ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
ginger

หัวใจทองคำกับรอยหยักของสมอง

โพสต์แนะนำ

Inv_main_r13_c3.jpg Inv_main_r13_c6.jpg Inv_main_r13_c11.jpg spacer.gif spacer.gif

จริงอยู่ที่คำว่า “การลงทุน” มักจะพ่วงท้ายมาด้วยคำว่า “ความเสี่ยง” เสมอ แต่คุณทราบหรือไม่ว่า “การไม่ลงทุนก็มีความเสี่ยง” อยู่ไม่น้อยเช่นกัน

 

ถ้าไม่เชื่อ... คุณลองหยิบธนบัตรใบละ 100 บาทขึ้นมา และคิดย้อนกลับไปเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้วว่า เงิน 100 บาทนี้ สามารถซื้อข้าวได้กี่จาน มากกว่าหรือน้อย

ที่ซื้อได้ในวันนี้?

 

เชื่อว่าคำตอบที่ได้รับน่าจะเหมือนๆ กัน คือ เงิน 100 บาท เมื่อ 10 ปีที่แล้ว สามารถซื้อข้าวได้มากกว่าในวันนี้เป็นแน่ นั่นเป็นเพราะ “พลังเงิน” หรือ

“มูลค่าที่แท้จริงของเงิน” ลดลงตลอดเวลา อันเนื่องมาจากภาวะเงินเฟ้อ (Inflation) ซึ่งเป็นภาวะที่ราคาสินค้าหรือบริการโดยเฉลี่ยในท้องตลาดเพิ่มขึ้นอย่างต่อ เนื่อง

 

ดังนั้น การเก็บเงินไว้กับตัวเอง จะเอาใส่ไหฝังดิน หรือเก็บซ่อนไว้ตามตู้เสื้อผ้าหรือใต้หมอนเหมือนในอดีตที่ผ่านมา จึงมีแต่จะทำให้เงินที่เก็บสะสมไว้มีมูลค่า

ลดลงเรื่อยๆ

 

ด้วยเหตุนี้เอง คนเราจึงเริ่มสะสมหรือเก็บออมเงินในรูปของเงินฝากธนาคาร เพื่อเพิ่มค่าเงินออมให้มากขึ้น และลดผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภาวะเงินเฟ้อ แต่หลายปี

ที่ผ่านมา อัตราเงินเฟ้อวิ่งพุ่งพรวด ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากยังอยู่ต่ำติดดิน ลำพังการออมเงินไว้ในธนาคารเพียงอย่างเดียว คงทำให้คุณต้องแบกต้นทุนชีวิตที่แพงขึ้น

เพราะเงินออมเติบโตไม่ทันราคาสินค้าและค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เพิ่มขึ้น แถมดูท่าจะไปถึงฝั่งฝันได้ลำบากมากยิ่งขึ้น

 

“การลงทุน” จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยให้ เงินออมของคุณงอกเงย และบรรลุเป้าหมายที่ต้องการได้เร็วขึ้น เพราะการลงทุนให้ผลตอบแทนโดยเฉลี่ยสูงกว่า

ดอกเบี้ยเงินฝาก ซึ่งเมื่อหักลบกับเงินเฟ้อแล้ว “พลังเงิน” ของคุณไม่ลดลง แถมยังช่วย “เพิ่มพลัง” ในการจับจ่ายใช้สอยให้คุณได้อีกด้วย

 

แต่ในปัจจุบัน ทางเลือกในการลงทุนมีหลากหลายมากยิ่งขึ้น ทั้งยังมีลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างกันออกไป คุณจึงจำเป็นต้องศึกษาทางเลือกต่างๆ เพื่อให้เงินออม

ออกดอกออกผล สร้างความมั่งคั่งให้คุณอย่างคุ้มค่าและสอดคล้องกับความต้องการมากที่สุด

 

เอาเป็นว่า... ก่อนที่เราจะไปเรียนรู้เรื่องการลงทุนพร้อมๆ กันนั้น เราน่าจะทำความเข้าใจให้ตรงกันก่อนดีกว่าว่า “การลงทุนคืออะไร” เพราะบางคนเห็นคนอื่นร่ำรวย

จากการลงทุน เลยเข้าใจว่าการลงทุนน่าจะเป็นหนทางทำให้ตนเองร่ำรวยได้รวดเร็ว ในขณะที่อีกหลายคนเข้าใจว่าการลงทุนเป็นเหมือนการพนันหรือการเสี่ยงโชค

ประเภทหนึ่ง ถ้ามีดวง ก็อาจทำให้ร่ำรวยกลายเป็นเศรษฐีเงินล้านในชั่วข้ามคืน

 

แท้จริงแล้ว... การลงทุนไม่ใช่หนทางที่จะทำให้ผู้ลงทุนร่ำรวยได้อย่างรวดเร็วเสมอไป ในทางตรงกันข้าม การลงทุนที่ขาดความรู้ ขาดความเข้าใจไม่มีการศึกษา

และวางแผนการลงทุนที่ดีพอ ก็อาจทำให้คุณเสียโอกาสในการลงทุน เผลอๆ อาจจะทำให้ขาดทุนเลยก็ได้

spacer.gif Inv_main_r16_c2.jpg spacer.gif spacer.gif Inv_main_r18_c2.jpg Inv_main_r18_c3.jpg Inv_main_r18_c5.jpg Inv_main_r18_c11.jpg spacer.gif Inv_main_r19_c2.jpg Inv_main_r19_c3.jpg Inv_main_r19_c10.jpg Inv_main_r19_c11.jpg spacer.gif spacer.gif

โดยปกติแล้ว คำว่า “การลงทุน” ในทางเศรษฐศาสตร์ คือ การที่เราใช้สอยทรัพยากรอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อทำให้เกิดสินค้าหรือบริการขึ้นใหม่ ซึ่งถือได้ว่าเป็น

การลงทุนที่แท้จริง (Real Investment) โดยต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการผลิตสินค้าหรือบริการว่า คุ้มกับต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการใช้สอยทรัพยากรนั้นๆ

หรือไม่

 

ในทางการเงิน มีผู้เชี่ยวชาญทางการเงินหลายๆ ท่านให้นิยามของคำว่า “การลงทุน” ไว้หลากหลาย แต่ขอสรุปสั้นๆ ให้เข้าใจง่ายๆ ว่า “การลงทุน” คือ

การชะลอการใช้เงินจำนวนหนึ่งในปัจจุบัน และนำไปซื้อสินทรัพย์หรือตราสารทางการเงิน โดยคาดหวังว่าในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคต เงินลงทุนจำนวนนี้จะงอกเงยขึ้น

และก่อให้เกิดผลตอบแทนส่วนเพิ่มที่สามารถชดเชยทั้งระยะเวลา อัตราเงินเฟ้อ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างคุ้มค่านั่นเอง

 

ท้ายนี้อยากฝากไว้ว่า... การจะลงทุนให้ประสบความสำเร็จนั้น เราไม่จำเป็นต้องร่ำเรียนหรือจบการศึกษาด้านการเงินการลงทุนโดยตรง ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้าน

เศรษฐศาสตร์ขั้นเทพ ไม่จำเป็นต้องเป็นอัจฉริยะด้านการคำนวณ หรือต้องมีพรสวรรค์ในด้านใดเป็นพิเศษ เพียงแค่รู้จัก “เปิดโอกาส” ให้ตัวเองที่จะเรียนรู้พื้นฐานการจัดการเงิน

ลงทุนและทำความเข้าใจธรรมชาติของการลงทุนให้ถ่องแท้ เพื่อปรับตัว ปรับใจ และจะได้ตั้งรับอย่างมั่นคง หากการลงทุนไม่เป็นไปอย่างที่เราต้องการ โดยผ่าน

“6 เรื่องควรรู้” ซึ่งว่าที่ผู้ลงทุนทั้งหลายต้องทำความเข้าใจก่อนจะเริ่มลงทุน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Inv_KnowYourself_meun2_03.jpgInv_KnowYourself_meun2_04.jpg

ก่อนการลงทุนในหลักทรัพย์หรือสินทรัพย์ใดๆ ผู้ลงทุนควรกำหนดวัตถุประสงค์ของการลงทุนให้ชัดเจนว่า

ลงทุนไปเพื่ออะไร และจะใช้ระยะเวลานานเท่าใด เพื่อที่จะได้วางแผนการลงทุนและเลือกสินทรัพย์หรือหลักทรัพย์ที่จะลงทุนได้อย่างเหมาะสม

Inv_KnowYourself_meun2_07.jpgInv_KnowYourself_meun2_08.jpg Inv_KnowYourself_meun2_09.jpg คือ ต้องการให้หลักทรัพย์

หรือสินทรัพย์ที่ตนลงทุนไว้

มีีมูลค่าเพิ่มพูนขึ้นตลอด

ช่วงเวลาที่ลงทุน โดยการ

เพิ่มค่านั้นจะมาจากกำไร

(Capital Gain) จากการ

ลงทุนเป็นสำคัญ คือ ต้องการได้รับรายได้

เป็นประจำจากการลงทุน

ในหลักทรัพย์หรือสินทรัพย์

ที่ตนลงทุนไว้ ส่วนใหญ่

ผู้เกษียณอายุมักมีจุดประสงค์

ในการลงทุนเพื่อวัตถุประสงค์นี้ คือ ต้องการให้เงินลงทุน

ของตนมีความมั่นคง และ

รักษามูลค่าของเงิน

หลังหักค่าเงินเฟ้อไว้

เพื่อคงอำนาจซื้อของคุณ

ให้เท่าเดิม คือ ต้องการให้ความเสี่ยง

และผลตอบแทนจากการ

ลงทุนมีความเหมาะสม

ไม่โน้มเอียงไปในเป้าหมาย

ใดเป้าหมายหนึ่งโดยเฉพาะ

แต่เป็นการผสมผสาน

ระหว่าง 3 เป้าหมาย

ข้างต้น Inv_KnowYourself_meun2_17.jpg Inv_KnowYourself_meun2_18.jpgInv_KnowYourself_meun2_19.jpgInv_KnowYourself_meun2_20.jpgInv_KnowYourself_meun2_21.jpg นอกเหนือจากการกำหนดวัตถุประสงค์ในการลงทุนแล้ว ผู้ลงทุนควรคำนึงถึง “เป้าหมายการลงทุน”

(Goal Achievement) ว่าต้องการจะนำผลตอบแทนจากเงินลงทุนไปใช้เมื่อใด และเพื่อการใดด้วย

เพื่อจะได้วางแผนการลงทุนให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายการลงทุนที่วางไว้ ซึ่งตัวอย่าง

ของการกำหนดเป้าหมายในการลงทุน มีดังนี้ Inv_KnowYourself_meun2_23.jpg Inv_KnowYourself_meun2_24.jpgInv_KnowYourself_meun2_25.jpgInv_KnowYourself_meun2_26.jpg

เป้าหมายการลงทุน

ตัวอย่างเป้าหมาย

 

สินทรัพย์ที่เหมาะสม

1. Near-Term High Priority Goal:

เป้าหมายระยะสั้นที่มีความสำคัญ

ต่อการดำรงชีวิตของคุณ

 

- เงินดาวน์บ้าน / รถยนต์

- เงินทุนเพื่อการศึกษา

- ค่ารักษาพยาบาล

ตราสารที่ใกล้เคียงเงินสด

เช่น ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล

ระยะสั้น ฯลฯ

2. Long-Term High Priority Goal:

เป้าหมายระยะยาว และมีความสำคัญ

ในอนาคต

 

- เงินสำหรับใช้จ่ายหลังเกษียณอายุ

- เงินจุนเจือพ่อแม่ยามชรา

ควรกระจายการลงทุนในสินทรัพย์

หลายๆ ประเภท เพื่อกระจายความเสี่ยง

โดยให้น้ำหนักการลงทุนในสินทรัพย์

ที่มีความเสี่ยงต่ำในสัดส่วนที่สูงกว่า สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง

 

3. Short-Term Low Priority Goal:

เป้าหมายระยะสั้นที่มีระดับความสำคัญ

น้อย

- เงินสำหรับพักผ่อนและท่องเที่ยว

- เงินบริจาค

สินทรัพย์เก็งกำไรทุกประเภท แต่ต้องมี

สภาพคล่องสูง เช่น หุ้นยอดนิยม หรือ

อสังหาริมทรัพย์ที่กำลังบูม ซื้อ-ขาย

คล่องมือ ฯลฯ

 

4. Money Making Goal:

เป้าหมายระยะสั้นเพื่อทำเงิน

เป็นกอบเป็นกำ หรือทำกำไรรวม

ในระยะสั้น

 

- ทุ่มเงินลงทุนเพื่อหวังรวยใน

ระยะสั้น

หุ้นของบริษัทที่กำลังเติบโต

มีโอกาสทางธุรกิจสดใสกว่าคู่แข่ง Inv_KnowYourself_meun2_35.jpgInv_KnowYourself_meun2_36.jpgInv_KnowYourself_meun2_37.jpg

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

xx.gif

แนวรับ แนวต้าน จุดซื้อ จุดขาย - เครื่องมือเชือดหมูของนักวิเคราะห์

« เมื่อ: 29/08/12 08:54:11 »

อย่าลืมว่านักวิเคราะห์หลักทรัพย์ ก็เป็นคน ซึ่งทำงานในองค์กร ซึ่งค้ากำไร

มีการบริหารเงินกองทุน หลายพัน หรือหลายหมื่นล้าน

การออกข่าว หรือบทวิเคราะห์ทางสื่อใดก็ตาม

เขาต้องนึกถึงกองทุนที่เขาบริหารก่อนที่จะนึกถึงผู้ฟังโดยทั่วไป

ข่าวที่กระทบด้านลบถึงหุ้นที่เขาถือนั้น เขาจะไม่บอก จนกว่าที่จะจัดการปัญหานั้นแล้ว

เช่น ขายออกหมดแล้ว

 

นักลงทุนรายย่อย ที่ เล่นตามข่าว มีแต่เสียเปรียบรายใหญ่แน่นอน

 

วันนี้ตันก๋ง จะพูดถึง ที่นักวิเคราะห์ ชอบออกมาบอกถึง แนวรับ แนวต้าน

โดยเฉพาะ หุ้นรายตัว ว่าเท่านั้น เท่านี้

ผมไม่ทราบว่า หลักการ จริงๆ มันคืออะไร หรือดูจากกราฟทางเทคนิค

เพราะแต่ละสำนัก ก็ให้ตัวเลขไม่ตรงกัน

 

แนวรับและ แนวต้านนั้น มันเป็นเส้นสมมติ ซึ่งดูจากการ balance ของ demand และ supply

จริงๆ แล้ว ไม่ควรจะบอกเป็นตัวเลข ว่า เท่านั้น เท่านี้

เพราะในสถานการณ์จริงในการเล่นหุ้น มันไม่ตรงเป๊ะๆ เท่านั้นหรอก มันจะมีการแกว่งตัว

แต่ควรบอก เป็นช่วงราคา(range) มากกว่า เช่นแนวต้าน ของหุ้นนี้ อยู่ในช่วง 9.10 - 9.40 บาทเป็นต้น

ซึ่งความถูกต้องของช่วงนี้ ควรจะมากกว่า 95% ตามหลักสถิติ

P-value ควรจะน้อยกว่า 0.05 คือ ผิดพลาดไม่ควรเกิน 5%

 

แต่ควาวนี้ เครื่องมือเชือดหมูยังไง

เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่า รายใหญ่เป็นผู้กำหนดราคา และเล่นตามแนวรับ แนวต้าน

รายใหญ่ จะไม่เทขาย ตรงแนวรับ แนวต้าน ที่บอก เป๊ะๆ หรอก

บางทีก็เทขายก่อน

บางทีก็ทำว่า ดันมันทะลุแนวต้านขึ้นไป ล่อแมงเม่า เพื่อ เทขาย

อันนี้ ต้องระวัง

อย่าไปเชื่อเรื่องแนวรับ แนวต้าน จากนักวิเคราะห์มากนัก แค่ดูเป็นเนวทางคร่าวๆได้

 

เป็นความเห็นส่วนตัว โปรดใช้วิจารณญาน

http://www.doohoon.com/smf/index.php?topic=69083.0

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณ ginger สุขสันต์ วันคริสมาต :gd

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

https://sites.google...-ru-laew-mab-xk

เรียนรู้....แล้วมาบอกต่อ จากอาจารย์ the_greenday

 

