ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

ภาวะตลาดทองคำนิวยอร์ก: ทองปิดบวก $3.6 หลังสหรัฐเผยภาคอุตสาหกรรมซบเซา

ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 16 กันยายน 2557 07:34:04 น.

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (15 ก.ย.) ซึ่งเป็นการดีดตัวขึ้นวันแรกหลังจากที่ร่วงลงติดต่อกัน 5 วันทำการ เนื่องจากข้อมูลภาคอุตสาหกรรมที่อ่อนแอของสหรัฐได้กระตุ้นให้นักลงทุนเข้าซื้อสัญญาทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.เพิ่มขึ้น 3.6 ดอลลาร์ หรือ 0.29% ปิดที่ 1,235.1 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนธ.ค.เพิ่มขึ้น 1.4 เซนต์ ปิดที่ 18.62 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนต.ค.ร่วงลง 7 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,363.5 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนธ.ค.เพิ่มขึ้น 85 เซนต์ ปิดที่ 836.90 ดอลลาร์/ออนซ์

นักลงทุนเข้าซื้อสัญญาทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย หลังจากสหรัฐเปิดเผยว่า การผลิตในภาคอุตสาหกรรมเดือนส.ค.ของสหรัฐหดตัวลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนม.ค. นับเป็นอีกสัญญาณบ่งชี้ถึงการขยายตัวที่ยังไม่ต่อเนื่อง

ทั้งนี้ การผลิตภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นมาตรวัดผลผลิตในภาคการผลิต สาธารณูปโภค และเหมืองแร่ของสหรัฐ หดตัวลง 0.1% ในเดือนส.ค. เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตเดือนส.ค.ลดลง 0.3% มาอยู่ที่ 78.8%

สัญญาทองคำดีดตัวขึ้นหลังจากที่ร่วงลงติดต่อกัน 5 วันทำการก่อนหน้านี้ อันเนื่องมาจากกระแสคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเวลาที่รวดเร็วกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ โดยนักลงทุนจับตาดูการประชุมเฟดในวันอังคารและวันพุธนี้อย่างใกล้ชิด รวมทั้งแถลงการณ์ภายหลังการประชุมของนางเจเน็ต เยลเลน ประธานเฟด

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

10628531_700654749983574_7287884093821979769_n.jpg?oh=fca9645d068f60f0b74189abefba206d&oe=549040FB

 

สวัสดี deb โชคดีนะคะ news Traderjunoir wann Goldleng ตังเม เด็กสยาม เพื่อนๆทุกท่าน

 

ภาวะตลาดน้ำมัน: น้ำมัน WTI ปิดบวก 65 เซนต์ จากแรงซื้อเก็งกำไร

ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 16 กันยายน 2557 07:09:13 น.

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (15 ก.ย.) เนื่องจากนักลงทุนเข้าซื้อเก็งกำไรก่อนที่จะทราบผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อย่างไรก็ตาม สัญญาน้ำมันดิบขยับขึ้นเพียงเล็กน้อยเนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของภาคอุตสาหกรรมของจีน

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนต.ค.เพิ่มขึ้น 65 เซนต์ ปิดที่ 92.92 ดอลลาร์/บาร์เรล

ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนต.ค.ที่ตลาดลอนดอน ลดลง 46 เซนต์ ปิดที่ 96.65 ดอลลาร์/บาร์เรล

ในช่วงแรกนั้น สัญญาน้ำมันดิบได้รับแรงกดดันหลังจากจีนและสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่ซบเซา โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติของจีนเปิดเผยว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีนในเดือนส.ค.ขยายตัว 6.9% เมื่อเทียบรายปี ซึ่งชะลอลงจากระดับ 9% ในเดือนก.ค.

