ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
ginger

หัวใจทองคำกับรอยหยักของสมอง

โพสต์แนะนำ

การลงทุนมีความเสี่ยง โปรดใช้วิจารญาณ

 

406094_374491885981101_1352331038_n.jpg

Dhammadas

จิตที่ฝึกดีแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหว อยู่เป็นสุข.

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รูปแบบหัวกับไหล่ (HEAD & SHOULDERS)

 

 

หัวกับไหล่ที่จุดยอด (HEAD & SHOULDERS TOP)

บอกถึงการเปลี่ยนทิศทางของราคาหุ้นจากแนวโน้มขึ้นเป็นลง ประกอบด้วย 3 ยอด ยอดที่สูงที่สุดจะเรียกว่า หัว (HEAD) ส่วนยอดที่ต่ำลงมาจะเรียกว่า ไหล่หรือบ่า (SHOULDERS) โดยปริมาณการซื้อขายในแต่ละยอดจะลดลงตามลำดับ และมีเส้นเชื่อมตรงฐานเรียกว่า เส้นคอ (NECKLINE) และเส้นนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นแนวนอนเสมอไป แต่ไม่ควรจะเป็นเส้นที่ชันมากเกินไปเช่นกัน เมื่อราคาหุ้นตกทะลุผ่านเส้นคอ (NECKLINE) พร้อมกับปริมาณการซื้อขายที่สูงขึ้น แสดงให้เห็นว่าราคาจะมีแนวโน้มไปในทางลง จึงควรขาย ณ จุดนี้

image006.jpg

หัวกับไหล่ที่จุดต่ำ (HEAD & SHOULDER BOTTOMS)

มีลักษณะเหมือน HEAD & SHOULDER TOPS แต่กลับหัว และเมื่อราคาหุ้นทะลุผ่านเส้นคอ (NECKLINE) พร้อมกับปริมาณการซื้อขายที่สูงขึ้น แสดงถึงแนวโน้มของราคาหุ้นกำลังจะขึ้น จึงควรซื้อ ณ จุดนี้

image007.jpg

หัวกับไหล่แบบซ้ำซ้อน (COMPLEX HEAD & SHOULDERS)

เป็นรูปแบบที่ซับซ้อนซึ่งอาจจะมียอดอยู่ที่ไหล่ 2 ยอด ในแต่ละข้างหรืออาจจะมีหัวคล้ายกัน 2 หัว การดูแนวโน้มของราคาจะเหมือนกับ HEAD & SHOULDERS ทั้ง 2 แบบข้างต้น คือ ถ้าเกิดตอนขาขึ้นและเป็นหัวตั้งให้ขาย เมื่อราคาทะลุเส้นคอ (NECKLINE) ลงมา ในทางตรงกันข้ามถ้าเกิดตอนขาลงและเป็นหัวกลับ ให้ซื้อเมื่อราคาทะลุเส้นคอ (NECKLINE) ขึ้นไป

image008.jpg

*ข้อสังเกต หุ้นที่ทะลุผ่านเส้นคอ อาจจะทะลุขึ้นหรือลงไปได้ระยะทางอย่างน้อยเท่ากับระยะห่างจากส่วนหัวถึงเส้นคอ

http://www.kateep.com/forex/?page_id=7

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

9. How to Trade the Head and Shoulders Pattern Part 1

 

 

 

 

 

10. How to Trade the Head and Shoulders Pattern Part 2

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กฎ 10 ข้อในการอยู่รอดและการลงทุนด้วย การวิเคราะห์ทางเทคนิค

 

 

กฎ ทั้ง10 ข้อนี้ เป็นหลักการสำคัญสำหรับผู้ที่ใช้วิธีการวิเคราะห์ทางเทคนิคสำหรับการลงทุน เพราะหากไม่มีหลักการดังกล่าวแล้ว เราก็จะไม่สามารถกำหนดการซื้อขายที่เป็นรูปแบบได้ ซึ่งในกฎเหล่านี้จะพูดถึงการวิเคราะห์แนวโน้ม , หาจุดกลับตัว, ติดตามค่าเฉลี่ย, มองหาสัญญาณเตือน และอื่นๆ

หากท่านสามารถเข้าใจและ ปฎิบัติตามหลักการเหล่านี้ได้ผมเชื่อว่าท่าน ก็สามารถเอาตัวรอด ด้วยการลงทุนโดยใช้หลักการวิเคราะห์ทางเทคนิค ได้ครับ

 

1. ดูแนวโน้ม

เรียน รู้ชาร์ตในระยะยาว โดยเริ่มการวิเคราะห์ชาร์ตในระดับเดือนและสัปดาห์ ของช่วงเวลาหลายๆปี การดูชาร์ตในระดับของช่วงเวลาที่กว้างขึ้นจะทำให้สามารถมองเป็นแนวโน้มของ ตลาดในระยะยาวได้ชัดเจนขึ้น เมื่อทราบถึงแนวโน้มระยะยาวแล้ว จึงจะดูชาร์ตในระดับวันและนาที การดูแนวโน้มในช่วงสั้นเพียงอย่างเดียวจะทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ถึงแม้ว่าคุณจะลงทุนในระยะสั้น คุณจะได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าหากคุณลงทุนในทิศทางเดียวกับแนวโน้มในระยะกลางและ ยาว

 

2. วิเคราะห์และไปตามแนวโน้ม

แนวโน้มของตลาดมีหลายช่วงเวลา ระยะยาว ระยะกลาง และระยะสั้น สิ่งแรกคือ คุณต้องรู้ว่าคุณจะลงทุนในระยะเวลาเท่าใด และวิเคราะห์ชาร์ตของช่วงเวลาที่เหมาะสม โดยที่คุณต้องแน่ใจว่าคุณลงทุนไปในทิศทางเดียวกับแนวโน้มในระยะเวลานั้นๆ ซื้อเมื่อแนวโน้มอยู่ในขาขึ้น และขายเมื่อแนวโน้มอยู่ในขาลง หากคุณลงทุนในระยะกลาง ให้ใช้ชาร์ตในระดับวันและสัปดาห์ ถ้าคุณลงทุนระยะสั้น ให้ใช้ชาร์ตระดับวันและรายนาที อย่างไรก็ตาม ในแต่ละกรณี ให้ดูแนวโน้มของช่วงเวลาที่ยาวขึ้น และใช้ชาร์ตของช่วงเวลาที่สั้นลงในการหาจุดที่จะเข้าซื้อ-ขาย

 

3. หาจุดสูงสุดและต่ำสุด

วิเคราะห์ แนวรับและแนวต้าน จุดที่ดีที่สุดในการเข้าซื้อก็คือจุดใกล้แนวรับซึ่งมักจะเป็นจุดต่ำสุดของ รอบการซื้อขายที่แล้ว จุดที่ดีที่สุดสำหรับการขายก็คือจุดที่ใกล้แนวต้าน ซึ่งมักจะเป็นจุดสูงสุดของรอบการซื้อขายที่แล้ว หากมีการเคลื่อนผ่านแนวต้าน แนวต้านนั้นจะกลายเป็นแนวรับสำหรับการปรับตัวลดลง อีกนัยหนึ่ง จุดสูงสุดเดิมกลายเป็นจุดสูงสุดใหม่ และเช่นเดียวกัน ในกรณีที่ราคาทะลุผ่านแนวรับ มักจะมีแรงขายออกมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้จุดต่ำสุดเดิมกลายเป็นจุดต่ำสุดใหม่

 

4. รู้ว่าจะไปไกลแค่ไหนจึงจะกลับตัว

เทียบ อัตราส่วนการขึ้น-ลง เป็นเปอร์เซนต์ โดยทั่วไปตลาดจะมีการกลับตัวทั้งขึ้นและลงตามสัดส่วนเปอร์เซนต์ของแนวโน้ม ของช่วงก่อน คุณสามารถวัดอัตราส่วนของการปรับตัวขึ้นหรือลงของแนวโน้มปัจจุบันได้โดยใช้ อัตราส่วนชุดหนึ่งที่มีการกำหนดค่าไว้แล้ว เช่น การกลับตัวขึ้นหรือลง 50%ของแนวโน้มก่อน เป็นอัตราพื้นฐานที่ใช้กันบ่อย อัตราส่วนต่ำสุดของการวัดการดีดกลับ คือ 1/3 ของแนวโน้มก่อน และอัตราส่วนสูงสุดคือ 2/3 อัตราส่วนที่สำคัญและควรให้ความสนในก็คือ อัตราส่วน Fibonacci 36% และ 62% ดังนั้น เมื่อตลาดมีการพักในช่วงแนวโน้มขาขึ้น จะมีจุดซื้อคืนจุดแรกเมื่อตลาดปรับตัวลง 33-38% ของจุดสูงสุด

 

5. ใช้เส้นแนวโน้ม

เส้น แนวโน้มเป็นหนึ่งในเครื่องมือการวิเคราะห์ที่ง่ายและมีประสิทธิภาพที่สุด สิ่งที่ต้องคำนึงถึงมีเพียงขอบเขตที่เส้นแนวโน้มแสดงและจุด 2 ตำแหน่งบนชาร์ต เส้นแนวโน้มขาขึ้นวาดโดยใช้จุดต่ำสุด 2 จุด ที่อยู่ใกล้กัน และเส้นแนวโน้มขาขึ้นวาดโดยใช้จุดสูงสุด 2 จุดใกล้กัน ราคาของหุ้นมักจะเคลื่อนเข้าใกล้เส้นแนวโน้มก่อนที่จะเคลื่อนกลับเข้าสู่แนว โน้มของมัน หากราคาทะลุผ่านเส้นแนวโน้ม จะแสดงถึงสัญญาณของการเปลี่ยนแนวโน้ม เส้นแนวโน้มจะมีผลเมื่อราคาเคลื่อนแตะที่เส้น 3 ครั้งเป็นอย่างน้อย เส้นแนวโน้มที่ลากได้ยิ่งยาว หมายถึง จำนวนครั้งมากขึ้นของการทดสอบเส้นแนวโน้ม และยิ่งทำให้เส้นแนวโน้มมีความสำคัญมากขึ้น

 

6. ติดตามค่าเฉลี่ย

หมาย ถึงการเคลื่อนไหวของเส้นค่าเฉลี่ย ซึ่งจะบอกถึงราคาเป้าหมายที่จะซื้อและขาย เส้นค่าเฉลี่ยเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าราคาอยู่ในแนวโน้มเช่นใดและช่วยยืนยัน สัญญาณการเปลี่ยนแนวโน้ม อย่างไรก็ตาม เส้นค่าเฉลี่ยไม่ใช่เครื่องมือที่จะบอกล่วงหน้าว่าแนวโน้มกำลังจะเปลี่ยน รูปแบบของการใช้เส้นค่าเฉลี่ยที่เป็นที่นิยมคือการใช้เส้นค่าเฉลี่ย 2 เส้นเพื่อหาจุดซื้อ-ขาย ค่าที่นิยมใช้สำหรับค่าเฉลี่ยที่ใช้คู่กันคือ 5 วันและ10 วัน, 10 วันและ25วัน, 25 วันและ 50 วัน สัญญาณซื้อ-ขายเกิดขึ้นเมื่อเส้นที่มีค่าเฉลี่ยสั้นกว่าตัดกับเส้นที่ ยาวกว่า หรือ เมื่อราคาเคลื่อนผ่านเส้นค่าเฉลี่ย 25 วัน เนื่องจากเส้นค่าเฉลี่ยต่างๆเป็นดัชนีที่เคลื่อนไปตามแนวโน้ม การใช้เส้นค่าเฉลี่ยจึงเหมาะสำหรับตลาดที่ในช่วงที่มีแนวโน้มที่ชัดเจน

