ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

พบกับ รีรันรายการ "รู้ก่อนรวยกว่า" @TNN24 ประจำวันที่ 18/9/56 ได้แล้วครับ

 

 

คุณณัฐฑี จุฑาวรากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คลาสสิก โกลด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด ร่วมพูดคุยเกี่ยวกับแนวโน้ม

ราคาทองคำและปัจจัย ที่มีผลทำให้ราคาทองคำขึ้นและลง พร้อมทั้งคำแนะนำสำหรับการลงทุน ในรายการ Money Daily

ทางสถานีโทรทัศน์ Modern9 วันพุธที่ 18 กันยายน 2556

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น
กลยุทธ์ลงทุนทอง-อนุพันธ์ 18 ก.ย.56 vdo.gif พลิกกลยุทธ์ลงทุนทองคำ-อนุพันธ์ภาคบ่าย 18 ก.ย.56 ช่วงพลิกเกม ติดตามได้ใน Market Wise กลยุทธ์ลงทุนตลาดหุ้นภาคบ่าย 18 ก.ย.56 vdo.gif กลยุทธ์การลงทุนตลาดหุ้นภาคบ่าย 18 ก.ย.56 ช่วงพลิกเกม ติดตามได้ใน Market Wise ตั้ง'สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์'เป็นปธ.ตลาดหุ้น บอร์ดตลาดหลักทรัพย์ มีมติเลือก "สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์" ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ คนที่ 15 มีผลตั้งแต่ 18 ก.ย. ก.ล.ต.เผยสิ้นก.ย.กล่าวโทษปั่นหุ้น5ราย สรุปภาวะซื้อขายหุ้นไทยภาคเช้า 18 ก.ย.56 vdo.gif หุ้นเช้าปิดร่วง3จุดลุ้นผลประชุมเฟด คลังมั่นใจเงินกู้ 2 ล้านล้านผ่านสภาแน่

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Nation Channel

 

 

"อยุธยา"น้ำขึ้นวันละ 20 ซม. #น้ำท่วม #สังคม #nationchannel

 

 

In Focus: มองศึกเลือกตั้งใหญ่เมืองเบียร์ สู่อนาคตใต้บังเหียน “หญิงเหล็กแห่งยูโรโซน

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 18 กันยายน 2556 14:00:25 น.

นอกเหนือไปจากทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และสถานการณ์ความวุ่นวายจากกรณีที่มีข้อกล่าวหาว่ารัฐบาลซีเรียใช้อาวุธเคมีในการเข่นฆ่าประชาชนของตนเองนั้น อีกเหตุการณ์สำคัญที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ระบุให้เป็นประเด็นจับตาประจำเดือนก.ย.ก็คือการเลือกตั้งทั่วไปในเยอรมนีที่จะมีขึ้นในวันที่ 22 ก.ย.นี้ ซึ่งชาวเยอรมันต้องตัดสินใจว่าจะยังคงให้รัฐบาลชุดปัจจุบันบริหารประเทศต่อไปหรือไม่ ด้วยความที่เยอรมนีเป็นทั้งมหาอำนาจทางเศรษฐกิจและการเมืองของโลก ความเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองใดๆที่อาจจะมีขึ้นย่อมต้องส่งผลไม่มากก็น้อยต่อทิศทางการดำเนินนโยบายทั้งในทางการเมืองและเศรษฐกิจของหลายประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคยูโรโซน ที่มีเยอรมนีเป็นหัวเรือใหญ่

ระบบการเลือกตั้งในเยอรมนี

ตามระบบการเลือกตั้งของเยอรมนีนั้น ผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งแต่ละคนมีสิทธิลงคะแนน 2 ครั้ง โดยครั้งแรกเป็นการเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งเพื่อเป็นผู้แทนในเขตเลือกตั้งของตน และครั้งที่สองเป็นการเลือกพรรคการเมือง

ผู้แทนจากเขตเลือกตั้งต่างๆมีจำนวนทั้งสิ้น 299 ที่นั่ง ซึ่งแต่ละคนจะต้องได้คะแนนเสียงส่วนใหญ่จากแต่ละเขตจึงจะสามารถมีสิทธิเข้าไปทำหน้าที่ในสภาผู้แทนราษฎร

ส่วนอีก 299 ที่นั่งมาจากสัดส่วนของแต่ละพรรคการเมือง ซึ่งจะประเมินจากคะแนนเสียงที่พรรคได้รับจากการลงคะแนนทั่วประเทศ แต่มีข้อแม้ว่าพรรคการเมืองที่จะได้เข้าไปนั่งในสภาผู้แทนราษฎรจะต้องได้คะแนนเสียงอย่างน้อยที่สุด 5% หรือคิดเป็นจำนวนผู้แทนอย่างน้อย 3 ที่นั่ง

