ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

ค้นหาในชุมชน

แสดงผลลัพธ์สำหรับแท็ก 'รพ.นครธน'

  • ค้นหาโดยแท็ก

    พิมพ์แท็กแยกด้วยเครื่องหมายลูกน้ำ
  • ค้นหาโดยผู้เขียน

ประเภทเนื้อหา


ฟอรั่ม

  • มุมมือใหม่ หัดใช้เวปบอร์ด
    • แนะนำการใช้งานเวปบอร์ด
  • สภากาแฟ
    • สภากาแฟ
    • บทวิเคราะห์ราคาทองคำ
    • วิเคราะห์หุ้น-การเงิน-การลงทุน
    • เตือนภัยสังคม
    • เปิดประเด็น
  • เนื้อหาสาระเกี่ยวกับทองคำ การลงทุน
    • บทความเกี่ยวกับทองคำ
    • บทเรียนเกี่ยวกับทองคำ
    • ข่าวราคาทองคำ การลงทุน
    • การใช้งาน Software
  • นอกเรื่องนอกราว
    • เก็บมาฝาก
    • IT เทคโนโลยี
    • มุมสุขภาพ
    • ชวนกันทำบุญ
    • โฆษณา-ประชาสัมพันธ์

หมวด

  • Articles
    • Forum Integration
    • Frontpage
  • Pages
  • Miscellaneous
    • Databases
    • Templates
    • Media
  • รวมบทความ

บล็อก

ไม่มีผลลัพธ์จะแสดง

ไม่มีผลลัพธ์จะแสดง

หมวด

  • แฟ้มสาระ
    • MT4 Stuffs
    • Seminar ThaiGOLD 4
  • แฟ้มทั่วไป
    • เพลงน่าฟัง
    • อื่นๆอีกมากมาย

ค้นหาผลลัพธ์ใน...

ค้นหาผลลัพธ์ซึ่ง ...


