ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
ginger

ใบไม้ผลิบนดวงจันทร์

โพสต์แนะนำ

65281_578305232183118_987573084_n.jpg

 

 

Winter fun :)

Our lovely Ines

เล่นหิมะ มันส์อย่าบอกใคร

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Wealth Station

ช่วงที่ผ่านมาราว 1 สัปดาห์ ทิศทางราคาทองเป็นรูปแบบนึงที่ใครจะชอบก็ชอบ ไม่ชอบก็ไม่ชอบ คือมันวิ่งในกรอบราว 15 - 20 เหรียญเพื่อรอระเบิดไปซักทาง

มีมากกว่านั้นคือช่วงนี้มีทรงกราฟแบบนึงที่เรียกว่า V-shape เกิด 4 ครั้งในช่วงเวลาไม่นาน

ราคาทองโดนเทลงจาก 1678 ในหัวค่ำบ้านเรามาแตะระดับ 1662 ด้วยเหตุผลว่ามุมมองเศรษฐกิจของ ECB ไม่ดีและไม่มีการอัดฉีดเงินแค่ตรึงดอกเบี้ยเท่านั้น

การลงมาแตะ 1662 ทำให้กราฟเสียทรงคือ เกิด lower low ขึ้น

โดยเช้านี้ทองก็กลับมาอยู่บริเวณ 1670 หลังดีดแรงกลับไป 1682 ในคืนที่ผ่านมา ถ้าเช้านี้ บ่ายนี้ทองลงต่ำกว่า 1667 อีก ก็จะดูไม่ดีและอาจเป็นการเบรกลงก็ได้ครับ

 

559984_502514559787024_1345592395_n.png

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

MTS GOLD

เวลา 10.25 น.

 

แนะนำให้นักลงทุนหาจังหวะขายก่อนโดยการทำ Short Position ที่ระดับ 1,677 – 1,680 เหรียญ ถ้าราคาไม่สามารถยืนเหนือ 1,675 เหรียญได้ น่าจะปรับตัวลดลงมา

 

MTS Gold คาดว่าจะมีแนวรับระยะสั้นแบบรายวันที่ระดับ 1,665 เหรียญ แนวต้านที่ระดับ 1,675 เหรียญ

 

สำหรับ Gold Futures G13 จะมีแนวรับที่ระดับ 23,500 บาท และแนวต้านที่ระดับ 23,680 บาท

Gold Futures J13 จะมีแนวรับที่ระดับ 23,620 บาท และแนวต้านที่ระดับ 24,800 บาท

Silver Futures G13 จะมีแนวรับที่ระดับ 920 บาท และแนวต้านที่ระดับ 960 บาท

 

ถ้าท่านต้องการรายละเอียดสามารถติดตามได้ในบทวิเคราะห์ Dr. Gold Analysis

 

526564_568873446456575_531146276_n.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

10 กิจที่ต้องทำใน "วันตรุษจีน"

blank.gif โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 7 กุมภาพันธ์ 2556 18:45 น. blank.gif "ตรุษจีน" เป็นงานเฉลิมฉลองที่ยาวที่สุด และสำคัญที่สุดในปฏิทินจีน ซึ่งมีความหมายความสำคัญหมายถึงวันเริ่มต้น วันใหม่ เริ่มฤดูกาลใหม่ของชาวจีนซึ่งตรงกับวันที่ 1 เดือน 1 ตามปฏิทินจันทรคติของชาวจีน และในปีนี้ตรงกับวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2556 สำหรับในวันสำคัญนี้ มีหลาย ๆ สิ่งที่ควรยึดถือปฏิบัติ วันนี้เราจึงได้รวบรวม "10 กิจที่ต้องทำวันตรุษจีน" ซึ่งทำเป็นอินโฟกราฟฟิกสวย ๆ มาฝากท่านผู้อ่านกัน ส่วนจะมีอะไีรบ้างนั้น ไปติดตามกันได้เลย

556000001691001.JPEG blank.gif

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

การเมือง : ทัศนะวิจารณ์

 

วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2556 01:00

news_img_tassana_126.jpg กอบศักดิ์ ภูตระกูล คอลัมนิสต์ประจำคอลัมน์ "อนาคตเศรษฐกิจไทย" ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ

ทางออก สำหรับปัญหาค่าเงินแข็งและเงินไหลเข้า

 

โดย : กอบศักดิ์ ภูตระกูล

 

ช่วงนี้ ปัญหาเรื่องค่าเงินแข็งและเงินไหลเข้า ได้กลายเป็นประเด็นใหญ่ที่หลายคนสนใจ

 

 

และต้องการรู้ว่า “ทางออกที่เหมาะสมกับประเทศไทย สำหรับปัญหาทั้งสองคืออะไร”

ในประเด็นนี้ มีท่านผู้รู้จำนวนมาก ที่ได้กรุณาออกมาให้ความเห็น ชี้แนะ ซึ่งต่างมีความเห็นของตนเอง ที่แตกต่างกันไป ประเภทอยู่คนละขั้ว บางคนต้องการให้ลดดอกเบี้ย บางคนแย้งว่า “ต่อให้ลดแล้ว ก็ไม่ได้ช่วยอะไร” โดยยกตัวอย่าง หลักฐานต่างๆ มาสนับสนุน บางคนเรียกร้องว่า อยากให้แบงก์ชาติแทรกแซงค่าเงินให้เต็มที่ เช่น ตรึงไว้ที่ 30 บาท/ดอลลาร์ เป็นต้น และบางคนก็เริ่มไปไกลกว่านั้น ต้องการให้รัฐบาลจ่ายยาแรง ออกมาตรการสกัดเงินทุนเคลื่อนย้าย เพื่อจัดการกับผู้ที่เข้ามาเก็งกำไรค่าเงิน ด้วยเหตุนี้ หลายคนที่พยายามติดตามอ่านอยู่ข้างๆ ก็เริ่มงง เพราะมีหลายสำนักเหลือเกิน ไม่แน่ใจว่าจะเชื่อใครดี

การที่เราจะเห็นถึงทางออกที่เหมาะสมที่สุด สำหรับประเทศไทยในเรื่องเหล่านี้ ต้องเริ่มจากความเข้าใจในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ ดอกเบี้ย เงินไหลเข้า และค่าเงินบาท ใน 3 ประเด็น

 

ข้อเท็จจริงแรก - ส่วนต่างดอกเบี้ยมีผลอย่างมีนัยสำคัญต่อเงินไหลเข้า ตรงนี้ ถ้าเถียงว่าไม่จริง ก็ไม่ต้องดูอื่นไกล เมื่อ 5 ปีที่แล้ว นักลงทุนไทยแห่กันไปลงทุนที่เกาหลีกันใน “พันธบัตรกิมจิ” กันเป็นเงินถึง 4-5 แสนล้านบาท ถ้าจะถามว่าทำไมถึงไปลงทุนกันมากขนาดนั้น คำตอบง่ายๆ ก็คือ ดอกเบี้ยเกาหลีสูงกว่าไทย ให้ผลตอบแทนสูงถึง 4% ขณะที่ลงทุนในไทยได้ดอกเบี้ย 1-2% เท่านั้น ทำให้หลายคนสนใจไปลงทุนในพันธบัตรเงินสกุลดังกล่าว ซึ่งในช่วงนี้ ในกรณีของประเทศไทย เนื่องจากดอกเบี้ยสหรัฐ ยุโรปต่ำกว่าเรามาก จึงไม่น่าแปลกใจว่า เงินจากต่างประเทศได้ไหลเข้ามาลงทุนในตลาดพันธบัตรของเราเพิ่มขึ้นถึง 4 แสนกว่าล้านบาท ในช่วง 13 เดือนที่ผ่านมา

 

ข้อเท็จจริงที่ 2 - การจะลดดอกเบี้ยเพื่อดูแลเงินไหลเข้านั้น ควรทำหรือไม่ขึ้นอยู่กับว่าวัฏจักรเศรษฐกิจเรากำลังอยู่ที่จุดไหน ถ้าเศรษฐกิจเราอยู่ในช่วงขาลง การลดดอกเบี้ยก็จะช่วยลดเงินไหลเข้า และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไปพร้อมๆ กัน แต่ถ้าเศรษฐกิจอยู่ในช่วงขาขึ้น เช่นในปัจจุบัน การจะลดดอกเบี้ยเพื่อช่วยเรื่องเงินไหลเข้า ก็ต้องชั่งน้ำหนักให้ดี เพราะถ้าลดดอกเบี้ยจริงตามที่มีการเสนอกัน เงินที่เข้ามาหากำไรจากส่วนต่างดอกเบี้ย อาจจะลดลงไปบ้าง แต่พอเวลาผ่านไป 2-3 ปี การลงดอกเบี้ย จะส่งผลให้เศรษฐกิจของเราเฟื่องฟูเกินไป กลายเป็นฟองสบู่ (ทั้งจากปัญหาภาคอสังหาฯ หนี้ครัวเรือน หุ้น) กลายเป็นปัญหาใหม่ให้เราแก้ไข ซึ่งถ้าจัดการได้ไม่ดี ก็อาจจะทำให้เกิดวิกฤตขึ้นได้

