ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

เสริมพร้อมด้วย รหัส 5,35,9 ของค่าเงิน USD ที่ยังคงแนวโน้มด้านอ่อนค่า เป็นบวกกับราคาทองในด้านขึ้น

post-775-0-97747000-1434421882_thumb.jpg

post-775-0-17719200-1434421902_thumb.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แนวต้านแนวรับ จุดย่อยต้านรับ ที่ตอนนี้ ต้านอยู่ 87 และรับคือ 78-80 รอทยอยเข้าที่รับ สำหรับทองแท่งตัวเป็นๆ หนักๆๆ ผมไม่คีอยมองเทรนของทองคำ เพราะสามารถมโนได้ทั้ง 2 ทาง คือ ขึ้นและลง เล่นแบบทยอยเข้าทยอยออก ผมถือว่า สบายใจในตัวของผมแล้ว

post-775-0-25756700-1434422128_thumb.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แนวต้านแนวรับ จุดย่อยต้านรับ ที่ตอนนี้ ต้านอยู่ 87 และรับคือ 78-80 รอทยอยเข้าที่รับ สำหรับทองแท่งตัวเป็นๆ หนักๆๆ ผมไม่คีอยมองเทรนของทองคำ เพราะสามารถมโนได้ทั้ง 2 ทาง คือ ขึ้นและลง เล่นแบบทยอยเข้าทยอยออก ผมถือว่า สบายใจในตัวของผมแล้ว

post-775-0-04055800-1434422318_thumb.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นายโอลิวิเยร์ บลองชาร์ด หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ระบุว่า รัฐบาลกรีซต้องเสนอมาตรการที่น่าเชื่อถืออย่างแท้จริงเพื่อแก้ไขปัญหาทางการ คลังของประเทศ

 

นายบลองชาร์ดแสดงความคิดเห็นดังกล่าวก่อนที่เจ้าหน้าที่กรีซและบรรดา เจ้าหนี้จะประชุมหารือกันในช่วงไม่กี่วันข้างหน้านี้ โดยระบุว่าการพิจารณาข้อตกลงเป็นทางเลือกที่ยากลำบาก

 

เขากล่าวว่า บรรดาเจ้าหนี้ในยุโรปควรเห็นพ้องกันในการปรับกำหนดเวลาในการชำระคืนหนี้สินของกรีซที่อัตราดอกเบี้ยต่ำ

 

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา นายอเลคอส ฟลาโบราริส รมว.กิจการรัฐของกรีซ กล่าวว่า รัฐบาลกรีซหวังว่าจะสามารถบรรลุข้อตกลงกับเจ้าหนี้ในการประชุมกับรมว.คลังยู โรโซนในวันที่ 18 มิ.ย.

 

นายฟลาโบราริสกล่าวหลังจากที่ก่อนหน้านี้ IMF ได้ประกาศระงับการเจรจากับกรีซ หลังจากที่ไม่ประสบความคืบหน้า

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 15 มิถุนยน 2558)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วอชิงตัน (เอพี/รอยเตอร์/บีบีซี นิวส์) - กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ระบุว่า ทุกฝ่ายต้องฝืนตัดสินใจเพื่อให้ได้ข้อตกลงเรื่องกรีซ หลังจากการเจรจารอบล่าสุดระหว่างกรีซกับเจ้าหนี้คือไอเอ็มเอฟและสหภาพยุโรป (อียู) เมื่อวันอาทิตย์ไม่บรรลุผลใดๆ

 

นายโอลิวิเยร์ บลองชาร์ เศรษฐกรของไอเอ็มเอฟเขียนในบล็อกที่เป็นทางการว่า ทั้งสองฝ่ายจะต้องฝืนใจเลือกและฝืนใจให้คำมั่น ประเด็นหลักของการเจรจาที่กรุงบรัสเซลส์ขณะนี้คือ กรีซและเจ้าหนี้จะต้องยอมปรับเปลี่ยนมากน้อยเพียงใด ชาวกรีซยืนยันว่ามีการปฏิรูปบางอย่างที่พวกเขาไม่ต้องการ แต่เป็นการปฏิรูปที่ไอเอ็มเอฟเชื่อว่าจำเป็นต้องทำไม่เช่นนั้นกรีซจะไม่สามารถเติบโตอย่างยั่งยืนและภาระหนี้สินก็จะสูงขึ้นกว่าเดิม ขณะเดียวกันเจ้าหนี้ก็จะต้องยอมผ่อนผันเรื่องหนี้ให้กรีซมากขึ้น

 