 

7. รู้ถึงจุดที่ตลาดกลับตัว

Oscillators (เครื่องมือที่มีตัวเลข ตั้งแต่ 0 ถึง 100) เป็นดัชนีที่ช่วยชี้บอกจุดที่มีการซื้อหรือขายมากเกินไป ในขณะที่เส้นค่าเฉลี่ยจะช่วยยืนยันว่าตลาดการเปลี่ยนแนวโน้ม Oscillators จะช่วยเตือนล่วงหน้าว่าตลาดเคลื่อนไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งมากเกินไป และทำให้เกิดการกลับตัว Oscillators ที่เป็นที่นิยม ได้แก่ Relative Strength Index (RSI) และ Stochastics ทั้งสองตัวนี้จัดเป็นเครื่องมือที่เรียกว่า Oscillators เพราะให้ค่าที่อยู่ในช่วง 0 ถึง 100 เมื่อ RSI มีค่าเกิน 70 จะแสดงถึงการซื้อที่มีมากเกินไป (Overbought) และ ต่ำกว่า 30 แสดงถึงการขายมากเกินไป (Oversold) ค่า Overbought และ Oversold สำหรับ Stochastics คือ 80 และ 20 นักลงทุนส่วนใหญ่ใช้ค่า 14 วันหรือสัปดาห์สำหรับการคำนวณ Stochastics และ 9 หรือ 14 วันหรือสัปดาห์สำหรับ RSI สัญญาณกลับตัวที่เกิดใน Oscillators จะเป็นสัญญาณเตือนว่าตลาดกำลังจะกลับตัว เครื่องมือเหล่านี้ใช้ได้ดีเมื่อตลาดอยู่ในช่วงที่เหมาะกับการเล่นเก็งกำไร และไม่แสดงแนวโน้มที่ชัดเจน สัญญาณในระดับสัปดาห์สามารถนำมาใช้ช่วยในการขจัดสัญญาณหลอกและยืนยันสัญญาณ ในระดับวัน และใช้สัญญาณระดับวันสำหรับยืนยันสัญญาณในรายนาที

 

8. มองเห็นสัญญาณเตือน

Moving Average Convergence Divergence (MACD) เป็นดัชนีวัด (พัฒนาโดย Gerald Appel) ที่รวมเอาระบบการตัดผ่านของเส้นค่าเฉลี่ยและการชี้จุด Overbought/Oversold ของ Oscillators ไว้ด้วยกัน สัญญาณซื้อจะเกิดเมื่อเส้นที่เร็วกว่าตัดขึ้นเหนือเส้นที่ช้ากว่า โดยที่ทั้ง 2 เส้นอยู่ต่ำกว่าศูนย์ สัญญาณขายเกิดเมื่อเส้นที่เร็วกว่าตัดลงต่ำกว่าเส้นที่ช้ากว่าที่เหนือศูนย์ สัญญาณในระดับสัปดาห์จะมีน้ำหนักและความสำคัญมากกว่าสัญญาณในระดับวัน MACD histogram ซึ่งมีลักษณะเป็นแท่ง แสดงถึงส่วนต่างระหว่าง MACD ทั้งสองเส้น สามารถส่งสัญญาณเตือนว่าจะมีการเปลี่ยนแนวโน้มได้เร็วกว่าอีกด้วย

 

9. เป็นแนวโน้มหรือไม่เป็นแนวโน้ม

Average Directional Index (ADX) เป็นดัชนีที่จะบอกว่าตลาดอยู่ในช่วงที่มีแนวโน้มหรือไม่ และเป็นตัวช่วยวัดว่าแนวโน้มนั้นอยู่ในระดับใด เส้น ADX ที่ชี้ขี้นแสดงถึงแนวโน้มที่มีความชัดเจนมาก ควรใช้เส้นค่าเฉลี่ยในการวิเคราะห์ หากเส้น ADX ปรับตัวต่ำลง แสดงถึงตลาดที่ไม่มีแนวโน้มและเหมาะสำหรับเก็งกำไรระยะสั้น ควรใช้ Oscillators ในการวิเคราะห์ การใช้ ADX ช่วยนักลงทุนในการวางแผนกลยุทธ์การลงทุนและในการเลือกเครื่องมือที่เหมาะสม กับสภาวะตลาด

 

10. รู้จักการดูสัญญาณเพื่อยืนยันแนวโน้ม

สัญญาณที่ ให้การยืนยันรวมถึงปริมาณการซื้อขายและจำนวนการซื้อขายที่มีการลงทุนจากผู้ ที่เข้ามาซื้อขายใหม่ (open interest) ทั้ง 2 ตัวนี้เป็นเครื่องมือสำคัญในการยืนยันแนวโน้มสำหรับตลาดล่วงหน้า ปริมาณการซื้อขายมักจะส่งสัญญาณกลับตัวก่อนที่ราคาจะกลับตัว สิ่งสำคัญคือจะต้องมั่นใจว่ามีปริมาณการซื้อขายอย่างหนาแน่นในทิศทางเดียว กับแนวโน้มปัจจุบัน ในแนวโน้มขาขึ้น ควรมีปริมาณการซื้อขายที่มากขึ้นเพื่อยืนยันว่าแนวโน้มนั้นยังแข็งแรงอยู่ ส่วน open interest ที่เพิ่มขึ้นนั้นจะช่วยยืนยันว่ามีเงินไหลเข้ามาต่อเนื่องและช่วยหนุนให้แนว โน้มปัจจุบันคงอยู่ หาก open interest ลดลง ย่อมเป็นสัญญาณเตือนว่าแนวโน้มนั้นใกล้สิ้นสุดลง ดังนั้นราคาที่มีแนวโน้มสูงขึ้นควรจะมีปริมาณซื้อขายและ open interest หนุนอยู่ด้ว

sushi:

 

Bollinger bands

 

สัญญาณ Bollinger bands จัดเป็นเครื่อง envelope ชนิดหนึ่ง ที่ถูกพัฒนาโดย John Bollinger โดยที่สัญญาณ envelope เป็นการลากเส้นที่อยู่เหนือและล่างเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ในรูปของ เปอร์เซ็นต์ (Percentage) ขณะที่ Bollinger bands จะลากอยู่ในรูปของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation)

Bollinger band เป็นเครื่องมือทางเทคนิคที่แสดงถึงภาวะตลาด ซึ่งทำหน้าที่เสมือนเป็นสัญญาณเคลื่อนที่ของราคาที่เคลื่อนไปรอบๆเส้นค่า เฉลี่ยเคลื่อนที่ โดยทั่วไปจะกำหนดช่วงเวลาของ Bollinger band เป็น 20 วัน สำหรับเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบ Simple และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) เท่ากับ 2 ไม่แนะนำให้ใช้ช่วงเวลาของเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่น้อยกว่า 10 วัน เนื่องจากจะทำให้ค่าที่ได้ไม่ดีพอ

ในบางครั้งอาจใช้เส้นค่าเฉลี่ย เคลื่อนที่ 21 วัน แบบ Exponential มาใช้แทน โดยคงค่าเบี่ยงเบนมาตราไว้ที่ 2 การอ่านผลของ Bollinger bands มีลักษณะดังนี้

1. ราคาจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หลังจากที่ช่วงกว้างของแบนด์แคบลง

2. เมื่อราคาทะลุผ่านออกนอกแบนด์ เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงแนวโน้มจะดำเนินต่อไป

3. การที่ราคาวิ่งออกไปนอกแบนด์แล้วกลับเข้ามา จะเป็นสัญญาณถึงการกลับตัว

4. สามารถนำการขึ้นลงของราคาหุ้นในช่องแบนด์ มาวิเคราะห์ราคาเป้าหมายได้

เส้น บนของ Bollinger bands เป็นเส้นที่แสดงถึงราคาได้ขึ้นมาสูงเกินราคาจริง (Over value) เป็นจุดขาย (Stop sell) ในทางตรงกันข้าม เมื่อราคาทะลุลงต่ำกว่าแบนด์เส้นล่าง จะเป็นสัญญาณว่าราคาต่ำกว่าราคาจริง (Under value) จะเป็นสัญญาณเข้าซื้อ (Stop buy)

การนำ Bollinger band มาใช้วิเคราะห์แนวโน้มของราคาหุ้น (Trend Following Indicator) ราคาหุ้นจะเป็นตลาดขาขึ้น หรืออยู่ในช่องแนวโน้มขาขึ้น ราคาหุ้นจะวิ่งอยู่ในระหว่างเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ กับแบนด์เส้นบน และราคาหุ้นเป็นขาลงเมื่อราคาเคลื่อนตัวอยู่ระหว่างเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ กับแบนด์เส้นล่าง

อย่างไรก็ดี หากต้องการนำ Bollinger bands มาวิเคราะห์อย่างหวังผล ควรนำรูปแบบของกราฟแท่งเทียนมาวิเคราะห์ร่วมด้วย ในกรณีที่ราคาหุ้นร้อนแรงเกินไป ราคาทะลุผ่านแบนด์เส้นบนขึ้นไป แล้วเกิดตามด้วยสัญญาณกลับตัวของกราฟแท่งเทียนในปลายตลาดขาขึ้น เช่น Shooting star จะเป็นสัญญาณเตือนถึงแนวโน้มการกลับตัวเป็นขาลงของราคาหุ้น อาจเกิดตามมา ใช้เป็นจุดขาย (Stop sell) และหากราคาหุ้นไม่สามารถยืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ได้ จะเป็นการตอกย้ำว่าราคาได้เปลี่ยนทิศทางจากขาขึ้นเป็นขาลง ถือเป็นจุดขายตัดขาดทุน (Stop loss)

ในทางกลับกัน เมื่อราคาหุ้นอยู่ต่ำกว่าแบนด์เส้นล่าง ซึ่งหมายถึงการขายมากเกิน หรือราคาต่ำกว่าราคาจริง เมื่อเกิดสัญญาณกลับตัวปลายตลาดขาลงของกราฟแท่งเทียน เช่น Morning star เป็นสัญญาณเตือนว่าตลาดขาลงใกล้สิ้นสุด ใช้เป็นจุดซื้อ (Stop buy) และเมื่อราคาหุ้นดีดตัววิ่งทะลุผ่านเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ขึ้นไปได้ พร้อมกับปริมาณการซื้อขายที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จะเป็นการตอกย้ำว่าราคาหุ้นได้เปลี่ยนเป็นขาขึ้น

เหตุการณ์ทั้งสองถ้าเกิดในช่วงที่แบนด์แกว่งตัวแคบๆ จะทำให้การปรับตัวขึ้น หรือปรับตัวลงรุนแรงตามมา

sushi:

