ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

ค้นหาในชุมชน

แสดงผลลัพธ์สำหรับแท็ก 'โรคหัวใจ'

  • ค้นหาโดยแท็ก

    พิมพ์แท็กแยกด้วยเครื่องหมายลูกน้ำ
  • ค้นหาโดยผู้เขียน

ประเภทเนื้อหา


ฟอรั่ม

  • มุมมือใหม่ หัดใช้เวปบอร์ด
    • แนะนำการใช้งานเวปบอร์ด
  • สภากาแฟ
    • สภากาแฟ
    • บทวิเคราะห์ราคาทองคำ
    • วิเคราะห์หุ้น-การเงิน-การลงทุน
    • เตือนภัยสังคม
    • เปิดประเด็น
  • เนื้อหาสาระเกี่ยวกับทองคำ การลงทุน
    • บทความเกี่ยวกับทองคำ
    • บทเรียนเกี่ยวกับทองคำ
    • ข่าวราคาทองคำ การลงทุน
    • การใช้งาน Software
  • นอกเรื่องนอกราว
    • เก็บมาฝาก
    • IT เทคโนโลยี
    • มุมสุขภาพ
    • ชวนกันทำบุญ
    • โฆษณา-ประชาสัมพันธ์

หมวด

  • Articles
    • Forum Integration
    • Frontpage
  • Pages
  • Miscellaneous
    • Databases
    • Templates
    • Media
  • รวมบทความ

บล็อก

ไม่มีผลลัพธ์จะแสดง

ไม่มีผลลัพธ์จะแสดง

หมวด

  • แฟ้มสาระ
    • MT4 Stuffs
    • Seminar ThaiGOLD 4
  • แฟ้มทั่วไป
    • เพลงน่าฟัง
    • อื่นๆอีกมากมาย

ค้นหาผลลัพธ์ใน...

ค้นหาผลลัพธ์ซึ่ง ...


