ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

World Markets: สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ

 

 

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 15 กันยายน 2554 06:03:59 น.

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (14 ก.ย.) หลังจากนางแองเกลา แมร์เคล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี และนายนิโคลาส์ ซาร์โกซี ประธานาธิบดีฝรั่งเศส ได้แสดงความเชื่อมั่นในอนาคตของกรีซว่าจะยังสามารถรวมกลุ่มเป็นสมาชิกยูโรโซนต่อไปได้ ซึ่งข่าวดังกล่าวทำให้นักลงทุนเชื่อมั่นว่าสองผู้นำของชาติมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของยุโรปจะช่วยเหลือกรีซให้สามารถหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ได้

 

 

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์พุ่งขึ้น 140.88 จุด หรือ 1.27% ปิดที่ 11,246.73 จุด ดัชนี S&P 500 เพิ่มขึ้น 15.81 จุด หรือ 1.35% ปิดที่ 1,188.68 จุด ดัชนี Nasdaq เพิ่มขึ้น 40.40 จุด หรือ 1.60% ปิดที่ 2,572.55 จุด

 

-- สัญญาน้ำมันดิบตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (14 ก.ย.) หลังจากสำนักงานพลังงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐรายงานว่า สต็อกน้ำมันเบนซินสัปดาห์ที่แล้วพุ่งขึ้นเกินคาด ซึ่งบ่งชี้ว่าความต้องการพลังงานในสหรัฐยังคงอ่อนแอ นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากรายงานของทางการสหรัฐที่ระบุว่า ยอดค้าปลีกไม่มีการขยายตัวในเดือนส.ค. ขณะที่ปริมาณสต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเพิ่มขึ้นน้อยเกินคาดในเดือนก.ค.

 

สัญญาน้ำมันดิบ NYMEX (New York Mercantile Exchange) ส่งมอบเดือนต.ค.ลดลง 1.30 ดอลลาร์ หรือ 1.44% ปิดที่ 88.91 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

-- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (14 ก.ย.) เนื่องจากนักลงทุนเทขายสัญญาทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย หลังจากผู้นำเยอรมนีและฝรั่งเศสส่งสัญญาณว่าจะช่วยเหลือกรีซให้สามารถหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ได้

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.ลดลง 3.6 ดอลลาร์ หรือ 0.2% ปิดที่ 1,826.5 ดอลลาร์/ออนซ์

 

-- สกุลเงินยูโรแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (14 ก.ย.) เนื่องจากนักลงทุนคาดหวังว่ากลุ่มนำยุโรปจะร่วมมือกันเพื่อยับยั้งการลุกลามของวิกฤตหนี้ ซึ่งรวมถึงการที่นายโฮเซ มานูเอล บาร์โรโซ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป (อีซี) กล่าวว่า อีซีจะเสนอทางเลือกเพื่อออกพันธบัตรเขตยูโรในเร็วๆนี้ ขณะที่สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลงหลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอ รวมถึงยอดขายค้าปลีกที่ไม่มีการขยายตัวในเดือนส.ค.

 

ค่าเงินยูโรพุ่งขึ้น 0.50% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.3748 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.3680 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ค่าเงินปอนด์อ่อนตัวลง 0.10% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.5767 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5782 ดอลลาร์สหรัฐ

 

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลง 0.38% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 76.630 เยน จากระดับ 76.920 เยน และร่วงลง 0.42% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.8761 ฟรังค์ จากระดับ 0.8798 ฟรังค์

 

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียร่วงลง 0.43% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.0272 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.0316 ดอลลาร์สหรัฐ และค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์อ่อนตัวลง 0.16% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.8216 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.8229 ดอลลาร์สหรัฐ

 

-- ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดบวกเมื่อคืนนี้ (14 ก.ย.) จากแรงซื้อที่ส่งเข้าหนุนหุ้นกลุ่มค้าปลีก หลังจากบริษัท เน็กซ์ เปิดเผยผลประกอบการที่ดีเกินคาด

 

ดัชนี FTSE 100 เพิ่มขึ้น 52.77 จุด หรือ 1% ปิดที่ 5,227.02 จุด

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดทองคำนิวยอร์ก: แรงขายฉุดทองคำปิดลบ 3.6 ดอลลาร์

 

 

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 15 กันยายน 2554 06:50:27 น.