 

หลักง่าย ๆ ของ Bollinger Band ก็คือ

 

 

1. ไม่ซื้อถ้าราคาเกาะเส้นขอบล่าง

2. ไม่ขายถ้าราคายังเกาะเส้นขอบบน

3. ขายถ้าราคาทิ้งตัวจากเส้นขอบบนผ่านเส้นกึ่งกลางลงมา

4. ซื้อเมื่อราคาดีดตัวจากเส้นขอบล่างผ่านเส้นกึ่งกลางขึ้นไป

5. ซื้อเมื่อราคาดีดตัวจากเส้นขอบล่างแล้วเส้นขอบบนล่างบีบตัวเข้ามาจนเล็กมากๆ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เทคนิคการวิเคราะห์ รูปแบบหัวไหล่ (Head and Shoulder Top)

 

 

เทคนิคการวิเคราะห์ รูปแบบหัวไหล่ (Head and Shoulder Top)

 

เป็นหนึ่งในรูปแบบที่น่าเชื่อถือที่สุดแบบหนึ่ง ประกอบด้วยยอดสามยอดคือ ยอดไหล่ซ้ายยอดหัว และยอดไหล่ขวา จากรูป เมื่อราคาตัดเส้น Support (BD) ที่เรียกว่าเส้น Neck Lineลงมา จะแสดงถึงการกลับทิศแนวโน้มของตลาดขาลง มักเกิดในช่วงตลาดสูงสุดของตลาด และยังสามารถกำหนดวิเคราะห์เป้าหมายราคาได้ คือราคาอาจจะลงไปได้เท่ากับระยะของเส้นที่ลากในแนวดิ่ง จากหัวไปพบเส้น Neck Line หรือกรณีที่สภาพการณ์ย่ำแย่มากๆเราสามารถวิเคราะห์ ราคามีโอกาสลงไปได้ถึงฐานก่อนขึ้นในช่วงแรกด้วยซ้ำ ดังรูป

 

 

 

head-shoulders-top.jpg

 

เทคนิคการวิเคราะห์ : เส้น Neck Line คือเส้นที่ลากจากจุดต่ำสุดสองจุดที่อยู่ระหว่างหัวและไหล่ทั้งสอง (BD) เส้นนี้ไม่จำเป็นต้องอยู่ในแนวราบ (horizontal) อาจเป็นเส้นที่มีความชัน (slope) ก็ได้ ที่สำคัญคือ จุดต่ำสุดของไหล่ขวา (จุด D) ควรต่ำกว่าจุดสูงสุดของไหล่ซ้าย (จุด A) และปริมาณการซื้อขายตอนขาขึ้นของไหล่ขวา (DE) จะน้อยกว่าปริมาณการซื้อขายตอนขาขึ้นของส่วนหัว (BC) อีกประการหนึ่ง ยอด C และ A ก็ควรผ่านสภาวะ OverBought และเกิดDivergence

 

เทคนิคการวิเคราะห์ รูปแบบหัวและไหล่กลับด้าน (Head and Shoulder Bottom)

 

เทคนิคการวิคราะห์ รูปแบบหัวและไหล่กลับด้าน (Head and shoulder bottom) จะมีรูปแบบตรงกันข้ามกับรูปแบบหัวและไหล่ และจะเกิดที่จุดต่ำสุดของตลาด เมื่อราคาสามาถฝ่าเส้นแนวต้าน (Resistance) ในที่นี้คือเส้น Neck Line ซึ่งแสดงถึงการกลับทิศหรือการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มของตลาดจากขาลงเป็นขาขึ้น และยังสามารถกำหนดราคาเป้าหมายได้ คือราคาอาจจะขึ้นไปได้เท่ากับระยะของเส้นที่ลากในแนวดิ่้งจากหัวไปพบเส้น Neck Line (AB = CD) หรือในกรณีที่สภาพการณ์ดีมากๆราคามีโอกาสขึ้นไปได้เป็น 2-3 เท่ากับของ AB ดังรูป

 

 

 

Barchart_H%26S_Bottom.png

 

 

เทคนิคการวิเคราะห์ : ที่สำคัญคือจุดสูงสุดของไหล่ขวา (จุด X) ควรสูงกว่าจุดต่ำสุดของไหล่ซ้าย (จุด Y) และปริมาณการซื้อขายตอนขาลงของไหล่ขวามักจะน้อยกว่าปริมาณการซื้อขายตอนขาลงของส่วนหัว และการฝ่า(breakout) เส้น Neck Line ขึ้นไป ต้องฝ่าด้วยปริมาณการซื้อขายที่มากกว่าช่วงก่อนหน้านี้ ถ้าปริมาณการซื้อขายไม่มากพออาจถือว่าเป็นสัญญษนหลอก (False signal) ได้ ซึ่งมักจะตามมาด้วยการทดสอบ New Low และจุด Bottom A และ Y ก็ควรผ่านสภาวะ OverSold และเกิด Divergence

http://marketiwa-thai.blogspot.com/2010/06/head-and-shoulder-top.html

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ข้อความ x.gif x.gif x.gif x.gif x.gif โดยคุณ FAH

1084145.jpg x.gif Head And Shoulders ...... เรื่อง หัวหัว ไหล่ไหล่......

 

2.gif

 

สวัสดีสมาชิกทุกท่าน

 

นานจะได้เข้ามานะครับ ปีนี้มีการเปลี่ยนแปลงของงานที่ทำอยู่ ก็เลยได้เข้ามาน้อยกว่าที่คิด แต่ก็จะมาสรุปให้เช่นเคยทุกสิ้นเดือน ถ้ายังไหวนะครับ

 

สืบเนื่องจากวันก่อน ได้อ่านและเห็นผ่านตา ที่ไหนจำไม่ได้แระ คือมีการคุยกันเรื่อง ตามหัวข้อกระทู้นี่แหละ แล้วก็พาลทำให้สงสัย พอมีเวลาก็เลย ลองค้น ลองถามกูเกิลดูมั่ง ปรากฏว่า หาไม่เจอ ตามที่เขาว่า.....

 

คือเขาใช้คำว่า Head and Multiple Shoulders ถ้าจำไม่ผิดนะ ผมก็เอาคำนี้แหละไปถามกูเกิล เพื่อจะหาว่า มีรูป H&S เหมือนกับที่เขาว่าหรือไม่ แต่ก็จนปัญญา หามีไม่

 

มีแต่เว็บที่เขาว่ากันด้วย H&S

 

http://www.investopedia.com/university/charts/charts2.asp#axzz1VgHu00Ym

 

ภาษาไทยก็น่าจะมีนะ ลองถามกูเกิลดูก็ละกันนะครับ

 

เรื่องของเรื่องก็คือ ไหล่ ..... หัว ...... ไหล่ เนี่ยนะ ตามหลักวิชาการเขาว่า หัวจะต้องสูงกว่าไหล่ทั้งสองข้าง แต่สิ่งที่ไปเห็นมาที่เขาเรียกว่า Head and Multiple Shoulders ไหล่ข้างนึงมันสูงกว่าหัว...... แบบเดียวกับที่เซ็ทเราเป็นตอนนี้

 

ก็เลยไม่รู้ว่า มันมีตำรา วิชาการเรื่องไหล่ที่สูงกว่าหัวหรือไม่นะ ใครทราบช่วยสงเคราะห์ละกัน เอาแบบที่อธิบายพร้อม Chart Pattern Head and Multiple Shoulders มาให้ดูเลยก็จะดี ถือเป็นการอ้างอิงไปในตัว

 

 

 

เลยโฆษณาหรือยังนี่........17.gif x.gif x.gif เขียนเมื่อ : 22 Aug 2011 00:36:46 icon_envelope.gif icon_ip.jpg 124.120.220.xxx x.gif

 

x.gif x.gif ความคิดเห็นที่ 1 x.gif เขียนเมื่อ : 22 Aug 2011 00:44:00 icon_envelope.gif icon_ip.jpg 124.120.220.xxx x.gif x.gif x.gif x.gif x.gif โดยคุณ FAH 1084145.jpg x.gif 2.gif

 

ขอย้อนไปเรื่อง หัวหัว ไหล่ไหล่ก่อน แล้ว ค่อยมาหาเรื่อง Head and Multiple Shoulders อีกทีนะ

 

ก่อนหน้านี้ " ทีมหลักหุ้น " (ขอเรียกเป็นทีมละกันนะ เพราะเขามืออาชีพ มีตัวตายตัวแทน หมุนเวียนสับเปลี่ยนกันมาให้ข่าวสารมิได้ขาด) มีเอาข่าวของ S&P500 เรื่อง Head and Shoulders นี่แหละ

 

ก็เลยจะเอามาให้ดูเป็นตัวอย่างก่อนนะ

 

ไอ้รูปที่เอามานี่นะ ฝรั่งมันทำไว้ตั้งแต่ 7/7/2011 แต่รูปมันย่อหดยังไงก็แล้วก็ยังไม่ต่ำกว่า 50K เลยต้องขอตัดส่วนมา แต่เดี๋ยวจะว่าข้อมูลไม่ครบ เลยเอาส่วนบนมาก่อนนะ กล่องต่อไปจะจะที่ตัดด้านข้างไปแล้ว และได้ต่ำกว่า 48K ก็จะลงรูปได้

 

อันนี้จะเห็นว่าเป็นกราฟที่เขาทำไว้ ตั้งแต่วันที่ 7/7/11

reply185223.gif x.gif x.gif x.gif

x.gif x.gif ความคิดเห็นที่ 2 x.gif เขียนเมื่อ : 22 Aug 2011 00:46:02 icon_envelope.gif icon_ip.jpg 124.120.220.xxx x.gif x.gif x.gif x.gif x.gif โดยคุณ FAH 1084145.jpg x.gif 2.gif

 

พอตัดด้านข้างออก มันก็ได้อย่างนี้

 

และเขาก็เขียนเตือนเตือนไว้แล้ว

reply185224.gif x.gif x.gif x.gif

x.gif x.gif ความคิดเห็นที่ 3 x.gif เขียนเมื่อ : 22 Aug 2011 00:48:37 icon_envelope.gif icon_ip.jpg 124.120.220.xxx x.gif x.gif x.gif x.gif x.gif โดยคุณ FAH 1084145.jpg x.gif 2.gif

 

แล้วพอกาลต่อมา S&P500 ก็มีอันเป็นฉะนี้

 

อันนี้ ผมไปเอาจาก Yahoo มาเติมเสริมต่ออีกทีนะครับ ก็จะเห็นว่า พอหลุดจากไหล่ขวาหลุด เส้นคอห อย เลือดก็กระฉูดเห็นเห็น 14.gif14.gif14.gif14.gif

reply185226.GIF x.gif x.gif x.gif

x.gif x.gif ความคิดเห็นที่ 4 x.gif เขียนเมื่อ : 22 Aug 2011 00:51:47 icon_envelope.gif icon_ip.jpg 124.120.220.xxx x.gif x.gif x.gif x.gif x.gif โดยคุณ FAH 1084145.jpg x.gif 2.gif