ทั้งนี้ ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ชนะการเลือกตั้งในเขตต่างๆจะได้สิทธิในการเข้าไปนั่งในสภาผู้แทนราษฎรอย่างแน่นอน ไม่ว่าผลคะแนนของพรรคการเมืองที่พวกเขาสังกัดอยู่จะออกมาเช่นไรก็ตาม นี่จึงส่งผลให้จำนวนที่นั่งทั้งหมดในรัฐสภามักจะสูงกว่าจำนวนโดยหลักการที่ 598 ที่นั่ง และภายใต้ระบบการเลือกตั้งแบบนี้ จึงไม่มีพรรคการเมืองพรรคใดได้รับคะแนนเสียงข้างมากอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดมานับแต่ปี 2500 หรือกว่า 50 ปีมาแล้ว ดังนั้น รัฐบาลผสมจึงกลายเป็นรูปแบบมาตรฐานของการเมืองเยอรมนีไปโดยปริยาย

ในปัจจุบัน สภาผู้แทนราษฎรของเยอรมนี หรือที่เรียกว่า Bundestag ประกอบด้วยสมาชิก 620 คนที่เป็นตัวแทนจากพรรคการเมืองที่สำคัญๆ โดยพรรคการเมืองที่ครองที่นั่งมากที่สุดจำนวน 193 ที่นั่ง ก็คือพรรคคริสเตียน เดโมเครติค ยูเนียน (CDU) ของนายกรัฐมนตรีอังเกล่า แมร์เคลนั่นเอง ขณะที่พรรคร่วมรัฐบาลในปัจจุบัน ซึ่งได้แก่พรรคฟรี เดโมเครติค พาร์ตี (FDP) ที่สนับสนุนภาคธุรกิจ และพรรคคริสเตียน โซเชียล ยูเนียน (CSU) ซึ่งเป็นพรรคแนวร่วมที่มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับพรรค CDU นั้น ครองสัดส่วน 93 และ 44 ที่นั่ง ตามลำดับ

ส่วนพรรคโซเชียล เดโมเครติค พาร์ตี (Sozialdemokratische Partei Deutschlands: SPD) ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านที่สำคัญภายใต้การนำของนายเพียร์ สไตน์บรูค มีที่นั่งในรัฐสภา 146 ที่นั่ง ขณะที่พรรค Left และพรรค Greens เป็นเจ้าของ 75 และ 68 ที่นั่ง ตามลำดับ โดยอีก 1 ที่นั่งเป็นของผู้แทนอิสระ

สำหรับพรรค CDU และ พรรค CSU นั้น มีอุดมการณ์ที่สอดคล้องกันและได้ตกลงที่จะทำงานร่วมกัน จึงมักเรียกทั้งสองพรรครวมกันว่า CDU/CSU

การเลือกตั้งในครั้งนี้ ดูเหมือนว่านายกรัฐมนตรีหญิงคนปัจจุบันของเยอรมนี จะมีภาษีดีกว่าผู้นำฝ่ายค้าน ในการก้าวขึ้นมาบริหารประเทศต่ออีกสมัย เมื่อพิจารณาจากฝีไม้ลายมือและผลงานในการจัดการกับวิกฤตหนี้ยูโรโซน ด้วยการตัดสินใจที่เด็ดขาดและจริงจังในการผลักดันให้มีการลดหนี้สินของประเทศต่างๆโดยการลดรายจ่ายของภาครัฐบาล จนนางแมร์เคลกลายเป็นเครื่องหมายการค้าของ “มาตรการรัดเข็มขัด"

การรณรงค์มาตรการรัดเข็มขัดดังกล่าวได้สร้างความไม่พอใจอย่างมากแก่ประชาชนในกลุ่มประเทศที่ประสบปัญหาหนี้สินท่วมตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศทางตอนใต้ของยุโรป ซึ่งเศรษฐกิจที่อยู่ในภาวะชะงักงันอยู่แล้ว ต้องซบเซาหนักขึ้นไปอีกจากมาตรการลดรายจ่ายของภาครัฐ

แต่ในเยอรมนีเองนั้น คะแนนนิยมของนางแมร์เคลกลับเพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งเป็นผลมาจากแนวทางที่เธอจัดการกับวิกฤตเศรษฐกิจภูมิภาค และแม้ว่าเยอรมนีจะยังคงมีภาระอันหนักอึ้งในการเป็นผู้จ่ายเงินสมทบรายใหญ่ให้กับภูมิภาค แต่เศรษฐกิจเยอรมนีที่ปรับตัวดีขึ้นในช่วงที่ผ่านมาก็ถือเครื่องยืนยันถึงทักษะและความเชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการเศรษฐกิจของนายกรัฐมนตรีหญิงของเยอรมนี ซึ่งตอกย้ำให้เห็นว่าเยอรมนีเป็นกลจักรขับเคลื่อนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและเป็นเสาหลักแห่งความมีเสถียรภาพของยูโรโซน

