ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

 

การเมือง : สถานการณ์โลก

วันที่ 4 สิงหาคม 2557 05:00

อิสราเอลเริ่มปรับเปลี่ยนกองกำลัง

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

 

 

 

 

news_img_596746_1.jpg

 

อิสราเอลเริ่มสับเปลี่ยนกองกำลังภาคพื้นดินบางส่วนในฉนวนกาซา แต่ปฏิบัติการปราบปรามกลุ่มฮามาสยังคงดำเนินต่อไป

 

 

โฆษกกองทัพอิสราเอล เปิดเผยว่า อิสราเอลเริ่มสับเปลี่ยนกองกำลังภาคพื้นดินบางส่วนในฉนวนกาซา แต่ปฏิบัติการปราบปรามกลุ่มฮามาสยังคงดำเนินต่อไป

โฆษกกองทัพอิสราเอล "พันโทปีเตอร์ เลอร์เนอร์" กล่าววานนี้ (3 ส.ค.) ว่า การสับเปลี่ยนกองกำลังภาคพื้นดินครั้งนี้ เป็นการแบ่งเบาภารกิจภายในและเป็นภารกิจต่อเนื่อง โดยปฏิบัติการปราบปรามกลุ่มฮามาสยังคงดำเนินต่อไป และหากจำเป็น ก็สามารถเปิดปฏิบัติการกับกลุ่มฮามาสได้ทันที

ความเห็นของพันโทปีเตอร์ เกิดขึ้นหลังจากวานนี้ กองทัพอิสราเอลประกาศเป็นครั้งแรกว่า จะยุติปฏิบัติการในหลายพื้นที่ของกาซา และบอกกับชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในเบต ลาฮิยา และอัล-อาตาตรา ทางตอนเหนือของกาซาว่า พวกเขาสามารถกลับบ้านได้อย่างปลอดภัย

พันโทปีเตอร์ย้ำว่า อิสราเอล ถอนทหารออกจากเบต ลาฮิยา และอัล-อาตาตราแล้ว แต่ไม่ได้กล่าวว่า จะถอนทหารออกจากพื้นที่อื่นที่มีการต่อสู้กันอย่างหนักด้วยหรือไม่

ผู้เห็นเหตุการณ์หลายคนทางตอนเหนือของกาซา ยืนยันว่า เห็นทหารออกจากพื้นที่ ขณะที่คนอื่นๆบอกว่า เห็นอิสราเอลถอนทหารออกจากหมู่บ้านแถบตะวันออกของเมืองข่านยูนิส ทางตอนใต้ของกาซาด้วยเช่นกัน นับเป็นครั้งแรกที่มีคนเห็นการถอนทหาร ตั้งแต่อิสราเอลเปิดฉากสู้รบตั้งแต่วันที่ 8 กรกฎาคมเป็นต้นมา

Tags : อิสราเอล เกาะติดหุ้นโลก 4-8-57 vdo.gif Morning News : เกาะติดหุ้นรอบโลก "NOW26" 4-8-57 แบงก์ชาติป้องเงินสำรองไม่เหมาะลงทุนน้ำมัน ผู้ว่าธปท.ชี้เงินสำรองระหว่างประเทศไม่เหมาะนำไปลงทุนน้ำมัน เหตุความผันผวนสูง หากผิดพลาดพาประเทศเสียหาย ออมสินยกเลิกสิทธิประโยชน์บอร์ด บอร์ดออมสินชุดใหม่ประชุมนัดแรก ตัดค่าสวัสดิการ หวังเป็นโมเดลให้รัฐวิสาหกิจแห่งอื่นดำเนินการตามนโยบายคสช. คาดกรอบเงินบาทสัปดาห์หน้า 32.10-32.40 กฟน.เล็งตั้งบริษัทลูกลงทุนนอก แผนหยุดยิงล้มเหลว-ทหารอิสราเอลถูกลักพาตัว หุ้นสหรัฐปิดลบแม้ตัวเลขจ้างงานแกร่ง

ดูข่าว ทั้งหมด icon-arrow-gray.gif

 

 

 

 

ข่าวยอดนิยม

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีครับเพื่อนๆทุกท่าน :17 มาแวบนึงดูกราฟกันเลย4-8-57-01.gif

กราฟราย15นาทีจะเห็นว่าทองขึ้นทดสอบแนวต้านอินดี้donchainสีเขียวและแนวรับสีแดงแล้วแปลว่า1ย่อยของ15m1น่าจะจบแล้วและกำลังทำ2ย่อยอยู่ซึ่งสามารถลงมาได้ตามกรอบราคาสีเหลือง1290-1284 แล้วขึ้นทำ3ย่อยต่อโดยมีแพทเทิ้ลrh&sเป็นตัวยืนยันมีแนวเนคไลน์แถวๆ1296ที่วัดเป้าได้ถึง1313 เลยทีเดียวซึ่งตรงกับกรอบราคาที่คาดว่าจะเป็นคลื่น3แถวๆ1307-1313พอดี ขณะที่ฟิชเชอร์บีบีตามลูกศรสีฟ้ายังหุบอยู่ถ้าอ้าเมื่อไหร่มีลุ้นไปต่อเลยส่วนเป้าหมายหากเจ้าเล่น5คลื่นเราอาจได้เห็นเจ้าฮะทำราคาที่ระดับ1317-1323จบ15m1ตรงนี้แล้วพักตัวทำ15m2ต่อไป :aa ส่วนราย1ชมแนวต้านอินดี้donchainสีเขียวอยู่แถวๆ1297ถ้าทดสอบตรงนี้ด้วยน่ามีลุ้นกลับตัวเพิ่มขึ้นเป็น7-80%เลยดูกราฟต่อไป4-8-57-02.gif

