ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
ginger

ใบไม้ผลิบนดวงจันทร์

โพสต์แนะนำ

 

 

สาระแห่งสุขภาพ

3 hours ago

 

***50 วิธีเอาชนะภูมิแพ้*** (เนื้อหายาว)

 

1.สระผมของคุณก่อนเข้านอนทุกคืน โดยเฉพาะในฤดูที่มีเกสรดอกไม้ปลิวว่อนในอากาศ

 

2.อย่าตากเสื้อผ้า และเครื่องนอน (ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน)

ไว้กับราวตากผ้ากลางแจ้งในฤดูที่มีเกสรดอกไม้ปลิวว่อนในอากาศ เพราะเกสรดอกไม้ และเชื้อราจะเกาะติดกับผ้าที่ตากได้

 

3.ล้างมือทันทีหากไปเล่นกับสัตว์เลี้ยง หรือให้อาหารมัน

 

4.เปิดไฟในตู้เสื้อผ้าตลอดเวลา เพื่อลดจำนวนเชื้อราภายในตู้

 

5.ไม่ควรนำตุ๊กตาที่ยัดไส้ด้วยนุ่น หรือใยสัตว์ไว้ในห้องนอน

 

6.ช่วงสาย ๆ ไปจนถึงตอนบ่าย เป็นช่วงที่มีเกสรดอกไม้ปลิวว่อนไปทั่ว ซึ่งจะก่อให้เกิดอาการภูมิแพ้ได้ง่าย

 

7.จงเปลี่ยนเสื้อผ้านอกห้องนอน เพื่อทิ้งสิ่งที่อาจทำให้คุณแพ้ไว้นอกห้องนอน

 

8.ถอดเสื้อผ้า และซักทันที หากคุณไปเยี่ยมเยียนเพื่อนที่มีสัตว์เลี้ยง

 

9.ห่อหุ้มหมอน และฟูกในผ้าพลาสติกแล้วปูทับด้วยผ้าฝ้าย

 

10.ใช้เครื่องปรับความชื้นในห้องที่อับชื้นมาก ๆ เพื่อลดจำนวนเชื้อรา ความชื้นที่พอเหมาะควรมีค่าอยู่ระหว่าง 25-50%

 

11.เลิกใช้พรมปูพื้นห้อง เปลี่ยนพื้นห้องเป็นไม้ หรือกระเบื้อง ซึ่งจะทำความสะอาดได้ง่ายกว่า

 

12.ถ้าคุณแพ้ผึ้ง หรือมดตะนอย ก็จงหลีกเลี่ยงการสวมเสื้อสีสด ๆ การฉีดสเปรย์ผม การใช้น้ำหอมดับกลิ่นตัว

หรือการใส่น้ำหอม รวมทั้งการปิกนิก หรือการตั้งวงปิ้งอาหารรับประทานนอกบ้าน

 

13.เปลี่ยนเครื่องเรือนที่บุด้วยนุ่น หรือตกแต่งด้วยขนสัตว์มาเป็นเครื่องเรือนที่ทำจากพลาสติก ไม้ โลหะ หรือหนังสัตว์ ซึ่งจะไม่เก็บกักสิ่งที่อาจทำให้คุณแพ้

 

14.ในการทำความสะอาดบ้าน จงอย่าใช้ไม้ขนไก่ หรือไม้กวาด แต่จงใช้ผ้า หรือไม้ถูพื้นที่ได้ชุบน้ำแล้ว

 

15.เลือกใช้เครื่องดูดฝุ่นที่มีน้ำเป็นตัวกักฝุ่น และมีแผ่นกรองอากาศประสิทธิภาพสูง

 

16.สวมผ้าปิดจมูก และปากเสมอ เพื่อกันฝุ่นในขณะที่คุณทำความสะอาดบ้าน

 

17.อย่ารีบเข้าไปในห้องที่เพิ่งทำความสะอาดเสร็จ ควรรออย่างน้อย 20 นาทีก่อน เพื่อให้ฝุ่นผงที่ล่องลอยอยู่ในอากาศตกลงสู่พื้นให้หมด

