ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
ginger

หัวใจทองคำกับรอยหยักของสมอง

โพสต์แนะนำ

The Secret กฏแห่งการดึงดูด (ภาคไทย)

 

 

http://youtu.be/oNevq1bn334

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

kok86.gif

 

การปิด การแก้ไขตัดขาดทุนอัตโนมัติ

การแก้ไขจุดตัดขาดทุนอัตโนมัติ (Trailing Stop) คือการที่มีการปรับจุดตัดขาดทุนอย่างอัตโนมัติ ตามราคาตลาด เครื่องมือนี้ใช้งานได้ดีมากมีการเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวอย่างแรง หรือ ผู้ใช้ไม่มีหนทางในการตามการเคลื่อนไหวของตลาด

การแก้ไขจุดขาดทุนอัตโนมัติจะถูกแนบไปกับสถานะที่เปิดอยู่ตลอดและทำงานบนโปรแกรมซื้อขาย ไม่เหมือนที่ server เหมือน stop loss ดังนั้นเมื่อโปรแกรมซื้อขายถูกปิดลง การแก้ไขจุดตัดขาดทุนอัตโนมัติจะไม่ทำงาน โดยการเข้าถึงเครื่องมือทำได้โดย เข้าเมนู “Trailing Stop” ในหน้าต่าง “Terminal”

ug_ctsp_01.jpg

คำสั่งต่อไปนี้สามารถทำได้

  • ลบทุกระดับ – คำสั่งนี้จะลบการแก้ไขจุดตัดขาดทุนอัตโนมัติทั้งหมดในสถานะที่เปิดอยู่และคำสั่งที่รอดำเนินการ
  • ลบระดับเดียว – คำสั่งนี้ช่วยให้ผู้ใช้ปิดการแก้ไขจุดตัดขาดทุนเป็นตัว ตัว ไป
  • กำหนดระดับ – คำสั่งนี้ทำให้ผู้ใช้สามารถกำหนดระดับได้ด้วยตัวเอง ตัวอย่างเช่น 100, 43,

หลังจากดำเนินการตามด้านบนแล้ว เมื่อมีราคาใหม่เข้ามา โปรแกรมจะตรวจสอบว่าสถานะที่เปิดอยู่กำไรหรือไม่ เมื่อกำไรอยู่มากกว่าระดับที่กำหนด จะมีการปรับจุดตัดขาดทุนอัตโนมัติ คำสั่งนี้จะเป็นการระบุระดับระยะห่างระหว่างราคาตลาด มากกว่าไปกว่านั้นถ้าราคาไปในทิศทางที่กำไร การแก้ไขจุดตัดขาดทุนจะปรับโดยอัตโนมัติ แต่ถ้าราคาไปในทิศทางขาดทุน จะไม่มีการแก้ไขจุดตัดขาดทุน ดังนั้นหากราคาแกว่งจนระดับจุดตัดขาดทุนข้ามช่วงต้นทุนแล้ว ในสถานะนั้น ๆ จะกำไรแน่นอน

http://thai.forex4you.com/close-trailing-stop-positions/

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วิธีการเล่นหุ้น(Video Clip) : Linda Raschke On “Stops”

 

 

แนวคิดเรื่องการใช้ “จุดตัดขาดทุน หรือ Stops” โดย Linda Bradford Raschke

เรื่องของการใช้ Stop loss นั้นเป็นเรื่องปัญหาโลกแตกอีกเรื่อง เพราะมันขึ้นอยู่กับหลายอย่าง ทั้ง Time Frame ในการเล่นของแต่ละคน หรือแม้กระทั่งนิสัย หรือสไตล์การใช้ชีวิตอีกด้วย วันนี้เลยเอาเกร็ดเล็กๆน้อยจากเซียนหุ้นระดับโลกไม่กี่คนที่เป็นผู้หญิงมาให้ดูครับ เธอคือ Linda Bradford Raschke ครับ

 

 

ประวัติโดยย่อของ Linda Bradford Raschke

Linda Bradford Raschke นั้นเป็นนักเก็งกำไรหญิงที่โชกโชนอยู่ในตลาด Commodities และ Futures ที่อเมริกามานานกว่า 20 ปีครับ และเธอยังเป็นประธานบริหารของ LBRGroup, Inc., a registered CTA and money management firm และเป็นประธานบริหารของ LBR Asset Management, a Commodity Pool Operatorอีกด้วยครับ

เธอเริ่มต้นอาชีพการเก็งกำไรตั้งแต่ในปี 1981 โดยทำหน้าที่เป็น Market Maker ในตลาด Options ครับ โดย Linda Raschke นั้นมีชื่อเสียงโด่งดังจากการเป็นนักเก็งกำไรระยะสั้นในตลาด S&P Futures ครับ โดยเธอนั้นมีความรอบรู้ในการเก็งกำไรในหลายๆรูปแบบ และที่สำคัญเธอยังเป็นเซียนหุ้นอีกคนหนึ่งที่ได้ถูกสัมภาษณ์อยู่ในหนังสือ The New Market Wizards ที่โด่งดังมากๆซึ่งเขียนโดย Jack Schwager ครับ