กราฟราย4ชมจะเห็นว่าราคาทำนิวโลวแต่อินดี้macd&rsiยกตัวขึ้นไม่เกิดนิวโลวเป็นการเกิดไดเวอร์เจ้นสัญญาณกลับตัวที่สำคัญแท่งเทียนmacdตัวเส้นsignal แล้วจึงมีความเป็นไปได้ว่าน่าจะกลับตัวแล้วและแนวต้านอินดี้donchain สีเขียวอยู่ที่1311 ซึ่งถ้าทดสอบตรงนี้เมื่อไหร่ จะยืนยันได้ชัดมากขึ้นว่าจบขาลงแล้ว100% มุมมองการเล่นวันนี้สำหรับคนซื้อ

1 รอซื้อ buylimit 1290-1284 cut 1280 เป้า 1317-1323

2 หากถูกกินcutข้อ1 ให้รอดูสถานการณ์ต่อไป

สำหรับคนขาย

1 รอขายselllimit 1323 cut 1330 เป้า 1306

2 หากถูกกินcutข้อ1 ให้รอดูสถานการณ์ต่อไป

ปล.ส่วนตัวผมมีออเดอร์buy1283อยู่cut1280เป้าขยับเป็บ1323ส่วนsellเอาตามข้อ1ส่วนทองแท่งถ้าลงมา1285จะซื้อเพิ่มครับส่วนขายจะขายเล่นๆแถวๆ1323สักก้อนนึง(อิอิ)ที่เหลือรอ1480ขึ้นไป :aa 4-8-57-03.gif

ปล2.ขอให้เพื่อนๆโชคดีในการลงทุนนะครับ :bye

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

 

MTS Gold Morning News 04.08.2014

ราคาทองปรับตัวเพิ่มขึ้น 1% หลังจากที่ตัวเลข หลังจากปรับตัวลดลงมา 4 วันทำการ เนื่องจากตัวเลข Non-Farm Payrolls ที่น่าผิดหวัง อาจทำให้เฟดชะลอการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยไปได้สักระยะหนึ่ง ทำให้นักลงทุนหันมาลงทุนทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัยอีกครั้ง

ในปีนี้ราคาทองคำปรับตัวเพิ่มขี้น 7% โดยการปรับตัวเพิ่มขึ้นจะอยู่ในช่วงไตรมาสแรกเป็นส่วนใหญ่

 

นักวิเคราะห์จากรอยเตอร์ส กล่าวว่า การเติบโตทางภาคแรงงานของสหรัฐฯประจำเดือนกรกฎาคมชะลอตัวลง อาจส่งผลให้เฟดชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ย และจะยังคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำ 0-0.25% ต่อไป

นักวิเคราะห์จาก Kitco ระบุว่า ในสัปดาห์หน้าไม่มีข้อมูลเศรษฐกิจที่โดดเด่นของสหรัฐฯ และสภาวะความตึงเครียดในตะวันออกกลางที่คลี่คลายลงไป อาจส่งผลให้ราคาทองคำปรับตัวลดลงต่อได้

เหล่ากองทุนขนาดใหญ่ลดการถือครองทองคำลงจากที่เศรษฐกิจสหรัฐฯเติบโตขึ้นกว่าที่คาดการณ์ที่Net long (ในฝั่งเข้าซื้อ) ปรับตัวลดลง10%

ขณะที่ CFTC รายงานว่าการถือครองในรอบสัญญาของวันที่ 29 กรกฎาคมที่ผ่านลดลงสู่ระดับ822,001สัญญา

กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานว่า ตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรปรับตัวลดลง 89,000 ตำแหน่ง สู่ระดับ 209,000 ตำแหน่งในเดือนก.ค. ขณะที่อัตราว่างงานขยับขึ้นสู่ระดับ 6.2%

ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับค่าเงินยูโร เพราะได้รับแรงกดดันจากข้อมูลการจ้างงานของสหรัฐฯ ส่งผลให้นักลงทุนหันไปถือครองพันธบัตรรัฐบาลที่อายุสั้นกว่าแทน

: www.mtsgold.co.th

 

 

 

10491104_840669709276946_3160223944205445173_n.jpg?oh=a1addbbf73a7e9094d4ac16598fed495&oe=544200A8

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แม่อุ้มบุญ เตือนสาวจะรับจ้างท้อง ให้คิดถึงผลกระทบในอนาคต

แม่อุ้มบุญเปิดใจ เตือนสาวไทยที่คิดจะรับจ้างท้อง...