ทั้งนี้ ต้องเข้าใจว่าการลดดอกเบี้ยช่วยลดเงินไหลเข้าได้ เฉพาะในส่วนของเงินที่ไหลเข้ามาลงทุนในตลาดพันธบัตรเป็นสำคัญเท่านั้น

เงินอื่นๆ ที่ไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น และตลาดอสังหาริมทรัพย์ รวมไปถึงการลงทุนโดยตรง จะยังคงจะเข้ามาอย่างต่อเนื่องเช่นเดิม

 

ข้อเท็จจริงที่ 3 - ปัญหาที่ทุกคนกังวลกันจริงๆ ในปัจจุบัน แต่ไม่ยอมพูดให้ชัด ก็คือ “ค่าเงินแข็ง” ไม่ใช่เงินไหลเข้า ที่กล้าพูดเช่นนี้ ก็เพราะปีที่แล้วมีเงินไหลเข้ามากกว่า 5 แสนล้านบาทในตลาดพันธบัตรและตลาดหุ้น แต่ไม่เห็นมีใครออกมาบ่นแต่อย่างไร ส่วนปีนี้ เงินที่ไหลเข้าตั้งแต่ต้นปีมีประมาณ 1 แสนล้านบาท ซึ่งไม่ได้มากจนเกินไปนัก ความจริงออกจะน้อยกว่าเมื่อปีที่ผ่านมาด้วยซ้ำไป แต่คนกลับบ่นกันมากเรื่องเงินไหลเข้า

เหตุที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะปัญหาจริงๆ คือ “ค่าเงิน” ไม่ใช่เงินไหลเข้า ปีที่แล้ว ค่าเงินไม่ขยับ เงินไหลเข้าจึงไม่เป็นประเด็น แต่ปีนี้ พอเงินบาทแข็งอย่างรวดเร็วช่วงต้นปี แม้เงินไหลเข้าจะน้อยกว่า ก็ยังถูกยกขึ้นมาเป็น “ผู้ร้ายตัวฉกาจ” เป็นประเด็นที่ท่านผู้รู้พยายามหามาตรการเพื่อจัดการให้ได้

ถ้าเป้าหมายตัวจริง คือ “ค่าเงิน” มาตรการที่ถูกนำเสนอ โดยเฉพาะการลดดอกเบี้ย อาจจะไม่มีประสิทธิผลตามที่ตั้งใจไว้ โดยประสบการณ์จากประเทศต่างๆ พบว่า แม้ลดดอกเบี้ยแล้ว หรือมีดอกเบี้ยในระดับต่ำแล้วก็ตาม ก็ไม่ช่วยป้องกันเรื่องค่าเงินที่จะแข็งขึ้น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ ญี่ปุ่น ที่ดอกเบี้ยของเขาในช่วง 4-5 ปีนี้ อยู่ที่ 0.1-0.5% ต่ำกว่าประเทศอื่นๆ มาก แต่ค่าเงินเยนก็ยังสามารถแข็งค่าขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง จาก 120 เป็น 76 เยน/ดอลลาร์

 

แล้วทางออกที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยคืออะไร

ทางออกของเรามีไม่มากนัก โจทย์สำคัญของประเทศไทย คือ “เราจะอยู่อย่างไรภายใต้ภาวะค่าเงินที่จะแข็งขึ้น และเงินจำนวนมากที่จะไหลเข้า” ภายใต้ข้อจำกัดต่างๆ ในเชิงนโยบายและเชิงปฏิบัติ

 

ปัญหาแรกเรื่อง ค่าเงิน การจะไปให้แบงก์ชาติไปฝืนค่าเงินเอาไว้ให้อยู่นิ่งๆ เช่นที่ 30-31 บาท/ดอลลาร์ เป็นเรื่องที่มีต้นทุนสูงมาก (ยิ่งถ้าไปแทรกแซงแล้วทำไม่ตลอด ก็อาจจะนำมาซึ่งการขาดทุนจำนวนมากของแบงก์ชาติได้) ยิ่งช่วงนี้ ค่าเงินเอเชียกำลังแข็งทั้งภูมิภาค ยิ่งเป็นเรื่องที่ยากที่จะไปฝืนเอาไว้ประเทศเดียวได้

 

