ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
โจได

เรียนรู้ดูพระ แบบมือสมัครเล่น

โพสต์แนะนำ

ขอเปิดมุมเฉพาะกิจเลยละกันครับ

กระทู้นี้เป็นพื้นที่ของพระเครื่อง ของสะสมที่มีค่าทางจิตใจ

 

 

2430420.jpg

ว่างๆผมขอเอาพระมาส่องในร้านนะครับ ถึงแม้จะต้องนั่งหันหลังให้โต๊ะใหญ่ของขาประจำ เพราะกลัวจะส่องผิดส่องถูก

*ผมสะสมพระเครื่องเพราะชอบ ไม่ได้ทำการค้าและไม่ได้ปั่นราคานะครับ*

 

ข้อมูลจำเพาะ

 

 

 

พระกรุหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง พระคงหน้าเทวดา ตอก 1 โค๊ด  แตกกรุออกมาเมื่อปี 2534 ครับมีทั้งพิมพ์ปิดตานิยมของท่านคือ พิมพ์ชะลูดและพิมพ์ตะพาบ และพระเนื้อผงร่วมกรุอย่างน้อย 7 พิมพ์ครับ จากข้อมูลหลายๆ แหล่งและประสบการณ์ทำให้ปัจจุบันได้รับความสนใจมากขึ้นกว่าแต่ก่อนมากครับ และเซียนระดับหลายท่านหันมารับเข้าและจัดให้บูชาแล้วครับ เนื้อพระจะเป็นเนื้อปูนเปลือกหอยบดผสมผงพุทธคุณครับ ออกมาจากกรุบางองค์มีคราบบางๆ บางองค์ก็หนาครับ แล้วแต่พื้นที่ๆพระอยู่ และพระมีความแห้งสูงมากครับ มีทั้งเนื้อขาวและเนื้อดำซึ่งจะหาได้ยากกว่ามากครับ พุทธคุณเท่าที่ปรากฏประสบการณ์ ไม่แตกต่างจากพระปิดตา วัดสะพานสูงเพราะผู้ที่ประจุพุทธคุณนั้นเป็นองค์เดียวกันครับ เป็นพระที่น่าจะเก็บมากครับเพราะยังมีคนรู้น้อยครับ แต่อีกไม่นานน่าจะติดลมบน เพราะหันมาสนใจมากขึ้นครับ สำหรับพระกรุนี้เนื้อหาความแห้ง ความคมชัดของตราดอกจันทร์ซึ่งจะมีมิติความลึกได้ไม่เท่ากัน ความสมบูรณ์ของพิมพ์ทรงเป็นจุดบ่งบอกความแท้ได้เป็นอย่างดีครับผม  

พระเนื้อผงหลวงปู่เอี่ยม กรุวัดสะพานสูง เป็นพระเนื้อผงที่ถูกบรรจุกรุเจดีย์ใหญ่ที่สร้างโดยหลวงปู่เอี่ยม แต่สร้างเจดีย์ยังไม่ทันเสร็จ หลวงปู่เอี่ยมก็มรณภาพเสียก่อนเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2430 หลวงปู่กลิ่นซึ่งเป็นศิษย์จึงสร้างต่อแล้วบรรจุพระชุดนี้ ซึ่งชาวบ้านเรียกว่าพระลำพูน เข้าไปในเจดีย์ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นปัญหาว่าพระชุดนี้หลวงปู่เอี่ยมสร้างรอไว้เพื่อบรรจุกับเจดีย์ หรือหลวงปู่กลิ่นสร้างเพื่อบรรจุเจดีย์เมื่อเจดีย์เสร็จในสมัยท่าน

เซียนพระชื่อดังซึ่งสันนิฐาน ว่าพระกรุของหลวงปู่เอี่ยมน่าจะสร้างไล่เลี่ยกับสมเด็จวัดระฆังหรือหลังไม่นาน หรือประมาณ สมัย ร.5 ท้องถิ่นเก็บกันหมดครับ

 

 

อีกหลายความเห็นของพระกรุนี้

 