 

 

 

เริ่มจากภาษาที่ใช้เป็นทางการที่เรียกใน กราฟ อย่างเป็นทางการ

ตลาด (ควรเรียนรู้ธรรมชาติตลาด ตลาดมีนิสัย มีความรู้สึกและมีอารมณ์ เสมอๆ)

จำนวนการ ซื้อ-ขาย

จุดเข้าซื้อ (รอจังหวะและหาจุดเข้าที่ดีโอกาสกำไรสูง)

จุดยอมขาดทุน (ตัดขาดทุนให้เร็ว)

การขายทำกำไร (มองหาเป้าหมายและความน่าจะเป็นของเป้าหมาย)

กลยุทธ์ (วางแผนดี มีวิธีเล่นอย่างเป็นระบบที่แน่นอน)

หลักที่สำคัญที่สุด จุดตัดขาดทุนCut lossเมื่อรู้ว่าแนวโน้มวิ่งผิดทาง

Cut lossเมื่อไม่เป็นไปตามระบบที่เราวางแผน

หลักการมองกราฟทางเทคนิคมองแบบ มีขึ้นและก็มีลง ขึ้นแล้วลง ลงแล้วก็ขึ้น

คิดและวางแผนก่อนเริ่มการ ซื้อ-ขาย

ซื้ออะไร ซื้อเท่าไหร่ ขายเท่าไหร่ ซื้อตอนไหน

จุดหนี อยู่ตรงไหน(ยอมตัดขาดทุน)

และจะขายทำกำไรเมื่อไหร่

ข้อคิดเตือนใจนักลงทุน

"ความผิดพลาดส่วนใหญ่เกิดจาก อารมณ์ ของเราทั้งนั่น"

"เมื่อมองตลาดยังไม่ชัดเจน ก็ควรลดน้ำหนักการลงทุนลง"[/color]

 

image001.png

 

 

image003.png

 

มารู้หลักของการเรียก peak Trough ในกราฟ

เรียนรู้ การขึ้น ลง เหมือนการขึ้นบันได ลงบันได

เข้าใจการขึ้น เมื่อขึ้นแล้วเรียกว่า HH = Higher High ย่อตัวลงมาเรียกว่า HL = Higher Low

เข้าใจการลง เมื่อลงแล้วเรียกว่า LL = Lower Low ย่อตัวขึ้นไปเรียกว่า LH = Lower High

การมองกราฟ เกิดภาพลวงตาได้เสมอๆอยู่ที่การฝึกฝนจนชำนาญแล้วจะไม่โดนกราฟหลอก

ตัวอย่างภาพ ลวงตา มองเห็นอะไร เป็นยังไง เช่น ในกราฟก็มักจะมีอะไรที่เป็นกลไลหลายๆชั้นเช่นกัน

ตัวอย่างภาพ ลวงตา 1 ภาพนิ่งแต่ขยับได้ เช่น มองกราฟช่วง sideway แล้วคิดว่ากำลังขึ้น คิดว่ากำลังลง

ตัวอย่างภาพ ลวงตา 2 ภาพหลายมุมมอง เช่น มุมมองในการมองกราฟ หาจังหวะ หาเป้าหมาย หาจุดตัดขาดทุนในตลาดก็แตกต่างเช่นกัน

"เตรียมพร้อม วางแผนให้ดี รอบคอบ ระมัดะวัง อย่าคาดหวังมากเกินไป จนเกิดความเสี่ยง''

 

 

image005.png

 

 

[/color]

 

 

image008.jpg

 

 

 

 

 

 

 

image009.png

 

 

image011.png

 

 

image013.png

 

แนวรับ(Support) แนวต้าน (Resistance) บอกนัยสำคัญต่างๆมากมาย หาได้ทั้งเป้าหมายและจุดตัดขาดทุน

 

แนวรับลงมารับแล้วดีดตัวขึ้นต่อ ลงมารับแล้วย่อตัวขึ้นไปปรับฐาน ลงมารับแล้วปรับฐานจนสามารถทะลุลงต่อไปได้

แนวต้านขึ้นมาต้านแล้วดีดตัวลงต่อ ขึ้นมาต้านแล้วย่อตัวลงไปปรับฐาน ขึ้นมาต้านแล้วปรับฐานจนสามารถทะลุขึ้นต่อไปได้

 

แนว รับ แนวต้านที่ดีนั่น ดูได้จากการเคลื่อนไหวของราคาในอดีต บริเวณไหนหนาแน่นบอกได้ถึงความแข็งแกร่งของระดับ แนวรับ แนวต้าน ตรงบริเวณที่ระดับราคานั่นๆ

 

รูป 1,2,3,4 บอกถึงแนวรับ ลงมารับ รับแล้วปรับตัว ลงมารับแล้วย่อขึ้นเพื่อปรับตัว ลงมารับแล้วลงต่อ

รูป r1,r2,r3,r4 บอกถึงแนวต้าน ขึ้นมาต้าน ต้านแล้วปรับตัว ขึ้นมาต้านแล้วย่อลงเพื่อปรับตัว ขึ้นมาต้านแล้วขึ้นต่อ

รูป rs1,rs2 บอกถึงแนวรับ แนวต้านที่ดี และแนวรับ แนวต้านที่ทะลุได้ง่าย

image015.png

 

 

image017.png

 

 

image019.png

 

 

image021.png

 

 

image023.png

 

 

image025.png

 

 

image027.png

 

 

image029.png

 

 

image032.jpg

 

 

 

 

 

image033.png

 

หลังจากที่รู้จักการทำ HH = Higher High , HL = Higher Low ของแนวโน้มขาขึ้น

LL = Lower Low , LH = Lower High ของแนวโน้มขาลง

และรู้จัก แนวรับ,แนวต้าน รู้จักการทะลุไปต่อ รู้จักการย่อตัวของแนวโน้มนั่นๆ เมื่อเริ่มเข้าใจก็จะเริ่มหาจังหวะเพื่อเข้าเทรดได้

จังหวะ ที่เข้าที่ดีและปลอดภัย จังหวะยอมตัดขาดทุนที่ดีและขาดทุนน้อย สองอย่างนี้สำคัญเป็นอันดับต้นๆของนักลงทุนที่ควรนำไปพิจารณาให้รอบครอบ เสมอๆ

image035.png

 

 

image037.png

 

 

image039.png

 

 

 

image042.jpg

image044.jpg

image046.jpg หลักการหาเป้าหมาย

ทฤษฎี 2 เท่า

 

เริ่มจังหวะเข้าเมื่อ ย่อ ของการทำ HL ในแนวโน้มขาขึ้น

เริ่มหาจังหวะเข้าเมื่อ ย่อ ของการขึ้นไปทำ LH ในแนวโน้มขาลง

 

วิ ธีัการขาขึ้นต้องหาจุดต่ำสุดให้เจอก่อนและวิ่งขึ้นไปแล้วย่อลงมาทำ HL ในแนวโน้มขาขึ้นถึงจะเริ่มลากระยะความยาวของการย่อตัวลงมาเพื่อไปเทียบหา เป้าหมายด้วยความยาว 2 เท่า

วิธีการขาลงต้องหาจุดสูงสุดให้เจอก่อนและ วิ่งลงไปแล้วย่อขึ้นมาทำ LH ในแนวโน้มขาลงถึงจะเริ่มลากระยะความยาวของการย่อตัวขึ้นมาเพื่อไปเทียบหา เป้าหมายด้วยความยาว 2เท่า

image048.jpg

image049.png

 

 

image052.jpg

image054.jpg

image055.png

 

หลักการนำ Fibonacci เข้ามาช่วยหาการ ย่อตัวของแนวโน้มนั่นๆ

ตัวเลขที่มีนัยสำคัญของการย่อ 23.6 38.2 50.0 or 61.8 มักจะอยู่ในช่วงการย่อเสมอๆ

เมื่อย่อมาตามระดับตัวเลข 23.6 38.2 50.0 or 61.8 แล้วมักจะไปต่อตามแนวโน้มนั่นเสมอๆ

แต่ถ้าระดับ 23.6 38.2 50.0 or 61.8 ย่อแล้วไม่ดีดกลับแสดงว่ามีโอกาสผิดทางได้เช่นกัน

 

เมื่อรู้การย่อแล้วก็สามารถนำมาควบรวมเพื่อหาระดับเป้าหมายหลักการ 2 เท่าได้

รูปตัวอย่างที่ 2 เมื่อหาตัวเลขระดับการย่อได้แล้ว

รูปตัวอย่างที่ 2.1 เป็นรูปเดียวกันก็สามารถนำเอาหลักการหาเป้าหมาย 2 เท่ามาใช้รวมกัน

image058.png

 

 

image060.png

 

 

image063.jpg

 

 

image065.jpg ขอขอบพระคุณ อาจารย์ the_greenday

 

[/color]

ที่มา http://thailandinves...hp?topic=8077.0

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

asrot.jpg

 

***เพราะแสวงหา มิใช่เพราะรอคอย เพราะเชี่ยวชาญ มิใช่เพราะโอกาส เพราะสามารถ มิใช่เพราะโชคช่วย ดังนี้แล้ว***

 

" ลิขิตฟ้า หรือ จะสู้มานะตน "

 

 

โชคดี มีความสุข มีกำไร

 

 

 

สอนมือใหม่ตีแนวรับ-แนวต้าน

 

tpipl.jpg

 

 

TPIPL: Pattern กราฟลงลึกแล้วสร้างยอดแหลมตรงก้นกะทะ(ลูกศรเหลือง)เมื่อไหร่ ถ้าผ่านไปได้ราคามักไปไกล โดยกรณีนี้เราจะเล่นภาพใหญ่ จริงๆแล้วสามารถซื้อตามได้ตั้งแต่มันผ่านแนวต้านสูงสุดของก้นกะทะ (บริเวณลูกศรน้ำเงิน) ซึ่งตอนนี้ขึ้นทดสอบแนวต้านกรอบ downtrend ภาพใหญ่......ถ้า Break Trendline ขาลง(เส้นดำ) ขึ้นไปได้รับรองสวยยย แต่ถ้าไม่ผ่านก็ต้องมีย่อลงมาโดยอาจวางแนวรับไว้ที่จุดต่ำสุดก่อนถึงแนวรับเส้นปะสีขาว

cpf.jpg

 

CPF: หุ้นตัวนี้เล่นสบายใจตรงที่ภาพใหญ่เป็น Uptrend ...จะสังเกตเห็นว่าราคาตอนนี้ไม่ได้สูงกว่าแนวรับ(เส้นดำล่าง) เท่าไหร่นัก.....จากการมองจังหวะเข้าซื้อจะเห็นว่าก่อนหน้านี้มีจุดที่ต้องรออยู่ 2 อย่าง คือ

1. ต้อง Break Trendline ขาลง (เส้นดำ) ให้ได้ซะก่อน

2. ต้องผ่านแนวต้านที่จุดสูงสุดของก้นกะทะให้ได้เสียก่อน (บริเวณลูกศรแดงชี้)

 

ซึ่งตอนนี้สามารถผ่านทั้ง 2 เงื่อนไขเรียบร้อยแล้ว จึงแนะนำให้เข้าซื้อได้ อาจจะมีการขึ้นและย่อแรงบ้าง(บางคนเขาเรียกเขย่าเม่าออก555) ในกรณีที่เข้าซื้อต้องวางแนวรับไว้ที่ แนวต้านเส้นปะแดงที่เพิ่งผ่านขึ้นมาสำเร็จ ....แต่ถ้าใครรับความเสี่ยงได้มากหน่อยก็วางแนวรับไว้ที่ "แนวรับภาพใหญ่"(เส้นดำล่าง)ได้เลย......แต่ท้ายสุดถ้าหลุดแนวรับใหญ่เมื่อไหร่ ขายก่อนเถอะครับขอร้อง ei ei

intuch.jpg

 

INTUCH: หุ้นจะดีแค่ไหน ในเมื่อมันตกก็ต้องตก....เพราะสัญญาณเกิดจากราคาจริงๆของหุ้น การตัดสินใจโดยกราฟจะมีความแม่นยำกว่าการตัดสินใจโดยอาศัยความรู้สึก

 

Caseตัวอย่างนี้เมื่อกราฟหลุดจากแนวรับก็ต้องยอมรับความจริงว่ามันหลุด uptrend แล้ว แต่ถ้าใครยังไม่ขายก็ควรต้องมีจุด Stoploss ไว้บ้าง วิธีการหาแนวรับแบบเส้นแนวนอน (horizontal line) ก็ใช้ได้อยู่ โดยให้มองหาจุดที่ต่ำกว่าราคา ณ ปัจจุบันแต่มีนัยยะ เช่น ยอด high เดิม (ลูกศรดำ) หรือระดับราคาที่มีการปิดซ้ำๆกันหลายครั้ง ซึ่งส่วนใหญ่พวกตามยอดแหลมเล็กต่างๆอาจทำราคาเด้งขึ้นได้บ้างเล็กน้อย แต่จุดที่มีนัยยะจริงๆนั้น อาจสามารถทำให้เกิดสัญญาณการกลับตัวได้เลยทีเดียว

sgp.jpg

 

 

SGP: กราฟวิ่งแบบ Sideway....กราฟ trend นี้จะตีกรอบแนวรับแนวต้านได้ง่ายสุด "แนวต้าน" คือ จุดสูงสุด(ลูกศรขาวบน)....."แนวรับ" คือ จุดต่ำสุด(ลูกศรขาวล่าง) โดยในบางครั้งเราอาจหาระดับราคาที่มีการลงมาปิดบ่อยๆเป็นแนวรับรองก็ได้ เช่น แนวรับสีเหลืองจะเห็นว่าราคาลงมาแล้วเด้งบ่อย

 

หุ้น Sideway จะไม่ค่อยเป็นที่ชื่นชอบนักไม่เหมาะกับคนเล่นเร็วหรือใจร้อน แต่จะว่าไปมันก็เป็น Pattern กราฟที่อ่านจุดซื้อเพิ่ม(เมื่อผ่านแนวต้าน) และจุดขาย (เมื่อหลุดแนวรับ) ได้ง่ายสุด

 

 

 

"กราฟที่ยกตัวอย่างนี้เป็นการตี ณ เวลาปัจจุบัน (12ต.ค.55) จึงได้แต่รอเวลาเพื่อทดสอบว่าแนวรับแนวต้านที่ตีนี้ใช้ได้จริงหรือไม่"

 

เขียนโดย Manday ที่ 21:51

http://www.stockmanday.com/2012/10/blog-post_12.html

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

webblog_1_nivate.gif

 

 

Monday, 3 December 2012

 

งานเลี้ยงที่กำลังร้อนแรง

« VI Gen-X | Main | จิตสำนึกกับการลงทุน »

 

เวลาที่ไปงานเลี้ยงหรือปาร์ตี้เพื่อความบันเทิงนั้น ช่วงหัวค่ำที่คนเริ่มทยอยมาบรรยากาศก็มักจะยังไม่รื่นเริงนัก ดนตรีก็มักจะเล่นเพลงเบา ๆ สบาย ๆ เมื่อคนเริ่มมากขึ้น บรรยากาศก็จะคึกคักขึ้น คนเริ่มจิบเหล้าเบียร์และคุยกันสนุกสนาน ดนตรีเริ่มดังขึ้น เพลงเริ่มเร็วขึ้น หลายคนเริ่ม “เปิดฟลอร์” ออกไปเต้นรำ ซักระยะหนึ่งแอลกอฮอก็เริ่มออกฤทธิ์ คนออกไป “ดิ้น” กันเต็มพื้นที่ ดนตรีเล่นเพลงที่เร้าใจและดังจนคุยกันไม่รู้เรื่อง งานเลี้ยงกำลังเข้าสู่ช่วงเวลาที่ “สนุกและร้อนแรงที่สุด” มันอาจจะเป็นเวลา สี่ทุ่มครึ่ง ห้าทุ่ม หรืออาจจะใกล้เที่ยงคืนที่เป็นกำหนดเวลา “งานเลิก” ไม่มีใครรู้หรือสนใจที่จะรู้เพราะในเวลาที่ทุกคนกำลังสนุกสนานนั้น พวกเขามักจะ “ลืมดูเวลา” ไม่มีใครอยากจะออกจากงานก่อนที่มันจะเลิก—แม้จะมีกฎว่า คนที่ออกหลังสุดต้อง “จ่ายสตางค์”