Linda Raschke ได้ร่วมเขียนหนังสือหุ้นขายดีไว้เล่มหนึ่ง นั่นก็คือ “Street Smart – High Probability Short Term Trading Strategies” ครับ วันหลังๆผมจะมารีวิวให้อ่านกัน หรืออาจนำบางเทคนิคมาเขียนให้ดูนะครับ สำหรับวันนี้หมดแล้วครับหากใครดูคลิปแล้วจะลองนำไปประยุกต์ใช้ ก็อย่าลืมว่าเจ๊ Linda เธอเล่นแบบเสือปืนไวนะครับถึงแม้จะใช้ X time ATR ก็ตามแต่เธอใชกราฟราย 5-15 นาทีเท่านั้น ไม่ใช่กราฟวันนะครับ อิอิ เจอกันใหม่ที่ แมงเม่าคลับ.คอม ครับ ขอบคุณที่เขียนคอมเมนท์มาคุยๆกันนะครับ จะได้ช่วยกันแบ่งความรู้

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ประเภทของ Moving Average

« เมื่อ: พฤศจิกายน 28, 2010, 10:35:12 AM »

เส้นค่าเฉลี่ย หรือ Moving Average icon0001.gif

นับเป็นเครื่องมือสำคัญ เครื่องมือหนึ่งในการวิเคราะห์ทางเทคนิค โดยมีส่วนช่วยในการมองเห็นถึงแนวโน้มการเคลื่อนที่ของราคา รวมถึงจุดที่เปลี่ยนแนวโน้ม เพื่อเป็นสัญญาณซื้อขาย รวมถึงแนวรับแนวต้าน ของราคาหุ้นในช่วงเวลาต่างๆ

ซึ่งกลยุทธ์การลงทุนนั้น จะกำหนดเส้นค่าเฉลี่ย ในจำนวนวันที่แตกต่าง กัน ขึ้นอยู่กับ ระยะเวลาการลงทุนของแต่ละบุคคล หรือรอบการเคลื่อนที่ของราคาตัวนั้น ว่าการกำหนดด้วยเส้นค่าเฉลี่ยเท่าใด ที่น่าจะได้ผลตอบแทนสูงที่สุด

โดยเส้นค่าเฉลี่ยที่ใช้กันทั่วไปมีตั้งแต่

5 วัน (1 สัปดาห์) ใช้สำหรับการลงทุนระยะสั้น

10 วัน (2 สัปดาห์) ใช้สำหรับการลงทุนระยะสั้น

25 วัน (ประมาณ1 เดือน) ใช้สำหรับการลงทุนระยะค่อนข้างปานกลาง

75 วัน (ประมาณ1 ไตรมาส) ใช้สำหรับการลงทุนระยะกลาง

200 วัน (ประเมาณ 1 ปี) ใช้สำหรับการลงทุนระยะยาว

credit by investorchart.com

---------------------- ------------------------ ----------------------

เราอาจเคยสงสัยนะครับว่าระหว่าง SMA กับ EMA มันต่างกันยังไง??

ง่ายๆ สั้นๆนะครับ

 

SMA ย่อมาจาก Simple Moving Averge ซึ่งการทำงานของมันก็คือ หาค่าเฉลี่ยของราคา ในช่วงเวลาที่เรากำหนด

ส่วน EMA ย่อมาจาก Exponential Moving Average ซึ่งการทำงานของมันคือ เป็นการหาค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก โดยการให้ความสำคัญกับค่าตัวหนึ่งที่ชื่อ MOOTHING FACTOR สูตรมันก็มีว่า 2/(n+1) ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของราคา และถ่วงน้ำหนักให้ค่าสุดท้ายมีความสำคัญเพิ่มขึ้น

 

(ผมจะไม่กล่าวการคำนวนจะครับเพราะเราสามารถหาใช้ในกราฟได้เลยคงไม่ต้องมานั่งทดเลขกัน -..- )

 

อ่ะ แล้วมันต่างกันยังไง... อันไหนมันดีกว่ากัน แล้วเราจะเอามาวิเคราะห์อย่างไร huh.gif

 

มาดูความแตกต่างนะครับ การเคลื่อนที่ SMA จะช้ากว่า EMA โดยถ้าเราจะเล่นแบบตัดกันแล้วเข้า เราก็ใช้ EMA จะให้ความแม่นยำกว่า ส่วน SMA นั้นนะครับ มันจะเป็นแนวรับแนวต้านให้เราได้ดีกว่า เพราะเป็นการคำนวนฐานต้นทุนของนักลงทุนจริงๆ

 

แต่สำหรับราคาของคู่เงินบางตัวก็ใช้ EMA ดีกว่า SMA หรือ SMA ดีกว่า EMA มันก็ขึ้นอยู๋กับเราเลือกใช้เพื่อจุดประสงค์อะไร ( โดยส่วนตัวใช้ SMA เป็นแค่แนวรับแนวต้านธรรมดา )

 