 

แต่จริงแล้ว มันสามารถไปเข้ากับรูปแบบที่เรียกว่า Head and Shoulders Tops Complex คืออาจจะมีหลายหัว หลายไหล่ก็ได้ ซึ่งเราก็มองเห็นได้แบบนี้

reply185228.GIF x.gif x.gif x.gif

x.gif x.gif ความคิดเห็นที่ 5 x.gif เขียนเมื่อ : 22 Aug 2011 00:55:04 icon_envelope.gif icon_ip.jpg 124.120.220.xxx x.gif x.gif x.gif x.gif x.gif โดยคุณ FAH 1084145.jpg x.gif 2.gif

 

อันนี้เป็นของดาวนะ ดูแล้วก็เอาไปขีดเองนะ ว่าตรงไหน เป็นอะไร ทำเป็นแบบฝึกหัดก็ละกัน ..... 17.gif

 

รูปแบบทางเดินของ chart ประมาณว่าพิมพ์เดียวกัน

reply185229.gif x.gif x.gif x.gif

x.gif x.gif ความคิดเห็นที่ 6 x.gif เขียนเมื่อ : 22 Aug 2011 00:58:24 icon_envelope.gif icon_ip.jpg 124.120.220.xxx x.gif x.gif x.gif x.gif x.gif โดยคุณ FAH 1084145.jpg x.gif 2.gif

 

ทีนี้มาถึง ไอ้ Head and Multiple Shoulders ที่เขาว่าไว้กับเซ็ทของเรา เขาบอกว่า ไหล่ขวามันสูงกว่าไหล่ ซ้ายแบบในรูปข้างล่าง ผมก็ไปหาข้อมูลแล้วมันไม่ หรือว่าเราหาไม่เจอ ก็มิทราบได้ .... หรืออาจจะเป็นทฤษฎีใหม่ ที่เขียนโดยนักวิเคราะห์ยุคนี้ก็เป็นได้นะ

 

นี่แหละเขาว่า Head and Multiple Shoulders

reply185230.GIF x.gif x.gif x.gif

x.gif x.gif ความคิดเห็นที่ 7 x.gif เขียนเมื่อ : 22 Aug 2011 01:02:35 icon_envelope.gif icon_ip.jpg 124.120.220.xxx x.gif x.gif x.gif x.gif x.gif โดยคุณ FAH 1084145.jpg x.gif 2.gif

 

เออแล้วต่อจาก Head and Multiple Shoulders หละ มันจะเป็นยังไงต่อ .... เหมือนว่ามันเป็น หมี ...แนวโน้มเป็นไปในทางไม่ค่อยจะดี คือถูกมองว่าเป็นขาลงว่าอย่างนั้น

 

แต่สิ่งที่ผมสังเกตุเห็น..... และเดาต่อไป..... โดยก็กลัวว่ามันจะเกิดขึ้น ก็คือแบบนี้มากกว่า....เสียวว่ะ

reply185231.GIF x.gif x.gif x.gif

x.gif x.gif ความคิดเห็นที่ 8 x.gif เขียนเมื่อ : 22 Aug 2011 01:05:21 icon_envelope.gif icon_ip.jpg 124.120.220.xxx x.gif x.gif x.gif x.gif x.gif โดยคุณ FAH 1084145.jpg x.gif 2.gif

 

หรือว่าที่เห็นเห็นกันอยู่เลยก็ต้องภาพนี้ ถ้าเป็นกราฟเส้นจะเห็นชัดกว่า (ถ้าดูจากกราฟ FSUM ที่ผมทำให้ครูบลู) ไหล่ ...หัว....ไหล่ รึเปล่าก็ไม่รู้.....17.gif17.gif17.gif เพียงแต่ว่าเส้นคอห อย มันเอียงกระเท่เร่

reply185232.GIF x.gif x.gif x.gif

x.gif x.gif ความคิดเห็นที่ 9 x.gif เขียนเมื่อ : 22 Aug 2011 01:09:50 icon_envelope.gif icon_ip.jpg 58.8.69.xxx x.gif x.gif x.gif x.gif x.gif โดยคุณ แมงเม่าเฝ้าดอย member_default.gif x.gif ขอบคุณครับ

ผมเดาว่า ความน่าจะเป็นน่าจะ กล่อง 7

17.gif17.gif17.gif17.gif17.gif17.gif17.gif

 

เดาเฉยๆครับ อิอิ x.gif x.gif x.gif

x.gif x.gif ความคิดเห็นที่ 9.1 x.gif เขียนเมื่อ : 22 Aug 2011 01:29:36 icon_envelope.gif icon_ip.jpg 124.120.220.xxx x.gif x.gif x.gif x.gif x.gif โดยคุณ FAH 1084145.jpg x.gif 2.gif

 

หวัดดีครับ

 

เดาตามสบายเลยครับ สุดแต่จิตปรารถนา 2.gif x.gif x.gif x.gif

x.gif x.gif ความคิดเห็นที่ 10 x.gif เขียนเมื่อ : 22 Aug 2011 01:14:35 icon_envelope.gif icon_ip.jpg 124.120.220.xxx x.gif x.gif x.gif x.gif x.gif โดยคุณ FAH 1084145.jpg x.gif 2.gif

 

จบเรื่อง หัว...ไหล่ ...ตู ด แต่เพียงเท่านี้ .... ก็เพ้อเจ้อไปเรื่อยเปื่อยนะครับ อย่าถือสาหาความนะคร้าบบบบ (พักนี้ บอร์ดเริ่มมีมาเฟีย เจ้ากี้ เจ้าการ ดุ ดุ ด่า ด่า ว่า ว่า บ่น บ่น จนคนชักจะหงอกันไปหมดแล้ว HA 17.gif)

 

มาดูกราฟที่ผมทำไว้ตอนที่เซ้ทไปไฮที่ พันร้อยเศษๆนะ ตอนนั้นทำ Fibo จุดสูงที่ พันร้อยเศษๆ มาถึง เก้าร้อยต้นๆ จะเห็นว่า ซัพพอร์ตหรือแนวรับที่ 1004 ที่ 61.8%ของFibo ทำงานได้เป็นอย่างดีทีเดียว เลยทำให้คิดว่า หากเซ็ทจะซวนเซ เพราะเรื่องเมกา - ยุโรป จุดนี้น่าจะเป็นจุดที่เก็บไว้พิจารณาอีกหนึ่งจุดนะครับ

reply185235.gif x.gif x.gif x.gif

x.gif x.gif ความคิดเห็นที่ 11 x.gif เขียนเมื่อ : 22 Aug 2011 01:25:30 icon_envelope.gif icon_ip.jpg 124.120.220.xxx x.gif x.gif x.gif x.gif x.gif โดยคุณ FAH 1084145.jpg x.gif 2.gif

 

แต่ถ้าเราขยับจุดแรก ของFibo ขึ้นไปด้านบนอีกหน่อย เพราะ หลังจากนั้น เซ็ทขึ้นไปทำ สูงใหม่ (New high)(ภาษาไทยจะวิบัติมั๊ยเนี่ยะ ... สูงใหม่) ที่ เกือบเกือบพันร้อยห้าสิบ เราก็จะได้เส้นซัพพอร์ต เส้นล่างที่ขยับตามขึ้นไปใหม่ที่ 1016...1041....1066 หรือเวลาที่เขาเขียนเอาแบบเลขเต็มหลัก ก็จะเขียนว่า แนวรับที่ 1060....1040....1010 อะรายยยยประมาณนี้นะ เก๊าะเก็บไปพิจารณาประกอบนะครับ วันก่อนที่ได้เข้าไปซื้อก็อีตรง 1040 นั้นแหละครับ 17.gif และก็ปล่อยไปหมดแล้ว ...รอเก็บอยู่นะเนี่ยะ ........ เห็นเส้นเทรน์ไลน์ขาขึ้นระยะสั้นมั๊ยครับ ยังเหนียวอยู่นะครับ .... หลุดเส้นนี้ละก็ ได้เสียวแน่ครับ 17.gif17.gif17.gif

 

เซ็ทมีความเสียว โปรดระมัดระวังในการเล่น เด็ก สตรีมีครรภ์ และผู้สูงอายุ(แก่มาก) ไม่ควรเล่น (โดยเฉพาะช่วงนี้) HA 17.gif

reply185236.gif x.gif x.gif x.gif

x.gif x.gif ความคิดเห็นที่ 12 x.gif เขียนเมื่อ : 22 Aug 2011 01:37:43 icon_envelope.gif icon_ip.jpg 124.120.220.xxx x.gif x.gif x.gif x.gif x.gif โดยคุณ FAH 1084145.jpg x.gif 2.gif

 

ส่วนกราฟนี้ก็ทำไว้ตั้งแต่วันที่ 9/8 ....วันที่ได้เข้าเก็บหุ้นนั้นแหละ ก็ทำไว้ดูว่า แนวรับมันมีเลขอะไรได้บ้าง เส้นEMA200 นั้นจะอยู่ที่ 1024 นะครับ นอกนั้นก็เรียงตามเส้นไล่ลำดับไป ... ผมก็รอพิสูจน์อยู่เหมือนกันครับ

reply185238.gif x.gif x.gif x.gif

x.gif x.gif ความคิดเห็นที่ 13 x.gif เขียนเมื่อ : 22 Aug 2011 01:43:07 icon_envelope.gif icon_ip.jpg 124.120.220.xxx x.gif x.gif x.gif x.gif x.gif โดยคุณ FAH 1084145.jpg x.gif 2.gif

 

ส่วนไอเรื่องที่ พอหลังจากเมกาเขารับรู้ปัญหาเพิ่มเพดานหนี้อะไรนั่นแล้ว ดัชนีก็พากันร่วงนั้น ไม่รู้ท่านๆจะพอจำที่ผมได้นำให้อ่านไว้บ้างหรือไม่ แต่ผมหน่ะจำได้แน่และก็ เล่นปลอดภัยไว้ก่อนเลยแหละ เวลานั้น ยังไม่มีเค้าลางอะไรเลย.... H&S ก็ยังไม่มา ข่าวจากทีมฯ ก็ยังบอกว่า S&P รับที่ 1250 น่าจะแข็งแกร่ง ... สุดท้ายความไม่แน่นอนก็เกิดขึ้นได้ ..... คงได้เป็นบทเรียนอีกบทสำหรับนักลงทุนนะครับ

 

http://www.settrade.com/actions/customization/IPO/webboard/pre_board.jsp?content=qa.jsp&tid=28527&page=1

 

โดยเฉพาะ กล่อง 4 วรรค 4 ......... ไม่น่าเชื่อเน๊าะ

reply185240.gif

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

tock2morrow

ข่าว Hot วันศุกร์

 

SET ยังคึก แต่มีแรงขายท้ายตลาด

 

http://www.stock2morrow.com/showthread.php?t=39671&p=291507#post291507

 

429152_506065226104258_1674517716_n.png

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

InvestmentTalk – ปรับพอร์ตรับปีงู 2556

3 JANUARY 2013 378 VIEWS NO COMMENT

WRITTEN BY: FUNDTALK

 

 

ปีมังกรที่ผ่านมาสำหรับนักลงทุนน่าจะเป็นที่สมหวังของนักลงทุนหลาย ๆ ท่าน โดยดัชนีตลาดหุ้นไทยได้ปรับเพิ่มขึ้นสูงถึงประมาณ 35% ซึ่งถือว่าเป็นอัตราผลตอบแทนที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่ว ๆ ไปของตลาดหุ้น ขณะที่ราคาทองคำปรับเพิ่มขึ้นมาเกือบ ๆ 10% และอัตราดอกเบี้ยนโยบายของแบงค์ชาติได้ปรับลดลงมา 2 ครั้ง ๆ ละ 0.25% ในช่วงต้นปีกับปลายปีมาอยู่ที่ 2.75%

snake_year2.jpg

 

 

 

 

 

 

Yield Play

สังเกตได้ว่าในปี 2555 ที่ผ่านมาแม้เศรษฐกิจโลกจะมีปัญหาหนี้สาธารณะของยุโรปคอยรุมเร้าอยู่ตลอดเวลา แต่ในภาวะที่สภาพคล่องในระบบมีสูงมากจากการอัดฉีดโดยธนาคารกลางทั่วโลกโดยเฉพาะอเมริกา และยุโรป ประกอบกับภาวะดอกเบี้ยต่ำทั่วโลก โดยทั้งอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น ต่างคงดอกเบี้ยนโยบายในระดับใกล้ศูนย์ ทำให้สภาพคล่องที่อัดฉีดเข้ามาไหลไปหาการลงทุนที่มีดอกเบี้ย หรือเงินปันผลสูง (Yield Play) เช่น ตราสารหนี้ภาคเอกชน กองทุนอสังหาฯ หุ้นปันผล ซึ่งผมมองว่าแนวโน้มที่เห็นในปีนี้จะยังคงมีต่อไปในปีหน้า

Tail Risk

แม้ปัญหาในยุโรปจะได้รับการแก้ไขไปพอสมควร แต่ปัญหาเชิงโครงสร้างยังคงมีอยู่ คือระดับหนี้สินที่มีอยู่สูง ขณะที่ความสามารถในการสร้างรายได้ของประเทศอยู่ในระดับต่ำ รวมถึงการว่างงาน และ NPL ในระบบที่มีมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งการที่ทางกลุ่มสหภาพยุโรป และธนาคารกลางยุโรปได้เข้ามาแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่องทำให้โอกาสที่จะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่มีน้อยลง แต่ไม่ใช่ไม่มีเลย ความเสี่ยงดังกล่าวเรียกอีกอย่างว่า Tail Risk หรือความเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดขึ้นน้อยแต่หากเกิดขึ้นจะมีผลกระทบรุนแรง การจะจัดพอร์ตการลงทุนในสถานการณ์แบบนี้ นักลงทุนยังควรมีสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงพอสมควร แต่ควรจะกระจายการลงทุนในหลายชนิดสินทรัพย์ เพราะหากเน้นไปที่หุ้นอย่างเดียว หากเกิด Tail Risk ขึ้นจะทำให้เกิดผลขาดทุนอย่างมาก

ตัวอย่างคำแนะนำจัดพอร์ตเสี่ยงปานกลาง

สำหรับพอร์ตที่มีระดับความเสี่ยงปานกลาง ผมแนะนำให้ลงทุนแบบ Balance คือลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงต่ำ 50% และสินทรัพย์เสี่ยงสูง 50% โดยมีรายละเอียด ดังนี้

- สินทรัพย์เสี่ยงต่ำประกอบไปด้วยตราสารหนี้ระยะกลาง 40% และตราสารหนี้ตลาดเงินระยะสั้น 10%

- สินทรัพย์เสี่ยงสูงประกอบด้วยหุ้นปันผล 30% กองทุนอสังหาฯ 10% และทองคำ 10%

ในส่วนของสินทรัพย์เสี่ยงต่ำผมแนะนำให้เน้นการลงทุนในตราสารหนี้อายุปานกลาง 2 – 3 ปี เนื่องจากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของไทย ที่มีโอกาสปรับลดลงได้ในปี 2556 จะเป็นประโยชน์ต่อตราสารหนี้อายุปานกลางหากนักลงทุนสามารถลงทุนได้ในระดับดอกเบี้ยที่สูงก่อนที่ดอกเบี้ยจะมีการปรับลดลง ส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นแนะนำให้ลงทุนเพื่อเป็นสภาพคล่องเท่าที่จำเป็นเท่านั้นเพราะผลตอบแทนจะทยอยลดลงเรื่อย ๆ ตามทิศทางอัตราดอกเบี้ย

ในปี 2556 ผมมองว่าตลาดหุ้นไทยจะให้ผลตอบแทนรวมต่ำกว่าปี 2555 เนื่องจากที่ดัชนี SET ปัจจุบันต้องยอมรับว่ามีระดับ P/E ที่ค่อนข้างเต็มมูลค่า อย่างไรก็ตามทิศทางแนวโน้มกำไรของบริษัทจดทะเบียนที่เติบโตต่อเนื่อง น่าจะส่งผลให้หุ้นไทยให้ผลตอบแทนที่เป็นบวกซึ่งผมคาดการณ์ที่ระดับ 10 – 15% และอาจมีความผันผวนที่มากขึ้นหากปัญหายุโรปทวีความรุนแรงขึ้น (Tail Risk) ดังนั้นกลยุทธ์ที่เหมาะสมในส่วนของสินทรัพย์เสี่ยงสูคือการกระจายการลงทุนไปยังกองทุนอสังหาฯ ที่มีอัตราเงินปันผลค่อนข้างสูง และได้รับประโยชน์จากกระแสเงินในระบบโลกที่กำลังมองหาอัตราเงินปันผลที่สูง (Yield Play) นอกจากนี้การลงทุนในทองคำก็เป็นอีกสินทรัพย์หนึ่งที่น่าสนใจในปี 2556 เนื่องจากในภาวะที่มีการเพิ่มปริมาณเงินดอลลาร์อย่างมากผ่านมาตรการ QE จะทำให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่นในเงินดอลลาร์และโยกเงินไปลงทุนในทองคำมากขึ้น

ทั้งหมดก็เป็นแนวทางการจัดพอร์ตสำหรับปีมะโรง 2556 ที่กำลังจะมาถึง ผมขอใช้โอกาสนี้กล่าวสวัสดีปีใหม่กับท่านผู้อ่านทุกท่าน และขอให้ทุกท่านสมหวังกับการลงทุนในปี 2556 นี้ครับ

เจษฎา สุขทิศ – @FundTalk

pix.gif คุณเจษฎา สุขทิศ, CFA นามทวิตเตอร์ @FundTalk ปฏิบัติหน้าที่เป็นประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน หรือ “CIO” ที บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล จำกัด รับผิดชอบในการกำหนดนโยบาย และกลยุทธ์การลงทุน รวมถึงการบริหารทีมผู้จัดการกองทุน, ทีมวิจัย, และทีมค้าหลักทรัพย์ สำหรับการลงทุนในหุ้น, ตราสารหนี้, อนุพันธ์ และการลงทุนในต่างประเทศ คุณ เจษฎา ได้เริ่มงานในสายการลงทุนกับ บลจ. ยูโอบี จำกัด โดยรับผิดชอบการลงทุนของกองทุนตราสารหนี้ และตราสารทุน และในปี 2548 คุณ เจษฎา ได้เข้าร่วมงานกับ บลจ. อยุธยา เจเอฟ (AJF) ซึ่งขณะนั้นเป็นบริษัทในเครือของ JPMorgan Asset Management ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อและโครงสร้างผู้ถือหุ้นเป็น บลจ. กรุงศรี จำกัด ในปัจจุบัน โดยมีประสบการณ์ในหลายสายงาน ได้แก่ การลงทุนในหุ้น, ตราสารหนี้, การพัฒนาผลิตภัณฑ์กองทุน และการใช้อนุพันธ์ชนิดต่าง ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการลงทุน ก่อนที่จะมาร่วมงานกับ ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล คุณเจษฎา ได้มีโอกาสร่วมงานกับ บลจ. ไทยพาณิชย์ จำกัด ในตำแหน่งผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายการลงทุนตราสารหนี้และบริหารเงิน รับผิดชอบหน่วยงานด้านการลงทุนตราสารหนี้ระยะยาวประเภท Active โดยดูแลทีมผู้จัดการกองทุนในการบริหารสินทรัพย์ประมาณ 1 แสนล้านบาท คุณเจษฎา จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาเศรษฐศาสตร์ ม. ธรรมศาสตร์ และปริญญาโท สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจและการจัดการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยนอกจากการรับหน้าที่ CIO ที่ ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิลแล้วคุณเจษฎา ยังรับหน้าที่เป็นวิทยากรให้กับมหาวิทยาลัย และหน่วยงานต่าง ๆ ในตลาดทุน และการให้ความรู้เรื่องการลงทุนผ่านการเขียนบทความ /บล็อก ในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน, settrade.com, FundManagerTalk.com และรายการ Stock Focus ทางโทรทัศน์ช่อง NBT Read more from this author

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

fundmanagertalk-logo.png

 

InvestmentTalk – ลงทุนหุ้นด้วย “ปรัชญา 3 ห่วง”

4 AUGUST 2012 1,965 VIEWS 3 COMMENTS

WRITTEN BY: FUNDTALK

 

 

ว่าด้วยเรื่องสไตล์การลงทุนหุ้น ปัจจุบันมีหลากหลายแนวทางด้วยกัน ทั้งแนวทางแบบ Top Down ที่เน้นการปรับพอร์ตด้วยการมองปัจจัยมหภาค หรือดูระดับอุตสาหกรรม หรือแนวทางแบบ Bottom Up ที่เน้นการวิเคราะห์เลือกเป็นรายบริษัทเป็นหลัก นอกจากนี้ที่เห็นได้เยอะก็ยังมีแนวทางแบบ Technical Analysis ที่เน้นการดู Chart ที่มีเครื่องมือต่าง ๆ มากมาย เช่น MACD, RSI, MA ฯลฯ วันนี้ผมจะมาเล่าให้ฟังถึงปรัชญาการลงทุนหุ้นแบบ Bottom Up ของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนซีไอเอ็มบี พรินซิเพิลที่ผู้เขียนทำงานอยู่ครับ หลังจากที่ผู้เขียนได้ทำงานอยู่กับแนวทางนี้มาประมาณ 1 ปี คิดว่าเป็นอีกหนึ่งแนวคิดที่น่าสนใจ และใช้ได้จริง

ที่ CIMB-Principal การลงทุนในหุ้นจะเน้นที่แนวทางแบบ Bottom-up เป็นหลัก คือการวิเคราะห์เจาะลึกเป็นรายบริษัท ขั้นตอนการทำงานก็เป็นไปอย่างง่าย ๆ ดังนี้

