ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
Nexttonothing

โอกาส "เงิน" (จริงๆ) : ระยะประชิด

โพสต์แนะนำ

ไม่ค่อยสนใจเรื่องราคาครับ ซื้อมันทุกเดือน เดือนนี้สั่งเหรียญแบบนี้

 

http://www.perthmint...proof-coin.aspx

 

เดือนที่แล้วซื้อเหรียญแบบนี้

 

http://www.perthmint...proof-coin.aspx

 

คิดว่าจะเก็บให้ครบเซ็ต แล้วซื้อ bullion silver coin ไปเรื่อย ๆ จนถึงสิ้นปี

ช่วงนี้ลดการซื้อโลหะเงินลง จะเอาไปซื้อที่ดินการเกษตรแทน

 

เหรียญสวยครับ นอกจากโลหะมีค่าที่น่าซื้อแล้วก็มีที่ดินที่น่าสนใจครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

การลดลงของปริมาณโลหะเงินในแร่.

 

 

โดย Siam Silver เมื่อ 4 พฤษภาคม 2012 เวลา 13:56 น. ·

อีก หนึ่งปัจจัยที่จะทำให้โลหะเงินมีมูลค่าที่สูงขึ้นคือ การลดลงของปริมาณโลหะเงินในแร่ที่ถูกสกัด.กราฟด้านล่างคือสถิติการเปลี่ยน แปลงของปริมาณโลหะเงินที่ถูกสกัดออกมาจากแร่ ใน อเมริกา ตั้งแต่ปี 1935 ถึงปี 1993.

544810_398814620158115_315015185204726_1171866_1427786465_n.jpg

ภาย ในเวลา 58 ปี ปริมาณโลหะเงินในแร่ที่ถูกสกัดออกมาลดลงไปถึง 92% มันเป็นความเปลี่ยนแปลงที่มากมายที่เกิดขึ้นในการทำเหมืองแร่ใน อเมริกา. ภายในช่วงเวลานั้น การสกัดแร่จากหินได้เพิ่มขึ้นถึง 1240% แต่ปริมาณโลหะเงินที่สกัดได้เพิ่มมาเพียงแค่ 7.8%. เหตุการณ์นี้ไม่ไช่เกิดขึ้นเฉพาะในอเมริกาเท่านั้น การลดลงของปริมาณโลหะเงินในแร่ได้เกิดขึ้นกับ 2 เหมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วยเหมือนกัน.

เหมือง Cannington mine.เคยได้ปริมาณโลหะเงินในแร่อยู่ในอัตราส่วนที่ 600 แกรม ต่อ 1 ตัน (g/t) แต่ในปี 2011 ปริมาณโลหะเงินในแร่ได้ตกลงไปอยู่ที่เพียงแค่ 352 แกรม ต่อ 1 ตัน. เหมือง Cannington ได้มีการแปรแร่ 2.3 MMT (million metric ton) ในปี 2002 เพื่อที่จะสกัดโลหะเงินในแร่ได้ 38.2 ล้าน ออนซ์ แต่พอถึงปี 2011 เหมือง Cannington ต้องแปรแร่ถึง 3.2 MMT (million metric ton) เพื่อที่จะสกัดโลหะเงินได้เพียงแค่ 32.2 ล้านออนซ์.

318242_398818183491092_315015185204726_1171876_531875886_n.jpg

การ ลดลงของปริมาณโลหะเงินในแร่ ทำให้เหมือง Fresnillo ที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก มีปัญหาในผลผลิตในการสกัดโลหะเงินจากแร่ในปี 2011 เหมือนกัน. ดูจาก แกรฟ ข้างล่าง ผมเจาะจงที่จะเขียนปริมาณการลดลงของโลหะเงินในแร่ ถ้าเทียบกับ ผลผลิตของโลหะเงินที่ได้.สิ่งที่สำคัญจากกราฟข้างล่างคือ การลดลงของโลหะเงินใน ปี 2011 (395 g/t) ถ้าเทียบกับ ปี 2010 (474 g/t) ในสองปีนี้ เหมือง Fresnillo mine แปรแร่ในปริมาณที่เท่าๆกัน แต่ปริมาณโลหะเงินในแร่ได้ลดลงไปถึง 15.5%.

577625_398820250157552_315015185204726_1171886_307434600_n.jpg

ใน การที่จะเพิ่มผลผลิตเพื่อที่จะให้ได้โลหะเงินเพิ่ม เหมือง Fresnillo มีโครงการที่จะเพิ่มการสกัดแร่ในปี 2013 จาก 8,000 ตัน ต่อวัน เป็น 10,000 ตันต่อวัน. โครงการนี้จะทำให้เหมือง Fresnillo มีการสกัดแร่กว่า 700,000 เมทริค ตัน ต่อ ปี เพื่อที่จะให้การผลิตโลหะเงินคงอยู่กับที่ เพื่อที่จะพอรองรับต่อความต้องการของตลาด.

