ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
โจได

เรียนรู้ดูพระ แบบมือสมัครเล่น

โพสต์แนะนำ

ลูกปัดโบราณ ของสะสมอีกชนิดหนึ่งที่เข้ากันกับพระเครื่องได้ดี

มีหลายเนื้อหลายสีหลายรูปทรง อายุนับพันปีก็มี

พบมากในหลายพื้นที่ของประเทศไทย เนื้อที่นิยมกันมากที่สุด จะเป็นเนื้อหินธรรมชาติยุคทวาราวดี ที่มีหลายสีแล้วแต่ชนิดของหิน

บางเส้นราคาหลายหมื่นบาทเลยทีเดียว

นักสะสมส่วนใหญ่นิยมกันเพราะความเก่าแก่มีอายุและคุณค่าในการประดิษฐ์ลูกปัด

ที่กว่าจะได้ออกมาแต่ละเม็ด คนโบราณต้องใช้วิธีการทำด้วยมือล้วนๆ

ลูกปัดแต่ละเม็ดจึงมีขนาดไม่เท่ากัน แต่เมื่อนำมาร้อยเรียงเป็นเส้นเดียวกัน

กลับดูสวยขลังอย่างน่าประหลาด

หลายคนมีเหตุผลอื่นประกอบในการเลือกลูกปัดโบราณเป็นเครื่องประดับ

ว่ามีความเสี่ยงน้อย กับคดีอาชญากรรม ในยุคที่ทองคำมีราคาสูง

นอกเหนือจากความมีรสนิยมส่วนตัว

ผมเองก็เป็นอีกคนที่หลงไหลในมนต์เสน่ห์ของลูกปัด

 

 

images.jpg images1.jpg images2.jpg images3.jpg images4.jpg images5.jpg images6.jpg images7.jpg images8.jpg images9.jpg

images10.jpg images11.jpg images12.jpg images13.jpg images14.jpg images15.jpg images16.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตามมาดูพระเป็นศิริมงคลด้วยคนครับ

:ph34r:

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

หากคิดถึงพระรอดองค์ที่หายไป ผมขอแนะนำพระรอดรุ่นนึงที่วงการยอมรับว่าพุทธคุณไม่แพ้พระรอดลำพูนครับ

"พระรอดวัดพระสิงห์"เป็นเนื้อดินเผา มีหลายสีหลายพิมพ์ ที่มีหลายสีเพราะเกิดจากการเผา เนื้อพระที่ถูกความร้อนมากหรือน้อยจะทำให้มีสีต่างกัน

ถ้าสนใจก็ลองอ่านข้อมูลนี้ดูครับ ในเรื่องของราคาตอนนี้ถือว่ายังไม่แพงเช่นกัน แต่รับรองได้ว่าเป็นของดีราคาถูก มีอนาคตแน่นอนครับ

 

1191962044.jpg

 

พระรอดวัดพระสิงห์ เป็นพระเนื้อดินสร้างขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ 2496 ที่วัดพระสิงห์จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพระรอดเนื้อดิน ที่มีการนำพระรอดมหาวันเก่าที่ชำรุด พระเปิม พระคง และพระเนื้อดินลำพูน มาบดผสมกับดินขวยปู ที่ขุดได้มาจากดินทางด้านทิศเหนือ ของวัดพระคงฤาษี จังหวัดลำพูน และยังมีเนื้อผงของพระสมเด็จพระวัดระฆัง ก้อนผงปลุกเสก หลวงปู่ศุขวัดมะขามเฒ่า พระรอดวัดพระสิงห์ ได้มีการสร้างโดยเจตนารมณ์ที่ดี เพื่อนำเงินไปสร้างพุทธสถาน โดยมีพลตำรวจเอก เผ่าศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจในสมัยนั้น เป็นประธานในพิธี พระรอดวัดพระสิงห์ได้มีการนำไปกดแม่พิมพ์ที่จังหวัดลำพูน และส่งกลับมายังวัดพระสิงห์ เพื่อนำมาปลุกเสกต่อ โดยปลุกเสกเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2546 เป็นเวลา 3 วัน 3 คืน (ข้อมูลตรงนี้อาจไม่ตรงนะครับ พอดีเพิ่งเห็นเหมือนกัน อ้างอิงจากเวปยูครับ)http://www.amulet2u.com/board/q_view.php?c_id=3&q_id=8707

 