 

18.ถ้าคุณมีสัตว์เลี้ยงคุณต้องป้องกันอากาศมิให้พัดจากนอกบ้านเข้ามาในห้องนอนของคุณ

 

19.ทำความสะอาดบริเวณที่มีราขึ้นด้วยน้ำยาฟอกคลอรีน โดยผสมผงคลอรีน 10 ส่วน ต่อน้ำ 1 ส่วน

 

20.ห้ามทุกคนรวมทั้งแยกสูบบุหรี่ในบ้าน หากจุสูบให้สูบนอกบ้าน

 

21.วานคนที่ไม่แพ้ ทำความสะอาดกรงของสัตว์เลี้ยง

 

22.ถ้าคุณจะออกกำลังกายกลางแจ้ง ก็ขอให้ทำในช่วงเช้า ๆ บ่ายแก่ ๆ หรือตอนเย็น ๆ

 

23.ปิดหน้าต่างรถของคุณให้สนิท แล้วเปิดเครื่องปรับอากาศภายในรถให้ไหลเวียน

 

24.ไม่ใช้พัดลม เพราะจะพัดเอาเกสรดอกไม้ และเชื้อราเข้ามาในบ้าน

รวมทั้งไม่ใช้เครื่องทำความเย็นชนิดอังด้วยน้ำ เพราะจะทำให้ห้องชื้น

 

25.หากคุณปิดบ้านไว้นาน เชื้อราอาจจะเจริญเติบโตได้ ดังนั้นเมื่อคุณกลับมาอยู่บ้านอีกครั้งหนึ่ง

คุณควรเปิดบ้านให้ลมโกรม และทำความสะอาดอย่างดีเสียก่อน

 

26.ตรวจสอบว่ามีอะไรในบ้านบ้างที่เป็นแหล่งเพาะเชื้อรา เมื่อพบแล้วจงกำจัดให้หมด

แหล่งเพาะเชื้อราที่อาจเป็นได้ เช่น ในเครื่องทำความชื้นบนพรมที่เปียกชื้น บนพื้นห้องที่ผุ ในถังขยะ บนกระดาษปิดฝาผนังที่เปียกชื้น เป็นต้น

 

27.เมื่อคุณใช้เครื่องดูดฝุ่น จงเลือกใช้ถุงเก็บฝุ่นชนิดถุงหนา 2 ชั้น และแผ่นกรองอากาศประสิทธิภาพสูง

 

28.เมื่อคุณจะไปเที่ยวพักผ่อนในที่ใด ๆ ก็ตาม จงเลือกสถานที่ ๆ มีฝุ่นละออง หรือเกสรดอกไม้น้อย เช่น ชายทะเล

 

29.ถ้าคุณคิดว่าอาหารบางอย่างทำให้คุณแพ้ ก็อย่าลืมปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะลงมือเปลี่ยนรายการอาหารอย่างถอนรากถอนโคน

 

30.อ่านฉลากผลิตภัณฑ์อาหารที่คุณซื้อเสมอ เพื่อดูว่ามีส่วนผสมอะไรบ้าง ส่วนผสม เช่น นม ไข่ ถั่ว อาจทำให้คุณแพ้ก็ได้

 

31.พกบัตรที่แสดงข้อความว่าคุณเป็นโรคภูมิแพ้ หรือโรคหอบหืดอย่างรุนแรงไว้เสมอ

 

32.เลือกที่จะมีสัตว์เลี้ยงที่ไม่มีขน เช่น ปลา เต่า แทนการเลี้ยงแมว หรือสุนัข

 

33.ล้างมือ ผิวหนัง เสื้อผ้า สัตว์เลี้ยง หรืออะไรก็ตามที่เปื้อนยางต้นไม้

 