ความลับของเส้น MA ยังมีอีกเยอะมากมาย ขึ้นอยู่กับว่าเราจาหามานเจอหรือเปล่าแค่นั้นนะครับ ผมไม่ได้หมายถึงให้ไปเที่ยวค้นหาตามเว caf2d-207.gifหรือ เลาะถามเทพๆ เมพๆca375-223.gif ทั้งหลาย แต่ให้เรา Focusab640-214.gif มันลงไปเอง แล้วเสาะหาข้อมูลมาเพื่อปรับใช้ ไม่ใช่เพื่อยึดใช้ ตลาดไม่ได้เหมือนเดิมตลอดกาล

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

187941_192435205925_167971641_q.jpg

 

Sinthorn

 

เสร็จเรียบร้อยสำหรับ E-Books รวมบทความในปี 2012 ของผม

เชิญโหลดอ่านได้ฟรี ที่นี่ ที่เดียว!!!

http://www.iammrmess...arbook-2012.pdf

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%87++%E0%B8%94%E0%B8%A3.%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%A8%E0%B8%99%E0%B9%8C+%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3.jpg

 

 

 

ผมเรียนจบปริญญาเอกทางด้านการเงินในสาขาการลงทุน และได้เรียนรู้เกี่ยวกับทฤษฎีการเงินต่างๆ มากมาย

 

ทฤษฎีเหล่านั้น แน่นอน ก่อนที่จะเป็นที่ยอมรับต้องได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นจริงโดยใช้ตัวเลขทางสถิติ แต่พอมาเป็นนักปฏิบัติ เป็นนักลงทุนจริงๆ ผมก็พบว่า ยังมีทฤษฎีอีกมากมาย ที่มีการพูดกันโดยที่ไม่มีการพิสูจน์ ไม่มีการใช้สถิติ แต่เป็นเรื่องที่มาจากประสบการณ์ของคนในวงการที่พูดแล้วมีคนเห็นด้วย และเชื่อว่าน่าจะเป็นความจริง ผมเองเห็นว่าเป็นเรื่องน่าสนใจ และอาจจะเข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน จึงนำเสนอทฤษฎีการลงทุนสักสองเรื่องดังต่อไปนี้

 

ทฤษฎีแรก คือ ทฤษฎี "งานคอกเทล" ซึ่งเสนอโดย ปีเตอร์ ลินช์ ทฤษฎีนี้บอกว่าภาวะหรือดัชนีตลาดหุ้นนั้น สามารถทำนายได้จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในงานเลี้ยงแบบคอกเทลที่ตัวเขา ซึ่งเป็นผู้บริหารกองทุนรวมจะประสบ นั่นคือ

 

ในช่วงที่ 1 ซึ่งมักจะเป็นช่วงที่ตลาดหุ้นได้ตกลงมาระยะหนึ่งแล้ว และไม่มีใครคาดคิดว่ามันจะขึ้นมาได้อีก คนในงานจะไม่มีใครพูดถึงตลาดหุ้น ที่จริงถ้าพวกเขารู้ว่าลินช์เป็น "ผู้บริหารกองทุนรวม" พวกเขาก็จะพยักหน้าอย่างสุภาพแล้วก็จะรีบเดินจากไป หรือไม่อย่างนั้น ก็จะเปลี่ยนเรื่องอย่างรวดเร็วไปเป็นเรื่องการแข่งฟุตบอล หรือเรื่องการเลือกตั้งที่กำลังมาถึงในไม่ช้าก็จะหันไปคุยกับหมอฟันเรื่องฟันผุมากกว่า ถ้าลินช์เจอสถานการณ์แบบนี้ ที่คนยินดีที่จะพูดกับหมอฟันมากกว่าผู้จัดการกองทุน เขาบอกว่าเป็นไปได้ที่ตลาดหุ้นกำลังจะขึ้นแล้ว เตรียมเก็บหุ้นได้

 

ช่วงที่ 2 เมื่อลินช์แนะนำตัวว่าทำมาหากินอะไรแล้ว คนหน้าใหม่จะอ้อยอิ่งอยู่กับเขานานขึ้นเล็กน้อย บางทีอาจจะนานพอที่จะพูดกับเขาว่าหุ้นนั้นมีความเสี่ยงแค่ไหนก่อนที่จะย้ายไปพูดคุยกับหมอฟัน อย่างไรก็ตาม คนก็ยังอยากพูดคุยกับหมอฟันมากกว่า “เซียนหุ้น” ขณะนั้น หุ้นก็มักจะปรับตัวขึ้นมาแล้วจากช่วงที่หนึ่งประมาณ 15% แต่คนก็ยังไม่ค่อยใส่ใจ ช่วงนี้หุ้นก็น่าจะยังดีอยู่

 