ด้านนายสไตน์บรูค คู่แข่งจากฝ่ายค้าน SPD ต้องเผชิญศึกหนัก หลังจากที่ทางพรรคสูญเสียคะแนนนิยมไปราว 10 ล้านเสียงนับตั้งแต่นายแกร์ฮาร์ด ชโรเดอร์ เป็นผู้นำพรรคในปี 2541 และตัวของนายสไตน์บรูคเองก็ถูกมองว่าไม่มีความเชี่ยวชาญทางด้านเศรษฐกิจและการเงิน เมื่อเทียบกับในประเด็นทางสังคม ซึ่งพรรค SPD ชูประเด็นความเป็นธรรมทางสังคมเป็นเดิมพันสำคัญในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งครั้งนี้ โดยในระหว่างการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งที่เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนก.ค. นายสไตน์บรูคได้มุ่งเน้นไปที่การปรับขึ้นค่าจ้างและสวัสดิการต่างๆ เพื่อหวังดึงคะแนนเสียงจากประชาชน พร้อมกับโจมตีนโยบายรัดเข็มขัดของฝั่งรัฐบาลว่าเป็นนโยบายที่มีข้อจำกัด และอาจจะทำให้การขยายตัวของสหภาพยุโรป (อียู) หยุดชะงักลง และระบุว่าเยอรมนีจำเป็นต้องทบทวนบทบาทของประเทศภายในกลุ่มอียู โดยกล่าวว่าเยอรมนีต้องการสังคมที่มีเพื่อนบ้านที่ดี

อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์มองว่า การมุ่งเน้นประเด็นทางสังคมในการหาเสียงของนายสไตน์บรูคไม่มีแนวโน้มว่าจะสามารถเอาชนะใจกลุ่มผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงที่เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ โดยประเด็นความเป็นธรรมทางสังคมยังคงเป็นจุดแข็งเพียงจุดเดียวของพรรค SPD และที่ผ่านมาก็ไม่เคยช่วยให้พรรคได้คะแนนเสียงเพิ่มหรือทำให้ผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งมีความเชื่อมั่นมากขึ้นแต่อย่างใด จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องหาเสียงโดยใช้ประเด็นนี้อีก

กรีซ: ประเด็นต้องห้ามสำหรับรัฐบาล

ในช่วงก่อนถึงวันเลือกตั้งทั่วไป แม้ว่าพรรครัฐบาลจะชูประเด็นความสามารถในการบริหารจัดการเศรษฐกิจให้ผ่านพ้นช่วงวิกฤตของยูโรโซนมาได้ แต่เรื่องที่ไม่มีใครต้องการให้สื่อหรือประชาชนถามถึงมากนัก ก็คือประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกรีซ ที่เป็นเหมือนจุดอ่อนในยูโรโซน หลังจากที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เคยออกมากเตือนเมื่อเดือนก.ค.ว่า กรีซจำเป็นต้องปรับลดหนี้สินในเร็วๆนี้ หากไม่สามารถจัดระเบียบฐานะการเงินของประเทศได้

แต่นางแมร์เคลและนายวูล์ฟกัง ชอยเบิล รมว.คลังเยอรมนี ไม่ได้ให้ความสนใจกับคำเตือนจากไอเอ็มเอฟ โดยกระทรวงการคลังของเยอรมนีได้ปฏิเสธกระแสคาดการณ์ที่ว่า กรีซจำเป็นต้องได้รับเงินกู้เพิ่มเติมจากบรรดาประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปภายในต้นปี 2557 ขณะที่นักวิเคราะห์มองว่า นางแมร์เคลและนายชอยเบิลระบุว่ากรีซอาจจะต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติม แต่ไม่ใช่ก่อนปี 2557 ซึ่งเป็นช่วงที่การเลือกตั้งของเยอรมนีได้ผ่านพ้นไปเรียบร้อยแล้ว

ส่วนนายสไตน์บรูค คู่แข่งจากพรรค SPD ใช้โอกาสกล่าวโจมตีว่า รัฐบาลชุดปัจจุบันกำลังปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับแผนการช่วยเหลือสำหรับกรีซ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อฐานะการเงินภาคสาธารณะของเยอรมนี ที่ถือเป็นผู้จ่ายเงินสมทบรายใหญ่ในภูมิภาค โดยก่อนหน้านี้ กรีซต้องขอรับความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจมาแล้ว 2 ครั้งจากสหภาพยุโรป (อียู) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) และธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) โดยครั้งแรกในเดือนพ.ค.2553 ในวงเงิน 1.1 แสนล้านยูโร และครั้งที่ 2 ในเดือนก.พ.2555 อีก 1.4 แสนล้านยูโร