วันที่สร้าง

  • เริ่ม

    สิ้นสุด


อัปเดตล่าสุด

  • เริ่ม

    สิ้นสุด


กรองโดยสมาชิกของ

เข้าร่วม

  • เริ่ม

    สิ้นสุด


กลุ่ม


AIM


MSN


Website URL


ICQ


Yahoo


Jabber


Skype


ความชื่นชอบ

พบผลลัพธ์จำนวน 5 รายการ

  1. เนื่องจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เร่งรีบ มีความเครียดสะสมที่เกิดจากการแข่งขันสูง รวมถึงการบริโภคของคนในปัจจุบันที่เปลี่ยนไป หลาย ๆ อย่างส่งผลเสียต่อระบบร่างกาย เช่นการนิยมบริโภคอาหารประเภทจานด่วนฟาสต์ฟู้ด ที่มีไขมันสูง ทำให้เกิดเป็นโรคต่าง ๆ ตามมามากมาย เช่น ภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบ ซึ่งเป็นโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ ส่วนแนวทางการรักษาที่เรามักได้ยินกันบ่อย ๆ นั่นคือการรักษาด้วยวิธีขยายเส้นเลือดหัวใจด้วยบอลลูน เพื่อรักษาผู้ที่มีภาวะโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ ใช้เวลาไม่นานเนื่องจากไม่ต้องผ่าตัด ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว หลายคนยังมีความกังวลใจเพราะยังขาดความรู้ความเข้าใจ ในวิธีการรักษาแบบนี้จะดีจริงหรือไม่? วันนี้เรานำข้อมูลความรู้ดี ๆ จากทางศูนย์หัวใจของรพ.นครธน เกี่ยวกับการรักษาเส้นเลือดหัวใจตีบด้วย บอลลูน มีขั้นตอนการทำและข้อดี-ข้อเสียอย่างไร? เพื่อจะได้มีความรู้เท่าทันโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน และทำการรักษาได้ทันเวลาค่ะ โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของเมืองไทย ในอดีตมักพบมากในวัยสูงอายุ แต่ปัจจุบันพบภาวะนี้ในผู้ที่มีอายุน้อยลงเรื่อย ๆ ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่อาจไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบเพราะมักไม่มีอาการในระยะแรก กว่าจะรู้ก็มีอาการของโรคเส้นเลือดหัวใจตีบที่ชัดเจน เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก หรือยิ่งไปกว่านั้นก็อาจพบหลังประสบภาวะหัวใจวายไปแล้ว โดยแนวทางการรักษาเส้นเลือดหัวใจตีบนั้นมีหลากหลายวิธี ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยการทำบอลลูนหัวใจ ซึ่งเป็นการรักษาที่ไม่ต้องผ่าตัด และมีความปลอดภัย โอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนต่ำ ใช้เวลาพักฟื้นน้อย สาเหตุของการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ เส้นเลือดหัวใจตีบเกิดจากการที่เส้นเลือดตีบแคบลงจากความเสื่อมสภาพตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น หรือ มีการสะสมของคราบหินปูน หรือ ไขมันไปเกาะอยู่ที่ผนังของหลอดเลือดชั้นในจนเกิดการอุดตัน ปริมาณเลือดแดงผ่านได้น้อย เป็นผลทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และหากเส้นเลือด แดงตีบแคบมากจนอุดตัน จะทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายได้ ปัจจัยที่เสริมให้เส้นเลือดหัวใจตีบมากขึ้น - อายุที่เพิ่มมากขึ้น มักเกิดกับคนที่มีอายุ 40-50 ปีขึ้นไป - ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ - มีน้ำหนักเกิน เป็นโรคอ้วน - การสูบบุหรี่ - การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง - ผู้ที่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง - มีความเครียดเรื้อรัง อาการที่ตามมาหากเกิดภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบ - อาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก รู้สึกเหมือนหัวใจถูกบีบ หรือมีแรงดันจำนวนมากที่บริเวณกลางอกหรือที่อกข้างซ้าย โดยอาการอาจจะเกิดขึ้นไม่กี่นาทีแล้วก็หาย แต่จากนั้นก็อาจจะกลับมาเป็นอีก - อาการปวดร้าวไปที่ไหล่ แขนซ้ายหรือร้าวไปที่กราม - อาการเหงื่อออก มือเท้าเย็น วิงเวียน จะเป็นลม หมดแรง - อาการคลื่นไส้อาเจียน หายใจไม่อิ่ม จุกคอหอย จุกใต้ลิ้นปี่ คล้ายโรคกระเพาะ หรือกรดไหลย้อน การตรวจวินิจฉัยเส้นเลือดหัวใจตีบ แนวทางในการตรวจวินิจฉัยโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ เบื้องต้นแพทย์จะทำการซักประวัติก่อน จากนั้นจะส่งตรวจพิเศษเพิ่มเติมอื่น ๆ เกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ - การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram: EKG) เป็นการตรวจความสมบูรณ์ของคลื่นไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในกล้ามเนื้อหัวใจ อัตราและจังหวะการเต้นของหัวใจว่ามีความผิดปกติหรือไม่ - การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test: EST) ใช้ในการตรวจหาความผิดปกติของระบบหัวใจและหลอดเลือด ที่ตรวจไม่พบในขณะที่ร่างกายหยุดพัก หรือไม่ได้ออกกำลังกายอย่างหนัก - การตรวจหัวใจด้วยเครื่องเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram) แพทย์จะใช้อุปกรณ์ที่คล้ายเครื่องอัลตราซาวด์ตรวจบริเวณหน้าอก และใช้เสียงสะท้อนความถี่สูงเพื่อจำลองภาพ ขนาด และการทำงานของหัวใจ - การตรวจหาคราบหินปูนหลอดเลือดหัวใจ (CT Calcium score) เป็นการตรวจปริมาณแคลเซียมที่ผนังของหลอดเลือดหัวใจ โดยใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (CT Scan) และคำนวณหาปริมาณแคลเซียมที่เกาะภายในผนังหลอดเลือดแดง โดยภาพที่ได้จากการตรวจจะคมชัด เนื่องจากเครื่องมือที่มีความเร็วในการจับภาพสูงมาก ซึ่งสามารถจับภาพขณะที่หัวใจเต้นได้ดี และสามารถบอกถึงปริมาณหินปูนที่สะสมอยู่ในผนังหลอดเลือดหัวใจ แม้จะมีปริมาณน้อยก็ตาม เพื่อใช้บ่งบอกแนวโน้มถึงโอกาสในการที่จะเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบว่ามีมากน้อยเพียงใด โดยใช้เวลาไม่เกิน 15 นาที - การฉีดสีสวนหัวใจ จะเป็นขั้นตอนการตรวจลำดับสุดท้าย โดยการใช้อุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นท่อเล็ก ๆ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 มิลลิเมตร ผ่านทางหลอดเลือดแดงที่ขาหนีบหรือหลอดเลือดแดงที่ข้อมือ และทำการฉีดสารละลายทึบรังสีผ่านท่อเล็ก ๆ นี้ เพื่อถ่ายภาพเส้นเลือดหัวใจให้เห็นบริเวณที่มีการตีบตันของเส้นเลือด หากพบความผิดปกติของหลอดเลือดที่สามารถแก้ไขได้ด้วยการสวนหัวใจ แพทย์จะทำการใส่สายสวนหัวใจ เพื่อทำการขยายหลอดเลือดที่ตีบแคบด้วยบอลลูนหัวใจและขดลวดถ่างขยาย (Stent) ได้ในทันที บอลลูนหัวใจ ทางเลือกการรักษาเส้นเลือดหัวใจตีบโดยไม่ต้องผ่าตัด แนวทางการรักษาโรคเส้นเลือดหัวใจตีบในปัจจุบัน มีวิธีการรักษาหลายแบบ และแต่ละวิธีก็มีความเหมาะสมที่แตกต่างกันไป แต่วิธีการรักษาที่แพทย์นิยมทำโดยไม่ต้องใช้การผ่าตัด คือ การทำบอลลูนหัวใจ หรือการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวดถ่างขยาย ซึ่งเป็นการหัตถการการรักษาที่สามารถทำได้เลย ต่อจากการฉีดสีดูการตีบของเส้นเลือดหัวใจ การทำบอลลูนหัวใจและใส่ขดลวดนั้น จะช่วยดันไขมัน หรือคราบหินปูนที่อุดตันหลอดเลือดอยู่ให้ไปชิดผนังหลอดเลือด ทำให้เลือดสามารถไหลผ่านจุดที่เคยตีบได้สะดวกขึ้น ลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากหลอดเลือดหัวใจอุดตันได้ บอลลูนหัวใจมีวิธีการรักษาอย่างไร การทำบอลลูนหัวใจรักษาเส้นเลือดหัวใจตีบ สามารถทำได้โดยการสอดสายสวนหัวใจ ซึ่งเป็นท่ออ่อนที่มีบอลลูนขนาดจิ๋วอยู่ตรงปลายเข้าไปทางหลอดเลือดที่บริเวณขาหนีบ หรือข้อมือ เมื่อถึงบริเวณที่หลอดเลือดตีบจึงต่อสายบอลลูนเข้ากับเครื่องมือที่อยู่ภายนอกร่างกาย เพื่อดันให้บอลลูนขยายออก เบียดคราบไขมัน คราบหินปูนที่เกาะอยู่ที่ผนังหลอดเลือดให้ยุบแบนลงและขยายหลอดเลือดให้กว้างออก เพื่อให้เลือดไหลไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ดีอีกครั้ง นอกจากนี้แพทย์อาจพิจารณาใส่ขดลวด (stent) ที่มีลักษณะที่เป็นโครงตาข่าย เข้าไปค้ำยันยึดติดกับผนังหลอดเลือดที่ตีบเพื่อเสริมความแข็งแรงในการขยายหลอดเลือดหัวใจในตำแหน่งที่ทำการขยายบอลลูนร่วมด้วย เพื่อป้องกันการกลับมาอุดตันอีก ทุกท่านคงได้ทราบเกี่ยวกับการรักษาด้วยวิธีการทำบอลลูนกันแล้ว หากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่มีความเสี่ยง หรือมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ และเริ่มมีอาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก รู้สึกเหมือนหัวใจถูกบีบ เป็น ๆ หาย ๆ หากมีความกังวลสงสัย อย่าปล่อยทิ้งไว้ ควรเข้ามาปรึกษากับแพทย์เฉพาะทางหรือมารับการรักษากับทางศูนย์หัวใจ รพ.นครธน ตั้งแต่เนิ่น ๆ นะคะ ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.nakornthon.com/article/detail/เส้นเลือดหัวใจตีบ-ภัยใกล้ตัว-รู้ทัน-รักษาได้
  2. ข้อเข่าเสื่อม เป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ซึ่งผู้สูงอายุหลายคนที่เริ่มมีอาการแต่ไม่รีบรักษา ปล่อยทิ้งไว้นานจนมีอาการปวดข้อเข่าเรื้อรัง เนื่องจากผิวข้อเข่าเริ่มสึกกร่อนเสื่อมไปจนถึงระยะสุดท้าย ส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน เดินลำบาก มีเสียงดังในเข่า หลายคนสงสัยว่าแนวทางการรักษาข้อเข่าเสื่อม ด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม จะช่วยแก้ปัญหาข้อเข่าเสื่อมระยะสุดท้ายได้จริงหรือไหม? วันนี้เราได้รวบรวมความรู้จากทางศูนย์กระดูกและข้อ รพ.นครธน เกี่ยวกับวิธีผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ด้วยเทคนิคระงับปวด ฟื้นตัวเร็ว หลังผ่าตัด จะมีแนวทางเป็นอย่างไร ไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมพร้อมกันได้เลยค่ะ ข้อเข่า เป็นอวัยวะสำคัญที่ใช้ในการเคลื่อนไหว ไม่ว่าจะ ยืน เดิน หรือนั่ง หากข้อเข่ามีความผิดปกติ หรือข้อเข่าเสื่อมสภาพลง อาจทำให้รู้สึกเจ็บปวดเวลาเคลื่อนไหว และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม (Total Knee Arthroplasty: TKA) เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมขั้นรุนแรง ทำโดยการนำผิวข้อเข่าที่เสื่อมออกแล้วทดแทนด้วยผิวข้อเข่าเทียม ซึ่งเป็นการผ่าตัดที่มีประสิทธิภาพและได้ผลดี ทั้งนี้ผู้ป่วยจะไม่เจ็บปวดหลังผ่าตัดเหมือนในอดีต เพราะผู้ป่วยจะได้รับการดูแลและระงับอาการปวดหลังผ่าตัด ด้วยวิธีการฉีดยาชาบริเวณรอบเส้นประสาทส่วนปลาย (Peripheral Nerve Block) ซึ่งเป็นวิธีระงับปวดที่มีประสิทธิภาพสูง และปลอดภัย สามารถลดการตอบสนองของร่างกายต่อความเครียดจากการผ่าตัดได้ดี ทำให้ผู้ป่วยกลับมาเคลื่อนไหวและมีคุณภาพชีวิตที่ดีอีกครั้ง สัญญาณเตือนโรคข้อเข่าเสื่อม โรคข้อเข่าเสื่อม (Knee osteoarthritis) อาการเริ่มจากปวดเป็น ๆ หาย ๆ เมื่อได้พักการใช้เข่า อาการปวดก็จะทุเลา และจะปวดมากขึ้นเมื่อมีการใช้งานข้อนั้นมาก ในรายที่เป็นมากอาการปวดจะเป็นตลอดเวลา เกิดภาวะข้อฝืด มีเสียงดังในเข่า ใช้งานไม่ถนัด บางรายมีข้อติด ตามมาด้วยการเกิดข้อผิดรูป หัวเข่าเสื่อมบวมโต บางรายมีขาโก่งออกมา ปวดเข่าบ่อย ๆ และปวดมากขึ้นตอนนั่งยอง ๆ นั่งพับเพียบ ขึ้นลงบันได หรือคุกเข่า เข่าบวม เข่าอุ่น รู้สึกร้อนบริเวณเข่า และมีปัญหาในการใช้งานข้อเข่า เช่น ลุกนั่งม้าเตี้ย ขึ้นลงบันได รวมทั้งการเดิน ปัจจัยที่ทำให้เกิดข้อเข่าเสื่อม โรคข้อเข่าเสื่อม เกิดจากความเสื่อมของกระดูกอ่อนผิวข้อ ทั้งทางด้านรูปร่าง โครงสร้าง การทำงานของกระดูกข้อต่อและกระดูกบริเวณใกล้ข้อ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นไม่สามารถกลับสู่สภาพเดิม และอาจมีความเสื่อมรุนแรงขึ้นตามลำดับ โดยสัมพันธ์กับปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้ - อายุ – อายุมากก็มีโอกาสเป็นมากเนื่องจากอายุการใช้งานมาก - เพศ - เพศหญิงจะเป็นโรคเข่าเสื่อมมากกว่าเพศชาย 2 เท่า - น้ำหนัก – ยิ่งน้ำหนักตัวมากข้อเข่าจะเสื่อมเร็ว - การใช้ข้อเข่า – ผู้ที่นั่งยอง ๆ นั่งขัดขัดสมาธิ หรือนั่งพับเพียบนาน ๆ จะพบข้อเข่าเสื่อมเร็ว - การได้รับบาดเจ็บบริเวณข้อเข่า - ผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุที่ข้อเข่าไม่ว่าจะกระดูกข้อเข่าแตกหรือเอ็นฉีก จะเกิดข้อเข่าเสื่อมได้ เนื่องจากความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและกระดูกลดลง เทคโนโลยีการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียม รักษาโรคข้อเข่าเสื่อม ปัจจุบัน การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมเป็นที่นิยมมาก เพราะเห็นผลการรักษาไว และทำให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตได้เป็นปกติ โดยไม่เจ็บเข่าทรมานอีก ซึ่งผิวข้อเข่าเทียมที่เปลี่ยนนั้นทำมาจากสเตนเลสผสมจำพวกนิเกิล โคบอล ไททาเนียม ส่วนหมอนรองกระดูกเทียมทำจากวัสดุจำพวกพลาสติกชนิดพิเศษ (Polyethylene) ไม่มีปฏิกิริยาต่อร่างกาย น้ำหนักเบา และใช้งานได้คงทน เป็นที่รู้จักของแพทย์ออร์โธปิดิกส์ทั่วโลก ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด มีดังนี้ - มีภาวะข้อเข่าเสื่อมที่มีการสึกหรอและเสื่อมสภาพซึ่งเห็นได้ชัดเจนจากภาพถ่ายรังสี - อาการปวด บวม ตึงข้อเข่า ซึ่งส่งผลต่อการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันของผู้ป่วย - ได้รับการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ แล้วไม่ได้ผล การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียม 1.