก เฟด ยังคงมาตรการคิวอีครั้งนี้ ไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจไทย เพราะรัฐบาลมีเครื่องมือรองรับเงินทุนไหลเข้าและไหลออกอยู่แล้ว โดยที่ผ่านมาเมื่อครั้งสหรัฐประกาศมาตรการคิวอีก่อนหน้านี้ ไทยก็สามารถรับมือได้

 

 

 

 

 

แนะบริหารความเสี่ยงใกล้ชิด

 

 

ขณะที่ นายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารธนาคารทหารไทย กล่าวถึงแนวคิดการคงคิวอีรอบนี้ แม้ช่วงแรกจะมีความผันผวนจากตลาดหุ้นและตลาดเงิน แต่เชื่อว่าจะเป็นเรื่องระยะสั้น และเชื่อผู้ประกอบการจะปรับตัวได้ โดยจะต้องมีการบริหารความเสี่ยงอย่างใกล้ชิด ในแง่สภาพคล่องของธนาคารยังเพียงพอสนับสนุนการทำงานของธนาคารและลูกค้า

 

 

"สภาพคล่องจะตึงตัวไม่ได้มาจากคิวอี แต่ยังมาจากการใช้ภาครัฐ การออมและการลงทุน ซึ่งมีหลายปัจจัยที่ต้องพิจารณา แต่ในช่วงนี้ไม่มีปัญหาเรื่องตึงตัว"

 

 

 

 

 

แนะระวังคิวอีลดเงินไหลออกอีก

 

 

นายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มองว่าส่งผลดี เพราะเงินลงทุนจากต่างประเทศจะไหลกลับเข้ามาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงตลาดหุ้นไทยด้วย โดยเฉพาะช่วงไตรมาส 4 ปีนี้ ที่เม็ดเงินลงทุนจะกลับมาคึกคัก

 

 

แต่เขาก็เชื่อว่า มาตรการคิวอียังมีโอกาสที่จะถูกปรับลดลงได้ จึงเตือนนักลงทุนให้ระมัดระวังในการลงทุน เนื่องจากในปัจจุบันสภาพคล่องในตลาดส่วนหนึ่งมาจากเงินที่ไหลเข้าจากต่างประเทศ และมีโอกาสที่จะไหลกลับหากมีการปรับลดมาตรการคิวอีลง

 

 

"การที่เฟดยังไม่ลดคิวอี เป็นผลบวกต่อตลาดในระยะสั้น แต่แน่นอนว่า เงินที่ไหลกลับเข้ามาได้ก็ไหลกลับออกไปได้ แต่จะเป็นเมื่อไหร่นั้น ต้องติดตาม ซึ่งสหรัฐเองก็รอดูตัวเลขเศรษฐกิจเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นนักลงทุนยังต้องระวังอยู่"

 

 

 

 

 

กสิกรเชื่อสุดท้ายคิวอีต้องลด

 

 

นายเชาว์ เก่งชน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด มองว่า การที่สหรัฐไม่ปรับลดมาตรการคิวอีในการประชุมรอบที่ผ่านมานั้น ถือว่าเป็นสิ่งที่เหนือความคาดหมาย และส่งผลกระทบต่อสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลกนั้นปรับตัวเพิ่มขึ้นไปด้วยและส่งผลให้ค่าเงินบาทนั้นแข็งค่าไปด้วย แต่เชื่อว่าในสุดท้ายเชื่อว่าเฟดต้องปรับลดมาตรการคิวอีอยู่ดี หากเศรษฐกิจสหรัฐปรับตัวดีขึ้น

 

 

สำหรับภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 2557 นั้น เชื่อว่าจะมีการขยายตัวของจีดีพีที่ระดับ 4.5%ได้ จากปีนี้ที่คาดว่าจะเติบโตที่ 3.7% ซึ่งเป็นผลมาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ปรับตัวดีขึ้น ทั้งเศรษฐกิจสหรัฐ ยุโรป และจีน เริ่มฟื้นตัว จะผลักดันให้การส่งออกของไทยนั้นปรับตัวดีขึ้นไปด้วย โดยคาดการณ์ว่า การส่งออกในปีหน้า จะเติบโตใกล้เคียงระดับ 10 % จากปีนี้ที่คาดว่าจะเติบโต 1.5%