  • Pre-Visit ก่อนจะไปพบปะเยี่ยมเยียนกิจการ นักวิเคราะห์ (Analyst) ซึ่งบ่อยครั้งผู้จัดการกองทุน (Fund Manager) ก็ต้องรับบทบาทนักวิเคราะห์เอง จะต้องทำการศึกษาบริษัทที่จะไปก่อน ตั้งแต่ตัวธุรกิจ ขั้นตอนการทำงาน กลยุทธ์ โครงสร้างงบการเงิน ผู้ถือหุ้น ผู้บริหาร บอร์ด และนำข้อมูลมาหารือร่วมกับทีมงานเพื่อค้นหาว่าบริษัทที่กำลังศึกษามีจุดเป็น จุดตายอยู่ที่ไหน และร่วมกันคิดคำถามว่าเราจะตั้งคำถามอะไรกับผู้บริหารของบริษัทที่กำลังจะไปเจอ โดยคำตอบของคำถามนั้นจะต้องเข้ามาเติมเต็มการวิเคราะห์ และนำไปสู่การตัดสินใจลงทุนในที่สุด
  • Company Visit เป็นขั้นตอนที่ผู้เขียนชอบที่สุด มีเพียงไม่กี่อาชีพในโลกเท่านั้นที่จะทำให้เราได้พบกับผู้บริหารสูงสุดของบริษัทระดับประเทศ ในหลาย ๆ อุตสาหกรรม ได้ฟังประสบการณ์ วิธีคิด ดี ๆ จากนักธุรกิจระดับต้น ๆ ของประเทศ บ่อยครั้งที่การ Company Visit บริษัทหนึ่ง จะได้ข้อมูลสำคัญของอีกบริษัทที่อาจเป็นคู่ค้า หรือคู่แข่งของบริษัทที่เราไปเยี่ยมชม สำคัญคือการตั้งคำถามกับผู้บริหาร เราต้องถามคำถามที่ไม่ได้เป็นการละลาบละล้วงเกินไป แต่เป็นคำถามสำคัญที่ช่วยเติมเต็มข้อมูลที่เรามี บางทีหนึ่งบริษัทต้องไปเยี่ยมชมหลายครั้งถึงจะได้คำตอบที่ต้องการ
  • Post-Visit คือการนำข้อมูลตั้งหมดมาปะติดปะต่อกัน ซึ่งที่ขั้นตอนนี้เองที่ “ปรัชญา 3 ห่วง” จะได้นำมาใช้ในการวิเคราะห์ นั่นคือการค้นหาหุ้นของบริษัทที่มี 3 ลักษณะสำคัญ ดังนี

3.1 Fundamental Change หรือ ปัจจัยพื้นฐานที่มีแนวโน้มดีขึ้น โดยเฉพาะกำไรของบริษัทที่มีแนวโน้มเติบโต ในที่นี้ผู้เขียนมักมองหาระดับการเติบโตของกำไรประมาณ 15 – 20% ขึ้นไปใน 1 – 3 ปีข้างหน้า สำคัญอีกอย่างคือ Earning Visibility นั่นคือความชัวร์ของการเติบโตของกำไร ยิ่งมั่นใจได้มากเท่าไหร่ยิ่งดี กระแสเงินสดของบริษัทก็มีความสำคัญ โดยเฉพาะความเพียงพอของกระแสเงินสดที่จะนำไปลงทุนต่อในอนาคต และยังเหลือพอไว้สำหรับปันผลให้ผู้ถือหุ้น นอกจากนี้การทำความเข้าใจในปัจจัยทางคุณภาพเช่น กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ ธรรมาภิบาล ก็สำคัญเช่นกัน

3.2 Valuations เมื่อเจอบริษัทที่พื้นฐานดีแล้ว สิ่งถัดไปก็คือ Valuations ว่าหุ้นถูกหรือแพง ว่าด้วยเรื่องการประเมินมูลค่านั้นมีมากมาย เช่น Free Cash Flow, Enterprise Value, Relative Value เป็นต้น ส่วนตัวผู้เขียนชอบใช้เครื่องมือง่าย ๆ อย่าง P/E และ PEG พยามยามหาหุ้นที่พื้นฐานดี และ PEG ต่ำ ๆ สำหรับผู้เขียนมองว่าต่ำกว่า 0.75 ก็เริ่มถือว่าใช้ได้ มีอีกมุมหนึ่งที่สำคัญคือ หุ้นโตเร็ว มีโอกาสทำกำไรได้มากว่าหุ้นโตช้า ลองดูตัวอย่างนี้ครับ

หุ้น ABC กำไรโตปีละ 20% P/E 20 เท่า EPS ปัจจุบัน 1 บาท ราคาหุ้นปัจจุบัน 20 บาท

หุ้น DEF กำไรโตปีละ 10% P/E 10 เท่า EPS ปัจจุบัน 1 บาท ราคาหุ้นปัจจุบัน 10 บาท

ผ่านไป 1 ปี สมมติว่าตลาดให้ค่า PEG 1 เท่าเช่นเดิม และแนวโน้มการเติบโตทั้งสองบริษัทยังเป็นเช่นเดิม

หุ้น ABC มี EPS 1.2 บาท คูณ P/E 20 เท่าจะมีราคา 24 บาท หรือกำไร 20%

หุ้น DEF มี EPS 1.1 บาท คูณ P/E 10 เท่าจะมีราคา 11 บาท หรือกไร 10%

ผู้เขียนจึงชอบมองหาหุ้นโตเร็ว แต่ต้องโตเร็วอย่างแข็งแกร่งด้วย คือมี Earning Visibility เพราะหุ้นโตนั้น High Risk / High Return ตลาดมีความคาดหวังการเติบโตสูงจึงให้ค่า P/E สูง เวลากำไรออกมาผิดหวังหุ้นกลุ่มนี้ก็จะลงแรงเช่นกัน ดังนั้นหากคิดจะเล่นหุ้นโตเร็ว การทำการบ้านสำคัญมาก ยิ่งรู้มากกว่า ยิ่งได้เปรียบครับ

3.3 Expectations วงกลมห่วงสุดท้าย ที่ต้องมองหาคือ บริษัทที่ยังไม่ถูกค้นพบ “Undiscovered Company” บางกรณีเราเจอบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม เมื่อบริษัทนั้นผลประกอบการออกมาดีอย่างที่คาด ตลาดก็จะเริ่มมาสนใจ บางครั้งนักวิเคราะห์ของ Broker ต่าง ๆ ก็จะเริ่มเข้ามาออกบทวิเคราะห์ เมื่อบริษัทถูกค้นพบโดยตลาด ก็จะทำให้ราคาหุ้นถูก Unlock ปรับตัวขึ้นไปตามพื้นฐาน อีกกรณีหนึ่งที่ต้องมองหาคือ การเติบโตที่ถูกมองข้าม (Unperceived Growth) คือบริษัทที่นักวิเคราะห์มองว่าโตช้า แต่จากการทำการบ้านเราพบว่ากำลังจะมี Fundamental Change และกลายเป็นหุ้นโตเร็ว การเข้าลงทุนในหุ้นลักษณะนี้มีโอกาสที่ดีที่หุ้นจะถูก Re-Rate Valuation ไปซื้อขายที่ Valuations แพงขึ้น เนื่องจากเมื่อกำไรออกมาโตกว่าที่ตลาดคาด นักวิเคราะห์ก็จะปรับประมาณกำไรเพิ่ม ปรับราคาเป้าหมายเพิ่ม ซึ่งเป็นตัวเร่งอย่างดีที่จะทำให้ราคาหุ้นปรับตัว

CPAM_Equity_Style1.jpg

ทั้งหมดก็เป็นแนวทางการลงทุนแบบ Bottom Up ตามสไตล์ของบริษัทที่ผู้เขียนทำงานอยู่ครับ การเลือกหุ้นแต่ละตัวเข้ามาไว้ในพอร์ต ถ้าเจอตัวที่มีครบทั้ง 3 ห่วง คือพื้นฐานกำลังเปลี่ยนแปลงเติบโตดีขึ้น Valuation ไม่แพง และตลาดยังไม่รับรู้ ก็จะเป็นหุ้นที่กองทุนเข้าลงทุน แต่ก็ต้องยอมรับครับว่าไม่ง่ายที่จะเจอ “หุ้น 3 ห่วง” ได้บ่อย ๆ เหมือนกัน ผู้เขียนหวังว่าแนวคิดข้างต้นจะเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนนักลงทุนที่เป็นแนวปัจจัยพื้นฐาน (Fundamentalist) นะครับ

ติดตาม FundManagerTalk.com ได้แล้ววันนี้ บนหลากหลายช่องทาง

Website: www.fundmanagertalk.com

Facebook: www.facebook.com/fundmanagertalk

Twitter: www.twitter.com/FundTalk

Google+: http://ow.ly/cJtsF

Youtube: www.youtube.com/fundmanagertalk

pix.gif คุณเจษฎา สุขทิศ, CFA นามทวิตเตอร์ @FundTalk ปฏิบัติหน้าที่เป็นประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน หรือ “CIO” ที บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล จำกัด รับผิดชอบในการกำหนดนโยบาย และกลยุทธ์การลงทุน รวมถึงการบริหารทีมผู้จัดการกองทุน, ทีมวิจัย, และทีมค้าหลักทรัพย์ สำหรับการลงทุนในหุ้น, ตราสารหนี้, อนุพันธ์ และการลงทุนในต่างประเทศ คุณ เจษฎา ได้เริ่มงานในสายการลงทุนกับ บลจ. ยูโอบี จำกัด โดยรับผิดชอบการลงทุนของกองทุนตราสารหนี้ และตราสารทุน และในปี 2548 คุณ เจษฎา ได้เข้าร่วมงานกับ บลจ. อยุธยา เจเอฟ (AJF) ซึ่งขณะนั้นเป็นบริษัทในเครือของ JPMorgan Asset Management ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อและโครงสร้างผู้ถือหุ้นเป็น บลจ. กรุงศรี จำกัด ในปัจจุบัน โดยมีประสบการณ์ในหลายสายงาน ได้แก่ การลงทุนในหุ้น, ตราสารหนี้, การพัฒนาผลิตภัณฑ์กองทุน และการใช้อนุพันธ์ชนิดต่าง ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการลงทุน ก่อนที่จะมาร่วมงานกับ ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล คุณเจษฎา ได้มีโอกาสร่วมงานกับ บลจ. ไทยพาณิชย์ จำกัด ในตำแหน่งผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายการลงทุนตราสารหนี้และบริหารเงิน รับผิดชอบหน่วยงานด้านการลงทุนตราสารหนี้ระยะยาวประเภท Active โดยดูแลทีมผู้จัดการกองทุนในการบริหารสินทรัพย์ประมาณ 1 แสนล้านบาท คุณเจษฎา จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาเศรษฐศาสตร์ ม. ธรรมศาสตร์ และปริญญาโท สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจและการจัดการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยนอกจากการรับหน้าที่ CIO ที่ ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิลแล้วคุณเจษฎา ยังรับหน้าที่เป็นวิทยากรให้กับมหาวิทยาลัย และหน่วยงานต่าง ๆ ในตลาดทุน และการให้ความรู้เรื่องการลงทุนผ่านการเขียนบทความ /บล็อก ในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน, settrade.com, FundManagerTalk.com และรายการ Stock Focus ทางโทรทัศน์ช่อง NBT Read more from this author