ด้านร่างกาย - รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบทุกหมู่แต่พออิ่ม ดื่มน้ำ 6-8 แก้วต่อวัน และยังคงต้องควบคุมน้ำหนักตัวให้เหมาะสม - บริหารกล้ามเนื้อทุกส่วนให้แข็งแรง โดยเฉพาะกล้ามเนื้อต้นขา ออกกำลังให้เหมาะสมกับสภาพร่างกาย เช่น เดิน เดินเร็ว ว่ายน้ำ - ขี่จักรยาน รวมถึงการบริหารปอดโดยการหายใจลึกๆ ยาวๆ บ่อย ๆ - ระวังการติดเชื้อตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่อาจไปสู่ข้อเทียม หากมีปัญหาควรพบแพทย์รักษาก่อนผ่าตัด เช่น แผลตามร่างกาย ปวดแสบขัดเวลาปัสสาวะซึ่ง อาจเกิดจากทางเดินปัสสาวะอักเสบ รวมถึงสุขภาพในช่องปาก ควรทำฟัน อุดฟัน ขูดหินปูนให้เรียบร้อยก่อนผ่าตัด - งดสูบบุหรี่ อย่างน้อย 6 สัปดาห์ก่อนผ่าตัด - งดยาที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด เช่น ยาแอสไพริน งดก่อนผ่าตัด 7 วัน หรือตามแผนการรักษา เพื่อป้องกันภาวะเลือดออกมากขณะผ่าตัดและหลังผ่าตัด 2.ด้านจิตใจ - ควรทำจิตใจให้ สงบ ผ่อนคลาย - หากมีเรื่องวิตกกังวล สงสัยเกี่ยวกับโรค การรักษา การดูแลตนเอง ค่าใช้จ่าย หรืออื่น ๆ ควรซักถาม ปรึกษาแพทย์หรือ พยาบาล 3.การเตรียมผู้ดูแลหลังผ่าตัด และเตรียมปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม - ควรเตรียมผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลือในระยะหลังผ่าตัดอย่างน้อย 2 สัปดาห์หรือตามความเหมาะสม - ปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม เช่น ควรนอนบนเตียงที่มีความสูงเสมอเข่า ห้องนอนควรอยู่ชั้นล่าง ดูแลบ้านให้สะอาด เรียบร้อย ไม่มีของวางเกะกะ เพื่อป้องกันการสะดุดล้ม ส้วมควรเป็นชักโครก เป็นต้น ขั้นตอนในการผ่าตัด เป็นการผ่าตัดเปลี่ยนเฉพาะผิวของกระดูกทั้ง 3 ส่วนที่ประกอบกันเป็นข้อเข่า (กระดูกส่วนของต้นขา หน้าแข้ง และสะบ้า) โดยแพทย์จะตัดส่วนของผิวข้อที่สึกหรอหรืออักเสบออกไป ซึ่งมีความหนาประมาณ 8-10 มิลลิเมตร แต่งกระดูกให้ได้มุมรับกับผิวข้อเทียม แล้วจึงใส่ข้อเทียมด้านกระดูกต้นขา กระดูกหน้าแข้งซึ่งทั้ง 2 ส่วนนี้ทำด้วยโลหะอย่างดี โดยมีพลาสติกชนิดพิเศษซึ่งทำหน้าที่คล้ายกระดูกอ่อน คั่นอยู่ระหว่างข้อเทียมที่เป็นโลหะ ส่วนข้อเทียมที่ใส่ด้านหลังของกระดูกสะบ้าทำด้วยพลาสติกเช่นกัน และใช้ซีเมนต์พิเศษยึดระหว่างข้อเทียมกับกระดูกไว้ ดังนั้นข้อเทียมจึงมีความแข็งแรงและทนทานยาวนาน ผลการรักษาโดยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมมากกว่า 90% ของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมจะรู้สึกเจ็บปวดลดลง และสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ใกล้เคียงกับปกติ ยกระดับการผ่าตัด ด้วยตัวช่วยระงับความเจ็บปวด ฟื้นตัวเร็ว หลังผ่าตัด สิ่งหนึ่งที่ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมกังวล คือ การปวดแผลหลังผ่าตัด แต่ด้วยความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่จะช่วยไม่ให้ผู้ป่วยเจ็บปวดหลังผ่าตัดเหมือนในอดีต โดยผู้ป่วยจะได้รับการดูแลและระงับอาการปวดหลังผ่าตัด ด้วยวิธีการฉีดยาชาบริเวณรอบเส้นประสาทส่วนปลาย (Peripheral Nerve Block) ซึ่งเป็นวิธีระงับปวดที่มีประสิทธิภาพสูง และปลอดภัย ที่ปัจจุบันนิยมใช้กันมาก เพราะเป็นส่วนหนึ่งของการระงับปวดด้วยวิธีผสมผสาน (multimodal analgesia) คือ การใช้ยาที่มีกลไกการ ออกฤทธิ์แตกต่างกันร่วมกัน จึงระงับปวดได้ดี และช่วยลดภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยากลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) และกลุ่มโอปิออยด์ (Opioid) ได้เป็นอย่างดี ขั้นตอนการฉีดยาชาลดปวด จะใช้เข็มหรือใส่สายคาเพื่อให้ยาชาที่บริเวณเส้นประสาทส่วนปลาย ยาชาจะออกฤทธิ์ยับยั้งการนำสัญญาณประสาทไม่ให้เข้าไปในไขสันหลัง จะทำภายใต้การใช้เครื่องคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasound) ซึ่งแพทย์จะทำการตรวจสอบตำแหน่งเส้นประสาทก่อนจะให้ยา จึงทำให้ผู้ป่วยได้รับการระงับปวดหลังผ่าตัดที่มีประสิทธิภาพ มีความปลอดภัยสูง สามารถลดการตอบสนองของร่างกายต่อความเครียดจากการผ่าตัดได้ดี ช่วยให้ฟื้นตัวหลังผ่าตัดได้เร็ว และลดระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล เนื่องด้วยแนวทางดูแลผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดในปัจจุบัน นอกจากคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วยแล้ว ยังมุ่งเน้น ส่งเสริมการฟื้นตัวหลังผ่าตัด เพื่อให้ผู้ป่วยกลับสู่สภาวะปกติให้เร็วที่สุด การสกัดกั้นเส้นประสาทส่วนปลาย (Peripheral Nerve Blocks) จึงเป็นวิธีที่ช่วยควบคุมความปวดระหว่าง และ หลังผ่าตัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดการตอบสนองของร่างกายต่อความเครียดจากการผ่าตัดได้ดี ช่วยให้ฟื้นตัวหลังผ่าตัดได้เร็ว และลดระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล การปฏิบัติตัวหลังผ่าตัด หลังการผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม ผู้ป่วยต้องนอนโรงพยาบาลประมาณ 4-5 วัน ประมาณวันที่ 1-2 หลังทำผ่าตัดจะเริ่มหัดเดินด้วยอุปกรณ์ช่วยเดิน (Walker) ภายใต้การดูแลของแพทย์และนักกายภาพบำบัด รวมถึงการจัดบ้านให้มีความเหมาะสมและปลอดภัย และพบแพทย์ตามนัดสม่ำเสมอ เพื่อติดตามอาการและผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้หลังการผ่าตัด เช่น การติดเชื้อหลังการผ่าตัด ข้อเข่าหลวมหลังจากการใช้งานไประยะหนึ่ง เป็นต้น ทุกท่านคงจะได้ข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาข้อเข่าเสื่อมระยะสุดท้าย ด้วยวิธีผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมกันแล้ว หากยังมีความกังวลสงสัย หรือต้องการติดต่อสอบถามเพิ่มเติม ทางศูนย์กระดูกและข้อ รพ.นครธน มีความพร้อมเป็นอย่างมากมีบุคลากรทีมแพทย์ผู้เฉพาะทางไว้รองรับ และคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษา สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลก่อนได้ตามลิงค์ด้านล่างได้เลยค่ะ : https://www.nakornthon.com/article/detail/ก้าวใหม่ได้อีกครั้งกับการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียม
  3. ปัจจุบันโรคหัวใจนับเป็นภัยใกล้ตัว และเป็นอีกหนึ่งโรคที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตสูงขึ้นทุกปี และสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย เนื่องจากการใช้ชีวิตในปัจจุบันมีปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ มากมาย เช่น ชื่นชอบเครื่องดื่มรสหวาน อาหารทอดไขมันสูง สูบบุหรี่ ส่งผลให้ น้ำหนักเกิน ความดันโลหิตสูง ไขมันในหลอดเลือดสูง เกิดโรคเบาหวาน เป็นต้น บางคนเริ่มมีอาการแน่นหน้าอก หายใจเหนื่อยหอบ มีอาการใจสั่น หัวใจเต้นเร็วและรัวกะทันหัน บางครั้งมีอาการหน้ามืดบ่อย ๆ ทำให้เกิดความกังวลใจสงสัยว่าอาการ “เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก” อาจเป็นสัญญาณความผิดปกติ ของโรคหัวใจหรือไม่? แล้วอาการเจ็บหน้าอกแบบไหน? ที่คุณควรจะต้องรีบเข้าพบแพทย์ด่วน วันนี้ทางศูนย์หัวใจ รพ.นครธน มีคำตอบมาให้คุณแล้ว ไปรับความรู้เพิ่มเติมกันได้เลยค่ะ เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความผิดปกติบางอย่างที่เกิดขึ้นในร่างกาย โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับหัวใจ ซึ่งอาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอกแบบเฉียบพลันเป็นระยะเวลานานกว่า 20-30 นาทีถือว่าเป็นอาการนำของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Heart Attack) เกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เนื่องจากมีไขมันสะสมเพิ่มพูนขึ้นภายในผนังหลอดเลือดเกิดการอุดตันจนไม่สามารถส่งผ่านเลือดไปยังกล้ามเนื้อหัวใจได้ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและทำงานผิดปกติเฉียบพลัน ภาวะดังกล่าวสามารถนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวหรือเสียชีวิตได้ในเวลาอันรวดเร็ว หากคุณหรือคนใกล้ชิดมีอาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก ควรเข้ารับการวินิจฉัยและการรักษาจากแพทย์อย่างทันที เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก เป็นอย่างไร เจ็บหน้าอก หรือ แน่นหน้าอก เป็นอาการที่เกิดจากการเจ็บปวดด้านหน้าและด้านในของทรวงอก ไม่ใช่การเจ็บปวดตรงส่วนด้านหลังของทรวงอก อาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอกเป็นอาการที่พบบ่อยอีกอาการหนึ่งของอาการทั้งหมดที่ทำให้ผู้ป่วยต้องมาพบแพทย์โดยเฉพาะโรคหัวใจ ซึ่งเกิดได้ในทุกช่วงอายุ แต่จะพบบ่อยขึ้นในผู้สูงอายุ ทั้งผู้หญิง และผู้ชาย อาการแบบไหนเสี่ยงโรคหัวใจ และควรมาพบแพทย์ - เจ็บหน้าอกอย่างกะทันหัน และเป็นระยะเวลานาน - มีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่ค่อยออก - เจ็บหน้าอก และรู้สึกปวดร้าวไปถึงบริเวณหัวไหล่ - เจ็บหน้าอกหากทำกิจกรรมที่ใช้แรงมาก - มีอาการใจสั่น หัวใจเต้นเร็วและรัวกะทันหัน มีอาการหน้ามืด เป็นลมหมดสติ มีอาการวูบไม่รู้สึกตัวกะทันหัน - หอบเหนื่อยง่ายผิดปกติ เหนื่อย หอบ หายใจเร็ว โดยเป็นขณะออกแรง เป็นขณะพัก ไม่สามารถนอนราบได้ นอนกลางคืนแล้วต้องตื่นมานั่งหอบ เดินใกล้ๆ ก็รู้สึกเหนื่อย จะเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งต้องระวังอาจจะเป็นภาวะหัวใจล้มเหลว ทั้งนี้ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Heart Attack) จะมีอาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอกนำมาก่อน แต่โดยส่วนมากจะมีอาการอื่นร่วมด้วย ได้แก่ หัวใจเต้นแรง มีอาการคลื่นไส้อยากอาเจียน วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด วูบ เป็นลมและเหงื่อออกผิดปกติ หากพบว่ามีอาการตามที่กล่าวมาข้างต้นเกินกว่า 20 -30 นาที ถือว่าอันตราย ควรรีบเข้าพบแพทย์ให้เร็วที่สุด เนื่องจากมีโอกาสเสียชีวิตได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว วิธีตรวจให้รู้ว่าอาการเจ็บหน้าอกเกี่ยวกับโรคหัวใจหรือไม่ หากมีอาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอกเกิดขึ้น ควรรีบมาพบแพทย์ โดยเบื้องต้นแพทย์จะทำการซักประวัติข้อมูลเกี่ยวกับประวัติสุขภาพผู้ตรวจและของบุคคลภายในครอบครัว พร้อมกับตรวจร่างกายโดยละเอียดซึ่งจะช่วยให้ระบุได้ว่าเป็นโรคหัวใจ หรือกำลังจะเริ่มเป็นได้ รวมไปถึงแพทย์อาจมีแนวทางในการวินิจฉัยการตรวจคัดกรองโรคหัวใจ ดังนี้ 1.การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram: ECG) เป็นการตรวจความสมบูรณ์ของคลื่นไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในกล้ามเนื้อหัวใจ อัตราและจังหวะการเต้นของหัวใจว่ามีความผิดปกติหรือไม่ 2.การตรวจหัวใจด้วยเครื่องเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram) แพทย์จะใช้อุปกรณ์ที่คล้ายเครื่องอัลตราซาวด์ตรวจบริเวณหน้าอก และใช้เสียงสะท้อนความถี่สูงเพื่อจำลองภาพ ขนาด และการทำงานของหัวใจ 3.การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test: EST) ใช้ในการตรวจหาความผิดปกติของระบบหัวใจและหลอดเลือด ที่ตรวจไม่พบในขณะที่ร่างกายหยุดพัก หรือไม่ได้ออกกำลังกายอย่างหนัก 4.