 

 

ด้านนายวิรไท สันติประภพ นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ อดีตรองผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การที่เฟดชะลอการปรับลดวงเงินการทำมาตรการคิวอีนั้น ถือว่าผิดความคาดหมาย โดยหลังจากเฟดมีความชัดเจนในเรื่องดังกล่าว ส่งผลให้สินทรัพย์เสี่ยง และหลักทรัพย์ในตลาดทุนปรับตัวเพิ่มขึ้น และช่วงผ่อนคลายความกังวลในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ในเรื่องดอกเบี้ยขาขึ้นให้มีความคลายกังวลไป

 

 

"เชื่อว่า เฟด ยังคงต้องปรับลดมาตรการคิวอีในอนาคตอีกแน่นอน และจะส่งผลให้ราคาสินทรัพย์เสี่ยงนั้นอาจปรับตัวลดลงอีกครั้ง แต่ปัจจุบันสหรัฐเริ่มตระหนักถึงความผันผวนของเศรษฐกิจโลกจากมาตรการคิวอีมากขึ้น ทำให้สหรัฐเองก็ต้องพิจารณาผลกระทบของการหยุดมาตรการคิวอีต่อเศรษฐกิจโลกเช่นกัน"

 

 

 

 

 

ราคาสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลกพุ่งขึ้น

 

 

นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า ผลการประชุมเฟดที่ออกมาถือว่าค่อนข้างผิดความคาดหมาย ส่งผลให้สินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลกนั้นปรับตัวขึ้นรับข่าวดังกล่าว โดยมองว่าตลาดการเงินหลังจากนี้น่าจะมีความผันผวนต่อไป และหากมีการประชุมเฟดในครั้งต่อไป ก็จะมีปัจจัยการปรับลดคิวอีเข้ามากดดันเช่นเดิม

 

 

สำหรับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวนั้น เชื่อว่าน่าจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่ดอกเบี้ยในระยะสั้นนั้น เชื่อว่าไม่น่าจะได้รับผลกระทบ ทั้งนี้เชื่อว่าเฟดน่าจะมีการปรับลดวงเงินในการทำคิวอี ภายในสิ้นปีนี้อย่างแน่นอน

 

 

 

 

 

ส.อ.ท.เชื่อคงคิวอี ไม่กระทบส่งออก

 

 

นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า การที่เฟดไม่ปรับลดคิวอี จะไม่ส่งผลกระทบต่อการส่งออก การเคลื่อนไหวของตลาดทุน และอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากรับรู้สัญญาณนี้มานานแล้ว โดยค่าเงินบาทจะทรงตัวอยู่ในระดับปัจจุบัน จะไม่อ่อนค่ามากไปกว่านี้ ส่วนเศรษฐกิจโลกยังอยู่ในภาวะที่ทรงตัว ขณะที่เศรษฐกิจไทยปีนี้ คาดว่าจะขยายตัว 3-4%

 

 

“ผลกระทบที่มาจากภายนอกประเทศ เช่น ภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ราคาน้ำมัน ทุกประเทศได้รับผลกระทบเหมือนกันหมด แต่ปัญหาเสถียรภาพทางการเมืองภายในประเทศ และการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ จะเป็นตัวชี้วัดผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศมากกว่า” นายพยุงศักดิ์ กล่าว

 

ที่มา: สิทธิชัยหยุ่น(วันที่ 20 กย.56)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

US,RSให้ซีเรียเผยข้อมูลอาวุธเคมีภายใน21กย.

ข่าวต่างประเทศ วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ.2556 8:26น.