ช่วงที่ 3 ขณะนี้ ดัชนีหุ้นอาจจะปรับตัวขึ้นไป 30% แล้วจากช่วงที่หนึ่ง กลุ่มคนที่สนใจจะเลิกสนใจหมอฟันและหันมาล้อม ปีเตอร์ ลินช์ คนแล้วคนเล่าจะพยายามดึงเขาออกมาอยู่ข้างๆ ห้อง เพื่อที่จะคุยกับเขาเกี่ยวกับหุ้น แม้แต่หมอฟันก็ยังถามเขาว่าควรจะซื้อหุ้นตัวไหน ทุกคนในงานดูเหมือนจะได้ใช้เงินซื้อหุ้นตัวใดตัวหนึ่งไปแล้ว และต่างก็สนทนากันว่าเกิดอะไรขึ้น

 

ช่วงที่ 4. นี่ก็เป็นอีกครั้งที่ ปีเตอร์ ลินช์ จะถูกแขกในงานห้อมล้อม แต่ครั้งนี้ จะเป็นคนอื่นที่จะบอกกับลินช์ว่าหุ้นตัวไหนที่เขาควรซื้อ แม้แต่หมอฟันก็ยังมี "หุ้นเด็ด" ให้เขา 3-4 ตัว และในเวลา 2-3 วันต่อมา เมื่อเขาเปิดหนังสือพิมพ์ดูก็พบว่าหุ้นที่แนะนำทุกตัวนั้นขึ้นกันหมด ลินช์บอกว่าเมื่อเพื่อนบ้านหรือคนในงานเลี้ยงบอกว่าควรจะซื้อหุ้นตัวไหน และเขาหวังว่าตนเองจะได้เชื่อคำแนะนำนั้น มันก็เป็นสัญญาณที่แน่ชัดว่า ตลาดหุ้นได้ขึ้นไปถึงยอดดอยและพร้อมที่จะตกแล้ว รีบขายหุ้นเสียถ้าคุณเป็นนักเล่นหุ้น

 

ถ้าถามว่าสถานการณ์ตลาดหุ้นไทยเราในช่วงนี้เป็นอย่างไร ผมวิเคราะห์โดยใช้ประสบการณ์ส่วนตัวในฐานะที่เป็นคนที่อยู่ในแวดวงการลงทุนมานาน และมักได้สัมผัสกับนักลงทุนเป็นจำนวนมาก ผมคิดว่าตลาดหุ้นไทยกำลังอยู่ในช่วงที่สามช่วงท้ายๆ นั่นก็คือ มีคนสนใจและถามเรื่องตลาดหุ้น และตัวหุ้นกับผมเป็นจำนวนมาก บางคนก็เริ่มแนะนำหุ้นให้ผมและผมพบว่าหุ้นเหล่านั้นปรับตัวขึ้นเร็วมากและผมเสียดายที่ไม่ได้ซื้อไว้ ซึ่งนี่เป็นสัญญาณของช่วงที่สี่ อย่างไรก็ตาม คนที่แนะนำผมนั้น ยังไม่ใช่ "หมอฟัน" หรือคนที่เป็นมือใหม่อย่างในทฤษฎีของ ปีเตอร์ ลินช์

 

ทฤษฎีที่สองผมขอเรียกว่า ทฤษฎี "ปลาใหญ่-ปลาเล็ก" นี่เป็นทฤษฎีของใครผมไม่ค่อยแน่ใจ แต่ถ้าจำไม่ผิด คุณไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม อดีตผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเคยพูดไว้ เขาพูดว่าการเล่นหุ้นในตลาดนั้น บางทีก็เหมือนกับการหากินของฝูงปลา ที่มักไปกันเป็นฝูง นั่นคือ ปลาตัวใหญ่จะว่ายนำ ส่วนปลาตัวเล็กจะว่ายตาม ในยามที่อาหารอุดมสมบูรณ์ ปลาทุกตัวต่างก็อิ่มหมีพีมันกันหมด แต่เมื่ออาหารร่อยหรอไปจนหมด สิ่งที่เกิดขึ้น ก็คือ ปลาใหญ่ก็จะหันกลับมากินปลาเล็กเป็นอาหารแทน

 

เปรียบไปก็เหมือนกับการเล่นหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ "ขาใหญ่" หรือนักลงทุนรายใหญ่ในตลาดนั้น ในยามที่ภาวะตลาดดี พวกเขาก็มักจะเป็นผู้ "ซื้อนำ" ในหุ้นบางตัวที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับการเก็งกำไร เช่น กำลังมีผลประกอบการที่ดีเยี่ยม มีข่าวน่าตื่นเต้น และเป็นหุ้นที่มีขนาดเล็ก หรือไม่ใหญ่เกินไป เป็นต้น การซื้อนำพร้อมๆ กับการกระจายข่าวออกไปในตลาดนั้น ทำให้นักเล่นหุ้นรายย่อยจำนวนมากแห่ซื้อตาม ผลก็คือ ราคาหุ้นก็มักจะปรับตัวขึ้นไปอย่างโดดเด่น คนที่เข้ามาลงทุนเกือบทุกคนต่างก็ "อิ่ม" หรือได้กำไรกันหมด ทุกคนมีความสุข

 