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (14 ก.ย.) เนื่องจากนักลงทุนเทขายสัญญาทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย หลังจากผู้นำเยอรมนีและฝรั่งเศสส่งสัญญาณว่าจะช่วยเหลือกรีซให้สามารถหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ได้

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.ลดลง 3.6 ดอลลาร์ หรือ 0.2% ปิดที่ 1,826.5 ดอลลาร์/ออนซ์

 

 

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนธ.ค.ลดลง 66 เซนต์ ปิดที่ 40.533 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาโลหะทองแดงส่งมอบเดือนธ.ค.ลดลง 7.2 เซนต์ ปิดที่ 3.898 ดอลลาร์/ปอนด์

 

ส่วนสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนต.ค. ดิ่งลง 7.50 ดอลลาร์ ปิดที่ 721 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนต.ค.พุ่งขึ้น 2.40 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,815.90 ดอลลาร์/ออนซ์

 

นักลงทุนเทขายสัญญาทองคำทันทีที่นางแองเกลา แมร์เคล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี และนายนิโคลาส์ ซาร์โกซี ประธานาธิบดีฝรั่งเศสออกแถลงการณ์ร่วมกันเมื่อช่วงค่ำวานนี้ว่า กรีซมีคุณสมบัติที่จะยังคงเป็นสมาชิกยูโรโซนต่อไป นอกจากนี้ ผู้นำเยอรมนีและฝรั่งเศส พร้อมด้วยนายกรัฐมนตรีของกรีซ ยังร่วมกันวางแผนที่จะใช้มาตรการควบคุมปัญหาหนี้ในยุโรป

 

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า นักลงทุนยังคงเดินหน้าเทขายสัญญาทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย แม้มูดีส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของธนาคารรายใหญ่ 2 แห่งของฝรั่งเศสเมื่อวานนี้ก็ตาม

 

อย่างไรก็ตาม ไมค์ ดาลี นักวิเคราะห์ด้านทองคำจากบริษัทพีเอฟจีเบสท์ในเมืองชิคาโกกล่าวว่า "กรีซยังคงเป็นศูนย์กลางของปัญหาหนี้ในยุโรป และความเคลื่อนไหวของกลุ่มสหภาพยุโรป (อียู) ยังคงสะท้อนให้เห็นว่ายุโรปอยู่ในสภาวะที่เปราะบางมาก นอกจากนี้ แม้รัฐมนตรีคลังยุโรปพยายามที่จะให้ความช่วยเหลือ แต่ก็ไม่สามารถหนุนสถานะด้านการคลังของกรีซได้มากนัก"

 

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

มดแดง บรรยายประกอบได้ดี ค้อนมา รอสังเกตไปกัน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แต่ตอนนี้มันทำท่าจะร่วงอ่ะ

 

รู้สึกว่า...อยากให้มองเห็นว่า...จะเทแล้วนะ...กลัวใหม แต่ก็ได้แนวรับที่รับไว้ได้อีกแระ ...สู้กันต่อไป

 

 

10 วัน sideway

5 วันลง :lol:

ถูกแก้ไข โดย moddang..

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เย้เย้เข้าบ้านได้แล้ว

ขอบคุณคุณมดแดงที่ช่วยเปิดล๊อคประตูบ้านให้ แสงแดดถูกเนรเทศไว้นอกบ้านซะหลายวัน หนาวมาก

ขอเข้ามารายงานตัวใหม่ และสวัสดีทุกๆคนนะคะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

+1 คุณมดแดง พูดถูกใจจังเลย ขอบคุณนะคะ :wub: :wub: :wub:

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น
:rolleyes: ถูกแก้ไข โดย ขาใหม่

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

OECD เผยหากกรีซผิดนัดชำระหนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อโปรตุเกส

 

 

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 15 กันยายน 2554 11:37:09 น.