ขณะที่เฟดเปิดเผยว่า การผลิตในภาคอุตสาหกรรมเดือนส.ค.ของสหรัฐหดตัวลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนม.ค. นับเป็นอีกสัญญาณบ่งชี้ถึงการขยายตัวที่ยังไม่ต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม สัญญาน้ำมันดิบดีดตัวขึ้นในเวลาต่อมาและสามารถปิดในแดนลบ เนื่องจากนักลงทุนเข้าซื้อเก็งกำไรก่อนที่จะทราบผลการประชุมเฟด โดยมีกระแสคาดการณ์ว่าเฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงเวลาที่เร็วกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ พร้อมกับจับตาดูแถลงการณ์ภายหลังการประชุมของนางเจเน็ต เยลเลน ประธานเฟด

นอกจากนี้ นักลงทุนยังจับตาดูรายงานสต็อกน้ำมันรายสัปดาห์จากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA) ในวันพรุ่งนี้เวลา 21.30 น.ตามเวลาไทย

ส่วนในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 5 ก.ย.ที่ผ่านมานั้น สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐลดลง 972,000 บาร์เรล แตะ 358.6 ล้านบาร์เรล ซึ่งน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะร่วงลง 1.2 ล้านบาร์เรล ขณะที่สต็อกน้ำมันดิบที่เมืองคุชชิ่ง รัฐโอคลาโฮมา ซึ่งเป็นจุดส่งสัญญทาน้ำมันดิบ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 78,000 บาร์เรล สู่ระดับ 20.4 ล้านบาร์เรล

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--

 

World Markets: สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ

ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 16 กันยายน 2557 07:40:42 น.

ดัชนีและภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ ประจำวันที่ 15 ก.ย.2557

-- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (15 ก.ย.) อย่างไรก็ตาม ภาวะการซื้อขายเป็นไปอย่างผันผวน ขณะที่ดัชนี NASDAQ ปิดในแดนลบ ก่อนที่บริษัทอาลีบาบาจะเสนอขายหุ้น IPO ในสัปดาห์นี้ นอกจากนี้ นอกนักลงทุนยังระมัดระวังการซิ้อขายก่อนที่จะทราผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 17,031.14 จุด เพิ่มขึ้น 43.63 จุด หรือ +0.26% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 1,984.13 จุด ลดลง 1.41 จุด หรือ -0.07% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,518.90 จุด ลดลง 48.70 จุด หรือ -1.07%

-- ตลาดหุ้นยุโรปปิดลบเมื่อคืนนี้ (15 ก.ย.) ท่ามกลางภาวะการซื้อขายเป็นไปอย่างผันผวน เนื่องจากนักลงทุนผิดหวังต่อข้อมูลภาคอุตสาหกรรมของจีน นอกจากนี้ นักลงทุนยังจับตาดูผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในสัปดาห์นี้

ดัชนี Stoxx Europe 600 ปรับตัวลง 0.1% ปิดที่ 343.91 จุด

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,428.63 จุด ลดลง 13.07 จุด หรือ -0.29% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดวันที่ 6,804.21 จุด ลดลง 2.75 จุด หรือ -0.04% ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 9,659.63 จุด เพิ่มขึ้น 8.50 จุด หรือ +0.09%

-- ตลาดหุ้นลอนดอนปิดขยับลงเมื่อคืนนี้ (15 ก.ย.) จากความวิตกเกี่ยวกับสถานความตึงเครียดทางการเมืองในยูเครนและข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอจากจีน

ดัชนี FTSE 100 ลดลง 2.75 จุด หรือ 0.04% ปิดที่ 6,804.21 จุด

-- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (15 ก.ย.) เนื่องจากนักลงทุนเข้าซื้อเก็งกำไรก่อนที่จะทราบผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อย่างไรก็ตาม สัญญาน้ำมันดิบขยับขึ้นเพียงเล็กน้อยเนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของภาคอุตสาหกรรมของจีน

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนต.ค.เพิ่มขึ้น 65 เซนต์ ปิดที่ 92.92 ดอลลาร์/บาร์เรล

ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนต.ค.ที่ตลาดลอนดอน ลดลง 46 เซนต์ ปิดที่ 96.65 ดอลลาร์/บาร์เรล

-- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (15 ก.ย.) ซึ่งเป็นการดีดตัวขึ้นวันแรกหลังจากที่ร่วงลงติดต่อกัน 5 วันทำการ เนื่องจากข้อมูลภาคอุตสาหกรรมที่อ่อนแอของสหรัฐได้กระตุ้นให้นักลงทุนเข้าซื้อสัญญาทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.เพิ่มขึ้น 3.6 ดอลลาร์ หรือ 0.29% ปิดที่ 1,235.1 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนธ.ค.เพิ่มขึ้น 1.4 เซนต์ ปิดที่ 18.62 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนต.ค.ร่วงลง 7 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,363.5 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนธ.ค.เพิ่มขึ้น 85 เซนต์ ปิดที่ 836.90 ดอลลาร์/ออนซ์

-- ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบสกุลเงินหลักส่วนใหญ่เมื่อคืนนี้ (15 ก.ย.) อันเนื่องมาจากการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะส่งสัญญาณในสัปดาห์นี้เกี่ยวกับช่วงเวลาในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

ค่าเงินยูโรร่วงลงเทียบดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.2937 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.2948 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์ปรับลงที่ 1.6228 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.6254 ดอลลาร์

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับตัวขึ้นเทียบกับสกุลเงินเยนที่ 107.20 เยน เทียบกับระดับ 107.32 เยน และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9355 ฟรังค์ จาก 0.9340 ฟรังค์

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียปรับลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.9028 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.9044 ดอลลาร์

ดัชนี DJIA ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 17,031.14 จุด เพิ่มขึ้น 43.63 จุด +0.26%

ดัชนี NASDAQ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 4,518.90 จุด ลดลง 48.70 จุด -1.07%

ดัชนี S&P500 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 1,984.13 จุด ลดลง 1.41 จุด -0.07%

ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,804.21 จุด ลดลง 2.75 จุด -0.04%

ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 9,659.63 จุด เพิ่มขึ้น 8.50 จุด +0.09%

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,428.63 จุด ลดลง 13.07 จุด -0.29%

ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันปิดที่ 9,217.46 จุด ลดลง 5.72 จุด -0.06%

ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ปิดที่ 2,035.82 จุด ลดลง 6.04 จุด -0.30%

ดัชนี ALL ORDINARIES ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดที่ 5,475.40 จุด ลดลง 56.90 จุด -1.03%

ดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดที่ 5,473.50 จุด ลดลง 57.60 จุด -1.04%

ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนปิดที่ 2,339.14 จุด เพิ่มขึ้น 7.19 จุด +0.31%

ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ปิดที่ 7,161.27 จุด ลดลง 40.61 จุด -0.56%

ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงปิดที่ 24,356.99 จุด ลดลง 238.33 จุด -0.97%

ดัชนี Jakarta Composite ตลาดหุ้นอินโดนีเซียปิดที่ 5,144.90 จุด เพิ่มขึ้น 1.19 จุด +0.02%

ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียปิดที่ 1,847.30 จุด ลดลง 8.34 จุด -0.45%

ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ปิดที่ 3,312.47 จุด ลดลง 33.08 จุด -0.99%

ดัชนี SENSEX ตลาดหุ้นอินเดียปิดที่ 26,816.56 จุด ลดลง 244.48 จุด -0.90%

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย นรินรัตน์ พรหมพิทักษ์/รัตนา โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

<p>

ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 16 กันยายน 2557 07:18:44 น.

ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบสกุลเงินหลักส่วนใหญ่เมื่อคืนนี้ (15 ก.ย.) อันเนื่องมาจากการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะส่งสัญญาณในสัปดาห์นี้เกี่ยวกับช่วงเวลาในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

ค่าเงินยูโรร่วงลงเทียบดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.2937 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.2948 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์ปรับลงที่ 1.6228 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.6254 ดอลลาร์

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับตัวขึ้นเทียบกับสกุลเงินเยนที่ 107.20 เยน เทียบกับระดับ 107.32 เยน และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9355 ฟรังค์ จาก 0.9340 ฟรังค์

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียปรับลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.9028 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.9044 ดอลลาร์

ดอลลาร์ปรับตัวลงในช่วงแรก หลังจากมีรายงานว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐในเดือนส.ค.ลดลง 0.1% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ซึ่งเป็นการปรับตัวลงครั้งแรกนับแต่เดือนม.ค. และสวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่าการผลิตจะเพิ่มขึ้น 0.3%

อย่างไรก็ตาม ขณะที่การประชุมกำหนดนโยบายการเงินของเฟดจะมีขึ้นในวันอังคารและพุธนี้ ดอลลาร์ได้ลดช่วงติดลบลง อันเป็นผลจากกระแสคาดการณ์ที่เพิ่มมากขึ้นว่าเฟดอาจจะปรับขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาด

หลังการประชุมเฟดเสร็จสิ้นลง นางเจเน็ต เยลเลน ประธานเฟด จะเปิดเผยการประเมินและคาดการณ์ทางเศรษฐกิจล่าสุด ซึ่งอาจจะแสดงถึงการปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจสหรัฐ

ส่วนเฟดสาขานิวยอร์กเปิดเผยว่า ดัชนีภาวะธุรกิจโดยรวม (Empire State Index) ซึ่งเป็นการสำรวจกิจกรรมการผลิตในเขตนิวยอร์ก ปรับตัวขึ้นแตะ 27.5 ในเดือนก.ย. ซึ่งเป็นการขยายตัวมากที่สุดในรอบเกือบ 5 ปี

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย พันธุ์ทิพย์ คำเพิ่มพูล โทร.02-2535000 อีเมล์: pantip@infoquest.co.th--

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เกาะติดหุ้นโลก 16-9-57 vdo.gif Morning News : เกาะติดหุ้นรอบโลก "NOW26" 16-9-57 ตลท.เตรียมหารือรมว.คลัง ตลาดหลักทรัพย์ เตรียมยกคณะหารือ "สมหมาย" รมว.คลัง เสนอแนวทางพัฒนาตลาดทุน สรุปภาพรวมตลาดหุ้น 15-9-57 vdo.gif สรุปภาพรวมการลงทุนตลาดหุ้น ช่วงตรงประเด็นข่าวค่ำ "NOW26" 15-9-57 แนวโน้มราคาทอง vdo.gif เงินบาทปิด32.30/31อ่อนค่า พอร์ตลงทุนหุ้นวันนี้ต่างชาติซื้อ642ลบ. หุ้นไทยปิดร่วง2.24จุด

ดูข่าว ทั้งหมด icon-arrow-gray.gif

 

 

ข่าวยอดนิยม

 

การเงิน - การลงทุน : เศรษฐกิจต่างประเทศ

วันที่ 16 กันยายน 2557 08:00

 

ยุโรปถ่วงเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

news_img_604991_1.jpg

"โออีซีดี"เตือนการฟื้นตัวของยุโรป ที่ยังอ่อนแออยู่ กำลังเป็นตัวฉุดการเติบโตของเศรษฐกิจโลก

องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา หรือโออีซีดี เตือน การฟื้นตัวของยุโรป ที่ยังอ่อนแออยู่ กำลังเป็นตัวฉุดการเติบโตของเศรษฐกิจโลก พร้อมปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจประเทศพัฒนาแล้วส่วนใหญ่

โออีซีดี ระบุว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยุโรป ที่ยังย่ำแย่อยู่ ยังตกอยู่ท่ามกลางความเสี่ยง จากความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นในยูเครน และตะวันออกกลาง รวมถึง ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับอนาคตของสกอตแลนด์

ขณะเดียวกัน การเติบโตที่ชะลอตัวลงในกลุ่มประเทศยูโร ถือเป็นเรื่องที่น่ากังวลที่สุด สำหรับการประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจ โดยโออีซีดี ได้ปรับลดตัวเลขคาดการณ์สำหรับปี 2557 ลงอีก 1 ใน 3 มาอยู่ที่ 0.8% จากระดับ 1.2% ที่คาดการณ์ไว้เมื่อเดือนพฤษภาคม พร้อมหั่นคาดการณ์เศรษฐกิจสหรัฐลงมาอยู่ที่ 2.1 % จากครั้งก่อนหน้านี้ที่ 2.6% แม้จะระบุว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐ ที่อยู่ในระดับพอประมาณ ยังเป็นไปตามเป้าก็ตาม

ส่วนญี่ปุ่นลดลงมาอยู่ที่ 0.9% จาก 1.2% ถึงแม้ โออีซีดีคาดการณ์ว่า การฟื้นตัวที่สำคัญในเศรษฐกิจจะกลับมาเติบโตอีกครั้ง หลังต้องหยุดชะงักจากการขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อเดือนเมษายน

