ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

ค้นหาในชุมชน

แสดงผลลัพธ์สำหรับแท็ก 'บอลลูนหัวใจ'

  • ค้นหาโดยแท็ก

    พิมพ์แท็กแยกด้วยเครื่องหมายลูกน้ำ
  • ค้นหาโดยผู้เขียน

ประเภทเนื้อหา


ฟอรั่ม

  • มุมมือใหม่ หัดใช้เวปบอร์ด
    • แนะนำการใช้งานเวปบอร์ด
  • สภากาแฟ
    • สภากาแฟ
    • บทวิเคราะห์ราคาทองคำ
    • วิเคราะห์หุ้น-การเงิน-การลงทุน
    • เตือนภัยสังคม
    • เปิดประเด็น
  • เนื้อหาสาระเกี่ยวกับทองคำ การลงทุน
    • บทความเกี่ยวกับทองคำ
    • บทเรียนเกี่ยวกับทองคำ
    • ข่าวราคาทองคำ การลงทุน
    • การใช้งาน Software
  • นอกเรื่องนอกราว
    • เก็บมาฝาก
    • IT เทคโนโลยี
    • มุมสุขภาพ
    • ชวนกันทำบุญ
    • โฆษณา-ประชาสัมพันธ์

หมวด

  • Articles
    • Forum Integration
    • Frontpage
  • Pages
  • Miscellaneous
    • Databases
    • Templates
    • Media
  • รวมบทความ

บล็อก

ไม่มีผลลัพธ์จะแสดง

ไม่มีผลลัพธ์จะแสดง

หมวด

  • แฟ้มสาระ
    • MT4 Stuffs
    • Seminar ThaiGOLD 4
  • แฟ้มทั่วไป
    • เพลงน่าฟัง
    • อื่นๆอีกมากมาย

ค้นหาผลลัพธ์ใน...

ค้นหาผลลัพธ์ซึ่ง ...