ดีเบต: เวทีประชันกึ๋นผู้นำ

เมื่อช่วงต้นเดือนนี้ นางแมร์เคล นายกรัฐมนตรีหญิงและผู้นำพรรค CDU ได้เปิดศึกโต้วาทีเพื่อประชันวิสัยทัศน์กับนายสไตน์บรูค ผู้นำฝ่ายค้านและหัวหน้าพรรค SPD ซึ่งเป็นการดีเบตที่มีการถ่ายทอดสดผ่านทางสถานีโทรทัศน์ที่สำคัญหลายช่องของเยอรมนีเป็นเวลา 90 นาที โดยมีผู้ชมการถ่ายทอดราว 17 ล้านคน

ผลสำรวจความคิดเห็นระบุว่าครึ่งหนึ่งของชาวเยอรมันที่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งได้ชมการแสดงวิสัยทัศน์ทางโทรทัศน์ ขณะที่ 1 ใน 3 ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าการโต้วาทีดังกล่าวอาจจะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจลงคะแนนของพวกเขา ชาวเยอรมันโดยทั่วไปมองว่าการดีเบตในครั้งนี้เป็นความพยายามครั้งสุดท้ายของนายสไตน์บรูคที่จะโน้มน้าวผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงที่ยังมีความลังเล ในขณะที่เหลือเวลาอีกไม่มากก่อนถึงวันเลือกตั้ง

การดีเบตดังกล่าวมีการตั้งกระทู้ถามในประเด็นต่างๆที่รวมถึงภาษี, ค่าจ้าง, นโยบายของเยอรมนีต่อวิกฤตหนี้ยูโรโซน รวมทั้งสถานการณ์ในซีเรีย

ในระหว่างการโต้วาที นางแมร์เคลชูประเด็นอัตราว่างงานที่ระดับต่ำของเยอรมนี ซึ่งใกล้เคียงระดับต่ำสุดนับแต่มีการรวมชาติเยอรมนีในปี 2533 โดยระบุว่าเยอรมนีเป็นกลไกขับเคลื่อนการขยายตัว และเป็นหลักสำคัญของความมีเสถียรภาพในยุโรป เธอกล่าวว่าต้องการที่จะสานต่อแนวทางนี้ต่อไป

นางแมร์เคลกล่าวว่า แผนการปรับขึ้นภาษีมีความเสี่ยงที่จะบั่นทอนสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่กำลังไปได้ดีของประเทศ โดยเศรษฐกิจของเยอรมนีในช่วงไตรมาส 2 ปีนี้ มีการขยายตัว 0.7% เมื่อเทียบกับไตรมาสแรก ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่แข็งแกร่งสุดนับแต่ช่วงไตรมาสแรกปี 2555 ขณะที่เศรษฐกิจที่แข็งแกร่งในเยอรมนีได้ช่วยหนุนความเชื่อมั่นว่ายูโรโซนจะหลุดพ้นจากภาวะถดถอยที่เรื้อรังได้ในเร็วๆนี้

พรรค CDU ของนายกรัฐมนตรีหญิงเยอรมนี ไม่เห็นด้วยกับแนวทางการปรับขึ้นภาษี แต่สนับสนุนให้มีการทำข้อตกลงค่าจ้างขั้นต่ำระหว่างนายจ้างและสหภาพแรงงานที่มีแตกต่างกันในแต่ละภาคอุตสาหกรรมและแต่ละภูมิภาค

นางแมร์เคลเน้นย้ำถึงการปฏิรูปเชิงโครงสร้างและการลดรายจ่ายของประเทศที่มีภาระหนี้สิน โดยระบุว่าเป็นความรับผิดชอบของเธอในฐานะนายกรัฐมนตรีที่จะยังคงกดดันให้มีการปฏิรูปในกรีซต่อไป

ส่วนนายสไตน์บรูคเน้นย้ำถึงความเป็นธรรมทางสังคมมากขึ้น และแผนการที่จะใช้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่ 8.50 ยูโร (11.35 ดอลลาร์) ต่อชั่วโมง โดยชี้ถึงความเป็นจริงที่ว่าประชาชน 7 ล้านคนยังมีรายได้ต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำดังกล่าว และยังต้องการให้มีการปรับขึ้นอัตราภาษีสำหรับผู้ที่มีรายได้เกิน 100,000 ยูโร จากเดิมที่ 42% เป็น 49%

สำหรับประเด็นวิกฤตหนี้ยูโรโซนนั้น นายสไตน์บรูคเรียกร้องให้มีมาตรการที่เป็นเอกภาพมากขึ้นสำหรับประเทศสมาชิกยูโรโซนที่มีปัญหาหนี้สิน ซึ่งรวมถึงกรีซ โดยเขาวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลของนางแมร์เคลว่าทำให้ชาวเยอรมันที่มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเข้าใจผิดเกี่ยวกับความเสียหายจากการให้ความช่วยเหลือกรีซอีกครั้ง และเขาเรียกร้องให้นางแมร์เคลออกมาพูดความจริงว่าเยอรมนีจะต้องช่วยเหลือกรีซไปอีกนานเพียงใด

