ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

post-2564-0-65471100-1366946386_thumb.jpg

 

 

  • ทองคำในคลังของเจพีมอรอน(ที่เป็นทองคำลงบัญชีไว้สำหรับคอมเมอร์เชียล/ขาใหญ่) ลดลงไปร้อยละ ๖๕ ภายใน ๒๔ ช.ม.

http://www.zerohedge...rs-all-time-low

 

ดูข้อมูลในCOMEX ที่นี่เลยครับ กดที่คำว่า Gold Stocks(ล่างซ้ายมือ) ดูที่คำว่าEligible

http://www.cmegroup.com/trading/energy/nymex-delivery-notices.html

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ข่าวเก่า

ถาม-ตอบวิกฤตการเงินโลก (1)

โดย เกษียร เตชะพีระ มติชนรายวัน วันที่ 03 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11164

"นี่เป็นวิกฤตการเงินเลวร้ายที่สุดของโลกนับแต่เศรษฐกิจโลกตกต่ำครั้งใหญ่ปี ค.ศ.1929 เป็นต้นมา และในแง่ขอบเขตแล้วอาจจะแย่กว่าวิกฤตครั้งก่อนด้วยซ้ำ มันมีฐานะสำคัญในระดับที่จะสร้างระเบียบโลกใหม่พอๆ กับการล่มสลายของสหภาพโซเวียตเมื่อปี ค.ศ.1991 เลยทีเดียว ความที่เราไม่เคยพบเห็นวิกฤตขนาดนี้มาก่อน ผลกระทบของมันจะกว้างไกลลึกซึ้งเพียงใดจึงยังเหลือที่จะคาดเดา"

เคร็ก โคพิทัส, นักเขียนอาวุโสสำนักข่าวธุรกิจบลูมเบิร์ก

รายการ The Debate, สถานีข่าวโทรทัศน์ France 24

15 กันยายน ค.ศ.2008

1) วิกฤตการเงินครั้งนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร?

ทุกสิ่งทุกอย่างมาจากตลาดซึ่งเดิมทีมีขนาดเล็กๆ เรียกว่า "ซับไพรม์" หรือนัยหนึ่งตลาดสินเชื่อจำนองบ้านความเสี่ยงสูง ของอเมริกา ทั้งนี้ทั้งนั้น เพราะนายธนาคารอเมริกันปล่อยกู้สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ให้ครัวเรือนรายได้น้อยเครดิตต่ำ เมื่อคำนวณความสามารถในการกู้ยืมของพวกเขาบนฐานมูลค่าบ้านที่พวกเขาซื้อ ซึ่งมักเรียกผู้กู้ยืมเหล่านี้ว่าพวก "ninjas" อันเป็นคำย่อจาก no income, no job and no assets หมายถึงพวกไม่มีรายได้ ไม่มีอาชีพการงาน และไม่มีสินทรัพย์

ตราบใดที่ราคาอสังหาริมทรัพย์ยังเพิ่มสูงขึ้น ระบบนี้ก็ยังเดินต่อไปได้ แต่พอตลาดอสังหาริมทรัพย์ เริ่มถดถอยลงในสหรัฐอเมริกาเมื่อปี ค.ศ.2007 ผลร้ายของกลไกที่ว่านี้ก็ปรากฏ

ตัวจุดปะทุได้แก่การผิดนัดชำระหนี้พุ่งสูงขึ้นในหมู่ครัวเรือนอเมริกัน ที่เป็นลูกหนี้จำนองบ้านคุณภาพต่ำในไตรมาสสุดท้ายของปี ค.ศ.2006 ต่อต้นปี ค.ศ.2007 สืบเนื่องจากธนาคารกลางสหรัฐขยับอัตราดอกเบี้ยขึ้น เพื่อปกป้องค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่กำลังตกเอาไว้

จากนี้ก็ส่งผลให้บริษัทนายหน้ารับจำนองบ้านรายใหญ่ของอเมริกาหลายแห่ง ล้มระเนระนาดลงระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ค.ศ.2007 หลังจากนั้นวิกฤตก็แพร่กระจายไปทั่วระบบการเงินผ่านช่องทาง Securitization