พอถึงจุดที่ตลาดตกต่ำหรือหุ้นที่ถูกนำมาเล่นตกลงมาอย่างแรง เนื่องจากเหตุผลอะไรก็ตาม รายย่อยต่างก็ขาดทุนกันจำนวนมาก แต่รายใหญ่ซึ่งเป็นคนซื้อนำนั้น มักจะขายหุ้นทำกำไรไปก่อนแล้ว นี่เท่ากับว่า ในท้ายที่สุด นักลงทุนรายใหญ่ก็ "กิน" นักลงทุนรายย่อยหลายๆ คนที่ "หนี" หรือขายหุ้นไม่ทันก่อนที่มันจะตกลงมา

 

ถ้าถามว่าผมเชื่อในทฤษฎีทั้งสองหรือไม่ คำตอบ ก็คือ ผมคิดว่ามันมีส่วนที่เป็นจริงอยู่พอสมควรทีเดียว แต่ถ้าถามว่าผมจะมีปฏิกิริยาอย่างไรคำตอบสำหรับทฤษฎีของ ปีเตอร์ ลินช์ ก็เช่นเดียวกับความคิดของตัว ปีเตอร์ ลินช์ เอง นั่นก็คือ ผมไม่สนใจเรื่องภาวะตลาดหุ้น ผมคิดว่าหากหุ้นที่ผมถือนั้นเป็นกิจการที่ดีเยี่ยม มันก็มักดูแลตัวมันเองได้ไม่ว่าในภาวะตลาดไหน ส่วนในทฤษฎีที่สองนั้น ผมก็ต้องสร้าง "วินัย" ให้กับตัวเองว่า เราจะไม่เป็น "ปลาเล็ก" จริงอยู่ เราอาจจะ "อิ่มท้อง" หรือทำกำไรได้ง่ายๆ จากการ "หากิน" หรือซื้อหุ้นตาม "ปลาใหญ่" หรือรายใหญ่ที่กำลัง "โปรโมท" หุ้น เพราะผมคิดว่าการทำแบบนี้มีความเสี่ยงพอสมควร และถ้ามันเกิดขึ้น คุณก็จะกลายเป็น "อาหาร" นั่นก็คือ เสียหายหนักจากการลงทุนได้

 

*************************

 

ทฤษฎีเล่นหุ้นของนักลงทุน

 

ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

 

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

 

ขอบคุณแหล่งข้อมูลครับ/

 

นักลงทุนผู้ประสบความสำเร็จ จะเพิกเฉยต่อข้าวร้ายที่เกิดขึ้นในตลาด

Stock2morrow

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

TUESDAY, DECEMBER 7, 2010

 

 

 

 

ดู Charts ย้อนดูตน ดูเสร็จแล้วปฏิบัติ แล้วคุณจะรอด!!!

 

 

 

 

แหล่งบทความ:

 

อรุณสวัสดิ์คร้าบมิตรสหายนักลงทุนทุกท่าน เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับวันหยุดยาวที่ผ่านมา ได้พาคุณพ่อคุณแม่ไปเที่ยว ไปกินข้าวที่ไหนกันบ้างรึเปล่าเอ่ย ^____^ ยังไงก็ขอให้มีความสุขและรักครอบครัวมากๆน่ะครับ

 

ก่อนที่จะเริ่มการเทรดอาทิตย์นี้ ซึ่งมีแค่ 3 วันเท่านั้นสำหรับอาทิตย์นี้ เผอิญช่วงวันหยุดที่ผ่านมา ผมไปชะแว๊บเห็น charts เกี่ยวกับการลงทุนแบบเด็ดๆ มา 3 charts ครับ...ก็เลยอยากจะมาแชร์ให้มิตรสหายทุกท่านได้อ่านและเก็บไว้ในความทรงจำ และนำไปปฏิบัติด้วยน่ะครับ

 

อันแรกนี่...โดนใจขาย่อย เม่าทะลุใจจริงๆ อิอิ ลองถามตัวเองดูน่ะครับว่าตอนนี้ คุณอยู่ในช่วงไหนของกราฟ ^______^

 

74203_164835213549256_100000683354577_392499_4986847_n.jpg

 

ส่วนอันที่สองนี้นี่ ผมชอบมากมายครับ เป็น chart ที่แสดงให้เห็นเกี่ยวกับ พฤติกรรมที่อาจนำไปสู่ความสำเร็จครับ...ที่บอกว่า "อาจนำ" ก็เพราะ คุณจะไม่ "สำเร็จ" ได้ ถ้าคุณไม่หมั่น "ฝึกฝน" และ "มีวินัยเทรด" ครับ ^____^

 

 

 

%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25A5%25E0%25B9%2587%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%259A.jpg

 

มาจบกันด้วย chart แสดงพฤติกรรมที่อาจนำไปสู่ความผิดพลาดในการลงทุนน่ะครับ ผมเคยพลาดมาแล้ว ยังไงพี่น้องทุกท่าน ก็อย่าเป็นแบบผมเลยน่ะครับ มันเหนื่อยและเครียดมากมายกว่าจะเอาสิ่งที่ผิดพลาดกลับคืนมาได้ หุหุ

 

 

%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25A5%25E0%25B9%2587%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%259A+2.jpg

โชคดีครับผม

 

Wizard Kid

 

7 Dec 2010

 

 

 

Posted by Wizard Kid @ S2M at 6:28 AM

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

21924_301973393242742_69200498_n.jpg

 

 

 

 

 

188060_290963641010384_369783577_q.jpg

S2M E-Mag.

