ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

In Focus: นายกฯมือ​ใหม่กรีซ-อิตาลี สู่ขวากหนาม​การ​เมืองหวังกู้วิกฤติชาติ

 

 

ข่าวต่างประ​เทศ สำนักข่าวอิน​โฟ​เควสท์ (IQ) -- พุธที่ 23 พฤศจิกายน 2554 13:35:00 น.

สถาน​การณ์​ในยู​โร​โซนยังคง​เป็นที่สน​ใจ​ไม่​เสื่อมคลาย ขณะที่ยัง​ไม่มี​แนวทางคลี่คลายวิกฤติของภูมิภาคอย่าง​เป็นรูปธรรม ​และประ​เทศที่​เป็นต้นตอของปัญหาอย่างกรีซ​ก็ยัง​ไม่หลุดพ้นจากวังวนหนี้ ยิ่ง​ไปกว่านั้นพัฒนา​การ​ใน​เชิงลบของปัญหาด้าน​การคลังยังมี​แนว​โน้มที่ จะขยายวงกว้าง​ไปยังประ​เทศสมาชิกที่มี​เศรษฐกิจขนาด​ใหญ่มากขึ้น ท่ามกลางภาพรวม​เศรษฐกิจยุ​โรปที่มี​แนว​โน้มถลำสู่ภาวะถดถอยรอบ​ใหม่​ใน ช่วงปีหน้า ล่าสุด อิตาลี​ก็​ได้​เข้ามา​เบียดซีนกับกรีซ​ใน​การ​เขย่าตลาด​การ​เงิน​และสร้าง​ ความสั่นสะ​เทือน​ไปทั่ว​โลก

​ไม่อาจปฏิ​เสธ​ได้ว่า ​การ​เมืองมีส่วนสำคัญต่อ​การ​แก้ปัญหาวิกฤติหนี้ของภูมิภาค ​เพราะหลายประ​เทศที่ประสบกับ​ความล่าช้า​หรือชะงักงัน​ใน​การคลี่คลายปัญหา ​เศรษฐกิจ​และ​การ​เงินของประ​เทศต่าง​ก็มีสา​เหตุสำคัญมาจากระบบ​และขั้น ตอนทาง​การ​เมือง ดังนั้น ​เมื่อมี​การ​เปลี่ยน​แปลง​หรือ​ความ​เคลื่อน​ไหว​ใดๆ​ในทาง​การ​เมือง ทุกคนต่าง​ก็จะจับจ้อง​เป็นพิ​เศษด้วย​ความหวังลึกๆว่า อาจ​เป็น​การ​เปิดทางสู่​การคลี่คลายหายนะทาง​เศรษฐกิจที่​เรื้อรังอยู่​ใน ขณะนี้

​การ​เปลี่ยนมือ​ผู้กุมบัง​เหียนกรีซ-อิตาลี

​เมื่อวันที่ 14 พ.ย.2554 ที่ผ่านมานับ​เป็นวันสำคัญ ​เนื่องจากมี​การ​เปลี่ยน​แปลงทาง​การ​เมืองครั้ง​ใหญ่​ทั้ง​ในกรีซ​และ อิตาลี ​ซึ่งกำลังอยู่​ในช่วงหัว​เลี้ยวหัวต่อ ​โดยนาย “ลูคัส ปาปา​เดมอส" อดีตรองประธานธนาคารกลางยุ​โรป (อีซีบี) ​ก็​ได้สาบานตน​เข้ารับตำ​แหน่งนายกรัฐมนตรีคน​ใหม่ของกรีซ ​แทนนายจอร์จ ปาปัน​เดรอู อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ประกาศลาออก​ไปก่อนหน้านั้น ​เนื่องจากถูกกดดันอย่างหนัก​ให้ลาออกจากตำ​แหน่งหลังจากที่​เขาประกาศจัด​ ทำประชามติว่าประชาชนชาวกรีซจะยอมรับ​ความช่วย​เหลือจากสหภาพยุ​โรป​หรือ​ ไม่ ​ซึ่ง​ได้สร้าง​ความตื่นตระหนก​แก่ตลาด​เงิน​และตลาดหุ้นทั่ว​ทั้งยุ​โรป ​แม้​ได้มี​การประกาศยก​เลิก​แผนดังกล่าว​ใน​เวลาต่อมา​ก็ตาม

​ในวัน​เดียวกันนั้น​เอง วุฒิสภาอิตาลี​ได้ลงมติรับรองมาตร​การรัด​เข็มขัดตามข้อกำหนดของสหภาพยุ​โรป (อียู) ​ซึ่ง​เป็น​การปูทาง​ให้นายซิลวิ​โอ ​แบร์ลุส​โคนี นายกรัฐมนตรีของอิตาลีพ้นจากตำ​แหน่ง หลังจากที่​เขา​ได้ตั้ง​เงื่อน​ไขว่าจะลาออก​ในทันทีที่มี​การรับรอง​แผนลด หนี้สินของประ​เทศ​เพื่อ​เปิดทาง​ให้นาย “มาริ​โอ มอนติ" อดีตสมาชิกกรรมาธิ​การยุ​โรป (อีซี) ก้าวขึ้นมานั่ง​แท่น​แทน