Securitization หรือ "การแปลงสินทรัพย์ให้เป็นหลักทรัพย์" หมายถึงการสร้างหลักทรัพย์ (securities) ขึ้นโดยเอาสินทรัพย์ต่างๆ (assets) รวมทั้งหนี้สินที่ลูกค้ากู้ยืมไปนับพันๆ รายมากองรวมจัดหีบห่อเข้าด้วยกันเป็นตราสาร (instrument) แล้วตัดแบ่งตามชั้นคุณภาพเป็นท่อนๆ รวม 10 ท่อน (tranches) - โดยหลักเกณฑ์ทั่วไปในการแบ่งท่อนคือ [คุณภาพต่ำ-ราคาต่ำ-ความเสี่ยงสูง-ผลตอบแทนสูง] และกลับกัน - เอาไปขายทอดตลาดให้นักลงทุนทั่วโลก มาซื้อเพื่อเก็บรับรายได้ดอกเบี้ยผลประโยชน์ที่จะงอกเงยขึ้นมาจากสินทรัพย์เหล่านั้น มันเป็นเทคนิคการเงิน ที่เกิดขึ้นเมื่อคริสต์ทศวรรษที่ 1970 โดยเปลี่ยนบรรดาเงินกู้ที่ลูกค้ากู้ยืมจากธนาคาร ไปเป็นหุ้นกู้ปล่อยขายแก่นักลงทุน

อุปมาอุปไมยเหมือนหนึ่งธนาคารเพื่อการลงทุนอเมริกันทั้งหลายกำลังเล่นเกม "ส่งต่อห่อระเบิด" อย่างรวดเร็ว ยิ่งเมื่อถึงยุคนิทาน "โลกแบน" แห่งโลกาภิวัตน์ หนี้สินเหล่านี้ก็อาจถูกพวกเขากว้านซื้อวันนี้ แล้วส่งไปจัดหีบห่อข้ามคืนในอินเดีย ก่อนจะขายต่อให้นักลงทุนสถาบันในวันพรุ่ง ยิ่งขายต่อได้เร็วเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้รายงานประเมินความเสี่ยง ของธนาคารดูดีขึ้นเท่านั้น ทว่า ถึงปี ค.ศ.2006 อุปทานของหลักทรัพย์ดังกล่าวก็ล้นเกินอุปสงค์ไปแล้ว...

ถึงปลายฤดูร้อนปี ค.ศ.2007 ผู้คนจึงเริ่มตระหนักว่าปัญหาแผ่กว้างขนาดไหนเมื่อธนาคารดอยทช์ แบงก์ของเยอรมนีจำต้องทุ่มทุนเข้ากอบกู้กองทุนทรัพย์สินสองแห่งไว้ไม่ให้ล้มไป

หากมองในภาพรวมที่กว้างขึ้น วิกฤตนี้เป็นผลจากพฤติการณ์มือเติบเกินเลยที่สังเกตเห็นได้ในตลาดสินเชื่อสหรัฐ ในคริสต์ทศวรรษที่ 1990 นโยบายการเงินที่อ่อนมาก - กล่าวคือ กดอัตราดอกเบี้ยไว้ต่ำมาก ทำให้สินเชื่อถูกเหลือเกิน - ซึ่งดำเนินโดยประธานธนาคารกลางสหรัฐ นายอลัน กรีนสแปน นำไปสู่การก่อตัวโป่งพองของฟองสบู่เก็งกำไร ในตลาดหุ้นนิวยอร์ก โดยเฉพาะฟองสบู่มูลค่าสินทรัพย์ในอินเตอร์เน็ต ทั้งหมดนี้สิ้นสุดลงเมื่อฟองสบู่แตกในฤดูใบไม้ผลิปี ค.ศ.2000

หลังฟองสบู่ดอทคอมแตกแล้ว นโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐก็ถูกทำให้อ่อนลงอีกเพื่อช่วยให้เศรษฐกิจอเมริกันฟื้นตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังอเมริกาถูกโจมตีโดยผู้ก่อการร้ายอัลเคด้าเมื่อ 11 กันยายน ค.ศ.2001 อัตราดอกเบี้ยถูกกดต่ำจนกระทั่งเหลือแค่ 1% ในภาวะที่การอัดฉีดอำนาจซื้อของผู้บริโภคอเมริกัน ให้เฟื่องฟูกลายเป็นเรื่องความมั่นคงแห่งชาติระดับเร่งด่วน

