ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

ธปท.ออกประกาศระบุแบงก์ชาติจีนตั้ง ICBC ทำหน้าที่ชำระดุลเงินหยวนในไทย

ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 6 มกราคม 2558 16:51:42 น.

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกหนังสือเรื่องการแต่งตั้งธนาคารชำระดุลเงินหยวนในประเทศไทย ระบุว่า ในวันนี้ (6 ม.ค.) ธนาคารกลางแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (People’s Bankof China – PBC) ได้ประกาศแต่งตั้ง ธนาคาร ไอซีบีซี (ไทย) เป็น Clearing Bank เพื่อทำหน้าที่ชำระดุลเงินหยวนในประเทศไทยตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการแต่งตั้งธนาคารชำระดุลเงินหยวนในประเทศไทย ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้ลงนามร่วมกับ PBC ไปเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2557 ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน

 

 

การแต่งตั้งธนาคารชำระดุลเงินหยวนในครั้งนี้ จะช่วยเพิ่มช่องทางในการชำระดุลเงินหยวนให้แก่สถาบันการเงินในประเทศไทย นอกเหนือจากการชำระเงินผ่านธนาคารตัวแทนต่างประเทศ (corresponding bank) ซึ่งจะเพิ่มโอกาสการเข้าถึงสภาพคล่องเงินหยวนในประเทศจีนได้โดยตรงอีกช่องทางหนึ่ง

อินโฟเควสท์ โดย ธปฦ/รัชดา/ศศิธร โทร.02-2535000 ต่อ 345 อีเมล์: sasithorn@infoquest.co.th--

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รายการ Gold Insight วิเคราะห์แนวโน้มฟิวเจอร์ส วันอังคาร ที่ 6 มกราคม 2558 โดย ฝ่ายวิจัย บริษัท คลาสสิก โกลด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

156034_10153036762047450_3166130301539375917_n.jpg?oh=5ab281c86be35767c205b314d6ed98bb&oe=55380CE0&__gda__=1430088252_93dc2f1c6578e25ca34204263a4f392b

 

10897027_10153036762082450_883281256183292548_n.jpg?oh=d2f4c726844df95a7fae39606c9e3954&oe=5531E1A5&__gda__=1428842140_a3244368a6bf79afb8be86b882525328

 

10906173_10153036762037450_1128384139664723612_n.jpg?oh=beb3a73883d9f8a460663f7c413cf723&oe=55279D2C&__gda__=1433261433_a9dc239f0fa362051a5f50871f6f2fbf

 

นายสุวพันธ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นประธานฝ่ายฆราวาส

ในพิธีเจริญพระพุทธมนต์เจริญจิตภาวนาเพื่อถวายพระพรชัยมงคลถวายเป็นพระราชกุศลแด่

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

ครั้งที่ 1 ประจำปี 2558 ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม 6ม.ค.58 /

ภาพ ธนาชัย ประมาณพาณิชย์ ‪#‎NationPhoto‬ ‪#‎NationTV‬

ชมภาพชุด

http://www.nationtv.tv/main/gallery/?id=423

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

World Markets: สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ

 

 

 

 

 

ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 7 มกราคม 2558 07:45:01 น.

ดัชนีและภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ ประจำวันที่ 6 ม.ค.2557

 

-- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (6 ม.ค.) โดยดาวโจนส์ปิดในแดนลบติดต่อกัน 2 วันทำการ ขณะที่ดัชนี S&P 500 ปิดอ่อนแรงลงติดต่อกันเป็นวันที่ 5 เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ร่วงลงอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทุบตลาดร่วงลงด้วย

 

 

 

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 17,371.64 จุด ร่วงลง 130.01 จุด หรือ -0.74% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,592.74 จุด ลดลง 59.83 จุด หรือ -1.29% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,002.61 จุด ลดลง 17.97 จุด หรือ -0.89%

 

-- ตลาดหุ้นยุโรปปิดลบเมื่อคืนนี้ (6 ม.ค.) เนื่องจากนักลงทุนผิดหวังต่อรายงานที่ว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิตและบริการของยูโรโซนในเดือนธ.ค.ชะลอตัวลงจากการประมาณการเบื้องต้น นอกจากนี้ การร่วงลงของราคาน้ำมันดิบยังได้ฉุดหุ้นกลุ่มพลังงานดิ่งลงด้วย