จากตัวอย่าง 2 เหมืองด้านบน ทำให้เห็นว่า ปริมาณโลหะเงินในแร่ลดลงไปอย่างน่าใจหาย ต้องใช้การสกัดแร่ เพิ่มอีกมากมายเพื่อที่จะให้ได้โลหะเงินในปริมาณที่เท่าเดิม. การสกัดแร่ที่มากขึ้น ก็ต้องใช้น้ำมันมากขึ้น การใช้น้ำมันมากขึ้น ต้นทุนการผลิตก็สูงขึ้น วันหนึ่ง ถ้าต้นทุนการผลิตสูงกว่าราคาโลหะเงินเมื่อไหร่ วันนั้น จะมีเหมืองไหนจะดำเนินการอยู่ต่อไปได้. ราคาน้ำมันก็จะเป็นอีกปัจจัยสำคัญในการทำเหมืองแร่ในอนาคต. เราต้องมาดูกันต่อไปในอนาคต ว่าเหมืองแร่ จะยังคงทำการต่อไปได้ใหม กับราคาน้ำมันที่สูงขึ้นทุกวัน เทียบกับราคาโลหะที่ต่ำลงทุกวัน.

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เอาข่าวเก่า...คุณเน็กซ์...มาให้อ่านอีกรอบครับ....เป็นกำลังใจทุกท่าน....

ธรรมชาติ ข้อที่ 1 : ตลาดกระทิงเวลาขึ้น-ขึ้นบันได / แต่เวลาลง–ลงลิฟท์

 

 

อาจารย์ผมสอนไว้ว่า ในภาวะตลาดขาขึ้นนั้น ราคาจะทำการไต่ระดับค่อยๆขึ้นๆ ใช้เวลาพอสมควร

แต่เวลาลงนั้นจะลงอย่างรุนแรงและรวดเร็ว สาเหตุที่เป็นแบบนี้ก็เพราะ

 

ตลาดจะทำการ “กำจัดผู้เล่นที่มาทีหลังให้ออกจากตลาดไปก่อน”

 

สังเกตจากล่าสุด ราคาทองคำใช้เวลาถึง 1 อาทิตย์กว่าจะปรับขึ้น 400 บาท (ถือว่าขึ้นเร็วแล้วนะครับ)

แต่เวลาลง 400 บาทนั้น เกิดขึ้นได้ภายในคืนเดียว

 

“เปรียบไปก็เหมือนกระทิงตัวนี้ จะสะบัดคนให้ตกจากหลังมันให้มากที่สุดก่อน แล้วค่อยวิ่ง”

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

COT Gold, Silver and US Dollar Index Report - May 11, 2012

 

http://news.goldseek.com/COT/1336764862.php

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เจพีมอร์แกนเผยตัวเลขขาดทุน $2 พันล้าน กระทบหุ้น-เครดิต-ภาพลักษณ์ blank.gif โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 12 พฤษภาคม 2555 11:43 น.

 

 

Share7

blank.gif 555000006159401.JPEG เจพีมอร์แกน เชสแอนด์โค ธนาคารใหญ่แห่งหนึ่งของสหรัฐฯ blank.gif

รอยเตอร์ - เจพีมอร์แกน เชสแอนด์โค ธนาคารใหญ่ของสหรัฐฯ เสียมูลค่าตลาด 15,000 ล้านดอลลาร์ และยังถูกหั่นเครดิต เรตติ้งลง 1 ขั้น ในวันศุกร์ (11) หลังธนาคารแห่งนี้สร้างความตกตะลึงด้วยการประกาศว่าขาดทุนถึง 2,000 ล้านดอลลาร์ ขณะที่เหล่าผู้ออกกฏหมาย และนักการเมืองต่างเรียกร้องให้มีการทบทวนอุตสาหกรรมการธนาคารเข้มงวดขึ้น

 

การขาดทุนของธนาคารที่ได้ชื่อว่าน่าเชื่อถือที่สุดแห่งหนึ่งของวอลล์ สตรีท สร้างความอับอายให้แก่ เจมี ไดมอน ซีอีโอของเจพีมอร์แกน ผู้บริหาร ซึ่งเคยได้รับคำชื่นชมจากการขับเคลื่อนธนาคารของเขาให้รอดพ้นจากวิกฤตการ เงินในปี 2008 มาได้โดยไม่มีรายงานการขาดทุนแต่อย่างใด

 

ไดมอนเปิดเผยยอดขาดทุนด้านเทรดดิ้งอย่างน้อย 2,000 ล้านดอลลาร์ ผ่านการประชุมทางโทรศัพท์ โดยระบุว่ายอดการขาดทุนนี้อาจเพิ่มขึ้นได้อีก 1,000 ล้านดอลลาร์ทีเดียว พร้อมกันนี้ ยังยอมรับว่า การขาดทุนครั้งนี้มีส่วนเชื่อมโยงกับ บรูโน อิกซิล เครดิต เทรดเดอร์คนหนึ่งในอังกฤษ ที่มีสมญานามว่า "วาฬแห่งลอนดอน" ซึ่งมีข่าวว่าเขามีสถานะการลงทุนสูงผิดปกติ

 

อย่างไรก็ตาม เขากล่าวว่า ยังไม่ชัดเจนว่าทางธนาคารได้ละเมิดกฏหมาย หรือระเบียบข้อบังคับใดๆ หรือไม่ แต่ทางบริษัทมีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบบัญชี กฏหมาย ดูแลความเสี่ยง ที่ดีที่สุดรับผิดชอบกรณีนี้อยู่

 

หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์รายงานว่า คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้เปิดการสอบสวนเบื้องต้น เกี่ยวกับการทำบัญชีของเจพีมอร์แกน และการเปิดเผยตัวเลขขาดทุนด้านเทรดดิ้งแล้ว

 

ขณะที่ ธนาคารกลางนิวยอร์กก็ทราบถึงปัญหาการขาดทุนครั้งใหญ่ของเจพีมอร์แกนด้วย และกำลังจับตาดูสถานการณ์อย่างใกล้ชิด แหล่งข่าวเผย และยังระบุว่า ในฐานะผู้กำกับดูแลหลักของเจพีมอร์แกน เฟดวางเป้าหมายที่จะทำให้แน่ใจว่าธนาคารต่างๆ มีเงินทุนมากเพียงพอรับมือกับความผิดพลาดเช่นเดียวกันนี้ ไม่ใช่ป้องกันปัญหา

 

ด้าน ฟิตช์ เรตติงส์ สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระดับโลก ลดเครดิตธนาคารแห่งนี้ลง 1 ขั้น จาก AA- เหลือ A+ และยังให้แนวโน้มของธนาคาร ตลอดจนบริษัทย่อย เป็นติดลบ ส่วนสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ หรือเอสแอนด์พี สถาบันเครดิตเรตติ้งชั้นนำของโลกอีกแห่งก็ปรับลดมุมมองอนาคตของธนาคารแห่ง นี้เป็นลบด้วย แต่ยืนยันเรตติ้งในปัจจุบันต่อไป

 

ฟิตช์ชี้ว่า ปริมาณการขาดทุนของเจพีมอร์แกนสามารถจัดการได้ แต่ระดับของการขาดทุนแสดงให้เห็นเป็นนัยว่า ธนาคารขาดสภาพคล่อง ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพในการบริหารความเสี่ยง การดำเนินกิจการ และการกำกับดูแล ที่ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญต่อการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ

 

นอกจากนี้ ฟิตช์ยังเตือนว่า เจพีมอร์แกนอาจถูกปรับลดเครดิตลงอีก ถ้ายังไม่สามารถควบคุมวิกฤติครั้งนี้ได้

 

ความขาดทุนมหาศาลครั้งนี้ก่อให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับการบริหารงาน ของธนาคารใหญ่ๆ ขึ้นอีกครั้ง โดยริชาร์ด ฟิชเชอร์ ประธานธนาคารกลางดัลลัส ออกมาแสดงความกังวลว่า ธนาคารระดับท็อป 5 ของสหรัฐฯ อาจยังมีการบริหารความเสี่ยงไม่ดีพอ

 

ความล้มเหลวดังกล่าวขยายไปทั่วภาคการธนาคาร โดยหุ้นของธนาคารชั้นนำบางแห่งของวอลล์สตรีทตกลงในวันศุกร์ โดยหุ้นซิตีกรุ๊ปร่วงไป 4.2% โกลแมนแซคส์ 3.9% และแบงก์ออฟอเมริกาหล่นไป 1.9%

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

3 ผู้บริหาร “เจพีมอร์แกน” เตรียมลาออก หลังธนาคารขาดทุนยับ $2,000 ล้าน blank.gif โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 14 พฤษภาคม 2555 11:21 น.

 

 

Share5

blank.gif blank.gif 555000006215601.JPEG เจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค blank.gif

เอ เอฟพี - ผู้บริหารระดับสูงของธนาคารเจพีมอร์แกน เชสแอนด์โค 3 คนเตรียมประกาศลาออกจากตำแหน่งในสัปดาห์นี้ หลังบริษัทขาดทุนย่อยยับถึง 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในการซื้อขายอนุพันธ์ (derivatives trading) โดยหนึ่งในผู้บริหารที่จะลาออกคือผู้ที่รับผิดชอบการซื้อขายตราสารเหล่านี้ สื่อสหรัฐฯ รายงาน วานนี้ (13)

 

เจมี ไดมอน ประธานผู้บริหารเจพีมอร์แกน น่าจะรับทราบการลาออกของ อีนา ดรูว์ เจ้าหน้าที่อาวุโสฝ่ายลงทุนวัย 55 ปีซึ่งทำงานกับบริษัทมานานถึง 30 ปี ภายในวันนี้ (14) หนังสือพิมพ์ นิวยอร์ก ไทม์ส รายงาน โดยอ้างข้อมูลจากผู้บริหารของเจพีมอร์แกน

 

รายงานยังเผยว่า อีนาพยายามแสดงความรับผิดชอบโดยขอลาออกมาตั้งแต่เดือนเมษายน ซึ่งผลประกอบการขาดทุนของเจพีมอร์แกนเริ่มเห็นได้ชัดเจน ทว่า ไดมอนก็ปฏิเสธคำขอของเธอมาจนบัดนี้

 

บรูโน มิเชล อิคซิล เทรดเดอร์ชาวฝรั่งเศสของเจพีมอร์แกนในอังกฤษ ซึ่งมีส่วนพัวพันกับการขาดทุนในครั้งนี้ ก็คาดว่าจะลาออกด้วยเช่นกัน แต่ยังไม่แน่นอนว่าเมื่อใด

 