นั่นเป็นคำบรรยายแบบเปรียบเปรยกับบรรยากาศของตลาดหุ้นในขณะนี้ที่ดัชนีตลาดหุ้นปรับพุ่งขึ้นเรื่อย ๆ นับจากต้นปีที่ 1025 จุดเป็น 1324 จุดในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2555 หรือเป็นการเพิ่มขึ้นถึง 29% ไม่นับรวมปันผลอีก 3-4% ซึ่งทำให้นักลงทุนที่มีหุ้นในตลาดมีกำไรเป็นกอบเป็นกำ จริงอยู่ การที่หุ้นปรับขึ้นมามาก ๆ ในเวลาอันรวดเร็วนั้น ไม่ใช่เรื่องที่ผิดปกติ หลายปีที่ผ่านมาหุ้นก็ปรับตัวสูงแบบนี้มาหลายครั้ง แต่การปรับตัวในรอบก่อน ๆ นั้นก็มักจะเป็นการปรับตัวขึ้นหลังจากที่ตลาดหุ้นตกลงมาอย่างหนัก ดังนั้น คนที่ถือหุ้นอยู่ตลอดเวลาก็อาจจะไม่ได้กำไรนัก อาจจะเพียงแต่ได้ทุนคืนมา แต่การปรับขึ้นของหุ้นในรอบนี้เป็นการขึ้นหลังจากที่หุ้นได้ขึ้นมาสูงแล้ว ดัชนีที่ 1324 นี้ถือเป็นดัชนีที่สูงที่สุดในรอบ 16 ปี ดังนั้น สำหรับนักลงทุนส่วนใหญ่ในตลาดหุ้นที่เข้ามาลงทุนในตลาดเพียงไม่กี่ปีหรือไม่เกิน 10 ปี นี่คือเวลาแห่งความ “รื่นเริง” อย่างแน่นอน ประเด็นก็คือ ความ “สนุกสนาน” จากการลงทุนในช่วงนี้กำลังใกล้จบหรือไม่ ดัชนีหุ้นในขณะนี้สูงเกินไปหรือไม่ และโอกาสที่หุ้นจะปรับตัวลงแรงและทำให้คนที่เข้ามาซื้อหุ้นในช่วงนี้ขาดทุนหรือไม่ มาลองคุยกัน

เริ่มจากการดูว่าหุ้นในขณะนี้ร้อนแรงเกินไปหรือไม่ในทาง “จิตวิทยา” หรือการดูบรรยากาศและความรู้สึกของผู้คนที่อยู่ในตลาด คำตอบของผมก็คือ ค่อนข้างร้อนแรงหรืออาจจะพูดว่าร้อนแรงมากก็ได้ เพียงแต่ “คนทั่วไป” เช่น ช่างตัดผมหรือแท็กซี่ยังไม่ได้พูดถึงตลาดหุ้น แต่นี่ก็อาจจะไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นว่าจะต้องเกิด เนื่องจากประเทศไทยนั้นยังไม่รวยพอที่คนทั่วไปจะสนใจตลาดหุ้นในทุกสถานการณ์ การที่ผมพูดว่าตลาดหุ้นร้อนแรงมากนั้น ผมสังเกตจากจำนวนคนที่เข้าฟังการสัมมนาการลงทุนที่จัดกันอย่างแพร่หลายนั้น ในช่วงหลัง ๆ นี้มีจำนวนเพิ่มขึ้นมากจนเก้าอี้มักจะไม่พอและคนยินดีที่จะยืนฟังกันเป็นชั่วโมง ๆ ที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งก็คือ เราสามารถจัด “ทอล์คโชว์” เกี่ยวกับการลงทุนที่เก็บเงินคนเข้าฟังได้แล้วจากที่ต้องหาคนฟังแม้จะไม่ต้องเสียเงินอย่างในช่วงหุ้นซบเซาสมัยก่อน

ประเด็นที่น่าสนใจอีกเรื่องหนึ่งก็คือ ในช่วงหลังนี้มีนักลงทุนที่ยังมีอายุน้อย อายุตั้งแต่ 20 ถึง 30 ปีต้น ๆ ที่เป็นคน Gen Y หรือเป็นคนรุ่นใหม่เข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน คนกลุ่มนี้สนใจลงทุนในตลาดหุ้นเพราะเห็นว่าเป็นวิธีที่จะ “รวยเร็ว” โดยไม่ต้องทำงานหนักซึ่งก็เป็น “เทรนด์” ของคนในรุ่นใหม่นี้ที่เกิดมาพร้อมกับเทคโนโลยีไอทีที่พัฒนาแล้วและความมั่งคั่งที่เพิ่มขึ้นมากของพ่อแม่ พวกเขาเห็นว่าตลาดหุ้นเป็นทางเลือกที่ดีที่เขาจะบรรลุความฝันนั้นได้ ว่าที่จริง หลายคนที่พ่อแม่มีฐานะดีนั้น ได้เลือกเส้นทางที่ไม่ทำงานประจำที่ได้เงินเดือนน้อยและไม่น่าสนใจเลย แต่ลงทุนในตลาดหุ้นเป็นอาชีพ ผมเองก็ไม่รู้ว่าพวกเขากำลังเดินตามรอย “วอเร็น บัฟเฟตต์” หรือเปล่าที่ไม่ทำงานประจำตั้งแต่เรียนจบ อย่างไรก็ตาม การที่ไม่ทำงานหรือออกจากงานมาลงทุนอย่างเดียวนั้น ก็เป็นสัญญาณอย่างหนึ่งว่าตลาดหุ้นนั้นร้อนแรงมาก เพราะพวกเขาเชื่อว่าผลตอบแทนการลงทุนในตลาดนั้นสูงมากจนทำให้รายได้จากการทำงานกินเงินเดือนไม่มีความหมาย

นอกจากนักลงทุน Gen Y แล้ว ผมพบว่ายังมี “คนมีเงิน” โดยเฉพาะที่เป็นนักธุรกิจต่างก็สนใจที่จะเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นมากขึ้น บางทีพวกเขาอาจจะเห็นว่าการเล่นหุ้นนั้น ทำเงินได้เร็วกว่าการทำธุรกิจเอง แต่ที่น่าจะเป็นมากกว่าก็คือ การลงทุนในหุ้นนั้น น่าจะได้ผลตอบแทนดีกว่าการฝากเงินที่ได้ดอกเบี้ยต่ำมากของพวกเขา

สิ่งที่ “ยืนยัน” ว่าตลาดหุ้นในขณะนี้น่าจะร้อนแรงเกินไปอย่างหนึ่งก็คือ หุ้น IPO หรือหุ้นที่เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เป็นครั้งแรก ที่มีราคา “ร้อนแรง” เกือบทุกตัว บางตัวเข้ามาซื้อขายวันแรกก็ปรับขึ้นไปแล้วกว่าร้อยเปอร์เซ็นต์จากราคาจองซึ่งเป็นราคาที่ที่ปรึกษาการเงินมองดูว่าเหมาะสมกับพื้นฐาน การที่มีหุ้นใหม่เข้าตลาดมากและราคาหุ้นปรับตัวแรงในวันซื้อขายวันแรกเป็น “สัญญาณ” ที่พิสูจน์มาแล้วทุกยุคทุกสมัยและในทุกตลาดว่าตลาดหุ้นนั้น กำลัง “ร้อนแรง” และหลายครั้งหลังจากนั้น “ฟองสบู่” ก็แตก ในตลาดหุ้นไทยเองผมก็ยังจำได้ถึงช่วงเวลาที่ “ใบจอง” หุ้นเข้าใหม่บางตัวนั้นมีค่ายิ่งกว่าราคาหุ้นที่จอง นั่นคือในช่วงที่หุ้นไทยเป็นฟองสบู่ในราวปี 2535-36 ที่ดัชนีหุ้นไทยสูงขึ้นไปถึงพันเจ็ดร้อยกว่าจุด