ดัชนี Stoxx Europe 600 ปรับตัวลง 0.7% ปิดที่ 331.61 จุด

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,083.50 จุด ลดลง 27.86 จุด หรือ -0.68% ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 9,469.66 จุด ลดลง 3.50 จุด หรือ -0.04% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,366.51 จุด ลดลง 50.65 จุด หรือ -0.79%

 

--ตลาดหุ้นลอนดอนปิดปรับตัวลงต่อเนื่องเมื่อคืนนี้ (6 ม.ค.) หลังจากนักลงทุนผิดหวังกับข้อมูลเศรษฐกิจทั้งในประเทศ, ยูโรโซนและสหรัฐ

ดัชนี FTSE 100 ลดลง 50.65 จุด หรือ 0.79% ปิดที่ 6,366.51 จุด

 

-- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กยังคงปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (6 ม.ค.) เนื่องจากการคาดการณ์ที่ว่าสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐจะยังคงปรับตัวสูงขึ้น รวมทั้งข่าวที่ว่าอิรักวางแผนที่จะเพิ่มการส่งออกน้ำมันดิบในเดือนนี้

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.พ.ร่วงลง 2.11 ดอลลาร์ ปิดที่ 47.93 ดอลลาร์/บาร์เรล

ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนก.พ.ที่ตลาดลอนดอน ร่วงลง 2.01 ดอลลาร์ ปิดที่ 51.1 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

-- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (6 ม.ค.) โดยสัญญาทองคำปรับตัวขึ้นติดต่อกัน 3 วันทำการ เนื่องจากตลาดหุ้นสหรัฐที่ร่วงลงอย่างต่อเนื่องและวิกฤตการณ์ทางการเมืองในประเทศกรีซยังคงเป็นแรงกระตุ้นให้นักลงทุนเข้าซื้อสัญญาทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนก.พ.พุ่งขึ้น 15.4 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,219.40 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค.เพิ่มขึ้น 42.4 เซนต์ ปิดที่ 16.637 ดอลลาร์/ออนซ์

ส่วนสัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย.พุ่งขึ้น 10.5 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,221.40 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมี.ค.พุ่งขึ้น 7.20 ดอลลาร์ ปิดที่ 800.40 ดอลลาร์/ออนซ์

 

-- -ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเป็นวันที่ 2 ติดต่อกันเมื่อเทียบเงินเยน แต่ปรับตัวขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่เมื่อคืนนี้ (6 ม.ค.) ขณะที่การร่วงลงในช่วงที่ผ่านมาของราคาน้ำมันและตลาดหุ้นได้กระตุ้นความต้องการสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัย

ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.1914 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.1939 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์ลดลงที่ 1.5165 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5254 ดอลลาร์

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับลงเทียบกับสกุลเงินเยนที่ 118.63 เยน เทียบกับระดับ 119.52 เยน และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 1.0082 ฟรังค์ จาก 1.0064 ฟรังค์

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียปรับขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.8109 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.8091 ดอลลาร์

 

ดัชนี DJIA ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 17,371.64 จุด ลดลง 130.01 จุด -0.74%

ดัชนี NASDAQ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 4,592.74 จุด ลดลง 59.83 จุด -1.29%

ดัชนี S&P500 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 2,002.61 จุด ลดลง 17.97 จุด -0.89%

 

ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,366.51 จุด ลดลง 50.65 จุด -0.79%

ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 9,469.66 จุด ลดลง 3.50 จุด -0.04%

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,083.50 จุด ลดลง 27.86 จุด -0.68%

 

ดัชนี ALL ORDINARIES ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดที่ 5,346.20 จุด ลดลง 83.30 จุด -1.53%

ดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดที่ 5,364.80 จุด ลดลง 85.50 จุด -1.57%

ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันปิดที่ 9,048.34 จุด ลดลง 225.77 จุด -2.43%

ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปิดที่ 16,883.19 จุด ลดลง 525.52 จุด -3.02%

ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ปิดที่ 1,882.45 จุด ลดลง 33.30 จุด -1.74%

ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนปิดที่ 3,351.45 จุด เพิ่มขึ้น 0.93 จุด +0.03%

ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ปิดที่ 7,277.74 จุด เพิ่มขึ้น 1.11 จุด +0.02%

ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงปิดที่ 23,485.41 จุด ลดลง 235.91 จุด -0.99%

ดัชนี Jakarta Composite ตลาดหุ้นอินโดนีเซียปิดที่ 5,169.06 จุด ลดลง 50.94 จุด -0.98%

ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียปิดที่ 1,716.58 จุด ลดลง 20.04 จุด -1.15%

ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ปิดที่ 3,281.95 จุด ลดลง 46.33 จุด -1.39%

ดัชนี SENSEX ตลาดหุ้นอินเดียปิดที่ 26,987.46 จุด ลดลง 854.86 จุด -3.07%

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย นรินรัตน์ พรหมพิทักษ์/รัตนา โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--

 

ข่าวหุ้น-การเงินล่าสุด »

 

 

รายงานหุ้นถูกชอร์ตเซล ประจำวันที่ 06 ม.ค. 2558

 

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดทองคำนิวยอร์ก: ทองปิดพุ่ง $15.4 เหตุวิตกกรีซ,หุ้นร่วงหนุนแรงซื้อทอง

ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 7 มกราคม 2558 07:29:44 น.

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (6 ม.ค.) โดยสัญญาทองคำปรับตัวขึ้นติดต่อกัน 3 วันทำการ เนื่องจากตลาดหุ้นสหรัฐที่ร่วงลงอย่างต่อเนื่องและวิกฤตการณ์ทางการเมืองในประเทศกรีซยังคงเป็นแรงกระตุ้นให้นักลงทุนเข้าซื้อสัญญาทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย

 

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนก.พ.พุ่งขึ้น 15.4 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,219.40 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค.เพิ่มขึ้น 42.4 เซนต์ ปิดที่ 16.637 ดอลลาร์/ออนซ์

ส่วนสัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย.พุ่งขึ้น 10.5 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,221.40 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมี.ค.พุ่งขึ้น 7.20 ดอลลาร์ ปิดที่ 800.40 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาทองคำยังคงได้รับปัจจัยบวกจากการที่นักลงทุนมองว่า ทองคำเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัยในยามที่ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับฐานลง อันเนื่องมาจากวิกฤตการณ์ราคาน้ำมันดิบและความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศกรีซ โดยในการซื้อขายเมื่อคืนนี้ ดัชนีดาวโจนส์ร่วงลง 130.01 จุด หรือ -0.74% ปิดที่ 17,371.64 จุด

ส่วนสถานการณ์การเมืองในกรีซนั้น ทางการกรีซจะจัดการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 25 ม.ค.นี้ ขณะที่ผลสำรวจบ่งชี้ว่าพรรคไซรีซา ซึ่งคัคค้านการใช้มาตรการรัดเข็มขัดนั้น อาจจะได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง ซึ่งหากผลการเลือกตั้งออกมาเป็นไปตามคาดการณ์ ก็อาจจะส่งผลให้กรีซพ้นจากการเป็นสมาชิกของกลุ่มยูโรโซน

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--

 

ภาวะตลาดน้ำมัน: น้ำมัน WTI ปิดร่วง $2.11 จากคาดการณ์สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐพุ่ง

ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 7 มกราคม 2558 07:08:04 น.

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กยังคงปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (6 ม.ค.) เนื่องจากการคาดการณ์ที่ว่าสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐจะยังคงปรับตัวสูงขึ้น รวมทั้งข่าวที่ว่าอิรักวางแผนที่จะเพิ่มการส่งออกน้ำมันดิบในเดือนนี้

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.พ.ร่วงลง 2.11 ดอลลาร์ ปิดที่ 47.93 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

 

ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนก.พ.ที่ตลาดลอนดอน ร่วงลง 2.01 ดอลลาร์ ปิดที่ 51.1 ดอลลาร์/บาร์เรล

สัญญาน้ำมันดิบปิดตลาดปรับตัวลงติดต่อกัน 4 วันทำการเมื่อคืนนี้ เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับอุปทานน้ำมันล้นตลาด โดยล่าสุดมีกระแสคาดการณ์ว่า สต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 2 ม.ค.จะเพิ่มขึ้น 700,000 บาร์เรล แตะที่ 386.2 ล้านบาร์เรล