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

FundTalk – กฏ 7 ทอง เพื่อการเลือกลงทุนในกองทุนรวม

27 MAY 2012 7,594 VIEWS NO COMMENT

WRITTEN BY: MR.MESSENGER

 

 

gold_seven_210x170.jpgกฏ 7 ทอง การเลือกกองทุนรวมเพื่อการลงทุน

(1) ตั้งเป้าหมายการลงทุนในระยะยาว – หลังจากที่เรามีเป้าหมายการลงทุนที่แน่นอน และรู้แล้วว่าตัวเองรับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน และเราก็ได้เลือกผสมระหว่างกองทุนที่มี Active Management Style และ Passive Management Style คราวนี้เราก็ควรนั่งพักผ่อนได้แล้วล่ะครับ ปล่อยให้ผู้จัดการกองทุนทำงานส่วนที่ยากๆต่อไป เพื่อหาผลตอบแทนให้แก่เรา และประเด็นสำคัญก็คือ เราควรจะลงทุนในกองทุนรวมโดยมีเป้าหมายเพื่อหวังผลในระยะยาว เหมือนกับประโยคที่ว่า กรุงโรมไม่ได้สร้างเสร็จภายในวันเดียว จะลงทุนในกองทุนรวม ผลตอบแทนมันก็คงไม่ได้วิ่งมาแค่ภายในวันสองวันเช่นกัน

(2) มองหาผลตอบแทนที่สม่ำเสมอ – เราควรดูผลตอบแทนของกองทุนย้อนหลัง อย่างน้อยก็ 3 ปี 1 ปี และเปรียบเทียบกับกองทุนอื่นๆที่มีนโยบายการลงทุนเหมือนๆกัน และมีเป้าหมายการลงทุนที่เหมือนกัน และที่สำคัญต้องเป็นกองทุนประภาทเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น เปรียบเทียบกองทุนหุ้นกับกองทุนหุ้น เปรียบเทียบกองทุนผสมกับกองทุนผสม ไม่ใช่เปรียบเทียบส้ม กับ องุ่น แล้วบอกว่า องุ่นลูกเล็กกว่า แบบนี้ ก็ไม่ต้องมาคุยกันเลย ถูกไหมครับ เพราะผลไม้ 2 ชนิด ต่างก็เกิดมาจากต้นไม้คนละต้น กองทุนที่มีนโยบายการลงทุนแตกต่างกัน จะให้มันเหมือนกันได้อย่างไร

*ข้อควรระวัง ผลตอบแทนในอดีตไม่ได้เป็นเครื่องยืนยันผลตอบแทนในอนาคตเสมอไปนะ

(3) อย่าถือกองทุนหลายกองมากเกินไป – Morningstar Mutual Funds ในสหรัฐฯ ได้มีการศึกษาและพบว่า การถือหน่วยลงทุนของกองทุนมากกว่า 4 กองขึ้นไป ไม่ได้ช่วยลดความเสี่ยงในการลงทุนแต่อย่างใด อาจจะยิ่งทำให้เราไม่มีเวลาติดตามผลงาน และเพิ่มความเสี่ยงขึ้นไปด้วยซ้ำ ถึงแม้ในกรณีกองทุนรวมบ้านเราจะไม่มีการศึกษาในเรื่องนี้ แต่ก็มีแนวโน้มไม่น่าแตกต่างไปจากสหรัฐฯเท่าไหร่นะครับ ทั้งนี้ การซื้อกองทุนดีๆซัก 2-3 กอง หรือซื้อกองทุน Index Fund ผสมกับกองทุนตราสารหนี้ เอาไว้พักเงินหลบในช่วงตลาดผันผวนบ้าง จัดพอร์ตแบบนี้ น่าจะช่วยกระจายความเสี่ยงได้มากกว่านะ

(4) ตรวจสอบอายุของตราสาร (Duration) ด้วยความระมัดระวัง – หลายปีที่ผ่านมากองทุนตราสารหนี้ระยะยาวมีประวัติทำผลตอบแทนได้สูง แต่นี่ก็ไม่ใช่สิ่งที่แน่นอนเสมอไปนะครับ โดยเฉพาะเมื่ออัตราดอกเบี้ยลดลงมาต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อ ณ ตอนนี้ ความเป็นจริงก็คือ ตราสารหนี้ที่มีอายุคงเหลือยาวๆ จะมีความผันผวน (ก็คือความเสี่ยงนั้นเอง) ทางด้านราคาสูงมาก ยกตัวอย่างเช่น หากอัตราดอกเบี้ยในตลาดเพิ่มขึ้นแค่ 1% กองทุนประเภทตราสารหนี้ระยะยาว อาจโดนผลกระทบอย่างหนัก ทำให้ผลตอบแทนลดลงเหลือ 10% ก็มีให้เห็นมาแล้วในหลายช่วงของวัฏจักรเศรษฐกิจ แต่ในทางกลับกัน หากอัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลงซัก 1% กองทุนประเภทตราสารหนี้ระยะยาว อาจเหมือนถูกหวย ทำให้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 10% ก็เป็นไปได้ครับ ถ้าใครรับความเสี่ยงของตราสารหนี้ระยะยาวไม่ไหว แนะนำให้ลงทุนกับกองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้นๆแทนนะครับ

(5) ต้องระวังเรื่องขนาดของสินทรัพย์ - การลงทุนในกองทุนรวม ขนาดสินทรัพย์เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณา เพราะมีผลกระทบต่อการดำเนินงานของกองทุนโดยตรง แต่การจะฟันธงว่าจำนวนเท่าใดถือเป็นกองทุนที่มีขนาดเล็กหรือใหญ่เกินไปนั้น เป็นเรื่องที่ยากในการพิจารณาพอสมควร

หลักคร่าวๆในการพิจารณา กองทุนที่มีขนาดสินทรัพย์น้อยกว่า 100 ล้านบาท ถือว่ามีขนาดเล็กเกินไป เพราะเมื่อดูตัวเลขค่าใช้จ่ายต่างๆของกองทุนแล้ว เราจะพบว่าไม่เกินการประหยัดในเรื่องขนาดของกองทุน (Economics of Scales) หรือเรียกอีกนัยหนึ่งก็คือ ค่าใช้จ่ายมีจำนวนสูงเมื่อเทียบออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์ แต่ในอีกมุมหนึ่ง ถ้ากองทุนมีขนาดสินทรัพย์ใหญ่กว่า 15,000 ล้านบาท จะถือว่าใหญ่เกินไปเมื่อเทียบกับขนาดของตลาดการเงินไทย ดังนั้นในมุมนี้ อย่าลืมพิจารณาด้วยนะ ตัวอย่างการลงทุนกองทุนของกองทุนที่มีขนาดกองทุนใหญ่เกินไป ก็อย่างเช่น กองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นพวก Money Market Fund บางกอง ที่มีขนาดใหญ่มากๆ ด้วยความที่ต้องหาของเข้าพอร์ตไว้ลงทุนให้หมด ก็บีบให้ ผู้จัดการกองทุนเหล่านี้ ต้องลงทุนในตราสารหนี้ของรัฐบาลที่มีความเสี่ยงต่ำๆ ซึ่งทำให้ผลตอบแทนต่ำตามไปด้วย หรือไม่ก็ ต้องไปลงทุนในตราหนี้ที่มีความเสี่ยงสูงกว่า ทำให้ความเสี่ยงของพอร์ตโดยรวมสูงขึ้นด้วยครับ

(6) สไตล์การลงทุนของผู้จัดการกองทุนด้วย – นักลงทุนส่วนใหญ่พอได้ศึกษาข้อมูลต่างๆเพื่อตัดสินใจลงทุนในกองทุนรวม จะพบว่าหน้าตาของกองทุนก็ดูเหมือนๆกันไปหมด คือ ต่างบริหารภายใต้กฏระเบียบที่คล้ายกันไปหมด มีพอร์ตการลงทุนเหมือนๆกัน แต่ไม่ว่าภายนอกจะสามารถหลอกสายตาเราได้อย่างไร แต่ก็ยังไม่บางจุดที่เรายังมองไม่เห็น คือ สไตล์การลงทุนของผู้จัดการกองทุน

บาง คนเก่งในเรื่องประเมิณมูลค่า บางคนเก่งในเรื่องตัวเลขการทำกำไรมาก ซึ่งวิธีหนึ่งที่จะช่วยวิเคราะห์สไตล์การลงทุนของผู้จัดการก็คือ ดูที่เครื่องมือวัดความเสี่ยงต่างๆตามนี้ครับ

9437943-background-concept-wordcloud-illustration-of-mutual-fund-glowing-light.jpg

- BETA เป็นเครื่องมือวัดความเสี่ยงตัวหนึ่งที่จะบอกว่ามูลค่ากองทุนได้เคลื่อนไหว ไปในทิศทางเดียวกันหรือตรงกันข้ามกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์ (SET Index) โดยดัชนี้ตลาดหลักทรัพย์จะมีค่า BETA เท่ากับ 1

- ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation) จะบอกถึงการแกว่งตัวหรือความผันผวนด้านผลตอบแทนของกองทุนเมื่อเทียบกับ อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยที่ตั้งเป้าหมายเอาไว้

ถ้ามีค่ามาก แสดงว่ากองทุนนี้มีความผันผวนสูง โอกาสที่จะได้ผลตอบแทนผิดไปจากที่ตั้งเป้าหมายไว้ก็มีมากขึ้นตามไปด้วย

- Sharpe Ratio อัตราส่วนผลตอบแทนการลงทุนเมื่อเปรียบเทียบความเสี่ยง ยิ่งกองทุนไหนให้ค่า Sharpe Ratio มากกว่ากองทุนอีกกองที่มีนโยบายการลงทุนเหมือนกัน ก็แสดงว่า บริหารกองทุนได้มีประสิทธิภาพมากกว่า

เครื่องมือวัดความเสี่ยงทั้ง 3 แบบนี้ ท่านสามารถสอบถามได้จากเจ้าหน้าที่ของ บลจ. นั้นๆได้เลยครับ

(7) ใครดูแลเงินคุณ คุณต้องรู้ – สิ่งสำคัญของหัวข้อนี้ก็คือ เราจะมอบความไว้วางใจให้กับใครคนหนึ่งมาบริหารเงินที่เราหามาได้ด้วยความยากลำบากได้อย่างไร ยังไงซะเราก็ควรต้องทราบพื้นเพของผู้จัดการกองทุนกันซักหน่อย ไม่ว่าจะเป็นบุรุษ หรือ สตรี แต่อย่างไรก็ตาม บริษัทจัดการจำนวนมากก็ใช้ระบบตั้งเป็นคณะกรรมการขึ้นมาบริหารจัดการการเงินของท่าน แทนที่จะใช้ระบบ One man Show