สำนักงานกำกับการลงทุนซึ่งเป็นหน่วยงานป้องกันความเสี่ยงของธนาคาร แห่งนี้ ประสบภาวะขาดทุนอย่างหนักในช่วง 6 สัปดาห์ที่ผ่านมา จากการขายตราสารประกันการผิดนัดชำระหนี้ (credit default swaps) โดยหุ้นของเจพีมอร์แกนปิดลาดเมื่อวันศุกร์ (11) ดิ่งลงถึง 9.3% ทำให้มูลค่าตลาดหายไปถึง 14,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

 

การขาดทุนของธนาคารที่ได้ชื่อว่าน่าเชื่อถือที่สุดแห่งหนึ่งของวอลล์ สตรีท สร้างความอับอายให้แก่ ไดมอน ซึ่งเคยได้รับคำชื่นชมจากการขับเคลื่อน เจพีมอร์แกน ให้รอดพ้นวิกฤตการเงินในปี 2008 มาได้ โดยไม่มีรายงานการขาดทุนแต่อย่างใด

 

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 

ระฆังเพิ่งดังเป็นการเริ่มโหมโรงว่า กรีซคงต้องออกจากยูโรเท่านั้น CDSก็แผลงฤทธิ์ทำเจพีมอร์แกนขาดทุุน2,000ล้านเหรียญ ข่าวที่ตามมาถ้าถึงตอนที่กรีซออกจากยูโรจริง จะทำเจพีมอร์แกนขาดทุนถึง4แสนล้านเหรียญ

JPMorgan Estimates Immediate Losses From Greek Exit Could Reach 400 Billion

 

http://www.zerohedge...ach-400-billion

 

 

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

มาทำความรู้จักกับCDSกันอีกครั้งครับ

 

CDS : อนุพันธ์พลังทำลายล้างรุนแรง

คอลัมน์ หอคอยงาช้าง โดย รศ.ดร.วิมุต วานิชเจริญธรรมคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 02 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 32 ฉบับที่ 4041

ครึ่ง หลังของเดือนกันยายนเริ่มต้นสัปดาห์ด้วยเหตุการณ์ "Black Monday" ที่ดัชนีดาวโจนส์ตกลงในวันเดียวถึง 504.5 จุด หรือราวร้อยละ 4.4 ในการซื้อขายของวันจันทร์ที่ 15 กันยายนที่ผ่านมา การที่ราคาหุ้นในตลาดนิวยอร์กไหลลื่นดิ่งลงอย่างรวดเร็วเช่นนี้เป็นผลมาจาก ที่วาณิชธนกิจขนาดยักษ์ใหญ่อย่างเลห์แมน บราเธอร์ส ต้องประสบภาวะล้มละลายและประกาศเข้าฟื้นฟูกิจการภายใต้มาตรา 11 ของกฎหมายการเงินสหรัฐ

นัก วิเคราะห์และผู้เชี่ยวชาญในตลาดการเงินสหรัฐต่างมองไปที่บริษัท อเมริกัน อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป (หรือ AIG) ว่ายักษ์ใหญ่ในวงการประกันจะเป็นสถาบันการเงินรายต่อไปที่จะต้องประสบชะตา กรรมล้มละลายต่อจากเลห์แมนฯ

การ คาดการณ์ดังกล่าวหาใช่เป็นควันที่ไร้ซึ่งเชื้อไฟไม่ เพราะมีรายงานข่าวในช่วงเวลาเดียวกันนั้นว่า AIG กำลังประสบปัญหาขาดสภาพคล่องรุนแรงถึงขั้นต้องขอเงินกู้ฉุกเฉินมูลค่า 40 พันล้านเหรียญสหรัฐจากธนาคารกลางสหรัฐ

เพียง สามวันให้หลัง (วันพุธที่ 18 กันยายน) ปัญหาของ AIG กลับทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น จนรัฐบาลสหรัฐต้องเข้ามา "อุ้ม" มิให้ AIG ต้องล้มครืนลงตามเลห์แมนฯ (และเฟรดดี้ แมค แฟนนี่ เม แบร์ สเติร์น ฯลฯ) ที่ได้ล้มไปก่อนหน้านี้แล้ว โดยรัฐบาลสหรัฐได้หยิบยื่นเงินกู้มูลค่า 85 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อแลกกับการเข้าครอบครองกิจการของ AIG

บทบาท ของรัฐบาลสหรัฐสะท้อนให้เห็นว่าการปล่อยให้ AIG ล้มลงโดยไม่เข้าแทรกแซง จะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงในวงกว้าง ไม่เพียงแค่ลูกค้าผู้ซื้อประกันจาก AIG เท่านั้นที่จะต้องแบกรับความเสียหาย แต่บรรดาธนาคารใหญ่ๆ ในสหรัฐและยุโรปต่างล้วนตกอยู่ในฐานะสุ่มเสี่ยงต่อภาวะล้มละลายในทันที หาก AIG ต้องล้มครืนลง

มา ถึงบรรทัดนี้ผู้อ่านอาจจะเริ่มสงสัยแล้วว่า เหตุไฉนหายนะของ AIG ซึ่งมีธุรกิจหลักคือการขายประกันชีวิต หรือประกันอุบัติเหตุ จึงสร้างปฏิกิริยาลูกโซ่สั่นสะเทือนความมั่นคงของสถาบันการเงินและธนาคาร กลางในหลายประเทศทั่วโลกได้ถึงขนาดนี้