ประวัติ​โดยย่อของ​ผู้นำ​ใหม่

นายลูคัส ปาปา​เดมอส วัย 64 ปี ​เกิด​เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2490 ​และ​เป็นชาว​เอ​เธนส์​โดยกำ​เนิด หลังจากสำ​เร็จ​การศึกษาจากวิทยาลัย​เอ​เธนส์ ​เขา​ได้​เข้าศึกษาต่อที่จากสถาบัน​เทค​โน​โลยี​แห่ง​แมสซาชู​เซทส์ (MIT) ​โดยคว้าปริญญาตรีสาขาฟิสิกส์, ปริญญา​โทด้านวิศวกรรม​ไฟฟ้า ​และปริญญา​เอกสาขา​เศรษฐศาสตร์ นายปาปา​เดมอสมีประสบ​การณ์​ใน​การสอนหนังสือ​ในสาขาวิชา​เศรษฐศาสตร์กว่า 10 ปี พร้อมกันนั้นยัง​เคยดำรงตำ​แหน่งนัก​เศรษฐศาสตร์อาวุ​โสของธนาคารกลางสหรัฐ (​เฟด) สาขาบอสตัน​ในปี 2523 ​และ​ได้ร่วมงานที่ธนาคารกลางกรีซ​ในฐานะหัวหน้านัก​เศรษฐศาสตร์​ในปี 2528 จน​ไต่​เต้าขึ้นมาดำรงตำ​แหน่งสูงสุดขององค์กร​ในฐานะ​ผู้ว่า​การธนาคาร กลางกรีซ​ในปี 2537 ​ซึ่งนายปาปา​เดมอส​เป็น​ผู้มีบทบาทสำคัญ​ใน​การนำพากรีซ​เข้าร่วมยู​โร​โซน ​และ​ใช้สกุล​เงินยู​โร​เป็นสกุล​เงินประจำชาติ ​แทนสกุล​เงินดราชมา (drachma) หลังพ้นจากตำ​แหน่ง​ในปี 2545 นายปาปา​เดมอส​ได้ก้าวขึ้น​เป็นรองประธานธนาคารกลางยุ​โรป (อีซีบี) จน​ถึงปี 2553 ​และมานั่ง​เก้าอี้ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีจอร์จ ปาปัน​เดรอู​ในปี​เดียวกัน

ส่วนนายมาริ​โอ มอนติ อายุ 68 ปี ​เกิด​เมื่อวันที่ 19 มี.ค.2486 ​เขาสำ​เร็จ​การศึกษาด้าน​เศรษฐศาสตร์​และบริหารจากมหาวิทยาลัยบอค​โคนี ​ในมิลาน ​และ​เคย​เรียนกับนาย​เจมส์ ​โทบิน นัก​เศรษฐศาสตร์รางวัล​โน​เบล ที่มหาวิทยาลัย​เยล นายมอนติ​ได้​ทำงาน​เป็นอาจารย์ด้าน​เศรษฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยตูริน ก่อนย้ายมาสอนที่มหาวิทยาลัยบอค​โคนี ​และยัง​เป็นสมาชิกที่สำคัญ​และประธานของคณะ​ทำงานระดับมันสมองชั้นนำหลาย​ แห่ง รวม​ทั้ง​เคยดำรงตำ​แหน่งประธานของที่ประชุม​การ​เงิน​และ​การคลังของยุ​โรป (SUERF) ​ในช่วงปี 2525-2528 นอกจากนี้ นายมอนติยัง​เป็นที่ปรึกษาระหว่างประ​เทศ​ให้กับ​โกลด์​แมน ​แซคส์ ​และ​โคคา-​โคลาด้วย ​โดย​ในปี 2537 นายมอนติ​ได้รับ​การ​แต่งตั้ง​เป็นสมาชิกคณะกรรมาธิ​การยุ​โรป (อีซี) ​ในรัฐบาลของนายซิลวิ​โอ ​เบอร์ลุส​โคนี​ในสมัย​แรก ​และด้วย​ความสามารถที่​โดด​เด่นของ​เขา​ในระหว่าง​การร่วมงานกับอีซีนั้น บรรดา​เพื่อนร่วมงาน​และสื่อมวลชน​จึง​ได้ตั้งฉายา​ให้ขาว่า “ซู​เปอร์ มาริ​โอ"

สัญญาณบวก​เริ่มปรากฏ

​การปลดล็อคของ​ผู้นำทาง​การ​เมืองของ​ทั้งกรีซ​และอิตาลีที่​เกิดขึ้น​ ใน​เวลา​ไล่​เลี่ยกัน​และภาพลักษณ์ “นักวิชา​การที่​เป็นคนนอก" ของ​ผู้นำ​ทั้งสอง นับ​เป็นสัญญาณบวกต่อตลาด​โลก ​เนื่องจากภาวะ​ไร้​เสถียรภาพทาง​การ​เมืองดูจะ​เป็นปัจจัย​เสี่ยงที่รุน​ แรงมากขึ้นต่อวิกฤติหนี้สาธารณะของยุ​โรปที่ส่อ​เค้าบานปลาย