ชาวอเมริกันถูกปลุกเร้าเรียกร้องให้ปฏิบัติภาระหน้าที่ "บริโภคเพื่อชาติ" หนักขึ้นอีกด้วยการกู้หนี้ยืมสินเพิ่ม ขณะที่ธนาคารและเจ้าหน้าที่กำกับดูแลการเงินก็ทำหน้าที่เกื้อหนุนให้พวกเขาทำเช่นนั้นได้ ทั้งนี้ เพื่อแสดงให้โลกประจักษ์ว่าขุมพลังเศรษฐกิจอเมริกันไม่สะทกสะท้านต่อการก่อการร้ายแต่อย่างใด

แน่นอนว่าการลดต้นทุนการกู้ยืมเงินลงต่ำขนาดนี้ย่อมช่วยกระตุ้นการบริโภค และซื้อหาที่อยู่อาศัยของครัวเรือนอเมริกัน รวมทั้งการลงทุนของธุรกิจทั้งหลาย แต่ขณะเดียวกันมันก็ช่วยเปิดโอกาสให้พวกนักการเงิน เพิ่มทวีกลไกการกู้ยืมที่ทั้งพิสดารพันลึกและบ้าระห่ำขึ้นทุกทีด้วย

ดังที่โจเซฟ สติ๊กลิตซ์ ผู้ได้รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ปี ค.ศ.2001 วิจารณ์ว่า

"สินเชื่อเหล่านี้เล่นบทเหมือนสารสเตียรอยด์ที่ใช้โด๊ปเศรษฐกิจอเมริกันให้เติบโต แต่ดันให้ยากันเกินขนาด ทุกวันนี้อเมริกาก็เลยต้องเข้ารับการบำบัดถอนพิษยา"

2) แล้วทำไมวิกฤตถึงไม่สิ้นสุดลงเสียทีล่ะ?

วิกฤตยังดำรงอยู่ต่อไปเพราะนับแต่นี้มันจะเข้าไปเกี่ยวพันกับสินเชื่อทั้งหมดโดยรวม ไม่เฉพาะแต่แวดวงสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ความเสี่ยงสูง ของอเมริกาเท่านั้น สินเชื่อทุกประเภทไม่ว่าผ่อนซื้อรถ, สินเชื่อเพื่อการบริโภค, เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ฯลฯ ที่ได้ถูกแปลงให้เป็นหลักทรัพย์ (securitized) และขายต่อไปแล้วย่อมจะถูกกระทบด้วย

กล่าวคือ เรากำลังพูดถึงตลาดสินเชื่อมูลค่ารวมหลายสิบล้านล้าน (trillions) ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งใหญ่โตมโหฬารกว่าตลาดในส่วนซับไพรม์อย่างเดียวที่มีมูลค่าแค่ 1 ล้าน 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐมากมายนัก ในทำนองเดียวกัน วิกฤตจะกระทบไม่เฉพาะแต่สถาบันที่ปล่อยสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ความเสี่ยงสูงในอเมริกาอีกต่อไป หากจะส่งผลกระทบผ่านช่องทางการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (securitization) ต่อสถาบันการเงินทั้งหมดทุกประเภทที่ลงทุนในตลาดสินเชื่อ ไม่ว่าจะเป็นธนาคาร, กองทุนประกันความเสี่ยง, บริษัทประกันภัย, กองทุนบำนาญ, กองทุนรวม ฯลฯ

นอกจากนั้น วิกฤตยังถูกเติมเชื้อหล่อเลี้ยงด้วยบรรยากาศไม่เชื่อถือไว้ใจกันที่ครอบงำตลาดกู้ยืมระหว่างธนาคารด้วย ไม่มีใครรู้แน่ว่าธนาคารต่างๆ โดนการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์เล่นงานเป็นมูลค่าหนักหนาสาหัสเท่าไหร่ คราวเคราะห์หามยามร้าย ที่ดันไปจดทะเบียนมันเอาไว้ ในสภาพเช่นนี้ ธนาคารทั้งหลายก็พากันชะงักการปล่อยเงินกู้ยืมให้แก่กัน ด้วยความวิตกว่าจะไม่ได้เงินคืน ภาวะอัมพาตของตลาดเงินที่ว่านี้เกาะกุมไปทั่วทั้งระบบการเงินเลยทีเดียว