คำตอบสั้นๆ เพียงแค่สามวลีครับ "CDS"

CDS นี้ย่อมาจาก Credit Default Swap เป็นตราสารอนุพันธ์ประกันความเสี่ยงที่ส่วนวาณิชธนกิจของ AIG สร้างภาระผูกพันไว้เป็นจำนวนมหาศาล

ตรา สารอนุพันธ์นี้จะอ้างอิงกับตราสารหนี้ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพันธบัตรที่ออกโดยรัฐบาลหรือหุ้นกู้ที่ออกโดยเอกชน โดยมีลักษณะเป็นตราสารอนุพันธ์ที่ผู้ออกสัญญาจะให้การประกัน คุ้มครองผู้ซื้อจากความเสี่ยงที่เกิดเมื่อตราสารหนี้ที่อ้างอิงอยู่นั้นมี การผิดนัดชำระ สมมุติว่าธนาคาร X ได้ซื้อตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัท Y ธนาคาร X ย่อมเผชิญกับความเสี่ยงที่บริษัท Y จะผิดนัดชำระหนี้ เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงดังกล่าว ธนาคาร X สามารถซื้อสัญญา CDS ไว้ โดยคู่สัญญา (หรือผู้ออก CDS) จะให้การคุ้มครองกับธนาคาร X ในกรณีที่บริษัท Y ผิดนัดชำระหนี้ อย่างไรก็ดีหากบริษัท Y ยังคงจ่ายผลตอบแทนให้กับธนาคาร X ได้ตามกำหนดเวลา (ไม่เกิดเหตุการณ์เบี้ยวชำระหนี้ขึ้น) ธนาคาร X มีภาระต้องจ่ายเงิน (ตามแต่ตกลงในสัญญา) ให้กับคู่สัญญา (หรือผู้ออกตราสาร CDS นั่นเอง) ในทุกๆ งวดที่มีการชำระเงิน ประหนึ่งเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับการคุ้มครองทางการเงิน ยามเกิดการผิดชำระหนี้

ตลาด CDS เติบโตอย่างรวดเร็วมากในช่วงสิบปีที่ผ่านมา โดยนักวิเคราะห์ประมาณกันว่ามูลค่าของตลาด CDS มีค่าถึง 6.2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (ผมไม่ได้พิมพ์คำว่า "ล้าน" เกินมาคำหนึ่งนะครับ) ซึ่งเมื่อเทียบกับมูลค่าตลาดของบรรดาหุ้น ที่มีการซื้อขายกันในตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐแล้ว เราจะพบว่ามูลค่าของตลาด CDS นั้นมีขนาดมากกว่า มูลค่าของตลาดทุนสหรัฐ ถึงสามเท่าเลยทีเดียว (และอย่าตกใจไปนะครับ ถ้าผมจะบอกว่า มูลค่าของการเทรดตราสารอนุพันธ์ทั้งหมด ณ เมื่อธันวาคม ปี 2550 มีมูลค่าสูงถึง 68.1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นสิบเท่าของจีดีพี ของทุกประเทศทั่วโลกรวมกัน)

แม้ ว่าโดยธรรมชาติแล้ว CDS เป็นเครื่องมือเพื่อใช้บริหารความเสี่ยง แต่มันกลับถูกใช้อย่างแพร่หลายในฐานะเครื่องมือสำหรับการเก็งกำไร บล็อกเกอร์รายหนึ่งเล่าว่า เฮดจ์ฟันด์สามารถฟันกำไรอย่างงามได้จากการออก CDS โดยสามารถนอนรอรับเงินจำนวน 320,000 เหรียญสหรัฐในแต่ละปี จากการขายประกันความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้พันธบัตรเกรด BBB หรือ junk bond ก้อนเงินจำนวนมากที่เข้ามาเหมือนได้เปล่าเช่นนี้ เป็นเพราะผู้ออก junk bond ยังสามารถชำระดอกเบี้ยได้ตามกำหนดเวลาอย่างสม่ำเสมอ แต่หากเมื่อใดที่ junk bond นั้นผิดนัดชำระหนี้ กองทุนเฮดจ์ฟันด์นั้นจะมีภาระต้องชดเชยความเสียหายสูงถึง 100 ล้านเหรียญสหรัฐเลยทีเดียว

แม้ เรื่องเล่าข้างต้นจะให้ภาพทั้งสองด้านของการเก็งกำไรด้วย CDS แต่ในช่วงที่เศรษฐกิจของสหรัฐ และของโลกขยายตัวในอัตราสูง ใครๆ ก็มองเห็นกันแต่ด้านของเงินกำไรที่ได้มาง่าย โดยละเลยความเสียหายจำนวนมหาศาล ที่จะตามมา หากทุกอย่างเกิดความผิดพลาดขึ้น ลองนึกภาพดูสิครับ ว่าจะเกิดอะไรขึ้น หาก junk bond นั้นผิดนัดชำระหนี้ แล้วตัวเฮดจ์ฟันด์ที่ออก CDS นั้นก็ไม่มีเงินเพียงพอจะจ่ายค่าชดเชยความเสียหายให้กับผู้ซื้อตรา สารอนุพันธ์ CDS ความเสียหายสุดท้ายจะตกอยู่กับใคร