ทางออกที่เหมาะสมสำหรับไทย จึงมีองค์ประกอบสำคัญ 2 ด้าน

1. ให้แบงก์ชาติ แทรกแซง ดูแลให้เงินบาท ไม่แข็งค่าเกินกว่าค่าเงินของคู่แข่งของเรา เช่น ค่าเงินริงกิต และเงินสกุลอื่นๆ ในภูมิภาค ซึ่งมีนัยต่อไปว่า ถ้าเงินภูมิภาคแข็ง เราก็แข็งเช่นกัน โดยมีเป้าหมายคือ ไม่แข็งมากกว่าประเทศอื่นๆ อันจะช่วยให้ผู้ส่งออกของเรายังแข่งขันกับคู่แข่งได้ และยังค้าขายได้ ซึ่งในเรื่องนี้ จะมีต้นทุนกับแบงก์ชาติในการเข้าแทรกแซง แต่จะน้อยกว่าการฝืนเอาไว้ที่ระดับใดระดับหนึ่ง และที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นคือ อยู่ในวิสัยที่ทำได้

 

2. การช่วยส่งเสริมให้ผู้ส่งออกสามารถปรับตัวรับกับค่าเงินที่จะแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องได้ โดย (1) พยายามกำหนดราคาสินค้าเป็นเงินท้องถิ่นให้มากขึ้น เช่น ถ้าส่งไปจีน ก็คิดเป็นเงินหยวน ส่งไปมาเลเซียคิดเป็นเงินริงกิต ส่งไปลาว กัมพูชา พม่า คิดเป็นเงินบาท เป็นต้น (2) พยายามทำ Hedging เพื่อปิดความเสี่ยงเรื่องค่าเงิน (3) การตั้งราคา price in ไว้ 3% 5% 7% (ตามที่จะเป็นไปได้) เผื่อว่าหากเงินบาทแข็งขึ้น ก็ยังจะกำไรได้ และ (4) การดำเนินการลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ไว้แต่เนิ่นๆ ในช่วง 6 เดือนนี้ เพื่อจะได้พร้อมหากค่าเงินจะแข็งขึ้นเพิ่มเติม

ส่วนปัญหาที่สองเรื่อง เงินไหลเข้า เราต้องเริ่มโดยยอมรับความจริงว่า ช่วงที่สภาพคล่องล้นโลก ประเทศใหญ่ทางเศรษฐกิจต่างแข่งกันพิมพ์เงิน อัดฉีดสภาพคล่อง การไปตั้งกระสอบทราย ตั้งกำแพงกั้นไว้ ไม่ให้เงินไหลเข้ามา เป็นเรื่องยากเช่นกัน ทางออกที่เหมาะสมสำหรับไทย จึงมีองค์ประกอบสำคัญเพิ่มเติมอีก 2 ด้าน

 

3. การเตรียมมาตรการที่จะดูแลผลพวงจากการไหลเข้าของเงินทุน โดยเฉพาะปัญหาเรื่องฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ รวมไปถึงการที่ป้องกัน Easy money, Easy credit culture ที่สภาพคล่องที่จะไหลเข้ามาล้นระบบ จะทำให้บริษัทกู้ยืมจนเกินตัว ครัวเรือนบริโภคจนเกินฐานะ และแบงก์ปล่อยกู้จนสะสมความเสี่ยงไว้มาก เพื่อป้องกัน ไม่ให้เกิดวิกฤตอีกครั้งเหมือนกับเมื่อปี 2540 ซึ่งในจุดนี้ หมายถึงการที่รัฐบาลต้องเตรียมนโยบายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นนโยบายที่จะคุมเข้มภาคอสังหาริมทรัพย์ในช่วงต่อไป (เช่นเดียวกับที่ฮ่องกงหรือสิงคโปร์ได้ทำมาแล้ว) ตลอดจนนโยบายที่จะกำกับการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินอย่างใกล้ชิดมากขึ้น

 

ทั้งนี้ มาตรการเปิดเสรีเงินทุนเคลื่อนย้ายนั้น ก็จะช่วยเช่นกัน การเร่งเปิดเสรีด้านการไหลออก

ไม่ว่าจะเป็นการลดข้อกำหนดต่างๆ การอนุญาตให้คนไทยไปลงทุนในต่างประเทศได้มากขึ้น

การสนับสนุนให้บริษัทเอกชนไทยไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น ต่างจะช่วยได้ในระดับหนึ่ง

 

สำหรับมาตรการที่หลายคนกำลังเสนอกัน คือ มาตรการสกัดกั้นเงินทุนเคลื่อนย้าย นั้น จากประสบการณ์พบว่า “ไม่ได้ผล เรื่องค่าเงินแข็ง” โดยมาตรการที่ถือเป็นยาแรงที่สุดของโลกในการสกัดเงินทุนไหลเข้า เช่น บราซิลเก็บภาษีเงินไหลเข้าถึง 6% หรือ ไทยสั่งตั้งมาตรการสำรอง 30% ต่างก็ไม่สามารถช่วยหยุดเรื่องการแข็งค่าของเงินไว้ได้ โดยหลังจากเราประกาศมาตรการสำรอง 30% ค่าเงินบาทยังคงแข็งขึ้นต่อเนื่องจาก 35.9 เป็น 31.1 บาท/ดอลลาร์