ในความเห็นสวนตัวของผม หลวงปู่กลิ่นเป็นศิษย์ที่เคารพอาจารย์คือหลวงปู่เอี่ยมมาก ขนาดเดินตามหลังหลวงปู่เอี่ยมยังไม่ยอมเดินย่ำซ้ำรอยเท้าหลวงปู่เอี่ยมเลย ดังนั้นหลวงปู่กลิ่นไม่น่าที่จะสร้างพระผงมาบรรจุกรุเจดีย์ที่หลวงปู่เอี่ยมมีเจตนารมณ์ริเริ่มและสร้างขึ้นมา อย่างแย่ที่สุดหลวงปู่กลิ่นก็อาจจะสร้างพิมพ์ขึ้นมาแล้วใช้ผงพุทธคุณที่หลวงปู่เอี่ยมมอบไว้ให้ กดพิมพ์ทำเป็นพระผงขึ้นมาเพื่อบรรจุกรุ ดังนั้นจึงเป็นที่เชื่อมั่นได้ว่าพระชุดนี้เป็นผงหลวงปู่เอี่ยมต็มๆ  เพชร ท่าพระจันทร์ ไม่นานมานี้ก็เขียนบทความอธิบายพระกรุชุดนี้ ไว้ในนิตยสารเซียนพระ และ ศึกษาสะสม ก็ระบุชี้ชัดว่าเป็นหลวงปู่เอี่ยมครับ 

 

ดังนั้นใครอยากได้พระหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูงไว้บูชา ถ้าหาพระปิดตาของท่านซึ่งหายากยิ่งกว่างมเข็มในมหาสมุทรไม่ได้แล้วละก้อ ผมแนะนำพระกรุชุดนี้ล่ะครับ ผงหลวงปู่เอี่ยมต็มๆ ดูง่าย ปลอมยาก เพราะความเก่าและลักษณะเนื้อผงอายุเกิน 100 ปี แล้วบรรจุกรุเป็นเวลานาน จึงทำให้สามารถดูผิวเนื้อและคราบกรุเพื่อแยกเก๊แท้ได้ชัดเจน สบายใจครับ

 

itums

วันนี้, 07:42 PM

จะไปโพสที่โน่นกลัวเปลืองที่เขา เลยขอถามนิดนึงนะครับ ตอนที่กรุหลวงปู้เอี่ยมแตกเมื่อปี 2534 มีพระปิดตาออกมาด้วยใช่หรือเปล่าครับ ตอนนั้นจำได้ว่า พยับ คำพันธุ์ ยังรับรองว่าใช่ของหลวงปู่เอี่ยมจริงๆ

 

ตอบนะครับ

พระที่แตกกรุมีทั้งหมด7พิมพ์ครับ พิมพ์ที่นิยมสุดของกรุนี้ก็คือ"พิมพ์ปิดตาชลูด"ครับ องค์นี้เลยครับ เข้าใจว่าที่นิยมสุดเพราะเป็นพระพิมพ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของท่าน

 

fb4203002430810.jpg

 

ส่วนพิมพ์ปิดตาอีกหนึ่งพิมพ์ เรียกว่า"พิมพ์ปิดตาเรือบรื๋อ"องค์นี้ลงรักเดิมด้วยครับ ด้านหลังจะมีทั้ง1โค๊ดและ2โค๊ดครับ

129309471336273759_1.jpg

 

และมีทั้งโค๊ด"ยันต์นะ"และ"ยันต์ตื้น"อีกด้วยครับ

1400041horz.jpg

 

พระกรุนี้มีพิมพ์สวยๆ ขนาดน่ารักกำลังดีเหมาะกับผู้หญิงด้วยครับ

ที่สำคัญเป็นของเก่า แท้ๆแน่นอน อายุนับร้อยปี ที่ราคา(ตอนนี้)ยังไม่แพงครับ

ถ้าชอบสะสม ของดีราคาถูก เอาไว้ฝากลูกหลานในวันข้างหน้า

พระกรุนี้มีอนาคตแน่นอนครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คุยเรื่องพระเครื่องกัน พี่ปุณณ์ไม่มีความรู้ แต่จะขอเอารูปพระเครื่องมาถามคุณยามกับคุณ itums หน่อยได้ไหมคะ

จะเป็นพระอะไรเก่าใหม่รุ่นไหนไม่มีข้อมูลอะไรเลย เพราะเจ้าของเสียชีวิตไปแล้ว

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คุยเรื่องพระเครื่องกัน พี่ปุณณ์ไม่มีความรู้ แต่จะขอเอารูปพระเครื่องมาถามคุณยามกับคุณ itums หน่อยได้ไหมคะ