ส่วนในประเด็นวิกฤตซีเรยนั้น ทั้งสองไม่ต้องการให้เยอรมนีเข้าไปมีส่วนร่วมในการโจมตีทางทหารต่อซีเรีย ขณะที่ผลสำรวจความคิดเห็นในช่วงที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าชาวเยอรมันกว่าครึ่งคัดค้านปฏิบัติการทางทหารของชาติตะวันตกในซีเรีย

สูตรการจัดตั้งรัฐบาลผสม

ผลสำรวจความคิดเห็นจากหลายสำนักในช่วงก่อนถึงวันเลือกตั้งต่างออกมาในทิศทางเดียวกัน นั่นก็คือคะแนนนิยมของพรรค CDU/ CSU อยู่ที่ 40% ขึ้นไป ซึ่งอาจจะเพียงพอที่จะชนะการเลือกตั้งอีกสมัยและได้จัดตั้งรัฐบาลโดยไม่ต้องรวมกับพรรค FDP ขณะที่พรรค SPD จะได้คะแนนเสียงราว 25% ส่วนพรรค Greens จะมีคะแนน 12-14% ขณะที่พรรค FDP จะคว้าไปได้อย่างน้อย 5% ซึ่งถือเป็นเกณฑ์ขั้นต่ำในการเข้าร่วมในสภาผู้แทนราษฎรของเยอรมนี หรือ Bundestag

อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีความชัดเจนว่า พรรค FDP จะสามารถผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ ที่ 5% ดังกล่าว เพื่อที่จะเข้าร่วมในรัฐบาลผสมภายใต้การนำของนางแมร์เคลได้หรือไม่ จึงทำให้มีความเป็นไปได้อีกแนวทางหนึ่ง นั่นก็คือรัฐบาลผสมที่เรียกกันว่า Grand Coalition โดยเป็นการร่วมงานกันระหว่างพรรคใหญ่ ซึ่งได้แก่ CDU/CSU และพรรค SPD แต่นายสไตน์บรูค ผู้นำพรรค SPD ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมรัฐบาลผสมในรูปแบบดังกล่าว

ส่วนแนวทางการจัดตั้งรัฐบาลผสมที่พรรค SPD ต้องการก็คือการจับมือกับพรรค Greens แต่ดูเหมือนว่าแนวโน้มจะห่างไกลความจริง เนื่องจากผลสำรวจความคิดเห็นส่วนใหญ่แสดงให้เห็นว่าเมื่อรวมคะแนนเสียงของทั้ง 2 พรรคแล้ว จะได้เกิน 35% ไม่มากนัก เทียบกับพรรค CDU/CSU ที่ได้ไปกว่า 40%

นอกจากนี้ สื่อยังมีการพูดถึงแนวทางจัดตั้งรัฐบาลผสมอื่นๆอีก เช่น CDU/CSU/Greens หรือ SPD/Greens/Left แต่มีการมองกันว่า สูตรเหล่านี้ไม่มีแนวโน้มที่จะเป็นไปได้

ประวัติโดยสังเขป

“อังเกล่า แมร์เคล"

นางอังเกล่า แมร์เคล ผู้นำหญิงวัย 59 ปี ถือกำเนิดที่เมืองฮัมบวร์ก เยอรมนีในปี 2497 และหลังจากมีอายุได้เพียงไม่กี่เดือน ก็ได้ย้ายไปอยู่ที่เมืองเล็กๆแห่งหนึ่งในเยอรมนีตะวันออก และเติบโตขึ้นในเขตชนบทนอกกรุงเบอร์ลิน

นางแมร์เคลมีพรสวรรค์ทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และภาษาต่างๆ โดยสำเร็จการศึกษาดุษฎีบัณฑิตสาขาฟิสิกส์ในปี 2521 หลังจากนั้นได้ทำงานเป็นนักเคมีที่สถาบันวิทยาศาสตร์แห่งหนึ่งในเบอร์ลินตะวันออก

นางแมร์เคลไม่เคยยุ่งเกี่ยวกับการเมือง จนกระทั่งอายุ 36 ปี เมื่อเธอได้มีส่วนร่วมในการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยในปี 2532 และเมื่อกำแพงเบอร์ลินพังทลายลง นางแมร์เคลได้รับตำแหน่งโฆษกรัฐบาลหลังการเลือกตั้งตามระบอบบประชาธิปไตยเป็นครั้งแรกของเยอรมนี

ช่วง 2 เดือนก่อนที่จะมีการรวมชาติเยอรมนี นางแมร์เคลได้เข้าร่วมพรรค CDU และภายใน 3 เดือน เธอได้เข้าร่วมคณะรัฐมนตรีและเข้าทำหน้าที่ในรัฐสภาครั้งแรกในฐานะรัฐมนตรีที่ดูแลด้านสตรีและเยาวชนในปี 2533 จนกระทั่งก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งผู้นำพรรค CDU ในปี 2543