วันที่สร้าง

  • เริ่ม

    สิ้นสุด


อัปเดตล่าสุด

  • เริ่ม

    สิ้นสุด


กรองโดยสมาชิกของ

เข้าร่วม

  • เริ่ม

    สิ้นสุด


กลุ่ม


AIM


MSN


Website URL


ICQ


Yahoo


Jabber


Skype


ความชื่นชอบ

พบผลลัพธ์จำนวน 4 รายการ

  1. โรคหัวใจ เป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ ซึ่งแบ่งย่อยได้เป็นหลายกลุ่มโรค ไม่ว่าจะเป็น โรคหลอดเลือดหัวใจ, โรคกล้ามเนื้อหัวใจ, โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ, โรคลิ้นหัวใจ, โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด และโรคติดเชื้อบริเวณหัวใจ เป็นต้น ปัจจุบันโรคหัวใจและหลอดเลือดมีอัตราการเสียชีวิตสูง และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ สัญญาณเตือนอาการโรคหัวใจ จะมีอาการเหนื่อยง่ายเวลาออกกําลังกาย หรือเดินเร็วๆ หายใจเข้าได้ลำบาก อาจจะเป็นตลอดเวลา หรือเป็นขณะออกกำลังกาย หรือตอนที่ใช้แรงมาก ซึ่งอาการโรคหัวใจจะเจ็บหน้าอก หรือแน่นบริเวณกลางหน้าอก ด้านซ้าย หรือทั้ง 2 ด้าน ไม่สามารถนอนราบได้ เพราะจะรู้สึกเหนื่อยเวลาหายใจ และอึดอัดตรงหน้าอก นอกจากนี้อาจมีอาการหอบจนต้องตื่นขึ้นมาหอบกลางดึก เป็นลมหมดสติไม่ทราบสาเหตุ ขา และเท้าบวมโดยไม่ทราบสาเหตุ ปลายมือ ปลายเท้า และริมฝีปากมีลักษณะเขียวคล้ำ เป็นต้นค่ะ การป้องกันโรคหัวใจเบื้องต้น ในทางป้องกันขึ้นอยู่กับชนิดของโรคหัวใจ สำหรับโรคหลอดเลือดหัวใจแม้ไม่มีสาเหตุเฉพาะเจาะจงชัดเจน แต่ก็มีปัจจัยสิ่งหลายอย่างที่หากเราควบคุมได้ดีจะช่วยลดโอกาสโรคหลอดเลือดหัวใจลงได้ดังนี้ · หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ · ควบคุมความดันโลหิตไม่ให้สูงเกินมาตรฐาน ควบคุมคอเลสเตอรอล และเบาหวาน · ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน · รับประทานอาหารที่มีเกลือและไขมันอิ่มตัวต่ำ · ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกินมาตรฐาน · ลดความเครียด ในส่วนด้านการรักษาโรคหัวใจสามารถทำได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็น การใช้ยา เช่นยาลดความดันโลหิต, ยาลดคอเลสเตอรอล, ยาป้องกันเกล็ดเลือด ,การผ่าตัด อย่างการทำบายพาสหลอดเลือดหัวใจ, การติดตั้งสแตนต์ และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิต อย่างเช่น ควบคุมอาหาร หมั่นออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ รวมถึงต้องรู้จักผ่อนคลาย อย่าปล่อยให้ตนเองมีความเครียดมากจนเกินไปค่ะ
  2. โรคหัวใจ เป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ ซึ่งสามารถแบ่งย่อยออกมาได้หลายกลุ่ม เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ,โรคกล้ามเนื้อหัวใจ, โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ, โรคลิ้นหัวใจ, โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด และโรคติดเชื้อบริเวณหัวใจ เป็นต้น โดยปัจจุบันโรคหัวใจและหลอดเลือดมีอัตราการเสียชีวิตสูงและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นควรรู้จักโรคหัวใจแต่ละประเภทให้ดี ๆ เพื่อให้พร้อมรับมือได้อย่างถูกวิธีและดีที่สุด รวมอาการโรคหัวใจแต่ละประเภท 1. โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ สาเหตุ เกิดจากผนังหลอดเลือดหัวใจเสื่อมสภาพ หรือหนาตัวขึ้นจากการอุดตันของไขมันและเนื้อเยื่อ เป็นเหตุให้หลอดเลือดตีบ การไหลเวียนเลือดไปสู่หัวใจลดน้อยลงและหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ไม่เพียงพอ จนอาจทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้ ผู้ที่มีอายุมาก สูบบุหรี่จัด มีภาวะไขมันในเลือดสูง เป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และไม่ออกกำลังกาย มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคนี้สูง อาการ เหนื่อยง่าย จุก แน่น เจ็บแน่นหน้าอก โดยมักเป็นขณะออกแรง เสียดหรือแสบร้อนในบริเวณทรวงอก เหงื่อออก ใจสั่น เป็นลม อาจเป็นแบบฉับพลันและรุนแรงจนทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือหัวใจวายได้ 2. ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ สาเหตุ เกิดจากการกำเนิดกระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติในบางตำแหน่งในหัวใจ หรือมีจุดวงจรลัดไฟฟ้าเล็กๆ โดยสาเหตุมีทั้งจากความเสื่อมสภาพของร่างกายในผู้สูงอายุ ที่ทำให้หัวใจเต้นช้าลง กรรมพันธุ์ โรคบางชนิด เช่น เส้นเลือดหัวใจตีบ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเส้นเลือดสูง เบาหวาน และต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ ยาบางชนิด เช่น ยารักษาโรคหวัด ยาขยายหลอดลม ยาที่ออกฤทธิ์กระตุ้นหัวใจ อาการ หัวใจเต้นช้าผิดปกติ อัตราการเต้นของหัวใจต่ำกว่า 60 ครั้ง/นาที จะรู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย มึนงง ใจหวิว วูบ ความดันโลหิตต่ำและอาจเป็นลมหมดสติ และขณะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ จะมีอัตราการเต้นของหัวใจมากกว่า 100 ครั้ง/นาที หากเป็นเพียงเล็กน้อยจะเหนื่อยง่ายและหัวใจเต้นเร็วเท่านั้น แต่หากมีอาการวูบ เป็นลม หมดสติ มีอาการใจสั่นอย่างรุนแรงหรือเหนื่อยมากควรพบแพทย์โดยเร็ว 3. โรคลิ้นหัวใจตีบและโรคลิ้นหัวใจรั่ว มีสาเหตุมาจาก ลิ้นหัวใจพิการแต่กำเนิด จากโรคลิ้นหัวใจอักเสบรูห์มาติค ติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ หรือเป็นหินปูนเกาะที่ลิ้นหัวใจจนลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว โดยจะมีอาการ เหนื่อยง่ายกว่าปกติ บางรายอาจมีอาการแน่นหน้าอกเวลาออกแรง คล้ายกับ ผู้ที่เป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ มีขาบวมทั้ง 2 ข้าง นอนราบไม่ได้ ต้องนอนศีรษะสูง มีท้องอืดบวม หรือมีวูบหน้ามืด จากลิ้นหัวใจตีบ ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ 4. โรคหัวใจล้มเหลว สาเหตุ มีทั้งแบบเฉียบพลัน และแบบเรื้อรัง โดยสาเหตุเฉียบพลัน มักเกิดจาก เส้นเลือดหัวใจตีบเฉียบพลัน มีหัวใจเต้นผิดจังหวะรุนแรง หรือ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบรุนแรง ส่วนกรณีแบบเรื้อรังนั้น เป็นได้จากเส้นเลือดหัวใจตีบเรื้อรัง โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ โรคลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว ที่ไม่ได้รับการรักษา การได้รับยาหรือสารเสพย์ติดบางชนิด เช่น ดื่มสุราต่อเนื่องในปริมาณมาก หรือ ยาเคมีบำบัดบางชนิด เป็นต้น อาการ เหนื่อยง่ายตอนออกแรง ขาบวม นอนราบไม่ได้ มีตื่นมาหอบเหนื่อยตอนกลางคืน อาจตรวจพบหัวใจโตและน้ำท่วมปอดร่วมด้วย 5. โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด สาเหตุ อาจมีสาเหตุมาจากทางพันธุกรรมร่วมกับสิ่งแวดล้อม ในปัจจุบันสามารถวิเคราะห์ความผิดปกติได้ตั้งแต่ขณะอยู่ในครรภ์มารดา ด้วยการตรวจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram) โดยสูติแพทย์เวชศาสตร์มารดาและทารก ซึ่งความผิดปกตินี้เกิดจากการเจริญเติบโตของหัวใจขณะที่อยู่ในครรภ์มารดา โดยเฉพาะในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ซึ่งอาจเกิดจากการมีรูรั่ว ที่ผนังกั้นภายในห้องหัวใจ ลิ้นหัวใจตีบตันหรือรั่ว เป็นต้น อาการ ในเด็กเล็ก อาการที่สำคัญ คือ เหงื่อออกมากบริเวณศีรษะโดยอากาศไม่ร้อน ดูดนมนานกว่าปกติ ตัวเล็ก เลี้ยงไม่โต น้ำหนักไม่ค่อยขึ้น เด็กโตมักมีอาการเหมือนผู้ใหญ่ เช่น หายใจหอบ เหนื่อยง่ายเวลาออกกำลังกาย หรือต้องนอนศีรษะสูง เขียวบริเวณเยื่อบุบริเวณริมฝีปาก ลิ้น เยื่อบุตา หรือใต้เล็บ ใจสั่น เจ็บหน้าอก จะเป็นลม อย่างไรก็ตาม โรคหัวใจ บางประเภทก็สามารถหลีกเลี่ยงได้ บางประเภทก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ อย่างโรคหัวใจขาดเลือด เราสามารถเลี่ยงได้จากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันของเรา อย่างเช่น หมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมออย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน หรืออย่างน้อย 5 ครั้ง/สัปดาห์ รับประทานอาหารที่มีไขมัน และคอเลสเตอรอลอย่างเหมาะสม ระวังควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกิดโรคอ้วน ลดหรือเลี่ยงการสูบบุหรี่ รวมทั้งทำอารมณ์ให้แจ่มใส ไม่เครียด และหมั่นไปตรวจสุขภาพหัวใจประจำปีเพียงเท่านี้ก็สามารถช่วยให้เราห่างไกลจากการเป็นโรคหัวใจขาดเลือดได้แล้วค่ะ ที่สำคัญอย่าลืมไปตรวจสุขภาพหัวใจประจำปีกันด้วยนะคะ สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคหัวใจได้ที่ : https://www.nonthavej.co.th/heart-attack-early-diagnosis.php
  3. เนื่องจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เร่งรีบ มีความเครียดสะสมที่เกิดจากการแข่งขันสูง รวมถึงการบริโภคของคนในปัจจุบันที่เปลี่ยนไป หลาย ๆ อย่างส่งผลเสียต่อระบบร่างกาย เช่นการนิยมบริโภคอาหารประเภทจานด่วนฟาสต์ฟู้ด ที่มีไขมันสูง ทำให้เกิดเป็นโรคต่าง ๆ ตามมามากมาย เช่น ภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบ ซึ่งเป็นโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ ส่วนแนวทางการรักษาที่เรามักได้ยินกันบ่อย ๆ นั่นคือการรักษาด้วยวิธีขยายเส้นเลือดหัวใจด้วยบอลลูน เพื่อรักษาผู้ที่มีภาวะโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ ใช้เวลาไม่นานเนื่องจากไม่ต้องผ่าตัด ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว หลายคนยังมีความกังวลใจเพราะยังขาดความรู้ความเข้าใจ ในวิธีการรักษาแบบนี้จะดีจริงหรือไม่? วันนี้เรานำข้อมูลความรู้ดี ๆ จากทางศูนย์หัวใจของรพ.นครธน เกี่ยวกับการรักษาเส้นเลือดหัวใจตีบด้วย บอลลูน มีขั้นตอนการทำและข้อดี-ข้อเสียอย่างไร? เพื่อจะได้มีความรู้เท่าทันโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน และทำการรักษาได้ทันเวลาค่ะ โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของเมืองไทย ในอดีตมักพบมากในวัยสูงอายุ แต่ปัจจุบันพบภาวะนี้ในผู้ที่มีอายุน้อยลงเรื่อย ๆ ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่อาจไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบเพราะมักไม่มีอาการในระยะแรก กว่าจะรู้ก็มีอาการของโรคเส้นเลือดหัวใจตีบที่ชัดเจน เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก หรือยิ่งไปกว่านั้นก็อาจพบหลังประสบภาวะหัวใจวายไปแล้ว โดยแนวทางการรักษาเส้นเลือดหัวใจตีบนั้นมีหลากหลายวิธี ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยการทำบอลลูนหัวใจ ซึ่งเป็นการรักษาที่ไม่ต้องผ่าตัด และมีความปลอดภัย โอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนต่ำ ใช้เวลาพักฟื้นน้อย สาเหตุของการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ เส้นเลือดหัวใจตีบเกิดจากการที่เส้นเลือดตีบแคบลงจากความเสื่อมสภาพตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น หรือ มีการสะสมของคราบหินปูน หรือ ไขมันไปเกาะอยู่ที่ผนังของหลอดเลือดชั้นในจนเกิดการอุดตัน ปริมาณเลือดแดงผ่านได้น้อย เป็นผลทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และหากเส้นเลือด แดงตีบแคบมากจนอุดตัน จะทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายได้ ปัจจัยที่เสริมให้เส้นเลือดหัวใจตีบมากขึ้น - อายุที่เพิ่มมากขึ้น มักเกิดกับคนที่มีอายุ 40-50 ปีขึ้นไป - ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ - มีน้ำหนักเกิน เป็นโรคอ้วน - การสูบบุหรี่ - การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง - ผู้ที่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง - มีความเครียดเรื้อรัง อาการที่ตามมาหากเกิดภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบ - อาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก รู้สึกเหมือนหัวใจถูกบีบ หรือมีแรงดันจำนวนมากที่บริเวณกลางอกหรือที่อกข้างซ้าย โดยอาการอาจจะเกิดขึ้นไม่กี่นาทีแล้วก็หาย แต่จากนั้นก็อาจจะกลับมาเป็นอีก - อาการปวดร้าวไปที่ไหล่ แขนซ้ายหรือร้าวไปที่กราม - อาการเหงื่อออก มือเท้าเย็น วิงเวียน จะเป็นลม หมดแรง - อาการคลื่นไส้อาเจียน หายใจไม่อิ่ม จุกคอหอย จุกใต้ลิ้นปี่ คล้ายโรคกระเพาะ หรือกรดไหลย้อน การตรวจวินิจฉัยเส้นเลือดหัวใจตีบ แนวทางในการตรวจวินิจฉัยโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ เบื้องต้นแพทย์จะทำการซักประวัติก่อน จากนั้นจะส่งตรวจพิเศษเพิ่มเติมอื่น ๆ เกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ - การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram: EKG) เป็นการตรวจความสมบูรณ์ของคลื่นไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในกล้ามเนื้อหัวใจ อัตราและจังหวะการเต้นของหัวใจว่ามีความผิดปกติหรือไม่ - การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test: EST) ใช้ในการตรวจหาความผิดปกติของระบบหัวใจและหลอดเลือด ที่ตรวจไม่พบในขณะที่ร่างกายหยุดพัก หรือไม่ได้ออกกำลังกายอย่างหนัก - การตรวจหัวใจด้วยเครื่องเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram) แพทย์จะใช้อุปกรณ์ที่คล้ายเครื่องอัลตราซาวด์ตรวจบริเวณหน้าอก และใช้เสียงสะท้อนความถี่สูงเพื่อจำลองภาพ ขนาด และการทำงานของหัวใจ - การตรวจหาคราบหินปูนหลอดเลือดหัวใจ (CT Calcium score) เป็นการตรวจปริมาณแคลเซียมที่ผนังของหลอดเลือดหัวใจ โดยใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (CT Scan) และคำนวณหาปริมาณแคลเซียมที่เกาะภายในผนังหลอดเลือดแดง โดยภาพที่ได้จากการตรวจจะคมชัด เนื่องจากเครื่องมือที่มีความเร็วในการจับภาพสูงมาก ซึ่งสามารถจับภาพขณะที่หัวใจเต้นได้ดี และสามารถบอกถึงปริมาณหินปูนที่สะสมอยู่ในผนังหลอดเลือดหัวใจ แม้จะมีปริมาณน้อยก็ตาม เพื่อใช้บ่งบอกแนวโน้มถึงโอกาสในการที่จะเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบว่ามีมากน้อยเพียงใด โดยใช้เวลาไม่เกิน 15 นาที - การฉีดสีสวนหัวใจ จะเป็นขั้นตอนการตรวจลำดับสุดท้าย โดยการใช้อุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นท่อเล็ก ๆ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 