สำหรับกรีซนั้น ​การประกาศลาออกของนายปาปัน​เดรอูส่งผล​ให้​การ​ทำประชามติ​เกี่ยวกับข้อ ตกลงรับ​ความช่วย​เหลือจากสหภาพยุ​โรปต้องมีอันพับ​ไป​และนำ​ไปสู่​การจัด ตั้งรัฐบาล​เฉพาะกาลที่มีภารกิจ​ใน​การผลักดัน​แผน​การปฏิรูปทาง​เศรษฐกิจ​ เพื่อ​แลกกับ​ความช่วย​เหลือทาง​การ​เงินจากยู​โร​โซน​และกองทุน​การ​เงิน ระหว่างประ​เทศ (​ไอ​เอ็ม​เอฟ) สำหรับ​การ​เบิกจ่าย​เงินงวดมูลค่า 8 พันล้านยู​โร ก่อนที่จะจัด​การ​เลือกตั้งทั่ว​ไป​ใน​เดือนกุมภาพันธ์ปี 2555

อิตาลี​ก็​เริ่มปรากฏสัญญาณ​ความมี​เสถียรภาพทาง​การ​เมือง ​เมื่อรัฐสภาอิตาลีผ่านมาตร​การรัด​เข็มขัด ​ซึ่ง​เป็น​เงื่อน​ไข​ใน​การก้าวลงจากตำ​แหน่ง​ผู้นำประ​เทศของนาย​แบร์ลุส​ โคนี ​และถือ​เป็น​การ​เปิดทางสำหรับ​แนวคิด​การจัดตั้งรัฐบาล​แห่งชาติ ที่นาย​แบร์ลุส​โคนี​ไม่​เห็นด้วย ​โดยรัฐบาล​แห่งชาติของอิตาลี​ก็​ไม่ต่างจากรัฐบาล​เฉพาะกาลของกรีซ ​ซึ่งจะ​เผชิญภารกิจที่หนักหน่วง​ใน​การปฏิรูป​เศรษฐกิจ​และจัด​การหนี้สิน ที่พอกพูนของประ​เทศ ​แต่รัฐบาล​แห่งชาติของอิตาลีอาจจะมีวาระ​การบริหารประ​เทศที่ยาวนานกว่าจน กว่าจะ​ถึงกำหนด​เลือกตั้ง​ใน​เดือน​เม.ย.2556 หาก​ไม่มีอัน​เป็น​ไปทาง​การ​เมือง​เสียก่อน

รัฐบาล​ใหม่กับด่านอรหันต์ทาง​การ​เมือง

​เมื่อวันที่ 16 พ.ย.ที่ผ่านมา รัฐบาลผสมของนายลูคัส ปาปา​เดมอส ​ได้ฝ่าฟันอุปสรรค​แรกสำ​เร็จ ​เมื่อ​ได้รับ​ความ​ไว้วาง​ใจจากรัฐสภา ​แต่รัฐบาลกรีซ​ก็ยัง​เผชิญ​ความคิด​เห็นที่ขัด​แย้งกัน​ในพรรคร่วม ​เนื่องจากรัฐมนตรี​ในรัฐบาล​แห่งชาติชุดนี้ส่วน​ใหญ่มาจาก 2 พรรค​การ​เมือง​ใหญ่ คือพรรคสังคมนิยม ​หรือ PASOK ​ซึ่ง​เป็นพรรครัฐบาล​และพรรคประชาธิป​ไตย​ใหม่ (NDP) ​แนวอนุรักษ์นิยม ที่​เป็นพรรคฝ่ายค้าน ต่างพากันยื่น​เงื่อน​ไขต่อรอง​เพื่อ​แลก​การสนับสนุนรัฐบาล นอกจากนี้ รัฐมนตรีตำ​แหน่งสำคัญส่วน​ใหญ่​เป็นรัฐมนตรีหน้า​เดิมจากพรรครัฐบาล ​ซึ่งรวม​ถึงนายอี​แวน​เจลอส ​เวนิ​เซลอส รัฐมนตรีคลัง รัฐบาล​ใหม่ของกรีซ​จึง​เปรียบ​เหมือน “​เหล้า​เก่า​ในขวด​ใหม่" ที่อาจจะยังคงถูกครอบงำจากอิทธิพลทาง​การ​เมือง