อัน ที่จริงเรื่องราวที่เล่ามาข้างต้นนี้ก็ไม่ต่างไปจากเหตุการณ์จริงที่กำลัง คุกคามเสถียรภาพของตลาดเงิน และระบบเศรษฐกิจสหรัฐในขณะนี้เท่าใดนัก ผมจะลองฉายภาพคร่าวๆ ให้ผู้อ่านได้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างปัญหา "ซับไพรม" CDS และความเปราะบางของสถาบันการเงินในโลกปัจจุบันนี้

โดย ปกติสถาบันการเงินย่อมต้องการปล่อยกู้ให้กับลูกค้าที่มีเครดิตเรตติ้งดีๆ เพราะโอกาสที่ลูกค้าจะผิดชำระหนี้นั้นย่อมมีน้อย แต่เมื่อการแข่งขันระหว่างสถาบันการเงินเริ่มรุนแรงยิ่งขึ้น สถาบันการเงินจึงเริ่มขยายตลาดรุกเข้าสู่พรมแดนของลูกค้า ที่มีความเสี่ยงสูงมากยิ่งขึ้น ลูกค้าที่มีเครดิตเรตติ้งต่ำหรือถูกจัดชั้นว่ามีความเสี่ยงต่อการผิดนัดชำระ หนี้สูงนี้ ถูกเรียกว่ากลุ่มลูกหนี้ "ซับไพรม" (เนื่องด้วยเหตุที่ลูกค้ากลุ่มนี้จะต้องจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้สูงกว่าลูกค้า ชั้นดี คือจ่ายดอกเบี้ยสูงกว่าไพรมเรตนั่นเอง)

เพื่อ ป้องกันตัวเองจากความเสียหายที่อาจเกิดจากลูกค้าซับไพรม สถาบันการเงินจึงใช้วิธีผ่องถ่ายเอาสัญญาเงินกู้ ของกลุ่มลูกค้าซับไพรมมารวมกัน แล้วแปลงสภาพให้เป็นตราสารหนี้ นำออกขายทอดตลาดอีกต่อ ด้วยวิธีการเช่นนี้สถาบันการเงินสามารถนำเอาสินทรัพย์เสี่ยง (คือสัญญาเงินกู้) ออกจากงบดุลของตัวเอง ทำให้ไม่ต้องมีภาระเพิ่มเงินกองทุนในภายหลัง ตราสารหนี้ที่มีกระแสผลตอบแทนมาจากสัญญาเงินกู้นี้เรียกว่า Collateralized Debt Obligation หรือ CDO

ความ น่าลงทุนใน CDO อยู่ที่ผลตอบแทนที่ให้กับผู้ถือในระดับสูง แม้ว่าลูกหนี้ซับไพรมจะมีความเสี่ยงต่อการผิดนัดชำระหนี้สูง แต่ทว่าโอกาสที่ลูกหนี้จำนวนมากรายจะผิดนัดชำระเงินกู้พร้อมๆ กันนั้นมีน้อยมาก ดังนั้นแม้บางรายผิดนัดชำระในบางงวด แต่ยังมีรายอื่นๆ จ่ายดอกเบี้ยตามกำหนดเวลาในจำนวนที่พอเพียง กับอัตราผลตอบแทนบนตราสาร CDO ได้

เพื่อ ให้ตราสาร CDO นี้มีความน่าลงทุนมากยิ่งขึ้น สถาบันการเงินหัวใสจึงขาย CDS เพื่อประกันความเสี่ยงให้กับผู้ถือตราสาร CDO ตามไปด้วย ดังนั้นในยุคที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในประเทศสหรัฐบูมสุดๆ สถาบันการเงินแย่งกันปล่อยกู้ให้กับลูกค้าระดับซับไพรม และจัดการแปลงเงินกู้เหล่านั้นให้เป็น CDO จึงฉุดพาให้ตลาด CDS โตตามไปด้วย

ความ น่ากลัวชวนสยดสยองมาขมวดปมตรงที่สถาบันการเงินขนาดใหญ่ หรือแม้กระทั่งธนาคารกลางบางแห่ง ต่างละเลยถึงความเสี่ยง และต่างเข้าถือครอง CDO จำนวนมาก และผู้เล่นรายใหญ่อย่างแบร์ สเติร์น และ AIG ต่างก็ออกตราสารอนุพันธ์ CDS มาคุ้มครองความเสี่ยงให้กับ CDO เหล่านั้นในมูลค่าที่มากมายมหาศาลไม่แพ้กัน เมื่อเกิดเหตุการณ์เศรษฐกิจชะลอตัว ราคาอสังหาริมทรัพย์ปรับตัวลดต่ำลง ปัญหาการผิดนัดชำระหนี้เริ่มขยายวงกว้าง จนกลายเป็นปัญหาทั้งระบบ ผู้ให้การประกันความเสี่ยงอย่างแบร์ สเติร์น หรือ AIG ย่อมไม่มีเงินเพียงพอจะมาจ่ายให้กับผู้ถือสัญญา CDS ได้ครบเต็มจำนวนทุกราย โดยเฉพาะในช่วงที่เครดิตตึงตัวเช่นนี้