ฉะนั้นจึงอาจสรุปสภาวะวิกฤตการเงินโลกตอนนี้ดังที่ ยอร์จ โซรอส พ่อมดการเงินแห่งวอลล์ สตรีทกล่าวไว้หลังธนาคารเพื่อการลงทุนเลห์แมน บราเธอร์สล้มละลายว่า: -

"ผมเกรงว่าเราไม่ได้ผ่านพ้นมันไปแม้แต่น้อยครับ - ในบางแง่เรายังกำลังมุ่งหน้าเข้าหาพายุ มากกว่าจะมุ่งหน้าออกจากมันด้วยซ้ำไป"

(อ้างใน Clea Caulcutt, "How a subprime apple contaminated global finance,"

France 24, 19 September 2008)

หน้า 6

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ผมพอเข้าใจว่าสิ่งที่คุณส้มโอมือสื่อ คือ การกดดอกเบี้ยให้ต่ำจะเกิดฟองสบู่ในที่สุด

 

แต่สิ่งที่ผมกำลังพยายามทำความเข้าใจจากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา คือ

ปี 1992 (ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเหลือ 3%) - ปี 2000 (อัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเป็น 6.5%) ฟองสบู่จึงแตก

(1994-2000 ทองลง)

ปี 2003 (ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเหลือ 1%) - ปี 2008 (อัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเป็น 4.25%) ฟองสบู่จึงแตก

(2003-2008 ทองขึ้น)

ปี 2013 (ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเหลือ 0.25%) - ปี ? ฟองสบู่แตก

 

หากจะเป็นกรณีฟองสบู่แตกเช่นวิกฤตปี 2000 และ 2008 จะเกิดเมื่อมีการใช้จ่ายเกินตัว อัตราดอกเบี้ยจึงได้ขยับเพิ่มสูงขึ้น

แต่กรณีปัจจุบัน กำลังซื้อของเมกายังไม่มาก คนตกงานก็ไม่ได้ลดลง และอย่างที่เคยคุยกันว่า หากอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น หนี้อเมริกาจะมหาศาลจึงเป็นไปได้ยาก

การแตกของฟองสบู่ยุคปัจจุบัน ผมจึงคาดเดาไม่ออก ว่าเป็นรูปแบบใด เพราะ ดูเหมือนแต่ละสถานการณ์มีความต่างกันจริงๆ

ถูกแก้ไข โดย milo

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

gold.in.th

ภาวะตลาดทองคำนิวยอร์ก: ทองปิดลบ $8.4 จากแรงขายทำกำไร แม้ข้อมูล ศก.สหรัฐย่ำแย่

(สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- เสาร์ที่ 27 เมษายน 2556 07:09:38 น.)

  • 174695_177357542301042_1754214573_q.jpg
    gold.in.th สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ (26 เม.ย.) จากแรงขายทำกำไร แม้สหรัฐเปิดเผยข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาสแรกปี 2556 ที่ต่ำกว่าคาดการณ์ของตลาด
  • 174695_177357542301042_1754214573_q.jpg
    gold.in.th สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือน มิ.ย. ปิดร่วงลง 8.4 ดอลลาร์ หรือ 0.57% ที่ 1,453.6 ดอลลาร์/ออนซ์ ขณะที่สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือน พ.ค. ปิดรูดลง 38.2 เซนต์ ที่ 23.758 ดอลลาร์
  • 174695_177357542301042_1754214573_q.jpg
    gold.in.th กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขประมาณการครั้งแรกของจีดีพีที่แท้จริงประจำไตรมาส 1/2556 ขยายตัว 2.5% ซึ่งต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดการณ์ แม้จะดีกว่าไตรมาส 4/2555 ที่ขยายตัวเพียง 0.4%
  • 174695_177357542301042_1754214573_q.jpg
    gold.in.th ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคช่วงท้ายเดือน เม.ย.จากรอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกน ลดลงสู่ระดับที่ 76.4 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับแต่เดือน ม.ค. หลังจากเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 4 เดือนที่ 78.6 ในเดือน มี.ค. ซึ่งแสดงให้เห็นว่าชาวอเมริกันมีมุมมองลบมากขึ้นเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจ
  • 174695_177357542301042_1754214573_q.jpg
    gold.in.th ทางด้านสภาทองคำโลก (WGC) เปิดเผยในรายงานเมื่อวันศุกร์ว่า ในขณะนี้ทองอยู่ในภาวะที่มีแรงซื้อมากเกินไป ขณะที่อุปสงค์ด้านการลงทุนรายปีสำหรับทองเพิ่มขึ้น 1,538 ตัน ในปี 2555