จะเป็นพระอะไรเก่าใหม่รุ่นไหนไม่มีข้อมูลอะไรเลย เพราะเจ้าของเสียชีวิตไปแล้ว

ได้เลยครับพี่ปุณณ์ ผมพอจะมีความรู้นิดหน่อย ขอรูปชัดๆนะครับจะได้ดูกันง่ายหน่อย

ปกติการถ่ายรูปพระเครื่องจะต้องใช้กล้องและเลนส์เฉพาะ แต่จะให้สะดวก นำพระไปจ้างที่ร้านถ่ายให้ก็ได้ครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีค่ะ

 

สบายดีหรือเปล่าคะ...เสียวๆเรื่องน้ำท่วมค่ะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีค่ะ

 

สบายดีหรือเปล่าคะ...เสียวๆเรื่องน้ำท่วมค่ะ

สบายดีครับ"คุณพี่มดแดง"บ้านผมน้ำไม่ท่วมครับ

แต่ฝนตกหนักเกือบทุกวัน เห็นคุณพี่มดแดง เปิดกระทู้ช่วยเหลือผู้ประสบภัยด้วย

ขอบคุณนะครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

หารูปพระกรุวัดสะพานสูง ที่มีทั้งหมด7พิมพ์ มาให้ดูกันครับ

1.พิมพ์ชัยพฤกษมาลา ชื่อชัยพฤกมาลานี้มาจากชื่อวัดเก่าแก่ที่มีพระกรุแตกออกมาเช่นกัน

พิมพ์ที่เห็นนี้เป็นพิมพ์นิยมที่หายากของกรุวัดชัยพฤกษมาลาครับ แต่เนื้อหาไม่เหมือนกัน พระกรุวัดชัยพฤกษมาลาจะเป็นเนื้อดินเผาครับ อายุก็เก่าแก่เกือบร้อยปี ถ้าจำไม่ผิด

00567_0.jpg

 

2.พิมพ์ปิดตาเรือบรื๋อ ชื่อแปลกดี รูปแบบคงคล้ายกับเรือในสมัยก่อนมังครับ เลยเรียกกันตามนั้น ผมก็ไม่แน่ใจ

1400041.jpg

 

3.พิมพ์ปิดตาชลูด เป็นพิมพ์ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของหลวงปู่ นิยมมากที่สุดของกรุนี้ และมีขนาดใหญ่กว่าพิมพ์อื่น สูง2.8กว้าง2.3หนาประมาณ1เซ็นต์ครับ

00275338.jpg

 

4.พิมพ์พระรอด

129274775424061429_1.jpg

 

5.พิมพ์เทวดาหน้าคง

ko0ch12659469221.jpg

 

6.พิมพ์ข้างรัศมี

pic_106596_1.jpg

 

7.พิมพ์สมาธิเข่าบ่วง

uaiqj12659467001.jpg

 

 

มีข้อถกเถียงกันในวงการเกี่ยวกับการสร้างพระกรุนี้ ที่มีหลายพิมพ์แปลกแยกออกมา

แต่ผมคิดเล่นๆว่า อาจเป็นผลงานชิ้นสุดท้ายที่หลวงปู่ตั้งใจสร้างให้แตกต่างก็เป็นได้

แต่ที่แน่นอนพระกรุนี้เป็นพระแท้ ไม่ฝากกรุ ที่วงการยอมรับ เพียงแต่ติดตรงที่ใครเป็นผู้สร้างเท่านั้น

ไม่เช่นนั้น พระกรุนี้จะมีราคาสูง จากความต้องการของตลาด มากกว่านี้

ซึ่งผมก็ไม่อยากเสียเงินแพงเกินไปเหมือนกัน อิๆ

จบข่าวจร้า

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แวะมาดูพระค่ะ รู้สึกร้อนๆ ชอบกล !uu

 

ว่าแต่... รูปคุนยามขา รูปใหม่ของคุนยามนี่ หล่อเริดดดดนะคะ !30

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ท่านพี่ หัวหน้ายาม เปิดกรุพระ ทำให้เกิดกิเลส ไปค้นหาที่หิ้งพระ เอามาเป่าฝุ่นจนหน้าขาวไปหมดแถมจาม