วันที่สร้าง

  • เริ่ม

    สิ้นสุด


อัปเดตล่าสุด

  • เริ่ม

    สิ้นสุด


กรองโดยสมาชิกของ

เข้าร่วม

  • เริ่ม

    สิ้นสุด


กลุ่ม


AIM


MSN


Website URL


ICQ


Yahoo


Jabber


Skype


ความชื่นชอบ

พบผลลัพธ์จำนวน 2 รายการ

  1. เนื่องจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เร่งรีบ มีความเครียดสะสมที่เกิดจากการแข่งขันสูง รวมถึงการบริโภคของคนในปัจจุบันที่เปลี่ยนไป หลาย ๆ อย่างส่งผลเสียต่อระบบร่างกาย เช่นการนิยมบริโภคอาหารประเภทจานด่วนฟาสต์ฟู้ด ที่มีไขมันสูง ทำให้เกิดเป็นโรคต่าง ๆ ตามมามากมาย เช่น ภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบ ซึ่งเป็นโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ ส่วนแนวทางการรักษาที่เรามักได้ยินกันบ่อย ๆ นั่นคือการรักษาด้วยวิธีขยายเส้นเลือดหัวใจด้วยบอลลูน เพื่อรักษาผู้ที่มีภาวะโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ ใช้เวลาไม่นานเนื่องจากไม่ต้องผ่าตัด ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว หลายคนยังมีความกังวลใจเพราะยังขาดความรู้ความเข้าใจ ในวิธีการรักษาแบบนี้จะดีจริงหรือไม่? วันนี้เรานำข้อมูลความรู้ดี ๆ จากทางศูนย์หัวใจของรพ.นครธน เกี่ยวกับการรักษาเส้นเลือดหัวใจตีบด้วย บอลลูน มีขั้นตอนการทำและข้อดี-ข้อเสียอย่างไร? เพื่อจะได้มีความรู้เท่าทันโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน และทำการรักษาได้ทันเวลาค่ะ โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของเมืองไทย ในอดีตมักพบมากในวัยสูงอายุ แต่ปัจจุบันพบภาวะนี้ในผู้ที่มีอายุน้อยลงเรื่อย ๆ ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่อาจไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบเพราะมักไม่มีอาการในระยะแรก กว่าจะรู้ก็มีอาการของโรคเส้นเลือดหัวใจตีบที่ชัดเจน เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก หรือยิ่งไปกว่านั้นก็อาจพบหลังประสบภาวะหัวใจวายไปแล้ว โดยแนวทางการรักษาเส้นเลือดหัวใจตีบนั้นมีหลากหลายวิธี ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยการทำบอลลูนหัวใจ ซึ่งเป็นการรักษาที่ไม่ต้องผ่าตัด และมีความปลอดภัย โอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนต่ำ ใช้เวลาพักฟื้นน้อย สาเหตุของการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ เส้นเลือดหัวใจตีบเกิดจากการที่เส้นเลือดตีบแคบลงจากความเสื่อมสภาพตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น หรือ มีการสะสมของคราบหินปูน หรือ ไขมันไปเกาะอยู่ที่ผนังของหลอดเลือดชั้นในจนเกิดการอุดตัน ปริมาณเลือดแดงผ่านได้น้อย เป็นผลทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และหากเส้นเลือด แดงตีบแคบมากจนอุดตัน จะทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายได้ ปัจจัยที่เสริมให้เส้นเลือดหัวใจตีบมากขึ้น - อายุที่เพิ่มมากขึ้น มักเกิดกับคนที่มีอายุ 40-50 ปีขึ้นไป - ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ - มีน้ำหนักเกิน เป็นโรคอ้วน - การสูบบุหรี่ - การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง - ผู้ที่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง - มีความเครียดเรื้อรัง อาการที่ตามมาหากเกิดภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบ - อาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก รู้สึกเหมือนหัวใจถูกบีบ หรือมีแรงดันจำนวนมากที่บริเวณกลางอกหรือที่อกข้างซ้าย โดยอาการอาจจะเกิดขึ้นไม่กี่นาทีแล้วก็หาย แต่จากนั้นก็อาจจะกลับมาเป็นอีก - อาการปวดร้าวไปที่ไหล่ แขนซ้ายหรือร้าวไปที่กราม - อาการเหงื่อออก มือเท้าเย็น วิงเวียน จะเป็นลม หมดแรง - อาการคลื่นไส้อาเจียน หายใจไม่อิ่ม จุกคอหอย จุกใต้ลิ้นปี่ คล้ายโรคกระเพาะ หรือกรดไหลย้อน การตรวจวินิจฉัยเส้นเลือดหัวใจตีบ แนวทางในการตรวจวินิจฉัยโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ เบื้องต้นแพทย์จะทำการซักประวัติก่อน จากนั้นจะส่งตรวจพิเศษเพิ่มเติมอื่น ๆ เกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ - การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram: EKG) เป็นการตรวจความสมบูรณ์ของคลื่นไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในกล้ามเนื้อหัวใจ อัตราและจังหวะการเต้นของหัวใจว่ามีความผิดปกติหรือไม่ - การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test: EST) ใช้ในการตรวจหาความผิดปกติของระบบหัวใจและหลอดเลือด ที่ตรวจไม่พบในขณะที่ร่างกายหยุดพัก หรือไม่ได้ออกกำลังกายอย่างหนัก - การตรวจหัวใจด้วยเครื่องเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram) แพทย์จะใช้อุปกรณ์ที่คล้ายเครื่องอัลตราซาวด์ตรวจบริเวณหน้าอก และใช้เสียงสะท้อนความถี่สูงเพื่อจำลองภาพ ขนาด และการทำงานของหัวใจ - การตรวจหาคราบหินปูนหลอดเลือดหัวใจ (CT Calcium score) เป็นการตรวจปริมาณแคลเซียมที่ผนังของหลอดเลือดหัวใจ โดยใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (CT Scan) และคำนวณหาปริมาณแคลเซียมที่เกาะภายในผนังหลอดเลือดแดง โดยภาพที่ได้จากการตรวจจะคมชัด เนื่องจากเครื่องมือที่มีความเร็วในการจับภาพสูงมาก ซึ่งสามารถจับภาพขณะที่หัวใจเต้นได้ดี และสามารถบอกถึงปริมาณหินปูนที่สะสมอยู่ในผนังหลอดเลือดหัวใจ แม้จะมีปริมาณน้อยก็ตาม เพื่อใช้บ่งบอกแนวโน้มถึงโอกาสในการที่จะเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบว่ามีมากน้อยเพียงใด โดยใช้เวลาไม่เกิน 15 นาที - การฉีดสีสวนหัวใจ จะเป็นขั้นตอนการตรวจลำดับสุดท้าย โดยการใช้อุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นท่อเล็ก ๆ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 มิลลิเมตร ผ่านทางหลอดเลือดแดงที่ขาหนีบหรือหลอดเลือดแดงที่ข้อมือ และทำการฉีดสารละลายทึบรังสีผ่านท่อเล็ก ๆ นี้ เพื่อถ่ายภาพเส้นเลือดหัวใจให้เห็นบริเวณที่มีการตีบตันของเส้นเลือด หากพบความผิดปกติของหลอดเลือดที่สามารถแก้ไขได้ด้วยการสวนหัวใจ แพทย์จะทำการใส่สายสวนหัวใจ เพื่อทำการขยายหลอดเลือดที่ตีบแคบด้วยบอลลูนหัวใจและขดลวดถ่างขยาย (Stent) ได้ในทันที บอลลูนหัวใจ ทางเลือกการรักษาเส้นเลือดหัวใจตีบโดยไม่ต้องผ่าตัด แนวทางการรักษาโรคเส้นเลือดหัวใจตีบในปัจจุบัน มีวิธีการรักษาหลายแบบ และแต่ละวิธีก็มีความเหมาะสมที่แตกต่างกันไป แต่วิธีการรักษาที่แพทย์นิยมทำโดยไม่ต้องใช้การผ่าตัด คือ การทำบอลลูนหัวใจ หรือการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวดถ่างขยาย ซึ่งเป็นการหัตถการการรักษาที่สามารถทำได้เลย ต่อจากการฉีดสีดูการตีบของเส้นเลือดหัวใจ การทำบอลลูนหัวใจและใส่ขดลวดนั้น จะช่วยดันไขมัน หรือคราบหินปูนที่อุดตันหลอดเลือดอยู่ให้ไปชิดผนังหลอดเลือด ทำให้เลือดสามารถไหลผ่านจุดที่เคยตีบได้สะดวกขึ้น ลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากหลอดเลือดหัวใจอุดตันได้ บอลลูนหัวใจมีวิธีการรักษาอย่างไร การทำบอลลูนหัวใจรักษาเส้นเลือดหัวใจตีบ สามารถทำได้โดยการสอดสายสวนหัวใจ ซึ่งเป็นท่ออ่อนที่มีบอลลูนขนาดจิ๋วอยู่ตรงปลายเข้าไปทางหลอดเลือดที่บริเวณขาหนีบ หรือข้อมือ เมื่อถึงบริเวณที่หลอดเลือดตีบจึงต่อสายบอลลูนเข้ากับเครื่องมือที่อยู่ภายนอกร่างกาย เพื่อดันให้บอลลูนขยายออก เบียดคราบไขมัน คราบหินปูนที่เกาะอยู่ที่ผนังหลอดเลือดให้ยุบแบนลงและขยายหลอดเลือดให้กว้างออก เพื่อให้เลือดไหลไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ดีอีกครั้ง นอกจากนี้แพทย์อาจพิจารณาใส่ขดลวด (stent) ที่มีลักษณะที่เป็นโครงตาข่าย เข้าไปค้ำยันยึดติดกับผนังหลอดเลือดที่ตีบเพื่อเสริมความแข็งแรงในการขยายหลอดเลือดหัวใจในตำแหน่งที่ทำการขยายบอลลูนร่วมด้วย เพื่อป้องกันการกลับมาอุดตันอีก ทุกท่านคงได้ทราบเกี่ยวกับการรักษาด้วยวิธีการทำบอลลูนกันแล้ว หากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่มีความเสี่ยง หรือมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ และเริ่มมีอาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก รู้สึกเหมือนหัวใจถูกบีบ เป็น ๆ หาย ๆ หากมีความกังวลสงสัย อย่าปล่อยทิ้งไว้ ควรเข้ามาปรึกษากับแพทย์เฉพาะทางหรือมารับการรักษากับทางศูนย์หัวใจ รพ.นครธน ตั้งแต่เนิ่น ๆ นะคะ ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.nakornthon.com/article/detail/เส้นเลือดหัวใจตีบ-ภัยใกล้ตัว-รู้ทัน-รักษาได้
  2. แนวทางการรักษาโรคหัวใจในปัจจุบัน มีวิธีการรักษาหลายแบบ ขึ้นอยู่กับประเภทของโรคหัวใจด้วย มักประกอบด้วยเริ่มจากการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต การใช้ยา การผ่าตัด และวิธีการรักษาที่แพทย์นิยมทำโดยไม่ต้องใช้การผ่าตัด เช่นการฉีดสีหัวใจ การสวนหลอดเลือดหัวใจ สามารถขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยการทำบอลลูนหัวใจนั่นเอง ผู้ป่วยโรคหัวใจหลายคนอาจกำลังกังวลใจและมีคำถามเกิดขึ้นในใจว่า หากจะเลือกการรักษาด้วยวิธีสวนหลอดเลือดหัวใจนั้นจะดีหรือไม่? แล้วมีความปลอดภัยหรือเปล่า? วันนี้เรานำคำตอบจากทางศูนย์หัวใจโรงพยาบาลนครธน มาเพื่อไขข้อสงสัยให้คุณได้ทราบว่าจริง ๆ แล้ว การสวนหลอดเลือดหัวใจ ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด ซึ่งมีรายละเอียดทั้งหมดที่เป็นประโยชน์ดังนี้ค่ะ การทำบอลลูนหัวใจ หรือการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและขดลวด (PCI: Percutaneous coronary intervention) เป็นการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ตัน ทำให้เลือดสามารถกลับมาไหลเวียนได้ ซึ่งเป็นวิธีที่ง่าย สะดวก และปลอดภัย โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ใช้เวลาไม่นาน ผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวและบ้านกลับได้เร็วขึ้น นอกจากนี้การทำบอลลูนหัวใจมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงน้อยมาก และไม่จำเป็นต้องวางยาสลบในกระบวนการรักษา ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีดังเดิม รู้จัก การทำบอลลูนหัวใจ การทำบอลลูนหัวใจ หรือการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน (Balloon Angioplasty) เป็นการขยายหลอดเลือดหัวใจให้กว้างขึ้น ด้วยการสอดสายสวนหัวใจ ซึ่งเป็นท่ออ่อนที่มีบอลลูนขนาดจิ๋วอยู่ตรงปลายเข้าไปทางหลอดเลือดที่บริเวณขาหนีบ หรือข้อมือ เมื่อถึงบริเวณที่หลอดเลือดตีบจึงต่อสายบอลลูนเข้ากับเครื่องมือที่อยู่ภายนอกร่างกาย เพื่อดันให้บอลลูนขยายออก เบียดคราบไขมัน คราบหินปูนที่เกาะอยู่ที่ผนังหลอดเลือดให้ยุบแบนลงและขยายหลอดเลือดให้กว้างออก เพื่อให้เลือดไหลไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ดีอีกครั้ง ทั้งนี้ในปัจจุบันการทำบอลลูนหัวใจ แพทย์อาจพิจารณาใส่ขดลวด (stent) ที่มีลักษณะที่เป็นโครงตาข่าย เข้าไปค้ำยันยึดติดกับผนังหลอดเลือดที่ตีบเพื่อเสริมความแข็งแรงในการขยายหลอดเลือดหัวใจในตำแหน่งที่ทำการขยายบอลลูนร่วมด้วย ซึ่งจะให้ผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในบางกรณีอาจมีการนำขดลวดที่เคลือบด้วยยามาใช้แทนขดลวดธรรมดา เพื่อป้องกันการตีบซ้ำของหลอดเลือดหัวใจเมื่อเวลาผ่านไป ประโยชน์ของการทำบอลลูนหัวใจ การทำบอลลูนหัวใจและใส่ขดลวด จะช่วยดันไขมันที่อุดตันหลอดเลือดอยู่ให้ไปชิดผนังหลอดเลือด ทำให้เลือดสามารถไหลผ่านจุดที่เคยตีบได้สะดวกขึ้น ลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากหลอดเลือดหัวใจอุดตันได้ โอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนต่ำกว่าการผ่าตัดบายพาส เพราะไม่ต้องทำการผ่าตัดและดมยาสลบ นอกจากนี้ใช้เวลาเฉลี่ย 1-2 วัน ก็สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้เป็นปกติ โดยไม่ต้องกังวลกับอาการภาวะหัวใจขาดเลือด สามารถทำซ้ำได้หลายครั้ง ในกรณีที่หลอดเลือดหัวใจตีบแคบลงอีกในอนาคต การเตรียมตัวก่อนการทำบอลลูนหัวใจ 1.ผู้ป่วยต้องงดอาหารและน้ำดื่ม 6-8 ชั่วโมง 2.แพทย์จะสอบถามอาการแพ้ยาและแพ้อาหารทะเล โรคประจำตัว และตรวจร่างกายผู้ป่วย 3.หากผู้ป่วยมียาที่รับประทานเป็นประจำ ได้แก่ ยาเบาหวาน โดยเฉพาะยาละลายลิ่มเลือด ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ และนำมาให้แพทย์ดู ขั้นตอนการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและขดลวด 1.แพทย์จะฉีดยาชาเฉพาะที่ก่อนทำการเจาะหลอดเลือดแดงบริเวณข้อมือหรือขาหนีบ 2.แพทย์จะสอดท่อพลาสติกอ่อนขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 มิลลิเมตรเข้าไปในหลอดเลือดแดง เพื่อเป็นทางผ่านเข้าออกของสายสวนหัวใจเข้าสู่หลอดเลือดแดงใหญ่ของหัวใจ 3.จากนั้นจะทำการฉีดสี หรือสารละลายทึบรังสีเข้าไปในท่อเล็ก ๆ นี้ ทำให้สามารถเห็นภายในหลอดเลือดว่ามีการตีบที่บริเวณใด 4.เมื่อพบจุดที่หลอดเลือดตีบ แพทย์จะทำการใส่สายสวนหัวใจ เพื่อทำการขยายหลอดเลือดที่ตีบแคบด้วยบอลลูนและขดลวดถ่างขยาย (Stent) ใช้เวลาประมาณ 45 – 60 นาที หลังจากดำเนินการเสร็จแล้ว ท่อที่ขาหนีบหรือข้อมือจะถูกดึงออกและกดรูเข็มที่เจาะไว้ แล้วกดตรงบริเวณที่ใส่สายเข้าไป เพื่อให้เลือดหยุด โดยใช้ยาหรือใช้อุปกรณ์ช่วยให้เลือดหยุดได้เร็วขึ้น แล้วแต่กรณีและความเห็นของแพทย์ผู้ทำหัตถการ การปฏิบัติตัวหลังจากการทำ 1.