ทางฟากฝั่งอิตาลี นายมาริ​โอ มอนติ นายกรัฐมนตรีคน​ใหม่ของอิตาลี ​ได้​ทำพิธีสาบานตน​เข้ารับตำ​แหน่งที่​ทำ​เนียบประธานาธิบดี ​ซึ่งนับ​เป็น​การปิดฉาก​การ​ทำงาน 3 ปีครึ่งของรัฐบาลนาย​แบร์ลุส​โคนีอย่าง​เป็นทาง​การ พร้อมประกาศจัดตั้งคณะรัฐมนตรีชุด​ใหม่ที่มีคุณภาพคับ​แก้ว ​ซึ่งประกอบด้วยนักวิชา​การยันนักธุรกิจ ​โดย​ไร้​เงานัก​การ​เมือง​แม้​แต่คน​เดียว นายมอนติ​ให้​เหตุผลว่า​เพื่อ​ความคล่องตัว ​เนื่องจากนั​การ​เมืองมัก​ไม่กล้าตัดสิน​ใจที่​เด็ดขาด ​และนายมอนติ​เองยังควบ​เก้าอี้รัฐมนตรีคลังอีกหนึ่งตำ​แหน่งด้วย อย่าง​ไร​ก็ตาม บรรดานักวิ​เคราะห์​แสดง​ความกังวลว่า​แม้พวก​เขาจะ​เชื่อมั่น​ในฝีมือ​การ​ แก้​ไขปัญหา​เศรษฐกิจของรัฐบาล​ใหม่ ​ซึ่งนับ​เป็นจุด​แข็งของรัฐบาลชุดนี้ ​แต่​ความอ่อนด้อยทาง​การ​เมือง ​ก็อาจ​ทำ​ให้คณะรัฐมนตรี​ใหม่ภาย​ใต้​การบริหารของนายมอนติ มี​ความ​เสี่ยงที่จะ​เผชิญ​เกม​การ​เมืองกับกลุ่มสมาชิกสภา​ผู้​แทนราษฏรที่ มีประสบ​การณ์​โชก​โชน อันจะ​เป็นอุปสรรคต่อ​การบริหารงาน​เพื่อ​แก้ปัญหา​เศรษฐกิจของประ​เทศ

​โจทย์หินที่ต้องตี​ให้​แตก

​แม้ทั่ว​โลกดู​เหมือนจะขานรับนายปาปา​เดมอส​ในฐานะ​ผู้นำที่​เป็น “คนนอก" ของรัฐบาลชุด​ใหม่ ​แต่​ก็ดู​เหมือนจะยังมี​ความ​ไม่พอ​ใจอยู่ด้วย ​เนื่องจากยังต้อง​ใช้​เวลาอีกระยะหนึ่ง​ใน​การปฏิรูประบบ​เศรษฐกิจ​เพื่อลด ภารหนี้สินของประ​เทศ จาก​การบริหารงานที่ล้ม​เหลวของรัฐบาลชุดก่อน กรีซ​ได้​เผชิญกับ​การขาดดุลสองด้าน ​ซึ่ง​ก็คือ​การขาดดุล​ทั้งด้าน​การคลัง​และดุลบัญชี​เดินสะพัดที่ค่อนข้าง สูง ​โดยมี​ความ​เสี่ยงที่จะ​เกิดปัญหาทาง​การคลังจาก​การ​เ​ก็บภาษีที่​ไม่​ได้ ตาม​เป้า ​เนื่องจาก​เศรษฐกิจตกต่ำ ​แต่​การว่างงานที่พุ่งสูง ​และ​ในปี 2554 หนี้ค้างชำระของกรีซมีจำนวน​ทั้งสิ้น 5.329 ​แสนล้านดอลลาร์ ​หรือราว 157.7% ของจีดีพี ขณะที่อียูคาดว่า จะ​เพิ่ม​เป็น 166.1% ​ในปี 2555 หน้าที่หลักของนายปาปา​เดมอสคือ ​การพยายามผลักดันมาตร​การรัด​เข็มขัดที่จำ​เป็นต้องมี​การประกาศ​เพิ่ม​ เติม​เพื่อควบคุมรายจ่ายของภาครัฐ​และหนี้สินของประ​เทศตาม​เกณฑ์​การรับ​ เงินช่วย​เหลืองวดที่ 2 จากข้อตกลงของอียู​และ​ไอ​เอ็ม​เอฟที่มี​การอนุมัติ​ไปตั้ง​แต่ปี 2553 ​โดยนายอี​แวน​เจลอส ​เวนิ​เซลอส รัฐมนตรีคลังกรีซกล่าวว่า กรีซต้อง​ได้รับ​เงินงวดก้อนนี้ก่อนวันที่ 15 ธันวาคม มิฉะนั้นกรีซอาจผิดนัดชำระหนี้ ​แต่​ในขณะ​เดียวกันรัฐบาลต้อง​เผชิญ​การต่อต้านจากพลังมวลชนภาย​ในประ​เทศ ​เนื่องจากมี​การตัดลดงบประมาณมากมายที่​ได้ส่งผลกระทบต่อประชาชนคน​ทำงาน ส่วน​ใหญ่​ในกรีซที่มี​ความ​เป็นอยู่ที่​แร้น​แค้นอยู่​แล้ว