34.ถ้าคุณต้องการพ่นยาฆ่าแมลง จงเลือกใช้น้ำยาที่คุณไม้แพ้ คุณควรอยู่นอกบ้าน

และวานให้คนอื่นพ่นยาฆ่าแมลงให้ เมื่อพ่นยาเสร็จแล้วคุณควรเปิดบ้านให้ลมโกรกสัก 2-3 ชั่วโมง ก่อนที่จะกลับเข้าบ้าน

 

35.ทำความสะอาดห้องน้ำ ครัว และห้องใต้ดินบ่อย ๆ เพื่อลดจำนวนเชื้อราภายในบ้าน เพราะห้องเหล่านี้มีความชื้นสูง

 

36.หลีกเลี่ยงการใช้เตาที่เผาไหม้ด้วยไม้ เพราะควันไฟอาจทำให้คุณแพ้ได้

 

37.สอบถามครูที่โรงเรียน เพื่อหาสาเหตุที่ทำให้ลูกของคุณแพ้ เช่น มีสัตว์เลี้ยงในห้องเรียนหรือไม่ มีแมลงสาบในตู้เก็บของหรือไม่ มีตัวไรฝุ่นในพรมปูพื้นหรือไม่

 

38.เปิดเครื่องดูดควันเสมอเมื่อคุณทำอาหาร เพื่อลดความชื้น และกำจัดควัน และกลิ่นอาหาร

 

39.ซักเครื่องนอนทั้งหลาย (ปลอกหมอน ผ้าปูที่นอน ฯลฯ) ในน้ำร้อนประมาณ 50 องศาเซลเซียสสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อฆ่าตัวไร การเป่าลมร้อนเพียงอย่างเดียวไม่พอที่จะฆ่าตัวไร

 

40.หากคุณต้องการขับรถท่องเที่ยวพักผ่อน ก็จงทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศในรถเสียก่อน เพื่อกำจัดเชื้อราที่อาจแอบซ่อนอยู่

 

41.หากคุณต้องการออกกำลังกายกลางแจ้ง จงเลือกออกกำลังกายในวันที่ไม่มีลม

 

42.ติดตั้งพัดลมดูดอากาศที่ห้องน้ำ และเปิดใช้ทุกครั้งที่อาบน้ำ

 

43.อยู่ให้ห่างไกลจากสิ่งที่ทำให้แพ้ เช่น ควันบุหรี่ หมอกควัน น้ำหอม และสบู่หรือน้ำยาซักล้างที่มีกลิ่นฉุน

 

44.ถ้าคุณต้องการทาสีบ้านใหม่ จงเลือกใช้สีน้ำมัน และอย่าอยู่บ้านในขณะที่ช่างกำลังทาสีบ้าน

 

45.หากคุณคิดจะย้ายบ้าน จงแวะเวียนไปยังบ้านใหม่นั้นอย่างน้อย 2-4 สัปดาห์ก่อน

เพื่อทดสอบว่าคุณไม่แพ้ แต่ก็อย่าลืมว่าอาการแพ้อาจกลับมาหาคุณได้อีก แม้ว่าคุณจะไม่มีอาการเลยเป็นเวลาหลายเดือน หรือหลายปีก็ตาม

 

46.เลือกให้หมอน ฟูก หรือผ้าห่มที่บุด้วยยางแทนพวกที่ยัดด้วยนุ่นหรือขนสัตว์

 

47.หมั่นทำความสะอาดบริเวณใต้ตู้เย็น ซึ่งมักเป็นที่สะสมของเศษอาหาร และฝุ่น และกลายเป็นสวรรค์ของแมลง และเชื้อรา

 

48.หมั่นตัดกิ่งไม้ ตกแต่งพุ่มไม้ บ่อย ๆ เพื่อไม่ให้รกเรื้อใกล้ตัวบ้านหรือห้องนอนของคุณ

 

49.ห้ามนำสัตว์เลี้ยงที่มีขน เช่น แมวและสุนัข ไว้ในห้องนอนอย่างเด็ดขาด

ห้องนอนของคุณจะได้ปราศจากจากสิ่งที่อาจทำให้คุณแพ้

 