พระรอดวัดพระสิงห์มีทั้งหมด 11 พิมพ์ด้วยกัน แบ่งได้เป็น สีขององค์พระก็มีหลายสี ที่พบกันมากก็ได้แก่ เนื้อเขียว เนื้อแดง เนื้อพิกุล ที่พบน้อยคือ สีเทา สีขาว และสีดำ ที่ว่ามี 11 พิมพ์ 11 สี นั้นอาจเข้าใจคลาดเคลื่อนกันสักเล็กน้อย ที่ว่ามี 11 พิมพ์นั้นถูกต้อง แต่สีของพระรอดวัดพระสิงห์ รวมถึงพระรอดอื่นๆนั้นต้องทำความเข้าใจกันตามหลักวิชาการสัดนิดว่า พระรอดที่กล่าวนี้ทำมาจากเนื้อดิน ซึ่งการจะทำให้เนื้อพระแกร่งนั้น ต้องนำไปผ่านความร้อนโดยการอบ หรือการเผา เหมือนกับอิฐหรือเซรามิก ซึ่งแน่นอนต้องมีการนำพระจำนวนมากเข้าเตาเผา เพราะมากมายถึง 84,000 องค์ ดังนั้นความร้อนจากการเผาจึงไม่สามารถสัมผัสกับองค์พระได้ครบทุกองค์ องค์ที่ใกล้กับไฟหรือสัมผัสกับความร้อนมากที่สุด จะมีสีดำ และสีเขียว และหดเล็ก เพราะสูญเสียความชุ่มชื้นหรือน้ำที่อยู่ในตัวดิน บางองค์เกิดหมัดไฟ เป็นเม็ดเล็กๆ แตกกระจายตามองค์พระบริเวณต่างๆคล้ายอีสุกอีใส ซึ่งเกิดจากการทำปฎิกิริยาของธาตุบางอย่างในดินกับความร้อน ส่วนองค์ที่อยู่ตรงกลางๆซึ่งไม่ผ่านหรือผ่านไฟหรือความร้อนน้อย ก็จะมีสีดินธรรมชาติ และขนาดโตกว่าองค์สีดำ และสีเขียว เพราะไม่เกิดการหดตัวมากนัก โดยไล่ไปตามสีน้ำตาล สีแดง สีเทา สีเหลือง สีพิกุล สีขาว แต่ก็ไม่เสมอไป ขึ้นอยู่กับว่าเป็นพิมพ์ใด ดังนั้นสีของพระจึงไม่อาจกำหนดได้ตอนกดพิมพ์พระ แต่จะมาคัดแยกสีกันตอนกรรมวิธีสร้างพระเสร็จสมบูรณ์แล้ว โดยมีการแยกตามโทนสี จากเข้มไปอ่อน จึงอาจมีโทนสีมากกว่า หรือน้อยกว่า 11 สีก็ได้ และราคาในขณะนั้นก็ไม่ได้แยกตามสี แต่ให้เช่าบูชาในราคาเดียวกัน

 