นายมิเกล แองเจล กูร์เรีย เลขาธิการองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) กล่าวว่า หากกรีซผิดนัดชำระหนี้ ก็จะไม่ส่งผลกระทบกับโปรตุเกส

 

"ผมคิดว่าโปรตุเกสได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มผู้นำยุโรปซึ่งคงไม่ปล่อยให้สถานการณ์บานปลายออกไป" นายกูร์เรียกล่าวในการแถลงข่าวภายหลังการประชุมร่วมกับประธานาธิบดีอานิบาล คาวาโก ซิลวา ของโปรตุเกส

 

 

 

ในการตอบคำถามเกี่ยวกับการซึมซับข่าวสถานการณ์กรีซและโปรตุเกสในตลาดนั้น นายกูร์เรียชี้ว่า "ปัญหาของกรีซมีความรุนแรงอย่างมาก แต่การเน้นย้ำให้เห็นถึงข้อดีของมาตรการที่โปรตุเกสเลือกใช้ก็เป็นเรื่องที่สำคัญ"

 

ส่วนเรื่องการปรับขึ้นภาษีของโปรตุเกสนั้น นายกูร์เรียกล่าวว่า เป็นเรื่องที่จำเป็นต้องดำเนินการ เพื่อแก้ปัญหางบประมาณในอดีต "ไม่มีอะไรที่ได้มาฟรีๆ หากเราอยากเห็นการเติบโตในอนาคต เราจำเป็นต้องเสียสละบางอย่างในปัจจุบัน"

 

นอกจากนี้ เลขาธิการ OECD ยังกล่าวด้วยว่า ความวิตกกังวลในขณะนี้ก็คือ เรื่องอัตราว่างงานในกลุ่มคนหนุ่มสาว ซึ่งไม่ได้เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะแต่ในโปรตุเกสเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นในอีกหลายประเทศ เช่น สเปนฝรั่งเศส หรือแม้กระทั่งในสหรัฐ สำนักข่าวซินหัวรายงาน

 

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย เกตุ โนนทิง/สุนิตา โทร.02-2535000 ต่อ 315

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีครับ คุณChez คุณGinger คุณมดแดง คุณ News คุณปุยเมฆ Mr. Li, คุณnuchaba คุณ deb99, คุณ bbeem คุณ chinchila คุณ raty คุณตังเม คุณTanusg คุณเด็กสยาม คุณGodron คุณ XAU-METALLIC คุณ Put42 และทุกๆ ท่าน

 

กราฟ ช่วงนี้ผันผวนกันจังนะครับ เดี๋ยวขึ้น เดี๋ยวลง

ตอนนี้สัญญาณหลายตัว ก็ยังลงอยู่ครับ

1.จุดที่น่าสนใจ คือ revise triple bottom ครับ แถว ๆ 1792-1796 ครับ แต่ ก็ตามดูมาตั้งแต่ H&S แล้ว ไม่ว่าจะ แบบตรง หรือแบบกลับ ยังไม่เจอแบบ จะจะ เลย ก็เลยยังต้องดูกันต่อไปครับ ว่าจะออกแนวไหน ระหว่างนี้ คงต้องติดตามตัวเลข ต่าง ๆ ของ อเมริกา และ หนี้ฝั่งยุโรป ว่าจะเป็นไง

2. ในราย 4 h เที่ยงเทียน แต่ เส้น boil band ล่าง แล้ว ดีด ขึ้น ไป แถมยังมี EMA 150 ต้านไว้อีกจุด แถว ๆ 1804 ก็ น่าจะเด้งขึ้นไปได้อีก

 

แนวรับ แบบ มือใหม่ ก็คง 1761 / 1792 / 1804

แนวต้าน แถว 1814/ 1817 / 1823 / 1831

ประมาณนี้ครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

SCB EIC คาดบาทอ่อนค่าลง รับผลจากมูดี้ส์ลดความน่าเชื่อถือธนาคารฝรั่งเศส

 

 

ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 15 กันยายน 2554 15:32:59 น.