50.ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับอาการที่เป็น แพทย์อาจสั่งยาให้คุณ ถ้าคุณไม่สามารถหลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้ได้

ซึ่งจะทำให้คุณไม่ต้องทนทุกข์ทรมานกับอาการแพ้

 

 

ที่มา : 108health.com/by สาระแห่งสุขภาพ

 

 

578450_537587092986715_1414305776_n.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

 

สาระแห่งสุขภาพ

August 21

 

***การดูแลผู้ป่วยเพื่อป้องกันแผลกดทับ***

 

แผลกดทับ พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่ไม่สามารุถเคลื่อนไหวได้เอง หรือ นอนบนเตียงคนไข้นานๆ

ทำให้ผิวหนังบางส่วนถูกกดทับ อย่างต่อเนื่อง เป็นเวลานาน ทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงผิวหนังที่ถูกกดทับ

ได้อย่างสะดวก ทำให้ผิวหนังเป็นรอยแดง และมีการแแตกทำลายของผิวหนัง จากระดับที่1 เรื่อยไปจนถึงระดับ4

 

แผลกดทับมี 4 ระดับ

 

ระดับ1

เป็นรอยแดง กดรอยแดงไม่จางหายภายใน30 นาที การป้องกันโดยป้องกัน

แรงเสียดทานแรงกดทับโดยใช้อุปกรณ์ที่ช่วยลดแรงกดทับ เช่น หมอน ที่นอนลม เจลโฟม

และเปลี่ยนท่านอนทุก 2 ชั่วโมง ทาโลชั่นไม่ให้ผิวแห้ง ป้องกันผิว ไม่ให้เปียกชื้น กระตุ้นให้มีการเคลื่อนไหว

 

ระดับ2

ผิวหนังส่วนบนหลุดไป ฉีกขาดเป็นแผลตื้น มีรอยแดงบริเวณเนื้อเยื่อ รอบๆ มีอาการปวด บวม แดง ร้อน

มีสิ่งขับหลั่งจากแผลปริมาณเล็กน้อยหรือปานกลาง การดูแลคล้ายระดับ1 การป้องกันไม่ให้เป็นแผลเพิ่ม

เช็ดรอบๆด้วย Alcohol 70 % ใช้น้ำเกลือ (sterile isotonic sodium chloride solution) ทำความสะอาดแผล

ใช้ silver sulfa diazineทาแผล ปิดด้วยผ้าก็อส ใช้วาสลินทาผิวหนังรอบแผล

เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเปียกแฉะ หลีกเลี่ยงการใช้น้ำยา Povidine เช็ดแผล

 

ระดับ3

มีการทำลายผิวถึงชั้นไขมัน มีรอยแผลลึกเป็นหลุมโพรง มีสิ่งขับหลั่ง ออกจากแผลมาก

อาจมีกลิ่นเหม็น การรักษาควรปรึกษาบุคลากรทางการแพทย์

 

ระดับ4

มีการทำลายถึงเส้นเอ็น กล้ามเนื้อ กระุดูก แผลเป็นโพรง มีสิ่งขับหลั่ง จากแผลมาก มีกลิ่นมาก

การรักษาควรปรึกษาบุคลากรทางการแพทย์

 

การเกิดแผลกดทับจะส่งผลให้ผู็ป่วยทุกข์ทรมาน เจ็ป ปวดแผล เพิ่มความยุ่งยากในการดูแลรักษามากขึ้น

จึงควรให้ความสำคัญต่อการป้องกัน ไม่ให้เกิดแผลกดทับ และการลุกลามของแผลกดทับ

 

การดูแลผผู้ป่วยไม่ให้เกิดแผลกดทับ

 

-จัดให้ผู้ป่วยนอน นั่งบนที่นอนหรือที่นั่งนุ่มๆ เช่น ที่นอนลม แผ่นรองนั่งแบบเจล

-ใช้หมอนนุ่มๆรองตามปุ่มกระดูก

-เปลี่ยนท่านอนอย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมง เพื่อลดการกดทับบริเวณผิวหนังและปุ่มกระดูก