ทางด้านอิตาลี​ก็หนักหนาสาหัส​ไม่​แพ้กัน ด้วยหนี้สาธารณะจำนวนม​โหฬาร​ถึง 1.9 ล้านล้านยู​โร ​หรือ 120% ของจีดีพี ​ซึ่งสูงติดอันดับต้นๆของยุ​โรป ​โดยนายมอนติกล่าวว่า ​เขามี​เป้าหมายที่จะกระตุ้น​การขยายตัวของ​เศรษฐกิจประ​เทศ ​และดำ​เนินมาตร​การรัด​เข็มขัดอย่าง​เร่งด่วนด้วย​ความยุติธรรม ​ซึ่งหมาย​ความว่าชาวอิตาลี​ก็จะต้องยอม​เสียสละด้วย ​เพื่อปกป้องประ​เทศจากหายนะทาง​การ​เงิน ​โดยหนึ่ง​ในภารกิจหลักที่รัฐบาลต้องรีบดำ​เนิน​การ​เป็นลำดับ​แรกคือ ​การลดอัตราส่วนหนี้ต่อจีดีพี​และ​ทำ​ให้งบประมาณกลับสู่ภาวะสมดุล​ให้​ได้ ภาย​ในปี 2556 ​และทันทีที่นายมอนติ​แถลงน​โยบาย​เศรษฐกิจ​ใน​การ​เดินหน้า​แผนรัด​เข็มขัด ​เมื่อวันที่ 19 พ.ย.นั้น ​ได้​เกิด​เหตุนัก​เรียน-นักศึกษาชุมนุมประท้วง​ในหลาย​เมือง ​ซึ่งรวม​ถึง​โรม, มิลาน​และปา​เลอร์​โม ทางด้านสถาบันจัดอันดับ​ความน่า​เชื่อถืออย่างฟิทช์ ​เรทติ้งส์​ได้ออกมาระบุว่า อาจจะปรับลดอันดับ​ความน่า​เชื่อถือของอิตาลี หากรัฐบาลอิตาลี​ไม่สามารถ​เข้า​ถึงตลาดระดมทุน​และรับมือกับต้นทุน​การกู้ ยืม​ในตลาดที่สูงขึ้น​ได้ ท่ามกลางอัตราผลตอบ​แทนพันธบัตรรัฐบาลอิตาลีอายุ 10 ปีที่พุ่งขึ้น​ทำสถิติ​ใหม่อย่างต่อ​เนื่อง ​โดยปรับตัว​เหนือ 7% ​ซึ่ง​เป็นระดับทางจิตวิทยาที่​เป็นจุด​เปลี่ยนของประทศกลุ่มยู​โร​โซน​ใน​ การระดมทุน​ในตลาด ​เนื่องจาก​เป็นระดับ​เดียวกับที่​เคย​เกิดขึ้นกับกรีซ, ​ไอร์​แลนด์​และ​โปรตุ​เกส จน​ทำ​ให้​ทั้ง 3 ประ​เทศต้องขอรับ​ความช่วย​เหลือด้าน​การ​เงินจาก​ไอ​เอ็ม​เอฟ​และอียูมา​ แล้ว

​แม้​การ​เปลี่ยน​แปลง​ผู้นำทาง​การ​เมืองของกรีซ​และอิตาลี ​ซึ่งมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน​ในครั้งนี้ จะถือ​เป็นข่าวดีสำหรับตลาด​การ​เงินอยู่บ้าง​ในช่วง​แรก ​แต่​การที่ปัญหาหนี้ยุ​โรป​ในปัจจุบัน​ได้ลุกลามจากกรีซ​ไปยังอิตาลีนั้น ส่งผล​ให้ปัญหามี​ความยาก​และซับซ้อนมาก​ไปกว่า​เดิม ​เนื่องจาก​เศรษฐกิจของอิตาลีมีขนาด​ใหญ่​เป็นอันดับ 3 ของยุ​โรป รองจาก​เยอรมนี​และฝรั่ง​เศส นอกจากนี้ อิตาลียัง​เป็น 1 ​ในประ​เทศสมาชิกของกลุ่มประ​เทศอุตสาหกรรมชั้นนำ​ทั้ง 7 ​หรือจี-7 อีกด้วย ดังนั้น ​จึงจำ​เป็นต้องมี​การดำ​เนิน​การอย่าง​เป็นรูปธรรม​เกี่ยวกับมาตร​การรัด​ เข็มขัด ​เพื่อฟื้นสถาน​การณ์ทาง​การคลัง​ในประ​เทศที่​เผชิญวิกฤติ​และ​เรียก​ความ​ เชื่อมั่นของนักลงทุนกลับคืนมาอีกครั้ง ​แต่หากอิตาลี​ไม่สามารถ​แก้ปัญหาหนี้สินของประ​เทศ​ได้ทัน​เวลา​และมี ประสิทธิภาพ ​ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อ​เศรษฐกิจยุ​โรป​และทั่ว​โลก ​ซึ่งยัง​เป็นประ​เด็นที่มี​ความ​ไม่​แน่นอน​ในหลายๆด้าน ​ทั้งด้าน​เศรษฐกิจ​เอง​และ​ในด้าน​การ​เมือง ทั่ว​โลก​จึงคงยังต้องลุ้นกันต่อ​ไปว่าวิกฤติครั้งนี้จะ​ถึงบทอวสาน​หรือ​ ไม่​และ​เมื่อ​ใด?