ศูนย์วิจัย ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ประเมินว่า เงินบาทไทยมีแนวโน้มอ่อนค่าในช่วงที่ปัญหาในยุโรปรุนแรงขึ้น ความเสี่ยงภาคการเงินในยุโรปที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้เงินทุนไหลกลับไปยังสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างดอลลาร์สหรัฐฯ ส่งผลให้เงินสกุลอื่นๆ รวมทั้งไทยอ่อนค่าลงเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ

 

 

 

ทั้งนี้ ค่าเงินบาทเริ่มกลับมาอ่อนค่าแล้วเกือบ 2% นับตั้งแต่ช่วงปลายเดือนก.ค.54 ซึ่งเป็นช่วงที่ข่าวทางลบในยุโรปและความกังวลต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ เพิ่มสูงขึ้น สอดคล้องกับเงินยูโรที่อ่อนค่าลงเกือบ 5% ในช่วงเวลาเดียวกัน

 

นอกจากนี้ ความเสี่ยงในภาคธนาคารและเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นอาจทำให้ธนาคารกลางยุโรปพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งจะยิ่งทำให้เงินทุนไหลกลับไปยังสหรัฐฯ ทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นและเงินบาทอ่อนค่าลง

 

อนึ่ง บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ Moody’s ได้ประกาศปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของ Credit Agricole จาก Aa1 เป็น Aa2 และ Societe Generale (SocGen) จาก Aa2 เป็น Aa3 รวมทั้งให้มุมมองเป็นลบ ซึ่งธนาคารทั้งสองเป็นธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่อันดับ 2 และ 3 ของฝรั่งเศส

 

อย่างไรก็ตาม ภาคธนาคารยุโรปเป็นตัวแปรที่ต้องจับตามองเพราะอาจทำให้เกิดวิกฤติการเงินและเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศยูโรอีกครั้ง เนื่องจากการกู้ยืมระหว่างธนาคารประเทศต่างๆ ในยุโรปเป็นช่องทางสำคัญที่ผลกระทบจากปัญหาหนี้ภาครัฐจะแพร่กระจายไปทั่วภูมิภาค

 

นอกจากนี้ เสถียรภาพของภาคธนาคารยังเป็นปัจจัยที่มีผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนอย่างมาก ส่วนผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริง หากภาคธนาคารประสบปัญหาสภาพคล่องก็จะทำให้การปล่อยกู้แก่ภาคเอกชนลดลง โดยเฉพาะถ้าปัญหาดังกล่าวรุนแรงก็อาจนำไปสู่ภาวะ credit crunch(ภาวะที่สินเชื่อตึงตัว) ซึ่งจะส่งผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างรุนแรง

 

--อินโฟเควสท์ โดย รัชดา คงขุนเทียน/กษมาพร โทร.02-2535000

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ว.วชิรเมธี (W.Vajiramedhi)

‎"เมื่อรู้ว่าร่างกายนี้แตกดับง่ายเหมือนหม้อน้ำ

พึงป้องกันจิตให้มั่นเหมือนป้องกันเมืองหลวง

แล้วพึงรบกับพญามารด้วยอาวุธคือปัญญา

เมื่อรบชนะแล้วพึงรักษาชัยชนะนั้นไว้

ระวังอย่าตกอยู่ในอำนาจมารอีก"

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รมว.คลังนิวซีแลนด์รับประเทศเผชิญกับสถานการณ์ท้าทายจากวิกฤตหนี้ยุโรป

 

 

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 15 กันยายน 2554 15:50:16 น.

นายบิล อิงลิช รัฐมนตรีคลังนิวซีแลนด์เตือนว่า นิวซีแลนด์กำลังเผชิญกับความท้าทายทางเศรษฐกิจระลอกใหม่ ในขณะที่วิกฤตหนี้ในยุโรปเลวร้ายยิ่งขึ้น

 

นายอิงลิชระบุว่า หากกรีซและอาจเป็นไปได้ว่าโปรตุเกสผิดนัดชำระหนี้ ประเทศเหล่านี้จะไม่มีภูมิคุ้มกันจากภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจ แต่ถึงกระนั้นก็ไม่จำเป็นต้องตื่นตระหนก ซึ่งเขายังมีมุมมองที่เป็นบวกต่อแนวโน้มเศรษฐกิจนิวซีแลนด์