การใส่สายสวนหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Angiography) ด้วยการฉีดสารทึบสีเข้าไปในหลอดเลือดหัวใจ เอกซเรย์ดูว่ามีส่วนใดของหลอดเลือดอุดตันหรือตีบบางหรือไม่ เจ็บหน้าอกแน่นหน้าอกแค่ไหนต้องรักษาด้วยบอลลูนหัวใจ ในผู้ที่มีอาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก โดยมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยเช่น หายใจไม่ค่อยออก มีอาการหน้ามืด เป็นลมหมดสติ รวมทั้งมีอาการเหนื่อย หอบ หายใจเร็วโดยเป็นขณะออกแรง เป็นขณะพัก ไม่สามารถนอนราบได้ นอนกลางคืนแล้วต้องตื่นมานั่งหอบเดินใกล้ ๆ ก็รู้สึกเหนื่อย จะเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ เป็นต้น รวมทั้งได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์แล้วพบว่ามีเส้นเลือดหัวใจตีบตัน หรือ มีอาการของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน และขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ ซึ่งการรักษาด้วยการทำบอลลูนหัวใจหรือการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน (Balloon Angioplasty) เป็นการขยายหลอดเลือดหัวใจให้กว้างขึ้น ด้วยการสอดสายสวนหัวใจ ซึ่งเป็นท่ออ่อนที่มีบอลลูนขนาดจิ๋วอยู่ตรงปลายเข้าไปทางหลอดเลือดที่บริเวณขาหนีบ หรือข้อมือ เมื่อถึงบริเวณที่หลอดเลือดตีบจึงต่อสายบอลลูนเข้ากับเครื่องมือที่อยู่ภายนอกร่างกาย เพื่อดันให้บอลลูนขยายออก เบียดคราบไขมัน คราบหินปูนที่เกาะอยู่ที่ผนังหลอดเลือดให้ยุบแบนลงและขยายหลอดเลือดให้กว้างออก เพื่อให้เลือดไหลไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ดีอีกครั้ง ทั้งนี้การทำบอลลูนหัวใจแพทย์อาจพิจารณาใส่ขดลวด (stent) ที่มีลักษณะที่เป็นโครงตาข่าย เข้าไปค้ำยันยึดติดกับผนังหลอดเลือดที่ตีบเพื่อเสริมความแข็งแรงในการขยายหลอดเลือดหัวใจในตำแหน่งที่ทำการขยายบอลลูนร่วมด้วย อย่างไรก็ตามอาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก สามารถเกิดจากโรคอื่น ๆ ได้ เช่น โรคปอดบวม โรคกรดไหลย้อน โรคกระเพาะอาหารอักเสบ หรือ เกิดจากภาวะความเครียด กังวล เป็นต้น ทางที่ดีที่สุด คือ การเข้ารับการตรวจหาสาเหตุของอาการดังกล่าว เพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี และทันท่วงที หากคุณมีข้อสงสัยต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม ทางศูนย์หัวใจของรพ.นครธน มีความพร้อมทั้งทีมแพทย์และพยาบาลเฉพาะทางคอยให้คำปรึกษา ตลอดจนห้องปฏิบัติการสวนหัวใจ 24 ชั่วโมง เพื่อสามารถรักษาทุกท่านได้อย่างทันท่วงที ขอบคุณข้อมูลจาก : www.nakornthon.com/article/detail/เจ็บหน้าอก-แน่นหน้าอก-อาการเริ่มปัญหาของหัวใจ
  4. เนื่องจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะชอบทานอาหารไขมันสูง ติดบริโภคเครื่องดื่มรสหวาน มีความเครียด พักผ่อนน้อยและขาดการออกกำลังกาย ซึ่งเป้นความเสี่ยงให้เกิดโรคหัวใจ บางท่านอาจเคยมีอาการเบื้องต้นของโรคมาแล้ว เช่น มีอาการวิงเวียน หน้ามืด ตาลาย ใจสั่น หายใจขัด เจ็บแน่นบริเวณหน้าอก และมีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ สำหรับท่านมีอาการเช่นนี้ควรต้องรีบพบแพทย์เพื่อค้นหาสาเหตุโดยเร็วที่สุด เพราะแน่นอนว่ามันอาจเป็นภัยเงียบเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลว สำหรับท่านที่มีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ ปัจจุบันมีนวัตกรรมที่สามารถรักษาได้ โดยที่ไม่ต้องผ่าตัด นั่นคือการจี้ไฟฟ้าหัวใจ เป็นวิธีที่แพทย์นิยมนำมาใช้ในการรักษาผู้ป่วย “ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ” วันนี้เรามีข้อมูลจาก ศูนย์หัวใจ รพ.นครธน มาฝากกันค่ะ รู้จักภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmia) คือ ภาวะที่คลื่นไฟฟ้าหัวใจทำงานผิดปกติหรือเกิดไฟฟ้าลัดวงจรในห้องหัวใจ ส่งผลให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ เร็วเกินไปหรือช้าเกินไปทำให้การสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร อาจพบอาการที่สามารถสังเกตได้ เช่น ใจสั่น เจ็บหน้าอก หายใจหอบ เหงื่อออกมาก วิงเวียน หน้ามืด คล้ายจะเป็นลม เป็นต้น ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะพบมากในผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคหัวใจ หรือผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก และอาจส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลวหรือหลอดเลือดสมองอุดตันได้ หัวใจเต้นปกติ กับ หัวใจเต้นผิดปกติ เป็นอย่างไร? หัวใจปกติ จะเต้นอย่างสม่ำเสมอ ด้วยความเร็วที่เปลี่ยนไปตามกิจกรรมของร่างกาย โดยในขณะพักหัวใจจะเต้นประมาณ 60 -100 ครั้งต่อนาที ในขณะเดินหัวใจจะเต้นเร็วขึ้นประมาณ 100 - 120 ครั้งต่อนาที และมากกว่า 120 ครั้งต่อนาทีในขณะวิ่ง อย่างไรก็ตามนักกีฬาหรือผู้ที่ออกกำลังเป็นประจำ อาจมีชีพจรในขณะพักระหว่าง 50 - 60 ครั้งต่อนาที หัวใจเต้นผิดปกติ คือ ภาวะใดที่เกิดความผิดปกติขึ้นในการนำไฟฟ้าของหัวใจโดยหัวใจอาจเต้นเร็วหรือช้ากว่าปกติ และมีจังหวะสม่ำเสมอหรือไม่สม่ำเสมอก็ได้ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิดเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ทำให้เกิดภาวะหัวใจหยุดและเสียชีวิตได้ โดยทั่วไปสามารถแบ่งชนิดของหัวใจเต้นผิด ปกติเป็น 2 แบบใหญ่ๆ คือ หัวใจเต้นช้าผิดปกติ และหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ผู้ป่วยบางรายอาจมีความผิดปกติทั้งอัตราการเต้น และจังหวะการเต้นของหัวใจก็ได้ เช่น เต้นๆ หยุดๆ และเต้นเร็ว ในบางรายอาจมีเต้นช้าสลับกับเต้นเร็วก็ได้ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะมีกี่ชนิด ? หัวใจเต้นผิดปกติมีไม่ต่ำกว่า 10 ชนิด แต่ละชนิดจะมีกลไกการเกิด สาเหตุการเกิด อาการ วิธีการรักษา รวมถึงการพยากรณ์โรคที่แตกต่างกันออกไป โดยทั่วไปสามารถแบ่งชนิดของหัวใจเต้นผิดปกติเป็นสองแบบใหญ่ ๆ คือ - หัวใจเต้นช้าเกินไป (Bradyarrhythmia) คือ มีอัตราการเต้นของหัวใจช้าน้อยกว่า 60 ครั้งต่อนาที - หัวใจเต้นเร็วเกินไป (Tachyarrhythmia) คือ มีอัตราการเต้นของหัวใจเต้นเร็วมากกว่า 100 ครั้งต่อนาที โดยแบ่งประเภทได้ดังต่อไปนี้ - หัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (Atrial