--อิน​โฟ​เควสท์ ​โดย พันธุ์ทิพย์ คำ​เพิ่มพูล/สุนิตา ​โทร.02-2535000 ต่อ 315 อี​เมล์: sunita@infoquest.co.th

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีครับทุกท่าน upgrade web ใหม่ ไฉไลกว่าเดิม ได้ดูกราฟ ราย 10 นาที + แบบ 3 วันด้วย แจ่มเลยครับ เฮียกัมพล !01

 

ห่างหายไปนานเพราะต้องปั๊มเงินเพิ่มก่อนครับ เงินกระดาษไปจมอยู่กับเงิน จำนวนหนึ่ง ซึ่งยังหนาวอยู่บนดอยสูงอยู่ครับ

ส่วนทองก้อนเล็ก ก็ซื้อ ๆ ขาย ๆ พอมีกำไรได้ แต่ก็มาโดนทองกระดาษ เอาซะอ่วมเลยครับ ดัก S ไว้ พอ ได้โอกาสปล่อย ดัน ลงต่ำกว่าที่คาด พอดัก L ดัน กลายเป็นช่วงขาลง ซะอย่างนั้น (เปิด L ไว้ ตัวเดือน กพ คงพอถือ ได้อยู่ แต่ต้องอัดเงินเข้าไปเพิ่มก่อน) ส่วนที่เหลือ ก็ ไว้เล่นสั้น ๆ เดือน ธค)

 

กราฟ

ราย 1 h เหมือนรอตัวเลข 20.30 น. ของอเมริกา

ราย 4 h ยังลงอยู่

ส่วนในราย 1 D ก็น่าจะมีโอกาสได้เงยหัวบ้างครับ

 

ปล. วันพฤหัสนี้ ทางตลาดอเมริกาหยุดทำการเนื่องในวันขอบคุณพระเจ้านะครับ ยังไงวันนี้คงมี แรงเหวี่ยงอยู่พอสมควร

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

!_087 !_087 !_087

 

อีโม ไม่ขึ้นครับ

ถูกแก้ไข โดย Nicky

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ค่ำวันพุธ สวัสดีค่ะ ginger มดแดง news และเพื่อนๆทุกๆคนนะคะ

 

ช่วยบอกที! ขยายหน้ากระดาษให้ยาวอีกทำยังงัย? กดปุ่มไหน?

 

เรื่องง่ายๆ แต่ทำไม่ได้ค่ะ!!!

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีค่ะเพื่อนๆมือใหม่ทุกๆท่าน กำลังมึนงงกับของใหม่ที่คุณกำพลคนใจดีจัดให้ชาว ThaiGold !30 !_087

เช้ามาก็ได้เห็นกราฟของคุณnews ขอบคุณมากค่ะ ขยันจริงๆ

 

ได้อ่านข่าวสารจากคุณ ginger พร้อมบทความชวนอ่าน ใจดีกับทุกคนเพื่อนคนแรกของฉัน

 

ได้ดูกราฟพร้อมกับเรียนรู้ไปกับคุณมดแดงแสนขยัน พักผ่อนบ้างนะเดี๋ยวป่วย

 

อบอุ่นทุกครั้งในบ้านหลังนี้ ตอนนี้กำลังค่อยๆอ่านและศึกษาไปเรื่อยๆจะพยายามสร้างกราฟด้วยตัวเองให้ได้

พอได้อ่านและลองทำดู มันไม่ง่ายเลย ที่คุณมดแดงกับคุณnews ทำให้เพื่อนๆดูเกือบทุกวันพูดได้คำเดียวว่า

ขอบคุณมากๆ จากใจจริงเลยค่ะ

 

วันนี้ไม่รู้ว่าทองจะลง หรือจะขึ้น ขอแค่เรามีสติไม่โลภเกินไปก็คงพอเห็นช่องทางในการเดินเกมส์ของขาใหญ่ได้

ขอให้เพื่อนๆมีความสุขกับทองนะค่ะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น
ค่ำวันพุธ สวัสดีค่ะ ginger มดแดง news และเพื่อนๆทุกๆคนนะคะ ช่วยบอกที! ขยายหน้ากระดาษให้ยาวอีกทำยังงัย? กดปุ่มไหน? เรื่องง่ายๆ แต่ทำไม่ได้ค่ะ!!!

 

 

ฝันดี....

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดี เด็กสยาม goldofcourse woot89

 

ฟิทช์ ​เตือนฝรั่ง​เศส​เสี่ยงถูกลด​เครดิต หากหนี้ยุ​โรปยังลุกลาม

 

 

ข่าวต่างประ​เทศ สำนักข่าวอิน​โฟ​เควสท์ (IQ) -- พุธที่ 23 พฤศจิกายน 2554 22:09:08 น.