ด้านสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) เปิดเผยว่า ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 26 ธ.ค. พุ่งขึ้นแตะระดับ 9.13 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2526

นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันหลังจากนายอาซิม ญีฮัด โฆษกกระทรวงพลังงานของอิรักเปิดเผยว่า อิรักซึ่งเป็นสมาชิกของกลุ่มโอเปค วางแผนที่จะเพิ่มปริมาณการส่งออกในเดือนม.ค.เป็น 3.3 ล้านบาร์เรล หลังจากที่สามารถส่งออกน้ำมันได้ถึง 2.94 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือนธ.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1980

ทั้งนี้ สัญญาน้ำมันดิบ WTI ปรับตัวลงอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ที่ประชุมโอเปคมีมติคงเพดานการผลิตน้ำมันเอาไว้ที่ 30 ล้านบาร์เรลต่อวันเมื่อวันที่ 27 พ.ย.ปีที่แล้ว และยังไม่มีสัญญาณบ่งชี้ว่าโอเปคจะปรับลดปริมาณการผลิตเพื่อสกัดการร่วงลงของราคาน้ำมันดิบจนถึงขณะนี้

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--

 

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก: ดอลล์อ่อนเทียบเยน จากวิตกราคาน้ำมัน,ตลาดหุ้นร่วง

ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 7 มกราคม 2558 07:29:08 น.

ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเป็นวันที่ 2 ติดต่อกันเมื่อเทียบเงินเยน แต่ปรับตัวขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่เมื่อคืนนี้ (6 ม.ค.) ขณะที่การร่วงลงในช่วงที่ผ่านมาของราคาน้ำมันและตลาดหุ้นได้กระตุ้นความต้องการสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัย

ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.1914 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.1939 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์ลดลงที่ 1.5165 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5254 ดอลลาร์

 

 

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับลงเทียบกับสกุลเงินเยนที่ 118.63 เยน เทียบกับระดับ 119.52 เยน และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 1.0082 ฟรังค์ จาก 1.0064 ฟรังค์

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียปรับขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.8109 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.8091 ดอลลาร์

ราคาน้ำมันยังคงร่วงลงเมื่อคืนนี้ เนื่องจากตลาดคาดว่าปริมาณสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐจะเพิ่มขึ้น ขณะที่สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบเบรนท์ดิ่งลงแตะ 51.1 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 6 ปี

ขณะเดียวกัน ตลาดหุ้นสหรัฐอ่อนแรงลงในการซื้อขายช่วงเช้าและปิดในแดนลบ โดยดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ร่วงลง 130.01 จุด มาปิดที่ 17,371.64 จุด

การปรับตัวที่ย่ำแย่ของราคาน้ำมันและตลาดหุ้นนิวยอร์กส่งผลให้เงินเยนปรับตัวขึ้น 0.83% เมื่อเทียบดอลลาร์ในระหว่างวัน

สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่มีการเปิดเผยเมื่อคืนนี้ต่างก็ออกมาในเชิงลบ โดยมาร์กิตเปิดเผยว่า ภาคบริการของสหรัฐเดือนธ.ค.2557 ลดลงแตะ 53.3 จาก 56.2 ในเดือนก่อนหน้า โดยนับเป็นการขยายตัวในอัตราต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.พ.ปีที่แล้ว ขณะที่การเติบโตในธุรกิจใหม่และการจ้างงานปรับตัวลดลง

ทางด้านสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) รายงานว่าดัชนีภาคบริการในเดือนธ.ค. อ่อนแรงลงแตะ 56.2 เทียบกับ 59.3 ในเดือนพ.ย.

นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์ยังรายงานว่าคำสั่งซื้อใหม่สำหรับสินค้าในภาคการผลิตลดลง 0.7% ในเดือนพ.ย. หลังจากร่วงลง 0.7% เช่นกันในเดือนต.ค. โดยเป็นการปรับตัวลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย พันธุ์ทิพย์ คำเพิ่มพูล โทร.02-2535000 อีเมล์: pantip@infoquest.co.th--

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

 

 

 

 

Thanong Fanclub

9 hrs · Edited ·

zF84oovpD-v.png ·

 