Like This Page · November 14, 2012

 

Fundamental Tree เมื่อหุ้น=ต้นไม้ (หมายความว่าอย่างไร???) หาคำตอบได้ที่ ISSUE 06/NOVEMBER 2012 สาระดีๆ จากคุณ - applejob -

 

http://www.stock2morrow.com/newsletter.php

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

184551_4957768029236_1822300357_n.jpg

 

วรวรรณ ธาราภูมิ

 

 

แนะนำให้อ่านอันนี้ละเอียด พี่ไม่อยากตัดทอนมาเพราะเขาสรุปจากข่าวต่างประเทศได้ดี มีคุณค่ามากค่ะ

-------------------------------------------------------------------------

 

ชำแหละแผนฟิสคัสคลิฟ หนี้พอก จ่ายภาษีหนัก ส่อฉุด ศก.ดิ่ง

 

ณัฐสุดา จิตตปาลพงศ์ Post Today

3 มกราคม 2556

 

หลังจากที่ทำเอานักลงทุนทั่วโลกลุ้นกันตัวโก่งจนถึงวินาทีสุดท้าย ในที่สุดสหรัฐก็คลอดแผนหลีกเลี่ยงหน้าผาการคลัง หรือ “ฟิสคัล คลิฟ” ได้สำเร็จ หลังสภาผู้แทนราษฎรเมืองลุงแซมมีมติอนุมัติแผนฉบับดังกล่าว เมื่อวันที่ 1 ม.ค.ที่ผ่านมา

 

นับเป็นข่าวดีต้อนรับปีใหม่ที่นักลงทุนทั่วโลกต่างเฝ้ารอคอยมานาน เห็นได้จากตลาดหุ้นทั่วโลกทั้งในเอเชียและยุโรปที่ต่างทะยานขึ้นขานรับข่าวดีในช่วงเปิดตลาดวันที่ 2 ม.ค. หลังก่อนหน้านี้เกิดความวิตกกังวลว่า สหรัฐอาจล้มเหลวในการบรรลุข้อตกลงจนนำไปสู่การขึ้นภาษี และตัดลดรายจ่ายอัตโนมัติครั้งใหญ่ ที่อาจฉุดเศรษฐกิจของประเทศเข้าสู่ภาวะถดถอยทันที

 

แต่หลังจากที่มีการเผยรายละเอียดของแผนแก้ฟิสคัล คลิฟ ความยาวกว่า 157 หน้า ก็เริ่มมีเสียงเตือนหนาหูจากบรรดานักเศรษฐศาสตร์ ตลอดจนนักการเมืองสหรัฐ ทั้งจากพรรคเดโมแครตและรีพับลิกัน ว่า ในที่สุด แผนดังกล่าวก็อาจไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาขาดดุลงบประมาณอันมหาศาลของประเทศได้ แถมยังส่อเค้าฉุดให้ปัญหาขาดดุลย่ำแย่ลงอีกด้วยซ้ำ

 

ปัญหาข้อแรกของแผนเลี่ยงหน้าผาการคลังฉบับนี้ คือ มาตรการด้าน “ภาษี”

 

แม้ประธานาธิบดี บารัก โอบามา จะประสบความสำเร็จในการ “ขึ้นภาษีคนรวย” โดยต่อไปนี้ชาวอเมริกันที่มีรายได้เกิน 4 แสนเหรียญสหรัฐ (ราว 12.4 ล้านบาท) ต่อปี และครอบครัวที่มีรายได้เกิน 4.5 แสนเหรียญสหรัฐ (ราว 13.9 ล้านบาท) ต่อปี จะต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นที่ระดับ 39.6% จากเดิมที่ระดับ 35% ทว่าข้อตกลงเลี่ยง ฟิสคัล คลิฟ ครั้งนี้กลับไม่ครอบคลุมการยืดอายุมาตรการลดหย่อน “ภาษีเพย์โรล” (Payroll Pax)

 

ทั้งนี้ ในสหรัฐ ชาวอเมริกันทุกคนที่มีรายได้จะต้องเสียภาษีเพย์โรล ซึ่งก็คือเงินที่หักจากเงินเดือนหรือค่าจ้าง ทว่าต่างจากภาษีเงินได้ (Income Tax) ตรงที่รัฐจะจัดสรรเงินจำนวนดังกล่าวเข้ากองทุนสวัสดิการสังคมต่างๆ โดยตรง โดยที่ผ่านมารัฐบาลออกมาตรการลดหย่อนภาษีชนิดดังกล่าวเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของประชาชน รวมทั้งกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ

 

ดังนั้น การที่รัฐบาลปล่อยให้มาตรการลดหย่อนภาษีเพย์โรลหมดอายุลง ก็หมายความว่าในช่วงสิ้นเดือน ม.ค.นี้ ชาวอเมริกันที่มีรายได้ทุกคนจะต้องเสียภาษีเพย์โรลเพิ่มขึ้นที่ระดับ 6.2% จากเดิมที่ 4.2% ซึ่งเป็นระดับที่เคยเสียเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา

 

หรือถ้าจะพูดให้เข้าใจง่าย คือ รายได้ชาวอเมริกันลดน้อยลงนั่นเอง!