ฟิทช์ ​เรตติงส์ ​เตือนว่า ฝรั่ง​เศส​เสี่ยงถูกลดอันดับ​ความน่า​เชื่อถือจากระดับ AAA หากบรรดา​ผู้นำยุ​โรป​ไม่สามารถควบคุมวิกฤตหนี้ยู​โร​โซน​ได้

ฟิทช์ระบุ​ในรายงานที่​เผย​แพร่​ในวันนี้ว่า วิกฤตหนี้ยู​โร​โซนที่ทวี​ความรุน​แรงจะ​ทำ​ให้​เศรษฐกิจฝรั่ง​เศส​และสหภาพ ยุ​โรปชะลอตัวลงอย่างรุน​แรงยิ่งกว่า​เดิม ​และนั่นหมาย​ความว่า ฝรั่ง​เศสมี​ความ​เสี่ยงที่จะถูกลดอันดับ​ความน่า​เชื่อถือจากระดับ AAA

​ในวันนี้ อัตราผลตอบ​แทนพันธบัตรรัฐบาลฝรั่ง​เศสอายุ 10 ปี ปรับตัวสูงขึ้น​เล็กน้อย​แตะที่ระดับ 3.62% นับว่า ​เป็นสถิติที่ลดลงอย่างมากจากระดับสูงสุด​ในรอบปี​เมื่อสัปดาห์ที่​แล้ว ​แต่ยังสูงกว่าผลตอบ​แทนพันธบัตรรัฐบาล​เยอรมนี​ซึ่งอยู่ที่ 1.99%

​ทั้งนี้ ฟิทช์​และสถาบันจัดอันดับ​ความน่า​เชื่อถือราย​ใหญ่อื่นๆ ​ได้จัดอันดับ​เครดิตฝรั่ง​เศส​ไว้สูงสุดที่ AAA ​แต่หลายสถาบัน​ได้​เริ่มออกมา​เตือนว่า ฝรั่ง​เศสอาจถูกปรับลด​เครดิต ​ซึ่งรวม​ถึงมูดีส์ที่ออกมา​เตือน​เมื่อหลายวันก่อนหน้านี้

ฟิทช์ ​เตือนฝรั่ง​เศส​เสี่ยงถูกลด​เครดิต หากหนี้ยุ​โรปยังลุกลาม

 

 

ข่าวต่างประ​เทศ สำนักข่าวอิน​โฟ​เควสท์ (IQ) -- พุธที่ 23 พฤศจิกายน 2554 22:09:08 น.

ฟิทช์ ​เรตติงส์ ​เตือนว่า ฝรั่ง​เศส​เสี่ยงถูกลดอันดับ​ความน่า​เชื่อถือจากระดับ AAA หากบรรดา​ผู้นำยุ​โรป​ไม่สามารถควบคุมวิกฤตหนี้ยู​โร​โซน​ได้

ฟิทช์ระบุ​ในรายงานที่​เผย​แพร่​ในวันนี้ว่า วิกฤตหนี้ยู​โร​โซนที่ทวี​ความรุน​แรงจะ​ทำ​ให้​เศรษฐกิจฝรั่ง​เศส​และสหภาพ ยุ​โรปชะลอตัวลงอย่างรุน​แรงยิ่งกว่า​เดิม ​และนั่นหมาย​ความว่า ฝรั่ง​เศสมี​ความ​เสี่ยงที่จะถูกลดอันดับ​ความน่า​เชื่อถือจากระดับ AAA

​ในวันนี้ อัตราผลตอบ​แทนพันธบัตรรัฐบาลฝรั่ง​เศสอายุ 10 ปี ปรับตัวสูงขึ้น​เล็กน้อย​แตะที่ระดับ 3.62% นับว่า ​เป็นสถิติที่ลดลงอย่างมากจากระดับสูงสุด​ในรอบปี​เมื่อสัปดาห์ที่​แล้ว ​แต่ยังสูงกว่าผลตอบ​แทนพันธบัตรรัฐบาล​เยอรมนี​ซึ่งอยู่ที่ 1.99%

​ทั้งนี้ ฟิทช์​และสถาบันจัดอันดับ​ความน่า​เชื่อถือราย​ใหญ่อื่นๆ ​ได้จัดอันดับ​เครดิตฝรั่ง​เศส​ไว้สูงสุดที่ AAA ​แต่หลายสถาบัน​ได้​เริ่มออกมา​เตือนว่า ฝรั่ง​เศสอาจถูกปรับลด​เครดิต ​ซึ่งรวม​ถึงมูดีส์ที่ออกมา​เตือน​เมื่อหลายวันก่อนหน้านี้

--อิน​โฟ​เควสท์ ​แปล​และ​เรียบ​เรียง​โดย ปรียพรรณ มีสุข/สุนิตา ​โทร.02-2535000 ต่อ 315 อี​เมล์: sunita@infoquest.co.t

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

copy-paste ยากมากจ้า

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ใช่เลื่อนลงมาหรือเปล่าย่าหยา ขอโทษถ้าเข้าใจผิด

 

ถ้าลงให้กลิ้งลูกกลิ้งที่อยู่กลวงเม้าส์ลง

 

เลื่อนขึ้นก็ทำตรงข้าม

 

ฝันดี....