8. ยุโรปป่วน นาโต้รวน แต่ได้เวลาเช๊คเมทกันแล้ว

ความผิดพลาดของแองโกลอเมริกันอันใหญ่หลวงคือการปล่อยให้รัสเซีย จีนและอิหร่านกล้าแกร่งขึ้นมาได้ ขณะนี้บอกได้ว่ารัสเซีย จีนและอิหร่านเป็นพันธมิตรที่จับมือกันเหนี่ยวแน่นที่สุดในการเผชิญหน้ากับสหรัฐฯและอังกฤษ ถ้าจะต้องตายก็พร้อมที่จะกอดคอกันตาย ส่วนอินเดียยังคงเล่นตัว ขอปรึกษาพระนารายณ์ก่อนที่จะให้คำตอบสุดท้ายว่าจะร่วมลงเรือลำเดียวกันหรือไม่ รัสเซียเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่ไม่แพ้สหรัฐฯในแสนยานุภาพ จีนมีเศรษฐกิจเทียบเท่าสหรัฐฯไปแล้ว และมีจุดแข็งกว่าคือมีการผลิตที่มีความสามารถในการแข่งขันสูง ส่วนสหรัฐฯมีแต่หนี้และการเงินที่มาครอบเศรษฐกิจที่แท้จริงที่อ่อนแอลงไปเรื่อยๆ อิหร่านเป็นมหาอำนาจเปอร์เซียโบราณมีความแกร่งทางด้านการทหาร มีวินัยและความอดทนสูง และมียุทธศาสตร์ที่จะกลับมาฟื้นความยิ่งใหญ่ทั้งๆที่โดนตะวันตกแซงชั่นมาช้านาน รัสเซีย จีน อิหร่านจึงเป็นหัวหอกที่จะท้าทายอำนาจของโลกตะวันตกในยุคสงครามเย็นใหม่ที่กำลังดำเนินไปอย่างดุเดือดเลือดพล่าน

จึงไม่น่าแปลกใจที่สงครามน้ำมันที่ผ่านมาของสหรัฐฯเล็งเป้าไปที่รัสเซีย อิหร่านและเวเนซูเอล่า แม้ว่าจีนจะได้ประโยชน์เต็มๆเพราะว่าเป็นประเทศผู้นำเข้าน้ำมัน ทั้งรัสเซีย อิหร่านและเวเนซูเอล่าโดนสหรัฐฯแซงชั่นเหมือนกัน การทุบราคาน้ำมันก็หวังว่าจะเร่งการล่มสลายของเศรษฐกิจของทั้งสามประเทศที่พึ่งพารายได้จากน้ำมันในการใช้จ่ายเพื่อบริหารประเทศ ส่วนเกาหลีเหนือก็โดนแซงชั่นมานาน แต่ไม่ได้เป็นตัวเล่นหลักทางพลังงาน ให้สังเกตุดูดีๆว่า รัสเซีย เวเนซูเอล่า และอิหร่านต่างก็มีบ่อน้ำมันสำรองมากมายมหาศาลเป็นที่หมายปองของบริษัทน้ำมันตะวันตก เมื่อขอส่วนแบ่งน้ำมันดีๆไม่ให้ ก็ต้องทุบให้จมดินเป็นธรรมดาตามนิสัยนักล่าอาณานิคมเก่า ส่วนสมันน้อยไทยแลนด์ไม่ต้องห่วง เขายังไม่ทันขอ ก็ประเคนให้เขาไปแล้ว หนังคนละม้วนกันเลย

ทางกองทุนการเงินระหว่างประเทศคาดการว่ารัสเซียต้องการเห็นน้ำมันที่ราคา$98ต่อบาเรลล์เพื่อทำให้งบประมาณใช้จ่ายสมดุล ส่วนเวเนซูเอล่าตัวเลขอยู่ที่$117.50 และอหร่านอยู่ที่$130.70 แต่ผลของการจับมือในการทุบน้ำมันระหว่างซาอุดิฯและสหรัฐฯในระยะ6เดือนที่ผ่านมาทำให้ราคาน้ำมันตอนนี้หล่นลงมาอย่างฮวบฮาบที่เหนือระดับ$50ต่อบาเรลล์เพียงเล็กน้อย ราคาน้ำมันยิ่งตกลง ประเทศผู้ผลิตน้ำมันยิ่งจุก รัฐมนตรีต่างประเทศอิหร่านเตือนเมื่อวันพฤหัสบดี(1ม.ค.) ว่าราคาน้ำมันที่กำลังตกต่ำจะทำร้ายประเทศต่างๆทั่วภูมิภาคตะวันออกกลาง จนกว่าซาอุดีอาระเบีย ชาติผู้ส่งออกน้ำมันดิบรายใหญ่ที่สุดของโลก จะดำเนินการเพื่อพลิกฟื้นราคา

ฮอสเซน อามีร์ อับดอลลาเฮียน รัฐมนตรีต่างประเทศอิหร่าน ชี้ว่าการวางเฉยของซาอุดีอาระเบียต่อการร่วงลงของราคาน้ำมันต่อเนื่องมา 6 เดือนติดเป็นยุทธศาสตร์ที่ผิดพลาด และเขายังคงหวังว่าดินแดนแห่งนี้จะมีมาตรการตอบสนองออกมา "มีหลายเหตุผลที่ฉุดราคาน้ำมันให้ร่วงลง แต่ซาอุดีอาระเบียสามารถใช้มาตรการต่างๆในบทบาทผู้ผลิตในสถานการณ์นี้ได้" อับดอลลาเฮียนกล่าว "ถ้าซาอุดีอาระเบียไม่ช่วยขัดขวางการทรุดลงของราคา ความผิดพลาดร้ายแรงนี้จะส่งผลลัพธ์ในทางลบกับทุกประเทศในภูมิภาค" รัฐมนตรีพลังงานอิหร่านกล่าว

อิหร่านที่โดนแซงชั่นหนักมาเป็นระยะเวลาหลาย10ปีก็เพราะว่าไม่ยอมยกบ่อน้ำมันให้ฝรั่ง จึงโดนหาเรื่องตลอดโดยเฉพาะเรื่องการพัฒนานิวเคลียร์ อิหร่านบอกว่าต้องการพัฒนานิวเคลียร์เพื่อการพลังงาน ฝรั่งบอกว่าอิหร่านแอบแฝงพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ จึงมีมาตรการแซงชั่นอิหร่านต่างๆนาๆ รวมทั้งตัดอิหร่านออกจากระบบSWIFT คือไม่ให้ทำธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศได้ แต่อิหร่านยอมกัดฟัน ยอมจนดีกว่ายอมยกบ่อน้ำมันให้ฝรั่งเอาเปรียบ

ในเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว มีเส้นตายการเจรจาข้อตกลงนิวเคลียร์ระหว่างอิหร่านและ6ประเทศมหาอำนาจคือสหรัฐฯ อังกฤษ รัสเซีย จีน ฝรั่งเศสและเยอรมันที่กรุงเวียนนาถ้าตกลงกันรายละเอียดทางเทคนิคไม่ได้มีหวังอิหร่านโดนแซงชั่นเพิ่ม รู้ๆกันอยู่ว่าใน6มหาอำนาจนี้ รัสเซียและจีนเข้าข้างอิหร่านอยู่แล้ว ส่วนที่เหลือคอยแต่จะจับผิด ทั้งๆที่เรื่องทั้งหมดน่าจะเป็นปาหี่ เพราะว่าอิหร่านมีจรวดนิวเคลียร์อยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องพัฒนาเองก็ได้ อยากได้เท่าไหร่ รัสเซียหรือจีนก็ประเคนให้ได้ จะไม่ให้อิหร่านมีนิวเคลียร์ได้อย่างไร ในเมื่ออิสราเอลมีจรวดนิวเคลียร์เป็นร้อยๆลูก และทั้งอิสราเอลและซาอุดิฯก็เตรียมล่ออิหร่านอยู่แล้ว รอแต่สหรัฐฯให้ท้ายเท่านั้น แต่อย่างว่าในเวทีการเมืองโลก ต้องรักษาฟอร์มเอาไว้ก่อน สหรัฐฯค่อยๆบีบอิหร่านไปเรื่อยๆเพื่อให้เศรษฐกิจล่มจมและยอมต่อแรงกดดัน หลังเส้นตายเจรจานิวเคลียร์อิหร่านผ่านไป ปรากฎว่าไม่มีอะไรในกอไผ่ มหาอำนาจทั้ง6ตกลงเลือนเส้นตายไปเดือนมิถุนายนปี2015 ระหว่างนี้เงิน$700ล้านเหรียญของอิหร่านที่โดนสหรัฐฯแช่แข็งสามารถเบิกใช้จ่ายได้