ถูกแก้ไข โดย Mosquito

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เงินก่อหนี้ (ภาค 1)

 

Part 1/4

http://www.youtube.com/watch?v=IdE_ejxcFs0&feature=relmfu

 

Part 2/4

http://www.youtube.com/watch?v=nNeqh36XKZY

 

Part 3/4

http://www.youtube.com/watch?v=jp3AWw94vWs

 

Part 4/4

http://www.youtube.com/watch?v=Oipsj2MccHw

ถูกแก้ไข โดย Mosquito

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

gold.in.th

ภาวะตลาดทองคำนิวยอร์ก: ทองปิดลบ $8.4 จากแรงขายทำกำไร แม้ข้อมูล ศก.สหรัฐย่ำแย่

(สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- เสาร์ที่ 27 เมษายน 2556 07:09:38 น.)

 

แหมๆ มันก็ต้องปิดลบสิครับ กองทุนแมงมุมขยุ่มราคาทอง SPDR ขายอีก 7.2 ตัน....ขายมันทุกวันมาสองอาทิตย์ละ ขายมาเกิน 100 ตันแล้ว ขายเยอะกว่าที่ทุกคนกลัวว่าไซปรัสจะขาย (15 ตัน) ทองใช้หนี้ซะอีก

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แหมๆ มันก็ต้องปิดลบบ้างสิครับ กองทุนแมงมุมขยุ่มราคาทอง SPDR ขายอีก 7.2 ตัน....ขายมันทุกวันมาสองอาทิตย์ละ ขายมาเกิน 100 ตันแล้ว ขายเยอะกว่าที่ทุกคนกลัวว่าไซปรัสจะขาย (15 ตัน) ทองใช้หนี้ซะอีก

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

มีบทความวิเคราะห์ เจพีมอร์แกน และ SPDR

 

http://www.zerohedge.com/news/2013-04-26/jpmorgan-accounts-993-comex-gold-sales-last-three-months

 

- ตั้งแต่ต้นปี เจพีมอร์แกน ส่งมอบทองแล้ว 1,966,000 ออนซ์ คิดเป็น 99.3% ของปริมาณทองที่ส่งมอบในตลาด COMEX

- เมื่อเป็นการส่งมอบ ดูเหมือนเจพีมอร์แกน จะทำอย่างโดดเดี๋ยว

- ถ้าใครคิดว่า SPDR ขายทองจริง ๆ ละก็คิดผิดแล้ว

- เมื่อ คุณซื้อทองที่ SPDR จริงๆ แล้วเป็นการซื้อหน่วยกองทุน (เหมือนเงินในเช็ค) คุณสามารถขายมันได้ คนที่ซื้อก็คิดว่ามันเป็นของจริง (อันนี้ไม่แน่ใจว่าเข้าใจถูกหรือเปล่า )

- คุณจะไม่ชอบแน่ๆ ถ้ารู้ว่าหน่วยลงทุนนี้ ขายซ้ำสองครั้ง (โดนขายทำ Short sell )

(ไม่ค่อยเข้าใจ มีใครช่วยเสริมหน่อยได้ไหมครับ)

- สรุปคือ SPDR อาจมีทองคำจริงหนุ่นแค่ 50%

- ทองถูกดึงจาก คลัง SPDR เรื่อยๆ เหมือนคนที่เอาเช็คไปขึ้นเงิน เอาธนบัตรจริงๆ ออกจากธนาคาร

- ตอนจบคงต้องเป็นภาระให้ SEC ก.ล.ต อเมริกาสอบส่วน

- ถึงตอนนั้น พวกนกรู้ ก็เอาของจริงออกมาหมดแล้ว เหลือแต่ผู้ลงทุนรายย่อย ถือกระดาษเปล่าๆ

- พอเข้าใจแล้วว่าทำไม พวกเฮดฟัน ถึงขาย ETF มาซื้อของจริง (จอร์ซ โซรอส คือนกรู้)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณคุณส้มโอมือ คุณหมอหมีโพลา คุณหมอเล็ก คุณwcg คุณoasis คุณmiloและทุกท่านมากๆค่ะ :01