ในปี 2548 นางแมร์เคลสามารถเอาชนะนายแกร์ฮาร์ด ชโรเดอร์ นายกรัฐมนตรีจากพรรค SPD ในขณะนั้น และกลายเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของเยอรมนี โดยเป็นผู้นำของรัฐบาลผสมที่เรียกกันว่า Grand Coalition เนื่องจากเป็นการร่วมงานกันของพรรคการเมืองขนาดใหญ่หลายพรรค ซึ่งรวมถึงพรรค SPD ด้วย

หลังจากนั้นในปี 2552 นางแมร์เคลได้รับความไว้วางใจจากชาวเยอรมันให้ดำรงตำแหน่งผู้นำประเทศเป็นสมัยที่ 2 โดยในครั้งนี้มีการจัดตั้งรัฐบาลผสมร่วมกับพรรค FDP ที่เน้นการส่งเสริมภาคธุรกิจ

ทั้งนี้ เมื่อเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา นิตยสารฟอร์บส์ ซึ่งเป็นนิตยสารชั้นนำของสหรัฐ ได้ยกย่องให้ นางอังเกล่า แมร์เคล ผู้นำหญิงแห่งเยอรมนี ครองตำแหน่งสตรีผู้ทรงอิทธิพลอันดับ 1 ของโลกติดต่อกันเป็นปีที่ 3 ในปีนี้ โดยการจัดอันดับสตรีผู้ทรงอิทธิพลประจำปีของนิตยสารฟอร์บส์นั้น ได้ครอบคลุมถึงผู้หญิงในการเมืองระดับโลก นักธุรกิจ สื่อสารมวลชน วงการบันเทิง เทคโนโลยี และ หน่วยงานที่ไม่ได้แสวงหากำไร

“เพียร์ สไตน์บรูค"

นายเพียร์ สไตน์บรูค วัย 66 ปี เกิดเมื่อปี 2490 ที่เมืองฮัมบวร์กเช่นเดียวกับนางแมร์เคล โดยเขาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยคีล ประเทศเยอรมนีในปี 2517

นายสไตน์บรูคเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีคลังในช่วงที่นางแมร์เคลทำหน้าที่นายกรัฐมนตรีเป็นสมัยแรก และเมื่อปีที่แล้วเขาได้รับเลือกจากบรรดาผู้นำพรรค SPD ให้เป็นตัวแทนพรรคในการชิงชัยในการเลือกตั้งทั่วไปของเยอรมนี โดยเขานับเป็นความหวังที่ดีที่สุดที่จะช่วยให้พรรค SPD ได้กลับมาบริหารประเทศอีกครั้ง หลังจากที่เคยเป็นพรรครัฐบาลภายใต้การนำของอดีตนายกรัฐมนตรีแกร์ฮาร์ด ชโรเดอร์ในช่วงปี 2541-2548

ในการเลือกตั้งทั่วไปในวันอาทิตย์ที่ 22 ก.ย.นี้ แม้ผลการเลือกตั้งที่ออกมาไม่น่าจะไม่พลิกโผไปจากที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดกันไว้ว่านางอังเกล่า แมร์เคล จะได้กลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของเยอรมนีอีกครั้งเป็นสมัยที่ 3 แต่สิ่งที่จะต้องจับตาดูกันต่อไปและน่าจะมีความชัดเจนมากขึ้นหลังการเลือกตั้งทั่วไปเสร็จสิ้นลง ก็คือสูตรในการจับขั้วรัฐบาลผสม รวมถึงแนวทางในการดำเนินนโยบายต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการบริหารจัดการเศรษฐกิจทั้งในประเทศและในภูมิภาคยูโรโซน ซึ่งยังมีปัญหารอให้สะสางและเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวจากวิกฤตหนี้อย่างเต็มที่ ขณะที่ทั่วโลกหวังว่าการกลับมาครองเก้าอี้นายกรัฐมนตรีอีกสมัยของนางแมร์เคลซึ่งน่าจะทำให้เสถียรภาพของยูโรโซนเข้มแข็งขึ้นไม่มากก็น้อย...

อินโฟเควสท์ โดย พันธุ์ทิพย์ คำเพิ่มพูล/สุนิตา โทร.02-2535000 ต่อ 315 อีเมล์: sunita@infoquest.co.th--

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

http://www.naewna.com/local/69094

โล้นฉาวพังงาสึกแล้ว!!หลังคลิปมั่วสีกาว่อนเน็ต

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

1238790_515337235215652_1869780070_n.jpg

ข่าวเย็นค่ะ โชคดี สบายใจในการลงทุนนะคะ

ราคาทองคำฮ่องกงปิดตลาดวันนี้ ลดลงแตะ 12,120 HKD/tael

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 18 กันยายน 2556 16:41:58 น.