 

สหรัฐ , รัสเซีย ขีดเส้น ซีเรีย เปิดเผยข้อมูลที่เก็บอาวุธเคมี ภายใน 21 ก.ย.นี้ ซึ่งเป็นกำหนดเส้นตายที่ดามัสกัส จะต้องเปิดเผยข้อมูลสถานที่จัดเก็บอาวุธเคมี

สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า 5 ชาติสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็นเอสซี ได้หารือกันรอบใหม่ เกี่ยวกับร่างมติสนับสนุนแผนการปลดอาวุธเคมีซีเรีย ซึ่งชาติตะวันตกอาจผลักดันให้มีการลงมติช่วงสุดสัปดาห์นี้ หากทางรัสเซีย ยินยอม

 

อย่างไรก็ดี ไม่มีข้อสรุปใด ๆ ภายหลังการถก นาน 2 ชั่วโมง นอกจากนั้น แผนการปลดอาวุธจะเจอด่านทดสอบครั้งแรกในวันเสาร์นี้ ซึ่งครบกำหนดเส้นตาย 1 สัปดาห์ ที่ รัสเซียและสหรัฐ ร่วมกันกำหนดว่า ทางการซีเรีย จะต้องส่งข้อมูลสถานที่จัดเก็บอาวุธเคมี โดย อังกฤษ ฝรั่งเศส และสหรัฐ นั้นกำลังเตรียมร่างมติที่อ้างอิงบทบัญญัติที่ 7 ภายใต้กฎบัตรยูเอ็น แต่ว่าจะไม่ระบุชัดเจนถึงการใช้กำลัง หรือการคว่ำบาตร ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะให้ร่างมตินี้ผ่านออกมาได้ เพื่อให้แผนการปลดอาวุธเคมีซีเรียมีผลผูกพันภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

**ตลาดหุ้นเอเชียบวกขึ้นเช้านี้ หลังเยนอ่อนค่าหนุนหุ้นญี่ปุ่น

 

 

ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวเพิ่มขึ้นเช้านี้ หลังเงินเยนอ่อนค่าช่วยหนุนตลาดหุ้นญี่ปุ่นทะยานขึ้น แต่ปริมาณการซื้อขายอยู่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย เนื่องจากตลาดหุ้นหลายแห่งปิดทำการในวันนี้

 

ดัชนี MSCI Asia Pacific เพิ่มขึ้น 0.2% แตะ 141.37 จุด เมื่อเวลา 9.43 น.ตามเวลาโตเกียว

ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 14,801.64 จุด เพิ่มขึ้น 35.46 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,251.96 จุด เพิ่มขึ้น 0.18 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,796.06 จุด เพิ่มขึ้น 3.15 จุด และดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียเปิดวันนี้ที่ 5,288.50 จุด ลดลง 7.00 จุด

 

หุ้นนิคอน คอร์ป ทะยาน 5.3% ขณะที่หุ้นชิเซโด พุ่ง 5.4%

 

ทั้งนี้ ตลาดหุ้นจีน ตลาดหุ้นฮ่องกง และตลาดหุ้นไต้หวัน ปิดทำการวันนี้เนื่องในเทศกาลไหว้พระจันทร์ ส่วนตลาดหุ้นเกาหลีใต้ปิดทำการวันนี้เนื่องในเทศกาลขอบคุณพระเจ้า

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ประเด็นของวันหยุดไหว้พระจันทร์ ทั้ง ตลาดหุ้นจีน ตลาดหุ้นฮ่องกง และตลาดหุ้นไต้หวัน ปิดทำการวันนี้เนื่องในเทศกาลไหว้พระจันทร์ ส่วนตลาดหุ้นเกาหลีใต้ปิดทำการวันนี้เนื่องในเทศกาลขอบคุณพระเจ้า น่าสนใจมากเลย เพราะพวกนี้ ถือว่าน่าจะเป็นเหล่า ขาใหญ่ฯ ฉุดราคาทองร่วงลงมาตั้งแต่เริ่ม $1433 อันสืบเนื่องมาจาก กลัว หรือ ป้องกันไว้ก่อน ของการปรับลดวงเงิน QE ของ Fed ธนาคารกลางสหรัฐฯ ถ้ายังจำกันได้ ช่วงเที่ยงถึงเย็นอาทิตย์ก่อนหน้า ลดลงที 300-400 บาทต่อวัน

 