ต้องนอนราบอย่างน้อยประมาณ 6 - 10 ชั่วโมง หลังทำการตรวจสวนหัวใจ - กรณีทำการฉีดสีผ่านขาหนีบ หลังจากทำเสร็จจะดึงสายสวนออก และกดบริเวณขาหนีบประมาณ 15 นาที โดยไม่ต้องเย็บแผล ผู้ป่วยต้องนอนราบ และงอขาหนีบไม่ได้ 6-10 ชั่วโมง ไม่สามารถลุกนั่ง หรือเดินได้ในทันที - กรณีทำการฉีดสีผ่านข้อมือ วิธีนี้จะเหมาะกับผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัวมาก อ้วนมาก หรือมีภาวะหลอดเลือดขาส่วนปลายตีบ โดยใช้ระยะเวลาพักฟื้น 4-8 ชม. หลังจากทำเสร็จสามารถลุก นั่ง หรือยืนได้ทันที มีเพียงสายรัดข้อมือ (TR band) ใส่ไว้ แต่ไม่นานก็สามารถถอดออกได้ 2.ระหว่างนี้ควรจะดื่มน้ำ ประมาณ 1 ลิตร หากไม่มีข้อจำกัดเรื่องน้ำดื่ม เพื่อขับสารทึบรังสี 3.ดูแลแผลตำแหน่งที่ทำหัตถการอย่าโดนน้ำประมาณ 3 วัน หรือหากโดนให้ใช้เบตาดีนเช็ดบริเวณแผล 4.สังเกตตำแหน่งบริเวณที่ทำหัตถการ หากมีเลือดไหล ปวด บวม แดงร้อน หรือเย็น ซีด เป็นก้อน ให้แจ้งพยาบาลประจำหอผู้ป่วยได้ทันที 5.ถ้าปวดแผลบริเวณที่ทำหัตถการ สามารถรับประทานยาแก้ปวดได้ หรือปรึกษาแพทย์ก่อน 6.รับประทานยาอย่างต่อเนื่อง ไม่ควรหยุดยาเอง สังเกตอาการผิดปกติ เช่น เจ็บหน้าอกให้มาพบแพทย์ทันที 7.งดออกกำลังกายหนักหรือใช้แรงมากในช่วง 2 สัปดาห์แรก 8.ห้ามยกของหนักเกิน 5 กิโลกรัม ประมาณ 1 เดือน หลังทำหัตถการตรวจสวนหัวใจ 9.หากไอหรือเบ่ง ให้กดบริเวณแผลไว้ หลังทำหัตถการตรวจสวนหัวใจ ประมาณ 7 สัปดาห์ (ในกรณีทำบริเวณขาหนีบ) ภาวะแทรกซ้อนในการทำบอลลูนหัวใจ การทำบอลลูนหัวใจมีความเสี่ยงน้อยเพียง 1% แต่ยังคงมีความเสี่ยงของการทำบอลลูนหัวใจอยู่บ้าง โดยภาวะเสี่ยงของการทำบอลลูนหัวใจอาจมีดังต่อไปนี้ 1.ติดเชื้อ มีเลือดออก หรือปวดบริเวณที่ใช้สายสวน 2.เกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดหัวใจ ทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย 3.แพ้สารทึบแสง อาจเกิดภาวะช็อกได้ 4.หัวใจเต้นผิดจังหวะ 5.บางรายอาจเกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจหรือกล้ามเนื้อหัวใจทะลุระหว่างทำการสอดใส่ท่อบอลลูนเข้าไปในเส้นเลือด 6.เกิดภาวะลิ่มเลือดไปอุดตันที่สมอง (อุบัติการณ์น้อยกว่า 0.2%) 7.เสียชีวิต (อุบัติการณ์น้อยกว่า 0.5%) อย่างไรก็ตาม การทำบอลลูนหัวใจภายใต้ความดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ร่วมกับการปฏิบัติตัวตามที่แพทย์แนะนำก็จะช่วยลดความเสี่ยงดังกล่าวได้ สำหรับผู้ที่สนใจหรือมีข้อมูลที่อยากสอบถามเพิ่มเติม ในเรื่องเกี่ยวกับการทำบอลลูนหัวใจ ทางศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลนครธน มีความพร้อม และมีบุคลากรทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไว้รองรับ และคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษา สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมก่อนได้ตามข้อมูลที่ให้ไว้ได้เลยค่ะ : https://www.nakornthon.com/article/detail/การทำบอลลูนหัวใจรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน
×
×
  • สร้างใหม่...