พระรอดวัดพระสิงห์ที่สมบูรณ์จริงๆ มีไม่ถึง 84,000 องค์ เช่นเดียวกับพระรอดมหาวัน บางองค์จึงอาจแตกหัก ชำรุด สภาพใช้การไม่ได้ บางส่วนหลังจากทำพิธีพุทธาพิเศกที่วัดพระสิงห์แล้ว ยังถูกนำไปเข้าพิธีปลุกเสกที่วัดสุทัศน์อันเลื่องชื่ออีกด้วย โดยทำพิธีปลุกเสกโดยเจ้าอาวาสวัดสุทัศน์ และคณะสงฆ์ ปีละ 2 วาระทุกปีเรื่อยมา จนกระทั่งเจ้าอาวาสวัดสุทัศน์มรณภาพ ถ้าจำไม่ผิดประมาณปี 2507 จึงหยุดพิธีปลุกเสก จึงเป็นที่มาของการเรียกชื่อว่าพระรอดวัดสุทัศน์ โดยเอกลักษณ์คือมีการปั้มด้วยหมึกสีม่วงใต้ฐานพระทุกองค์ ทำให้พระรอดวัดสุทัศน์ไม่ค่อยพบในสนามพระมากนัก และมีราคาเช่าหาสูง นอกจากนั้นยังมีอีกบางส่วนที่เกจิอาจารย์ชื่อดังสมัยนั้น อาทิ หลวงพ่อเงิน นำกลับไปปลุกเสกเดี่ยวให้กับศิษยานุศิษย์ด้วย พระรอดวัดพระสิงห์นอกจากมีเจตนาสร้างมาเพื่อหารายได้สร้างพุทธสถานเชียงใหม่ ( ปัจจุบันอยู่ใกล้จวนผู้ว่า และบ้านพักอธิบดีผู้พิพากษาภาค 5 ) แล้วยังมีเจตนาสร้างมาเพื่อใช้แทนพระรอดมหาวันลำพูน ตั้งแต่สมัยนั้นแล้ว จึงมีผู้คนกล่าวกันว่า หากหาพระรอดมหาวันไม่ได้ ก็หาพระรอดวัดพระสิงห์แทน ราคาหลักพัน ถึงหลักหมื่น ( ตามพิมพ์และตามสภาพ ) แต่พุทธคุณหลักล้าน จึงเป็นเหตุให้เซียนพระจากกรุงเทพและในเชียงใหม่ มากว้าน ซื้อ นำออกนอกประเทศไปเยอะ เข้ารังใหญ่ไม่ออกมาอีกเลยก็มี ทำให้ไม่ค่อยมีพระให้เห็นในสนามมาก จึงมีขบวนการพระยอดฝีมือออกมากันหลายสำนึก โดยเฉพาะพิมพ์หูขีด( ตัวผมเองยังโดนมาแล้ว ) ซึ่งเป็นที่ถกเถียงกันยังไม่สิ้นสุดถึงวันนี้ว่ามีพิมพ์นี้สร้างขึ้นในยุคนั้น เป็น 1 ใน 11 พิมพ์หรือไม่ บ้างก็ว่ากันว่า เป็นพระนอกพิมพ์บ้าง พิมพ์กรรมการบ้าง พิมพ์ธรรมดาแต่บล็อกแตกบ้าง ( รอดขีดยาวด้านซ้ายมือองค์พระขึ้นไปถึงเศียรพระเหมือนเส้นรอยฟ้าผ่าที่เรียกหูขีดนั่นหละครับ) เป็นพระรอดที่อื่นแต่นำมาเข้าพิธีบ้าง ( เพราะช่วงนั้นมีข่าวกันว่ากดพิมพ์ไม่ทัน จึงมีการกว้านซื้อพระรอดอื่นนำมาปลุกเสกให้ครบจำนวน 84,000 องค์) หรือเป็นพระคะแนนบ้าง (คือใช้พิมพ์หูขีดเป็นองค์พระนับ 1 แทนต่อ 100 องค์ธรรมดา จึงมีพิมพ์หูขีดเพียง 840 องค์ ) และอีกมากมายยังไม่สิ้นสุด ทำให้บางสนามถึงกับตัดรายการ พิมพ์นิยม (หูขีด)นี้ออกไปเลยทีเดียว เหลือไว้แต่พิมพ์ธรรมดาเท่านั้น

 

พระรอดอีกพิมพ์หนึ่งที่สร้างต่อมา คือพระรอดวัดไชยพระเกียรติ หรือมักเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าพระรอด เสาร์ 5 สร้างในปีถัดมาคือปี 2497 ที่วัดไชยพระเกียรติ จังหวัดเชียงใหม่ จุดสังเกตุการแยกระหว่างพระรอดวัดพระสิงห์และพระรอดชัยพระเกียรติ คือพระรอดชัยพระเกียรติใต้ฐานองค์พระจะมีการจาร หรือรอยประทับ เลข 5 ไทย ที่เรียกพระรอดเสาร์ 5 ส่วนพระรอดวัดพระสิงห์จะมีฐานเรียบไม่มีรอยจารหรืออักขระใดๆทั้งสิ้น แต่บางแหล่งข้อมูลก็ว่ามีการจารเหมือนกัน ปัจจุบันพระรอดวัดพระสิงห์มีราคาเช่าหาสูงกว่ามาก เนื่องจากพิธีปลุกเสกใหญ่กว่า โดยพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อในยุคนั้น อีกทั้งความสวยงามและเนื้อองค์พระที่ละเอียดกว่า การมีประสบการณ์ จึงทำให้พระรอดวัดพระสิงห์ได้รับความนิยมอย่างสูงตั้งแต่ในอดีตมาจนถึงปัจจุบัน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตามมาดูพระเป็นศิริมงคลด้วยคนครับ

:ph34r:

ยินดีครับ^^

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอโชว์บ้างครับ ท้าวเวสสุวรรณ วัดสุทัศน์ พิมพ์นิยมครับ :wub:

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอโชว์บ้างครับ ท้าวเวสสุวรรณ วัดสุทัศน์ พิมพ์นิยมครับ :wub:

มีรูปมั๊ยครับ ^_^

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ปิดตาพิมพ์ชลูด ในภาพ ทั้งภาพใหญ่ และภาพหลายองค์ เนื้อแห้งดีครับ ซึ่งเทียบกับปิดตา หลวงปู่กลิ่น พิมพ์ตะพาบใหญ่ ที่ผมมีอยู่(แห่แล้วครับ)เนื้อหลวงปู่กลิ่นจะฉ่ำกว่าครับ แต่ตังอิ๊วก็ลอยขึ้นบนผิวเนื้อแล้วเหมือนกัน