อิหร่านเป็นคู่กัดกับซาอุดิฯเพื่อชิงความเป็นใหญ่ในโลกอาหรับที่ถูกแบ่งแยกโดยมุสลิมซีอะห์นำโดยอิหร่านและมุสลิมสุหนี่นำโดยซาอุดิฯ และสิ่งที่ซาอุดิฯกลัวที่สุดคือสหรัฐฯอาจจะทรยศด้วยการไปคืนดีกับอิหร่าน โอบามาส่งซิกหลายครั้งแล้วว่าต้องการฟื้นสัมพันธืกับอิหร่าน แม้ว่าจะมีข้อแม้ต่างๆมากมาย แต่ลึกๆแล้วสหรัฐฯต้องการโดดเดี่ยวรัสเซียนั่นเอง ถ้าได้อิหร่านเข้ามาอยู่ใต้ปีก เหมือนกับที่โอบามาต้องการรื้อสัมพันธ์กับคิวบาเพื่อไม่ให้คิวบาเป็นหอกข้างแคร่อีกต่อไป แม้ว่าสงครามเย็นระหว่างสหรัฐนและรัสเซียจะดุเดือด แต่สหรัฐฯยังไม่กล้าที่จะตอแยกับจีนเวลานี้ เก็บจีนเอาไว้ก่อน ถ้าให้จีนอยู่ขอบสนามเฉยๆในศึกสามก๊กก็เท่ากับว่ามีชัยเหนือรัสเซียกว่าครึ่งไปแล้ว

เพื่อที่จะกอดคออิหร่านให้แน่นขึ้นไปอีก ปูตินเดินเกมสัมพันธ์กับอิหร่านให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ในเดือนพฤศจิกายน 2014มีการเซ็นสัญญาความร่วมมือทางนิวเคลียร์ระหว่างรัสเซียและอิหร่าน โดยที่รัสเซียจะสร้างโรงงานผลิตพลังงานนิวเคลียร์ให้อิหร่านถึง8โรงด้วยกัน นอกจากนี้รัสเซียยังจะส่งมอบอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมน้ำมันให้กับอิหร่าน

อิหร่านไม่มีทางเลือกนอกจากจะเพิ่มความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับกลุ่มยูเรเซียที่รัสเซียเป็นหัวหอก อิหร่านเป็นหนึ่งในประเทศที่กล้าตอบโต้เปโตรดอลล่าร์ ด้วยการขายน้ำมันแลกทอง หรือเงินสกุลอื่นๆ รัสเซียและจีนก็กำลังค้ากันด้วยหยวนและรูเบิ้ล ไม่เอาดอลล่าร์ หรือถ้าได้ดอลล่าร์มาก็รีบเปลี่ยนเป็นทองคำทันที นึกภาพดูว่าปริมานการค้าระหว่างทั้งสามประเทศที่ไม่เอาดอลล่าร์ จะส่งผลกระทบต่อเปโตรดอลล่าร์อย่างไร ปูตินสบายใจที่มีอิหร่านเป็นพันธมิตร เพราะว่าจะได้ไม่ต้องกังวลทางตอนใต้ของประเทศมากนักในขณะที่โอบามากำลังเพิ่มทหารในอัฟกานิสถานเพื่อปิดล้อมรัสเซียทางใต้อยู่

สถานการณ์ในตะวันออกกลางค่อนข้างอ่อนไหวเวลานี้ เพราะว่าเต้นไปตามจังหวะของความอ่อนไหวในยุโรปที่หมีขาวกำลังจะฮึมๆกลับหลังจากโดนพวกยุโรปบี้ตลอดปีที่แล้ว ได้เวลาที่ปูตินจะตอบโต้แล้ว จะเป็นอย่างไรต้องคอยดูกันต่อไป ถ้าปูตินขยับ อิหร่านน่าจะขยับตามไปด้วย แต่สหรัฐฯหรืออิสราเอลอาจจะชิงลงมือก่อนก็ได้ ชั่วโมงนี้ใครออกหมัดก่อนได้ทั้งนั้น

thanong

6/1/2015

http://www.foxnews.com/…/will-crashing-oil-prices-make-rus…/

http://www.bbc.com/news/world-middle-east-30180968

 