(ที่น่าสนใจไปกว่านั้น คือ มาเลเซีย ไม่ได้มีมาตรการอะไร ค่าเงินของเขากลับแข็งขึ้นน้อยกว่าค่าเงินไทย โดยแข็งขึ้นจาก 3.52 เป็น 3.13 ริงกิต/ดอลลาร์)

 

ซึ่งทั้งหมดนี้ เป็นอุทาหรณ์สำหรับเราทุกคนว่า ไม่ควรไปฝากความหวัง

ไว้กับมาตรการสักเงินไหลเข้า ซึ่งเป็นเครื่องทุ่นแรงที่ไม่มีประสิทธิภาพ และกลับไปมุ่งเน้นโยบายพื้นๆ คือ การแทรกแซงค่าเงินโดยตรงจะได้ผลดีกว่า

 

4. การเตรียมการสำหรับช่วงเงินไหลออก จากประสบการณ์พบว่า ช่วงเงินไหลเข้า ทุกคนจะร่าเริงไปกับสภาพคล่องที่ล้นในระบบ แต่เมื่อเงินเริ่มไหลออก ปัญหาอาจจะเกิดได้

 

และอาจจะนำมาซึ่งวิกฤต โดยรอบนี้ ถ้ามองดูไปแล้ว

ทุกประเทศในเอเชียต่างจะได้รับเงินไหลเข้ากันเป็นจำนวนมาก

วิกฤตรอบหน้าจึงมีโอกาสอย่างยิ่ง ที่จะเกิดขึ้นแถวบ้านเราในเอเชีย

อันจะกระทบกับไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ดังนั้น เพื่อไม่ประมาท เราคงต้องเตรียมการเพื่อให้ไทยอยู่ในสภาพที่จะรับกับช่วงเงินไหลออก และฝ่าฟันกับวิกฤตที่จะเกิดขึ้น

 

ซึ่งหมายความว่า รัฐบาลต้องพยายามลดหนี้ในช่วงเศรษฐกิจขาขึ้นนี้

เพื่อเพิ่ม Fiscal Room ที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจให้เราผ่านพ้นจากช่วงดังกล่าวได้

จุดเปลี่ยนเรื่องการดึงสภาพคล่องกลับ จะเกิดขึ้นในช่วงประมาณต้นปี 2015 เป็นต้นไป

ก่อนที่ธนาคารกลางสหรัฐจะขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย Fed Fund ตามที่ได้ประกาศไว้

ยิ่งไปกว่านั้น ระหว่างปี 2016-2017 เมื่อดอกเบี้ยของสหรัฐเริ่มขยับขึ้น

ก็มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องไปจนถึงที่ 4% อีกครั้ง

ทุกคนที่ได้หลงไปกู้เงินมาใช้จนเกินตัวในช่วงก่อนหน้า ก็ต้องระวังเรื่องนี้เป็นอย่างยิ่ง

 

กล่าวโดยสรุป มาตรการทั้ง 4 ด้านนี้ เป็นทางออกของไทย

สำหรับการบริหารเศรษฐกิจใน 3-5 ปีข้างหน้า ถ้าเราเตรียมการดี เข้าใจว่าโจทย์คืออะไร

เลือกทางออกที่เหมาะสม เราก็จะผ่านพ้นปัญหารอบนี้ไปได้

แต่ถ้าเราตีโจทย์ผิด เลือกทางออกผิด

เราก็จะมีโอกาสพอสมควร ที่จะเสียหายกันอีกรอบ ก็ขอเอาใจช่วยทุกคนครับ

หมายเหตุ : สนใจอ่านเพิ่มเติม หรือเสนอแนะได้ที่ “Blog ดร. กอบ” ที่ www.kobsak.com ครับ

เพราะเราส่งออกมากกว่า 60-70% ไปยังเอเชีย

Tags : กอบศักดิ์ ภูตระกูล

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

 

Waldek Dąbrowski Photography shared Dogs's photo

 

Dogs are truly mans best friends and will always be there for you!