มิลลิเมตร ผ่านทางหลอดเลือดแดงที่ขาหนีบหรือหลอดเลือดแดงที่ข้อมือ และทำการฉีดสารละลายทึบรังสีผ่านท่อเล็ก ๆ นี้ เพื่อถ่ายภาพเส้นเลือดหัวใจให้เห็นบริเวณที่มีการตีบตันของเส้นเลือด หากพบความผิดปกติของหลอดเลือดที่สามารถแก้ไขได้ด้วยการสวนหัวใจ แพทย์จะทำการใส่สายสวนหัวใจ เพื่อทำการขยายหลอดเลือดที่ตีบแคบด้วยบอลลูนหัวใจและขดลวดถ่างขยาย (Stent) ได้ในทันที บอลลูนหัวใจ ทางเลือกการรักษาเส้นเลือดหัวใจตีบโดยไม่ต้องผ่าตัด แนวทางการรักษาโรคเส้นเลือดหัวใจตีบในปัจจุบัน มีวิธีการรักษาหลายแบบ และแต่ละวิธีก็มีความเหมาะสมที่แตกต่างกันไป แต่วิธีการรักษาที่แพทย์นิยมทำโดยไม่ต้องใช้การผ่าตัด คือ การทำบอลลูนหัวใจ หรือการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวดถ่างขยาย ซึ่งเป็นการหัตถการการรักษาที่สามารถทำได้เลย ต่อจากการฉีดสีดูการตีบของเส้นเลือดหัวใจ การทำบอลลูนหัวใจและใส่ขดลวดนั้น จะช่วยดันไขมัน หรือคราบหินปูนที่อุดตันหลอดเลือดอยู่ให้ไปชิดผนังหลอดเลือด ทำให้เลือดสามารถไหลผ่านจุดที่เคยตีบได้สะดวกขึ้น ลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากหลอดเลือดหัวใจอุดตันได้ บอลลูนหัวใจมีวิธีการรักษาอย่างไร การทำบอลลูนหัวใจรักษาเส้นเลือดหัวใจตีบ สามารถทำได้โดยการสอดสายสวนหัวใจ ซึ่งเป็นท่ออ่อนที่มีบอลลูนขนาดจิ๋วอยู่ตรงปลายเข้าไปทางหลอดเลือดที่บริเวณขาหนีบ หรือข้อมือ เมื่อถึงบริเวณที่หลอดเลือดตีบจึงต่อสายบอลลูนเข้ากับเครื่องมือที่อยู่ภายนอกร่างกาย เพื่อดันให้บอลลูนขยายออก เบียดคราบไขมัน คราบหินปูนที่เกาะอยู่ที่ผนังหลอดเลือดให้ยุบแบนลงและขยายหลอดเลือดให้กว้างออก เพื่อให้เลือดไหลไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ดีอีกครั้ง นอกจากนี้แพทย์อาจพิจารณาใส่ขดลวด (stent) ที่มีลักษณะที่เป็นโครงตาข่าย เข้าไปค้ำยันยึดติดกับผนังหลอดเลือดที่ตีบเพื่อเสริมความแข็งแรงในการขยายหลอดเลือดหัวใจในตำแหน่งที่ทำการขยายบอลลูนร่วมด้วย เพื่อป้องกันการกลับมาอุดตันอีก ทุกท่านคงได้ทราบเกี่ยวกับการรักษาด้วยวิธีการทำบอลลูนกันแล้ว หากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่มีความเสี่ยง หรือมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ และเริ่มมีอาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก รู้สึกเหมือนหัวใจถูกบีบ เป็น ๆ หาย ๆ หากมีความกังวลสงสัย อย่าปล่อยทิ้งไว้ ควรเข้ามาปรึกษากับแพทย์เฉพาะทางหรือมารับการรักษากับทางศูนย์หัวใจ รพ.นครธน ตั้งแต่เนิ่น ๆ นะคะ ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.nakornthon.com/article/detail/เส้นเลือดหัวใจตีบ-ภัยใกล้ตัว-รู้ทัน-รักษาได้
  4. แนวทางการรักษาโรคหัวใจในปัจจุบัน มีวิธีการรักษาหลายแบบ ขึ้นอยู่กับประเภทของโรคหัวใจด้วย มักประกอบด้วยเริ่มจากการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต การใช้ยา การผ่าตัด และวิธีการรักษาที่แพทย์นิยมทำโดยไม่ต้องใช้การผ่าตัด เช่นการฉีดสีหัวใจ การสวนหลอดเลือดหัวใจ สามารถขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยการทำบอลลูนหัวใจนั่นเอง ผู้ป่วยโรคหัวใจหลายคนอาจกำลังกังวลใจและมีคำถามเกิดขึ้นในใจว่า หากจะเลือกการรักษาด้วยวิธีสวนหลอดเลือดหัวใจนั้นจะดีหรือไม่? แล้วมีความปลอดภัยหรือเปล่า? วันนี้เรานำคำตอบจากทางศูนย์หัวใจโรงพยาบาลนครธน มาเพื่อไขข้อสงสัยให้คุณได้ทราบว่าจริง ๆ แล้ว การสวนหลอดเลือดหัวใจ ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด ซึ่งมีรายละเอียดทั้งหมดที่เป็นประโยชน์ดังนี้ค่ะ การทำบอลลูนหัวใจ หรือการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและขดลวด (PCI: Percutaneous coronary intervention) เป็นการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ตัน ทำให้เลือดสามารถกลับมาไหลเวียนได้ ซึ่งเป็นวิธีที่ง่าย สะดวก และปลอดภัย โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ใช้เวลาไม่นาน ผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวและบ้านกลับได้เร็วขึ้น นอกจากนี้การทำบอลลูนหัวใจมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงน้อยมาก และไม่จำเป็นต้องวางยาสลบในกระบวนการรักษา ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีดังเดิม รู้จัก การทำบอลลูนหัวใจ การทำบอลลูนหัวใจ หรือการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน (Balloon Angioplasty) เป็นการขยายหลอดเลือดหัวใจให้กว้างขึ้น ด้วยการสอดสายสวนหัวใจ ซึ่งเป็นท่ออ่อนที่มีบอลลูนขนาดจิ๋วอยู่ตรงปลายเข้าไปทางหลอดเลือดที่บริเวณขาหนีบ หรือข้อมือ เมื่อถึงบริเวณที่หลอดเลือดตีบจึงต่อสายบอลลูนเข้ากับเครื่องมือที่อยู่ภายนอกร่างกาย เพื่อดันให้บอลลูนขยายออก เบียดคราบไขมัน คราบหินปูนที่เกาะอยู่ที่ผนังหลอดเลือดให้ยุบแบนลงและขยายหลอดเลือดให้กว้างออก เพื่อให้เลือดไหลไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ดีอีกครั้ง ทั้งนี้ในปัจจุบันการทำบอลลูนหัวใจ แพทย์อาจพิจารณาใส่ขดลวด (stent) ที่มีลักษณะที่เป็นโครงตาข่าย เข้าไปค้ำยันยึดติดกับผนังหลอดเลือดที่ตีบเพื่อเสริมความแข็งแรงในการขยายหลอดเลือดหัวใจในตำแหน่งที่ทำการขยายบอลลูนร่วมด้วย ซึ่งจะให้ผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในบางกรณีอาจมีการนำขดลวดที่เคลือบด้วยยามาใช้แทนขดลวดธรรมดา เพื่อป้องกันการตีบซ้ำของหลอดเลือดหัวใจเมื่อเวลาผ่านไป ประโยชน์ของการทำบอลลูนหัวใจ การทำบอลลูนหัวใจและใส่ขดลวด จะช่วยดันไขมันที่อุดตันหลอดเลือดอยู่ให้ไปชิดผนังหลอดเลือด ทำให้เลือดสามารถไหลผ่านจุดที่เคยตีบได้สะดวกขึ้น ลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากหลอดเลือดหัวใจอุดตันได้ โอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนต่ำกว่าการผ่าตัดบายพาส เพราะไม่ต้องทำการผ่าตัดและดมยาสลบ นอกจากนี้ใช้เวลาเฉลี่ย 1-2 วัน ก็สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้เป็นปกติ โดยไม่ต้องกังวลกับอาการภาวะหัวใจขาดเลือด สามารถทำซ้ำได้หลายครั้ง ในกรณีที่หลอดเลือดหัวใจตีบแคบลงอีกในอนาคต การเตรียมตัวก่อนการทำบอลลูนหัวใจ 1.ผู้ป่วยต้องงดอาหารและน้ำดื่ม 6-8 ชั่วโมง 2.แพทย์จะสอบถามอาการแพ้ยาและแพ้อาหารทะเล โรคประจำตัว และตรวจร่างกายผู้ป่วย 3.หากผู้ป่วยมียาที่รับประทานเป็นประจำ ได้แก่ ยาเบาหวาน โดยเฉพาะยาละลายลิ่มเลือด ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ และนำมาให้แพทย์ดู ขั้นตอนการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและขดลวด 1.แพทย์จะฉีดยาชาเฉพาะที่ก่อนทำการเจาะหลอดเลือดแดงบริเวณข้อมือหรือขาหนีบ 2.แพทย์จะสอดท่อพลาสติกอ่อนขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 มิลลิเมตรเข้าไปในหลอดเลือดแดง เพื่อเป็นทางผ่านเข้าออกของสายสวนหัวใจเข้าสู่หลอดเลือดแดงใหญ่ของหัวใจ 3.จากนั้นจะทำการฉีดสี หรือสารละลายทึบรังสีเข้าไปในท่อเล็ก ๆ นี้ ทำให้สามารถเห็นภายในหลอดเลือดว่ามีการตีบที่บริเวณใด 4.