สุดท้ายก็คือเรื่องราวดี ๆ เกี่ยวกับประเทศไทยที่คนมองว่ากำลัง “ฟื้น” จากภาวะ “ป่วยไข้” จากเหตุการณ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะทางการเมืองและน้ำท่วมใหญ่ที่กระทบอย่างรุนแรงต่อการบริหารประเทศและการดำเนินธุรกิจต่าง ๆ ในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา ในทางตรงกันข้าม ประเทศใหญ่ ๆ ในโลกต่างก็ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจที่ทำให้บริษัทจดทะเบียนมีผลประกอบการที่แย่ลงหรือไม่โต ดังนั้น ประเทศในแถบเอเซียโดยเฉพาะประเทศไทยจึงเป็นเสมือน“โอเอซิส” ที่ยังน่าจะทำกำไรได้อยู่

ทั้งหมดนั้นทำให้ราคาหุ้นวิ่งขึ้นไปสูงกว่าปกติและทำให้หุ้นมีราคาไม่ถูกเลย คือ PEประมาณ 15 เท่าจากสถิติระยะยาวของไทยที่ประมาณ 10 เท่าเศษ ๆ และหุ้นไทยในขณะนี้น่าจะแพงกว่าหุ้นในหลาย ๆ ประเทศ รวมถึงจีนที่เศรษฐกิจยังเติบโตในอัตราเกือบ 2 เท่าของไทย ว่าที่จริง หุ้นเด่น ๆ ของไทยนั้นมีค่า PE สูงกว่าหุ้น “ระดับโลก” ที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันแล้ว และนี่ก็ทำให้ผมเองเกิดความกังวลอยู่เหมือนกันว่าหุ้นไทยเวลานี้แพงเกินไปหรือเปล่า? คำตอบของผมก็คือ มันแพง แต่ก็ยังไม่ถึงกับรับไม่ได้ แต่ถ้าถามว่า หุ้นในเวลานี้ยังเป็น Value หรือเปล่า? คำตอบของผมก็คือ Value นั้นน่าจะหมดไปแล้ว โดยเฉพาะสำหรับValue Investor ที่เป็นชาวต่างชาติที่สามารถลงทุนในประเทศอื่นเช่นจีนได้อย่างสะดวก สำหรับผมเองซึ่งไม่ใคร่มีทางเลือกมากนักนั้น ถึงผมจะดูว่า Value นั้น “หายหมด” แล้ว แต่ผมก็ยังไม่อยากออกจากตลาด ผมคิดว่าความจำเป็นที่จะต้องออกจากตลาดในเวลานี้ยังไม่มาก ที่เหนือกว่านั้นก็คือ ผมคิดว่าความเสี่ยงที่หุ้นจะปรับตัวลงแรงยังไม่สูง ในขณะเดียวกัน โอกาสที่หุ้นจะปรับตัวขึ้นไปอีกมากก็ยังมีอยู่ ไม่ใช่เพราะว่าหุ้นถูก แต่เป็นเพราะว่าความสนใจลงทุนในหุ้นไทยโดยคนไทยเองและอาจจะต่างชาติบางกลุ่มก็อาจจะยังสูงอยู่ ดังนั้น หุ้นต่อจากนี้ไปอีกระยะหนึ่งอาจจะยังวิ่งขึ้นไปสูงลิ่วได้ เหมือนกับงานเลี้ยงที่เข้าสู่ชั่วโมงสุดท้ายที่จะ “สนุกและมันที่สุด” และถ้ามันเป็นอย่างนั้น ผมก็คงเตรียมตัว “กลับบ้าน” ก่อนที่งานจะเลิก นั่นคือ ถอนตัวจากตลาดหุ้นก่อนที่มันจะปรับตัวลงแรง เนื่องจากราคามันสูงเกินพื้นฐาน

Posted by nivate at 10:41 AM in โลกในมุมมองของ Value Investor

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

webblog_1_nivate.gif

 

Monday, 24 December 2012

 

หุ้นตัวเรา

 

« ความเข้มแข็งของประเทศ | Main

 

หุ้นกับคนนั้นมีอะไรต่าง ๆ เหมือนกันอยู่มาก ว่าที่จริงบริษัทก็คือองค์กรที่ประกอบไปด้วยคนหลาย ๆ คนมารวมกันเพื่อทำธุรกิจ บริษัทเล็กอาจก็อาจจะมีคนไม่กี่คน บริษัทที่เล็กที่สุดก็อาจจะมีคนเพียงคนเดียว และดังนั้น คนคนหนึ่งก็อาจจะเหมือนกับบริษัทที่เล็กที่สุดที่สามารถ “ดำเนินธุรกิจ” และมีรายได้ เช่นเดียวกับที่ต้องมีค่าใช้จ่าย บริษัทที่มีรายได้มากกว่าค่าใช้จ่ายก็คือบริษัทที่มีกำไรซึ่งในที่สุดก็จะจ่ายเป็นปันผลที่เป็นเงินสดให้กับเจ้าของหรือผู้ถือหุ้น คนที่มีรายได้มากกว่าค่าใช้จ่ายที่ “จำเป็น” ในชีวิตประจำวันก็จะมีเงินเหลือซึ่งก็อาจจะถือว่าเป็น“กำไร” ที่ในที่สุดเจ้าตัวก็สามารถเอาไปใช้จ่ายอย่างอื่นได้เป็นเหมือนกับ “ปันผล” ให้กับตัวเอง ดังนั้นบริษัทหรือคนก็เหมือนกันตรงที่ต่างก็สามารถสร้างเงินสดให้กับเจ้าของได้เรื่อย ๆ

บริษัทหรือหุ้นที่มีกำไรและจ่ายปันผลได้สม่ำเสมอต่อเนื่องยาวนานและเพิ่มหรือโตขึ้นเรื่อย ๆ นั้น ถือว่าเป็นหุ้นที่ดีและเติบโตและจะมีคุณค่ามาก เราสามารถคำนวณหามูลค่าที่แท้จริงของมันได้ เช่น ถ้ากำไรปีละ 1 บาทต่อหุ้น เราอาจจะบอกว่ามันควรมีค่าหุ้นละ 25 บาท หรือเรียกว่ามีค่า PE เท่ากับ 25 เท่า ดังนั้น ถ้าคน ๆ หนึ่งมีรายได้หลังหักค่ากินอยู่และค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการดำรงชีวิตแล้วเขามีเงินเหลือปีละหนึ่งแสนบาท เราก็อาจจะตีว่าคน ๆ นี้มีมูลค่าคิดเป็นเงิน 2.5 ล้านบาท ถ้าเราให้ค่า PE เขาเท่ากับ 25 เท่าเช่นเดียวกัน แต่มูลค่านี้ไม่สามารถซื้อขายได้เนื่องจากเราเลิกทาสมานานแล้ว คนไม่สามารถซื้อขายได้ ดังนั้น คนที่เป็นเจ้าของคน ๆ นี้ก็คือตัวเขาเองและไม่สามารถเอาไปขายให้ใครได้

ความจริงที่ว่าตัวเราเองก็เหมือนกับทรัพย์สินอย่างหนึ่งที่สร้างรายได้ได้ และที่จริงสามารถคำนวณได้ว่ามีค่าเท่าไรนั้น ทำให้ผมคิดว่าการวางแผนทางการเงินที่นักวิชาการหรือนักวางแผนทางการเงินกำหนดกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ต้องมีการปรับเปลี่ยนให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น เหตุผลก็เพราะว่าเราทุกคนจะมี “หุ้น”อีกตัวหนึ่งที่ติดอยู่กับตัวเราเสมอและเราไม่สามารถขายมันได้ หุ้นตัวนี้อาจจะมีค่ามากเมื่อเทียบกับหุ้นตัวอื่นหรือทรัพย์สินอย่างอื่น มันอาจจะมีค่าคิดเป็นเม็ดเงินหรือความมั่งคั่งมากมหาศาล หรือมันก็อาจจะมีค่าไม่มากนักเมื่อเทียบกับหุ้นตัวอื่นเราก็อาจจะไม่รู้ เพราะเราอาจจะไม่เคยคิดถึงมันเลย บางทีเราอาจจะไม่เคยตระหนักว่ามันมีอยู่ หรือแม้แต่ว่าเรารู้แล้วว่าเรามี “หุ้นตัวเรา” อยู่เนื่องจากเราอ่านบทความนี้ แต่มันก็เป็นหุ้นที่ไม่มีราคาซื้อขาย ดังนั้น สิ่งที่เราต้องทำก็คือ ลองคิดว่ามูลค่า “หุ้นตัวเรา” นั้นเท่ากับเท่าไร แล้วเราจะทำอะไรกับมัน นอกจากนั้นแล้ว เราจะ “จัดพอร์ต” หุ้นตัวอื่นหรือทรัพย์สินอื่นอย่างไร?