Fibrillation) หัวใจจะเต้นไม่เป็นจังหวะและเร็วผิดปกติ เป็นสาเหตุให้เกิดโรคหลอดเลือดในสมอง ซึ่งเป็นรูปแบบที่พบได้มาก โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน ผู้ที่มีโรคหัวใจ เป็นต้น - ภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะ (Supraventricular Tachycardia) อัตราการเต้นของหัวใจเร็วผิดปกติมากกว่า 100 ครั้งต่อนาที - ภาวะหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ (Bradycardia) อัตราการเต้นของหัวใจช้ากว่า 60 ครั้งต่อนาที - Heart Block หัวใจจะเต้นช้าผิดปกติ และเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้ - หัวใจจะเต้นเร็วผิดปกติและไม่เป็นจังหวะ (Ventricular Fibrillation) เป็นสาเหตุทำให้หมดสติและเสียชีวิตกะทันหัน หากไม่ได้รับการรักษาที่ทันเวลา ซึ่งเป็นรูปแบบที่พบได้น้อย อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ ผู้ที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะจะมีอาการที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับประเภท ความรุนแรง หรือความผิดปกติของการเต้นของหัวใจ บางรายอาจไม่พบอาการหรือความผิดปกติใด ๆ แต่บางรายอาจมีอาการที่สังเกตได้ เช่น ใจสั่น หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ (มากกว่า 100 ครั้งต่อนาที) หัวใจเต้นช้ากว่าปกติ (น้อยกว่า 60 ครั้งต่อนาที) เจ็บหน้าอก หายใจหอบ วิงเวียนศีรษะ เหงื่อออกมาก หน้ามืด คล้ายจะเป็นลม หมดสติ เป็นต้น ผู้ที่มีอาการข้างต้นอาจไม่มีความเกี่ยวข้องกับภาวะหัวใจเต้นผิดปกติเสมอไป แต่หากมีอาการเกิดขึ้นอย่างกะทันหันหรือเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน เพื่อวินิจฉัยและหาสาเหตุของอาการต่อไป ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ มีปัจจัยจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มชา กาแฟ ความเครียด ที่ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ อาทิ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ หรือแม้แต่ความผิดปกติแต่กำเนิด เช่น กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด ลิ้นหัวใจรั่ว ผนังหัวใจหนาผิดปกติ รวมทั้งโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ส่วนมากผู้ป่วยไม่ทราบว่าตนเองมีปัญหา ตรวจวินิจฉัยหัวใจเต้นผิดจังหวะ การจะรู้ว่าเรามีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือไม่นั้น แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการของผู้ป่วย ประวัติทางการแพทย์ และการตรวจร่างกาย เพื่อตรวจสอบจังหวะการเต้นของหัวใจเบื้องต้น หรืออาจทดสอบเพื่อหาปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยแพทย์อาจมีแนวทางในการวินิจฉัยการตรวจคัดกรองเพิ่มเติมด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ ดังนี้ 1.การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram: ECG) 2.การตรวจและบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจตลอด 24 ชั่วโมงโดยใช้ Holter Monitor 3.การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test: EST) 4.การเอกซเรย์หน้าอก (Chest X-ray) เพื่อตรวจความผิดปกติของหัวใจ 5.การตรวจหัวใจด้วยเครื่องเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram) การรักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะ การรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ สามารถทำได้ดังนี้ 1.หลีกเลี่ยงและควบคุมปัจจัยที่ทำให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยในบางรายที่อาการยังเป็นไม่มาก คือ ยังไม่ได้มีหัวใจเต้นผิดจังหวะจนทำให้เกิดอาการของหัวใจวาย หรือหัวใจขาดเลือด จะมีแค่ใจสั่นๆ เป็นบางเวลา แพทย์จะแนะนำให้หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา หรือชากาแฟ ควบคุมความเครียดและลดการกังวล 2.การใช้ยาควบคุมการเต้นของหัวใจ ในรายที่เป็นมากขึ้นอาจจะต้องใช้ยาเพื่อลดอันตราการเต้นของหัวใจร่วมด้วย เช่น ยาในกลุ่มเบต้าบล็อกเกอร์ (betablocker) 3.การจี้ด้วยไฟฟ้าผ่านคลื่นเสียงความถี่สูง (Electro Physiologic Study and Radiofrequency Ablation) เป็นการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะโดยไม่ต้องผ่าตัด ไม่ต้องใช้ยาสลบและไม่เจ็บตัวขณะที่ทำการรักษา จะกระทำได้โดยการสวนสายสวนหัวใจ จากบริเวณขาหนีบ หลังจากฉีดยาชาเฉพาะที่ ซึ่งแพทย์จะขยับสายสวนหัวใจดังกล่าวไปยังตำแหน่งต่าง ๆ ของหัวใจ เพื่อหาตำแหน่งของวงจรไฟฟ้าหัวใจที่ผิดปกติ อาจทำร่วมกับการกระตุ้นหัวใจช่วงสั้นๆ เมื่อพบตำแหน่งแล้ว จะส่งคลื่นเสียงความถี่สูงไปยังตำแหน่งดังกล่าวเป็นระยะเวลา 30 – 60 วินาที คลื่นเสียงความถี่สูงดังกล่าวจะทำให้เกิดความร้อนขึ้นที่ปลายสายสวนหัวใจ ทำให้อุณหภูมิเพิ่มขึ้นจาก 37 องศา เป็น 55 องศา ซึ่งเท่ากับอุณหภูมิของน้ำอุ่น 4.การฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจ (Pacemaker) ในกรณีที่มีการเต้นของหัวใจช้ากว่าปกติ โดยผู้ป่วยอาจมีอาการเป็นลม หรือเหนื่อยง่าย 5.การฝังเครื่องช็อกหัวใจอัตโนมัติ (AICD : Automatic Implantable Cardioverter Defibrillator) ในรายที่หัวใจเต้นผิดจังหวะเร็วอย่างมาก เช่น Ventricular Tachycardia, Ventricular Fibrillation สำหรับท่านใดที่กำลังมีอาการเบื่องต้น เช่น อาการใจสั่น หน้ามืดหายใจติดขัด หรือมีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะบ่อย ๆ อย่าปล่อยไว้ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุโดยเร็วที่สุด ศูนย์หัวใจ รพ.นครธน มีบุคลากรและทีมแพทย์เฉพาะทางคอยช่วยเหลือและให้คำปรึกษา สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมก่อนได้ตามข้อมูลที่ให้ไว้ได้เลยค่ะ ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.nakornthon.com/article/detail/หัวใจเต้นผิดจังหวะ-ภัยเงียบเสี่ยงภาวะหัวใจล้มเหลว