พอพวกเขาขายทองกันเสร็จ ระดับราคาร่วงลงต่ำกว่า $1300 มันทำยังไง 555 ปิดร้านฯ หนีเที่ยวยาว 4-5 วัน นั่งแทะขนมไหว้พระจันทร์สบายใจ รอฟังข่าวจาก Fed เช้าตรู่วันพฤหัสที่ผ่านมา พอ Fed ไม่มีอะไรออกมา บอกว่าเหมือนเดิม คนเหล่านี้ ก็ยังคงปิดร้านฯ เที่ยวเทศกาลไหว้พระจันทร์อยู่ใช่ไหม คงกำลังใช้จ่ายเงินอย่างเพลิดเพลินใจ รอวันทำงานที่จะเปิดอีกครั้ง วันจันทร์ที่ื 23 กันยายน พอร์ตทองของคนเหล่านี้ ก็คงว่างหรือไม่ก็มีน้อย น่าจะถอนทุนหาเงินที่ใช้จ่ายไปช่วงหยุดยาว คือ การไล่เก็บของเพิ่ม เพราะไหนๆ ก็รู้แล้วว่า Fed ตัดสินใจอย่างไร และ นายเบอร์นันเก้ คงไม่ออกมาแผลงฤทธิ์ด้วยวาจา ให้นักลงทุนทั่วโลก เชืี่อตามได้อีกในระยะเวลาสั้นๆ 2-3 เดือนนี้

 

ความน่าจะเป็นไปได้ ที่ราคาทองจะขยับขึ้น ผมว่ามีเกิน 75% จากสิ่งที่บ่นไปข้างต้น ก็มาดูต่อที่ค่าเงินบาทจะเป็นยังไง บางสายก็บอกว่าจะแข็งค่า เพราะเงินทุนไหลเข้าจากรู้แล้ว Fed ไม่ลดวงเงิน และบางสายก็บอกว่าจะอ่อนค่า จากสถานการณ์การเมือง เดือนตุลาคม อันร้อนแรง ทั้งถอดถอนประธานสภาฯ / พรบ. เงินกู้ 2 ล้านล้าน / สารพัดม็อบเกษตรกร จะทำให้ความเชื่อมั่นต่อฝรั่งชะลอมองดูยังไม่กล้า มาดูที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ปากก็บอกว่า จะดูแล ออกมาตราการมาป้องกัน ก็ยังไม่มีอะไร คงให้ปัญหาเกิดก่อนแล้วจึงค่อยตามไปแก้ไข ขืนออกมาป้องกัน ก็จะถูกหาว่า ไม่สร้างเสถียรภาพให้ค่าเงินบาท มองดูอะไร ก็สับสน ไม่ค่อยบอกความจริงกันสักเท่าไหร่ ตรูมาดูดอกเบี้ยธนาคารฯ ก็ได้ว่ะ ช่วงนี้ แข่งขันมห้ดอกเบี้ยเงินฝากกันเยอะ 3.4 บ้าง 3.8 บ้าง อย่างล่าสุด อาทิตย์ที่ 27-28 กันยายน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ก็จัดดอกเบี้ยประจำอายุ 4 เดือน จ่ายดอกฯ 4.6 ต่อปี มีเสียภาษี หักแล้วก็คงประมาณ 4.1% การแข่งขันหาเงินฝาก ก็แสดงว่าทเงินบาทหายากขึ้น ขาดแคลนในภาพการเงิน ::::: จึงมองได้ว่า อนาคตข้างหน้า บาทจะอ่อนค่า ตอนนี้แข็งชั่วคราวเท่านั้น

 

ตัวเด็กขายของ ยังถือ ทองคำแท่งอยู่ในพอร์ต ซืี้อเข้ามาถัวไปแล้วด้วย รวมแล้ว 50% อมอยู่ 10 กว่าวันแล้ว ยังไม่ได้คายออกเลย ถามว่า จะเพิ่มไหม คงไม่เพิ่มตอนนี้ ผมจะเพิ่มพอร์ต อีก 25% ก็ต่อเมื่อ รหัส 5,35,9 ส่งสัญญานนำทางขาซื้อ และ อีก 25% ก็ต่อเมื่อ 12,26,9 อยู่หน้าซื้อ ดังนั้น ปัจจุบัน 50% ของพอร์ต เล่นตามรหัส 7,5,2 แบบไวไว นะครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

**เงินบาทเปิดตลาด 31.08/09 อ่อนค่าตามแรงขายทำกำไร

 

 