อีกหลายชุด แต่ก็มิมีเลยที่เหมือนของหัวหน้า อิอิแห้ว แต่ก็มีหลายองค์ที่น่าสนใจแต่ไม่รู้แท้อ๊ะป่าว

จาเอากล้องถ่ายมาให้ดูบ้างก็มองไม่ชัดเลย ที่น่าสนใจมี หลวงปู่ทวด97พิมพ์เนื้อว่าน เกศไชโยหลายองค์

เก่าแต่ดูไม่เป็งครับ รูปหล่อทองเหลืองหลวงปู่เผือก ว่างๆจะเอาให้เขาถ่ายรูปมาให้คุงหัวหน้าพิจารณาบ้างครับ

เผื่อจามีของดีกะเขาบ้าง ครับอิอิดูไม่เป็งคร๊าบ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ท่านพี่ หัวหน้ายาม เปิดกรุพระ ทำให้เกิดกิเลส ไปค้นหาที่หิ้งพระ เอามาเป่าฝุ่นจนหน้าขาวไปหมดแถมจาม

อีกหลายชุด แต่ก็มิมีเลยที่เหมือนของหัวหน้า อิอิแห้ว แต่ก็มีหลายองค์ที่น่าสนใจแต่ไม่รู้แท้อ๊ะป่าว

จาเอากล้องถ่ายมาให้ดูบ้างก็มองไม่ชัดเลย ที่น่าสนใจมี หลวงปู่ทวด97พิมพ์เนื้อว่าน เกศไชโยหลายองค์

เก่าแต่ดูไม่เป็งครับ รูปหล่อทองเหลืองหลวงปู่เผือก ว่างๆจะเอาให้เขาถ่ายรูปมาให้คุงหัวหน้าพิจารณาบ้างครับ

เผื่อจามีของดีกะเขาบ้าง ครับอิอิดูไม่เป็งคร๊าบ

ได้สิครับ ลองดู ผมเองก็รู้เท่าที่รู้

ถ้าเป็นพระสมเด็จ ขอภาพขอบข้างพระด้วย จะดีมากครับ

การพิจจารณาพระจากรูปถ่ายจำเป็นมากที่ภาพจะต้องชัด ชนิดเหมือนเราถือกล้องส่องพระอยู่ ประมาณนั้น

และควรจะมีหลายมุม เช่นด้านหน้า ด้านหลัง และสันขอบข้าง เพื่อพิจารณาความเก่าของพระครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

พี่ปุณณ์ทดลองแล้ว หมดปัญญาจะถ่ายรูปให้ดีค่ะ คุณยาม เอามาให้ดูทั้งกรอบที่เจ้าของอัดไว้เลย

ถ่ายได้ไม่ชัด แต่ไม่อยากไปแกะ กลัวพระชำรุด ค่ะ

 

ถ้าพระผงรุ่นใหม่ๆหรือเหรียญมีหลายแบบแต่ไม่รู้จัก เพราะเวลารักษาพระภิกษุพอท่านหายก็ให้พระเครื่องใหม่ ๆ พอตอนนี้ก็ยี่สิบสามสิบปีแล้ว

พี่ปุณณ์เป็นคนไม่คล้องพระ ไม่สะสมซะด้วย ถ้าไม่อัญเชิญท่านไว้บนโต๊ะหมู่บูชาก็ให้ต่อกันไปอีก

ขนาดเหรียญหลวงปู่เทียมวัดกษัตรา ยังให้ใครไปก็จำไม่ได้ น้องๆบ่นกันพึม กว่าจะรู้ก็ขอไม่ทัน

post-34-060742800 1289832566.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

พระสมเด็จองค์นี้ เป็นพระเนื้อผงพุทธคุณ

อายุน่าจะประมาณ15-20ปี

พิมพ์ทรงคล้ายกับพระสมเด็จหลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง

โดยเฉพาะด้านหลัง ที่มีปั๊มยันต์อะ อยู่ด้วย

แต่ไม่ใช่ซะทีเดียว เพราะขาดยันต์พุฒซ้อน อีกหนึ่งตัว

คาดว่าจะเป็นของอาจารย์สักท่าน ในแถบภาคกลาง-อีสาน ครับ

ตัวอย่างยันต์ของหลวงพ่อแพ

e0b89ee0b988e0b8ade0b98.jpg

การสร้างพระเครื่องตามเจตนาของคนโบราณ เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา

เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ หรือไว้เป็นที่ระลึกถึงครูบาอาจารย์

 

ความพิเศษของพระเครื่องนั้นอยู่ที่

ขั้นตอน-กระบวนการสร้างรวมถึงเจตนาและวัตถุประสงค์

จะต้องพิถีพิถันและที่สำคัญที่สุดคือผู้สร้างจะต้องเป็นผู้มีบารมีสูง

 

สำหรับผม พระเครื่องเปรียบเสมือนเปลือกไม้

ที่มีประโยชน์หลายอย่าง หากรู้จักและใช้เป็นครับ ^_^

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

" ความพิเศษของพระเครื่องนั้นอยู่ที่

ขั้นตอน-กระบวนการสร้างรวมถึงเจตนาและวัตถุประสงค์

จะต้องพิถีพิถันและที่สำคัญที่สุดคือผู้สร้างจะต้องเป็นผู้มีบารมีสูง

 

สำหรับผม พระเครื่องเปรียบเสมือนเปลือกไม้

ที่มีประโยชน์หลายอย่าง หากรู้จักและใช้เป็นครับ "

 

พี่ปุณณ์เห็นด้วยอย่้างยิ่งค่ะ คุณยาม

ที่ไม่ได้คล้องพระ เพราะพี่ปุณณ์ไม่ค่อยระวัง

เคยทำพระดีๆอย่างพระรอดของแม่หาย เลยอัญเชิญท่านไว้ในใจตลอด

หลวงพ่อจรัญ (สมัยนั้น) ท่านให้ลูกอมที่ท่านปั้นจากผงพระสมเด็จและมวลสารที่ท่านมี

ให้เฉพาะคน ของพี่ปุณณ์สีขาว ของน้องสีออกดำๆ พี่ปุณณ์คล้องมาตั้ง 40 ปี ยังคล้องอยู่จนถึงเดี๋ยวนี้เลยค่ะ

เป็นเครื่องเตือนใจให้ระลึกถึงพระคุณท่านและ เมตตา (เมื่อก่อนโหดค่ะ)

 

อ้อ พี่ปุณณ์ขอถามถึง เหรียญพระชัยหลังช้าง สมัยพระชนมายุ ครบ 5 รอบ มีคุณค่าทางไหนคะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คัดลอกข้อมูลมาให้อ่านอย่างย่อๆครับ อ้างอิงจากเวปนี้http://www.tumsrivichai.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538686471&Ntype=40

เหรียญพระชัยหลังช้าง เป็นเหรียญที่ระลึก ถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่9

อีกเหรียญหนึ่ง ที่นักสะสมนิยมกัน เหรียญรุ่นนี้ปัจจุบัน จะมีให้เห็นหมุนเวียนในตลาดครับ

มีพุทธคุณในตัว และยังเป็นเหรียญที่ระลึก ถึงพระเจ้าอยู่หัวของเรา ที่ท่านทรงเป็น"King of the King"อีกด้วย

เหมาะสำหรับลูกหลานครับ

 

 

 

 

 

PraChai.jpg

 

"เหรียญพระชัยหลังช้าง" เหรียญดังพิธีดีอีกเหรียญหนึ่งที่หยิบยกมากล่าวถึง เป็นเหรียญที่ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ แห่งวัดสามพระยา กรุงเทพมหานคร ในนามคณะสงฆ์ได้ดำเนินการจัดสร้างขึ้น สืบเนื่องในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ 60 พรรษา ในปี พ.ศ.2530

 

เป็นเหรียญปั๊มด้านหน้าเป็นรูปพระชัยวัฒน์ที่เรียกกันว่า "พระชัยหลังช้าง" ด้านหลังเป็นพระปรมาภิไธยย่อ "ภปร." มีอักษรปรากฏบนเหรียญว่า "5 ธันวาคม 2530" และ "คณะสงฆ์สร้างในมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ"

 