  5. โดยธรรมชาติแล้วร่างกายของมนุษย์เราจะมีการสร้างภูมิคุ้มกันอยู่ในตัวเองอยู่แล้ว เมื่อมีอะไรที่ร่างกายมองว่ามันเป็นสิ่งแปลกปลอมจะเกิดการต่อต้าน กับสิ่งที่มากระตุ้นนั้น ไม่ช้าก็เร็วร่างกายจะแสดงปฏิกิริยาการแพ้ออกมาให้เห็นอย่างแน่นอน อย่างเช่น บางคนรับประทานอาหารบางชนิดนานมาแล้วถึงมีอาการแพ้อาหารในภายหลัง แต่บางครั้งก็แพ้อย่างรุนแรงมีอาการแพ้อาหารแบบเฉียบพลันขึ้นทันที หรือมีอาการจุกเสียดท้องบ่อย ๆ จนป่วยเรื้อรัง หากใครที่มีภาวะแพ้อาหารเช่นที่กล่าวมานี้ ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรรีบไปเข้ารับการตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง เพื่อหาสาเหตุการแพ้ หาทางป้องกันและรักษาแต่เนิ่นก่อนอาการลุกลามหนัก เพื่อหาคำตอบเกี่ยวกับเรื่องนี้ ว่าแล้วอาการภูมิแพ้อาหารแฝงคืออะไร? แตกต่างอย่างไรกับการแพ้อาหารแบบทั่วไป ทางศูนย์สุขภาพนครธน ของรพ.นครธน มีคำตอบมาให้แล้วค่ะ ภูมิแพ้อาหารแฝงกับแพ้อาหารแตกต่างกันอย่างไร หลายคนอาจคิดว่าการแพ้อาหารทั้ง 2 แบบนี้มีอาการเหมือนกัน แต่แท้จริงแล้วทั้งสองมีอาการที่แตกต่างกัน ดังนี้ การแพ้อาหารแบบทั่วไป เมื่อร่างกายรับประทานอาหารที่แพ้เข้าไปเพียงเล็กน้อยก็ตาม จะไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้ทำงานเกินกว่าปกติ โดยร่างกายจะเข้าใจผิดว่าสิ่งที่รับประทานเข้าไปเป็นอันตรายต่อร่างกาย จึงเกิดปฏิกิริยาแบบเฉียบพลัน ซึ่งอาการอาจเกิดขึ้นเพียงระบบเดียวหรือหลายระบบก็ได้และค่อนข้างรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ เช่น เกิดผื่นคันตามร่างกาย อาเจียน ท้องเสีย หรือเกิดภาวะช็อก หายใจติดขัด หอบ ซึ่งอาการรุนแรงอย่างหลังจำเป็นต้องรีบพบแพทย์ทันที ภาวะภูมิแพ้อาหารแฝง เมื่อร่างกายได้รับอาหารที่แพ้เข้าไปจะมากหรือเล็กน้อย ก็จะไม่แสดงอาการในทันที แต่จะเกิดอาการเมื่อผู้ป่วยรับประทานอาหารชนิดนั้นซ้ำ ๆ ภูมิแพ้ในลักษณะนี้จะทำให้มีอาการเรื้อรังโดยที่ไม่รู้ตัว และภาวะนี้ไม่สามารถทานยาแก้แพ้เพื่อลดอาการได้ ทำให้ไม่มียารักษาโดยตรงนอกเหนือไปจากรักษาตามอาการ และเลี่ยงอาหารที่แพ้จะสามารถดีขึ้น และกลับมารับประทานได้ หากเราเลี่ยงอาหารนั้นเป็นเวลาช่วงหนึ่ง โดยเฉลี่ยประมาณ 6 เดือน ภูมิแพ้อาหารแฝงเป็นอย่างไร ภูมิแพ้อาหารแฝง หรือเรียกอีกแบบว่า การแพ้อาหารแบบเรื้อรัง เป็นภาวะอาการแพ้ที่เกิดจากภูมิคุ้มกัน (antibody) ชนิด IgG (Immunoglobulin G) ที่ร่างกายสร้างมาต่อต้านอาหาร โดยบางครั้งจะทำปฏิกิริยากับอาหารที่แพ้แล้วทำลายเนื้อเยื่อของร่างกายเราเองหรือไปรบกวนระบบภูมิต้านทานทั้งร่างกายจนแปรปรวน เนื่องจากร่างกายเข้าใจคลาดเคลื่อนคิดว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมเข้ามา และจะยังไม่ก่อให้เกิดอาการผิดปกติรวดเร็วทันทีทันใด ซึ่งจุดนี้เป็นจุดสำคัญที่ทำให้คนที่มีอาการต่าง ๆ เหล่านี้ไม่ทราบว่าอาการนั้นเกิดจากสาเหตุใด และไม่ทราบว่าได้เกิดการแพ้อาหารชนิดนั้น ๆ ขึ้นมา ทำให้ยังคงรับประทานอาหารนั้นต่อ ร่างกายก็ยิ่งต่อต้าน ยิ่งกระตุ้นการสร้าง IgG มากจนกำจัดไม่หมด ร่างกายก็จะโดน IgG ทำลาย ส่งผลให้มีอาการต่าง ๆ ตามมาในที่สุด ภูมิแพ้อาหารแฝงมีลักษณะอาการอย่างไร ลักษณะอาการของการแพ้อาหารแบบแฝงนั้น มักจะมีอาการโดยที่เราไม่ทราบสาเหตุว่าแพ้สิ่งใด อาหารชนิดไหน เนื่องจากจะใช้เวลานานกว่าจะแสดงอาการ โดยอาจใช้เวลากว่า 48 ชั่วโมง มักแสดงอาการหลากหลาย แต่ไม่รุนแรง และมีอาการแพ้เป็นอยู่บ่อยครั้งแบบเรื้อรัง จนไม่คิดว่าเป็นอาการของการแพ้อาหาร แม้อาการแพ้ไม่รุนแรง แต่ก็อาจเป็นเบื้องหลังของอาการน่ากวนใจบางอย่าง โดยภูมิแพ้อาหารแฝงนั้นมีอาการที่แสดงได้หลายจุด ได้แก่ อาการทางเดินอาหาร เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องผูก ท้องเสีย ลำไส้แปรปรวน จุกเสียดท้อง เกิดแก๊สในกระเพาะอาหารทำให้เรอและผายลมบ่อย เป็นต้น อาการทางผิวหนัง เช่น กลุ่มสิวอักเสบ หรือการอักเสบใต้ชั้นผิวหนังตามจุดต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ใบหน้า ตามตัว บริเวณหลัง แขนขา ลมพิษ ผื่นคัน ผิวบวม เป็นต้น อาการทางเดินหายใจ เช่น ไอ จาม น้ำมูกไหล จมูกอักเสบ ไซนัสอักเสบ คัดจมูก หอบหืด เป็นต้น อาการอื่น ๆ เช่น ปวดหัวแบบเรื้อรัง ไมเกรน อาการปวดตามข้อ เป็นต้น รู้ได้อย่างไรว่า เป็นภูมิแพ้อาหารแฝง หากสำรวจตัวเองแล้วเป็นไปตามอาการในข้างต้น และลองหลีกเลี่ยงอาหารที่ต้องสงสัยแล้วยังไม่ดีขึ้น ควรมาปรึกษาแพทย์ตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง เพื่อให้ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ปัจจุบันทราบได้โดยเข้ารับการตรวจเลือด การทดสอบเลือดสำหรับสารก่อภูมิแพ้อาหาร IgG ทั้งนี้การตรวจเลือดสามารถช่วยให้เรารู้ว่า การแพ้อาหารที่แอบแฝงอยู่นั้นเป็นอาหารชนิดใด โดยวิธีการคือ ส่งเลือดเข้าไปตรวจ วิเคราะห์จากห้องปฏิบัติการ ซึ่งจะรายงานผลการตรวจออกมาเป็นระดับการแพ้อาหารแต่ละรายการ เพื่อให้เราได้ป้องกันและหลีกเลี่ยงจากภัยแฝงต่าง ๆ ของโรคที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ภูมิแพ้อาหารแฝงนั้นไม่สามารถทานยาแก้แพ้เพื่อให้อาการดีขึ้นได้ หากยังปล่อยไว้ให้อาการสะสมเรื่อย ๆ โดยไม่ได้รับการรักษา หรือรับการตรวจวินิจฉัยอย่างถูกวิธี อาจนำไปสู่การเกิดโรคต่าง ๆ มากมายตามมาได้ในท้ายที่สุด เช่นนั้น หากสงสัยว่าอาการที่เราเป็นอยู่นั้นเข้าข่ายต้องสงสัยแพ้อาหารแฝงหรือไม่ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย หรือ สอบถามปัญหาสุขภาพแบบออนไลน์โดยไม่มีค่าใช้จ่ายได้ที่ด้านล่าง สำหรับใครที่มีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องผูก ท้องเสีย ลำไส้แปรปรวน จุกเสียดเรื้อรัง มีภาวะการแพ้ แต่ยังไม่แน่ใจว่าเป็นการแพ้อาหารแบบธรรมดา หรือเป็นภูมิแพ้อาหารแฝง มีข้อสงสัยอยากสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องนี้ ทางศูนย์สุขภาพนครธน รพ.นครธน ทีมแพทย์ชำนาญการ และบุคลากร พร้อมช่วยเหลือ ให้คำปรึกษา สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมก่อนได้ตามข้อมูลที่ให้ไว้ได้เลยค่ะ ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.nakornthon.com/article/detail/ภูมิแพ้อาหารแฝง-ภาวะต้องสงสัยของอาการผิดปกติหลายอย่าง/
×
×
  • สร้างใหม่...