NATIONTV.TV

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คลังถกขึ้นเงินเดือนข้าราชการชั้นผู้น้อย ปลัดคลัง เตรียมถกหาแนวทางขึ้นเงินเดือนราชการชั้นผู้น้อยภายในสัปดาห์นี้ ญี่ปุ่นลงทุนอาเซียนพุ่งชี้ตลาดกำลังโต ญี่ปุ่นหันเหการลงทุนมาสู่เอเชียอาคเนย์หรืออาเซียนมากขึ้น หลังสัมพันธ์จีนเสื่อมถอยตั้งแต่ปี 2555 RPCร่วงแรง9วัน64% RPC ดิ่งเหวต่อเนื่อง 9 วัน ร่วงเกือบ 64% แม้แจงคดีซื้อขายวัตถุดิบกับ ปตท.ยังไม่มีการชี้ขาด Take Off ตลาดหุ้นไทย 4-8-57 vdo.gif Take Off ความเคลื่อนไหวค่าเงินบาท 4-8-57 vdo.gif แบงก์เบนเข็มรุกลูกค้ารายกลาง ทิศทางตลาดอนุพันธ์ภาคเช้า 4-8-57 vdo.gif

ดูข่าว ทั้งหมด icon-arrow-gray.gif

 

 

 

 

ข่าวยอดนิยม

แบงก์ชาติประเมินภาวะอสังหาริมทรัพย์เริ่มกลับสู่แนวโน้มปกติ เชื่อยังเติบโตต่อเนื่อง ยืนยันไม่เห็นสัญญาณฟองสบู่

 

นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า ภาวะอสังหาริมทรัพย์ไทยในขณะนี้เริ่มกลับเข้าสู่แนวโน้มปกติมากขึ้น โดยตัวเลขการให้สินเชื่อยังคงเติบโตต่อเนื่อง แม้จะเติบโตในระดับเลขหลักเดียว แต่ก็ถือเป็นระดับที่ค่อนข้างดี เมื่อเทียบกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ดังนั้นธปท.จึงไม่ได้เป็นห่วงเรื่องภาวะซบเซา ขณะเดียวกันก็ไม่ได้ห่วงเรื่องของฟองสบู่ด้วย โดยภาพรวมจึงถือเป็นทิศทางที่ทรงตัวในระดับปกติ

“ถ้าออกไปทางฟองสบู่คงไม่ได้เป็นเช่นนั้น แต่ขณะเดียวกันก็ไม่น่าจะเรียกว่าภาวะซบเซา เพราะกิจกรรมต่างๆ ในตลาดยังคงมีให้เห็นอยู่” นายประสารกล่าว

เขากล่าวด้วยว่า ในส่วนของแนวโน้มช่วงครึ่งปีหลังเชื่อว่าภาพรวมของตลาดอสังหาริมทรัพย์ยังพอไปได้ โดยสินเชื่อมองว่า ภาพรวมของสินเชื่อทั้งระบบในปีนี้น่าจะขยายตัวที่ประมาณ 6-8% ซึ่งถือเป็นการเติบโตที่ค่อนข้างดีเมื่อเทียบกับภาวะเศรษฐกิจ โดยเป็นระดับที่ไม่สูงหรือต่ำจนเกินไปจนน่ากังวล

ทั้งนี้จากรายงานธปท. เกี่ยวกับภาวะอสังหาริมทรัพย์ในเขตกรุงเทพและปริมณฑลในเดือนมิ.ย.ปีนี้ พบว่าปรับตัวดีขึ้นตามความเชื่อมั่นภาคเอกชนที่ฟื้นตัวขึ้นภายหลังสถานการณ์การเมืองคลี่คลายลง ความต้องการที่อยู่อาศัยในภาพรวมปรับดีขึ้น สะท้อนจากอัตราการจองซื้อที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 16% มาอยู่ที่ 28% ตามความเชื่อมั่นที่ปรับดีขึ้น

ขณะที่อยู่อาศัยที่ได้รับการอนุมัติสินเชื่อ จากธนาคารพาณิชย์ยังทรงตัวจากเดือนก่อน สะท้อนยอดขายจองซื้อที่อยู่อาศัยในช่วงที่ค่อนข้างทรงตัว ด้านอุปทานที่อยู่อาศัยปรับตัวดีขึ้น จากจำนวนที่อยู่อาศัยเปิดขายใหม่ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ 7,430 หน่วย มาอยู่ที่ 7,911 หน่วย เป็นผลมาจากการฟื้นตัวของทั้งที่อยู่อาศัยแนวราบและอาคารชุด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโครงการที่เลื่อนการเปิดขายมาจากช่วงก่อนหน้าจากปัจจัยทางเศรษฐกิจ