"เหรียญพระชัยหลังช้าง" เป็นเหรียญดีเพราะพิธีการจัดสร้างเปี่ยมด้วยความศักดิ์สิทธิ์ ทั้งเจตนาการจัดสร้างเพื่อนำรายได้จากการบริจาคบูชานั้น ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2530 ณ พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร มีพระเกจิอาจารย์ดังปลุกเสกมากมาย ประการสำคัญยิ่ง เหรียญพระชัยหลังช้าง มีสมเด็จพระสังฆราชถึง 2 พระองค์ ปลุกเสก นั้นคือ สมเด็จพระสังฆราช (วาส) วัดราชบพิธฯ และสมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร ที่ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช เมื่อปี พ.ศ.2532

 

และ"เหรียญพระชัยหลังช้าง"มีสมเด็จพระราชาคณะที่ร่วมปลุกเสกอีก คือ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสามพระยา สมเด็จพระวันรัต วัดโสมนัสวิหาร สมเด็จพระธีรญาณมุนี วัดปทุมคงคา สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว) วัดสระเกศ เมื่อครั้งยังเป็นที่พระพรหมคุณาภรณ์

 

แล้วยังมีพระเกจิอาจารย์ดังแห่งยุคนั้น อาทิ หลวงพ่อแพ แห่งวัดพิกุลทอง จังหวัดสิงห์บุรี พระมหาวีระ ถาวโร (หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ) วัดท่าซุง หลวงพ่อชื้น วัดญาณเสน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระครูสันติวรญาณ (สิม) วัดถ้ำผาปล่อง พระอุดมสังวรเถร (อุตตมะ) วัดวังก์วิเวการาม จังหวัดกาญจนบุรี พระครูฐาปนกิจสุนทร (เปิ่น) วัดบางพระ จังหวัดนครปฐม หลวงปู่ม่น วัดเนินตาหมาก จังหวัดชลบุรี พระครูเกษมธรรมนันท์ (แช่ม) วัดดอนยายหอม พระครูปริมานุรักษ์ (พูล) วัดไผ่ล้อม จังหวัดนครปฐม

 

ที่สำคัญ หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ แห่งวัดท่าซุง ท่านเคยกล่าวไว้กับลูกศิษย์ของท่านว่า เหรียญพระชัยหลังช้างนี้เป็นเหรียญที่มีพุทธานุภาพดีมากๆ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณค่ะ คุณยาม พี่ปุณณ์ไปเปิดถ้วยแก้วบนโต๊ะบูชาดู มีอยู่ตั้ง 21 เหรียญ

เก็บมาตั้งแต่ ปีที่จัดสร้างและส่งออกมาให้ข้าราชการบริจาคบูชา แต่น้องๆไม่ค่อยมีเงิน

พี่ปุณณ์เลยรับไว้เอง แจกจ่ายไปเหลืออยู่เท่านี้เวลาย้ายที่ทำงานก็เก็บจนลืม

ถ้าพุทธคุณดี พี่ปุณณ์จะได้แจกให้ลูกหลานไปบ้าง

ถูกแก้ไข โดย ปุณณ์

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แนะนำผลงานกันไปแล้ว คราวนี้มารู้จักประวัติและเรื่องราวบางส่วนของหลวงปู่กันบ้าง

ข้อมูลที่ได้มากจากเวปไซด์ที่พอเชื่อถือได้

การคลุกคลีอยู่ในวงการพระ ต้องมีสติและวิจารณญาณมากเป็นพิเศษตลอดเวลา

ยิ่งกว่าการเล่นทองเยอะครับ ดังนั้นทุกข้อมูล ควรพิสูจน์ด้วยตัวเอง ก่อนตัดสินใจเชื่อ

เพราะคุณจะกลายเป็นหมูแทบทุกวินาทีเลยทีเดียว หุๆ

 

 

 

1920-02297.jpg

 

หลวงปูเอี่ยม วัดสะพานสูง ปากเกร็ด นนทบุรี

• • • • • • • • • • • • • • • • • • • •

 

 

หลวงปู่เอี่ยมเกิดในรัชกาลที่ ๒ เมื่อปีฉลู พ.ศ. 2359 เป็นบุตรนายนาค นางจันทร์ โดยมีพี่น้องท้องเดียวกัน รวมด้วยกัน 4 คน คือ

1. หลวงปุ่เอี่ยม

2. นายฟัก

3. นายขำ

4. นางอิ่ม

 