แหล่งข่าวรัฐบาลกรีซกล่าวเมื่อวานนี้ว่า การเจรจาดำเนินไปเพียง 45 นาทีเท่านั้น เนื่องจากเจ้าหนี้ยื่นเงื่อนไขที่ไร้เหตุผล โดยเฉพาะไอเอ็มเอฟที่ไม่ยอมประนีประนอมและแข็งกร้าวจากการยืนกรานให้กรีซตัดลดเงินบำนาญและขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นไปอีก ด้านแหล่งข่าวอียูกล่าวว่า ข้อเสนอของกรีซยังคงไม่สมบูรณ์เพราะต่ำกว่าเป้าหมายของเจ้าหนี้อยู่ 2,000 ล้านยูโร (ราว 75,595 ล้านบาท) จึงยังไม่สามารถจะทำให้เจ้าหนี้ปล่อยเงินกู้งวดสุดท้าย 7,200 ล้านยูโร (ราว 272,105 ล้านบาท) ได้ ขณะที่โครงการความช่วยเหลือปัจจุบันจะครบกำหนดในสิ้นเดือนนี้

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า (วันที่ 16 มิถุนายน 2558)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดเพิ่มขึ้นเมื่อคืนนี้ (15 มิ.ย.) เพราะได้รับแรงหนุนจากสกุลเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงิน หลักๆ ขณะที่นักลงทุนจับตาดูการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในสัปดาห์นี้อย่างใกล้ชิด เพื่อดูว่าเฟดจะส่งสัญญาณเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหรือไม่

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนส.ค.เพิ่มขึ้น 6.6 ดอลลาร์ หรือ 0.56% ปิดที่ระดับ 1,185.80 ดอลลาร์/ออนซ์

 

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ค.เพิ่มขึ้น 25.8 เซนต์ ปิดที่ 16.083 ดอลลาร์/ออนซ์

 

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค.ร่วงลง 8.2 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,088.60 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนก.ย.ลดลง 4 ดอลลาร์ ปิดที่ 734.15 ดอลลาร์/ออนซ์

 

สัญญาทองคำได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของดอลลาร์ โดยดัชนีดอลลาร์ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบ กับสกุลเงินหลักๆ 6 สกุลในตะกร้าเงินนั้น ปรับลง 0.24% แตะที่ 94.87 เมื่อคืนนี้ ซึ่งการอ่อนค่าของดอลลาร์จะทำให้สัญญาทองคำซึ่งซื้อขายในรูปสกุลเงินดอลลาร์ นั้น มีราคาถูกลงและน่าดึงดูดใจสำหรับนักลงทุนที่ถือครองสกุลเงินอื่นๆ

 

นอกจากนี้ ข้อมูลด้านการผลิตที่ซบเซาของสหรัฐยังส่งผลให้นักลงทุนเข้าซื้อสัญญาทองคำ ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย โดยเฟดเปิดเผยในรายงานล่าสุดว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลง 0.2% ในเดือนพ.ค. ซึ่งเป็นการร่วงลงเป็นเดือนที่ 6 และสวนทางกับที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้น 0.2% เพราะได้รับแรงกดดันจากอุปสงค์โลกที่อ่อนแอ และการแข็งค่าของดอลลาร์

 

นักลงทุนจับตาดูการประชุมระยะเวลา 2 วันของเฟดอย่างใกล้ชิด โดยการประชุมวันแรกจะเริ่มขึ้นในวันนี้ เพื่อดูว่าเฟดจะส่งสัญญาณเรื่องการปรับขึ้นดอกเบี้ยหรือไม่

 

ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 16 มิถุนายน 2558)

 

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ค่าเงินบาท 33.68 บาท แนวโน้มอาจมีแข็งค่า แต่กรอบ 33.65-33.75 ขึ้นกับปัจจัยจากตลาดหุ้นฯ ว่าจะเป็นยังไง เป็นส่วนประกอบสำคัญ

 

บ่ายโมง และ สี่ โมงเย็น มีตัวเลขรายงานจากยุโรป ที่โพลฯบอกว่าเสมอตัว แต่ผมเชื่อว่าดีขึ้น เพราะข่าวที่ผ่านมา บอกว่าเศรษฐกิจยุโรปกำลังฟื้นตัว และมีการปรับตัวเลข GDP ยุโรปให้สูงขึ้น ในส่วนสหรัฐ รายงานยอดสร้างบ้าน ตามโพลฯว่าแย่ลง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ฝรั่งเดาทอง กับตัวเลขขาเสี่ยงอาทิตย์นี้ คือ

 