ส่วนทิศทางในไตรมาสที่ 2 ที่ผ่านมา ตลาดอสังหาริมทรัพย์หดตัวเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันกับปีก่อน ทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน โดยยอดสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยปล่อยใหม่และยอดที่อยู่อาศัยเปิดใหม่หดตัว 10.1% และ 16.6% ตามลำดับ เนื่องจากปัญหาการเมืองที่บั่นทอนความเชื่อมั่นภาคเอกชน อย่างไรก็ดี หากเปรียบเทียบกับไตรมาสก่อน ภาวะอสังหาริมทรัพย์โดยรวมยังฟื้นตัวดีขึ้น หลังจากปัญหาการเมืองคลี่คลาย

สำหรับสินเชื่อภาคเอกชนนั้น ในรายงานของธปท.ระบุพบว่ายังขยายตัว 6.8% ส่วนเงินฝากครัวเรือนทรงตัว โดยสินเชื่อภาคเอกชนของสถาบันรับฝากเงินเดือนมิ.ย. ขยายตัว 6.4% จากระยะเดียวกันของเดือนก่อนหน้านี้หรือเดือนเม.ย. ที่ขยายตัว 7.8% ตามการชะลอของสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ปล่อยให้แก่ภาคธุรกิจและภาคครัวเรือน โดยเฉพาะการปล่อยสินเชื่อเพื่อการเช่าซื้อและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ จากมาตรฐานการปล่อยสินเชื่อประเภทดังกล่าวที่มีความเข้มงวด

อย่างไรก็ดี ปริมาณสินเชื่อใหม่ที่ธนาคารพาณิชย์ปล่อยให้แก่ภาคครัวเรือนเริ่มมีมากขึ้น สอดคล้องกับการฟื้นตัวของภาคเอกชน ส่วนเงินฝากและสินเชื่อภาคเอกชนของสถาบันรับฝากเงิน ตั๋วแลกเงินและเงินอื่น ขยายตัว 3.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทรงตัวจากเดือนก่อน โดยเงินฝากของภาคครัวเรือนเร่งขึ้นเล็กน้อยส่วนหนึ่งเกิดจากการแข่งขันระดมเงินฝากของภาคธุรกิจชะลอตัว

Tags : ประสาร ไตรรัตน์วรกุลธปท.อสังหาสินเชื่อฟองสบู่

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สรุปภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคใต้ เดือนมิถุนายน ปี 2557

ข่าวหุ้น-การเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย -- จันทร์ที่ 4 สิงหาคม 2557 14:09:23 น.

ฉบับที่ 13/2557

ภาวะเศรษฐกิจภาคใต้เดือนมิถุนายน 2557 หดตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน ตามการลดลงของการผลิตทั้งภาคเกษตรและอุตสาหกรรม ซึ่งส่งผลต่อรายได้จากการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมหลักของภาคใต้ขณะเดียวกันการท่องเที่ยวยังได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ทางการเมืองที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวต่างชาติ และความไม่สะดวกในการเดินทางของนักท่องเที่ยว อย่างไรก็ตามสถานการณ์ทางการเมืองที่คลี่คลาย ส่งผลให้ความเชื่อมั่นปรับดีขึ้น จึงเริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวของการใช้จ่ายภาคเอกชน ทั้งการอุปโภคบริโภคและการลงทุนในภาคการก่อสร้าง ส่วนอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นต่อเนื่องขณะที่เงินเฟ้อชะลอลงตามราคาอาหารสดและพลังงาน เป็นสำคัญ

รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจภาคใต้ มีดังนี้

กิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมหดตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน ตามการผลิตภาคเกษตรและอุตสาหกรรม แต่หากเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ชะลอจากร้อยละ 2.6 ในเดือนก่อน ตามผลผลิตปาล์มน้ำมันที่มีแนวโน้มออกสู่ตลาดน้อยลง ขณะที่ดัชนีราคาสินค้าเกษตรลดลงร้อยละ 13.7 เนื่องจากราคายางยังมีแรงกดดันจากอุปทานที่เพิ่มขึ้นและสต็อกอยู่ในระดับสูงขณะเดียวกันราคากุ้งลดลงต่อเนื่อง ตามความต้องการที่ชะลอลงของตลาดหลัก ประกอบกับผลกระทบจากโรคระบาดยังไม่คลี่คลายทาให้ห้องเย็นชะลอการรับคำสั่งซื้อ ส่งผลให้ดัชนีรายได้เกษตรกรลดลงร้อยละ13.0

การผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลงจากเดือนก่อน แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 7.1 ตามการผลิตยางแปรรูปที่เพิ่มขึ้นจากตลาดจีน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการชะลอซื้อในปีก่อนทำให้ฐานต่ำ นอกจากนี้สหภาพยุโรปและอินเดียมีความต้องการสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมยางล้อรถยนต์มากขึ้น ขณะเดียวกันการผลิตอาหารกระป๋องที่คำสั่งซื้อยังเพิ่มต่อเนื่องจากตลาดหลักตะวันออกกลางและสหรัฐอเมริกา ผลจากราคาอยู่ในช่วงทิศทางเพิ่มขึ้น เนื่องจากจะเข้าสู่ช่วงห้ามใช้เครื่องมือช่วยจับปลาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2557 ประกอบกับความกังวลของภาวะเอลนิโญซึ่งอาจกระทบต่อความไม่แน่นอนในตลาด นอกจากนี้การผลิตไม้ยางพารา ถุงมือยาง และน้ามันปาล์มดิบเพิ่มขึ้นขณะที่การผลิตอาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็งและแปรรูปสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้นจากการขาดแคลนวัตถุดิบกุ้งขาว