ก่อนที่จะพูดถึงการจัดพอร์ตหรือการลงทุนในหุ้นตัวอื่นนั้น ผมอยากจะพูดถึง “หุ้นตัวเรา” เสียก่อน หุ้นตัวเรานั้นก็มีลักษณะหรือพฤติกรรมคล้าย ๆ หุ้นทั่วไปในแง่ที่ว่ามันอาจจะสามารถจัดกลุ่มตามคุณลักษณะของการทำรายได้หรือกำไรออกเป็น 6 กลุ่มแบบปีเตอร์ลินช์ คือ คนบางคนอาจจะมีรายได้ค่อนข้างสม่ำเสมอแต่ก็เพิ่มขึ้นช้า ๆ เช่น พนักงานกินเงินเดือนที่ไม่ได้มีอะไรโดดเด่น พวกเขาอยู่ที่เดิมมานานและไม่อยากจะ “เสี่ยง” คิดหรือทำอะไรใหม่ ๆ แบบนี้เรียกว่าเป็น “หุ้นโตช้า” คนกลุ่มที่สองคือกลุ่มคนอายุยังน้อยที่มีความรู้และความสามารถสูง ทำงานขยันขันแข็ง และกำลังก้าวหน้าในงานที่ทำอย่างรวดเร็ว และในที่สุดก็มักจะกลายเป็นผู้บริหารหรือผู้เชี่ยวชาญที่จะทำเงินหรือมีเงินเดือนสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ แบบนี้เรียกว่า “หุ้นเติบโต” คนกลุ่มที่สามคือคนที่อาจจะก้าวหน้าไปถึงจุดสูงสุดในชีวิต “ลูกจ้าง” ของเขาแล้ว พวกเขาเป็นที่ยอมรับของนายจ้าง มีเงินเดือนที่ดี มีความมั่นคงในหน้าที่การงานสูง แต่การที่จะก้าวหน้ามากขึ้นอย่างรวดเร็วก็เป็นไปไม่ได้แล้ว แบบนี้เรียกว่า “หุ้นแข็งแกร่ง” คนกลุ่มที่ทำงานอิสระ เช่น อาจจะเป็นดารานักแสดง นักเขียน ขายประกัน เป็นฟรีแล้นซ์ หรือเป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง เหล่านี้ มักจะมีรายได้ไม่แน่นอน ขึ้น ๆ ลง ๆ แบบนี้อาจจะเรียกว่าเป็น“หุ้นวัฏจักร” คนบางคนอาจจะอยู่ในช่วงที่กำลัง “ตกต่ำ” อาจจะเนื่องจากป่วยไข้ ความนิยมตก มีปัญหาที่ทำให้รายได้หดหายไป แต่กำลังจะฟื้นตัวและกลับมามีรายได้ใหม่ แบบนี้เรียกว่า “หุ้นฟื้นตัว” สุดท้ายก็คือ คนที่มีทรัพย์สินมากแต่ยังไม่ได้ใช้หรือยังใช้ไม่ได้ เช่น พ่อแม่มีทรัพย์สมบัติมาก แบบนี้อาจจะเรียกว่า “หุ้นมีทรัพย์สินมาก” และทั้งหมดนี้ก็คือ การวิเคราะห์ว่า “หุ้นตัวเรา” นั้นเป็นหุ้นแบบไหน

เนื่องจากว่าเราเป็นเจ้าของและผู้บริหาร “หุ้นตัวเรา” เอง ดังนั้น เราสามารถที่จะจัดการ “กิจการ” ให้เป็นไปตามที่เราต้องการได้ในระดับหนึ่ง ดังนั้น เราสามารถ เพิ่มคุณค่าหรือมูลค่าให้กับหุ้นตัวเรา ว่าที่จริง ในหลาย ๆ กรณี อาจจะเป็นเรื่องที่ดีกว่าที่เราจะให้เวลาหรือใช้เวลาในการ “ปรับปรุง” หุ้นตัวเรา แทนที่จะใช้เวลาไปหาหุ้นตัวอื่นที่เราคิดว่ามีคุณค่ามาก การทำให้หุ้นตัวเรามี “ความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น” นั้น ผมคิดว่าจะเป็นการสร้างValue ที่สูงกว่าการใช้เวลาในการเลือกหุ้นตัวอื่น ๆ โดยเฉพาะในช่วงที่เรายังมีอายุน้อย เพราะนั่นจะทำให้รายได้ในอนาคตของหุ้นตัวเราสูงขึ้นมาก

สุดท้ายมาถึงเรื่องการจัดพอร์ตที่เราจะต้องคำนึงถึง “หุ้นตัวเรา” อยู่เสมอ ถ้ามองในแง่นี้แล้วเราก็จะพบว่า คนเราทุกคนนั้น ไม่มีใครที่ “ไม่มีเงินเลย” หรือพูดให้ถูกต้องขึ้นก็คือ ไม่มีทรัพย์สมบัติเลย เพราะความเป็นจริงก็คือ เรามีหุ้นหนึ่งตัวอยู่ในพอร์ตแล้ว มันคือ “หุ้นตัวเรา” ซึ่งสำหรับหลาย ๆ คนแล้ว มันมีค่ามากทีเดียวโดยเฉพาะในช่วงที่เขายังไม่ได้ทำงานและไม่มีรายได้หรือเงินจากทางบ้าน หรือเพิ่งจะเริ่มทำงานมีเงินเก็บค่อนข้างน้อย ซึ่ง หุ้นตัวเรานี้แหละที่จะเป็น “เรือธง” ที่จะสร้างพอร์ตลงทุนของเราให้เติบโตขึ้นจนเรามี “อิสรภาพทางการเงิน” ในที่สุด ความหมายของผมก็คือ หุ้นตัวเราจะเป็นหุ้นที่ “จ่ายปันผล” ให้กับเราตลอดเวลาทุกปี ซึ่งเราสามารถนำปันผลที่ว่านั้นมาลงทุนซื้อหุ้นตัวอื่นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เช่นเดียวกับที่บางครั้งเราก็นำมันมาลงทุนในหุ้นตัวเราเพิ่ม เช่น ใช้เงินไปเรียน MBA เพื่อที่จะกลับมาสร้างรายได้ให้กับตนเองเพิ่มขึ้น

เมื่อเรามีอายุมากขึ้น “หุ้นตัวเรา” ส่วนใหญ่ก็จะมีค่าน้อยลงโดยเฉพาะเมื่อเทียบกับหุ้นตัวอื่นที่เราอาจจะลงทุนไว้มากขึ้นเรื่อย ๆ สมมุติว่าเราเกษียณและไม่ได้ทำอะไร ไม่ได้ลงทุนในหุ้นเลย มูลค่าหุ้นตัวเราก็น่าจะเรียกได้ว่าเป็นศูนย์ เราก็อาศัยเงินเก็บเลี้ยงตัวเองไปเรื่อย ๆ แต่สำหรับคนที่ยังลงทุนในหุ้นแล้ว ผมคิดว่ามูลค่าของ “หุ้นตัวเรา” ก็ยังน่าจะมากอยู่ นี่มาจากความสามารถในการลงทุนที่อาจจะยังสูงไม่น้อยกว่าสมัยที่ยังหนุ่ม ความสามารถในการลงทุนนี้ ช่วยทำให้ได้ผลตอบแทนที่สูงขึ้น ซึ่งถ้าคิดเป็นเม็ดเงินแล้วก็อาจจะยังมากทีเดียว นี่อาจจะเป็นเหตุผลที่ผมเองไม่แนะนำให้คนที่อายุมากเกษียณแล้ว ขายหุ้นทิ้งหมด ผมรู้สึกว่านั่นเท่ากับเป็นการทำให้ “หุ้นตัวเรา” หมดค่าไปด้วย เป็นหน้าที่ของคนทุกคนที่จะต้องเข้าใจเรื่องของ “หุ้นตัวเรา” เขาจะต้องรู้จักการจัดการและประเมินว่าเขาจะต้องลงทุนจัดพอร์ตอย่างไรโดยคำนึงถึงหุ้นตัวเราว่าเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญมากของพอร์ตลงทุนเสมอ ในบางช่วงเวลา เขาอาจจะต้องคิดถึงการประกันสุขภาพหรือประกันชีวิต เพื่อให้มั่นใจว่าหุ้นตัวสำคัญของเขานั้นจะยังมีค่าอยู่ในยามที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน คนบางคนที่คิดจะลาออกจากงานมาลงทุนอย่างเดียวก็จะต้องคำนึงถึงว่านั่นจะเป็นการทำลายมูลค่าของ “หุ้นตัวเรา” หรือไม่แม้ว่าการลงทุนเต็มเวลาอาจจะให้ผลตอบแทนการลงทุนดีขึ้นแต่นั่นก็ไม่แน่เสมอไป และคิดแล้วเป็นเม็ดเงินเท่าไร? คุ้มหรือไม่? บางที เราอาจจะต้องคำนึงถึงพอร์ตโดยรวมที่รวม “หุ้นตัวเรา” ที่เราประเมินมูลค่าไว้แล้ว เพื่อที่จะดูว่า ตกลงเราจะตัดสินใจอย่างไร มองในฐานะของ VI