 

"พวกเรากำลังค่อยๆ พาตัวเองไปสู่จุดที่มีการแข่งขันกันมากขึ้น เรากำลังส่งออกสินค้าสู่ตลาดที่ยังมีพื้นฐานการขยายตัวค่อนข้างดีโดยเฉพาะในเอเชีย พร้อมกับลดการพึ่งพาตลาดสหรัฐและยุโรปที่เป็นตลาดดั้งเดิมของเราลงเล็กน้อย" เขากล่าว

 

นายอิงลิชกล่าวว่า เศรษฐกิจขยายตัวได้เร็วเกินคาดในปีนี้ แต่หากดูแนวโน้มการขยายตัวในอีก 2 ปีข้างหน้านั้นมีแนวโน้มว่าจะอ่อนแอลง สำนักข่าวซินหัวรายงาน

 

 

 

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย อรษา สงค์พูล/สุนิตา โทร.02-2535000 ต่อ 315

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อียูลดคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจลงเหลือ 0.1% ตอกย้ำแนวโน้มย่ำแย่

 

 

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 15 กันยายน 2554 17:37:58 น.

สหภาพยุโรป (อียู) ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าวิกฤตหนี้มีแนวโน้มจะย่ำแย่ลงอีก พร้อมกับเตือนว่าเศรษฐกิจในเขตยูโรโซนอาจจะขยับเข้าใกล้ภาวะชะงักงันในช่วงปลายปี

 

คณะกรรมาธิการยุโรปเปิดเผยว่า เศรษฐกิจในประเทศกลุ่มยูโรโซนจะขยายตัว 0.2% ในไตรมาสที่ 3 ส่วนในไตรมาสสุดท้ายของปีการขยายตัวจะอยู่ที่ 0.1% จากระดับการคาดการณ์เมื่อเดือนมี.ค.ที่ 0.4% ทั้ง 2 ไตรมาส ส่วนแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจเยอรมนี ซึ่งเป็นประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรป ลดลงมาเหลือ 0.4% ในไตรมาส 3 และ 0.2% ในไตรมาสที่ 4 จากเดิมที่คาดว่าจะอยู่ที่ 0.5% ทั้ง 2 ไตรมาส ขณะที่อิตาลีไม่มีแนวโน้มเศรษฐกิจเติบโตในช่วงครึ่งปีหลังเลย

 

 

 

“ภาพรวมของเศรษฐกิจทรุดลงแล้ว วิกฤตหนี้สาธารณะก็ย่ำแย่ลงอีก และความปั่นป่วนในตลาดก็น่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจด้วย" นายออลลี เรห์น กรรมการฝ่ายการเงินและเศรษฐกิจของอียูกล่าวผ่านแถลงการณ์

 

ก่อนหน้านี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของสมาชิกกลุ่มจี-7ได้ให้คำมั่นว่า จะร่วมมือกันและพยายามผลักดันให้มีการขยายตัวและรับมือกับความจำเป็นในการลดยอดขาดดุลและความวิตกกังวลเกี่ยวกับความสามารถในการชำระหนี้ของกรีซ ซึ่งป่วนตลาดการเงินอยู่ในขณะนี้

 

ในเดือนก.ค.ที่ผ่านมา ยอดการส่งออกของเยอรมนี ซึ่งเป็นประเทศเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในภูมิภาค ก็ยังลดลง ขณะที่เดือนที่แล้วบรรดานักลงทุนและผู้บริหารมองเศรษฐกิจโลกในแง่ลบมากยิ่งขึ้นหลังจากที่วิกฤตหนี้สาธารณะเริ่มส่งสัญญาณคุกคามมายังสเปนและอิตาลี

 

คณะกรรมาธิการยังแสดงความเห็นในรายงานฉบับนี้ด้วยว่า การฟื้นตัวในสหรัฐเริ่มอ่อนแรงลงแล้ว ขณะที่ดัชนีชี้วัดการค้าโลกแสดงแนวโน้มว่าจะทรุดลงอีกในไตรมาสที่ 3