บ้านเกิดของหลวงปู่เอี่ยมอยู่ที่ตำบลบานแหลมใหญ่ ฝั่งใต้ ข้างวัดท้องคุ้ง

อำเภอ ปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เมื่อปี พ.ศ.๒๓๘๑ อายุท่านได้ ๒๒ ปี ได้อุปสมบท

ที่วัดบ่อ ตำบลปากเกร็ด อำเภอปากเกร็ด (วัดบ่อนี้อยู่คิดกับตลาดในท่าน้ำปากเกร็ด) ท่านอุปสมบท ได้ประมาณหนึ่งเดือน ท่านก็ได้ย้ายไปประจำพรรษาอยู่ที่วัดกัลยาณมิตร

ธนบุรีซึ่งในขณะนั้นพระพิมลธรรมพร เป็นเจ้าอาวาส ซึ่งย้ายมาจากวัดราชบูรณะ พระนคร

หลวงปูเอี่ยมท่านได้ศึกษาพระปริยัติธรรม และแปลพระธรรมบทอยู่ที่วัดนี้อยู่ได้ถึง

๗ พรรษาท่านจึงได้ย้ายไปจำพรรษาอยู่ที่วัดประยูรวงศาวาส เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๘๘ อยู่วัด

ประยูรวงศาวาสได้ ๓ พรรษา ถึงปี พ.ศ. ๒๓๘๙๑ นายแขก สมุห์บัญชีได้นิมนต์หลวงปู่

เอี่ยมไปจำพรรษาเจริญพระกัมมัฏฐานเป็นเริ่มแรก และได้ศึกษาอยู่ ๕ พรรษา

ถึงปี ๒๓๙๖ ญาติโยมพร้อมด้วยชาวบ้านภูมิลำเนาเดิมในคลองแหลมใหญ่ (ซึ่งปัจจุบันนี้ คือคลองพระอุดม) อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ได้เดินทางมา

อาราธนานิมนต์หลวงปู่เอี่ยม กลับไปปกครองวัดสว่างอารมณ์ หรือวัดสะพานสูง

ในปัจจุบันนี้

 

 

สาเหตุที่เปลี่ยนชื่อวัดสว่างอารมณ์เดิมมาเป็นชื่อวัดสะพานสูงนั้น มีเรื่องเล่าต่อๆ กันมาว่า ในสมัยนั้นสมเด็จกรมพระยาวชิญาณวโรรส ท่านได้เสร็จไปตรวจการคณะสงฆ์ได้เสด็จขึ้นที่วัดสว่างอารมณ์นี้ ได้ทอดพระเนตรเห็นสะพานสูงข้ามคลองวัด (คลองพระอุดมปัจจุบันนี้) ซึ่งชาวบ้านมักจะเรียกวัดสว่างอารมณ์นี้ว่า วัดสะพานสูง จึงทำให้วัดนี้มีชื่อเรียกกัน ๒ ชื่อ ฉะนั้น สมเด็จกรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงเห็นว่า สะพานสูงนี้ก็เป็นนิมิตดีประจำวัดประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งชาวบ้านก็นิยมเรียกกันติดปากว่าวัดสะพานสูง จึงได้ประทานเปลี่ยนชื่อวัดสว่างอารมณ์ มาเป็น "วัดสะพานสูง" จนตราบเท่าทุกวันนี้

 

หลวงปู่เอี่ยมมาวัดสะพานสูงใหม่ๆ ที่วัดนี้มีพระประจำวันพรรษาอยู่เพียง ๒ รูปเท่านั้น

 