 

 

 

10906581_309167519279629_3786222409827333993_n.jpg?oh=d30a7f1aa33cdff59e9c35c509d57741&oe=552E4D52&__gda__=1430494476_357cf580595f9da831257fdc3f874608

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

โปรดเกล้าฯ4ขรก.ตุลาการพ้นตำแหน่งเรียกคืนเครื่องราชฯ.... อ่านต่อได้ที่ :http://bit.ly/1Ki395e

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

10433064_819619581409852_8840941444645449333_n.png?oh=471570a48684a3085b3cc7e3264fff07&oe=55240E02

10891994_819619578076519_3790019166811953071_n.png?oh=3c606d218baa5455b215bb7221d2de76&oe=55423514&__gda__=1428813256_39b517f5b3f8e989f8e4d0c41d15fa74

 

10917289_819621678076309_9204670089191089430_n.png?oh=7245d28a8913250655f59fc2cf7bca62&oe=553CD620&__gda__=1429102488_adbdb2ac4024f8793cefd6f1902c4b20

 

ราคาทองบวกขึ้นหลังหุ่นสหรัฐดิ่งลงอีกวันแต่ทองน่าจะย่อตัวลงจากการที่วันนี้มีตัวเลขสำคัญนักลทุนส่วนใหญ่น่าจะรอดูข่าวหลักก่อนค่อยแอ็กชั่นต่อ

ราคาน้ำมันลงถึงแนวหนุนหลักแนวสำคัญ คือบริเวณ 40 - 50 เหรียญทั้ง UK OIL และ US OIL เป็นทั้งฐานราคาในเชิงเทคนิคและต้นทุนการขุดน้ำมันแบบเดิมส่วนหนึ่ง แต่แรงขายแบบ Panic Sell จะหยุดลงได้ที่บริเวณไหนต้องคอยดู และแนวโน้มยังเป็นลบ

ตลาดหุ้นเช้านี้เริ่มทรงตัวทำให้ทองอาจพักตัวหลังจากที่เด้งตัวจากจุดต่ำสุดราว 1170 มาสูงสุดบริเวณ 1223

-----------------------------------------------------------------------------

การฟอร์มตัวเริ่มตั้งหลักใน Bullish Zone ถ้ายังทรงตัวในระดับนี้ได้แiรงยังดี จะยังขึ้นทดสอบแนวต้าน 1225 1230 1235 การอ่อนแรงลงจะกลับมาทรงตัวในกรอบเดิมโดยจุดกึ่งกลางหรือจุดสมดุลคือ 1195 1200

ด้วยการปรับตัวขึ้นตามแรงซื้อสินทรัพย์ปลอดภัยในเบื้องต้นจึงมองว่าเป็นบวกเพียงช่วงสั้นๆ โดยเฉพาะถ้าตัวเลขจ้างงานสหรัฐคืนนี้ออกมาดี มองเป้าการย่อตัวลงสู่บริเวณ 1205 1208 อย่างไรก็ตามการย่อตัวลงไม่ต่ำกว่าระดับนี้ยังมีลุ้นขึ้นต่อได้

----------------------------------------------------------------------------

แนวหนุนระยะสั้นคือ 1215 ลงต่ำกว่าจุดนี้พักตัว รอลุ้นกับตัวเลขคืนนี้ว่าจะอย่างไร เอสตามสั้นๆ เมื่อหลุด 1215 เป้า 1205 1208 ส่วนขาซื้ออยากถือต่อตั้งเทลลิ่งไว้ที่1198 1205

แนวต้าน 1225 1230 1235

แนวหนุน 1205 1208 1215

by Facebook.com/Wealthstation

7/1/58

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คุณณัฐฑี จุฑาวรากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คลาสสิก โกลด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด ร่วมพูดคุยเกี่ยวกับแนวโน้ม ราคาทองคำและปัจจัย ที่มีผลทำให้ราคาทองคำขึ้นและลง พร้อมทั้งคำแนะนำสำหรับการลงทุน ในรายการ Money Daily ทางสถานีโทรทัศน์ Modern9 วันพุธที่ 7 มกราคม 2558

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...