 

Like if you agree!:)

 

 

308766_10151143750880847_142909457_n.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อดีตขุนคลัง "ทนง พิทยะ" อัดรมว.คลัง "กิตติรัตน์ ณ ระนอง"ร่อนหนังสือถึงแบงก์ชาติให้รับผิดชอบนโยบาย "ไม่เหมาะสม-ไม่เคยมีในอดีต"

 

 

"กรุงเทพธุรกิจทีวี" เกาะติดประเด็นร้อนคลังบีบคณะกรรมกานโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ที่ขณะนี้อยู่ในระดับ 2.75% เพื่อลดการเก็งกำไรตลาดตราสารหนี้ ตลาดหุ้น และช่วยลดแรงกดดันการแข็งค่าของเงินบาท...สัมภาษณ์ ทนง พิทยะ อดีตรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการคลัง วิพากษ์การทำงานของ กิตติรัตน์ ณ ระนอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่ออกมาส่งสัญญาณชัดเจน ทั้งด้วย "วาจา" และร่อนหนังสือ อย่างเป็น "ลายลักษณ์อักษร" เพื่อกดดันแบงก์ชาติลดดอกเบี้ย...(คำต่อคำ)

ถาม อาจารย์เองเป็นรัฐมนตรีคลังมาก่อน ตอนนี้กำลังวิพากษ์วิจารณ์ถึงที่คุณกิตติรัตน์ทำหนังสือจดหมายถึงบอร์ดแบงก์ชาติว่าเหมือนกดดัน บางคนถึงกับบอกว่าเข้าข่ายข่มขู่ด้วยซ้ำไปว่าต้องบีบกดดันให้ กนง.ลดดอกเบี้ย

ตอบ ผมว่าไม่ดี สำหรับผมก็คือว่ายิ่งทำมันก็ยิ่งทำให้แบงก์ชาติมีปฏิกิริยาตอบโต้โดยที่ทำให้ลดดอกเบี้ยช้าลงด้วยซ้ำ เขาก็จะรักษาแนวทางของเขาไว้ และก็พยายามบอกคุณส่งมา ผมก็บอกผมไม่แคร์ และเสร็จแล้วมันก็ไม่มี มันก็แค่ได้ไปบอกว่าคุณต้องรับผิดชอบนะ เขาก็รับผิดชอบอยู่แล้ว ถูกต้องไหมครับเขาก็รับผิดชอบอยู่แล้ว ฉะนั้นผมเชื่อว่า รัฐมนตรีคลังกับผู้ว่าการควรจะคุยกันนอกรอบมากกว่า ผมว่าควรจะคุยนอกรอบกันให้เข้าใจว่าอะไรคืออะไร และก็ปัญหาจริงๆ อยู่ที่ไหน และมาตรการที่แบงก์ชาติกับ ก.คลังควรจะเห็นพ้องต้องกันคืออะไร คือแบงก์ชาติเองก็ต้องคอยดูปริมาณเงินบาทในระบบอยู่แล้ว ถ้าตอนนี้เงินมันไหลเข้ามารัฐบาลเองก็เอาเงินจากระบบออกไปใช้และอัดฉีดเข้ามาในระบบผ่านการที่งบประมาณขาดดุล แบงก์ชาติก็ต้องดูทั้ง 2 ด้านว่าตรงไหนเป็นอะไรและก็ความพอดีของปริมาณเงินอยู่ที่ไหน แต่ว่านโยบายอัตราดอกเบี้ยนั้นไม่ได้ชะลอปริมาณเงิน ไม่ได้ลดความต้องการเงินกู้ เพราะว่ามันมีเงินไหลเข้ามาทดแทนได้

ถาม เพราะฉะนั้นศาสตร์และศิลป์ในการทำงานร่วมกับผู้ว่าการแบงก์ชาติจะทำอย่างไร

ตอบ ผมว่ามันต้องคุยกันและก็พยายามเข้าใจ

ถาม เขาก็คุยกันอยู่นะ

ตอบ เพราะฉะนั้นมันไม่มีความจำเป็นต้องส่งจดหมาย

ถาม ในอดีตเคยมีไหม

ตอบ ไม่มี

ถาม และอาจารย์ทำยังไง

ตอบ สมัยผมที่ท่านหม่อมปรีดิยาธรท่านเป็นผู้ว่าการ ก็โทรศัพท์คุยกันตลอด บางทีผมแวะไปหาที่แบงก์ชาติก็มี บางทีท่านก็มาหาผมที่กระทรวงการคลัง ต่างคนต่างก็ชี้แจงความจำเป็น และเสร็จแล้ว รมต.คลังก็มีสิทธิบอก พี่หม่อม ผมจำเป็นต้องแถลงต่อประชาชนนะว่าผมไม่เห็นด้วยกับแบงก์ชาติ เขาก็บอกว่ทำไปเลย แต่เขาก็จะพยายามบอกว่าสิ่งที่แบงก์ชาติกำลังจะทำคืออะไร เพราะอะไร