เมื่อพบจุดที่หลอดเลือดตีบ แพทย์จะทำการใส่สายสวนหัวใจ เพื่อทำการขยายหลอดเลือดที่ตีบแคบด้วยบอลลูนและขดลวดถ่างขยาย (Stent) ใช้เวลาประมาณ 45 – 60 นาที หลังจากดำเนินการเสร็จแล้ว ท่อที่ขาหนีบหรือข้อมือจะถูกดึงออกและกดรูเข็มที่เจาะไว้ แล้วกดตรงบริเวณที่ใส่สายเข้าไป เพื่อให้เลือดหยุด โดยใช้ยาหรือใช้อุปกรณ์ช่วยให้เลือดหยุดได้เร็วขึ้น แล้วแต่กรณีและความเห็นของแพทย์ผู้ทำหัตถการ การปฏิบัติตัวหลังจากการทำ 1.ต้องนอนราบอย่างน้อยประมาณ 6 - 10 ชั่วโมง หลังทำการตรวจสวนหัวใจ - กรณีทำการฉีดสีผ่านขาหนีบ หลังจากทำเสร็จจะดึงสายสวนออก และกดบริเวณขาหนีบประมาณ 15 นาที โดยไม่ต้องเย็บแผล ผู้ป่วยต้องนอนราบ และงอขาหนีบไม่ได้ 6-10 ชั่วโมง ไม่สามารถลุกนั่ง หรือเดินได้ในทันที - กรณีทำการฉีดสีผ่านข้อมือ วิธีนี้จะเหมาะกับผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัวมาก อ้วนมาก หรือมีภาวะหลอดเลือดขาส่วนปลายตีบ โดยใช้ระยะเวลาพักฟื้น 4-8 ชม. หลังจากทำเสร็จสามารถลุก นั่ง หรือยืนได้ทันที มีเพียงสายรัดข้อมือ (TR band) ใส่ไว้ แต่ไม่นานก็สามารถถอดออกได้ 2.ระหว่างนี้ควรจะดื่มน้ำ ประมาณ 1 ลิตร หากไม่มีข้อจำกัดเรื่องน้ำดื่ม เพื่อขับสารทึบรังสี 3.ดูแลแผลตำแหน่งที่ทำหัตถการอย่าโดนน้ำประมาณ 3 วัน หรือหากโดนให้ใช้เบตาดีนเช็ดบริเวณแผล 4.สังเกตตำแหน่งบริเวณที่ทำหัตถการ หากมีเลือดไหล ปวด บวม แดงร้อน หรือเย็น ซีด เป็นก้อน ให้แจ้งพยาบาลประจำหอผู้ป่วยได้ทันที 5.ถ้าปวดแผลบริเวณที่ทำหัตถการ สามารถรับประทานยาแก้ปวดได้ หรือปรึกษาแพทย์ก่อน 6.รับประทานยาอย่างต่อเนื่อง ไม่ควรหยุดยาเอง สังเกตอาการผิดปกติ เช่น เจ็บหน้าอกให้มาพบแพทย์ทันที 7.งดออกกำลังกายหนักหรือใช้แรงมากในช่วง 2 สัปดาห์แรก 8.ห้ามยกของหนักเกิน 5 กิโลกรัม ประมาณ 1 เดือน หลังทำหัตถการตรวจสวนหัวใจ 9.หากไอหรือเบ่ง ให้กดบริเวณแผลไว้ หลังทำหัตถการตรวจสวนหัวใจ ประมาณ 7 สัปดาห์ (ในกรณีทำบริเวณขาหนีบ) ภาวะแทรกซ้อนในการทำบอลลูนหัวใจ การทำบอลลูนหัวใจมีความเสี่ยงน้อยเพียง 1% แต่ยังคงมีความเสี่ยงของการทำบอลลูนหัวใจอยู่บ้าง โดยภาวะเสี่ยงของการทำบอลลูนหัวใจอาจมีดังต่อไปนี้ 1.ติดเชื้อ มีเลือดออก หรือปวดบริเวณที่ใช้สายสวน 2.เกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดหัวใจ ทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย 3.แพ้สารทึบแสง อาจเกิดภาวะช็อกได้ 4.หัวใจเต้นผิดจังหวะ 5.บางรายอาจเกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจหรือกล้ามเนื้อหัวใจทะลุระหว่างทำการสอดใส่ท่อบอลลูนเข้าไปในเส้นเลือด 6.เกิดภาวะลิ่มเลือดไปอุดตันที่สมอง (อุบัติการณ์น้อยกว่า 0.2%) 7.เสียชีวิต (อุบัติการณ์น้อยกว่า 0.5%) อย่างไรก็ตาม การทำบอลลูนหัวใจภายใต้ความดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ร่วมกับการปฏิบัติตัวตามที่แพทย์แนะนำก็จะช่วยลดความเสี่ยงดังกล่าวได้ สำหรับผู้ที่สนใจหรือมีข้อมูลที่อยากสอบถามเพิ่มเติม ในเรื่องเกี่ยวกับการทำบอลลูนหัวใจ ทางศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลนครธน มีความพร้อม และมีบุคลากรทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไว้รองรับ และคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษา สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมก่อนได้ตามข้อมูลที่ให้ไว้ได้เลยค่ะ : https://www.nakornthon.com/article/detail/การทำบอลลูนหัวใจรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน
×
×
  • สร้างใหม่...