สมาคมแลกเปลี่ยนทองคำและเงินของจีน เปิดเผยว่า ราคาทองคำที่ตลาดฮ่องกงร่วงลง 130 ดอลลาร์ฮ่องกง ปิดที่ระดับ 12,120 ดอลลาร์ฮ่องกง/ตำลึงในวันนี้

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ราคาดังกล่าวเทียบเท่ากับ 1,312.74 ดอลลาร์สหรัฐ/ทรอยออนซ์ ลดลง 14.08 ดอลลาร์สหรัฐ ที่อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ/ 7.75 ดอลลาร์ฮ่องกงในวันนี้

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย วรัญญา อุดมกุศลศรี/สุนิตา โทร.02-2535000 ต่อ 315 อีเมล์: sunita@infoquest.co.th--

 

 

คลัง เผยหนี้สาธารณะเดือน ก.ค.56 อยู่ที่ 44.11% ของจีดีพี

 

ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 18 กันยายน 2556 17:03:51 น.

น.ส.จุฬารัตน์ สุธีธร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ(สบน.) เปิดเผยว่า ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 ก.ค.56 มีจำนวน 5,211,194.01 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 44.11 ของ GDP

โดยเป็นหนี้ของรัฐบาล 3,641,067.87 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 1,077,722.91 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) 491,568.89 ล้านบาท และหนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ 834.34 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า หนี้สาธารณะลดลงสุทธิ 12,717.20 ล้านบาท โดยหนี้ของรัฐบาลลดลง 16,774.86 ล้านบาท ในขณะที่หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) และหนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ เพิ่มขึ้น 2,186.82 ล้านบาท 1,849.87 ล้านบาทและ 20.97 ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ นั้นไม่มีหนี้คงค้าง

อินโฟเควสท์ โดย คลฦ/นิศารัตน์/รัชดา โทร.02-2535000 ต่อ 317 อีเมล์: rachada@infoquest.co.th--

เปิด10รายชื่อชิงเก้าอี้อธิการบดีธรรมศาสตร์ เปิด 10 รายชื่อชิงอธิการบดีมธ. ลูกหม้อนิติฯ-อดีตอธิการรุ่นเก๋า "กรณ์"ส.ส.ปชป.เข้าชิง คกก.สรรหาฯส่งหนังสือทาบทามวันนี้ สรุปภาวะซื้อขายทองคำ-อนุพันธ์ 18 ก.ย.56 vdo.gif สรุปภาวะซื้อขายทองคำ-อนุพันธ์ภาคบ่าย 18 ก.ย.56 แนวโน้มการลงทุนพรุ่งนี้ ติดตามได้ใน Market Wise 'เพื่อไทย'อัด'ปชป.'โยนบาปปลด'สมศักดิ์' "เพื่อไทย" อัด "ประชาธิปัตย์" ถอดถอนหวังโยนบาป "สมศักดิ์" ไม่สำรวจพฤติกรรมตัวเอง สรุปภาวะซื้อขายตลาดหุ้น 18 ก.ย.56 vdo.gif แนะเข้มจุดผ่านแดนหลังดวงตราวีซ่าหาย เผยเหตุสื่อเป็นเป้าม็อบสวนยางเพราะเข้าใจผิด นายกฯตั้งเป้า20ปีผลิตพลังงานใช้เอง25%

ดูข่าว ทั้งหมด icon-arrow-gray.gif

 

 

ข่าวยอดนิยม

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

:Hi คุณ .... ginger new เพื่อนๆ

 

:_06

ดีจ้า wann

1186243_525666690863619_1460471611_n.jpg

BE HAPPY & LUCKY , LOVE

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

7900_442989972483342_1432034773_n.jpg

ความเป็นไปไม่ได้ ก็สามารถเกิดขึ้นได้

หากตั้งใจและพยายามมากพอ

เช่น นวตกรรมและสิ่งดีๆต่างๆ

ที่ไม่น่าเป็นไปได้ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว

ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สหรัฐเผยตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านปรับตัวสูงขึ้น 0.9% ในเดือนส.ค.

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 18 กันยายน 2556 20:33:53 น.

กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเผยตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านประจำเดือนส.ค.ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.9% จากเดือนก.ค. แตะที่ 891,000 ยูนิต น้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะขยายตัวแตะ 915,000 ยูนิต ซึ่งบ่งชี้ถึงการขยายตัวอย่างต่อเนื่องในตลาดอสังหาริมทรัพย์ แม้ที่ผ่านมาจะมีสัญญาณด้านอุปสงค์ที่อ่อนตัวลงก็ตาม

การขยายตัวของอัตราการเริ่มสร้างบ้านในเดือนส.ค.ได้รับปัจจัยหนุนจากยอดการสร้างบ้านสำหรับครอบครัวเดี่ยวที่เพิ่มขึ้น 7% หลังจากเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ยอดสร้างบ้านใหม่ปรับตัวผันผวนแม้จะมีสัญญาณการขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจก็ตาม

ข้อมูลที่มีการเปิดเผยในช่วงที่ผ่านมาแสดงให้เห็นถึงสัญญาณการอ่อนตัวด้านอุปสงค์ในตลาดที่อยู่อาศัยหลังจากที่ราคาพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะที่อัตราการปล่อยกู้จำนองเพิ่มขึ้นจากระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย อรษา สงค์พูล โทร.02-2535000 ต่อ 315 อีเมล์: interdesk@infoquest.co.th--

 

ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าเทียบเยน ก่อนเฟดตัดสินใจเรื่อง QE

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 18 กันยายน 2556 21:13:53 น.

เงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงแตะระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 5 สัปดาห์ ก่อนที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะตัดสินใจเรื่องการปรับลดขนาดมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ในการประชุมเฟดคืนนี้

ณ เวลา 9.13 น.ตามเวลานิวยอร์ก เงินดอลลาร์อ่อนค่าลง 0.2% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 98.98 เยน แต่แข็งค่าขึ้น 0.1% เมื่อเทียบกับเงินยูโรที่ระดับ 1.3346 ต่อยูโร ขณะที่เงินเยนแข็งค่าขึ้น 0.2% แตะที่ระดับ 132.10 ต่อยูโร

ทั้งนี้ สกุลเงินดอลลาร์เคลื่อนไหวอ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเงินเยน ท่ามกลางกระแสคาดการณ์ว่า เฟดจะมีมติปรับลดขนาดมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณโดยเชื่อว่าจะเป็นการปรับลดลงเพียงเล็กน้อย เนื่องจากเศรษฐกิจยังคงฟื้นตัวไม่เต็มที่

ดัชนีเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งใช้วัดค่าเงินดอลลาร์เทียบกับ 10 สกุลเงินที่มีการซื้อขายในตลาดปริวรรตเงินตราต่างประเทศปรับตัวเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 1,019.61 จุด

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย อรษา สงค์พูล โทร.02-2535000 ต่อ 315 อีเมล์: interdesk@infoquest.co.th--

 

ราคาทองฟิวเจอร์ปรับตัวลดลง ก่อนเฟดแถลงผลการประชุม

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 18 กันยายน 2556 20:47:34 น.

ราคาทองฟิวเจอร์ปรับตัวลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 6 สัปดาห์ ก่อนที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะแถลงผลการประชุมในคืนนี้ ซึ่งนักลงทุนต่างคาดการณ์ว่า เฟดจะมีมติปรับลดขนาดมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE)

เมื่อเวลา 7:41 น.ตามเวลานิวยอร์ก สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.ปรับตัวลดลง 0.8% มาอยู่ที่ระดับ 1,298.80 ดอลลาร์/ออนซ์

ราคาทองคำปรับตัวลดลงเป็นวันที่สอง ขณะที่นักลงทุนกำลังจับตาผลการประชุมเฟดอย่างใกล้ชิดเพื่อรอดูว่า เฟดจะลดวงเงินในการซื้อพันธบัตร 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ลงหรือไม่

อย่างไรก็ตาม นักลงทุนคาดว่าหากเฟดตัดสินใจประกาศลดขนาดมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณในการประชุมครั้งนี้ ก็เชื่อว่าจะเป็นการปรับลดลงเพียงเล็กน้อย เนื่องจากเศรษฐกิจยังคงฟื้นตัวไม่เต็มที่

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย อรษา สงค์พูล โทร.02-2535000 ต่อ 315 อีเมล์: interdesk@infoquest.co.th--

 

ดาวโจนส์ฟิวเจอร์สบวก 10 จุด ขณะนลท.จับตาเฟดตัดสินใจเรื่อง QE

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 18 กันยายน 2556 19:29:30 น.

ดัชนีดาวโจนส์ล่วงหน้าปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 10 จุด แตะที่ 15,475 จุด ขณะที่ ดัชนี S&P ล่วงหน้าขยับขึ้น 0.1% สู่ระดับ 1,700 จุด เมื่อเวลา 07.40 น. ตามเวลานิวยอร์กในวันนี้ เนื่องจากนักลงทุนยังรอดูผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อย่างใกล้ชิด

บรรยากาศการซื้อขายปรับตัวขึ้นก่อนหน้าที่จะมีการประกาศผลการประชุมเฟดในคืนนี้ว่า เฟดจะลดวงเงินในการซื้อพันธบัตร 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ลงหรือไม่ ซึ่งนักลงทุนคาดว่าหากเฟดตัดสินใจประกาศลดขนาดมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ในการประชุมครั้งนี้ ก็เชื่อว่าจะเป็นการปรับลดลงเพียงเล็กน้อย เนื่องจากเศรษฐกิจยังคงฟื้นตัวไม่เต็มที่

ทั้งนี้ หุ้นเฟดเอ็กซ์ เพิ่มขึ้น 3% และหุ้นดอลลาร์ทรีอิงค์พุ่งขึ้น 3.5%

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย อรษา สงค์พูล โทร.02-2535000 ต่อ 315 อีเมล์: interdesk@infoquest.co.th--

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...