นักบริหารเงิน กล่าวว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้าวันนี้อยู่ที่ระดับ 31.08/09 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าจากเย็นวานนี้ที่ระดับ 30.96/98 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับค่าเงินในภูมิภาค

 

 

"(เงินบาท)กลับมาอ่อนค่าหลังจากเมื่อวานแข็งค่าลงไปเยอะมาก ส่วนหนึ่งตามแรงเทขายทำกำไร" นักบริหารเงิน กล่าว

 

 

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันนี้ไว้ในกรอบระหว่าง 31.00-31.20 บาท/ดอลลาร์

 

 

"แนวโน้มระยะกลางเงินบาทยังมีโอกาสที่จะปรับตัวแข็งค่าได้อีก แต่คงไม่ปรับตัวเร็งเหมือนช่วงก่อนหน้านี้" นักบริหารเงิน กล่าว

 

 

 

 

 

* ปัจจัยสำคัญ

 

- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 99.44 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 98.12 บาท/ดอลลาร์

- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.3534 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.3525 ดอลลาร์/ยูโร

- อัตราแลกเปลี่ยนบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของ ธปท.อยู่ที่ 31.0310 บาท/ดอลลาร์

- สินทรัพย์เสี่ยงทุกประเภทปรับตัวขึ้นแรงรับเฟดคงคิวอี ผิดความคาดหมายที่คาดว่าจะมีการลดขนาดวงเงิน เงินทุนไหลเข้าดันตลาดไทยพุ่ง 50 จุด วอลุ่มทะลัก 8 หมื่นล้านบาท ส่วนราคาทองขยับแรง บรรดาผู้เชี่ยวชาญประเมินเป็นปัจจัยหนุนระยะสั้น

- นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พาณิชย์ มอบนโยบายการทำงานให้กับผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (ทูตพาณิชย์) ที่ประจำอยู่ในประเทศต่าง ๆ 62 แห่งว่า ได้สั่งการให้ทูตพาณิชย์ไปจัดทำแผนและยุทธศาสตร์ผลักดันการส่งออกในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ให้มีปริมาณเพิ่มขึ้น เพราะเหลือเวลาอีกไม่มากแล้ว หากแต่ละตลาดมีแผนงานและกลยุทธ์ที่ชัดเจน จะทำให้การส่งออกในช่วงที่เหลือขยายตัวเพิ่มขึ้นได้

- นายธวัชชัย ยงกิตติกุล เลขาธิการสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยภายหลังการหารือกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม เกี่ยวกับประเด็นทางเศรษฐกิจและการแก้ไขปัญหาหนี้ภาคครัวเรือนว่า รัฐบาลมีแนวคิดที่จะจัดตั้งสถาบันการเงินพิเศษ เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้ภาคครัวเรือนที่ถือเป็นปัญหาระดับรากหญ้าที่จะต้องเร่งแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน โดยเบื้องต้นคาดว่าจะเป็นสถาบันการเงินที่ดำเนินงานเพื่อรากหญ้าในการให้บริการด้านสินเชื่อรายย่อยเพียงอย่างเดียวโดยไม่มีการรับฝากเงิน และสามารถคิดอัตราดอกเบี้ยได้สูงขึ้นจากระดับปัจจุบัน เนื่องจากการปล่อยสินเชื่อเพื่อรายย่อยนั้นจะมีต้นทุนดำเนินการที่สูงกว่า ส่วนวิธีการระดมเงินในการปล่อยกู้นั้นคาดว่าจะใช้วิธีการออกตั๋วสัญญาใช้เงิน (พี/เอ็น) หรือการกู้ยืมเงินเพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจ

- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กเมื่อคืนนี้ทำสถิติพุ่งขึ้นแข็งแกร่งสุดนับตั้งปี 2552 หลังจากหลังจากธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) ตัดสินใจเดินหน้าใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ(QE) ต่อไป เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและการจ้างงานให้ฟื้นตัวอย่างยั่งยืน โดยสัญญาทองคำตลาด COMEX(Commodity Exchange) ส่งมอบเดือน ธ.ค.พุ่งขึ้น 61.7 ดอลลาร์ หรือ 4.72% ปิดที่ 1,369.3 ดอลลาร์/ออนซ์ ส่วนสัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือน ธ.ค.พุ่งขึ้น 1.728 ดอลลาร์ ปิดที่ 23.292 ดอลลาร์/ออนซ์ ขณะที่สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือน ต.ค.พุ่งขึ้น 47.80 ดอลลาร์ ปิดที่ 1473.00 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือน ธ.ค.เพิ่มขึ้น 35.10 ดอลลาร์ ปิดที่ 738.20 ดอลลาร์/ออนซ์

- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส(WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ เนื่องจากนักลงทุนคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานน้ำมันในตะวันออกกลาง หลังจากซีเรียยอมให้คณะผู้ตรวจสอบต่างชาติเข้ามาตรวจโรงงานอาวุธเคมี โดยสัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือน ต.ค.ร่วงลง 1.68 ดอลลาร์ ปิดที่ 106.39 ดอลลาร์/บาร์เรล ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์(BRENT) ส่งมอบเดือน พ.ย.ร่วงลง 1.84 ดอลลาร์ ปิดที่ 108.76 ดอลลาร์/บาร์เรล

- ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวกเมื่อคืนนี้ โดยดัชนี Stoxx Europe 600 พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบกว่า 5 ปี ขานรับธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่ตัดสินใจเดินหน้าใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและตลาดแรงงาน โดยดัชนี Stoxx Europe 600 ดีดขึ้น 0.6% ปิดที่ 315.05 จุด ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน มิ.ย.51, ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 8,694.18 จุด เพิ่มขึ้น 58.12 จุด หรือ +0.67%, ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,206.04 จุด เพิ่มขึ้น 35.64 จุด หรือ +0.85% และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,625.39 จุด เพิ่มขึ้น 66.57 จุด หรือ +1.01%

- สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ เนื่องจากนักลงทุนเข้ามาช้อนซื้อเก็งกำไร หลังจากดอลลาร์ร่วงลงอย่างหนักเมื่อวันพุธที่ผ่านมาเนื่องจากธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) ตัดสินใจเดินหน้าใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ(QE) ต่อไป โดยดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 99.31 เยน จากระดับของวันพุธที่ 97.96 เยน และแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9105 ฟรังค์สวิส จากระดับ 0.9135 ฟรังค์สวิส ขณะที่ยูโรแข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 1.3527 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.3506 ดอลลาร์สหรัฐ เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะระดับ 1.6033 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.6111 ดอลลาร์สหรัฐ และดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงแตะระดับ 0.9440 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.9505 ดอลลาร์สหรัฐ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นักบริหารเงิน กล่าวว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้าวันนี้ (20 กันยายน 2556) อยู่ที่ระดับ 31.08/09 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าจากเย็นวานนี้ที่ระดับ 30.96/98 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับค่าเงินในภูมิภาค

 

 

"เงินบาทกลับมาอ่อนค่าหลังจากเมื่อวานแข็งค่าลงไปเยอะมาก ส่วนหนึ่งตามแรงเทขายทำกำไร" นักบริหารเงิน กล่าว

 

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันนี้ไว้ในกรอบระหว่าง 31.00-31.20 บาท/ดอลลาร์

 

"แนวโน้มระยะกลางเงินบาทยังมีโอกาสที่จะปรับตัวแข็งค่าได้อีก แต่คงไม่ปรับตัวแรงเหมือนช่วงก่อนหน้านี้" นักบริหารเงิน กล่าว

 

สำหรับอัตราแลกเปลี่ยนที่สำคัญวันนี้ อัตราแลกเปลี่ยนบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของ ธปท.อยู่ที่ 31.0310 บาท/ดอลลาร์ เงินเยนอยู่ที่ระดับ 99.44 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 98.12 บาท/ดอลลาร์

ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.3534 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.3525 ดอลลาร์/ยูโร

 

ที่มา: ฐานเศรษฐกิจ(20 กันยายน 2556)

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สำหรับแนวรับแนวต้านวันนี้

 

Support: - 1362.60, 1354.80, 1338.80, 1316.20, 1294.70 and 1282.33(main)

Resistance: - 1374.50, 1382.53(main), 1395.00

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...