ถาม คือต่างคนต่างบอกในจุดยืนของตัวเอง

ตอบ แต่ก็ในที่สุดแล้วมันก็คุยกันได้ ถึงเวลามันเห็นปัญหาร่วมกันได้ เพราะข้อเท็จจริงทางเศรษฐกิจมันมี ข้อเท็จจริงทางเศรษฐกิจโดยแบงก์ชาติก็ต้องมารายงานรัฐบาลอยู่ ข้อเท็จจริงทางเศรษฐกิจที่กระทรวงการคลังมีก็รายงานรัฐบาล ข้อเท็จจริงทางเศรษฐกิจที่สภาพัฒน์ทำก็รายงานรัฐบาล ฉะนั้นก็สามารถจะเปรียบเทียบได้ว่าใครถูกใครผิด มันสามารถจะเปรียบเทียบได้ว่าแต่ละคนเห็นความสำคัญคนละด้าน ฉะนั้นความพอดีอยู่ตรงกลางทำยังไงดี มันก็มีสิทธิที่จะทำได้ แต่เราจะไปก้าวก่ายหน้าที่แบงก์ชาติไม่ได้ เรามีสิทธิเพียงแต่บอกได้ว่าท่านผู้ว่าการต้องระวังเรื่องนี้หน่อยนะ

ถาม ดอกเบี้ยควรลดลงนะอะไรอย่างเนี้ย แต่ทางคลังเขาก็บอกมาตลอด

ตอบ ไม่ต้องบอก เราไม่ต้องบอกว่าดอกเบี้ยควรจะลดลง ท่านต้องระวังเรื่องการไหลเข้าของเงิน เพราะว่ามันเข้ามามากเกินไปมันจะทำให้เศรษฐกิจกลายเป็นฟองสบู่ได้ เพราะฉะนั้นแบงก์ชาติก็ต้องไปกลับดูว่านโยบายอะไรที่จะทำให้ได้ผล ท่านต้องระวังอย่าไปดูแลค่าเงินบาทแบบนี้ เพราะท่านอาจจะขาดทุนมากขึ้นอีก และก็จะมีปัญหาในระยะยาวได้ เรามีสิทธิที่จะพูดได้

Tags : ทนง พิทยะกิตติรัตน์ ณ ระนองค่าเงินบาทเงินไหลเข้า

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แสตมป์วาเลนไทน์ออกแบบโดยแบรนด์ดัง Hermes จากฝรั่งเศส

ThaiPR.net -- ศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2556 13:31:52 น.

แสตมป์วาเลนไทน์จากการออกแบบของแอร์เมส Hermes (แอร์เมส) ผู้นำแฟชั่นระดับโลก เป็นที่รู้จักกันในวงการแฟชั่นชั้นสูง จึงไม่น่าแปลกใจที่สินค้าแบรนด์แอร์เมสจะมีราคาที่แพนแสนแพง แต่กลับมียอดสั่งจองสูงที่สุด ในโอกาสวาเลนไทน์ปีนี้การไปรษณีย์ฝรั่งเศส ได้รับเกียรติจากแฟชั่นดีไซเนอร์จากแอร์เมส เป็นผู้ออกแบบดวงแสตมป์ให้กรุงเทพฯ--8 ก.พ.--House of STamp

แสตมป์วาเลนไทน์จากการออกแบบของแอร์เมส

Hermes (แอร์เมส) ผู้นำแฟชั่นระดับโลก เป็นที่รู้จักกันในวงการแฟชั่นชั้นสูง จึงไม่น่าแปลกใจที่สินค้าแบรนด์แอร์เมสจะมีราคาที่แพนแสนแพง แต่กลับมียอดสั่งจองสูงที่สุด

ในโอกาสวาเลนไทน์ปีนี้การไปรษณีย์ฝรั่งเศส ได้รับเกียรติจากแฟชั่นดีไซเนอร์จากแอร์เมส เป็นผู้ออกแบบดวงแสตมป์ให้ ซึ่งทางแอร์เมสได้ออกแบบโดยใช้ลวดลายจากลายผ้าของแอร์เมส และใช้โทนสีแดงเป็นสีพื้น เปรียบเสมือนกับดอกกุหลาบสีแดง เหมาะกับเทศกาลวาเลน์ไทน์ซึ่งเป็นเทศกาลที่อบอวลไปด้วยความรัก

วาเลนไทน์ปีนี้หากอยากจะมอบของขวัญให้คนที่รักสักคน หากไม่อยากจำเจซ้ำใคร ลองมอบแสตมป์วาเลนไทน์จากแอร์เมสให้เป็นของขวัญได้นะ ในราคาสบายกระเป๋าอีกด้วย

สอบถาม และแวะชมแสตมป์วาเลนไทน์จากแอร์เมส ได้ที่ร้าน Hosue of Stamps ทุกสาขา หรือโทร. 02 652 1064-7, 02 652 2220