ขณะที่ท่านหลวงปูเอี่ยม ได้ย้ายมาอยู่วัดสะพานสูงได้ ๘ เดือน ก่อนวันเข้าพรรษาหลวงพิบูลย์สมบัติ บ้านท่านอยู่ปากคลองบางลำภู พระนคร ได้เดินทางมานมัสการหลวงปู่เอี่ยมหลวงปู่เอี่ยมได้ปรารภถึงความลำบาก ด้วยเรื่องการทำอุโบสถและสังฆกรรม เนื่องจากสถานที่เดิมได้ชำรุดทรุดโทรมมาก จึงอยากจะสร้างให้เป็นถาวรสถานแก่วัดให้เจริญรุ่งเรือง หลวงพิบูลยสมบัติ ท่านจึงได้บอกบุญเรี่ยไรหาเงินมา เพื่อก่อสร้างโบสถ์ และถาวรสถานขึ้น จึงเป็นที่เข้าใจกันว่าหลวงปู่เอี่ยมได้เริ่มสร้างพระปิดตาและตะกรุดเป็นครั้งแรก เพื่อเป็นของชำร่วยแก่ผู้บริจาคทรัพย์และสิ่งของที่ใช้ในการก่อสร้างพระอุโบสถและถาวรสถาน ต่อมาถึง พ.ศ. ๒๔๓๑ ได้สร้างศาลาการเปรียญ หลังจากนั้นอีกหลวงปู่เอี่ยมได้สร้างพระเจดีย์ฐาน ๓ ชั้นขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๓๙ ขณะที่ท่านหลวงปู่เอี่ยมท่านได้มาอยู่วัดสะพานสูง ท่านได้ไปธุดงค์ไปทางแถบประเทศเขมร โดยมีลูกวัดติดตามไปด้วยเสมอ แต่ท่านจะให้ลูกวัดออกเดินทางล่วงหน้าไปก่อน ๖-๗ ชั่วโมง แล้วจะนัดกันไปพบที่แห่งใดแห่งหนึ่ง แล้วท่านหลวงปู่เอี่ยมได้ไปพบชีปะขาวชาวเขมรท่านหนึ่งชื่อว่าจันทร์หลวงปู่เอี่ยมจึงได้เรียนวิชาอิทธิเวทย์ จากท่านอาจารย์ผู้นี้อยู่หลายปี จนกระทั่งชาวบ้านแหลมใหญ่นึกว่าท่านออกธุดงค์ไปได้ถึงแก่มรณภาพไปแล้ว เนื่องจากหลวงปู่เอี่ยมท่านไม่ได้กลับมาที่วัดหลายปี จึงได้ทำสังฆทานแผ่ส่วนกุศลไปให้ท่าน ทำให้ท่านหลวงปู่เอี่ยมทราบในญาณของท่านเอง และท่านหลวงปู่เอี่ยมจึงได้เดินทางกลับมายังวัดสะพานสูง การไปธุดงค์ครั้งนี้ หลวงปู่เอี่ยมได้ไปเป็นเวลานาน และอยู่ในป่าจึงปรากฏว่าท่านหลวงปู่เอี่ยมท่านไม่ได้ปลงผม ผมจึงยาวถึงบั้นเอว จีวรก็ขาดรุ่งริ่ง หมวดท่านยาวเฟิ้มพร้อมมีสัตว์ป่าติดตามท่านหลวงปู่เอี่ยมมาด้วย อาทิเช่น หมี, เสือ, และงูจงอาง ฯลฯ

 

จากการเจริญกัมมัฎฐาน จึงทำให้หลวงปู่เอี่ยมสำเร็จ "โสรฬ" ท่านหนึ่งและจากการเชี่ยวชาญวิชากัมมัฎฐานนี้เอง มีเรื่องเล่ากันว่าบริเวณหน้าวัดมีต้นตะเคียนต้นหนึ่งมีน้ำมันตกและดุมากเป็นเกรงกลัวต่อชาวบ้านหลวงปู่เอี่ยมจึงได้มายืนเพ่งอยู่ ๒-๓ วันเท่านั้นต้นตะเคียนต้นนั้นก็เฉา และยืนต้นแห้งตายหลวงปู่เอี่ยมผู้มีอาคมขลังและวาจาสิทธิ์ มักน้อย สันโดษ นี้เองทำให้ท่านหลวงปู่เอี่ยมมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ทั้งชาวบ้านและเจ้านายผู้ใหญ่ในพระนครนับถือท่านมาก

หลวงปู่เอี่ยมจะมรณภาพด้วยโรคชรา นายหรุ่น แจ้งมา ซึ่งเป็นลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดคอยอยู่ปรนนิบัติท่านหลวงปู่เอี่ยมได้ขอร้องท่านว่า "ท่านอาจารย์มีอาการเต็มที่แล้วถ้าท่านมีอะไรก็กรุณาได้สั่งและให้ศิษย์ไว้เป็นครั้งสุดท้าย"

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...