 

“ผลการดำเนินงานทั่วโลกน่าจะโต 4% ในปีนี้ ซึ่งเป็นการปรับลดคาดการณ์ลงมาประมาณ 1.5% เมื่อเปรียบเทียบกับการประเมินในฤดูใบไม้ผลิ"

 

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ปาริชาติ ชื่นชม/สุนิตา โทร.02-2535000 ต่อ 315

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ผู้ว่าธปท.มองการชะลอตัวศก.โลก เป็นความเสี่ยงที่มากขึ้นของศก.ไทย

 

 

ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 15 กันยายน 2554 18:24:59 น.

นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ขณะนี้การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกมีความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทยเพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจไทยชะลอตัวตามหรือไม่เป็นส่วนที่ต้องติดตาม ทั้งความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากเศรษฐกิจต่างประเทศทั้งในสหรัฐและยุโรป ส่วนนโยบายของรัฐบาลจะสามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้มากน้อยเพียงใด คงต้องดูขอบเขตเวลาของการใช้นโยบายจึงจะสามารถประเมินผลได้

 

 

 

ในส่วนของเงินเฟ้อนั้น ผู้ว่าฯ ธปท. กล่าวว่า ยังมีแรงกดดันใน 3 ด้านทั้งเรื่องของอุปทานจากราคาน้ำมันและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ อุปสงค์ในประเทศที่ยังขยายตัวต่อเนื่อง และอุปสงค์ต่างประเทศจากการขยายตัวของการส่งออก ตามการเติบโตของประเทศในภูมิภาคเอเชีย และการคาดการณ์เงินเฟ้อของผู้ประกอบการและผู้บริโภคในระยะ 3-6 เดือน ซี่งมีผลต่อการตั้งราคาสินค้าของผู้ประกอบการตามคาดการณ์ต้นทุนที่สูงขึ้นและผู้บริโภคจะมีการบริโภคก่อน หากคิดว่าเงินเฟ้อจะสูงขึ้นในอนาคต ซึ่งจากการสำรวจข้อมูลยังพบว่า ตอนนี้ผู้บริโภคและภาคเอกชนยังมองแนวโน้มเงินเฟ้อที่จะสูงขึ้น ซึ่งจะมีผลต่อการตั้งราคาและการบริโภค

 

"แรงกดดันจากเงินเฟ้อ 3 ด้านต้องระมัดระวัง และบางทีคนมองว่าการขึ้นดอกเบี้ยเป็นต้นทุนการทำธุรกิจ แต่อีกทาง หากปล่อยให้เงินเฟ้อสูงขึ้น ซึ่งโดยตัวของมันเองจะทำให้ดอกเบี้ยสูงขึ้นตาม เพราะผู้ออม ผู้ซื้อพันธบัตรไม่อยากให้ดอกเบี้ยต่ำกว่าเงินเฟ้อ จึงเป็นตรรกะที่สวนกลับ เพราะเมื่อเงินเฟ้อสูงขึ้นคนที่ออมก็จะไม่ลงทุน ดังนั้นเราทำเพื่อป้องกันไม่ให้ดอกเบี้ยระยะยาวสูงขึ้น และจะเป็นปัญหาให้ต้นทุนสูงขึ้น" ผู้ว่าธปท. กล่าว

 

นายประสาร ยืนยันว่า ดอกเบี้ยที่แท้จริงยังติดลบ ดังนั้นหากปล่อยให้ทิ้งไว้นานขณะที่เศรษฐกิจกำลังเข้าสู่ภาวะปกติ จะทำให้เศรษฐกิจขาดความสมดุลได้ ซึ่ง ธปท.พยายามติดตามแรงกดดันและจะพยายามดูแลไม่ให้เงินเฟ้อแต่ละไตรมาสเกินกรอบเป้าหมายที่ตั้งไว้

 

--อินโฟเควสท์ โดย จารุวรรณ ไหมทอง/รัชดา/กษมาพร โทร.02-2535000

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...