-ดูแลความสะอาดผิวหนังและป้องกันไม่ให้เปียกชื้น

-คอยตรวจดูสภาพผิวหนังทุกคร้งเมื่อพริกตะแคงตัว

-หากพบรอยแดงหรือผิวหนังถลอกด้านใดควรหลีกเลี่ยงการนอนทับผิวหนังบริเวณนั้น

-เมื่อมีแผลต้องรีบรักษาให้หายโดยเร็ว

หากพบแผลลุกลามควรพบแพทย์โดยด่วน

 

 

ที่มา : gertexhealthshop.com/by สาระแห่งสุขภาพ

 

 

1175502_536518346426923_1601695907_n.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

 

สาระแห่งสุขภาพ

August 20

 

***ดูแลและใส่ใจหัวใจ***

 

ในประเทศไทย โรคหัวใจที่พบได้บ่อยคือโรคของหลอดเลือด ซึ่งหัวใจมีหน้าที่ในการปั้มเลือด

แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องการเลือดไปเลี้ยงตัวเองผ่านทางหลอดเลือด 3 เส้น

ซึ่งเมื่อมีการใช้งานไปนาน ๆ หลอดเลือดเหล่านี้ก็จะมีไขมันและหินปูนไปสะสม

เกิดเป็นตะกรันและทำให้หลอดเลือดตีบได้ หากตระกรันนี้เกิดการปริแตกออก

ก็จะทำให้ลิ่มเลือดอุดตัน และทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตอย่างเฉียบพลันได้

นอกจากนั้นยังอาจก่อให้เกิดความทุพลภาพได้ด้วย

 

-โรคหัวใจ ไม่ใช่โรคของผู้สูงอายุเท่านั้น

โรคหัวใจเป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันสามารถพบโรคนี้ได้ในผู้ที่อายุน้อยลงกว่าเดิมมาก

โดยพบผู้ป่วยในช่วงอายุ 30 – 40 ปีมากขึ้น ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น

ประกอบกับคนในช่วงวัยดังกล่าวต้องออกไปทำงานและมีโอกาสสัมผัสกับปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ มากขึ้น

เช่นผู้ขับรถแท็กซี่ ซึ่งมีเวลารับประทานอาหารน้อย และมักเลือกรับประทานอาหารประเภทแป้งและมีไขมันสูง

ไม่ค่อยได้ออกกกำลังกาย และบางรายยังสูบบุหรี่ด้วย ปัจจุบันจึงพบว่าผู้ขับแท็กซี่เป็นโรคหัวใจกันมากขึ้น

 

-โรคหัวใจ...เป็นแล้วหายได้หรือไม่?

ผู้ป่วยโรคหัวใจบางราย เมื่อได้รับการรักษาแล้วจะสามารถหายขาดจากโรคได้ แต่บางรายจะไม่หาย

โดยคนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคหัวใจมักต้องรับประทานยาตลอดไป เพื่อลดโอกาสในการกลับเป็นซ้ำ

 

ปัจจุบันยาสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจได้เปลี่ยนบทบาทจากการรักษาโรคมาเป็นป้องกันโรค

ซึ่งก็ได้ผลมากในการลดอุบัติการณ์การกลับมาเป็นซ้ำและอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจ

เพราะฉะนั้นการรับประทานยาจึงมีความจำเป็นสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจ

 

-การดูแลหัวใจ

สำหรับการวิธีการดูแลหัวใจที่ดีทั้งในส่วนของผู้ที่ป่วยเป็นโรคัวใจแล้ว ผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงสูง

และผู้ที่ยังไม่ได้ป่วยเป็นโรคหัวใจคือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ ซึ่งได้แก่

หยุดสูบบุหรี่รวมทั้งหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้กับผู้ที่สูบบุหรี่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

รับประทานอาหารอย่างพอเหมาะ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารประเภทแป้ง อาหารที่ที่มีรสหวานจัด