หาก ปล่อยให้เรื่องราวจบลงตามยถากรรม แบร์ สเติร์น และ AIG คงจะต้องล้มละลาย เพราะไม่มีเงินพอจะจ่ายให้กับผู้ถือสัญญา CDS และบรรดาผู้ถือสัญญา CDS และมี CDO เน่าๆ ไว้ในครอบครองก็ต้องพลอยล้มละลายตามไปด้วยเป็นแน่แท้ บทสรุปแบบนี้คงไม่ต่างอะไรกับภาพตัวโดมิโนที่ล้มระเนระนาดต่อๆ กันไปเป็นลูกโซ่

วอร์เรน บัฟเฟตต์ ได้เคยกล่าวไว้ว่า ตราสารอนุพันธ์เป็นอาวุธทางการเงินที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง คำเปรียบเปรยของกูรูด้านการลงทุนรายนี้สะท้อนภาพต้นตอหายนะทางการเงินในช่วง ปีนี้ได้เป็นอย่างดี

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

The 7 Worst Trading Losses in History

 

 

 

 

 

Comment

 

Posted by Mike Tirone - Tuesday, May 15th, 2012

With JPMogan Chase's recent losses going public on May 10, 2012 as CEO Jamie Dimon announced the bank had somehow lost $2 billion in just six weeks, we would like to invite you to take a look at the worst of the worst in history.

The list covers all parts of the earth and all forms of business but in the end results, money talks. And the collaborative of all of these losers amounted to a grand total of $35.3 billion. That total ranks-- in terms of national GDP-- as 85th in the world after Kenya.

The 7 Worst Trading Losses in History:

7. JPMorgan Chase, 2012: $2 billion in losses

jp-morgan-wall-st.jpg

In an after-hours, unscheduled conference call JPMorgan Chase's CEO Jamie Dimon announced that somehow the bank had lost $2 billion in just six weeks as a result of calamitous trades by its risk-management division. The culprit was found at the Chief Investment Office in London, which manages the risk JPMorgan takes with its own money. JPMorgan have been known for conservative investments and was actually looking to emerge from the 2008 financial crisis in a much better condition than its rivals because of those safer investments. Now those days look to be long gone.

6. Aracruz:, 2008: $2.5 billion in losses

aracruz-plant.jpg

(Courtesy of painelflorestal.com.br)


  1.  

Thanks to damaged foreign exchange trades in late 2008, Aracruz, the world's biggest eucalyptus-pulp maker based out of Brazil, was handed some serious losses. The Brazilian real was one of the main reasons the company stumbled early, as they beat big on another prosperous year for its currency. According to Bloomberg, Aracruz pumped their money into foreign exchange options for the real, which at the time was stronger than the U.S. dollar, but then it began to slump, and fast. In eight weeks, the currency lost 24% of its value.

5. Sumitomo Corp., 1995: $3.5 billion in losses

copper-bars.jpg

(Courtesy of Sciencephoto.com)


  1.  

Cheaters (and hiders) never win. In 1995, Sumitomo Corporation, the Japanese financial giant got burned by a metal trade gone horribly wrong. Yasuo Hamanaka --known as “Mr. Five Percent” for his huge ownership of the world's copper-- was Sumitomo's top copper trader. It came out that he had been covering up losses on his balance sheets totally some $2.6 billion. He forged his bosses' signatures on unauthorized trades for a ten years! He was charged with forgery and fraud in court and was sentenced to eight years in prison.

4. Long-Term Capital Management, July 2009: $4.6 billion in losses

long-term-management.jpg

(Courtesy of Bloomberg and Getty Images)


  1.  

Many recognize Long-Term Capital Management as one of the first big hedge-fund disasters. According to Time, the failure “brought unprecedented attention to a previously secretive and little-understood corner of the financial industry. The Greenwich, Conn., based firm was founded in 1994 by John Meriwether and met with great success, averaging 40% gains over its first few years. However its main fund, Long-Term Capital Portfolio L.P., cratered following the Russian financial crisis of 1998 — losing LTCM some $4.6 billion in just four months.” The fund was liquidated in early in 2000 after investors jumped ship and the debt grew and grew.

3. Amaranth Advisors, 2006: $6.5 billion in losses

aracruz-nat-gas.jpg

(Courtesy of articles.businessinsider.com)


  1.  

Natural gas was the culprit for Amaranth Advisors' collapse. After making $1 billion in 2005 on rising energy prices and owning up to $9 billion in assets under management, the company went bottom up in 2006 after losing $6.5 billion on natural gas futures. It is the third largest trade loss ever and according to the New York Times. The Amaranth Advisors company looked to go against its plan of action, which was to employ a “multi strategy approach to investing that allows nimble portfolio managers to seize opportunities in whatever markets seem to be most promising at the time.” Nimble wouldn't be the word I would use...

2. Société Générale, 2010: $7.2 billion in losses

societe-generale-free.jpg


  1.  

Jermoe Kerviel had a rough start to his 30s. In 1998, as a trader for Société Générale of France, Kerviel was accused by the bank of fraudulent trading which cost the bank $7.2 billion. It was the largest trading loss in history at the time. Kerviel has been pegged as the villain in some light while others claim he was just a scapegoat for all of Société Générale's own mistakes. Either way, he was charged not with fraud but with breach of trust and illegally accessing computers, for which he served three years in jail. He also was fined the full amount of $7.2 billion that he lost the bank. Ouch.