 

ยกตัวอย่างเช่น ชาวอเมริกันที่มีรายได้เฉลี่ย 5 หมื่นเหรียญสหรัฐ (ราว 1.5 ล้านบาท) ต่อปี จะถูกหักภาษีเพย์โรลราว 80 เหรียญสหรัฐ (ราว 2,480 บาท) ต่อเดือน หรือมากถึง 1,000 เหรียญสหรัฐ (ราว 3.1 หมื่นบาท) ต่อปี ซึ่งแน่นอนว่าจะบั่นทอน “กำลังซื้อ” ของชาวอเมริกันอย่างหนัก และกระทบการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่เพิ่งจะเริ่มโงหัวขึ้นได้ไม่นาน

 

“การขึ้นภาษีจะส่งผลกระทบอย่างหนักต่อชาวอเมริกันทุกชนชั้น ไม่ว่าจะมีรายได้หลักหมื่นหรือหลักล้านก็ตาม เพราะยิ่งรายได้หด การใช้จ่ายก็ลดตาม” โจเอล นารอฟ ประธานบริษัทที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจนารอฟในสหรัฐ เตือน

 

สอดคล้องกับความเห็นของ มาร์ก แซนดี นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสจาก มูดี้ส์ อนาไลติกส์ ที่เตือนว่าการใช้จ่ายที่ลดลงของชาวอเมริกันอาจฉุดการขยายตัวของจีดีพี 0.6% ในปีนี้

 

ขณะที่ แบรด เดอลอง นักเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ คาดว่าจะฉุดจีดีพีของประเทศมากถึง 2% พร้อมย้ำว่ารัฐบาลไม่ควรยกเลิกมาตรการลดหย่อนภาษีเพย์โรล จนกว่าอัตราว่างงานของประเทศลดเหลือระดับ 6.5%

 

เพราะต้องไม่ลืมว่าการบริโภคภายในประเทศนั้นเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสหรัฐ โดยคิดเป็นสัดส่วนมากถึง 70% ของระบบเศรษฐกิจของประเทศ

 

นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญยังเตือนว่า แผนดังกล่าวยังไร้ซึ่งการปฏิรูประบบภาษี ซึ่งจำเป็นต่อการลดช่องโหว่ในการเก็บภาษี

 

ยกตัวอย่างเช่น ในระหว่างการแถลงงบประมาณปี 2556 ประธานาธิบดี โอบามา ได้แสดงความต้องการที่จะยกเลิกมาตรการลดหย่อนภาษีสำหรับชาวอเมริกันที่เสียภาษีในอัตรา 28% เพื่อที่ภาครัฐจะได้มีเงินเข้ากระเป๋าเพิ่มขึ้น 5.84 แสนล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 18.1 ล้านล้านบาท) ในระยะเวลา 10 ปี ทว่าข้อเสนอดังกล่าวก็ไม่ได้ถูกบรรจุไว้ในแผนฟิสคัล คลิฟ ครั้งนี้

 

เช่นเดียวกับขึ้นภาษีเงินปันผลที่ 20% แทนการผูกอัตราภาษีไว้กับอัตราเงินเดือนของประชาชน ส่งผลให้ประชาชนทุกชนชั้นที่ถือหุ้นบริษัททางอ้อม เช่น ผ่านกองทุนรวม หรือกรมธรรม์ประกัน กว่า 10 ล้านคนทั่วประเทศ ได้รับผลกระทบกันอย่างถ้วนหน้า

 

“การขึ้นภาษีเงินปันผลจะส่งผลโดยตรงต่อบรรดาบริษัทที่จ่ายปันผลในอัตราสูง โดยจะทำให้บริษัทเหล่านี้จ่ายปันผลแก่ผู้ถือหุ้นน้อยลง ไม่ว่าผู้ถือหุ้นจะมีรายได้สูงต่ำเพียงใด” องค์กรด้านภาษีสหรัฐ เตือน

 

นอกจากปัญหาด้านภาษีแล้ว อีกหนึ่งปัญหาที่นักวิเคราะห์วิตกกังวลมากที่สุดก็คือ เรื่องการตัดลดรายจ่าย ซึ่งล่าสุดเพิ่งถูกชะลอออกไปอีก 2 เดือน

 

ด้านสำนักงบประมาณรัฐสภาสหรัฐ (ซีบีโอ) ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระที่ไม่เกี่ยวข้องกับกลุ่มการเมืองใด เตือนว่า หากรัฐบาลสหรัฐเดินหน้าแผนหลีกเลี่ยงหน้าผาการคลังดังกล่าว จะมีรายได้จากการเก็บภาษี 6 แสนล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 18.6 ล้านล้านบาท) ในช่วงเวลา 10 ปีข้างหน้า