ฝรั่งเดาราคาทองมองว่า อนาคตของราคาขอให้ผ่านจุด 1212 ไปให้ได้ เถอะ เจ้าพระคุณฯ พร้อมแนวทางขาเสี่ยง ประจำอาทิตย์ วันที่ 15-19 มิถุนายน 2558 คือ

 

LONG GOLD above 1175 SL 1172 TP 1188-1198-1208-1218-1222

SHORT GOLD below 1172 SL 1175 TP 1162-1154-1146-1142

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วอชิงตัน (เอพี/รอยเตอร์/บีบีซี นิวส์) - กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ระบุว่า ทุกฝ่ายต้องฝืนตัดสินใจเพื่อให้ได้ข้อตกลงเรื่องกรีซ หลังจากการเจรจารอบล่าสุดระหว่างกรีซกับเจ้าหนี้คือไอเอ็มเอฟและสหภาพยุโรป (อียู) เมื่อวันอาทิตย์ไม่บรรลุผลใดๆ

นายโอลิวิเยร์ บลองชาร์ เศรษฐกรของไอเอ็มเอฟเขียนในบล็อกที่เป็นทางการว่า ทั้งสองฝ่ายจะต้องฝืนใจเลือกและฝืนใจให้คำมั่น ประเด็นหลักของการเจรจาที่กรุงบรัสเซลส์ขณะนี้คือ กรีซและเจ้าหนี้จะต้องยอมปรับเปลี่ยนมากน้อยเพียงใด ชาวกรีซยืนยันว่ามีการปฏิรูปบางอย่างที่พวกเขาไม่ต้องการ แต่เป็นการปฏิรูปที่ไอเอ็มเอฟเชื่อว่าจำเป็นต้องทำไม่เช่นนั้นกรีซจะไม่สามารถเติบโตอย่างยั่งยืนและภาระหนี้สินก็จะสูงขึ้นกว่าเดิม ขณะเดียวกันเจ้าหนี้ก็จะต้องยอมผ่อนผันเรื่องหนี้ให้กรีซมากขึ้น

แหล่งข่าวรัฐบาลกรีซกล่าวเมื่อวานนี้ว่า การเจรจาดำเนินไปเพียง 45 นาทีเท่านั้น เนื่องจากเจ้าหนี้ยื่นเงื่อนไขที่ไร้เหตุผล โดยเฉพาะไอเอ็มเอฟที่ไม่ยอมประนีประนอมและแข็งกร้าวจากการยืนกรานให้กรีซตัดลดเงินบำนาญและขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นไปอีก ด้านแหล่งข่าวอียูกล่าวว่า ข้อเสนอของกรีซยังคงไม่สมบูรณ์เพราะต่ำกว่าเป้าหมายของเจ้าหนี้อยู่ 2,000 ล้านยูโร (ราว 75,595 ล้านบาท) จึงยังไม่สามารถจะทำให้เจ้าหนี้ปล่อยเงินกู้งวดสุดท้าย 7,200 ล้านยูโร (ราว 272,105 ล้านบาท) ได้ ขณะที่โครงการความช่วยเหลือปัจจุบันจะครบกำหนดในสิ้นเดือนนี้

ที่มา: แนวหน้า(16/06/2558)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐปรับตัวขึ้นในวันนี้ โดยได้แรงหนุนจากคำสั่งซื้อของนักลงทุนในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย ท่ามกลางความวิตกเกี่ยวกับการเจรจาหนี้กรีซที่ไม่มีความคืบหน้า

 

การดีดตัวขึ้นของพันธบัตรรัฐบาลประเภทอายุ 10 ปีส่งผลให้อัตราผลตอบแทนร่วงลงสู่ระดับ 2.333% ในวันนี้ จาก 2.358% เมื่อวานนี้

 

นักลงทุนวิตกเกี่ยวกับการผิดนัดชำระหนี้ของกรีซ ซึ่งอาจส่งผลให้กรีซต้องออกจากยูโรโซน หากการเจรจากับเจ้าหนี้ไม่สามารถบรรลุข้อตกลงก่อนสิ้นเดือนนี้

 

นสพ. Bild รายงานว่า รัฐบาลกรีซยังไม่มีแผนที่จะยื่นข้อเสนอฉบับใหม่ในการประชุมของรัฐมนตรีกระทรวงคลังยูโรโซนวันที่ 18 มิ.ย.นี้

 

กรีซมีกำหนดชำระหนี้ 1.6 พันล้านยูโรแก่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ในวันที่ 30 มิ.ย.นี้

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 16 มิถุนายน 2558)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...