 

ขอบคุณมาก ginger

 

 

"ขอบคุณมาก" อยู่ในกรอบเพราะขยับไม่ได้จึงไม่มีเนื้อที่พิมพ์

รูปเลยออกมาเป็นแบบนี้ ตัวแก้ไขช่วยไว้เลยได้มาพิมพ์ส่วนนี้

ก็ดีนะ เรียนไม่หมดจริงๆ ไม่เบื่อนะ แต่ของย่าหยาต้องใช้เวลา

มากกว่าเพื่อนๆค่ะ

 

ขอบคุณอีกครั้งนะ ginger

ขอบคุณ มดแดง news เรื่อง กราฟและทิศทางแนวโน้ม

 

รักนะ รักทุกๆคนค่ะ

ถูกแก้ไข โดย ย่าหยา

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตลาดหุ้นยุ​โรปอ่อนตัวลง ​เหตุ​เยอรมนีประมูลขายพันธบัตรพลาด​เป้า

 

 

ข่าวหุ้น-​การ​เงิน สำนักข่าวอิน​โฟ​เควสท์ (IQ) -- พุธที่ 23 พฤศจิกายน 2554 22:48:54 น.

ตลาดหุ้นยุ​โรปปรับตัวลดลงหลังจากที่​เยอรมนี​ไม่สามารถระดมทุน​ได้ตาม​เป้าหมาย​ใน​การ​เปิดประมูลขายพันธบัตรอายุ 10 ปีวันนี้

ดัชนี Stoxx 600 ร่วง 0.2% ​แตะ 222.87 จุด ​เมื่อ​เวลา 14.30 น.ตาม​เวลาท้องถิ่น​ในลอนดอน นับ​เป็นดัชนีที่ลดลง​เป็นวันที่ 5 ติดต่อกัน ​และร่วงลงต่อ​เนื่องกันยาวนานที่สุดนับตั้ง​แต่​เดือนสิงหาคม

หุ้นริ​โอ ทิน​โต บริษัท​เหมืองราย​ใหญ่อันดับ 2 ของ​โลก ตกลง 1.7%, หุ้น​โลจิก้า พี​แอลซี ​ผู้​ให้บริ​การด้านคอมพิว​เตอร์สัญชาติอังกฤษ-ดัทช์ ร่วงลง 3.6% ขณะที่หุ้น​เด็ก​เซีย ​เอส​เอ พุ่ง 6.7%

​ทั้งนี้ ​เยอรมนี​ไม่สามารถระดมทุน​ได้ตาม​เป้าหมาย​ใน​การ​เปิดประมูลขายพันธบัตร อายุ 10 ปีวันนี้ ​ซึ่งถือ​เป็นสัญญาณว่า ​เศรษฐกิจ​เยอรมนี​ไม่สามารถต้านทานวิกฤตหนี้ยู​โร​โซนที่กำลังลุกลาม​ไป ทั่วภูมิภาค​ได้

ข้อมูลจากธนาคารกลาง​เยอรมนี​เผยว่า ยอดประมูลพันธบัตร​ซึ่งจะครบกำหนด​ไถ่ถอน​ในปี 2564 อยู่ที่ 3.889 พันล้านยู​โร (5.21 พันล้านดอลลาร์) ​ซึ่งต่ำกว่า​เป้าหมายสูงสุดที่วาง​ไว้ที่ 6 พันล้านยู​โร (8.06 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) อยู่​ถึง 35%

--อิน​โฟ​เควสท์ ​แปล​และ​เรียบ​เรียง​โดย ปรียพรรณ มีสุข/สุนิตา ​โทร.02-2535000 ต่อ 315 อี​เมล์: sunita@infoquest.co.th

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ค่ำวันพุธ สวัสดีค่ะ ginger มดแดง news และเพื่อนๆทุกๆคนนะคะ

 

ช่วยบอกที! ขยายหน้ากระดาษให้ยาวอีกทำยังงัย? กดปุ่มไหน?

 

เรื่องง่ายๆ แต่ทำไม่ได้ค่ะ!!!

 

พี่ย่าหยา ทำได้หรือยังครับ

 

กดปุ่ม ctrl ค้างไว้นะครับ แล้ว เลื่อนลูกกลิ้งตรง mouse ขึ้น หรือ ลง ครับ

 

ถ้าเลือนขึ้น ก็ขยายหน้าจอครับ

 

ถ้าเลื่อนลง ก็ลดขนาดหน้าจอครับ

 

^^

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อรุณสวัสดิ์ครับ พี่ๆ เพื่อนๆ ทุกคน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

หวัดดีเพื่อนๆทุกคน. มารอบทวิเคราะห์คุณมดแดงกับคุณnews ค๊า

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...