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

What’s ahead for gold and silver next week with the Chinese markets closed Monday-Wednesday and the FOMC meeting Tues-Wednesday

 

ระวังการถูกทุบเอาไว้หน่อยนะครับ :_cd เพราะแรงซื้อจะหายไป

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ผมพอเข้าใจว่าสิ่งที่คุณส้มโอมือสื่อ คือ การกดดอกเบี้ยให้ต่ำจะเกิดฟองสบู่ในที่สุด

 

แต่สิ่งที่ผมกำลังพยายามทำความเข้าใจจากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา คือ

ปี 1992 (ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเหลือ 3%) - ปี 2000 (อัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเป็น 6.5%) ฟองสบู่จึงแตก

(1994-2000 ทองลง)

ปี 2003 (ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเหลือ 1%) - ปี 2008 (อัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเป็น 4.25%) ฟองสบู่จึงแตก

(2003-2008 ทองขึ้น)

ปี 2013 (ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเหลือ 0.25%) - ปี ? ฟองสบู่แตก

 

หากจะเป็นกรณีฟองสบู่แตกเช่นวิกฤตปี 2000 และ 2008 จะเกิดเมื่อมีการใช้จ่ายเกินตัว อัตราดอกเบี้ยจึงได้ขยับเพิ่มสูงขึ้น

แต่กรณีปัจจุบัน กำลังซื้อของเมกายังไม่มาก คนตกงานก็ไม่ได้ลดลง และอย่างที่เคยคุยกันว่า หากอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น หนี้อเมริกาจะมหาศาลจึงเป็นไปได้ยาก

การแตกของฟองสบู่ยุคปัจจุบัน ผมจึงคาดเดาไม่ออก ว่าเป็นรูปแบบใด เพราะ ดูเหมือนแต่ละสถานการณ์มีความต่างกันจริงๆ

 

ผมลองตั้งสมมติฐานเล่นๆ

 

การที่อเมริกาใช้นโยบายกดดอกเบี้ยให้ต่ำและพิมพ์เงินมหาศาล โดยไม่กลัวเงินเฟ้อ อาจเพราะเป็นอย่างที่ทุกคนบอก คือ

ดอลล่าร์นั้นใช้ได้ทั่วโลก +โลกาภิวัฒน์ ทำให้เงินดอลล่าร์หมุนเวียนอยู่ทั้งโลก ไม่ใช่อเมริกาประเทศเดียว

 

นอกจากนี้ การใช้อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าประเทศอื่น ทำให้เงินย่อมไหลไปหาผลประโยชน์ในประเทศที่อัตราดอกเบี้ยสูงกว่า

แน่นอน หากเงินจะเฟ้อ ย่อมไปเฟ้อที่ประเทศที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่า

 

ผมคิดว่า ด้วยความฉลาดอย่างเลวร้ายของอเมริกา นโยบายทั้งสองอย่างน่าจะมีจุดประสงค์ให้ฟองสบู่ไปแตกที่ประเทศอื่น

ในขณะที่อเมริกาประคองเศรษฐกิจของตนไว้ได้

 

ไม่ว่าเงินเยน หรือยูโร หรือสกุลเงินอื่นๆ จะล้มไปพร้อมๆ กับฟองสบู่แตกหรือไม่ ก็ตาม

ณ เวลานั้น ขณะที่ประเทศอื่นๆ อ่อนแอ และดอลล่าร์ยังไม่ล้ม น่าจะเป็นโอกาสที่อเมริกาซึ่งประคองเศรษฐกิจไว้ได้เปรียบในการเข้าไปฉกฉวยความมั่งคั่งของประเทศอื่น หรือออกกฏกติกาโลกใหม่ให้ตนได้เปรียบยิ่งขึ้นไปอีก

 

เหตุการณ์ที่่ว่านี้ ไม่ใช่ไม่เคยเกิด

 

ช่วงก่อนวิกฤตต้มยำกุ้งนั้น สถาณการณ์ก็คล้ายอย่างนี้

ปี 1992(2535) อเมริกาใช้นโยบายการเงินอ่อน กดดอกเบี้ยเหลือ 3% ราคาทองอยู่ที่ประมาณ 350-400 เหรียญเศษๆ ไม่ไปไหน

ในขณะที่ช่วงนั้นเศรษฐกิจประเทศไทยเราดี ดอกเบี้ยธนาคารก็สูงประมาณเลข 2 หลัก ค่าเงินคงที่ ตลาดหุ้นเฟื่องฟู แล้วฟองสบู่ก็แตก