แต่ ถึงจะบริหารด้วยวิธีใด ผู้จัดการกองทุนทุกคนต้องได้ใบอนุญาตบริหารจัดการกองทุนจาก ก.ล.ต. และต้องมีระบุชัดเจนว่าใครเป็นผู้จัดการกองทุนไหนด้วยครับ ข้อพิจารณาอีกข้อหนึ่งนอกจากประวัติการทำงานย้อนหลังแล้วก็คือ ใบอนุญาต CFA หรือ นักวิเคราะห์ทางการเงินระดับสูง ซึ่งผู้จัดการกองทุนที่มีใบอนุญาตนี้จะมีความรู้ความชำนาญที่มีการยอมรับ มากกว่าผู้ที่ไม่มีอนุญาต

หากพิจารณาครบทั้ง 7 มุมแล้ว ก็ขึ้นอยู่กับสภาวะการลงทุนแล้วครับ ว่าเอื้อต่อการงอกเงยของเงินในบัญชีเรารึเปล่า แต่ผมเชื่อว่า นักลงทุนในกองทุนรวมที่รักษาวินัยการลงทุนได้อย่างเคร่งครัด ยังไงเสีย ก็ต้องบรรลุเป้าหมายการลงทุนที่ตั้งไว้อย่างแน่นอน

โชคดีในการลงทุนครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

InvestmentTalk – REBALANCING “เทคนิค ซื้อถูก ขายแพง”

31 MARCH 2010 10,455 VIEWS 46 COMMENTS

WRITTEN BY: FUNDTALK

 

 

Portfolio Rebalancing Technique

เนื่องจากมีผู้สอบถามหลายท่าน และรูปเดิมในบทความมองไม่เห็น ผมจึงทำการ update ข้อมูลให้เป็นปัจจุับันอีกครั้งครับ

“หุ้นช่วงนี้ลงมาเยอะเลย อย่าเพิ่งซื้อ นักวิเคราะห์กำลังจะปรับประมาณการปีนี้ลงอีก”

“ช่วงนี้หุ้นเริ่มกลับมาเป็นขาขึ้นแล้ว เริ่มมีความน่าลงทุน” “ปีที่แล้วขาดทุนไปเยอะเลย คงหยุดเล่นไปอีกซักพัก”

ผม มักได้ยินประโยคเหล่านี้จากเพื่อน ๆ ที่ลงทุนในตลาดหุ้น ซึ่งผมมองว่าเป็นการสะท้อนพฤติกรรมการมองไปข้างหลัง เพื่อกำหนดกลยุทธ์การลงทุนในปัจจุบัน แต่บ่อยครั้งกลับไม่ได้ให้ผลตอบแทนที่ดีในอนาคต

แนวทางข้างต้นผมเรียกว่า เป็นการลงทุนแบบ Momentum คือรอให้ตลาดมีสัญญาณก่อนจึงค่อยปรับตัวตาม เช่น ถ้าหุ้นเริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้นซักระยะเวลาหนึ่ง ก็เป็นสัญญาณเข้าลงทุน หรือถ้าหุ้นเริ่มตกซักระยะ ก็เป็นสัญญาณในการขายหุ้น ซึ่งกลยุทธ์แบบ Momentum ดังกล่าวจะใช้ได้ผลในตลาดแบบ Trendy market กล่าวคือเวลาขึ้นหรือลงแต่ละรอบเกิดขึ้นเป็นระยะเวลายาว ๆ

โดย ส่วนตัวแล้วผมไม่ค่อยชอบสไตล์ Momentum เพราะความผันผวนของตลาดหุ้นไทยมีค่อนข้างมาก บ่อยครั้งถ้าเรารอให้หุ้นขึ้นแล้วค่อยซื้อ หุ้นลงค่อยขาย กลับให้ผลลัพธ์เป็นการ “ซื้อแพง ขายถูก”

แนวทางที่ผมจะขอเสนอในวันนี้ เป็นหลักการปรับพอร์ตแบบ ซื้อถูก – ขายแพง ซึ่งเป็นแนวทางที่ผมใช้กับการลงทุนส่วนตัว และแนะนำให้กับเพื่อนและลูกค้าแล้วได้ผลที่ดี โดยวิธีการเป็นอย่างนี้ครับ สมมติว่าเรามีเงินลงทุนอยู่ในหุ้น 10,000 บาท โดยผมกำหนด 20% เป็นเปอร์เซนต์เป้าหมายในการปรับพอร์ต และเงินลงทุนเป้าหมายคือ 10,000 บาท กฎมีดังนี้ครับ

- เมื่อใดก็ตามที่พอร์ตการลงทุนปรับเพิ่มขึ้น 20% หรือขึ้นมาเป็น 12,000 บาท ให้ขายทำกำไรออกมา 2,000 บาท เพื่อให้เงินลงทุนเหลือ 10,000 บาทเท่าเดิม และเก็บเงินสดไว้

- เมื่อใดก็ตามที่พอร์ตการลงทุนปรับลดลง 20% หรือเหลือ 8,000 บาท ให้นำเงินสด 2,000 บาทมาลงทุนเพื่อให้เงินลงทุนรวมเป็น 10,000 บาท

- ทำตามแนวทางนี้ไปเรื่อย ๆ จนเมื่อใดหากมีเงินสดในมือเยอะขึ้น หรือมีเงินเก็บพร้อมจะลงทุนมากขึ้น ให้ปรับเงินลงทุนเป้าหมายขึ้น/ลงได้ ตามความเหมาะสม

ลองทดสอบย้อนกลับไปซัก 3 ปีโดยเริ่มตั้งแต่ปี 2006 นะครับ

หาก ไม่ทำการ Rebalance ใด ๆ ผลตอบแทนการลงทุนไม่รวมเงินปันผลอยู่ที่ ขาดทุนประมาณ 20% จาก SET Index ณ ระดับวันลงทุนเริ่มต้นที่ 713 แต่หากทำการปรับพอร์ตตามกลยุทธ์ข้างต้นจะขาดทุนเพียง 10% เท่านั้น โดยมีโอกาสขายทำกำไร 3 ครั้ง และซื้อของถูกอีก 3 ครั้งในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา

ขออนุญาตปรับให้เป็นปัจจุบัน โดยใช้ผลตอบแทน จาก 30 มี.ค 07 – 30 มี.ค. 10 ครับ

set-rebalancing2.jpg

เริ่มต้น 30 Mar 07 ที่ SET 673.71 ลงทุน 10,000 บาท

3 Jul 07 ขายออก 2,000 บาท ที่ SET 673.71 x 1.2 = 808.45 (เงินสดเหลือ + 2 พันบาท หลังจากขายออกพอร์ตมีมูลค่า 1 หมื่นบาท)

5 Sep 08 ซื้อเพิ่ม 2,000 บาท ที่ SET 808.45 x 0.8 = 646.75 (เงินสดเหลือ 0 บาท หลังจากซื้อเพิ่มพอร์ตมีมูลค่า 1 หมื่นบาท)

7 Oct 08 ซื้อเพิ่ม 2,000 บาท ที่ SET 646.75 x 0.8 = 517.4 (เงินสดเหลือ – 2 พันบาท หลังจากซื้อเพิ่มพอร์ตมีมูลค่า 1 หมื่นบาท)

27 Oct 08 ซื้อเพิ่ม 2,000 บาท ที่ SET 517.4 x 0.8 = 413.92 (เงินสดเหลือ – 4 พันบาท หลังจากซื้อเพิ่มพอร์ตมีมูลค่า 1 หมื่นบาท)

4 May 09 ขายออก 2,000 บาท ที่ SET 413.92 x 1.2 = 496.70 (เงินสดเหลือ -2 พันบาท หลังจากขายออกพอร์ตมีมูลค่า 1 หมื่นบาท)

5 Jun 09 ขายออก 2,000 บาท ที่ SET 496.70 x 1.2 = 596.05 (เงินสดเหลือ 0 บาท หลังจากขายออกพอร์ตมีมูลค่า 1 หมื่นบาท)

22 Sep 09 ขายออก 2,000 บาท ที่ SET 596.05 x 1.2 = 715.26 (เงินสดเหลือ + 2 พันบาท หลังจากขายออกพอร์ตมีมูลค่า 1 หมื่นบาท)

30 Mar 10 SET อยู่ที่ 788.80 กลยุทธ์ REBALANCING ให้ผลตอบแทนคร่าว ๆ = (788.80 – 715.26) / 715.26 = 10.28% รวมกับเงินสดคงเหลือ 2000/10000 = 20% รวมเป็นผลตอบแทนประมาณ 30.28%

ขณะที่หาถือครองการลงทุนตั้งแต่วันแรกจะได้ผลตอบแทนประมาณ (788.8 – 673.71) / 673.71 = 17.08%

กล่าวคือ REBALANCING Technique ให้ผลตอบแทนสูงกว่า = 30.28 – 17.08 = 13.2%

ส่วน ตัวที่ผมชื่นชอบแนวทางการลงทุนแบบ Rebalancing เพราะเป็นกลยุทธ์ที่ทำให้เราได้ “ซื้อตอนลง และขายตอนขึ้น” หรือเรียกได้ว่า “ซื้อถูก ขายแพง” ครับ นอกจากนี้เวลาราคาปรับเพิ่มขึ้นผมก็มีโอกาสได้ขายทำกำไรและเตรียมเงินสดไว้ ลงทุนเมื่อราคาปรับตัวลดลง

แนวทาง นี้ใช้ได้กับการลงทุนในตราสารหนี้, โภคภัณฑ์ และจัดพอร์ตการลงทุนโดยรวม (Asset Allocation) ได้ด้วยครับ โดยต้องกำหนดเปอร์เซ็นต์การปรับพอร์ตให้สอดคล้องกับความผันผวนของแต่ละ ประเภทของหลักทรัพย์

อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์ที่ผมนำเสนอในวันนี้จะให้ผลตอบแทนที่ไม่ค่อยดีในตลาด Trendy market แบบหลาย ๆ ปีเช่น ขาลงในช่วงปี 1996 – 1998 หรือขาขึ้นในปี 2002 – 2003 ครับ แต่ผมก็คงจะไม่เปลี่ยนแนวทางการลงทุนอย่างแน่นอน เพราะแนวทางแบบ Rebalancing ให้ความสบายใจกับผมในการจัดพอร์ตครับ เมื่อก่อนเวลาตลาดขึ้นก็เครียดเพราะรู้สึกว่าตกรถไฟ เวลาตลาดลงก็เครียดเพราะขาดทุน เดี๋ยวนี้เวลาตลาดขึ้นผมชอบ และลุ้นให้ขึ้นจนถึง 20% เพื่อจะได้ขายทำกำไร เวลาตลาดลงก็มีความสุขครับอยากให้ลงเยอะ ๆ ถ้าลงถึง 20% ก็คือช่วงเวลาที่จะได้ Shopping ของดีราคาถูก เรียกได้ว่า จะขึ้นหรือจะลงก็สนุกไปกับมันครับ

โดย เจษฎา สุขทิศ,CFA.

ผู้จัดการกองทุน, บลจ.อยุธยา จำกัด

pix.gif

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

PostToday

น่ารักมาก ฮ่าาา

 

มึงดังแน่ไอ่หนู : By.ท่านชายหนึ่ง ^^

จัดเต็มขนาดนี้...กูว่ามึงดังแน่ไอ่หนู!!

Length: ‎0:49

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...