1. Morgan Stanley, 2008: $9 billion in losses

9-billion-dollar-check-to-morgan-stanley.jpg

(Courtesy of dailybail.com)


  1.  

Said to be, “More than any single trader has ever lost in the history of Wall Street,” Morgan Stanley's losses are glaringly scary. After drowning in billions of bad bets on credit default swaps, this check shown above was written for $9 billion by Mitsubishi UFJ to keep the firm from failing. It is the largest check ever written and Andrew Ross Sorkin detailed all of this escapade in his bestseller Too Big To Fail. As Time explains, Howard “Howie” Hubler became the name tied to all of Mogan Stanley's financial misdeeds that led to the economic crisis of 2008.

“Hubler, who is blamed for the catastrophic losses, was a thriving derivatives trader up until his excruciating blunder. From 2004 to 2006, he placed big bets against the U.S. real estate bubble using credit default swaps — complex financial instruments that pool and repackage risky sub-prime mortgages to sell on to investors. But the economy’s decline happened slower than he expected, and Hubler had to cover his costs by delving even deeper into the CDO business. When the real estate market collapsed in 2008, he was wiped out — nearly taking Morgan Stanley itself with him.”

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณครับ คุณส้มโอมือ

เห็นข้อมูลแล้วไม่น่าเชื่อว่า เงินจะเสื่อมค่าได้เร็วขนาดนี้

เสียหายกันที ว่ากันเป็นพันล้าน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

จากคำกล่าวขอคุณ Nexttonothing ตั้งแต่หน้าแรกของกระทู้ ที่กล่าวถึง โลหะเงิน โดน short เพื่อกดราคา โดย "พี่ใหญ่" JP Morgan กล่าวถึงว่าหาก ราคายิ่งพุ่ง JP morgan ยิ่งเจ็บตัว เสียหาย โดน margin call เพราะทำการรับช่วงกดราคา

 

พอมาถึงวันนี้สิ่งที่น่าคิดในสถานการณ์ปัจจุบันคือ

จะเกิดอะไรขึ้น หาก JP Morgan ไม่สามารถจัดการในส่วน margin call ได้ เพราะ ตอนนี้ยังง่อนแง่นกับความเสียหายที่จะเกิดจาก CDS อยู่เลย

 

ราคาจะไปทิศทางไหน ตรงนี้ยิ่งน่าคิด แต่ผมก็ยังคิดไม่ออก เพราะโดยปกติ สัญญา ซื้อขาย หากถึงกำหนดส่งมอบ ก็ต้องหาของมาส่งมอบ ซึ่งเวลาเหตุการณ์แบบนี้เกิดก็จะเป็นลักษณะจะราคาขึ้น (ในกรณีที่ไม่สามารถเปิดสัญญา short ต่อไปได้เพราะ margin ไม่พอ)ว่าถูกไหมครับ

 

แต่ตรงนี้พอมีสถานการณ์ กรีซเข้ามาเกี่ยว สิ่งที่ผมสงสัย และยังคิดไม่ออกเลยว่ามันจะทำให้ทิศทางราคาไปทางไหนแน่ ก็คือ

หาก บริษัทที่ short สัญญาไว้ เจ๊งไปละครับ มันจะเกิดอะไรขึ้น..... ถ้าประกาศล้มละลาย จะเกิดอะไรขึ้น โดยปกติเหตุการณ์แบบนี้เกิดรัฐบาลก็จะเข้ามาอุ้ม แต่ ณ ตอนนี้ที่น่าคิดคือว่า รัฐบาลจะอุ้มไหวเหรอ งบดุลตัวเองยังปิดไม่ลง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Jim Comiskey: JP Morgan Sold 13,000 July Silver Futures Today in London On Margin Call

 

 

 

Full-Banner1.jpg

Jim Comiskey states in his update this evening that his London trader source has informed him that JP Morgan sold 13,000 July silver contracts today on the LBMA, out of a total of 37,616 July silver futures contracts traded today in London.

 

JPM unloaded IN SIZE…SELLING SILVER DUE TO A MASSIVE MARGIN CALL.

The rumor in the pits is that a major JPM client was served a massive margin call, and was forced to liquidate massive silver positions to meet it. Comiskey believes that this is indicative of a market bottom in silver.

 

 

 

 

 

3

 

 

 

Full-Banner1.jpg

Posted on: May 16th, 2012 by The Doc 29 Comments

http://www.silverdoctors.com/jim-comiskey-jp-morgan-sold-13000-july-silver-futures-today-in-london-on-margin-call/

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ดูจากCOT reports ทีประกาศวันที่May 18, 2012(แต่เป็นข้อมูลย้อนหลังถึงวันที่ May 15,2012) ยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มcommercialในSILVERมากนัก แต่มีการเปลี่ยนแปลงในGoldมากกว่า

 

 

ข่าวเรื่องJP Morgan sold 13,000 July silver contracts today on the LBMA เป็นข่าวของวันที่ MAY 16,2012 คงต้องตามการเปลี่ยนแปลงของสัญญา ที่จะประกาศของสัปดาห์หน้าอีกที

 

ดูREPORT ที่นี่ครับ

http://news.goldseek.com/COT/1337369638.php

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...