 

ทว่า การตัดลดรายจ่ายซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการตัดลดยอดขาดดุลงบประมาณนั้น กลับมีมูลค่าเพียงแค่ 1.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 4.65 แสนล้านบาท) เท่านั้น น้อยกว่าที่รีพับลิกันเสนอก่อนหน้านี้ที่ 1.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 43.4 ล้านล้านบาท) และที่ โอบามา เคยเรียกร้องเอาไว้ที่ 6 แสนล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 18.6 ล้านล้านบาท)

 

ทั้งนี้ เพราะหากศึกษาเงื่อนไขต่างๆ ในข้อตกลงอย่างละเอียด จะพบว่ารัฐบาลได้ยืดอายุมาตรการลดหย่อนภาษี อาทิ มาตรการลดหย่อนสำหรับผู้มีรายได้น้อย และสำหรับผู้มีบุตร รวมทั้งเงินช่วยเหลือสำหรับคนว่างงาน และเงินอุดหนุนโครงการประกันสุขภาพเมดิแคร์ ตลอดจนมาตรการช่วยเหลือชนชั้นกลางและผู้มีรายได้น้อยอื่นๆ

 

มาตรการเหล่านี้จึงไม่ต่างอะไรจาก “รายจ่าย” ที่เพิ่มขึ้นถึง 3.3 แสนล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 10.2 ล้านล้านบาท) ในระยะเวลา 10 ปี

 

“ในสมัยอดีตประธานาธิบดี โรนัลด์ เรแกน และจอร์จ ดับเบิลยู. บุช รัฐบาลตกลงที่จะลดรายจ่ายลง 2 และ 3 เหรียญสหรัฐ ตามลำดับ สำหรับการเก็บภาษีทุกๆ 1 เหรียญสหรัฐ แต่หากเทียบกับสมัยประธานาธิบดี โอบามา สถานการณ์กลับตาลปัตร เนื่องจากรีพับลิกันจะต้องยอมเสียเงินภาษีถึง 41 เหรียญสหรัฐ เพื่อแลกกับการตัดลดรายจ่ายลง 1 เหรียญสหรัฐ” ฟอร์บส์ รายงาน

 

หากเป็นเช่นนั้น ยอดขาดดุลงบประมาณของเมืองลุงแซมจะมีแนวโน้มพุ่งสูงกว่าเดิมถึง 4 เท่า จากระดับ 1.09 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 33.79 ล้านล้านบาท) ในปีงบประมาณ 2555 ทะลุระดับ 4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 124 ล้านล้านบาท) ในระยะเวลา 10 ปีข้างหน้า

 

งานนี้จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่นักการเมืองและนักเศรษฐศาสตร์บางรายจะออกมายอมรับว่า“รู้อย่างนี้ ยอมตกหน้าผาการคลังดีกว่า” เพราะอย่างน้อยการตกหน้าผาการคลังจะทำให้เกิดการขึ้นภาษีและตัดลดรายจ่ายอัตโนมัติ ซึ่งจะช่วยลดยอดขาดดุลงบประมาณของประเทศลงกว่าครึ่งที่ระดับ 6.41 แสนล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 19.8 ล้านล้านบาท) ในปีนี้ และ 4.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 310 ล้านล้านบาท) ในช่วงเวลา 10 ปีข้างหน้า

 

“ไม่เพียงแต่ข้อตกลงครั้งนี้จะฉุดกำลังซื้อของชาวอเมริกันแล้ว ยังไม่ช่วยลดรายจ่ายของภาครัฐ แถมยังจะทำให้หนี้ของประเทศพอกพูนอีกมหาศาล” วอชิงตันโพสต์ ระบุ

 

ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ นักวิเคราะห์ยังชี้ว่าการชะลอการตัดลดรายจ่ายของประเทศออกไปอีก 2 เดือน ส่งผลให้สหรัฐต้องรับมือกับอีก “3 หน้าผาการคลัง” ในปีนี้ ซึ่งประกอบด้วย

 

1.การเจรจาขยายเพดานหนี้ในช่วงปลายเดือน ก.พ. ซึ่งหากล้มเหลวจะส่งผลให้สหรัฐผิดชำระหนี้ทันที

 

2.การเจรจาตัดลดรายจ่ายในเดือน มี.ค.

 

3.การเลื่อนพิจารณาอนุมัติงบประมาณของประเทศ ซึ่งจะหมดอายุลงช่วงปลายเดือน มี.ค.นี้

 

สหรัฐในวันนี้จึงไม่ต่างอะไรจากในช่วงปีที่ผ่านมา ยังคงยืนอยู่ปากเหวหน้าผาการคลังต่อไป และที่สำคัญก็คือ แผนฉบับใหม่ที่ผู้นำสหรัฐยกให้เป็นแผนกู้วิกฤตของประเทศนั้น ก็อาจเป็นตัวการฉุดเศรษฐกิจประเทศสู่ห้วงอันตรายที่น่ากลัว และร้ายแรงยิ่งไปกว่าการตกหน้าผาการคลัง!

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...