 

 

 

iq8a29ebff77c976fd1f31a34f5717cf23.jpg

iq8a29ebff77c976fd1f31a34f5717cf23-0.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีค่ะ

 

เมื่อคืนนี้น้องทองวิ่งได้ใจส้มเปรี้ยวมากเลยนะค่ะ

ครายตามไม่ทัน หรือไม่ได้เฝ้าหน้าจอเมื่อคืน กลับมาคงคิดว่าน้องทองทำไมนิ่งอย่างงี้ ไม่ขยับไปไหนเลยย

จริงๆ ขยับไปแรงหลายรอบแล้ว ขึ้น + ลง –> ได้ราคาเท่าเดิมเลยย 555 --- เร็วมากก

 

วันนี้ส้มเปรี้ยววาดรูปให้ดู อาจจะไม่สวยนะค่ะ ขออภัยค้า

เอางี้นะค่ะ คือว่า ตอนนี้น้องทองของเราเคลื่อนไหวในลักษณะ Sideway ขึ้นๆ ลงๆ ในกรอบ 1650 – 1695

ตอนนี้เป็นรอบขาขึ้นรอบที่ 3 แต่ดูเหมือนจะอ่อนแรงเหลือเกินค่ะ

ถ้าราคายังไม่สามารถผ่าน 1682/1685 ไปได้ --- ก็ต้องมาดูจังหวะการลงอีกครั้ง จุดรับที่ 1 คือ 1668/1663 (ไม่หลุดจุดนี้ ยังดูขึ้นได้อีก รอทดสอบ 1682/1685 อีกครั้ง) --- แต่ถ้าหลุดจุดที่ 1 รอดูจุดรับที่ 2 คือ 1656/1650 ซึ่งจุดนี้จะเป็นสัญญาณเตือนการลงแรงๆ ครั้งที่ 1 --- โดยการหลุด 1650 น้องทองของเราจะทำการสระผมทันที ด้วยยาสระผม Head&Shoulder ^__^ ลงแรงแน่ค้า เอาไปก่อนที่ 1625/1612

 

แต่ถึงผ่าน 1682/1685 ไปได้ --- อย่าเพิ่งดีใจไป --- รอดูแถว 1690/1695 ก่อนนะค่ะ ซึ่งถ้าผ่านไปไม่ได้ ราคาก็จะยังเคลื่อนไหว sideway ต่อไป คือจะมีการปรับตัวลดลง ตามกรอบ Sideway 1650 – 1695

 

จะเห็นว่าจุดติดสินใหญ่ๆ คือ 1650 และ 1695 ซึ่งเป็นจุดตัดสินการขึ้น/ลงแรงๆ

แต่สำหรับวันนี้ จุดติดสินคือ 1663 และ 1682 ถ้าทะลุผ่านจุดไหน ก็ไปทางนั้นค่ะ

 

ที่นี้ ถ้ามองจาก indicator ส้มเปรี้ยวก็จะแอบเตือนว่า น้องทองใกล้เวลาอ่อนแรงแล้ว – คนที่มี Long ถือไว้ ก็ขอให้ระวัง การขึ้น ทุกๆ แนวต้านนะค้า --- ส่วนขา Short ก็ทำได้ค่ะ เอาตรงแนวต้านนะค่ะ โดยให้มีจุด stop loss ณ ระดับ 1685 และ 1695 ค่ะ ถ้าทะลุผ่าน รีบปิด แล้วเปลี่ยนขาเลยค่ะ ไม่อย่างงั้น อาจต้องใส่ขาเทียมแทน อิอิ

 

แนวรับ 1668/1663 --- 1656/1650 – 1630 ลงลง

แนวต้าน 1676/1685 --- 1695 – 1700 –ขึ้นขึ้น

 

ราคาจะมีการหยุดคิดทุกๆ แนวรับแนวต้าน ขอให้วางกลยุทธให้ดีตามแต่ละแนวรับแนวต้านนะค่ะ มันมี step ขอแต่ละแนวนะค่ะ

 

ซินเจียยู่อี่ ซินนี่ฮวดใช้

อั๋งเปา เป็น chocolate เยอะๆ ก็ดีนะค้า อิอิ

 

ขอให้ร่ำให้รวย ขอให้เฮง ขอให้เป็นมหาเศรษฐี ขอให้มีเงินมีทองเหลือเก็บเหลือช้ายยยยยย เย้ๆๆๆๆๆๆๆ

 

ซินแซ ส้มเปรี้ยว พารวย โย่ๆๆ ^^

395696_579382455423442_573104936_n.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...