สำหรับพระในภาพองค์อื่นๆ นั้นถ้ากรุเดียวกันสร้างพร้อมกันน่าจะแห้งเท่ากันนะครับ แต่ถ้าองค์ไหนลงรัก ผมจะดูธรรมชาติของความแห้งของรักเป็นหลัก ซึ่งดูจากรูปบอกไม่ได้ครับ :ph34r: :lol:

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ลืมย่อรูปโทษทีครับ ติชมได้เต็มที่เลยครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ปิดตาพิมพ์ชลูด ในภาพ ทั้งภาพใหญ่ และภาพหลายองค์ เนื้อแห้งดีครับ ซึ่งเทียบกับปิดตา หลวงปู่กลิ่น พิมพ์ตะพาบใหญ่ ที่ผมมีอยู่(แห่แล้วครับ)เนื้อหลวงปู่กลิ่นจะฉ่ำกว่าครับ แต่ตังอิ๊วก็ลอยขึ้นบนผิวเนื้อแล้วเหมือนกัน

สำหรับพระในภาพองค์อื่นๆ นั้นถ้ากรุเดียวกันสร้างพร้อมกันน่าจะแห้งเท่ากันนะครับ แต่ถ้าองค์ไหนลงรัก ผมจะดูธรรมชาติของความแห้งของรักเป็นหลัก ซึ่งดูจากรูปบอกไม่ได้ครับ :ph34r: :lol:

ใช่แล้วครับ พระกรุนี้จะต้องดูที่ความแห้งเป็นหลัก ของเก่านับร้อยปี จะต้องมีความแห้งในตัว บางรูปที่นำมาให้ดู อาจมีเก๊ปนๆมา

เพียงแต่ให้ดูคร่าวๆว่าลักษณะจะเป็นประมาณนี้เท่านั้นครับ แบบว่าหาครบทุกพิมพ์ค่อนข้างยากนินุง^^

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รูปชัดแบบนี้ดีแล้วครับ

พระสวยมากครับ แต่ผมไม่ถนัด ไม่ทราบว่าปีอะไรครับ

ใช่พิมพ์เดียวกับองค์นี้มั๊ย

BoardP1-1052551114657.jpg

เห็นเซียนคุยกันว่าเป็นยักษ์จิ๋วที่แพงที่สุดในโลกเลยที่เดียว

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รูปชัดแบบนี้ดีแล้วครับ

พระสวยมากครับ แต่ผมไม่ถนัด ไม่ทราบว่าปีอะไรครับ

ใช่พิมพ์เดียวกับองค์นี้มั๊ย

BoardP1-1052551114657.jpg

เห็นเซียนคุยกันว่าเป็นยักษ์จิ๋วที่แพงที่สุดในโลกเลยที่เดียว

 

 

ใช่แล้วครับ ยักษ์วัดสุทัศน์จะมีด้วยกัน 3 พิมพ์ครับ พิมพ์ที่เห็นเป็นพิมพ์นิยมที่สุดครับ :wub:

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

องค์ของคุณ เสือน้อย moo moo นี่ระดับแชมป์เลยนะครับเนี่ย

ไม่มีที่ติจริงๆครับ ผมเองก็เพิงเคยเห็น ไม่ถนัดจริงๆ ไม่ได้ยอนะ

ขอบคุณที่แบ่งให้ได้ชื่นชมกันครับ^^

 

ผมเองก็มีมาให้เม้นองค์นึง กำลังจะเลี่ยมทองครับ รูปนี้ถ่ายเองสดๆร้อนๆ

ภาพไม่ค่อยชัด โดยเฉพาะสี องค์จริงสีจะเหลือง ไม่เขียวแบบในรูปครับ

"หลวงพ่อเดิม วัดหนองหลวง พิมพ์ฐานสูง"

เม้นได้เต็มที่เช่นกันครับ

img_5737.jpg img_5738.jpg img_5740.jpg

img_5743.jpg img_5742.jpg img_5741.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอเม้นต์ตามความรู้ที่มีน้อยนะครับ ดูรวมๆแล้วดีมากครับ วิธีการสร้างเป็นหล่อโบราณแน่นอน รอยตะไบดูจากรูปก็รอยเก่าแล้ว และที่สำคัญผมชอบปากท่านมากครับ นี่แหละปลอมยาก ของผมที่มี(น้องชายให้ยืมมาใส่ครับ)เป็นหนองหลวงฐานเตี้ยครับ(ได้มาจากเซียนด้วยนะ) ดูมานานแต่ไม่มั่นใจ 100 % ครับ มีส่วนดีส่วนเดียวคือที่ปากท่านนั่นล่ะครับ ดูรวมๆจะบอกว่าเป็นหล่อโบราณแน่นอนก็ร่องรอยน้อยไปหน่อย เมื่อเทียบกับของคุณโจ ของของคุณโจดูดีกว่า(มากๆ)ครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...