หลังจากนั้น บริษัทต่างชาติก็เข้ามาช้อปของถูกในไทยเรา

 

 

ปี 1994-2000 (2537-2543) ตลาดหุ้นดาวโจนส์ วิ่งสวนทางกับตลาดหุ้นไทยเราอย่างสิ้นเชิง ซึ่งในช่วงนี้ ราคาทองคำถูกกดให้ต่ำที่สุดที่ประมาณ 250 เหรียญ

 

จะมองได้หรือไม่ว่า การที่เศรษฐกิจอเมริกาไม่เคยซบเซานาน เพราะได้คอยดูดเอาความมั่งคั่งจากประเทศอื่นไปเรื่อยๆ

และน่าเศร้าที่ช่วงเศรษฐกิจเฟื่องฟูในประเทศไทยก่อนต้มยำกุ้ง คนไทยไม่อาจใช้ทองคำเป็นเครื่องมือป้องกันเงินเฟ้อได้เลย เพราะทองคำถูกกดให้ราคานิ่งๆอยู่

 

เว้นเสียแต่ว่า จะเกิดเหตุอย่างที่หลายคนว่า คือ ตลาดกระดาษพังไปเสียก่อน(ตอนนี้ยังนึกภาพไม่ออกว่าจะพังอย่างไร ถ้าขาใหญ่ยังคุมได้อยู่แบบนี้)

 

ในเกมที่เดิมพันสูงเหมือนช้างสารชนกันอย่างนี้ เราจะทำอย่างไรที่จะไม่แหลกลาญไปเสียก่อน

ถูกแก้ไข โดย milo

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

http://www.bangkokbi...2%E0%B8%A7.html

 

สภาทองคำโลก หรือดับเบิลยูจีซี เปิดเผยรายงานฉบับล่าสุดว่า แรงผลักดันพื้นฐาน หรือมูลค่าเชิงกลยุทธ์ในระยะยาวของทอง ยังคงมีความแข็งแกร่ง

 

ดับเบิลยูจีซี ระบุว่า หลังจากที่ราคาปรับตัวในช่วงแคบๆ มากว่า 1 ปี ทองได้เผชิญแรงกดดันอย่างหนักในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา แรงเทขายที่ไม่คาดคิดมาก่อนในช่วงกลางเดือน เม.ย.ได้เพิ่มความกังวลที่ว่าการปรับตัวที่สดใสของทองได้สิ้นสุดลงแล้ว

 

รายงานชี้ว่า ในระยะใกล้ ดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น ความเชื่อมั่นที่เปราะบาง และความวิตกเกี่ยวกับการขายทองของธนาคารกลางยุโรป จะสร้างบรรยากาศที่ท้าทายสำหรับราคาทอง นอกจากนี้ การเทขายอย่างรุนแรงในช่วงสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนเม.ย.จะสั่นคลอนความเชื่อมั่นต่อราคาทองไปสักระยะหนึ่ง

 

อย่างไรก็ตามดับเบิลยูจีซี ย้ำว่า สถานการณ์ข้างต้นไม่ได้ส่งผลกระทบต่อแรงผลักดันด้านปัจจัยพื้นฐานระยะยาว หรือมูลค่าเชิงกลยุทธ์ในระยะยาวของทองคำ พร้อมแสดงความเชื่อว่า แม้จะเกิดความผันผวนอยู่ในขณะนี้ แต่ปัจจัยพื้นฐานของตลาดทองคำยังแข็งแกร่งอยู่ ความต้องการในตลาดส่งมอบปัจจุบันยังคงแข็งแกร่งในอินเดียและจีน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนกว่าครึ่งหนึ่งของการซื้อทองคำทั่วโลกในแต่ละปี

 

นอกจากนี้ การไม่พิจารณาถึงการขายทอง ที่อาจจะมีขึ้นในไซปรัส ธนาคารกลางต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ ได้เป็นผู้ซื้อสุทธิสำหรับทองคำมาหลายปีแล้ว และยังคงมีภาวะการณ์และวัตถุประสงค์ที่จะผลักดันการซื้อเหล่านี้

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

---พรุ่งนี้ผมสับเปลี่ยนกองทุนทองคำRMFออกทั้งหมดครับ

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...