การท่องเที่ยว ยังได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ทางการเมืองที่หลายประเทศยังไม่มีการยกเลิกประกาศเตือนภัย และพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างประสบปัญหาความไม่สะดวกในการเดินทางเข้ามาของนักท่องเที่ยวจากกรณีรถโดยสารจากมาเลเซียเข้ามาได้เฉพาะจังหวัดสงขลา ประกอบกับช่วงปลายเดือนเริ่มเข้าสู่เทศกาลถือศีลอดของชาวมุสลิม ส่งผลให้นักท่องเที่ยวต่างประเทศในเดือนนี้มีจานวน 4.3 แสนคนหดตัวร้อยละ 20.6 จากเดือนเดียวกันปีก่อน โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวหลักจากภูมิภาคเอเชียลดลงถึงร้อยละ22.3 นอกจากนี้ต้องจับตาตลาดนักท่องเที่ยวจีนที่รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศ อาจทำให้นักท่องเที่ยวจีนเดินทางเข้ามาลดลง

มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมหลักของภาคใต้ลดลงจากเดือนก่อน ทั้งยาง ไม้ยาง อาหารทะเลแช่แข็ง และอาหารบรรจุกระป๋อง อย่างไรก็ตามมูลค่าการส่งออกรวมเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน เนื่องจากการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนการส่งออกสินค้ามีมูลค่า 1,318.20 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 3.6 ตามการหดตัวของราคายางพารา เป็นสำคัญ

ผลจากการเมืองที่คลี่คลายและคณะรักษาความสงบแห่งชาติมีนโยบายดูแลค่าครองชีพของประชาชน สร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นการใช้จ่ายภาคเอกชน โดยดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.9 สูงสุดในรอบ 14 เดือน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสูงถึงร้อยละ 11.8 จากการค้าปลีกค้าส่ง และธุรกิจโรงแรม ขณะที่ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนลดลงร้อยละ 4.4 โดยลดลงทั้งหมวดการก่อสร้างการนาเข้าสินค้าทุน และการซื้อรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล

การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.4 จากการเบิกจ่ายรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุน โดยลดลงในหมวดเงินอุดหนุนทั่วไป ขณะที่รายได้จากการจัดเก็บภาษีอากรเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 ตามการจัดเก็บภาษีสรรพากรในหมวดภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีธุรกิจเฉพาะ รวมทั้งจัดเก็บภาษีสรรพสามิตและภาษีศุลกากรเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน

สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจโดยรวม อัตราเงินเฟ้อทั่วไปชะลอลงจากเดือนก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 2.88 เป็นผลจากนโยบายดูแลค่าครองชีพของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ในการตรึงราคาก๊าซหุงต้มภาคครัวเรือนและน้ามันดีเซล ส่งผลให้แรงกดดันเงินเฟ้อลดลง สำหรับอัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.38 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับร้อยละ 0.67 ในเดือนเดียวกันปีก่อน

เงินให้สินเชื่อ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2557 ขยายตัวจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.0 ชะลอตัวต่อเนื่อง จากความกังวลเรื่องคุณภาพสินเชื่อ ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ยังคงระมัดระวังการให้สินเชื่อส่วนเงินฝากขยายตัวร้อยละ 2.7 ชะลอลงจากเงินฝากประจำหดตัวมาก

ธนาคารแห่งประเทศไทย สานักงานภาคใต้

ข้อมูลเพิ่มเติม : ส่วนเศรษฐกิจภาค

โทรศัพท์ 0 7427 2000 ต่อ 4716

E-mail : Arunyas@bot.or.th

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย

 

แถลงข่าวเศรษฐกิจและการเงินเดือนมิถุนายน 2557 และไตรมาสที่ 2 ปี 2557

ข่าวหุ้น-การเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย -- จันทร์ที่ 4 สิงหาคม 2557 14:32:20 น.

ฉบับที่ 7/2557

ภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคเหนือเดือนมิถุนายน 2557 ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนเกือบทุกด้าน ภายหลังสถานการณ์ทางการเมืองคลี่คลายและนโยบายภาครัฐมีความชัดเจนมากขึ้น โดยเริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวจากการอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน การผลิตสินค้าอุตสาหกรรมโดยเฉพาะเพื่อการส่งออกขยายตัวต่อเนื่อง ประกอบกับการใช้จ่ายภาครัฐเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ขณะที่รายได้เกษตรกรปรับดีขึ้น และชาวนาได้รับเงินค้างจ่ายโครงการรับจำนำข้าวแล้ว ขณะที่การท่องเที่ยวชะลอลงตามฤดูกาลและได้รับผลกระทบจากปัจจัยการเมืองบ้าง แต่ปรับตัวดีขึ้นช่วงปลายเดือน สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจในประเทศ อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น อัตราเงินเฟ้อชะลอลง ด้านธนาคารพาณิชย์ เงินฝาก และสินเชื่อชะลอตัว

รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจภาคเหนือมี ดังนี้

ภาคอุปสงค์ปรับดีขึ้นจากเดือนก่อน แต่ยังหดตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน โดยดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.7 ปรับดีขึ้นจากลดลงร้อยละ 5.4 ในเดือนก่อนหน้า ตามความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับดีขึ้นต่อเนื่อง รวมทั้งเกษตรกรมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้นบ้างภายหลังได้รับเงินจากโครงการรับจำนำข้าว ส่งผลให้ยอดจำหน่ายสินค้าที่จำเป็นต่อการอุปโภคบริโภคขยายตัว ประกอบกับยอดจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้ากลับมาขยายตัวจากการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย ด้านดัชนีการลงทุนภาคเอกชนลดลงร้อยละ 1.7 ปรับดีขึ้นจากลดลงร้อยละ 4.5 ในเดือนก่อนหน้า สะท้อนจากเครื่องชี้สำคัญเพิ่มขึ้น อาทิ ปริมาณการจำหน่ายวัสดุก่อสร้างตามการก่อสร้างโครงการต่อเนื่องของภาครัฐ พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาล และมูลค่าการนำเข้าเครื่องจักรกลและอุปกรณ์ ประกอบกับยอดการจดทะเบียนรถยนต์เพื่อการพาณิชย์หดตัวน้อยลง สำหรับการเบิกจ่ายงบประมาณผ่านคลังจังหวัด มีจำนวน 14,236.5 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 5.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากผลกระทบทางการเมืองในช่วงก่อนหน้า

การส่งออกมีมูลค่า 433.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.9 จากระยะเดียวกันปีก่อน ตามการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม เช่น ชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องประดับ และสินค้าเกษตร อาทิ เนื้อสัตว์แช่แข็ง และผลไม้ ไปยังตลาดในกลุ่มอาเซียน ยุโรป จีน และสหรัฐอเมริกา ประกอบกับการส่งออกสินค้าอุปโภคบริโภคผ่านด่านชายแดนขยายตัวดีทุกตลาด ด้านการนำเข้ามีมูลค่า 131.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 จากการนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางเพื่อผลิตสินค้าอุตสาหกรรมสำหรับส่งออก

ภาคอุปทานปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเร่งตัวร้อยละ 13.6 และ 16.2 จากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อน ตามการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกเป็นสำคัญ เช่น ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเป็นส่วนประกอบของอุปกรณ์สื่อสารและยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์สำนักงาน และเซรามิก จากความต้องการของตลาดญี่ปุ่น ยุโรป สหรัฐอเมริกา และอาเซียน ประกอบกับการผลิตเลนส์กล้องถ่ายภาพได้ส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้น ขณะที่การผลิตเพื่อการบริโภคในประเทศยังหดตัว ตามการผลิตเครื่องดื่ม และสินค้าเกษตรแปรรูป อย่างไรก็ดี การผลิตวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้นตามการก่อสร้างของภาครัฐ

ส่วนรายได้เกษตรกรหดตัวร้อยละ 7.6 แต่ปรับดีขึ้นจากเดือนก่อน เป็นผลจากผลผลิตสินค้าเกษตรเร่งตัวจากเดือนก่อนและเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน ตามผลผลิตอ้อยโรงงาน มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ประกอบกับผลผลิตลำใย และลิ้นจี่เพิ่มขึ้น เนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออำนวย แม้ราคาสินค้าเกษตรหดตัวร้อยละ 12.0 ตามราคาข้าวเปลือกเจ้า ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และลิ้นจี่ แต่ปรับดีขึ้นจากเดือนก่อน ตามราคาปศุสัตว์โดยเฉพาะสุกรที่อยู่ในเกณฑ์ดี สำหรับดัชนีค้าปลีกหดตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.5 ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนตามการขยายตัวของยอดจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มในร้านอาหาร ผักผลไม้สด และเครื่องใช้ไฟฟ้า

ภาคการท่องเที่ยวลดลงจากเดือนก่อนตามฤดูกาล เนื่องจากยังได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การเมือง แต่ปรับดีขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนจากกลุ่มนักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางมาจัดประชุมสัมมนาและท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล (Incentive) ประกอบกับมีการสอบคัดเลือกของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในจังหวัดเชียงใหม่

เสถียรภาพเศรษฐกิจในประเทศ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปชะลอลงเหลือร้อยละ 2.3 ตามการปรับลดราคาน้ำมันเชื้อเพลง และอาหารสด เช่น ผักผลไม้ เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้น ขณะที่อัตราการว่างงานปรับสูงขึ้นจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อนเป็นร้อยละ 1.2 ส่วนจานวนผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมชะลอลง

ภาคการเงินขยายตัวชะลอลง โดยเงินฝากของสาขาธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2557 มียอดคงค้าง 587,680 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 3.2 ชะลอต่อเนื่องจากเดือนก่อน แม้ธนาคารพาณิชย์เริ่มทยอยออกผลิตภัณฑ์เงินฝาก เพื่อรักษาฐานลูกค้าและบริหารเงินฝากให้เติบโตสอดคล้องกับเงินให้สินเชื่อ แต่ลูกค้าบางส่วนยังไปลงทุนในตราสารหนี้ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าอัตราเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ ด้านเงินให้สินเชื่อ มียอดคงค้าง 571,774 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 7.7 ชะลอลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 13 ตามการชะลอลงของสินเชื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคลโดยเฉพาะเช่าซื้อรถยนต์ และสินเชื่อธุรกิจภาคเอกชน

ภาวะเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ปี 2557 ทรงตัวจากไตรมาสก่อน โดยด้านอุปสงค์ปรับดีขึ้นเล็กน้อย ภายหลังสถานการณ์ทางการเมืองและแนวนโยบายภาครัฐมีความชัดเจนมากขึ้นในช่วงปลายไตรมาส ประกอบกับชาวนามีกาลังซื้อเพิ่มขึ้นภายหลังได้รับเงินจากโครงการรับจำนำข้าว และมีสัญญาณการฟื้นตัวของการใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชนซึ่งหดตัวน้อยลง แต่มีแรงกดดันจากผู้บริโภคยังระมัดระวังการใช้จ่าย และภาระหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูง ด้านการส่งออกขยายตัวดีตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจต่างประเทศ ขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐทาได้จากัด เนื่องจากผลกระทบจากการเมืองในช่วงก่อนหน้า ด้านอุปทานชะลอลง โดยการผลิตสินค้าเกษตรหดตัวตามผลผลิตข้าวนาปรังและอ้อยโรงงาน เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ประกอบกับราคาพืชเกษตรสาคัญลดลง ทำให้รายได้เกษตรกรลดลงมาก ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวชะลอลงจากผลกระทบสถานการณ์ทางการเมือง อย่างไรก็ดี การผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นตามการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จากความต้องการของตลาดต่างประเทศเป็นสำคัญ ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจของภาคเหนืออยู่ในเกณฑ์ดี จากอัตราเงินเฟ้อ และการว่างงานอยู่ในระดับต่ำ ส่วนเงินฝาก และเงินให้สินเชื่อชะลอลง

ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ

ข้อมูลเพิ่มเติม : กุศล จันทร์แสงศรี

โทร. 0 5393 1164 e-mail : Kusolc@bot.or.th

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย

 

ประเทศกานารุดเจรจาขอความช่วยเหลือฉุกเฉินจาก IMF เหตุวิกฤตการเงินย่ำแย่

ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- จันทร์ที่ 4 สิงหาคม 2557 14:24:00 น.

ประเทศกานาเตรียมนัดเจรจากับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เพื่อขอความช่วยเหลือภายหลังจากที่ค่าเงินของกานาร่วงลงอย่างหนัก โดยกาน่าต้องการเดินหน้าโครงการสร้างเสถียรภาพให้กับค่าเงินเซดีด้วยเงินทุนช่วยเหลือจาก IMF รวมทั้งควบคุมเงินเฟ้อของประเทศ

ก่อนหน้านี้ รัฐบาลกานายังไม่ได้ออกมายืนยันถึงเรื่องการขอความช่วยเหลือแบบฉุกเฉินจากทาง IMF แต่ต่อมาประธานาธิบดีจอฟ์น ดรามารี มาฮามา ได้สั่งการให้คณะที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจเปิดฉากการเจรจากับ IMF

สกุลเงินเซดีของกานาอ่อนค่าลงไปแล้วถึง 36% เมื่อเทียบกับดอลลารืในปีนี้ ส่งผลให้นักลงทุนสูญเสียความเชื่อมั่นที่มีต่อความสามารถในการควบคุมการใช้จ่ายของรัฐบาล รวมทั้งการควบคุมยอดขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศที่คาดว่า จะสูงกว่า 10% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ในปีนี้

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย สุนิตา พรรณรักษา/รัตนา โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--

 

ผู้ว่าธปท.รับคาดการณ์ทิศทางกระแสเงินทุนเคลื่อนย้ายหลังตั้งรัฐบาลยังยาก

ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- จันทร์ที่ 4 สิงหาคม 2557 12:03:47 น.

นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า กระแสการเคลื่อนย้ายเงินทุนของต่างชาติหลังจากมีการจัดตั้งรัฐบาลของไทยยังคงคาดการณ์ได้ยาก เนื่องจากจากภาพเศรษฐกิจของประเทศขนาดใหญ่ดำเนินนโยบายทางการเงินสวนทางกัน อย่างสหรัฐฯกำลังจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หรือมีการปรับทิศในการดำเนินนโยบายทางการเงิน ขณะที่ยุโรปและญี่ปุ่น ยังคงดำเนินนโยบายในเชิงผ่อนคลายทางการเงิน แต่เมื่อมองปัจจัยภายในประเทศ เชื่อว่าไทยจะยังได้รับปัจจัยบวกจากสถานการณ์ต่างๆ รอบด้านที่เริ่มดีขึ้น

สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่เป็นกังวลอีกประเด็นหนึ่งคือ สงครามในตะวันออกกลาง รวมถึงการที่สหรัฐและยุโรปร่วมมือกันเพื่อคว่ำบาตรรัสเซีย มองว่าจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะการฟื้นตัวของยุโรปที่อาจจะถดถอยลงไป ประกอบกับ ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับรัสเซีย เพียงแต่เศรษฐกิจไม่ได้มีขนาดใหญ่มาก

ขณะที่ไทยก็คงได้รับผลกระทบในด้านของภาคการท่องเที่ยว และการส่งออก ขณะที่การเตรียมพร้อมและการป้องกัน คงต้องมาวิเคราะห์กันอีกทีว่าจะเกิดขึ้นในมุมไหน เพื่อหาวิธีการตั้งรับต่อไป

ส่วนแนวโน้มการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์แก่ภาคอสังหาริมทรัพย์ในครึ่งปีหลังนี้ ทาง ธปท.ยังเห็นการให้สินเชื่อที่อยู่ในระดับปกติ โดยมองว่าปีนี้ตัวเลขสินเชื่อรวมน่าจะเห็นเป็นตัวเลขหลักเดียว หรือราว 6-8% ซึ่งไม่ถึงกับน่าเป็นกังวลว่าจะเกิดภาวะฟองสบู่

"เรายังเห็นการให้สินเชื่อที่อยู่ในระดับปกติ ปีนี้อาจจะเห็นเป็นตัวเลขหลักเดียว ค่อนไปทางข้างบน 6-8% ซึ่งในระดับนี้ถือว่าไม่ถึงกับซบเซา และไม่ถึงกับน่าเป็นห่วง ว่าจะเกิดฟองสบู่"นายประสาร กล่าว

ผู้ว่า ธปท. กล่าวว่า ทิศทางเศรษฐกิจครึ่งปีหลังนี้ปรับตัวดีขึ้น จากครึ่งปีแรกได้รับผลกระทบจากภาวะความไม่สงบทางการเมือง ส่งผลให้ตัวเลขเศรษฐกิจครึ่งปีแรกติดลบเล็กน้อย โดยเชื่อว่าไตรมาส 3 ถึงไตรมาส 4/57 จะสามารถเติบโตได้ 3-4% ต่อไตรมาส และทั้งปีการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) จะอยู่ที่ระดับ 1.5% ได้ และมองว่าปี 58 การเติบโตของ GDP จะเติบโตได้ตามศักยภาพ รวมถึงเติบโตจากฐานที่ต่ำในปีนี้ โดยคาดว่าตัวเลขการเติบโตน่าจะอยู่ที่ระดับ 5.5%

ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ ส่งผลดีต่อด้านการอุปโภคและการบริโภคเริ่มปรับตัวดีขึ้น ขณะที่ด้านการส่งออก ซึ่งยังต้องพึ่งพาปัจจัยจากต่างประเทศ มองว่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของต่างประเทศยังเป็นไปในลักษณะค่อยๆฟื้นตัวขึ้น ดังนั้น การส่งออกของไทยก็อาจจะไม่ได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วมากนัก คาดว่าจะอยู่ในระดับ 3% ในปี 57 ส่วนด้านการลงทุนของภาคเอกชนที่ผ่านมามีการชะลอการลงทุนออกไปเพื่อรอดูสถานการณ์ คาดว่าในช่วงครึ่งปีหลังภาพของการลงทุนจะกลับมาดีขึ้น ทั้งการนำเข้า และการผลิต

"ไม่ต้องไปกังวลมากและไม่ควรจะใจร้อน ซึ่งทิศทางต่างๆเป็นไปในทางที่ดีขึ้น ด้วยเหตุผลที่เข้าใจได้ว่าครึ่งปีแรกมีผลกระทบค่อนข้างมากจากภาวะทางการเมือง แต่แน่นอนเวลาพูดถึงตัวเลขบางทีเราก็จะเห็นความใจร้อนที่อยากจะเห็นตัวเลขกระโดดขึ้นมาเป็นตัวเลขสูงๆ ซึ่งมองว่าต้องใช้เวลาในการปรับตัว โดยในไตรมาส 1/57 ติดลบ 16% ไตรมาส 2/57 ก็เริ่มเห็นการทรงตัว เชื่อว่าครึ่งปีหลังจะดีกว่าครึ่งปีแรกได้ ขณะที่ตัวเลขการเติบโตของ GDP ถ้าจะให้เกิน 2% มองว่าการเติบโตของไตรมาส 3 กับ 4 จะต้องมีการเติบโตแบบไม่ปกติ ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นกับประเทศไทย ยกเว้นช่วงน้ำท่วม โดยคาดว่าปีนี้น่าจะเติบโตได้ 1.5%"นายประสาร กล่าว

อินโฟเควสท์ โดย สุวิมล ภูมิคำ/รัชดา/ศศิธร โทร.02-2535000 ต่อ 345 อีเมล์: sasithorn@infoquest.co.th--

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...