Posted by nivate at 2:59 PM in โลกในมุมมองของ Value Investor

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

294089_206463906145575_1954355131_n.jpg

มีความสุขกับเทศกาลแห่งความรัก การให้และรอยยิ้ม

โลกนี้งดงามด้วยจิตวิญญาณที่ดีงามที่มนุษย์มี 4784752683eb2.gif

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ใช่ครับ การลงทุนมีความเสียงมากครับ ต้องมีเงินเย็นสำรองไว้

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ใช่ครับ การลงทุนมีความเสียงมากครับ ต้องมีเงินเย็นสำรองไว้

 

สวัสดีค่ะ ใช่เลย thgolder การมีความเสี่ยงและขึ้นอยู่กับสภาวะ ปัจจัยที่ไม่คงที่ และตัวเลือกที่เราลงทุน

ต้องให้เวลาและใม่ลงทุนเกินตัว มีเงินเย็นมีสภาพคล่อง มีเงินทุนหมุนเวียน(มีการบริหารการลงทุนการเงินอย่างมีวินัย

T301211_02C.gif

สำหรับทุกคนค่ะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

  • ความรู้เกี่ยวกับการเล่นหุ้น โดย ดร.ธี บทที่ 1 ความสามารถในการยอมรับความสูญเสีย
  • 0lesson1.jpg

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

asrot.jpg

 

***เพราะแสวงหา มิใช่เพราะรอคอย เพราะเชี่ยวชาญ มิใช่เพราะโอกาส เพราะสามารถ มิใช่เพราะโชคช่วย ดังนี้แล้ว***

 

" ลิขิตฟ้า หรือ จะสู้มานะตน "

 

 

โชคดี มีความสุข มีกำไร

 

 

 

สอนมือใหม่ตีแนวรับ-แนวต้าน

 

 

tpipl.jpg

 

 

TPIPL: Pattern กราฟลงลึกแล้วสร้างยอดแหลมตรงก้นกะทะ(ลูกศรเหลือง)เมื่อไหร่ ถ้าผ่านไปได้ราคามักไปไกล โดยกรณีนี้เราจะเล่นภาพใหญ่ จริงๆแล้วสามารถซื้อตามได้ตั้งแต่มันผ่านแนวต้านสูงสุดของก้นกะทะ (บริเวณลูกศรน้ำเงิน) ซึ่งตอนนี้ขึ้นทดสอบแนวต้านกรอบ downtrend ภาพใหญ่......ถ้า Break Trendline ขาลง(เส้นดำ) ขึ้นไปได้รับรองสวยยย แต่ถ้าไม่ผ่านก็ต้องมีย่อลงมาโดยอาจวางแนวรับไว้ที่จุดต่ำสุดก่อนถึงแนวรับเส้นปะสีขาว

 

cpf.jpg

 

CPF: หุ้นตัวนี้เล่นสบายใจตรงที่ภาพใหญ่เป็น Uptrend ...จะสังเกตเห็นว่าราคาตอนนี้ไม่ได้สูงกว่าแนวรับ(เส้นดำล่าง) เท่าไหร่นัก.....จากการมองจังหวะเข้าซื้อจะเห็นว่าก่อนหน้านี้มีจุดที่ต้องรออยู่ 2 อย่าง คือ

1. ต้อง Break Trendline ขาลง (เส้นดำ) ให้ได้ซะก่อน

2. ต้องผ่านแนวต้านที่จุดสูงสุดของก้นกะทะให้ได้เสียก่อน (บริเวณลูกศรแดงชี้)

 

ซึ่งตอนนี้สามารถผ่านทั้ง 2 เงื่อนไขเรียบร้อยแล้ว จึงแนะนำให้เข้าซื้อได้ อาจจะมีการขึ้นและย่อแรงบ้าง(บางคนเขาเรียกเขย่าเม่าออก555) ในกรณีที่เข้าซื้อต้องวางแนวรับไว้ที่ แนวต้านเส้นปะแดงที่เพิ่งผ่านขึ้นมาสำเร็จ ....แต่ถ้าใครรับความเสี่ยงได้มากหน่อยก็วางแนวรับไว้ที่ "แนวรับภาพใหญ่"(เส้นดำล่าง)ได้เลย......แต่ท้ายสุดถ้าหลุดแนวรับใหญ่เมื่อไหร่ ขายก่อนเถอะครับขอร้อง ei ei

 

intuch.jpg

 

INTUCH: หุ้นจะดีแค่ไหน ในเมื่อมันตกก็ต้องตก....เพราะสัญญาณเกิดจากราคาจริงๆของหุ้น การตัดสินใจโดยกราฟจะมีความแม่นยำกว่าการตัดสินใจโดยอาศัยความรู้สึก

 

Caseตัวอย่างนี้เมื่อกราฟหลุดจากแนวรับก็ต้องยอมรับความจริงว่ามันหลุด uptrend แล้ว แต่ถ้าใครยังไม่ขายก็ควรต้องมีจุด Stoploss ไว้บ้าง วิธีการหาแนวรับแบบเส้นแนวนอน (horizontal line) ก็ใช้ได้อยู่ โดยให้มองหาจุดที่ต่ำกว่าราคา ณ ปัจจุบันแต่มีนัยยะ เช่น ยอด high เดิม (ลูกศรดำ) หรือระดับราคาที่มีการปิดซ้ำๆกันหลายครั้ง ซึ่งส่วนใหญ่พวกตามยอดแหลมเล็กต่างๆอาจทำราคาเด้งขึ้นได้บ้างเล็กน้อย แต่จุดที่มีนัยยะจริงๆนั้น อาจสามารถทำให้เกิดสัญญาณการกลับตัวได้เลยทีเดียว

 

sgp.jpg

 

 

SGP: กราฟวิ่งแบบ Sideway....กราฟ trend นี้จะตีกรอบแนวรับแนวต้านได้ง่ายสุด "แนวต้าน" คือ จุดสูงสุด(ลูกศรขาวบน)....."แนวรับ" คือ จุดต่ำสุด(ลูกศรขาวล่าง) โดยในบางครั้งเราอาจหาระดับราคาที่มีการลงมาปิดบ่อยๆเป็นแนวรับรองก็ได้ เช่น แนวรับสีเหลืองจะเห็นว่าราคาลงมาแล้วเด้งบ่อย

 

หุ้น Sideway จะไม่ค่อยเป็นที่ชื่นชอบนักไม่เหมาะกับคนเล่นเร็วหรือใจร้อน แต่จะว่าไปมันก็เป็น Pattern กราฟที่อ่านจุดซื้อเพิ่ม(เมื่อผ่านแนวต้าน) และจุดขาย (เมื่อหลุดแนวรับ) ได้ง่ายสุด

 

 

 

"กราฟที่ยกตัวอย่างนี้เป็นการตี ณ เวลาปัจจุบัน (12ต.ค.55) จึงได้แต่รอเวลาเพื่อทดสอบว่าแนวรับแนวต้านที่ตีนี้ใช้ได้จริงหรือไม่"

 

เขียนโดย Manday ที่ 21:51

http://www.stockmand...og-post_12.html

 

 

 

สอนได้ดีมากๆเลยครับ :gd

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...