อย่างไรก็ตาม โออีซีดี ไม่ได้เปิดเผยตัวเลขคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจโลกในปีนี้ ซึ่งเมื่อครั้งที่แล้ว ประเมินไว้ที่ 3.4%

Tags : โออีซีดียุโรป

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ชาวสกอต เตรียมไปลงประชามติว่า จะ "เยส" หรือ "โน" การแยกตัวออกจากสหราชอาณาจักร ในวันที่ 18 กันยายนนี้

โดยยังมีประเด็นสำคัญ ๆ ที่เป็นเดิมพันสำหรับเรื่องนี้ ที่ทั้งอังกฤษ และสก็อตแลนด์เห็นต่างกัน จึงยังหาข้อสรุปร่วมกันไม่ได้

เริ่มจาก เพลงชาติ สกอตแลนด์ ยังไม่มีเพลงชาติอย่างเป็นทางการ พวกที่สนับสนุนการแยกตัวเป็นเอกราช บอกว่า จะมีเพลงหนึ่ง ที่จะถูกนำมาเป็นเพลงชาติ หลังการซาวเสียงจากสาธารณชน และเพลงที่มีแนวโน้มว่าจะได้เป็นเพลงชาติของสก็อตแลนด์ใหม่ รวมถึงเพลง "ฟลาวเวอร์ ออฟ สกอตแลนด์" (Flower of Scotland) "สกอตส์ วา เฮ" (Scots Wha Hae) และ "สกอตแลนด์ เดอะ เบรฟ" (Scotland the Brave)

พรมแดน ชาวสกอต ต้องการให้สกอตแลนด์ ยังคงอยู่ภายใต้ข้อตกลงเขตการเดินทางร่วมภายในเกาะอังกฤษ โดยไม่ต้องใช้หนังสือเดินทาง แต่อังกฤษได้ ยกประเด็นความเป็นไปได้ที่จะมีการตั้งด่านตรวจตามแนวชายแดน ถ้าการแยกตัวของสกอตแลนด์ ส่งผลให้นโยบายการตรวจคนเข้าเมืองหละหลวม

เงินตรา พวกชาตินิยม ต้องการให้ใช้เงินปอนด์ต่อไป ในฐานะส่วนหนึ่งของ "สหภาพทางการเงิน" แต่อังกฤษไม่เห็นด้วยกับแนวคิดนี้ อันที่จริงสกอตแลนด์สามารถใช้เงินปอนด์ได้ต่อไปโดยไม่อิงกับธนาคารกลางของอังกฤษ เหมือนเช่นที่บางประเทศใช้เงินดอลลาร์สหรัฐ แต่ขณะเดียวกัน สกอตแลนด์ก็ต้องตระหนักว่า จำเป็นต้องมีการกำหนดนโยบายทางการเงินไว้สำหรับการค้าและการเงินระหว่างกัน และที่สำคัญคือ สกอตแลนด์ไม่มีธนาคารกลางเป็นของตัวเองด้วย

หนี้สาธารณะ พวกที่รณรงค์แยกตัวเป็นเอกราช บอกว่า สกอตแลนด์ จะต้องยอมรับความเป็นหุ้นส่วนของหนี้สหราชอาณาจักร ที่แชร์ร่วมกับอังกฤษ, เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ แต่ขณะเดียวกัน ก็เป็นหุ้นส่วนในทรัพย์สินของสหราชอาณาจักรด้วยเช่นกัน ซึ่งเท่ากับยอมรับว่า สกอตแลนด์กำลัง มีหนี้สินอยู่ราว 130,000 ล้านปอนด์

สหภาพยุโรปหรืออียู ยืนยันว่า การแยกตัวเป็นเอกราชของสกอตแลนด์ ทำให้พ้นจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ซึ่งต้องสมัครใหม่ และต้องดำเนินการตามเงื่อนไขที่ถูกกำหนดโดยสหภาพยุโรป แต่รัฐบาลสกอตแลนด์ ประเมินว่า อาจจะยังไม่ดำเนินการในตอนนี้

ธงชาติ เซนต์ แอนดรูว์ ซึ่งเป็นรูปกากบาทสีน้ำเงิน-ขาว จะยังคงใช้ต่อไปเมื่อสกอตแลนด์เป็นเอกราชแล้ว ส่วนที่เหลือเป็นหน้าที่ของสหราชอาณาจักร ที่อาจจะต้องตัดสินใจเปลี่ยนธงชาติของตัวเองในการลบรูปกากบาทออกไป เมื่อไม่มีสกอตแลนด์แล้ว

ผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ หรือจีดีพี พวกชาตินิยม อ้างว่า สกอตแลนด์ มีตัวเลขจีดีพีสูงกว่าสหราชอาณาจักร และถ้าคิดเป็นต่อหัวจะอยู่ในอันดับ 8 ของกลุ่มประเทศที่ร่ำรวยที่สุดในหมู่สมาชิกองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาหรือโออีซีดี ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นกลุ่มประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ชั้นนำของโลก

น้ำมัน 90% ของรายได้จากน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในทะเลเหนือ มาจากสกอตแลนด์ ที่เป็นส่วนหนึ่งของไหล่ทวีปของสหราชอาณาจักร ซึ่งพวกชาตินิยม เตรียมที่จะนำรายได้เหล่านี้ มาจัดตั้งกองทุนเพื่อความมั่งคั่งแห่งอธิปไตย เช่นเดียวกับกองทุนน้ำมันของนอร์เวย์

Tags : ชาวสกอตอังกฤษ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

'โลจิสติกส์ไทย'เบนเข็มรุกเพื่อนบ้าน โลจิสติกส์ไทยเบนเข็มรุกเพื่อนบ้าน "ไทยเบฟ-สหพัฒน์"เสริมแกร่งสู้ศึก 'บีเคดี'รุกตลาดอสังหา'กัมพูชา' “บางกอก เดค-คอน” เซ็นเอ็มโอยู “ชิป หมง แลนด์” ยักษ์ใหญ่ด้านอสังหาริมทรัพย์จากกัมพูชา รับงานตกแต่งภายใน Take Off ความเคลื่อนไหวค่าเงินบาท 16-9-57 vdo.gif Money Wise ช่วงความเคลื่อนไหวค่าเงิน สดตรงจากนักวิเคราะห์ "NOW26" 16-9-57 Take Off ตลาดหุ้นไทย 16-9-57 vdo.gif ทิศทางตลาดอนุพันธ์ภาคเช้า 16-9-57 vdo.gif ทิศทางตลาดหุ้นภาคเช้า 16-9-57 vdo.gif 'เอบีซี'หันรุกธุรกิจโรงยิม

ดูข่าว ทั้งหมด icon-arrow-gray.gif

 

 

ข่าวยอดนิยม

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

(เพิ่มเติม) เงินบาทเปิด 32.25/27 แนวโน้มแกว่งแคบ รอปัจจัยใหม่

ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 16 กันยายน 2557 11:18:47 น.

นักบริหารเงิน เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้ที่ระดับ 32.25/27 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าจากช่วงปิดตลาดเย็นวานี้ที่ระดับ 32.30/31 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับภูมิภาค

"เปิดตลาดเช้านี้ขยับแข็งค่าจากช่วงปิดตลาดเย็นวานนี้ เป็นการรีบาวด์ทำกำไรหลังดอลลาร์แข็งค่าต่อเนื่องมาหลายวันก่อนที่จะมีผลประชุม FOMC วันพรุ่งนี้" นักบริหารเงิน กล่าว

ตลาดรอดูผลประชุมของคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ(FOMC) ในสัปดาห์นี้ว่าจะส่งผลต่อทิศทางของค่าเงินดอลลาร์อย่างไร และการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) ในวันที่ 17 ก.ย.57

นักบริหารเงิน ประเมินทิศทางเงินบาทในวันนี้จะเคลื่อนไหวในกรอบระหว่าง 32.20-32.30 บาท/ดอลลาร์

"น่าจะเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ รอข่าวใหม่เข้ามา" นักบริหารเงิน กล่าว

ล่าสุด SPOT อยู่ที่ระดับ 32.2758 บาท/ดอลลาร์ ส่วน THAI BAHT FIX 3M(15 ก.ย.) อยู่ที่ 1.88835% และ THAI BAHT FIX 6M(15 ก.ย.) อยู่ที่ 1.91556%

* ปัจจัยสำคัญ

- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 106.98 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 107.22 เยน/ดอลลาร์

- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.2953 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.2924 ดอลลาร์/ยูโร

- อัตราแลกเปลี่ยนบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของ ธปท.อยู่ที่ระดับ 32.2750 บาท/ดอลลาร์

- คลังเดินหน้าปฏิรูปภาษี พุ่งเป้าภาษีจากคนมีรายได้สูง พร้อมเตรียมปรับ "แวต" ปลายปีหน้า ยอมรับภาษีมรดกทำยาก หนุนเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ด้าน "ฉัตรชัย" เตรียมเรียกผู้ประกอบการถกตรึงราคาสินค้า พร้อมออกมาตรการดูแลข้าวเปลือก แต่ไม่ใช่แทรกแซง

- สภาธุรกิจตลาดทุน เตรียมเสนอกองทุนลดหย่อนภาษีรูปแบบใหม่แทน "แอลทีเอฟ" โดยเพิ่มสัดส่วนลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งพันธบัตรรัฐบาลให้มากขึ้น เชื่อเป็นมาตรการสนับสนุนการออม ด้าน "เกศรา" เล็งเสนอมาตรการภาษีเอื้อการควบรวมกิจการ พร้อมหาแนวทางลดหย่อนภาษีให้นักลงทุนต่างประเทศ เชื่อช่วยเสริมแกร่งตลาดทุนไทย ส่วนมาตรการสกัดหุ้นเก็งกำไรที่มีความถี่สูง ยังอยู่ในขั้นศึกษา

- ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) นัดพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558 ในวาระที่ 2 และ 3

- China Foreign Exchange Trading System (CFETS) รายงานว่า เงินหยวนปรับตัวลดลง 0.10% แตะที่ 6.1462 หยวนต่อดอลลาร์เช้าวันนี้

- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส(WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้เนื่องจากนักลงทุนเข้าซื้อเก็งกำไรก่อนที่จะทราบผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) สัญญาน้ำมันดิบขยับขึ้นเพียงเล็กน้อยเนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของภาคอุตสาหกรรมของจีน โดยสัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือน ต.ค.เพิ่มขึ้น 65 เซนต์ ปิดที่ 92.92 ดอลลาร์/บาร์เรล ขณะที่สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์(BRENT) ส่งมอบเดือน ต.ค.ที่ตลาดลอนดอน ลดลง 46 เซนต์ ปิดที่ 96.65 ดอลลาร์/บาร์เรล

- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ซึ่งเป็นการดีดตัวขึ้นวันแรกหลังจากที่ร่วงลงติดต่อกัน 5 วันทำการ เนื่องจากข้อมูลภาคอุตสาหกรรมที่อ่อนแอของสหรัฐได้กระตุ้นให้นักลงทุนเข้าซื้อสัญญาทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย โดยสัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือน ธ.ค.เพิ่มขึ้น 3.6 ดอลลาร์ หรือ 0.29% ปิดที่ 1,235.1 ดอลลาร์/ออนซ์ ขณะที่สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือน ธ.ค.เพิ่มขึ้น 1.4 เซนต์ ปิดที่ 18.62 ดอลลาร์/ออนซ์ ส่วนสัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือน ต.ค.ร่วงลง 7 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,363.5 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือน ธ.ค.เพิ่มขึ้น 85 เซนต์ ปิดที่ 836.90 ดอลลาร์/ออนซ์

- ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบสกุลเงินหลักส่วนใหญ่เมื่อคืนนี้ เนื่องจากการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) จะส่งสัญญาณในสัปดาห์นี้เกี่ยวกับช่วงเวลาในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยค่าเงินยูโรร่วงลงเทียบดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.2937 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.2948 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์ปรับลงที่ 1.6228 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.6254 ดอลลาร์ ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับตัวขึ้นเทียบกับสกุลเงินเยนที่ 107.20 เยน เทียบกับระดับ 107.32 เยน และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9355 ฟรังค์ จาก 0.9340 ฟรังค์ และค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียปรับลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.9028 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.9044 ดอลลาร์

อินโฟเควสท์ โดย ธนวัฏ เสือแย้ม/รัชดา โทร.02-2535000 ต่อ 317 อีเมล์: rachada@infoquest.co.th--

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...