อาหารที่มีไขมันสูง และสำหรับผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคหัวใจ

รวมทั้งผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจสูงก็ควรเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อตรวจคัดกรองหาโรคหัวใจด้วย

 

-การออกกำลังกาย

สำหรับผู้ที่เป็นโรคหัวใจ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเช่นกันว่าสามารถทำได้หรือไม่

และควรออกกำลังกายมากน้อยเพียงใด โดยทั่วไป แพทย์จะแนะนำให้ผู้ที่เป็นโรคหัวใจและคนปรกติ

ออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3–4 ครั้ง ครั้งละ 30–40 นาที ซึ่งการเดินก็เป็นออกกำลังกายอย่างหนึ่งที่ทำได้ง่าย

โดยการเดินเพื่อออกกำลังกายที่เหมาะสมคือเดินครั้งละ 20 นาที สัปดาห์ละ 4 ครั้ง

ซึ่งพบว่าการออกกำลังกายโดยการเดินที่เหมาะสมจะสามารถสามารถลดโอกาส

ในการเกิดโรคหัวใจในผู้ที่ยังไม่ได้เป็นโรคหัวใจหรือมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจได้

ส่วนผู้ที่เป็นโรคหัวใจอยู่แล้วก็มีโอกาสในเกิดการเจ็บป่วยซ้ำใหม่น้อยลง

 

 

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ/by สาระแห่งสุขภาพ

 

 

1174854_536052099806881_1896835570_n.png

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กุมิตัน สมุนพระราม Fanpage

แบตเตอรี่รถยนต์

ทำหน้าที่ ป้อนกระแสไฟฟ้าให้อุปกรณ์ต่างๆของเครื่องยนต์เพื่อให้ทำงานได้ เช่น

 

มอเตอร์สตาร์ท ระบบจุดระเบิดในขณะที่

สตาร์ทรถยนต์ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ป้อนพลังงานให้กับอุปกรณ์อำนวยความสะดวกหลายๆอย่าง ด้วย เช่น

 

ระบบไฟส่องสว่าง วิทยุ เป็นต้น

แบตเตอรี่รถยนต์ ไม่ใช่แหล่งผลิตกระแสไฟฟ้า แต่เป็นแหล่งเก็บไฟฟ้าสำรอง เมื่อใดก็ตามที่ไดร์ชาร์จ

 

ซึ่งเป็นอุปกรณ์ผลิตกระแสไฟฟ้า ไม่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ทัน เช่น

 

การขับขี่ในตอนกลางคืนซึ่งใช้ระบบไฟเยอะกว่าปกติ ก็จะดึงไฟจากแบตเตอรี่มาใช้

 

ขณะเดียวกันถ้าไดร์ชาร์จทำงานได้ดีขึ้น หรือ หมุนเร็วขึ้น ก็จะมีกระแสไฟฟ้าเหลือจากการใช้งาน

 

ซึ่งก็จะถูกส่งกลับเข้าไปยังแหล่งเก็บไฟฟ้าสำรอง (แบตเตอรี่)

 

จนกว่าจะเต็มแบตเตอรี่จะถูกจ่ายไฟออกอย่างเดียวก็เฉพาะตอนสตาร์ทเครื่อง ยนต์เท่านั้น

 

เพื่อส่งกระแสไฟเข้าสู่มอเตอร์สตาร์ท และ ระบบต่างๆของเครื่องยนต์ เมื่อเครื่องยนต์สตาร์ทติด และ ทำงานแล้ว

 

ไดร์ชาร์จก็จะทำหน้าที่ประจุไฟเข้าแบตเตอรี่อย่างต่อเนื่อง

 

นั่นก็หมายความว่า กระแสไฟฟ้าจะถูกจ่ายออกไป และ ถูกประจุเพิ่มเข้าไป

 

หมุนเวียนเข้าออกแบตเตอรี่อยู่เสมอ ไม่ได้จ่ายออกไปจนหมดอย่างเดียว

 

 

480783_384779184956317_633973209_n.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...